Death of Wikipedia? เมื่อองค์ความรู้ของมนุษย์กำลังจะถูกกลืนกินด้วยเทคโนโลยี AI

“ในอนาคตแบบจำลองทางด้านคอมพิวเตอร์ผ่านเทคโนโลยีใหม่ ๆ อย่าง ChatGPT จะเข้ามาแทนที่เว็บไซต์ที่ผมรักและเหล่าบรรณาธิการที่เป็นมนุษย์” Barkeep49 หนึ่งในบรรณาธิการคนสำคัญของ Wikipedia กล่าว

Wikipedia คลังความรู้ที่ใหญ่ที่สุดของมวลมนุษยชาติ เพิ่งฉลองวันเกิดครบรอบ 22 ปี ในเดือนมกราคมที่ผ่านมา ในทุกวันนี้ในหลาย ๆ ส่วนของเว็บไซต์แห่งนี้ยังเป็นเทคโนโลยีเดียวกับยุคยูโทเปียในยุคแรก ๆ ของการก่อกำเนิดขึ้นของอินเทอร์เน็ต

เป้าหมายของ Wikipedia ที่ผู้ร่วมก่อตั้งอย่าง Jimmy Wales อธิบายไว้ในปี 2004 คือการสร้างเว็บไซต์ที่ทุกคนบนโลกนี้สามารถเข้าถึงความรู้ทั้งหมดของมนุษย์ได้แบบฟรี ๆ

ปัจจุบัน Wikipedia มีเวอร์ชันใน 334 ภาษา และมีบทความทั้งหมดมากกว่า 61 ล้านบทความ ติดอันดับหนึ่งใน 10 เว็บไซต์ที่มีผู้เยี่ยมชมมากที่สุดในโลกอย่างสม่ำเสมอ

Jimmy Wales ผู้ร่วมก่อตั้ง Wikipedia (CR:LADbible)
Jimmy Wales ผู้ร่วมก่อตั้ง Wikipedia (CR:LADbible)

Wikipedia ไม่ได้เป็นเว็บไซต์ที่มุ่งแสวงหาผลกำไรแบบเดียวกับ Google , Youtube หรือ Facebook เพราะพวกเขาแทบไม่มีโฆษณา ยกเว้นแต่การบริจาคเพียงเท่านั้น เหล่าบรรณาธิการที่เป็นมนุษย์ที่คอยช่วยเหลือในการแก้ไขบทความต่าง ๆ ในเว็บไซต์นั้นแทบไม่ได้รับค่าจ้างแต่อย่างใด

ต้องบอกว่าความสำเร็จของเว็บไซต์แห่งนี้นั้นเป็นเรื่องที่น่าประหลาดใจ เพราะพวกเขาปฏิเสธระบบทุนนิยม ซึ่งชาว Wikipedia บางคนตั้งข้อสังเกตว่าความพยายามของพวกเขาได้ผลในทางปฏิบัติ แต่ไม่ใช่ในทางทฤษฎี

Wikipedia ไม่ใช่สารานุกรมอีกต่อไป เพราะในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา Wikipedia ได้กลายเป็นเครือข่ายที่เชื่อมโยงโลกดิจิทัลทั้งหมดเข้าด้วยกัน คำตอบที่เราได้รับจากการค้นหาใน Google และ Bing หรือจาก Siri และ Alexa ส่วนหนึ่งมาจากข้อมูลของ Wikipedia ที่ถูกดูดเข้าไปยังคลังข้อมูลของบริการเหล่านี้

เฉกเช่นเดียวกับเทคโนโลยี Chatbot ใหม่ก็ได้กลืนกินคลังข้อมูลของ Wikipedia เช่นเดียวกัน ซึ่งต้องบอกว่าข้อมูลใน Wikipedia ที่ฝังลึกอยู่ภายใต้เทคโนโลยีใหม่ ๆ เหล่านี้นั้น คือองค์ความรู้ที่ได้รับการรวบรวมจากการทำงานอย่างอุตสาหะเป็นเวลาหลายสิบปีโดยบรรณาธิการที่เป็นมนุษย์

