PayPal Wars ตอนที่ 3 : Mega-Merger

FEBRUARY—MARCH 2000

X.com ก่อได้ก่อให้เกิดภัยคุกคามที่ร้ายแรงต่อการแข่งขันกับ PayPal ของ Confinity ซึ่งแม้ว่าความสำเร็จของ PayPal ใน ebay จะช่วยเร่งการเติบโตให้ PayPal ได้มากเพียงใด แต่การเปิดตัวที่ฉูดฉาดกว่าของ X.com รวมถึงเงินทุนสำรองที่มีมหาศาลจาก Elon Musk เมื่อเทียบกับสถานะของ PayPal ที่ดูเหมือนทุนจะร่อยหรอลงไปทุกที

แม้การแข่งขันจะเป็นเรื่องดีต่อผู้บริโภค แต่เมื่อมองเกมนี้ในระยะยาวแล้วนั้น PayPal จะเป็นฝ่ายเสียเปรียบ X.com เป็นอย่างมาก เพราะทาง X.com นั้นพร้อมที่จะกระโจนมาเล่นในตลาดเดียวกับ PayPal ด้วยข้อเสนอที่เย้ายวนกว่านั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องโบนัส หรือ ค่าธรรมเนียม ที่ X.com นั้นพร้อมจะตัดราคาสู้

สุดท้าย Thiel จึงต้องตัดสินในครั้งสำคัญ นั่นก็คือ การควบรวมกิจการกับ X.com โดยให้คนกลางอย่าง Bill Harris ซึ่งมีชื่อเสียงจากการที่เคยเป็น CEO ของ Intuit บริษัที่สร้าง Quicken และ QuickBooks

Thiel จะรับตำแหน่งรองประธานอาวุโสด้านการเงิน ส่วน Elon Musk ประธานของ X.com จะเป็นประธานของบริษัทใหม่นี้ เนื่องจาก Musk จะกลายเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่สุดของบริษัทใหม่ และให้ Max รับตำแหน่ง CTO ของบริษัท

โดยในขณะที่ทั้ง PayPal และ X.com กำลังจูบปากกันอย่างดูดดื่มนั้น มันก็ได้เกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันเกิดขึ้นกับพวกเขาทั้งสอง เพราะบริการของพวกเขาที่ตอนนี้มีผู้ใช้งานส่วนใหญ่อยู่ในเว๊บไซต์ประมูลชื่อดังอย่าง ebay นั้น กำลังจะมีคู่แข่งคนสำคัญโผล่ขึ้นมาอีก 1 ราย

เพราะ ebay ได้ประกาศเปิดตัว Billpoint บริการชำระเงินออนไลน์ของตัวเองขึ้นมา เนื่องจากเห็นความสำเร็จของทั้ง PayPal และ X.com ที่กำลังไปได้ดีบนแพลตฟอร์มของ ebay

แล้วทำไม ebay จะไม่ทำเสียเอง เพราะเป็นบริการที่ช่วยตอบโจทย์ลูกค้าของพวกเขาเองแทบจะทั้งสิ้นอยู่แล้ว ซึ่งการสร้างบริการประมวลผลบัตรเครดิตที่ใช้งานได้สำหรับผู้ขายใน ebay ผ่าน Billpoint นั้น มีจุดประสงค์ก็เพื่อปรับปรุงธุรกิจหลักของ ebay เอง

ซึ่งรูปแบบการประมูลที่มีการหมุนเวียนอยู่ในระบบของ ebay นั้นจะเกิด transaction จำนวนมหาศาล ซึ่งเป็นแหล่งที่มาของค่าธรรมเนียมซึ่งเป็นรายได้ส่วนใหญ่ของ ebay และมันจะเพิ่มขึ้นได้หากมีบริการของ Billpoint เข้ามาเสริมในจุดนี้ และที่สำคัญยังได้บริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Wells Fargo เข้ามาร่วมลงทุนใน Billpoint เพิ่มเติมอีกด้วย

ebay ส่งบริการอย่าง Billpoint มาสู้กับ X.com และ PayPal
ebay ส่งบริการอย่าง Billpoint มาสู้กับ X.com และ PayPal

และการชำระเงินออนไลน์ ก็ได้กลายเป็นอุตสาหกรรมที่แข่งกันอย่างดุเดือด ในเดือนมีนาคมปี 2000 การที่ Confinity และ X.com ได้รวมตัวกัน รวมถึง ebay ที่ได้ผนึกหุ้นส่วนกับ Wells Fargo หรือ รายอื่น ๆ อย่าง dotBank และ PayMe ที่เพิ่งเข้าสู่ตลาด มันทำให้ศึกนี้เต็มไปด้วยความดุเดือด

Yahoo ที่เป็นยักษ์ใหญ่ด้าน เว๊บไซต์พอร์ทัล ในขณะนั้น ก็เริ่มสนใจในตลาดนี้เช่นกัน ซึ่ง Yahoo ก็มองว่าบริการชำระเงินออนไลน์นั้นจะช่วยเพิ่มความสะดวกในการซื้อขายบนเว๊บไซต์ของ Yahoo เช่นเดียวกัน จึงมีความคิดที่จะซื้อกิจการของ PayPal ที่ควบรวมกับ X.com แต่โดน Thiel และ Musk ปฏิเสธไป

หรือแม้กระทั่ง ebay เองก็ตาม Yahoo ก็เคยพยายามตามตื้อที่จะเข้าซื้อกิจการอยู่เช่นเดียวกัน เนื่องจากมีเงินสดจำนวนมากหลังจากได้ทำ IPO ได้สำเร็จ แต่ ebay เองที่มีผู้บริหารคือ Meg Whitman ก็ต้องการที่จะนำ ebay ทำ IPO เช่นเดียวกัน Deal ดังกล่าวจึงไม่ได้เกิดขึ้น

สุดท้าย Yahoo จึงได้ไปทำการซื้อกิจการของ Dotbank แทน แต่ตอนนั้นมันก็ช้าไปเสียแล้วเนื่องจากดูเหมือนว่า Dotbank จะตามคนอื่นไม่ทันแล้วในตลาดชำระเงินออนไลน์ โดย Yahoo ได้ประกาศปิดเว๊บไซต์ Dotbank และเปลี่ยนบริการมันให้กลายเป็น Yahoo PayDirect แทนในที่สุด

และภายในเพียงแค่ 6 เดือนหลังจากนั้น ตลาดบริการชำระเงินออนไลน์ ก็มีผู้เล่นหน้าใหม่เข้ามามากมาย นั่นคือ บริษัท startup 4 แห่ง (X.com ,PayMe, PayPlace และ gMoney) บริการพอร์ทัลอย่าง Yahoo PayDirect รวมถึงบริการของธนาคารยักษ์ใหญ่อย่าง eMoneyMail ของ Bank One และ พันธมิตร ebay-Wells Fargo (Billpoint) ซึ่งทุกฝ่ายต่างต้องการรที่จะก้าวไปสู่จุดสูงสุดด้วยการครอบงำตลาดการชำระเงินออนไลน์ให้ได้ทั้งหมด

