เทคโนโลยีกำลังเปลี่ยนสนามรบ เมื่อยุคใหม่ของสงครามไฮเทคได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว

ต้องบอกว่าสงครามนั้นเป็นโศกนาฏกรรมสำหรับผู้คนและประเทศที่ต้องเสียสละอะไรหลายๆ อย่าง และโลกเราก็ได้ผ่านสงครามครั้งใหญ่เหล่านี้มามากมาย และดูเหมือนคำว่าสันติภาพยังห่างไกลจากความเป็นจริง

อังกฤษ ฝรั่งเศส และเยอรมนีได้ส่งผู้สังเกตการณ์ไปยังสงครามกลางเมืองในอเมริกาเพื่อศึกษาการสู้รบในเกตตีสเบิร์ก การดวลรถถังในสงครามยมคิปปูร์ในปี 1973 เร่งให้กองทัพอเมริกาเปลี่ยนจากกองกำลังที่พ่ายแพ้ในเวียดนามเป็นกองทัพที่ถล่มอิรักให้ราบเป็นหน้ากลองในปี 1991 โดยใช้เวลาเพียงไม่กี่วัน

สงครามในยูเครนถือเป็นสงครามใหญ่ที่สุดในยุโรปนับตั้งแต่ปี 1945 สงครามครั้งนี้ได้เปลี่ยนมุมมองใหม่เกี่ยวกับการสู้รบในอีกหลายทศวรรษข้างหน้า

มันชี้ให้เห็นถึงสงครามที่มีความเข้มข้นสูงรูปแบบใหม่ที่ผสมผสานเทคโนโลยีสุดล้ำเข้ากับการสังหารหมู่และการใช้อาวุธยุทโธปกรณ์ชั้นยอด

ทุ่งสังหารในนยูเครนนั้นนีบทเรียน 3 ประการ อย่างแรกคือสนามรบเริ่มที่จะสามารถมองเห็นได้แบบทะลุปรุโปร่งแบบไม่เคยปรากฎมาก่อน เซ็นเซอร์ชั้นยอดที่มองเห็นได้แทบจะทั้งหมด ดาวเทียม และฝูงโดรนราคาถูก พวกมันให้ข้อมูลสำหรับการประมวลผลโดยอัลกอริธึม AI ชั้นยอดที่มีการปรับปรุงให้ดีขึ้นเรื่อย ๆ

ไม่ว่าจะเป็นสัญญาณมือถือของนายพลรัสเซีย หรือเค้าโครงของรถถังที่กำลังพรางตัว ข้อมูลเหล่านี้สามารถส่งผ่านดาวเทียมไปยังพลทหารในแนวหน้า หรือใช้เพื่อเล็งปืนใหญ่และจรวดด้วยความแม่นยำและระยะยิงที่ไม่เคยมีมาก่อน

นั่นหมายความว่าสงครามในอนาคตจะขึ้นอยู่กับศึกชิงข้อมูลของข้าศึก ลำดับความสำคัญคือการตรวจจับศัตรูให้ได้ก่อน ก่อนที่พวกเขาจะพบคุณ เพื่อทำให้เซ็นเซอร์ของข้าศึกนั้นมืดบอด

ต้องทำทุกวิถีทางในการขัดขวางวิธีการส่งข้อมูลข้ามสนามรบ ไม่ว่าจะผ่านการโจมตีทางไซเบอร์ สงครามอิเล็กทรอนิกส์ หรือวัตถุระเบิดแบบยุคโบราณ

กองกำลังรบต้องพัฒนาวิธีการต่อสู้ใหม่ โดยอาศัยความคล่องตัว การกระจายตัว การพรางตัว และการหลอกลวงข้าศึก กองทัพขนาดใหญ่ที่ไม่ลงทุนในเทคโนโลยีใหม่จะถูกบดบี้โดยกองทัพขนาดเล็กที่ทำสิ่งเหล่านี้ก่อน สงครามจะไม่ได้วัดกันที่จำนวนทหารอีกต่อไปดั่งที่ได้ปรากฎให้เห็นอย่างชัดเจนในสงครามยูเครน

แม้ในยุคของปัญญาประดิษฐ์ บทเรียนที่สองคือ สงครามยังคงเกี่ยวกับกำลังทหารของมนุษย์ รวมถึงเครื่องจักรและยุทโธปกรณ์นับล้าน การบาดเจ็บล้มตายในยูเครนนั้นมีความรุนแรงมาก ๆ

ความสามารถในการมองเห็นเป้าหมายและโจมตีเป้าหมายอย่างแม่นยำทำให้จำนวนศพทหารเพิ่มสูงขึ้น การใช้อาวุธยุทโธปกรณ์นั้นมหาศาล รัสเซียยิงกระสุน 10 ล้านลูกในหนึ่งปี ยูเครนสูญเสียโดรน 10,000 ลำต่อเดือน

ยูเครนสูญเสียโดรน 10,000 ลำต่อเดือน (CR:Radio Free Europe)
ยูเครนสูญเสียโดรน 10,000 ลำต่อเดือน (CR:Radio Free Europe)

ในที่สุดเทคโนโลยีจะเปลี่ยนรูปแบบสงครามทางกายภาพโดยเฉพาะกับทหารที่เป็นมนุษย์ นายพล มาร์ค มิลลีย์ ทหารอาวุโสของอเมริกา ทำนายว่า หนึ่งในสามของกองกำลังขั้นสูงจะเป็นหุ่นยนต์ในอีก 10-15 ปีข้างหน้า