Wikipedia อาจจะเป็นแหล่งข้อมูลแหล่งเดียวที่มีความสำคัญที่สุดในการฝึกอบรมโมเดล AI

“หากไม่มี Wikipedia เทคโนโลยีอย่าง Generative AI ก็คงไม่มีทางแจ้งเกิดขึ้นมาได้” Nicholas Vincent ผู้ที่ศึกษาว่า Wikipedia ช่วยสนับสนุนการค้นหาโดย Google และเทคโนโลยี Chatbot อื่นได้อย่างไร กล่าว

ในขณะที่เทคโนโลยีอย่าง Chatgpt ได้รับความนิยมและมีความซับซ้อนขึ้น Vincent และเพื่อนร่วมงานของเขาบางคนสงสัยว่าจะเกิดอะไรขึ้นหากเทคโนโลยี AI ที่ได้ดูดข้อมูลจาก Wikipedia ทำลายล้างพวกเขา และทำให้ผู้คนต่างทอดทิ้ง Wikipedia ไว้เบื้องหลัง

ซึ่งในอนาคต การล่มสลายของ Wikipedia คงไม่ไกลเกินเอื้อม เนื่องด้วยความฉลาดเป็นกรดของ AI แม้พวกมันจะไม่ดีเท่า Wikipedia แต่พวกมันได้เปรียบกว่ามาก เพราะสามารถสรุปแหล่งข้อมูลและบทความข่าวได้ทันที และดูเหมือนมนุษย์จะชอบรูปแบบการโต้ตอบแบบนี้มากกว่าเสียด้วย

เหล่ากองบรรณาธิการที่เป็นมนุษย์ของ Wikipedia เต็มไปด้วยความวิตกกังวล พวกเขาค่อนข้างมั่นใจว่าในไม่ช้าเครื่องมือ AI ใหม่เหล่านี้จะช่วยขยายบทความของ Wikipedia และการเข้าถึงไปยังทั่วทุกมุมโลกได้อย่างง่ายดายผ่านบริษัทยักษ์ใหญ่ไม่ว่าจะเป็น Microsoft , Google หรือ Facebook

มันกลายเป็นว่า Wikipedia ที่มีอุดมการณ์เพื่อสร้างองค์ความรู้ฟรีให้กับผู้คนทั่วโลก และไม่ได้ดำเนินธุรกิจใด ๆ กำลังถูกกลืนกินโดยเหล่าบริษัทหน้าเงินที่มีวัตถุประสงค์ทางธุรกิจอย่างชัดเจน เช่น การเรียกเก็บเงินค่าสมาชิกของ OpenAI

ซึ่งเมื่อเทียบกับ Google (Search Engine) ที่มีการเสนอลิงก์และการอ้างอิงแก่ผู้ใช้และให้มีการคลิกไปยังต้นทางที่เป็นเว็บไซต์ของ Wikipedia กลับกันเหล่าเทคโนโลยี AI ใหม่นั้นเป็นการนำข้อมูลมาเขย่า และไม่มีการอ้างอิงว่าข้อมูลนั้นมาจากที่ไหน และข้อมูลบางอย่างก็ค่อนข้างมั่วเอามาก ๆ

Google Search ที่มีการเสนอลิงก์และการอ้างอิงแก่ผู้ใช้ (CR:The Mather Group)
Google Search ที่มีการเสนอลิงก์และการอ้างอิงแก่ผู้ใช้ (CR:The Mather Group)

เทคโนโลยีที่เรียกว่า Large Language Models หรือ LLM ซึ่งเป็นโมเดลที่ขับเคลื่อน AI Chatbot อย่าง ChatGPT และ Bard ของ Google พวกมันเริ่มรับข้อมูลจำนวนมากขึ้น

พวกมันเรียนรู้ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลไม่ใช่เพียงแค่ Wikipedia แต่ยังรวมถึงฐานข้อมูลสิทธิบัตรของ Google, เอกสารของรัฐบาล,Reddit’s Q&A, หนังสือจากห้องสมุดออนไลนน์ และบทความข่าวมากมายบนเว็บ

