เมื่อ Facebook , Google และ Twitter กำลังแข่งกันกระจายข้อมูลผิด ๆ เกี่ยวกับ Coronavirus

การแพร่กระจายอย่างรวดเร็วของ coronavirus ในประเทศจีนและทั่วโลกได้ส่งผลให้ แพลตฟอร์มออนไลน์ยักษ์ใหญ่อย่าง Facebook, Google และ Twitter เกิดการแพร่กระจายชุดข้อมูลของความจริงที่ถูกต้องและความเท็จที่ผิดพลาดอีกมากมายเกี่ยวกับการระบาดร้ายแรงครั้งนี้

ยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีทั้งสามแห่งใน Silicon Valley พยายามที่จะลดการเข้าถึงข้อมูลด้านสุขภาพที่เป็นอันตรายรวมถึงการโพสต์ภาพถ่ายและวิดีโอที่พยายามทำให้ผู้คนแตกตื่น 

Facebook และทีมงาน ได้พยายามที่จะต่อสู้กับทฤษฎีสมคบคิดที่แพร่หลายรวมถึงการหลอกลวงที่อ้างว่ามาจากเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลสหรัฐฯอย่างไม่ถูกต้อง  ซึ่งข้อมูลที่ผิดบางส่วนได้แพร่กระจายผ่าน Facebook ส่วนตัว ซึ่งเป็นช่องทางที่ยากสำหรับนักวิจัยและทีมงานของ Facebook ในการตรวจสอบแบบเรียลไทม์ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากข่าวแพร่ระบาดครั้งแรกเกี่ยวกับ coronavirus

“ออริกาโนออยล์พิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพต่อต้านโคโรนาไวรัส” โพสต์ที่มีการแชร์อย่างน้อย 2,000 ครั้งในหลายกลุ่มภายในวันจันทร์ที่ผ่านมาก โพสต์ต้นฉบับเป็นข้อมูลเก่า และนักวิทยาศาสตร์ได้กล่าวว่าไม่มีการรักษาดังกล่าวสำหรับ coronavirus

โดยเจ็ดองค์กรที่เป็นพันธมิตรกับ Facebook ได้ทำการตรวจสอบข้อเท็จจริง 9 ครั้งในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมาโดยพบว่ามีโพสต์เกี่ยวกับ coronavirus หลายตัวที่ถูกระบุว่าเป็นข้อมูลเท็จซึ่งรวมถึงการรักษาด้วยยาปลอม  Facebook กล่าวว่ามีข้อความที่ไม่ถูกต้องและได้ทำการลดการมองเห็นลงในฟีดข้อมูลรายวันของผู้ใช้งาน

ข้อมูล fake news จำนวนมากถูกเผยแพร่บน facebook
ข้อมูล fake news จำนวนมากถูกเผยแพร่บน facebook

ส่วนทวิตเตอร์ ผู้ใช้ในสหรัฐอเมริกาค้นหา hashtags coronavirus ที่เกี่ยวข้องกับศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค YouTube ของ Google กล่าวว่าอัลกอริทึมของพวกเขามีการจัดลำดับความสำคัญของแหล่งที่น่าเชื่อถือมากขึ้น ถึงกระนั้นวิดีโอจำนวนหนึ่งรวมทั้งที่มีมากกว่า 430,000 วีดีโอ ได้ส่งข้อมูลที่น่าสงสัยเกี่ยวกับต้นกำเนิดของ coronavirus และวิธีการแพร่ระบาดของมัน

ในการค้นหาข้อมูลที่ผิดพลาดเกี่ยวกับ coronavirus, Facebook, Google และ Twitter ก็กำลังต่อสู้กับความรับผิดชอบของพวกเขาในฐานะผู้ดูแลข้อมูลขาเข้าจากผู้ใช้งาน ซึ่งมีทั้งข้อมูลที่จริง และ เท็จ

