ซีรีส์วายของไทย จะกลายเป็นคลื่น K-pop ต่อไปของเอเชียได้หรือไม่?

เป็นบทความที่น่าสนใจจากสื่อใหญ่ทั้ง the economist และ Nikkei Asia ที่ออกมาวิเคราะห์เรื่องราวของซีรีส์วายของไทย ซึ่งจะกลายเป็น soft power แบบที่ K-pop ทำสำเร็จมาแล้วกับประเทศเกาหลีใต้ได้หรือไม่

ต้องบอกว่าละครไทยที่เกี่ยวกับชายรักชาย หรือที่เรียกกันนว่า “Boys’ Love (BL)” หรือในไทยที่ถูกเรียกกันว่า “ซีรีส์วาย” กำลังพุ่งทะยานครองใจคนทั่วเอเชีย

แม้ว่าละครเรื่องแรกที่ปล่อยออกมาเมื่อปี 2014 แต่ ในทุกวันนี้มีซีรีส์ประเภทนี้กว่าร้อยเรื่อง ได้ถูกเผยแพร่ออกไปทั่วทั้งเอเชีย กลายเป็นพลัง Soft Power ใหม่ที่น่าสนใจมาก ๆ ของประเทศไทย

โดยเฉพาะช่วงล็อกดาวน์ในช่วงการแพร่ระบาดของ COVID-19 นั้น มีการปล่อยซีรีส์เหล่านี้ทาง Youtube และได้เข้าสู่ตลาดหลักอย่างในประเทศญี่ปุ่น

แฮ็ชแท็ก #thainuma หรือ #thaiswamp” ได้แพร่กระจายอย่างรวดเร็วในเครือข่ายโซเชียลมีเดียของประเทศญี่ปุ่นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

โดยประเทศไทยเองได้ส่งเสริมเนื้อหา ซีรีส์วายเหล่านี้ แม้กระทั่งในงานแสดงสินค้าระหว่างประเทศ โดยในนช่วงเดือนมิถุนายนปี 2021 อุตสาหกรรมดังกล่าวได้รับเงินลงทุนจากต่างประเทศสูงถึง 360 ล้านบาท (10.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ)

Boys’ Love หรือ ซีรีส์วายนั้น มีรากเหง้ามาจาก วรรณกรรมชายรักชายประเภทยาโออิมีต้นกำเนิดในญี่ปุ่นช่วงปี 1970 ตัว Y ใน “Y Series” มาจากคำภาษาญี่ปุ่น yaoi ที่เป็นคำพ้องเสียงของ yama nashi,ochi nashi,imi nashi และเริ่มได้รับความนิยมอย่างมากในญีปุ่นช่วงปี 1990 โดยมักจะถูกใจเหล่าแฟน ๆ ที่เป็นผู้หญิงเป็นหลัก เช่น เดียวกับเวอร์ชั่นทีวีของไทย

Rujirat Ishikawa นักวิชากรชาวไทยที่ Aoyama Gakuin University ในโตเกียว กล่าวว่า ผู้หญิงบางคนรู้สึกเป็นอิสระที่จะดูเรื่องรักใคร่โดยไม่มีตัวเอกหญิงที่ทำให้พวกเธอรู้สึกอิจฉา

ความน่าสนใจอีกอย่างก็คือ เหล่าโปรดิวเซอร์ผู้ผลิตในอุตสาหกรรมนี้ของไทย มองเห็นความสำเร็จของ K-Pop จากเกาหลีใต้เป็นแรงบันดาลใจที่สำคัญ พวกเขาได้คัดลอกองค์ประกอบของรูปแบบธุรกิจ K-Pop รวมถึงการสร้างฐานแฟนคลับ เช่น กิจกรรมพบปะแฟนคลับเพื่อเพิ่มรายได้

ความสำเร็จของ ซีรีส์วาย เริ่มดึงดูดผู้ชมที่เป็นกย์มากขึ้น จากการสำรวจเมื่อเร็ว ๆ นี้ระบุว่าแฟนรายการทีวีมากกว่า 20% ในประเทศไทยเป็นเกย์

แม้ว่ากรุงเทพฯ จะมีชื่อเสียงในฐานะเมืองใหญ่ของเหล่า LBGTQ+ ก็ตาม ความสำเร็จของซีรีส์วายนั้น ทำให้สังคมยอมรับเรื่องราวเหล่านี้มากยิ่งขึ้น ในกรุงเทพฯ เองมีดาราคู่รักจากซีรีส์วาย ขึ้นแสดงในป้ายโฆษณาบิลบอร์ดขนาดยักษ์ใจกลางเมืองเต็มไปหมด

และใจกลางกรุงโตเกียว บนอาคารป๊อปอัพชั้น 2 ของตึก Tower Records ในชิบูย่า ก็เกิด “2GETHER CAFE” ที่กลายเป็นศูนย์กลางความคลั่งไคล้ในเอเชียใหม่ เหล่าสาว ๆ ที่ตาลุกวาวไปกับภาพ ไบรท์ วชิรวิชญ์ และ วิน เมธาวินน พระเอกจาก “2gether The Series” ซีรีส์วายชื่อดังจากไทย