ลองนึกถึงกองทัพอากาศไร้นักบินและรถถังไร้คนขับ แต่อย่างไรก็ตามกองทัพแบบดั้งเดิมยังจำเป็นต้องต่อสู้ในทศวรรษนี้และในทศวรรษหน้า นั่นหมายถึงต้องสร้างขีดความสามารถทางอุตสาหกรรมในการผลิตฮาร์ดแวร์ทางด้านการทหารในระดับที่มากขึ้น

บทเรียนที่สาม ซึ่งเป็นบทเรียนที่ใช้กับพื้นที่ส่วนใหญ่ของศตวรรษที่ 20 เช่นกัน นั่นคือ ขอบเขตของสงครามครั้งใหญ่นั้นกว้างขวางและไม่ชัดเจนเหมือนเดิมอีกต่อไป ความขัดแย้งของฝ่ายตะวันตกในอัฟกานิสถานและอิรักนั้นต่อสู้โดยกองทัพมืออาชีพขนาดเล็ก พลเรือนมีส่วนร่วมน้อยมาก ๆ

แต่ในสงครามยูเครน พลเรือนถูกดึงเข้ามาสู่สงคราม แม้กระทั่งคนเฒ่าคนแก่ในเมืองชนบทของยูเครนก็สามารถช่วยชี้เป้าในการยิงปืนใหญ่ผ่านแอปบนสมาร์ทโฟนได้

สมาร์ทโฟนที่เข้ามามีบทบาทมาก ๆ ในสงครามยูเครน (CR:CBC)
สมาร์ทโฟนที่เข้ามามีบทบาทมาก ๆ ในสงครามยูเครน (CR:CBC)

และนอกเหนือจากอุตสาหกรรมด้านกลาโหมแบบเก่า กลุ่มบริษัทเอกชนด้านเทคโนโลยีกลุ่มใหม่ก็ได้พิสูจน์แล้วว่ามีความสำคัญเช่นกัน

ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในสนามรบของยูเครนอยู่บนเซิร์ฟเวอร์คลาวด์ของบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ในต่างประเทศ บริษัทในฟินแลนด์ให้ข้อมูลการกำหนดเป้าหมายและการสื่อสารผ่านดาวเทียมของอเมริกา

ต้องบอกว่าไม่มีสงครามครั้งใดที่เหมือนกัน การต่อสู้ระหว่างอินเดียและจีนอาจเกิดขึ้นบนดินแดนหลังคาโลก การปะทะกันระหว่างจีน-อเมริกันเหนือเกาะไต้หวันจะมีกำลังทางอากาศและทางเรือมากขึ้น

ในการสู้รบเพื่อแย่งชิงไต้หวัน อเมริกาและจีนจะถูกล่อลวงให้โจมตีกันในอวกาศ ซึ่งอาจนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของอาวุธนิวเคลียร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากการเตือนภัยล่วงหน้าและดาวเทียมที่ใช้ในการควบคุมถูกปิดการใช้งาน

รัสเซียที่อาจดูเหมือนเผด็จการอาจเป็นภัยคุกคามต่อตะวันตกเป็นเวลาหลายทศวรรษข้างหน้า อิทธิพลทางการทหารที่เพิ่มขึ้นของจีนเป็นปัจจัยที่บั่นทอนเสถียรภาพในเอเชีย

เพราะฉะนั้นกองทัพใดที่ไม่ได้เรียนรู้บทเรียนของสงครามรูปแบบใหม่ที่ได้จัดแสดงให้โลกเห็นกับสงครามในยูเครน มีความเสี่ยงที่จะเพลี่ยงพล้ำให้กับกองทัพที่สามารถเรียนรู้จากบทเรียนในครั้งนี้นั่นเองครับผม

References :
https://www.economist.com/leaders/2023/07/06/a-new-era-of-high-tech-war-has-begun
https://sputniknews.com/military/201811231070067598-royal-navy-ships-artificial-intelligece/
https://www.aidaily.co.uk
https://www.forbes.com/sites/davidaxe/2023/07/04/what-and-where-is-ukraines-high-tech-swedish-brigade/

Geek Daily EP184 : Exclusive Network Effects กับเบื้องหลังการพุ่งทะยานของ Threads หลังการเปิดตัว

มีหลายแอปก่อนหน้านี้ที่ผู้คนต่างคิดว่าจะมาฆ่า Twitter ให้ตายได้สำเร็จ ไม่ว่าจะเป็น BlueSky ของ Jack Dorsey หนึ่งในผู้ก่อตั้ง Twitter หรือ Mastodon ที่เป็นแนวคิด Open Source หรือแม้กระทั่ง Truth Social ของ Donal Trump แต่ก็ไม่มีทีท่าว่าใครจะมาล้มบัลลังก์ของ Twitter ได้เลย

แต่การเกิดขึ้นนของ Threads โดยพี่ Mark Zuckerberg นั้นเรียกได้ว่าแตกต่างอย่างสิ้นเชิง เพราะการมีพลังของ Network Effects เดิมที่เป็นฐานจาก Instagram อยู่แล้ว ทำให้สามารถเรียกคนเข้ามาในแพลตฟอร์มได้อย่างรวดเร็วและทำให้ตอนนี้ Threads กลายเป็นเป็นแพลตฟอร์ม Social Media ที่เติบโตได้ร้อนแรงที่สุดเท่าที่โลกเราเคยมีมา

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://tinyurl.com/5rjbb92c

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://tinyurl.com/2sxu9n9s

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
https://tinyurl.com/2p874c4m

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://tinyurl.com/4mw4c9jf

🎧 ฟังผ่าน Youtube : 
https://youtu.be/uJuSUwmhtr0