Yahoo ก็ลงมาเล่นในตลาดนี้ด้วยบริการ Pay Direct
Yahoo ก็ลงมาเล่นในตลาดนี้ด้วยบริการ Pay Direct

แต่ดูเหมือนว่าในบรรดาคู่แข่งทั้งหมดนั้น บริการที่เป็นคู่แข่งที่น่ากลัวที่สุดของ X.com (หลังควบรวมกับ PayPal) ก็คือ Billpoint ที่มี ebay คอยหนุนหลังอยู่นั่นเอง เพราะเป็นตลาดใหญ่ของ X.com เช่นเดียวกันในขณะนั้น

ebay เริ่มเล่นงาน X.com ทันทีด้วยการประกาศนโยบายใหม่ โดยอ้างเรื่องความจำเป็นในการรักษาภาพลักษณ์ของเว๊บไซต์ ebay ให้ไม่ดูรกตา เพราะตอนนั้น X.com ได้เข้าไปสร้างบริการที่ ผูกไว้กับ ebay แบบหลวม ๆ และเต็มไปด้วยหน้าจอต่างๆ มากมายสำหรับลูกค้าไว้ใช้งานบริการของ X.com ในการชำระเงินผ่านการประมูล

การอ้างเรื่องนโยบายใหม่ของ ebay นั้นต้องบอกว่าทำให้ X.com นั้นลำบากขึ้นมากในการให้บริการบน ebay ซึ่ง Reid Hoffman ได้กล่าวถึงภัยคุกคามดังกล่าว ไม่เพียงแต่ทำให้ PayPal เสี่ยงต่อการสูญเสียลูกค้าปัจจุบันเพียงเท่านั้น แต่นโยบายนี้ ยังขัดขวางไม่ให้พวกเขาสามารถหาลูกค้าใหม่ได้สะดวกเหมือนเก่าอีกต่อไป มันเป็นการเล่นเกมสงครามประสาทจาก ebay แทบจะทั้งสิ้น แต่ก็ทำอะไรไม่ได้ เพราะมันเป็นแพลตฟอร์มของพวกเขา

และที่สำคัญ ณ ขณะนั้น PayPal เริ่มมีอัตราการเผาเงินที่เพิ่มสูงขึ้น และธุรกรรมต่าง ๆ ของ PayPal และ X.com นั้นยังคงฟรีสำหรับผู้ใช้งานทุกคน โดยในไตรมาสแรกของปี 2000 นั้นพวกเขามีรายรับเพียงแค่ 1.2 ล้านเหรียญ เมื่อเทียบกับค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่สูงถึง 23.5 ล้านเหรียญ ทำให้ดุลบัญชีเงินสดของพวกเขาเริ่มร่อยหรอ ลงไปทุกที

ซึ่งเป็นหน้าที่ของ Thiel ที่จะต้องปิดการระดมทุนเงินเข้าบริษัท ให้ได้ 100 ล้านเหรียญโดยเร็วที่สุด โดย Thiel และ ทีมงานของเขาได้เดินทางรอบโลก เพื่อเข้าแถวหานักลงทุน เพราะในขณะนั้น ต้องบอกว่า ตลาดทุนทั้งภาครัฐ และเอกชน ทั่วโลกมีความกระหายที่ไม่รู้จักพอสำหรับบริษัทเทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริษัท ที่เพิ่งเริ่มทำธุรกิจดอทคอม

โดยในช่วงเวลาดังกล่าวอเมริกา มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายทางด้านการเงินบางอย่างที่ทำให้ปริมาณเงินในระบบลดลง รวมถึงราคาหุ้นที่พุ่งขึ้นถึงจุดสูงสุด และเศรษฐกิจก็เริ่มชะลอตัว แม้นักลงทุนส่วนใหญ่อาจจะไม่ได้ตระหนักถึงสิ่งที่เกิดขึ้นในเวลานั้น

แต่มันมีสัญญาณบางอย่าง ที่เริ่มส่งสัญญาณไม่ดีออกมา ซึ่ง Thiel นั้นสังเกตเห็นก่อนใคร รีบพยายามปิดดีลการลงทุนทั้งหมด สั่งทีมงานของเขาให้เร่งโทรศัพท์อย่างไม่หยุดยั้งจนกระทั่งได้เงินครบ 100 ล้านเหรียญตามความต้องการของเขาในที่สุด

ฟองสบู่ดอทคอมแตก ที่ X.com และ PayPal รอดมาได้อย่างหวุดหวิด
ฟองสบู่ดอทคอมแตก ที่ X.com และ PayPal รอดมาได้อย่างหวุดหวิด

และวันแห่งความวิบัติ ก็มาถึงอย่างรวดเร็ว ในวันที่ 3 เมษายน ปี 2000 หุ้น NASDAQ ทรุดตัวลงสู่ 4,223 จุด เกิดฟองสบู่ดอทคอมแตก ทำให้บริษัทมากมายต้องล้มหายตายจากไปจากธุรกิจดอทคอม ซึ่งต้องบอกว่าเป็นสถานการณ์ที่หวุดหวิดมาก ๆ สำหรับ Thiel เพราะหากเขาปิดดีลเงินลงทุนช้าไปเพียงแค่ 2-3 วัน การล่มสลายของตลาดหุ้นจะทำให้ X.com ล้มครืนลงไปได้ทันที

และการที่รอดมาได้อย่างหวุดหวิด ด้วยเงินทุน 100 ล้านเหรียญก้อนนั้น การควบรวมกิจการ และการเติบโตอย่างรวดเร็วของพวกเขา ก็พร้อมที่จะเดินหน้าต่อไปแล้ว แล้วบททดสอบครั้งต่อไปของพวกเขาจะต้องเจอกับอะไรอีกบ้าง กับเป้าหมายที่พวกเขาต้องการที่จะปฏิวัติระบบชำระเงินแบบออนไลน์ให้สำเร็จให้ได้ โปรดอย่าพลาดติดตามตอนต่อไปครับผม

–> อ่านตอนที่ 4 : Growing Pains

อนกลับไปตอนที่ 1 :The New Recruit *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Alibaba ของ Jack Ma เอาชนะ Ebay ในประเทศจีนได้อย่างไร?