2GETHER CAFE ในชิบูย่า ใจกลางกรุงโตเกียว (CR:pyonpyoco.com)
2GETHER CAFE ในชิบูย่า ใจกลางกรุงโตเกียว (CR:pyonpyoco.com)

“ฉันไม่รู้ว่าประเทศไทยมีผู้ชายที่หล่อเหลาแบบนี้” Kobayashi Maki กล่าว เธอเป็นแฟนตัวยงของซีรีส์วาย และเธอกำลังเรียนภาษาไทยเพราะซีรีส์เรื่องนี้

“2gether” ซีรีส์แนวโรแมนติกคอมเมดี้ที่ถ่ายทอดเรื่องราวเกี่ยวกับสองหนุ่มมหาลัยที่ตกหลุมรักกัน นักแสดงชายสองคนได้แสดงให้เห็นถึงสายตาที่เกี้ยวพาราสีซึ่งกันและกัน และมีเพลงป๊อบจากไทยที่ถูกเล่นเป็น background

หลังจาก Rakuten TV บริการสตรีมมิ่งของ Rakuten Group เริ่มฉาย “2gether” ในญี่ปุ่น รายการดังกล่าวก็ครองอันดับ 1 ในการจัดอันดับภาพยนตร์และซีรีส์ประจำปี

ในปี 2020 ซีรีส์วายของไทย ติดอันดับที่หนึ่ง สอง และสี่ โดยมีหกรายการในสิบอันดับแรกที่เป็นเนื้อหาแนวชายรักชาย รวมถึงซีรีส์ที่ถูกผลิตจากจีนและเกาหลีใต้

ซีรีส์วายของไทย ที่ติดอันดับท็อปของรายการทีวีในญี่ปุ่น (CR:Twitter)
ซีรีส์วายของไทย ที่ติดอันดับท็อปของรายการทีวีในญี่ปุ่น (CR:Twitter)

ความเฟื่องฟูของซีรีส์วายจากไทย ไม่มีทีท่าว่าจะลดลง ละครทีวี 10 อันดับแรกในปี 2021 ในญี่ปุ่น มีจำนวนมากถึง 5 เรื่องที่เป็นซีรีส์วายจากไทย และยังครองตำแหน่งสูงสุดสองอันดับแรก

Rakuten TV ทำให้แน่ใจว่า ซีรีส์วายจากไทย จะได้รับการสตรีมอย่างรวดเร็วพร้อมคำบรรยายภาษาญี่ปุ่น บางครั้งเพียงแค่หนึ่งชั่วโมงหลังจากออกอากาศในประเทศไทย

“เนื้อหาของซีรีส์วายจากไทยยอดนิยมกลายเป็นไวรัลทันทีบนโซเชียลมีเดีย โดยแทบไม่ต้องคำนึงถึงพรมแดนของประเทศ” Kim Kyoungeun ผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อละครในเอเชียของ Rakuten Group กล่าว

“มันสำคัญมากสำหรับเราในการเปิดโอกาสให้ผู้ชมได้ชมละครพร้อมคำบรรยายทันทีหลังจากออกอากาศในประเทศไทย” Kim กล่าวเสริม

ต้องบอกว่าตอนนี้ซีรีส์วายของไทย มีศักยภาพไม่ต่างจาก K-pop ของเกาหลีใต้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว มันได้ส่งอิทธิพลต่อการรับรู้ทางสังคมของเหล่าแฟน ๆ ที่มีอยู่ทั่วโลกไม่ใช่แค่เพียงในแถบเอเชียเพียงเท่านั้น

นั่นทำให้เกิดการบริโภคสินค้าโดยเฉพาะจากไทยที่เกี่ยวข้องเช่นกัน และความนิยมนี้กำลังขยายออกนนอกเอเชียไปยังยุโรปและสหรัฐอเมริกา และได้ทำหน้าที่เป็นทูตของแบรนด์ระดับนานาชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพไม่ต่างจากศิลปิน K-pop ไปแล้วนั่นเองครับผม

References :
https://asia.nikkei.com/Business/Media-Entertainment/Thailand-s-boys-love-dramas-stealing-hearts-around-the-world
https://www.economist.com/asia/2023/03/09/are-thailands-gay-tv-dramas-the-next-k-pop
https://filmdaily.co/obsessions/2gether-the-series-guide/


 


ติดตามสาระดี ๆ อัพเดททุกวันผ่าน Line OA



Geek Forever Club พื้นที่ของการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ



Geek Forever’s Podcast


“Open Your World With Technology


AI , Blockchain และเทคโนโลยีใหม่ ๆ กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในหลายธุรกิจ ทั้ง แวดวงการเงิน สุขภาพ หรือ งานด้านบริการต่าง ๆ ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจเกี่ยวกับ AI หรือ Machine Learning

Podcast ของผมจะเล่าเรื่องราวต่าง รวมถึงเรื่องที่ผมสนใจอื่น ๆ เช่น startup หนังสือ หนัง หรือ กีฬาฟุตบอล อยากชวนคนที่สนใจให้ลองมาติดตาม podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Youtube
ฟังผ่าน Youtube