จากคองโกถึงรัฐสภาสหรัฐฯ กับยุคทองของทฤษฎีสมคบคิด ที่กำลังเรืองอำนาจแบบสุดขีด

ในปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา หลังจากที่รัฐบาลอังกฤษยกเลิกข้อจำกัดส่วนใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับ COVID-19 แต่ก็ยังมีผู้ประท้วงหลายพันคนมารวมตัวกันที่จัตุรัสทราฟัลการ์ในลอนดอน เพื่อประท้วงในเรื่องการล็อกดาวน์ของรัฐบาล

ในบรรดาผู้ที่มาปราศัยนั้นรวมไปถึง Piers Corbyn (น้องชายของอดีตหัวหน้าพรรคแรงงาน) ผู้ซึ่งสนับสนุนทฤษฎีว่า COVID-19 เป็นเรื่องหลอกลวง หรือ David Icke นักเขียนชื่อดัง และ Gillian McKeith อดีตพยาบาลผู้สร้างทฤษฎีที่เชื่อว่าอาหารที่ดีก็เพียงพอที่จะหยุดไวรัสได้

ต้องบอกว่า เรื่องราวข้างต้นมันได้กลายเป็นเรื่องธรรมดาไปเสียแล้วในตอนนี้ ไม่เพียงแค่ในประเทศอังกฤษ แต่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นทั่วโลก

คลื่นสึนามิ Fake News

การแพร่ระบาดครั้งใหญ่ของ COVID-19 นั้น เปรียบเหมือนคลื่นสึนามิข้อการเผยแพร่ Fake News ที่ระบาดไปทั่วโลก พร้อม ๆ กับแพร่ระบาดของโรค

ในประเทศฝรั่งเศส มีสารคดีที่กล่าวหาว่า COVID-19 ถูกสร้างขึ้นโดยชนชั้นสูงทางการเมืองซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนการสมคบคิดเพื่อทำให้เกิดระเบียบโลกใหม่ ซึ่งมีคนเข้าชมถึง 2.5 ล้านครั้งภายในสามวันหลังการเผยแพร่

แม้กระทั่งในประเทศสหรัฐอเมริกาเอง ความคิดทีว่า COVID คือเรื่องหลอกลวงได้แพร่กระจายไปพร้อมกับทฤษฎีที่ร้อนแรงที่เรียกว่า QAnon ซึ่งเป็นทฤษฎีที่กล่าวถึงรัฐบาลที่ดำเนินการโดยกลุ่มคนเฒ่าหัวงู และ Donald Trump คือ ผู้ที่มาปราบปรามพวกเขาเหล่านี้

ซึ่งก็ต้องบอกว่ายุคนี้เป็นยุคเรืองอำนาจแบบสุดขีดของทฤษฎีสมคบคิดเหล่านี้ อินเทอร์เน็ตและเครือข่ายโซเชีลมีเดียทำให้ง่ายต่อการแพร่กระจาย ซึ่งไม่ใช่แค่เหล่าประเทศยากจนที่ผู้คนเข้าถึงการศึกษาน้อยเท่านั้น แต่มันยังรวมกระทั่งประเทศร่ำรวยที่สุดอีกด้วย

ในประเทศไนจีเรียมีทฤษฎีสมคบคิดที่ว่า Muhammadu Buhari ประธานาธิบดีที่เสียชีวิตในลอนดอนเมื่อปี 2017 ถูกปลอมตัวในร่างชาวซูดานที่เรียกวา Jibril

ในประเทศอินเดีย รัฐบาลของ Narendra Modi กล่าวหาว่า Greta Thunberg ซึ่งเป็นวัยรุ่นนักเคลื่อนไหวด้านสภาพอากาศชาวสวีเดน เป็นส่วนหนึ่งของแผนการระดับโลกที่จะหมิ่นประมาทชาในประเทศของเขา

มีแนวความคิดที่แพร่หลายไปทั่วตะวันออกกลางว่าการโจมตีเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2001 เป็นปฏิบัติการที่อิสราเอลวางแผนไว้

แน่นอนว่ามันมีหลายความเชื่อที่อาจจะดูน่าขัน และไม่มีอันตราย เช่น ความคิดที่ว่า Elvis Presley ยังมีชีวิตอยู่และอาศัยอยู่ในคาลามาซู มิชิแกน

