ทำไม Linkedin ถึงสามารถบุกตลาดจีนได้สำเร็จ

ต้องบอกว่า Linkedin นั้นถือเป็นหนึ่งในบริษัททางด้าน internet น้อยรายจากอเมริกาที่สามารถเข้าถึงได้ในประเทศจีน ซึ่ง Facebook , Google , Twitter หรือ Pinterest นั้นต่างถูกบล็อก

ซึ่ง Linkedin นั้นจะมุ่งเน้นไปที่เครือข่ายของมืออาชีพ และได้รับความสนใจจากประชากรชาวเน็ตในประเทศจีน ซึ่งมีการเติบโตของกลุ่มผู้คนมืออาชีพกว่า 140 ล้านคน ซึ่งเป็นตัวแทนของเหล่าพนักงานที่มีความรู้ประมาณ 1 ใน 5 ของโลก

โดย Jeff Weiner ซีอีโอ ของ Linkedin ได้กล่าวในการเปิดตัวเว๊บไซต์ภาษาจีนในปี 2014 ว่า “เป้าหมายของ Linkedin คือ เชื่อมโยงเหล่าผู้ใช้งานมืออาชีพชาวจีน เข้ากับสมาชิกที่เหลือของ Linkedin กว่า 277 ล้านคนใน 200 ประเทศทั่วโลก”

ต้องบอกว่า Linkedin นั้นได้ทำสิ่งที่แตกต่างจากบริการอื่น ๆ สิ่งแรกคือ เวอร์ชั่นภาษาจีนที่มีเนื้อหาเป็นภาษาท้องถิ่น และมีการตั้งบริษัทเข้าไปลงทุนในประเทศจีน รวมถึงการว่าจ้าง Derek Chen ผู้ประกอบการทางด้านเทคโนโลยีที่มีประสบการณ์ ที่ได้รับการว่าจ้างเป็นผู้นำ Linkedin ในสาขาประเทศจีน

ซึ่ง Chen นั้น มีอิสระในการปรับแต่งเว๊บไซต์ ซึ่งสมาชิก Linkedin ในประเทศจีนนั้นสามารถที่จะ import รายชื่อผู้ติดต่อจาก Weibo และเชื่อมโยงบัญชีของพวกเขาไปยัง Wechat เพื่อทำการแบ่งปันเนื้อหาข้ามเครือข่ายได้

และเป็นเวลาเพียงไม่ถึง 4 ปี ที่ Linkedin China นั้นมีรายได้เพิ่มขึ้นถึง 8 เท่า และจำนวนสมาชิกเพิ่มขึ้นจาก 4 ล้านคน เป็น 41 ล้านคนในประเทศจีน และนับเป็นความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่ที่ทำให้บริการท้องถิ่นที่เข้ามาแข่งขันนั้นต้องปิดตัวลง ซึ่งเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นน้อยมากกับบริการ internet ในประเทศจีน

ซึ่งแม้ว่า Linkedin China นั้นจะรอดพ้นเงื้อมมือจาก Startup ในประเทศจีน ที่ทำการลอกเลียนแบบ Features ของ Linkedin เหมือนกับที่ทำในบริการอื่น ๆ มีบริการอย่าง Vaideo จากฝรั่งเศษ หรือ Ushi บริการอีกรายที่ก่อตั้งในเซี่ยงไฮ้ ที่พยายามทำตัวเป็น Linkedin of china แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ

แล้วสาเหตุใดที่ Linkedin สามารถประสบความสำเร็จได้ในแผ่นดินจีน

ต้องบอกว่ามีปัจจัยหลายประการที่ Linkedin สามารถยืนหยัดได้ในประเทศจีน การทำความเข้าใจกับวัฒนธรรมจีน การปรับแต่งบริการสำหรับผู้บริโภคชาวจีน รวมถึงการให้อำนาจแก่ผู้นำในท้องถิ่น เพื่อการตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว ในตลาดที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่ง แตกต่างจากบริการอื่นๆ ก่อนหน้านี้ ที่มักจะใช้นโยบายเดียวกับบริษัทแม่ในอเมริกาเสียเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งสามารถสรุปเป็นหัวข้อได้ดังนี้

  1. ให้หาหุ้นส่วนจีนในท้องถิ่น อย่าบุกตะลุยเดี่ยวเพียงอย่างเดียว
  2. จ้างทีมงานท้องถิ่นที่มีประสบการณ์ในธุรกิจและเทคโนโลยีของจีน
  3. ให้ความเป็นอิสระแก่ทีมงาน ที่สามารถตัดสินใจเรื่องต่าง ๆ ได้ทันท่วงที โดยไม่ต้องขึ้นกับสำนักงานใหญ่ที่อเมริกา
  4. ปรับแต่งบริการและคุณสมบัติสำหรับลูกค้าชาวจีน
  5. วางกลยุทธ์การซื้อกิจการที่สามารถเริ่มต้นธุรกิจได้อย่างรวดเร็ว
  6. เรียนรู้ที่จะเจรจากับลูกค้าชาวจีนที่ต้องการ และอย่าคาดหวังว่าจะชนะทุกครั้ง
  7. ตั้งเป้าที่การเติบโตก่อนมองหาผลกำไร
  8. พัฒนากลยุทธ์ส่งเสริมการขายที่สร้างสรรค์
  9. เตรียมพร้อมสำหรับการเปลี่ยนแปลงในเรื่องการเมืองอย่างกะทันหันในจีน
  10. พยายามรักษาวิสัยทัศน์ และ มองการแข่งขันในระยะยาว

References : หนังสือ Tech Titans of China เขียนโดย Rebecca A.Fannin


 


ติดตามสาระดี ๆ อัพเดททุกวันผ่าน Line OA



Geek Forever Club พื้นที่ของการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ



Geek Forever’s Podcast


“Open Your World With Technology


AI , Blockchain และเทคโนโลยีใหม่ ๆ กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในหลายธุรกิจ ทั้ง แวดวงการเงิน สุขภาพ หรือ งานด้านบริการต่าง ๆ ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจเกี่ยวกับ AI หรือ Machine Learning

Podcast ของผมจะเล่าเรื่องราวต่าง รวมถึงเรื่องที่ผมสนใจอื่น ๆ เช่น startup หนังสือ หนัง หรือ กีฬาฟุตบอล อยากชวนคนที่สนใจให้ลองมาติดตาม podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Youtube
ฟังผ่าน Youtube