แต่เมื่อทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ได้ทำการประเมินเครื่องมือ 4 ตัวที่ขับเคลื่อนโดย AI ได้แก่ Bing Chat , NeevaAI , perplexity.ai และ Youchat กลับพบว่ามีเพียงประมาณครึ่งหนึ่งของประโยคที่สร้างโดยเครื่องมือเหล่านี้เท่านั้นที่มีการอ้างอิงข้อเท็จจริง

“เราเชื่อว่าผลลัพธ์เหล่านี้ไม่มีความแม่นยำสำหรับระบบที่อาจทำหน้าที่เป็นเครื่องมือหลักสำหรับผู้ใช้ในการค้นหาข้อมูล” ทีมนักวิจัยสรุป “โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพิจารณาถึงความน่าเชื่อถือ”

แต่แน่นอนว่าความได้เปรียบของเทคโนโลยีใหม่เหล่านี้ที่มีเหนือ Wikipedia นั่นก็คือการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง และมีความแม่นยำสูงขึ้นเรื่อย ๆ เพราะยิ่งข้อมูล input มากขึ้นเท่าไหร่ ระบบก็จะยิ่งมีความแม่นยำมากยิ่งขึ้นเท่านั้น

ท้ายที่สุด มีการศึกษาที่สรุปว่าข้อมูลที่ได้จากปฏิสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ที่แท้จริงอย่าง Wikipedia จะมีคุณค่ามากขึ้นสำหรับเทคโนโลยี LLM

มันเป็นความท้าทายที่ยิ่งใหญ่และมีความสำคัญอย่างมากสำหรับ AI เนื่องจากระบบที่ไม่สอดคล้องกับมนุษย์อาจสร้างความเสียหายร้ายแรงได้ หาก AI ทำลายระบบความรู้ฟรีที่เชื่อถือได้ส่วนใหญ่ของมนุษย์เรา

เป็นเวลาหลายสิบปีแล้วที่พวกเราต่างเชื่อถือบรรณาธิการของ Wikipedia ที่เป็นมนุษย์ เพราะพวกเขามีแรงจูงใจหรือความกังวลในฐานะมนุษย์ และแรงจูงใจของพวกเขาคือการจัดหาองค์ความรู้ที่น่าเชื่อถือให้สอดคล้องกับความต้องการของมนุษย์ให้ได้มากที่สุดนั่นเองครับผม

References :
https://www.nytimes.com/2023/07/18/magazine/wikipedia-ai-chatgpt.html
https://www.nytimes.com/2022/12/05/technology/chatgpt-ai-twitter.html
https://www.nytimes.com/2013/06/30/magazine/jimmy-wales-is-not-an-internet-billionaire.html

Geek Daily EP185 : พิมพ์ผิดชีวิตเปลี่ยนเมื่ออีเมลกองทัพสหรัฐหลายล้านฉบับถูกส่งไปยังผู้ให้บริการเว็บมาลี

อีเมลของกองทัพสหรัฐฯ หลายล้านฉบับถูกส่งไปยังมาลีอย่างผิดๆ ผ่านการพิมพ์โดเมนผิด ซึ่งได้เปิดเผยข้อมูลที่มีความละเอียดอ่อนสูง รวมถึงเอกสารทางการทูต การขอคืนภาษี รหัสผ่าน และรายละเอียดการเดินทางของเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหรัฐฯ

แม้จะมีคำเตือนซ้ำแล้วซ้ำเล่าในช่วงทศวรรษที่ผ่านน แต่การรับส่งข้อมูลอีเมลยังคงมีอย่างต่อเนื่องไปยังโดเมน .ML ซึ่งเป็นตัวระบุประเทศสำหรับมาลี ซึ่งเป็นผลมาจากผู้คนพิมพ์ผิดจากเดิมที่ต้องเป็นน .MIL ซึ่งเป็นส่วนต่อท้ายของที่อยู่อีเมลของกองทัพสหรัฐทั้งหมด

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://tinyurl.com/48jxrfpv

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://tinyurl.com/4axr3dxv

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
https://tinyurl.com/y3y8szw5

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://tinyurl.com/bde3e27f

🎧 ฟังผ่าน Youtube : 
https://youtu.be/hzXA5IXghmc

References Image : https://english.almayadeen.net/news/politics/typo-leaks-millions-of-us-military-emails-to-mali-web-operat

ซีรีส์วายของไทย จะกลายเป็นคลื่น K-pop ต่อไปของเอเชียได้หรือไม่?