อย่างไรก็ตามความเชื่อในเรื่องทางการเมืองนั้นรุนแรงกว่า Quassim Cassam จากมหาวิยทาลัย Warwick ในสหราชอาณาจักร กล่าวว่า “รูปแบบการโฆษณาชวนเชื่อทางการเมืองนั้นสำคัญที่สุด”

พลังของโฆษณาชวนเชื่อทางการเมืองนั้น เป็นการให้คำอธิบายแก่ผู้คนเกี่ยวกับโลกที่โทษความโชคร้ายของพวกเขาที่มีต่อศัตรูทางด้านการเมือง แต่ส่วนใหญ่มักจะเป็นเรื่องไร้สาระ ความสามารถในการจูงใจผู้คน คือสิ่งที่ทำให้พวกเขาเป็นอันตรายเป็นอย่างยิ่ง

จุดเริ่มต้นที่คองโก

และเพื่อเข้าใจถึงวิธีที่พวกเขาเผยแพร่ทฤษฎีสมคิดทางด้านการเมือง จุดเริ่มต้นคือสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก

Valentin Mubake นักการเมืองสูงวัยได้นำเสนอทฤษฎีสมคบคิดที่พบบ่อยที่สุดในประเทศ ต้องบอกว่าปัญหาของประเทศคองโกนั้นเริ่มต้นในช่วงกลางทศวรรษ 1990 เมื่อ Paul Kagameได้จัดการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของชาวรวันดาทุตซิส นั่นทำให้เขาได้รับเสียงสนับสนุนทางการเมืองเพื่อยึดครองรวันดาและบุกคองโกในช่วงเวลาที่อ่อนแอที่สุด

Valentin Mubake นักการเมืองสูงวัยได้นำเสนอทฤษฎีสมคบคิดโจมตีชาวรวันดา (CR:UDPS LE PEUPLE)
Valentin Mubake นักการเมืองสูงวัยได้นำเสนอทฤษฎีสมคบคิดโจมตีชาวรวันดา (CR:UDPS LE PEUPLE)

“Tony Blair และ Bill Clinton ทำงานร่วมกับ Kagame เพื่อเตรียมทำสงครามที่จัดขึ้นโดยสหรัฐอเมริกา” Mubake กล่าว เขาอ้างว่าสหประชาติทำการสังหารหมู่และแพร่กระจายโรคต่าง ๆ เช่น อีโบลา เพื่อให้แผนดำเนินการต่อไป

ต้องบอกว่าแนวคิดนี้ได้รับการยอมรับการอย่างกว้างขวางในประเทศคองโก ซึ่ง แนวคิดสร้างความเกลียดชังชาวรวันดาจุดชนวนให้เกิดความรุนแรงทางชาติพันธุ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับชาวคองโกทุตซิส

ความเชื่อที่ว่า อีโบลา เป็นแผนการของต่างประเทศได้นำไปสู่การนำกองกำลังติดอาวุธบุกไปที่คลินิกที่เต็มไปด้วยผู้ป่วย และ ทำการปลดปล่อยผู้ป่วยเหล่านี้ ซึ่งทำให้เชื้อยิ่งแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

ประชาชนชาวคองโกปฏิเสธที่จะรับวัคซีน COVID-19 เนื่องจากกลัวว่าจะเป็นส่วนหนึ่งของแผนการดังกล่าว Rodiguez Katsuva นักข่าวชาวคองโก ผู้ก่อตั้ง Congo Check ซึ่งเป็นเว็บไซต์ตรวจสอบข้อเท็จจริงกล่าวว่า ทฤษฎีสมคบคิดเหล่านี้ คือ การฆ่าชาวคองโกที่แท้จริงต่างหาก

หรือแม้กระทั่งการการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐในปี 2016 ที่ ประธานาธิบดี Donald Trump เอาชนะ Hillary Clinton ไปได้ ก็มีประเด็นในโลกออนไลน์มากมายที่มีการกล่าวหา Hiallry Clinton

มีทฤษฎีสมคบคิด ถูกเผยแพร่บนโลกออนไลน์ โดยเฉพาะผ่านเครือข่ายโซเชีลมีเดียจำนวนมาก ที่มุ่งโจมตี Clinton ในช่วงท้าย ๆ ของการเลือกตั้ง