สภาพแวดล้อมในธุรกิจค้าปลีกของจีนนั้นมีพัฒนาการแตกต่างจากหลาย ๆ ประเทศ วิวัฒนาการปรกติของธุรกิจค้าปลีกมักจะเริ่มต้นขึ้นจากร้านโชว์ห่วย พัฒนามาเป็นห้างสรรพสินค้า เป็นดิสเค้าท์สโตร์ เป็นร้านค้าเฉพาะทาง และจบลงด้วยธุรกิจรูปแบบใหม่คือ อีคอมเมิร์ซ

แต่สำหรับประเทศจีนนั้นมันแตกต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง เนื่องจากประเทศจีนนั้นเปิดประเทศมาเพียงแค่ไม่กี่ปีเท่านั้น และมีการเติบโตของชนชั้นกลางที่รวดเร็วที่สุดประเทศหนึ่งในประวัติศาสตร์โลก ย่อมทำให้เกิดการก้าวกระโดดอย่างรวดเร็วของพัฒนาการในธุรกิจค้าปลีกเหล่านี้ และจีนเป็นเพียงหนึ่งในไม่กี่ประเทศ ที่กระโดดจากร้านโชว์ห่วยข้ามมาเป็น อีคอมเมิร์ซ ได้รวดเร็วและรุนแรงที่สุด

และหลังจากที่แจ๊ค หม่า ได้สร้าง taobao ขึ้นมาออนไลน์ได้เรียบร้อยแล้วนั้น มันคือจุดเริ่มต้นของการสู้รบระหว่างธุรกิจ C2C ของ อาลีบาบา และผู้นำในตลาดอีคอมเมิร์ซจากอเมริกาอย่าง ebay ซึ่งในตอนนั้นต้องบอกว่า ebay ที่เป็นยักษ์ใหญ่ที่สุดในวงการอีคอมเมิร์ซโลกเลยก็ว่าได้ 

ebay นั้นบุกไปที่ประเทศไหน ก็สามารถยึดครองตลาดได้แทบเบ็ดเสร็จ มีเพียงแค่ญี่ปุ่นที่เดียวเท่านั้น ที่ ebay ไม่สามารถยึดครองได้ เนื่องจากพ่ายแพ้ต่อ YAHOO Japan แต่อย่างไรก็ดี ebay ก็ค่อนข้างมั่นใจว่าจะสามารถยึดตลาดจีนได้ เพราะตอนนั้นเอง taobao ก็ยังเล็กเกินกว่าที่จะต่อสู้กับ ebay  

ซึ่งหลังจาก ebay เข้าตลาดจีนได้สำเร็จจากการ take over EachNet โดย Meg Whitman ที่ดำรงตำแหน่ง CEO ของ ebay ในขณะนั้น ได้กล่าวไว้ว่าประเทศจีนคือตลาดที่สำคัญที่สุดอันดับสองรองจากสหรัฐอเมริกา และเขาคาดว่าในอีก 10-15 ปี ตลาดจีนจะกลายเป็นตลาดใหญ่ที่สุดของ ebay และที่สำคัญยังประกาศท้ารบกับคู่แข่งโดยกล่าวไว้ว่าจะทำการยุติสงครามอีคอมเมิร์ซให้ได้ภายใน 18 เดือน ซึ่งถือเป็นคำขู่จากบริษัทที่ถือเป็นยักษ์ใหญ่วงการอีคอมเมิร์ซโลก

Meg Whitman มั่นใจอย่างมากว่าจะครองครองตลาดจีนได้สำเร็จ

กลยุทธ์ป่าล้อมเมือง

ตอนนั้น ebay ทุ่มหมดหน้าตัก ทำการโฆษณาสัมพันธ์ไปทั่วทั้งจีน โดยเว๊บไซต์ใหญ่ ๆ ในประเทศจีนในตอนนั้น ได้ถูก ebay ซื้อพื้นที่โฆษณาไปแทบจะหมดแล้ว แล้วแจ๊คตัวน้อยกับ taobao ของเขาจะทำอย่างไร ด้วยทุนรอนที่น้อยกว่า แถมเครือข่ายเว๊บใหญ่ ๆ นั้นได้ถูก ebay ยึดครองไปหมดแล้ว

แต่เนื่องจากหลังปี 2000 จำนวนผู้ใช้ internet ในจีนเพิ่มมากขึ้นและต้นทุนการทำเว๊บก็ลดลงไปมาก เว๊บไซต์ขนาดเล็กจึงมีให้เห็นเป็นจำนวนมาก เว๊บเหล่านี้ส่วนมากทำโดยบุคคลทั่วไป และเป็นเว๊บไซต์เจาะจงในความสนใจหรือความต้องการของเจ้าของเว๊บเป็นหลัก

ซึ่งเครือข่ายเว๊บไซต์เหล่านี้ล้วนเสนอราคาค่าโฆษณาที่ต่ำมาก และมีการผูกโยงเป็นเครือข่ายไว้บ้างแล้ว ซึ่งทำให้ taobao นั้นจะไปโฆษณาอยู่ในเครือข่ายเว๊บเหล่านี้แทนเว๊บไซต์ขนาดใหญ่ ซึ่งเมื่อเทียบจากผลลัพธ์แล้วนั้น พบว่าได้ผลดีกว่าเว๊บไซต์ใหญ่ ๆ เสียอีก โดยใช้เงินทุนที่น้อยกว่ามาก

Localization

กลยุทธ์อีกอย่างที่สำคัญของ taobao คือ ความเข้าใจในพื้นที่ ซึ่ง taobao มีสูงกว่า ebay มาก แจ๊คได้ปรับ taobao ให้เป็นเว๊บไซต์ที่มีหน้าตาแบบจีนแท้ ๆ คือมีตัวหนังสือเต็มไปหมดทั้งหน้าจอ เรียกได้ว่าแทบจะไม่มีพื้นที่ว่างเลยด้วยซ้ำ

ในสายตาของ ebay ที่คิดแบบฝรั่งนั้น มันคือความรกชัด ๆ ebay ต้องการหน้าจอที่ใช้งานได้แบบเรียบง่ายตามสไตล์อเมริกา ที่เน้นหน้าจอที่ดูสะอาดใช้งานง่าย ๆ แต่นี่คือประเทศจีน มันคือความเคยชิน ที่เหล่าลูกค้าคุ้นเคยในชีวิตประจำวัน

การเรียงหมวดหมู่สินค้าก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญ  taobao นั้นเรียงหมวดหมู่ของสินค้าตามสไตล์จีนแท้ ๆ คือเรียงหมวดหมู่สินค้าแบบห้างสรรพสินค้าในจีน ในขณะที่ ebay นั้นจัดเรียงแบบบริษัทแม่ที่อยู่ในอเมริกา ทำให้ลูกค้าชาวจีนที่เข้ามาใช้บริการใหม่ ๆ จะรู้สึกคุ้นเคยกับแพลตฟอร์มของ taobao มากกว่า

ebay นั้นได้ทำสิ่งที่ผิดพลาดอีกอย่างนึงที่ไม่เข้าใจถึงวัฒนธรรมจีนเลย ก็คือ การทำให้ แพลตฟอร์มของ ebay ทั่วโลกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทำให้ต้องมีการปรับหน้าเว๊บจาก EachNet เดิมที่คนจีนคุ้นเคย เปลี่ยนมาเป็น ebay แบบเดียวกับที่อเมริกา ทำให้ ขั้นตอนการซื้อขาย กลไกการประเมินราคา และอื่น  ๆ อีกมากมาย ซึ่งทำให้ลูกค้าเก่าในประเทศจีนที่ชินกับลักษณะเดิม ๆ ปรับตัวไม่ได้

ebay พยายามมาคั่นกลางระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายด้วยความกลัวว่าจะไม่ได้ค่า ธรรมเนียม ซึ่งเป็นรายได้หลักของบริษัท แต่ taobao ปล่อยให้ผู้ซื้อและผู้ขายคุยกันได้อย่างอิสระ แถมยังมีโปรแกรม Messenger ให้คุยกันง่ายขึ้นด้วย เพราะ taobao นั้นไม่มีค่าธรรมเนียมจึงไม่ต้องกลัวว่าผู้ซื้อและผู้ขายจะไปขายกันเองโดยไม่ผ่านแพลตฟอร์ม