เป็นบทความที่น่าสนใจจากสื่อใหญ่ทั้ง the economist และ Nikkei Asia ที่ออกมาวิเคราะห์เรื่องราวของซีรีส์วายของไทย ซึ่งจะกลายเป็น soft power แบบที่ K-pop ทำสำเร็จมาแล้วกับประเทศเกาหลีใต้ได้หรือไม่

ต้องบอกว่าละครไทยที่เกี่ยวกับชายรักชาย หรือที่เรียกกันนว่า “Boys’ Love (BL)” หรือในไทยที่ถูกเรียกกันว่า “ซีรีส์วาย” กำลังพุ่งทะยานครองใจคนทั่วเอเชีย

แม้ว่าละครเรื่องแรกที่ปล่อยออกมาเมื่อปี 2014 แต่ ในทุกวันนี้มีซีรีส์ประเภทนี้กว่าร้อยเรื่อง ได้ถูกเผยแพร่ออกไปทั่วทั้งเอเชีย กลายเป็นพลัง Soft Power ใหม่ที่น่าสนใจมาก ๆ ของประเทศไทย

โดยเฉพาะช่วงล็อกดาวน์ในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 นั้น มีการปล่อยซีรีส์เหล่านี้ทาง Youtube และได้เข้าสู่ตลาดหลักอย่างในประเทศญี่ปุ่น

แฮ็ชแท็ก #thainuma หรือ #thaiswamp” ได้แพร่กระจายอย่างรวดเร็วในเครือข่ายโซเชียลมีเดียของประเทศญี่ปุ่นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

โดยประเทศไทยเองได้ส่งเสริมเนื้อหา ซีรีส์วายเหล่านี้ แม้กระทั่งในงานแสดงสินค้าระหว่างประเทศ โดยในนช่วงเดือนมิถุนายนปี 2021 อุตสาหกรรมดังกล่าวได้รับเงินลงทุนจากต่างประเทศสูงถึง 360 ล้านบาท (10.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

Boys’ Love หรือ ซีรีส์วายนั้น มีรากเหง้ามาจาก วรรณกรรมชายรักชายประเภทยาโออิมีต้นกำเนิดในญี่ปุ่นช่วงปี 1970 ตัว Y ใน “Y Series” มาจากคำภาษาญี่ปุ่น yaoi ที่เป็นคำพ้องเสียงของ yama nashi,ochi nashi,imi nashi และเริ่มได้รับความนิยมอย่างมากในญีปุ่นช่วงปี 1990 โดยมักจะถูกใจเหล่าแฟน ๆ ที่เป็นผู้หญิงเป็นหลัก เช่น เดียวกับเวอร์ชั่นทีวีของไทย

Rujirat Ishikawa นักวิชากรชาวไทยที่ Aoyama Gakuin University ในโตเกียว กล่าวว่า ผู้หญิงบางคนรู้สึกเป็นอิสระที่จะดูเรื่องรักใคร่โดยไม่มีตัวเอกหญิงที่ทำให้พวกเธอรู้สึกอิจฉา

ความน่าสนใจอีกอย่างก็คือ เหล่าโปรดิวเซอร์ผู้ผลิตในอุตสาหกรรมนี้ของไทย มองเห็นความสำเร็จของ K-Pop จากเกาหลีใต้เป็นแรงบันดาลใจที่สำคัญ พวกเขาได้คัดลอกองค์ประกอบของรูปแบบธุรกิจ K-Pop รวมถึงการสร้างฐานแฟนคลับ เช่น กิจกรรมพบปะแฟนคลับเพื่อเพิ่มรายได้

ความสำเร็จของ ซีรีส์วาย เริ่มดึงดูดผู้ชมที่เป็นกย์มากขึ้น จากการสำรวจเมื่อเร็ว ๆ นี้ระบุว่าแฟนรายการทีวีมากกว่า 20% ในประเทศไทยเป็นเกย์