Hillary Clinton ที่ถูกโจมตีอย่างรุนแรงผ่านเครือข่ายโซเชีลมีเดียในช่วงท้ายของการเลือกตั้ง (CR:The New York Times)
Hillary Clinton ที่ถูกโจมตีอย่างรุนแรงผ่านเครือข่ายโซเชีลมีเดียในช่วงท้ายของการเลือกตั้ง (CR:The New York Times)

แน่นอนว่าสิ่งเหล่านี้ ได้รับความช่วยเหลืออย่างดีจากสื่อยุคใหม่ โดยเฉพาะสื่อโซเชียลมีเดีย ในยุคปัจจุบันเราสามารถหาข่าวปลอมเหล่านี้ได้มากมาย และที่สำคัญยิ่งเป็นข่าวปลอม มันมีโอกาสที่จะถูกแชร์ และกระจายเป็นวงกว้างได้มากกว่า ผ่านอัลกอริธึมเบื้องหลังของเครือข่ายโซเชียลมีเดีย ไม่ว่าจะเป็น Facebook หรือ Twitter

และ Trump เองได้รับประโยชน์ไปเต็ม ๆ จากเครือข่ายข่าวลวงแบบนี้ โดยเฉพาะเรื่องราวสุดฉาวของ Hillary Clinton ที่ยิ่งทำให้ข่าวปลอมเหล่านี้ถูกกระพือให้ยิ่งกระจายออกเป็นวงกว้างมากยิ่งขึ้น

ในเดือนกุมภาพันธ์ Mitch McConnell หัวหน้าพรรครีพับลิกันในวุฒิสภาเรียกทฤษฎีสมคบคิดว่าเป็น “มะเร็ง” ในพรรคของเขา แต่เขายังคงโหวตให้พ้นผิดจาก Trump ที่ใช้พวกเขาเพื่อปลุกระดมการจลาจลที่รัฐสภาสหรัฐฯ

Ted Cruz วุฒิสมาชิกพรรครีพับลิกันประณาม Trump ที่อ้างว่าเขาเกิดในต่างประเทศอย่างไม่มีมูลความจริง แต่ในปี 2020 เขาสนับสนุนข้อกล่าวหาเท็จของ Trump ว่าการเลือกตั้งประธานาธิบดีถูกขโมยผลไป 

นั่นอาจเป็นเพราะในพรรครีพับลิกันเองเหล่าผู้มีอำนาจจำนวนมากเชื่อว่าเรื่องที่ Trump กล่าวมากกว่าความเป็นจริงที่เกิดขึ้น โดยมีถึง 45 คนในกลุ่ม QAnon ลงสมัครรับเลือกตั้งในสภาคองเกรสในปี 2022 เลยทีเดียว

แล้วจะแก้ไขปัญหาทฤษฎีสมคบคิดเหล่านี้ได้อย่างไร?

ต้องบอกว่าทฤษฏีสมคบคิดที่เกิดขึ้น มันไม่ใช่สิ่งใหม่ของโลก มันมีมานานแล้ว ผ่านสื่อต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น วิทยุ โทรทัศน์ หรือ สื่อสิงพิมพ์ต่าง ๆ ในโลกยุคเก่า

แต่การปฏิวัติข้อมูลข่าวสาร ทำให้เครือข่ายโซเชีลมีเดียนั้นมีอิทธิพลต่อเรื่อง propaganda หรือ ทฤษฎีสมคบคิดเหล่านี้ มากกว่าที่เคยเป็นมา

ส่วนตัวมองว่าพลังของการกระจายข่าวนั้นมันรวดเร็วและรุนแรงยิ่งขึ้นเพราะเครือข่ายโซเชียลมีเดียถูกขับเคลื่อนด้วยพลังของเครื่องจักร หรือ AI ที่สื่อยุคเก่า ๆ ไม่สามารถทำได้ มันทำให้แพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วกว่าเดิมมาก ๆ และ อัตราการแพร่กระจายในรูปแบบ exponential

การแก้ปัญหาก็ต้องแก้กันที่เครือข่ายเหล่านี้ น่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด ในปี 2019 Facebook เริ่มจำกัดจำนวนผู้คนเพียง 5 คน ที่สามารถส่งต่อข้อความบน Whatsapp ได้พร้อมกัน