Messenger ของ taobao ที่ให้พ่อค้าและลูกค้า มาคุยกันได้อย่างอิสระ

สุดท้ายคนก็ใช้ แพลตฟอร์มของ taobao ที่ง่ายกว่า เพราะผ่าน แพลตฟอร์ม หรือไม่ ก็ไม่ได้เสียเงินอยู่แล้ว ซึ่งสิ่งนี้ทำให้ลูกค้าของ taobao รู้สึกว่า taobao จริงใจในการช่วยเหลือพวกเขาและไม่หน้าเลือด มุ่งแต่จะเก็บแต่ค่าธรรมเนียมเหมือน ebay

และลำพังการให้บริการฟรีเพียงอย่างเดียวนั้นยังไม่เพียงพอที่จะเอาชนะ ebay ได้อย่างแน่นอน แจ๊คจึงต้องสร้างระบบให้บริการบนเว๊บที่ดีด้วย เขาจึงทุ่มเทอย่างหนักเพื่อปรับปรุงการบริการให้ตอบสนองลูกค้าให้ดีที่สุด เขามุ่งมั่นที่จะทำระบบบริการลูกค้าสำหรับเว๊บที่ให้ใช้ฟรีอย่าง taobao ให้ได้ดียิ่งกว่าเว๊บที่คิดค่าธรรมเนียมอย่าง ebay อีกด้วย

นั่นมันทำให้ลูกค้าเริ่มหลั่งไหลมาใช้งาน taobao แทน แต่ทางผู้บริหาร ebay ก็ยังไม่รู้ร้อนรู้หนาวกับยุทธศาสตร์ที่ผิดพลาดของตน โดย ทำการเผาเงินเพื่อทุ่มโฆษณาขนานใหญ่เพื่อหวังฆ่า taobao ให้ตาย ด้วยเงินทุนที่มากกว่า

แต่หารู้ไม่ว่านั่นเป็นการโฆษณาที่ไร้ตรรกะสิ้นเชิง ผู้บริหารระดับสูงของ ebay นั้นละเลยความจริงพื้นฐานข้อหนึ่ง ที่ว่า taobao ของ อาลีบาบานั้นกำลังกลายเป็นหนุ่มใหญ่วัยกำลังเจริญเติบโต

ในขณะนั้นการซื้อขายออนไลน์ยังไม่ฝังลึกลงในใจชาวจีน โฆษณาทั้งหมดเกี่ยวกับการซื้อขายออนไลน์จึงล้วนกลายเป็นการทำตลาดให้ธุรกิจ C2C ทั้งหมดของจีนไปด้วย ดังนั้น ebay จึงกลายเป็น ฮีโร่ ในตลาด C2C การโฆษณาแบบเหวี่ยงแหของ ebay กลับกลายเป็นการทำโฆษณาฟรีให้ taobao ไปด้วย

และไม่ว่าจะด้วยตรรกะของแจ๊ค หรือความจริงที่ปรากฏในภายหลังล้วนพิสูจน์ได้ว่า ในการแข่งขันทางธุรกิจนั้น การเผาเงิน อย่างบ้าคลั่งของ ebay ไม่มีคุณค่าเลยแม้แต่น้อย และสำหรับตลาดประมูลของประเทศจีนแล้ว ebay ดูเหมือนจะกลายเป็นผู้เสียสละด้วยซ้ำ โดยเฉพาะการสละเงินจำนวนมากในการทุ่มโฆษณาครั้งนี้

ในเดือนพฤษภาคม 2005 ส่วนแบ่งการตลาดของ taobao คือ 67.3% แซงหน้า ebay ที่ครอง 29.1% สมาชิกลงทะเบียน taobao 19 ล้านราย ในปี 2006 สามาชิกของ taobao เพิ่มเป็น 22.5 ล้านรายมากกว่า ebay ในที่สุด taobao ก็ครองแชมป์ตลาด C2C ของจีนทั้งด้านจำนวนสมาชิกและยอดเงินจากการซื้อขาย และในที่สุดในช่วงฤดูหนาวปี 2006 ebay ก็ต้องถอนตัวจากประเทศจีน โดยขายกิจการให้กับ กลุ่ม TOM เป็นอันสิ้นสุดสองคราม C2C ของประเทศจีนที่ฝ่าย taobao เอาชนะไปได้อย่างขาดลอย

ความพ่ายแพ้อย่างย่อยยับในจีนของ ebay ต่อ jack ma

ต้องบอกว่า สงครามระหว่าง taobao กับ ebay ใน ประเทศจีนครั้งนี้ ถือเป็น case study ที่สำคัญของวงการธุรกิจโลก ฝ่ายหนึ่งเป็นผู้นำทางธุรกิจที่ใหญ่ที่สุด และกำลังบูมสุดขีดในขณะนั้น แต่ฝ่ายหลัง ที่สร้างเว๊บไซต์ขึ้นมาใหม่ใช้เวลาแค่ 2 ปีก็แย่งส่วนแบ่งการตลาดมาได้ถึง 70%  ถึงตอนนี้มันก็พิสูจน์ได้อย่างชัดเจนแล้วว่าสงครามในครั้งนี้ taobao เอาชนะไปได้อย่างขาดลอยนั่นเองครับ

References : https://brandinginasia.com/wp-content/uploads/2018/02/Jack-Ma-Jet-Li-Alibaba-Martial-Arts-Film-Branding-in-Asias.jpg

AI translation กับตัวช่วยในการเพิ่มยอดขายให้กับ eBay

เรามักจะได้ยินว่าปัญญาประดิษฐ์มีความสำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ  ซึ่งจากการศึกษาเมื่อเร็ว ๆ นี้จากนักเศรษฐศาสตร์ที่ MIT และมหาวิทยาลัยวอชิงตันในเซนต์หลุยส์มีหลักฐานบางอย่างที่แสดงให้เห็นว่าเครื่องมือ AI ช่วยกระตุ้นการขาย โดยมาช่วยในเรื่องของกำแพงระหว่างภาษาได้อย่างไร