แม้ว่ากรุงเทพฯ จะมีชื่อเสียงในฐานะเมืองใหญ่ของเหล่า LBGTQ+ ก็ตาม ความสำเร็จของซีรีส์วายนั้น ทำให้สังคมยอมรับเรื่องราวเหล่านี้มากยิ่งขึ้น ในกรุงเทพฯ เองมีดาราคู่รักจากซีรีส์วาย ขึ้นแสดงในป้ายโฆษณาบิลบอร์ดขนาดยักษ์ใจกลางเมืองเต็มไปหมด

และใจกลางกรุงโตเกียว บนอาคารป๊อปอัพชั้น 2 ของตึก Tower Records ในชิบูย่า ก็เกิด “2GETHER CAFE” ที่กลายเป็นศูนย์กลางความคลั่งไคล้ในเอเชียใหม่ เหล่าสาว ๆ ที่ตาลุกวาวไปกับภาพ ไบรท์ วชิรวิชญ์ และ วิน เมธาวินน พระเอกจาก “2gether The Series” ซีรีส์วายชื่อดังจากไทย

2GETHER CAFE ในชิบูย่า ใจกลางกรุงโตเกียว (CR:pyonpyoco.com)
2GETHER CAFE ในชิบูย่า ใจกลางกรุงโตเกียว (CR:pyonpyoco.com)

“ฉันไม่รู้ว่าประเทศไทยมีผู้ชายที่หล่อเหลาแบบนี้” Kobayashi Maki กล่าว เธอเป็นแฟนตัวยงของซีรีส์วาย และเธอกำลังเรียนภาษาไทยเพราะซีรีส์เรื่องนี้

“2gether” ซีรีส์แนวโรแมนติกคอมเมดี้ที่ถ่ายทอดเรื่องราวเกี่ยวกับสองหนุ่มมหาลัยที่ตกหลุมรักกัน นักแสดงชายสองคนได้แสดงให้เห็นถึงสายตาที่เกี้ยวพาราสีซึ่งกันและกัน และมีเพลงป๊อบจากไทยที่ถูกเล่นเป็น background

หลังจาก Rakuten TV บริการสตรีมมิ่งของ Rakuten Group เริ่มฉาย “2gether” ในญี่ปุ่น รายการดังกล่าวก็ครองอันดับ 1 ในการจัดอันดับภาพยนตร์และซีรีส์ประจำปี

ในปี 2020 ซีรีส์วายของไทย ติดอันดับที่หนึ่ง สอง และสี่ โดยมีหกรายการในสิบอันดับแรกที่เป็นเนื้อหาแนวชายรักชาย รวมถึงซีรีส์ที่ถูกผลิตจากจีนและเกาหลีใต้

ซีรีส์วายของไทย ที่ติดอันดับท็อปของรายการทีวีในญี่ปุ่น (CR:Twitter)
ซีรีส์วายของไทย ที่ติดอันดับท็อปของรายการทีวีในญี่ปุ่น (CR:Twitter)

ความเฟื่องฟูของซีรีส์วายจากไทย ไม่มีทีท่าว่าจะลดลง ละครทีวี 10 อันดับแรกในปี 2021 ในญี่ปุ่น มีจำนวนมากถึง 5 เรื่องที่เป็นซีรีส์วายจากไทย และยังครองตำแหน่งสูงสุดสองอันดับแรก

Rakuten TV ทำให้แน่ใจว่า ซีรีส์วายจากไทย จะได้รับการสตรีมอย่างรวดเร็วพร้อมคำบรรยายภาษาญี่ปุ่น บางครั้งเพียงแค่หนึ่งชั่วโมงหลังจากออกอากาศในประเทศไทย

“เนื้อหาของซีรีส์วายจากไทยยอดนิยมกลายเป็นไวรัลทันทีบนโซเชียลมีเดีย โดยแทบไม่ต้องคำนึงถึงพรมแดนของประเทศ” Kim Kyoungeun ผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อละครในเอเชียของ Rakuten Group กล่าว

“มันสำคัญมากสำหรับเราในการเปิดโอกาสให้ผู้ชมได้ชมละครพร้อมคำบรรยายทันทีหลังจากออกอากาศในประเทศไทย” Kim กล่าวเสริม