เป้าหมายก็คือเพื่อชะลอการแพร่กระจายของทฤษฎีสมคบคิดเหล่านี้บนแพล็ตฟอร์มของพวกเขา หรือในอินเดีย Facebook ใช้ผู้ดูแลกว่า 15,000 คน เพื่อลบข้อมูลที่บิดเบือน

หรืออีกหนึ่งเครือข่ายแหล่งแพร่กระจายข้อมูลผิด ๆ อย่าง Twitter ได้มีการระงับบัญชี 70,000 บัญชีที่มีการเชื่อมโยงกับ QAnon

ต้องบอกว่าทั้งสองแพล็ตฟอร์มพยายามที่จะระงับโพสต์ที่เผยแพร่ Fake news หรือ ทฤษฎีสมคบคิดที่ไม่เป็นจริงอย่างแข็งขัน ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งล่าสุดในสหรัฐอเมริกา Facebook ก็เริ่มกวดขันการลงโฆษณาที่เกี่ยวกับประเด็นทางด้านการเมืองมากยิ่งขึ้น

เรื่องราวของทฤษฎีสมคบคิด หรือ การเผยแพร่ข่าวปลอมเหล่านี้ มันไม่ใช่เรื่องใหม่ของโลกเราแต่อย่างใด แต่ตอนนี้ผมมองว่าสิ่งที่ต่างกันอย่างชัดเจน และทำให้ปัญหานี้มันทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น เพราะมันได้ถูกขับเคลื่อนด้วยสิ่งที่เราไม่รู้ถึงพลังอำนาจที่แท้จริงของมันอย่าง Algorithm AI นั่นเองครับผม

References :
https://en.wikipedia.org/wiki/QAnon
https://www.nytimes.com/article/what-is-qanon.html
https://www.nbcnews.com/news/world/congo-s-ebola-response-threatened-conspiracy-theories-rumors-n994156
https://www.economist.com/international/2021/09/04/from-congo-to-the-capitol-conspiracy-theories-are-surging
https://www.usnews.com/news/politics/articles/2021-01-07/mob-at-us-capitol-encouraged-by-online-conspiracy-theories
https://time.com/5703662/ebola-conspiracy-theories-congo/
https://news.yahoo.com/hillary-clinton-says-conspiracies-her-174559859.html

เมื่อ Facebook , Google และ Twitter กำลังแข่งกันกระจายข้อมูลผิด ๆ เกี่ยวกับ Coronavirus

การแพร่กระจายอย่างรวดเร็วของ coronavirus ในประเทศจีนและทั่วโลกได้ส่งผลให้ แพลตฟอร์มออนไลน์ยักษ์ใหญ่อย่าง Facebook, Google และ Twitter เกิดการแพร่กระจายชุดข้อมูลของความจริงที่ถูกต้องและความเท็จที่ผิดพลาดอีกมากมายเกี่ยวกับการระบาดร้ายแรงครั้งนี้

ยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีทั้งสามแห่งใน Silicon Valley พยายามที่จะลดการเข้าถึงข้อมูลด้านสุขภาพที่เป็นอันตรายรวมถึงการโพสต์ภาพถ่ายและวิดีโอที่พยายามทำให้ผู้คนแตกตื่น 

Facebook และทีมงาน ได้พยายามที่จะต่อสู้กับทฤษฎีสมคบคิดที่แพร่หลายรวมถึงการหลอกลวงที่อ้างว่ามาจากเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลสหรัฐฯอย่างไม่ถูกต้อง  ซึ่งข้อมูลที่ผิดบางส่วนได้แพร่กระจายผ่าน Facebook ส่วนตัว ซึ่งเป็นช่องทางที่ยากสำหรับนักวิจัยและทีมงานของ Facebook ในการตรวจสอบแบบเรียลไทม์ซึ่งเกิดขึ้นหลังจากข่าวแพร่ระบาดครั้งแรกเกี่ยวกับ coronavirus

“ออริกาโนออยล์พิสูจน์แล้วว่ามีประสิทธิภาพต่อต้านโคโรนาไวรัส” โพสต์ที่มีการแชร์อย่างน้อย 2,000 ครั้งในหลายกลุ่มภายในวันจันทร์ที่ผ่านมาก โพสต์ต้นฉบับเป็นข้อมูลเก่า และนักวิทยาศาสตร์ได้กล่าวว่าไม่มีการรักษาดังกล่าวสำหรับ coronavirus