เมื่อเปรียบเทียบกับข้อมูลที่คัดลอกมาจาก eBay นักวิจัยได้เปรียบเทียบยอดขายระหว่างประเทศสหรัฐอเมริกาและประเทศแถบละตินอเมริกาที่พูดภาษาสเปน โดยมีการเปรียบเทียบก่อนและหลัง ที่ eBay ได้เปิดตัว AI-powered translation สำหรับรายการสินค้าในปี 2014 (โดยเฉพาะเครื่องมือแปลภาษา และส่วนคำค้นหา )

ก่อนหน้านี้ eBay เสนอการแปลแบบอัตโนมัติ แต่การใช้ AI ช่วยปรับปรุงความแม่นยำของบริการอย่างมาก ซึ่งลูกค้าคาดหวังว่าการแปลที่ดีกว่าจะนำไปสู่การเพิ่มยอดขาย และนั่นคือสิ่งที่นักวิจัยค้นพบ ซึ่งจากข้อมูลของพวกเขาแสดงให้เห็นว่ายอดขายจากสหรัฐอเมริกาไปยังประเทศต่าง ๆ เหล่านี้ เพิ่มขึ้นถึง 10.9% หลังจากเปิดตัวเครื่องมือ AI-powered translation

นักวิจัยยอมรับว่าตัวแปรอื่น ๆ ก็อาจทำให้เกิดยอดขายที่เพิ่มขึ้นนี้  ตัวอย่างเช่นพวกเขาเปรียบเทียบตัวเลขการส่งออกในช่วงเวลาเดียวกัน  และทำการควบคุมปัจจัยต่างๆ เช่นค่าใช้จ่ายด้านการตลาดที่เพิ่มขึ้น รวมถึงปัจจัยในเรื่องความยาวของชื่อหนังสือที่วางจำหน่าย

นักวิจัยยังเปรียบเทียบข้อมูลนี้กับเครื่องมือแปล AI ของ eBay สำหรับภาษารัสเซีย อิตาลีและฝรั่งเศส พวกเขาพบยอดขายที่เพิ่มขึ้นคล้ายกัน และคาดการณ์ว่า การเพิ่ม Features แปล AI  จะส่งผลโดยตรงต่อยอดขายที่เกิดขึ้นนั่นเอง

“ การเปรียบเทียบเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่าเรื่องของการกีดกันทางการค้า  อุปสรรคทางภาษานั้นมีความสำคัญเป็นอันดับแรกจริง ๆ ” นักวิจัยกล่าว “ การแปลด้วยเครื่องมือที่ปรับปรุงแล้ว ทำให้การสื่อสารใน eBay มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น”

ในบล็อกโพสต์จากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน ในเซนต์หลุยส์ นักวิจัยกล่าวว่างานของพวกเขาสามารถใช้เป็นมุมมองเชิงลบเกี่ยวกับอัตราการผลิตที่ซบเซาทั่วโลกได้เป็นอย่างดี 

Erik Brynjolfsson จาก MIT ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญชั้นนำด้านการผลิตและยังได้ร่วมเขียนบทความล่าสุดนี้ได้แนะนำว่าสิ่งนี้อาจเกิดจากการใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ อย่างช้าๆ นั่นเอง

“ปัญหา คือ ปกติต้องใช้เวลาสำหรับองค์กรสำหรับนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อการปรับตัวที่จะเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จาก AI ได้อย่างเต็มที่ ” เซียง ฮุ่ย นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยวอชิงตัน กล่าวว่า จากผลงานวิจัยดังกล่าวนั้นแสดงให้เห็นว่าเมื่อเทคโนโลยีอย่าง AI ถูกนำมาใช้งานจริง ๆ นั้น ในที่สุดมันก็มีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อตัวเลขยอดขายอย่างที่เราเห็นนั่นเอง

References : 
https://www.theverge.com/2019/5/15/18624459/ai-translation-boosted-ebay-sales-more-than-10-percent

ประวัติ Elon Musk ตอนที่ 7 : Joining the Mafia

หลังจากขาย Zip2 ให้กับ คอมแพค ได้สำเร็จ มัสก์ ก็กลายเป็นเศรษฐีย่อม ๆ ทันที มันเป็นความสำเร็จในการทำธุรกิจครั้งแรก มันมาด้วยช่วงจังหวะ และโอกาสที่เหมาะสม สำหรับเขาเป็นอย่างมากสำหรับธุรกิจแรกอย่าง Zip2 แต่ตอนนี้เขากำลังมองหาธุรกิจใหม่ ที่เป็นอุตสาหกรรมที่มีเงินมหาศาล ซึ่งธุรกิจนั้นก็คือ ธนาคาร ซึ่งมัสก์มองว่า เหล่าพวกนายธนาคารทังหลายนั้น รวย แต่ โง่ !!!

แล้วแนวคิดเรื่องการตั้งธนาคารบนอินเตอร์เน็ต มันมาจากไหน? ก็ต้องบอกว่า มัสก์นั้นเคยฝึกงานที่ ธนาคารโนวาสโกเทีย ซึ่งในตอนนั้น เขาได้สะดุดถึงโอกาสทางธุรกิจ แต่เขาก็พยายามบอกเรื่องดังกล่าวกับเหล่าผู้บริหารแต่ไม่มีใครสนใจความคิดเขา 

แต่มันเริ่มตกผลึกจริง ๆ จัง ๆ ก็ตอนที่มัสก์ นั้นไปฝึกงานที่สถานบันวิจัย Pinnacle Research ในปี 1995 ที่ซึ่งมีนักวิทยาศาสตร์ ระดับ อัจฉริยะอยู่เต็มไปหมด มัสก์ พยายามที่จะนำเสนอ ไอเดียการชำระเงินในระบบออนไลน์ผ่าน internet 

Pinnacle Research ที่เต็มไปด้วยนักวิทยาศาสตร์อัจฉริยะ
Pinnacle Research ที่เต็มไปด้วยนักวิทยาศาสตร์อัจฉริยะ

แต่ตอนนั้น แทบจะไม่มีใครมาสนับสนุนแนวความคิดนี้ ความปลอดภัยเป็นเรื่องสำคัญที่สุด ใครจะบ้ามาจ่ายเงินผ่าน internet เงินดิจิตอล มันเป็นความเพ้อฝัน ซึ่งในตอนนั้น amazon.com ก็เริ่มที่จะให้ชำระเงินได้ผ่านออนไลน์ แต่ การแจ้งบัตรเครดิตนั้นก็ยังผ่านระบบโทรศัพท์อยู่ดี ยังไม่มีใครกล้าที่จะให้ข้อมูลบัตรเครดิตไปยังโลกออนไลน์