โดยทั่วไปแล้วยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีทั้งสาม จะรักษานโยบายเฉพาะเกี่ยวกับการโพสต์ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพโดยมีจุดประสงค์เพื่อให้แน่ใจว่าการสร้างข้อมูลทางดิจิทัลจะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อโลกแห่งความจริง 

แต่บริการที่ได้รับความนิยมสูงสุดของ Silicon Valley ยังคงดิ้นรนเพื่อสร้างสมดุลกับการเฝ้าระวังของหน่วยงานกำกับดูแลและผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ ยกตัวอย่าง เช่น หลายเดือนก่อนที่ Facebook ทำการตอบโต้เนื้อหาที่เชื่อมโยงวัคซีนกับออทิซึมอย่างผิด ๆ ซึ่งมีผู้คนจำนวนมากที่ส่งเสริมการรักษาแบบผิด ๆ และข้อมูลดังกล่าวก็ยังคงอยู่ในแพลตฟอร์ม แม้ว่า Facebook จะเตือนผู้คนที่จะเข้าไปร่วมกลุ่มก่อนแล้วก็ตามที

ในทำนองเดียวกันกับวิดีโอต่อต้านการฉีดวัคซีน Google ได้ทำการปรับแต่งอัลกอริทึมของ YouTube เมื่อปีที่แล้วเพื่อหยุดเนื้อหาที่เป็นอันตรายจำนวนมากไม่ให้ปรากฏในผลการค้นหา และ Twitter ได้พยายามทำสิ่งที่คล้ายคลึงกัน แต่การบิดเบือนข้อมูลที่เป็นอันตรายยังคงมีอยู่ในแพลตฟอร์มเหล่านี้ ซึ่งเป็นสิ่งกระตุ้นให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขสหรัฐฯยังคงมองว่าโซเชียลมีเดียยังมีช่องโหว่กับเรื่องดังกล่าวอยู่

Youtube มีการปรับอัลกอริทึมเพื่อป้องกันข่าวปลอม
Youtube มีการปรับอัลกอริทึมเพื่อป้องกันข่าวปลอม

เมื่อจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้น Facebook และ Twitter ในช่วงสุดสัปดาห์ พบว่ามีโพสต์ยอดนิยมจำนวนมาก ที่ให้ข้อมูลผิด ๆ ว่าสหรัฐฯหรือรัฐบาลต่างประเทศอื่น ๆ ได้รับสิทธิบัตรสำหรับ coronavirus มาก่อนหน้านี้แล้ว โดยมีทวีตรายหนึ่งเรียก Coronavirus ว่า “โรคแฟชั่น” ซ้ำแล้วซ้ำอีกซึ่งเป็นโรคที่ได้รับการจดสิทธิบัตรมาแล้ว และมีการแชร์ประมาณ 5,000 ครั้งบน Twitter เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา

ผู้ใช้ Facebook หลายพันคนยังได้เข้าร่วมชุมชนที่สร้างขึ้นใหม่โดยเฉพาะเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับ coronavirus ซึ่งเป็นการค้นหาจากเว็บไซต์เครือข่ายสังคมเหล่านี้ ซึ่งเป็นการสร้างชุดข้อมูลที่ผิดๆ

มีผู้ใช้ Facebook มากกว่า 1,100 รายซึ่งดูเหมือนจะกลัวความเจ็บป่วยที่รุนแรง ในกลุ่มที่มีชื่อว่า“ Coronavirus Warning Watch” โดยผู้คนในกลุ่มมีการแลกเปลี่ยนทฤษฎีเกี่ยวกับการแพร่กระจายของมัน ในบางกรณีโยงเรื่องดังกล่าวไปเกี่ยวข้องกับแผนการ “การลดประชากร” ของรัฐบาล เช่นเดียวกับทุกกลุ่มโพสต์ภาพถ่ายและวิดีโอที่แชร์จะถูกส่งไปยังฟีดข่าวของผู้เข้าร่วมเพื่อเพิ่มการเข้าถึงให้มากที่สุด