ต้องบอกว่าตอนนี้ซีรีส์วายของไทย มีศักยภาพไม่ต่างจาก K-pop ของเกาหลีใต้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว มันได้ส่งอิทธิพลต่อการรับรู้ทางสังคมของเหล่าแฟน ๆ ที่มีอยู่ทั่วโลกไม่ใช่แค่เพียงในแถบเอเชียเพียงเท่านั้น

นั่นทำให้เกิดการบริโภคสินค้าโดยเฉพาะจากไทยที่เกี่ยวข้องเช่นกัน และความนิยมนี้กำลังขยายออกนนอกเอเชียไปยังยุโรปและสหรัฐอเมริกา และได้ทำหน้าที่เป็นทูตของแบรนด์ระดับนานาชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพไม่ต่างจากศิลปิน K-pop ไปแล้วนั่นเองครับผม

References :
https://asia.nikkei.com/Business/Media-Entertainment/Thailand-s-boys-love-dramas-stealing-hearts-around-the-world
https://www.economist.com/asia/2023/03/09/are-thailands-gay-tv-dramas-the-next-k-pop
https://filmdaily.co/obsessions/2gether-the-series-guide/

Geek Monday EP185 : Free Speech vs Censorship กับความไร้เสน่ห์ของ Threads ที่ยากจะต่อกรกับ Twitter

ก่อนอื่นต้องออกตัวเลยก่อนว่า ก่อนหน้านี้ผมได้อวย Threads ไว้เยอะ ว่าจะสามารถมาต่อกรกับ Twitter ได้ และได้เห็นการเติบโตอย่างรวดเร็วของแพลตฟอร์มที่พุ่งทะลุ 100 ล้าน ได้อย่างรวดเร็ว ถือได้ว่าเป็นปรากฎการณ์ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนของแพลตฟอร์มเทคโนโลยีระดับโลก

แต่หลังจากใช้งานผ่านไปอาทิตย์เดียว ได้เปลี่ยนมุมมองใหม่ต่อ Threads อย่างสิ้นเชิง แม้ตัวเลขจะดูสวยหรูมีผู้ใช้งานจำนวนมหาศาล แต่ดูเหมือนว่าเป็นคนที่เข้ามาลองเสียมากกว่าว่ามันมีอะไรที่แตกต่างจาก Twitter บ้าง ซึ่งหากคุณได้ลองกระโดดไปใช้งาน Threads แล้ว คุณอาจสังเกตเห็นบางสิ่งนอกเหนือจากความตื่นเต้นของการเข้าร่วมเครือข่ายโซเชียลใหม่ นั่นคือเนื้อหาบนแพลตฟอร์มที่มันกลายเป็นสิ่งที่น่าเบื่อหลังจากผ่านไปแค่เพียงอาทิตย์เดียวเท่านั้น

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://tinyurl.com/y7y2hup6

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://tinyurl.com/576juake

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
https://tinyurl.com/57kc9zbv

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://tinyurl.com/zmzt8psn

🎧 ฟังผ่าน Youtube : 
https://youtu.be/e1umpOKqRng

ยังจำ Bored Apes กันได้ไหม เมื่อวันนี้มันเกือบจะกลายเป็นสิ่งไร้ค่าไปแล้ว

ในปี 2021 NFTs (non-fungible tokens) ได้กลายเป็นกระแสครั้งใหญ่ เนื่องจากคนดังและกลุ่มคลั่งไคล้ในสกุลเงินดิจิทัลใช้เงินหลายล้านเพื่อซื้อสินทรัพย์ดิจิทัลเหล่านี้เพื่อมาสะสม และหวังว่ามันจะเป็นหนึ่งในรูปแบบการลงทุนที่ดี แต่กลายเป็นว่า Bored Ape Yacht Club NFTs ซึ่งเป็นหนึ่งในคอลเลกชั่นที่ได้รับความนิยมมากที่สุดมูลค่าตกลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบสองปี

Bored Ape NFTs มีมูลค่าลดลงอย่างมาก โดยลดลงสู่ระดับต่ำสุดในรอบหลายปีในเดือนนี้ มูลค่าของคอลเลกชั่นรูป JPGs ของลิงขี้เบื่อที่เคยเป็น icon ของวงการ ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเฟื่องฟูขายในราคาหลายล้านดอลลาร์เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมาได้มีมูลค่าลดฮวบลงในเดือนนี้