แต่ความคิดของมัสก์ นั้นไปไกลมาก เขาถึงขั้นที่จะสร้างสถาบันการเงินแบบออนไลน์เลยด้วยซ้ำ มีบริการทุกอย่างครอบคลุมเหมือนกับธนาคารสาขาปรกตินั่นเอง แต่ปัญหาใหญ่ของแนวคิดมัสก์ คือ กฏระเบียบต่าง ๆ ที่คอยควบคุมวงการการเงินและธนาคารของประเทศสหรัฐอเมริกา ที่โบราณคร่ำครึ

แต่มันไม่ได้ทำให้มัสก์ ย่อท้อแต่อย่างใด ในช่วงเดียวกับที่ขาย Zip2 นั้นเขาก็ได้เตรียมเปิดบริษัททางด้านการเงินใหม่ไว้เรียบร้อยแล้ว และชักชวนเพื่อนร่วมงานที่ Zip2 รวมถึงเพื่อนสมัยฝึกงานในธนาคารโนวาสโกเทีย มาร่วมกันสร้างบริษัท X.com 

แถมยังได้บุคคลที่มีประสบการณ์ด้านการเงินอย่าง แฮร์ริส ฟริคเคอร์ และ คริสโตเฟอร์ เพย์น ที่นำความรู้เรื่องกลไกในโลกธนาคารมาให้กับ X.com ซึ่งทั้งหมดล้วนแล้วแต่มองเห็นอย่างเดียวกันคือ การต้องปฏิวัติอุตสาหกรรมธนาคาร ที่มีมากว่าหลายร้อยปี โดยใช้ อินเตอร์เน็ตให้เป็นประโยชน์ให้จงได้

X.com บริการที่จะมาปฏิวัติวงการการเงิน
X.com บริการที่จะมาปฏิวัติวงการการเงิน

แต่การเริ่มต้นก็ไม่ได้หอมหวนอย่างที่คิด เพราะเพียงแค่ 5 เดือนแรก มัสก์ กับ ฟริคเคอร์ ก็เริ่มมีปัญหากัน ฟริคเคอร์ต้องการยึดอำนาจใน X.com และต้องการเป็น CEO และคนอย่างมัสก์ ก็ไม่เคยยอมใครอยู่แล้ว ทำให้ทั้งสองแตกหักกันอย่างรวดเร็ว ฟริคเคอร์ คนที่สำคัญมีความรู้ด้านโลกการเงินต้องเดินจากไป

ปัญหาใหญ่ของ X.com มันอยู่ที่ข้อกฏหมาย ที่เป็นอุปสรรคขัดขวางไม่ให้ X.com ได้เกิด แต่มัสก์ ก็ได้ว่าจ้างทีมงานมืออาชีพ เพิ่มขึ้น รวมถึงเร่งเหล่าทีมวิศวกรให้พัฒนาซอฟท์แวร์ให้เส็ดเร็วที่สุด

และในไม่กี่สัปดาห์ X.com เวอร์ชั่นแรก ก็พร้อมปล่อยออกไปให้โลกได้ยลโฉมเสียที รวมถึงข้อกฏหมายต่าง  ๆ มัสก์ก็ได้ว่าจ้างเหล่านักกฏหมายมืออาชีพ มาจัดการได้อย่างเรียบร้อย และมันก็พร้อมออนไลน์ครั้งแรกในช่วงเทศกาลวันขอบคุณพระเจ้าในปี 1999

และเพื่อให้ลูกค้าเข้ามาใช้งานมากที่สุด มัสก์ นั้นได้จัดโปรโมชั่น เต็มที่เพื่อ โปรโมต X.com ให้ติดตลาดเร็วที่สุด เขาแจกเงิน 20 เหรียญ เพียงแค่คนสมัครมาใช้บริการ รวมถึงแจกอีก 10 เหรียญเพียงแค่แนะนำต่อให้คนรู้จักได้ใช้

เรียกได้ว่า บริการ X.com มันเป็นการปฏิวัติวงการการเงินของอเมริกาเลยก็ว่าได้ เขากำจัดค่าธรรมเนียม ที่เดิมต้องจ่ายให้การทำธุรกรรมต่าง ๆ ออกไปทั้งสิ้น เพื่อดึงดูดใจคนให้มาใช้งานให้มากที่สุด 

นวัตกรรมที่เด่นที่สุดของ X.com คือ การจ่ายเงินแบบบุคคลต่อบุคคล ซึ่งทำได้เพียงง่ายได้เพีงแค่ใส่ email ของผู้ที่ต้องการส่งเงินไปในเว๊บไซต์ และสามารถทำได้โดยการคลิกเมาส์เพียงไม่กี่ครั้ง เงินก็ไปถึงคนที่คุณรักได้แล้ว

แต่แค่เพียงไม่นาน ก็เกิดคู่แข่งที่สำคัญ สตาร์ทอัพ หน้าใหม่ที่ชื่อ Confinity ที่นำโดย ปีเตอร์ ธีล ที่ได้เปิดบริการอย่าง paypal เข้ามาแข่งกับ X.com โดยตรง มันเป็นสงครามที่ดุเดือด ใครที่เป็นฝ่ายชนะ จะได้เขียนประวัติศาสตร์การปฏวัติอุตสาหกรรมทางด้านการเงินแต่เพียงผู้เดียว

ปีเตอร์ ธีล ที่สร้าง paypal มาเป็นคู่แข่ง x.com ของมัสก์โดยตรง
ปีเตอร์ ธีล ที่สร้าง paypal มาเป็นคู่แข่ง x.com ของมัสก์โดยตรง

ความได้เปรียบของ paypal ของปีเตอร์ ธีล คือ paypal นั้นได้ติดตั้งในเว๊บไวต์ประมูลชื่อดังอย่าง ebay ได้แล้วในขณะนั้น แต่มัสก์ที่ชอบการแข่งขันอยู่แล้วก็ ดำเนินกลยุทธ์ทุกวิธีเพื่อไม่ยอมแพ้ เขาแทบจะทำงาน 24 ชม.ต่อวันในช่วงเวลาดังกล่าว

แต่พวกเขาก็แข่งกันได้เพียงไม่นาน เพราะขืนแข่งต่อไปดูเหมือน จะตายกันไปข้างหนึ่งก่อน ในปี 2000 พวกเขาหันมารวมพลังกัน ตอนนั้น paypal ของปีเตอร์ ธีล ดูเหมือนเงินใกล้จะหมดแล้วด้วยซ้ำ ส่วนมัสก์นั้นยังมีเงินให้ผลาญอีกมากมาย 

ดังนั้น มัสก์ จึงเป็นฝ่าย ถือไพ่เหนือกว่าในดีล นี้ เขากลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ และ ขอคง x.com ไว้ตามเดิม และยังได้รับการสนับสนุนเงินลงทุนเพิ่มอีกกว่า 100 ล้านเหรียญ จากกลุ่มลงทุนด้านการเงิน

รวมกันเป็นหนึ่งเหลือเพียง x.com ในช่วงแรกของการควบรวม
รวมกันเป็นหนึ่งเหลือเพียง x.com ในช่วงแรกของการควบรวม