ยังมีคนอื่น ๆ ใน facebook ที่ใช้กลุ่ม coronavirus เพื่อเน้นทฤษฎีที่ น้ำมันออริกาโนหรือซิลเวอร์คอลลอยด์สามารถรักษาโรคดังกล่าวได้ซึ่งเป็นข้อมูลเท็จ โดยในบางกรณีจะมีการโพสต์ลิงก์ไปยังวิดีโอ YouTube รวมถึงคลิปยอดฮิตที่มีความยาว 11 นาที ตอนนี้มีผู้ชมมากกว่า 20,000 ครั้งซึ่งเป็นการกล่าวอย่างผิด ๆ ว่าไวรัสได้ฆ่าชีวิต กว่า 180,000 คน ในประเทศจีน

Farshad Shadloo โฆษกของ YouTube กล่าวว่า บริษัท “ลงทุนอย่างหนักเพื่อเพิ่มเนื้อหาที่มีความถูกต้องบนเว็บไซต์ของเราและลดการแพร่กระจายของข้อมูลที่ผิดใน YouTube” เช่น สร้างความมั่นใจว่าผู้ที่ค้นหาข่าวจะเห็นผลลัพธ์ที่เป็นข้อมูลที่ถูกต้อง YouTube ปฏิเสธที่จะให้รายละเอียดหากมีการดำเนินการเฉพาะอื่น ๆ เกี่ยวกับวิดีโอที่เกี่ยวข้องกับ coronavirus

ส่วนใน Twitter ในขณะเดียวกันผู้ใช้บางคนที่มีผู้ติดตามจำนวนมากได้แชร์ข้อมูลว่า coronavirus แพร่กระจายไปสู่มนุษย์เนื่องจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารจีน ซึ่งรวมถึงเรื่องเกี่ยวกับการเหยียดผิวชาวจีน โดยผู้เชี่ยวชาญกล่าวในตอนนี้นักวิทยาศาสตร์ยังไม่ได้ชี้ไปที่ต้นกำเนิดของการติดเชื้ออย่างชัดเจนนัก ยังต้องมีการตรวจสอบให้ชัดเจนอีกซักระยะหนึ่ง

ความคิดเห็นเพิ่มเติมจากผู้เขียน

จะเห็นได้ว่าปัญหาเรื่อง Fakenews นั้น มันไม่ได้มีเฉพาะแค่ในประเทศไทยเราอย่างเดียวเท่านั้น เราจะเห็นได้ว่าหากเกิดวิกฤติคราใด เหล่าข้อมูลเท็จก็จะออกมามากมายผ่านเครือข่ายแพลตฟอร์มออนไลน์ยักษ์ใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น Facebook , Google หรือ Twitter

ในฝั่งตะวันตกนั้น อาจจะมีระบบการตรวจสอบบ้างอย่างที่กล่าวในบทความนี้ เนื่องจากสามารถใช้ เทคนิคทางด้าน computer algorithm ในการตรวจจับข่าวเท็จเหล่านี้ได้ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษอาจจะเป็นสิ่งที่ตรวจสอบได้ง่าย

แต่พอมาเป็นภาษาอื่น ๆ อย่างในภาษาไทยของเรา เราจะสังเกตได้ว่า ระบบแทบจะไม่ได้ตรวจจับข้อมูลเท็จเหล่านี้เลยด้วยซ้ำ ซึ่งน่าจะเป็นเรื่องข้อจำกัดของภาษาอย่างนึง ที่แพลตฟอร์มเหล่านี้ไม่สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพเหมือนข้อมูลภาษาอังกฤษ