โดยเจ็ดองค์กรที่เป็นพันธมิตรกับ Facebook ได้ทำการตรวจสอบข้อเท็จจริง 9 ครั้งในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมาโดยพบว่ามีโพสต์เกี่ยวกับ coronavirus หลายตัวที่ถูกระบุว่าเป็นข้อมูลเท็จซึ่งรวมถึงการรักษาด้วยยาปลอม  Facebook กล่าวว่ามีข้อความที่ไม่ถูกต้องและได้ทำการลดการมองเห็นลงในฟีดข้อมูลรายวันของผู้ใช้งาน

ข้อมูล fake news จำนวนมากถูกเผยแพร่บน facebook
ข้อมูล fake news จำนวนมากถูกเผยแพร่บน facebook

ส่วนทวิตเตอร์ ผู้ใช้ในสหรัฐอเมริกาค้นหา hashtags coronavirus ที่เกี่ยวข้องกับศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค YouTube ของ Google กล่าวว่าอัลกอริทึมของพวกเขามีการจัดลำดับความสำคัญของแหล่งที่น่าเชื่อถือมากขึ้น ถึงกระนั้นวิดีโอจำนวนหนึ่งรวมทั้งที่มีมากกว่า 430,000 วีดีโอ ได้ส่งข้อมูลที่น่าสงสัยเกี่ยวกับต้นกำเนิดของ coronavirus และวิธีการแพร่ระบาดของมัน

ในการค้นหาข้อมูลที่ผิดพลาดเกี่ยวกับ coronavirus, Facebook, Google และ Twitter ก็กำลังต่อสู้กับความรับผิดชอบของพวกเขาในฐานะผู้ดูแลข้อมูลขาเข้าจากผู้ใช้งาน ซึ่งมีทั้งข้อมูลที่จริง และ เท็จ

โดยทั่วไปแล้วยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีทั้งสาม จะรักษานโยบายเฉพาะเกี่ยวกับการโพสต์ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพโดยมีจุดประสงค์เพื่อให้แน่ใจว่าการสร้างข้อมูลทางดิจิทัลจะไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อโลกแห่งความจริง 

แต่บริการที่ได้รับความนิยมสูงสุดของ Silicon Valley ยังคงดิ้นรนเพื่อสร้างสมดุลกับการเฝ้าระวังของหน่วยงานกำกับดูแลและผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ ยกตัวอย่าง เช่น หลายเดือนก่อนที่ Facebook ทำการตอบโต้เนื้อหาที่เชื่อมโยงวัคซีนกับออทิซึมอย่างผิด ๆ ซึ่งมีผู้คนจำนวนมากที่ส่งเสริมการรักษาแบบผิด ๆ และข้อมูลดังกล่าวก็ยังคงอยู่ในแพลตฟอร์ม แม้ว่า Facebook จะเตือนผู้คนที่จะเข้าไปร่วมกลุ่มก่อนแล้วก็ตามที

ในทำนองเดียวกันกับวิดีโอต่อต้านการฉีดวัคซีน Google ได้ทำการปรับแต่งอัลกอริทึมของ YouTube เมื่อปีที่แล้วเพื่อหยุดเนื้อหาที่เป็นอันตรายจำนวนมากไม่ให้ปรากฏในผลการค้นหา และ Twitter ได้พยายามทำสิ่งที่คล้ายคลึงกัน แต่การบิดเบือนข้อมูลที่เป็นอันตรายยังคงมีอยู่ในแพลตฟอร์มเหล่านี้ ซึ่งเป็นสิ่งกระตุ้นให้เจ้าหน้าที่สาธารณสุขสหรัฐฯยังคงมองว่าโซเชียลมีเดียยังมีช่องโหว่กับเรื่องดังกล่าวอยู่

Youtube มีการปรับอัลกอริทึมเพื่อป้องกันข่าวปลอม
Youtube มีการปรับอัลกอริทึมเพื่อป้องกันข่าวปลอม