แต่ปัญหาใหญ่ในการรวมบริษัท ก็คือ วัฒนธรรมที่แตกต่าง แม้กระทั่ง เทคโนโลยีที่แทบจะต่างกันคนละขั้ว confinity นั้นใช้ open source อย่างลินุกซ์ ส่วน x.com ของมัสก์ ขับเคลื่อนโดย Windows Server ซึ่งความแตกหักนี้ทำให้ ปีเตอร์ ธีล ขอลาออก และ ทิ้งให้มัสก์ บริหารบริษัท ในซากปรักหักพังนี้ต่อ

ปัญหาใหญ๋อีกอย่างก็คือ เมื่อผู้ใช้งานมากขึ้นเรื่อย ๆ ดูเหมือน X.com จะไม่สามารถรองรับการเติบโตดังกล่าวได้ ทำให้ไซต์ ล่มอยู่บ่อย ๆ ซึ่งไม่ถือเป็นเรื่องดีเลยสำหรับบริการทางด้านการเงินที่ลูกค้าตั้งความหวังไว้สูง

และมันได้เกิดเหตุการณ์ยึดอำนาจครั้งประวัติศาสตร์ของซิลิกอน วัลเลย์ ขึ้น เมื่อเหล่าพนักงาน X.com กลุ่มหนึ่งได้รวมกลุ่มกันเพื่อคิดหาวิธีที่จะให้มัสก์ออกไป และตัดสินใจลงมือลับหลัง ในตอนที่มัสก์ กำลังเดินทางไปฮันนีมูน ซึ่งเมื่อมัสก์ รู้ก็ได้รีบขึ้นเครื่องกลับมาทันที

แม้จะพยายามตอบโต้กลับในช่วงแรก ๆ ก็ตาม แต่ดูเหมือนว่าเหล่ากรรมการได้ตัดสินใจเรียบร้อยแล้ว และดูเหมือนมัสก์ก็จะยอมรับกับสิ่งที่เกิดแต่โดยดี และพร้อมที่จะยอมถอยเพื่อให้บริษัทก้าวไปข้างหน้า ได้อย่างมั่นคงอีกครั้ง

และมันทำให้อิทธิพลของมัสก์ต่อ X.com นั้นลดลงไปอย่างรวดเร็ว ในเดือน มิถุนายน ปี 2001 X.com ถูกเปลี่ยนให้กลายเป็น paypal.com แทน และ ปีเตอร์ ธีล กลับมาเป็น CEO ของบริษัทอีกครั้ง

สุดท้าย ปีเตอร์ ธีล กลับมาเป็น CEO อีกครั้งและดัน Paypal กลับมา
สุดท้าย ปีเตอร์ ธีล กลับมาเป็น CEO อีกครั้งและดัน Paypal กลับมา

แต่มัสก์ นั้นโตขึ้นอีกขั้นแล้ว เขาอดทนกับสิ่งที่เกิดขึ้นได้ดี เขายอมรับบทบามที่จะเป็นที่ปรึกษาให้บริษัทและลงทุนต่อในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ของ paypal และที่สำคัญเขาสนับสนุน ปีเตอร์ ธีล เต็มที่ในการขึ้นเป็น CEO ของบริษัท

และในที่สุด ผลตอบแทนของความพยายามครั้งที่ 2 ในการปฏิวัติวงการการเงินสหรัฐอเมริกาก็สัมฤทธิ์ผล ใน เดือนกรกฏาคม ปี 2002 ebay ได้เสนอซื้อ paypal ที่ 1,500 ล้านเหรียญ มัสก์ และคณะกรรมการจึงตกลงรับข้อเสนอ

สุดท้ายยักษ์ใหญ่อย่าง ebay ยื่นข้อเสนอซื้อ paypal ในที่สุด
สุดท้ายยักษ์ใหญ่อย่าง ebay ยื่นข้อเสนอซื้อ paypal ในที่สุด

ซึ่งดีลนี้ทำให้มัสก์กลายเป็นมหาเศรษฐีเต็มตัวเสียที เขาได้ส่วนแบ่งไปกว่า 250 ล้านเหรีญ และเงินจำนวนนี้ มันถึงเวลาที่เขาต้องล่าฝันต่อไป ฝันที่เค้าจะเปลี่ยนโลกอีกครั้ง แต่คราวนี้มันจะเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ที่สุด เท่าที่เขาเคยทำมา ฝันต่อไปของมัสก์ คืออะไร โปรดอย่าพลาดติดตามตอนต่อไปครับผม

–> อ่านตอนที่ 8 : I don’t Need These Russians

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :Sand Hill Road *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Credit แหล่งข้อมูลบทความ

ประวัติ Jack Ma แห่ง Alibaba ตอนที่ 14 : World War Web

สภาพแวดล้อมในธุรกิจค้าปลีกของจีนนั้นมีพัฒนาการแตกต่างจากหลาย ๆ ประเทศ วิวัฒนาการปรกติของธุรกิจค้าปลีกมักจะเริ่มต้นขึ้นจากร้านโชว์ห่วย พัฒนามาเป็นห้างสรรพสินค้า เป็นดิสเค้าท์สโตร์ เป็นร้านค้าเฉพาะทาง และจบลงด้วยธุรกิจรูปแบบใหม่คือ อีคอมเมิร์ซ

แต่สำหรับประเทศจีนนั้นมันแตกต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง เนื่องจากประเทศจีนนั้นเปิดประเทศมาเพียงแค่ไม่กี่ปีเท่านั้น และมีการเติบโตของชนชั้นกลางที่รวดเร็วที่สุดประเทศหนึ่งในประวัติศาสตร์โลก ย่อมทำให้เกิดการก้าวกระโดดอย่างรวดเร็วของพัฒนาการในธุรกิจค้าปลีกเหล่านี้ และจีนเป็นเพียงหนึ่งในไม่กี่ประเทศ ที่กระโดดจากร้านโชว์ห่วยข้ามมาเป็น อีคอมเมิร์ซ ได้รวดเร็วและรุนแรงที่สุด

และหลังจากที่แจ๊ค หม่า ได้สร้าง taobao ขึ้นมาออนไลน์ได้เรียบร้อยแล้วนั้น มันคือจุดเริ่มต้นของการสู้รบระหว่างธุรกิจ C2C ของ อาลีบาบา และผู้นำในตลาดอีคอมเมิร์ซจากอเมริกาอย่าง ebay ซึ่งในตอนนั้นต้องบอกว่า ebay ที่เป็นยักษ์ใหญ่ที่สุดในวงการอีคอมเมิร์ซโลกเลยก็ว่าได้ 

ebay นั้นบุกไปที่ประเทศไหน ก็สามารถยึดครองตลาดได้แทบเบ็ดเสร็จ มีเพียงแค่ญี่ปุ่นที่เดียวเท่านั้น ที่ ebay ไม่สามารถยึดครองได้ เนื่องจากพ่ายแพ้ต่อ YAHOO Japan แต่อย่างไรก็ดี ebay ก็ค่อนข้างมั่นใจว่าจะสามารถยึดตลาดจีนได้ เพราะตอนนั้นเอง taobao ก็ยังเล็กเกินกว่าที่จะต่อสู้กับ ebay  