ผมก็เป็นอีกหนึ่งคนที่เห็นด้วยมาก ๆ ที่เรื่องของ Fakenews เหล่านี้ แพลตฟอร์มออนไลน์เหล่านี้ไม่ว่าจะเป็น Facebook , Twitter หรือ Google ต้องมีส่วนในการรับผิดชอบกับเรื่องดังกล่าว เพราะพวกเขาเป็นคนรับข้อมูลเข้าระบบ การตรวจสอบต่าง ๆ นั้นจะง่ายกว่า ให้รัฐบาลแต่ละประเทศมาจัดการ ซึ่งเป็นสิ่งที่ยาก และที่สำคัญน่าจะใช้ต้นทุนที่ต่ำกว่าการมาแก้ที่ปลายเหตุมาก ๆ

แน่นอนว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องท้าทายที่สำคัญของแพลตฟอร์มออนไลน์เหล่านี้ ในการสร้างความน่าเชื่อถือของข้อมูล และที่สำคัญก็คือ ด้วยกลไกทางด้านอัลกอริธึม ที่เน้นการสร้าง engagement มากที่สุด ซึ่งเป็นจุดอ่อนที่สำคัญที่ทำให้ข้อมูลเท็จ Fakenews เหล่านี้ ถูกกระจายเป็นวงกว้างอย่างรวดเร็ว และ ทำให้ผู้คนต่างหันมาเลียนแบบได้ เพราะมันได้มาซึ่ง engagement ที่ดีขึ้นนั่นเอง ซึ่งสุดท้ายมันเป็นการเพิ่มรายได้ที่จะเข้ามาจากแพลตฟอร์มเหล่านี้

มีแนวคิดหนึ่งที่ผมเคยได้อ่านจากเรื่องราวของ Jack Ma ที่จัดการเรื่องนี้ในประเทศจีน หากไม่สามารถกรองข้อมูล input ขาเข้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ แพลตฟอร์มก็ควรมีการ Hold โพสต์ใด ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องเข้าใจผิด ๆ อย่าง เรื่องทางด้านสาธารณสุข หรือ ข้อมูลสุขภาพ เมื่อมีการแพร่กระจายแบบผิตปรกติเสียก่อน

ข้อมูลเหล่านี้ควรมากจาก Account ที่ มีการ Verified ที่ชัดเจนแล้ว เช่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรื่องดังกล่าวจริง ๆ เพราะมันเป็นเรื่องใหญ่ ไม่ควรให้คนทั่วไปกระจายข่าวมั่ว ๆ ได้แบบง่าย ๆ ควร Hold ไว้แล้วตรวจสอบก่อน หากเป็นแหล่งที่ยังไม่ได้รับการ Verified ข้อมูลอย่างถูกต้อง เพราะเรื่องเหล่านี้ ตัวอย่างเช่น Coronavirus อย่างที่เราเห็นอยู่ในปัจจุบัน ถือเป็นเรื่องใหญ่มาก ๆ ที่ไม่ควรที่จะมีข้อมูลเท็จปล่อยออกมาจากแพล็ตฟอร์มเหล่านี้ นั่นเองครับ

References : https://www.washingtonpost.com/technology/2020/01/27/facebook-google-twitter-scramble-stop-misinformation-about-coronavirus/ https://www.20minutos.es/noticia/4133023/0/facebook-twitter-y-google-se-unen-a-la-lucha-contra-el-coronavirus-combatiendo-las-fake-news/


 


ติดตามสาระดี ๆ อัพเดททุกวันผ่าน Line OA



Geek Forever Club พื้นที่ของการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ



Geek Forever’s Podcast


“Open Your World With Technology


AI , Blockchain และเทคโนโลยีใหม่ ๆ กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในหลายธุรกิจ ทั้ง แวดวงการเงิน สุขภาพ หรือ งานด้านบริการต่าง ๆ ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจเกี่ยวกับ AI หรือ Machine Learning

Podcast ของผมจะเล่าเรื่องราวต่าง รวมถึงเรื่องที่ผมสนใจอื่น ๆ เช่น startup หนังสือ หนัง หรือ กีฬาฟุตบอล อยากชวนคนที่สนใจให้ลองมาติดตาม podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Youtube
ฟังผ่าน Youtube