เมื่อจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้น Facebook และ Twitter ในช่วงสุดสัปดาห์ พบว่ามีโพสต์ยอดนิยมจำนวนมาก ที่ให้ข้อมูลผิด ๆ ว่าสหรัฐฯหรือรัฐบาลต่างประเทศอื่น ๆ ได้รับสิทธิบัตรสำหรับ coronavirus มาก่อนหน้านี้แล้ว โดยมีทวีตรายหนึ่งเรียก Coronavirus ว่า “โรคแฟชั่น” ซ้ำแล้วซ้ำอีกซึ่งเป็นโรคที่ได้รับการจดสิทธิบัตรมาแล้ว และมีการแชร์ประมาณ 5,000 ครั้งบน Twitter เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา

ผู้ใช้ Facebook หลายพันคนยังได้เข้าร่วมชุมชนที่สร้างขึ้นใหม่โดยเฉพาะเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับ coronavirus ซึ่งเป็นการค้นหาจากเว็บไซต์เครือข่ายสังคมเหล่านี้ ซึ่งเป็นการสร้างชุดข้อมูลที่ผิดๆ

มีผู้ใช้ Facebook มากกว่า 1,100 รายซึ่งดูเหมือนจะกลัวความเจ็บป่วยที่รุนแรง ในกลุ่มที่มีชื่อว่า“ Coronavirus Warning Watch” โดยผู้คนในกลุ่มมีการแลกเปลี่ยนทฤษฎีเกี่ยวกับการแพร่กระจายของมัน ในบางกรณีโยงเรื่องดังกล่าวไปเกี่ยวข้องกับแผนการ “การลดประชากร” ของรัฐบาล เช่นเดียวกับทุกกลุ่มโพสต์ภาพถ่ายและวิดีโอที่แชร์จะถูกส่งไปยังฟีดข่าวของผู้เข้าร่วมเพื่อเพิ่มการเข้าถึงให้มากที่สุด

ยังมีคนอื่น ๆ ใน facebook ที่ใช้กลุ่ม coronavirus เพื่อเน้นทฤษฎีที่ น้ำมันออริกาโนหรือซิลเวอร์คอลลอยด์สามารถรักษาโรคดังกล่าวได้ซึ่งเป็นข้อมูลเท็จ โดยในบางกรณีจะมีการโพสต์ลิงก์ไปยังวิดีโอ YouTube รวมถึงคลิปยอดฮิตที่มีความยาว 11 นาที ตอนนี้มีผู้ชมมากกว่า 20,000 ครั้งซึ่งเป็นการกล่าวอย่างผิด ๆ ว่าไวรัสได้ฆ่าชีวิต กว่า 180,000 คน ในประเทศจีน

Farshad Shadloo โฆษกของ YouTube กล่าวว่า บริษัท “ลงทุนอย่างหนักเพื่อเพิ่มเนื้อหาที่มีความถูกต้องบนเว็บไซต์ของเราและลดการแพร่กระจายของข้อมูลที่ผิดใน YouTube” เช่น สร้างความมั่นใจว่าผู้ที่ค้นหาข่าวจะเห็นผลลัพธ์ที่เป็นข้อมูลที่ถูกต้อง YouTube ปฏิเสธที่จะให้รายละเอียดหากมีการดำเนินการเฉพาะอื่น ๆ เกี่ยวกับวิดีโอที่เกี่ยวข้องกับ coronavirus

ส่วนใน Twitter ในขณะเดียวกันผู้ใช้บางคนที่มีผู้ติดตามจำนวนมากได้แชร์ข้อมูลว่า coronavirus แพร่กระจายไปสู่มนุษย์เนื่องจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารจีน ซึ่งรวมถึงเรื่องเกี่ยวกับการเหยียดผิวชาวจีน โดยผู้เชี่ยวชาญกล่าวในตอนนี้นักวิทยาศาสตร์ยังไม่ได้ชี้ไปที่ต้นกำเนิดของการติดเชื้ออย่างชัดเจนนัก ยังต้องมีการตรวจสอบให้ชัดเจนอีกซักระยะหนึ่ง

ความคิดเห็นเพิ่มเติมจากผู้เขียน

จะเห็นได้ว่าปัญหาเรื่อง Fakenews นั้น มันไม่ได้มีเฉพาะแค่ในประเทศไทยเราอย่างเดียวเท่านั้น เราจะเห็นได้ว่าหากเกิดวิกฤติคราใด เหล่าข้อมูลเท็จก็จะออกมามากมายผ่านเครือข่ายแพลตฟอร์มออนไลน์ยักษ์ใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น Facebook , Google หรือ Twitter