ApeCoin ซึ่งเป็นสกุลเงินของโลกเสมือนจริงของผู้สร้าง Bored Apes ของ Yuga Labs ก็มีมูลค่าลดลงอย่างมากเช่นกัน โดยลดลงถึง 93 เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าตลาด 7.6 พันล้านดอลลาร์ในช่วงเดือนเมษายน 2022

คงไม่เกินเลยที่จะกล่าวว่า Bored Apes ได้เปลี่ยนจากสัญลักษณ์ที่คนดังต่างให้การรับรอง กลายเป็นเครื่องเตือนใจที่น่าหดหู่ว่าตลาด NFT นั้นอยู่ในสถานการณ์เช่นใดในปี 2023

เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว CNBC รายงานว่า Bored Ape ของนักร้องหนุ่มอย่าง Justin Bieber ซึ่งเคยมีมูลค่า 1.3 ล้านเหรียญในปี 2022 ปัจจุบันมีมูลค่าเพียง 59,000 เหรียญเท่านั้น มูลค่าลดลงถึง 95% ในช่วงครึ่งปีที่ผ่านมา

Bored Ape ของ Stephen Curry สตาร์ NBA ซึ่งเขาซื้อมาราคา 180,000 ดอลลาร์ในปี 2021 ปัจจุบันมีมูลค่าต่ำกว่าหนึ่งในสามของราคาที่เขาซื้อมา

ไอคอนวงการเพลงอย่าง Madonna ก็เจ็บปวดรวดร้าวไม่แพ้กัน เมื่อซื้อคอลเลกชั่น Bored Ape ราคาประมาณ 466,000 ดอลลาร์ในปี 2022 แต่ตอนนี้ราคาร่วงหล่นลงมาเหลือเพียง 53,000 ดอลลาร์เพียงเท่านั้น

Bieber, Paris Hilton และ Madonna รวมถึงนักลงทุนรายอื่นๆ ได้ยื่นฟ้องคดีแบบกลุ่มร่วมกับเหล่านักลงทุนอีกหลายรายที่ตกเป็นเหยื่อของ Yuga Labs ในเดือนธันวาคม 2022 ที่ผ่านมา โดยให้เหตุผลว่าพวกเขาถูกหลอกให้ซื้อ NFT โดยทาง Yuga Labs อ้างว่ามีคนดังต่าง ๆ หลายรายที่รับรองสินทรัพย์ดิจิทัลนี้

โครงการอื่น ๆ ของ NFT สถานการณ์ก็ย่ำแย่ไม่แพ้กัน แม้ Bored Ape Yacht Club ยังคงเป็นหนึ่งในคอลเลกชัน NFT ที่มีค่าที่สุดบน OpenSea และราคาของ Bored Ape ได้ฟื้นตัวขึ้นบ้างแล้วตั้งแต่ช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา แต่ก็ต้องบอกว่าสถานการณ์มาถึงตอนนี้เหล่านักสะสมกำลังต่อสู้กับข้อเท็จจริงที่ว่า NFT ที่ครั้งหนึ่งที่พวกเขาเคยเป็นเจ้าข้าวเจ้าของอาจจบลงด้วยการสูญเสียครั้งใหญ่ในสมุดบัญชีของพวกเขานั่นเองครับผม


แล้วคุณอยากรู้มั๊ยว่า NFTs มันเกิดขึ้นมาได้อย่างไร อ่านต่อได้ที่

Blog Series : How an Army of Crypto-Hackers Is Building the Next Internet with Ethereum

Blog Series : How an Army of Crypto-Hackers Is Building the Next Internet with Ethereum

–> อ่านตอนที่ 1 : Cypherpunks’ Freedom Dreams


References :
https://www.cnbc.com/2023/07/07/justin-biebers-bored-ape-nft-has-lost-95-percent-of-its-value-since-2022.html
https://futurism.com/the-byte/bored-apes-almost-worthless-now
https://twitter.com/Sothebysverse/status/1453042450788982794
https://www.cryptotimes.io/superbowl-of-nfts-nft-nyc-to-kick-off-next-month/