ในฝั่งตะวันตกนั้น อาจจะมีระบบการตรวจสอบบ้างอย่างที่กล่าวในบทความนี้ เนื่องจากสามารถใช้ เทคนิคทางด้าน computer algorithm ในการตรวจจับข่าวเท็จเหล่านี้ได้ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษอาจจะเป็นสิ่งที่ตรวจสอบได้ง่าย

แต่พอมาเป็นภาษาอื่น ๆ อย่างในภาษาไทยของเรา เราจะสังเกตได้ว่า ระบบแทบจะไม่ได้ตรวจจับข้อมูลเท็จเหล่านี้เลยด้วยซ้ำ ซึ่งน่าจะเป็นเรื่องข้อจำกัดของภาษาอย่างนึง ที่แพลตฟอร์มเหล่านี้ไม่สามารถทำได้อย่างมีประสิทธิภาพเหมือนข้อมูลภาษาอังกฤษ

ผมก็เป็นอีกหนึ่งคนที่เห็นด้วยมาก ๆ ที่เรื่องของ Fakenews เหล่านี้ แพลตฟอร์มออนไลน์เหล่านี้ไม่ว่าจะเป็น Facebook , Twitter หรือ Google ต้องมีส่วนในการรับผิดชอบกับเรื่องดังกล่าว เพราะพวกเขาเป็นคนรับข้อมูลเข้าระบบ การตรวจสอบต่าง ๆ นั้นจะง่ายกว่า ให้รัฐบาลแต่ละประเทศมาจัดการ ซึ่งเป็นสิ่งที่ยาก และที่สำคัญน่าจะใช้ต้นทุนที่ต่ำกว่าการมาแก้ที่ปลายเหตุมาก ๆ

แน่นอนว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องท้าทายที่สำคัญของแพลตฟอร์มออนไลน์เหล่านี้ ในการสร้างความน่าเชื่อถือของข้อมูล และที่สำคัญก็คือ ด้วยกลไกทางด้านอัลกอริธึม ที่เน้นการสร้าง engagement มากที่สุด ซึ่งเป็นจุดอ่อนที่สำคัญที่ทำให้ข้อมูลเท็จ Fakenews เหล่านี้ ถูกกระจายเป็นวงกว้างอย่างรวดเร็ว และ ทำให้ผู้คนต่างหันมาเลียนแบบได้ เพราะมันได้มาซึ่ง engagement ที่ดีขึ้นนั่นเอง ซึ่งสุดท้ายมันเป็นการเพิ่มรายได้ที่จะเข้ามาจากแพลตฟอร์มเหล่านี้

มีแนวคิดหนึ่งที่ผมเคยได้อ่านจากเรื่องราวของ Jack Ma ที่จัดการเรื่องนี้ในประเทศจีน หากไม่สามารถกรองข้อมูล input ขาเข้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ แพลตฟอร์มก็ควรมีการ Hold โพสต์ใด ๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องเข้าใจผิด ๆ อย่าง เรื่องทางด้านสาธารณสุข หรือ ข้อมูลสุขภาพ เมื่อมีการแพร่กระจายแบบผิตปรกติเสียก่อน

ข้อมูลเหล่านี้ควรมากจาก Account ที่ มีการ Verified ที่ชัดเจนแล้ว เช่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการจัดการเรื่องดังกล่าวจริง ๆ เพราะมันเป็นเรื่องใหญ่ ไม่ควรให้คนทั่วไปกระจายข่าวมั่ว ๆ ได้แบบง่าย ๆ ควร Hold ไว้แล้วตรวจสอบก่อน หากเป็นแหล่งที่ยังไม่ได้รับการ Verified ข้อมูลอย่างถูกต้อง เพราะเรื่องเหล่านี้ ตัวอย่างเช่น Coronavirus อย่างที่เราเห็นอยู่ในปัจจุบัน ถือเป็นเรื่องใหญ่มาก ๆ ที่ไม่ควรที่จะมีข้อมูลเท็จปล่อยออกมาจากแพล็ตฟอร์มเหล่านี้ นั่นเองครับ

References : https://www.washingtonpost.com/technology/2020/01/27/facebook-google-twitter-scramble-stop-misinformation-about-coronavirus/ https://www.20minutos.es/noticia/4133023/0/facebook-twitter-y-google-se-unen-a-la-lucha-contra-el-coronavirus-combatiendo-las-fake-news/