ซึ่งหลังจาก ebay เข้าตลาดจีนได้สำเร็จจากการ take over EachNet โดย Meg Whitman ที่ดำรงตำแหน่ง CEO ของ ebay ในขณะนั้น ได้กล่าวไว้ว่าประเทศจีนคือตลาดที่สำคัญที่สุดอันดับสองรองจากสหรัฐอเมริกา และเขาคาดว่าในอีก 10-15 ปี ตลาดจีนจะกลายเป็นตลาดใหญ่ที่สุดของ ebay และที่สำคัญยังประกาศท้ารบกับคู่แข่งโดยกล่าวไว้ว่าจะทำการยุติสงครามอีคอมเมิร์ซให้ได้ภายใน 18 เดือน ซึ่งถือเป็นคำขู่จากบริษัทที่ถือเป็นยักษ์ใหญ่วงการอีคอมเมิร์ซโลก

Meg Whitman CEO ebay ประกาศจะยึดจีนภายใน 18 เดือน
Meg Whitman CEO ebay ประกาศจะยึดจีนภายใน 18 เดือน

กลยุทธ์ป่าล้อมเมือง

ตอนนั้น ebay ทุ่มหมดหน้าตัก ทำการโฆษณาสัมพันธ์ไปทั่วทั้งจีน โดยเว๊บไซต์ใหญ่ ๆ ในประเทศจีนในตอนนั้น ได้ถูก ebay ซื้อพื้นที่โฆษณาไปแทบจะหมดแล้ว แล้วแจ๊คตัวน้อยกับ taobao ของเขาจะทำอย่างไร ด้วยทุนรอนที่น้อยกว่า แถมเครือข่ายเว๊บใหญ่ ๆ นั้นได้ถูก ebay ยึดครองไปหมดแล้ว

แต่เนื่องจากหลังปี 2000 จำนวนผู้ใช้ internet ในจีนเพิ่มมากขึ้นและต้นทุนการทำเว๊บก็ลดลงไปมาก เว๊บไซต์ขนาดเล็กจึงมีให้เห็นเป็นจำนวนมาก เว๊บเหล่านี้ส่วนมากทำโดยบุคคลทั่วไป และเป็นเว๊บไซต์เจาะจงในความสนใจหรือความต้องการของเจ้าของเว๊บเป็นหลัก

ซึ่งเครือข่ายเว๊บไซต์เหล่านี้ล้วนเสนอราคาค่าโฆษณาที่ต่ำมาก และมีการผูกโยงเป็นเครือข่ายไว้บ้างแล้ว ซึ่งทำให้ taobao นั้นจะไปโฆษณาอยู่ในเครือข่ายเว๊บเหล่านี้แทนเว๊บไซต์ขนาดใหญ่ ซึ่งเมื่อเทียบจากผลลัพธ์แล้วนั้น พบว่าได้ผลดีกว่าเว๊บไซต์ใหญ่ ๆ เสียอีก โดยใช้เงินทุนที่น้อยกว่ามาก

Localization

กลยุทธ์อีกอย่างที่สำคัญของ taobao คือ ความเข้าใจในพื้นที่ ซึ่ง taobao มีสูงกว่า ebay มาก แจ๊คได้ปรับ taobao ให้เป็นเว๊บไซต์ที่มีหน้าตาแบบจีนแท้ ๆ คือมีตัวหนังสือเต็มไปหมดทั้งหน้าจอ เรียกได้ว่าแทบจะไม่มีพื้นที่ว่างเลยด้วยซ้ำ

ในสายตาของ ebay ที่คิดแบบฝรั่งนั้น มันคือความรกชัด ๆ ebay ต้องการหน้าจอที่ใช้งานได้แบบเรียบง่ายตามสไตล์อเมริกา ที่เน้นหน้าจอที่ดูสะอาดใช้งานง่าย ๆ แต่นี่คือประเทศจีน มันคือความเคยชิน ที่เหล่าลูกค้าคุ้นเคยในชีวิตประจำวัน

การเรียงหมวดหมู่สินค้าก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญ  taobao นั้นเรียงหมวดหมู่ของสินค้าตามสไตล์จีนแท้ ๆ คือเรียงหมวดหมู่สินค้าแบบห้างสรรพสินค้าในจีน ในขณะที่ ebay นั้นจัดเรียงแบบบริษัทแม่ที่อยู่ในอเมริกา ทำให้ลูกค้าชาวจีนที่เข้ามาใช้บริการใหม่ ๆ จะรู้สึกคุ้นเคยกับแพลตฟอร์มของ taobao มากกว่า

หน้าเว๊บไซต์ สไตล์จีนแท้ รวมถึงการเรียงหมวดหมู่สินค้าแบบวัฒนธรรมจีน
หน้าเว๊บไซต์ สไตล์จีนแท้ รวมถึงการเรียงหมวดหมู่สินค้าแบบวัฒนธรรมจีน

ebay นั้นได้ทำสิ่งที่ผิดพลาดอีกอย่างนึงที่ไม่เข้าใจถึงวัฒนธรรมจีนเลย ก็คือ การทำให้ แพลตฟอร์มของ ebay ทั่วโลกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทำให้ต้องมีการปรับหน้าเว๊บจาก EachNet เดิมที่คนจีนคุ้นเคย เปลี่ยนมาเป็น ebay แบบเดียวกับที่อเมริกา ทำให้ ขั้นตอนการซื้อขาย กลไกการประเมินราคา และอื่น  ๆ อีกมากมาย ซึ่งทำให้ลูกค้าเก่าในประเทศจีนที่ชินกับลักษณะเดิม ๆ ปรับตัวไม่ได้

ebay พยายามมาคั่นกลางระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายด้วยความกลัวว่าจะไม่ได้ค่า ธรรมเนียม ซึ่งเป็นรายได้หลักของบริษัท แต่ taobao ปล่อยให้ผู้ซื้อและผู้ขายคุยกันได้อย่างอิสระ แถมยังมีโปรแกรม Messenger ให้คุยกันง่ายขึ้นด้วย เพราะ taobao นั้นไม่มีค่าธรรมเนียมจึงไม่ต้องกลัวว่าผู้ซื้อและผู้ขายจะไปขายกันเองโดยไม่ผ่านแพลตฟอร์ม

taobao สร้างระบบ chat เพื่อให้ผู้ซื้อผู้ขายติดต่อกันได้ง่าย ๆ
taobao สร้างระบบ chat เพื่อให้ผู้ซื้อผู้ขายติดต่อกันได้ง่าย ๆ

สุดท้ายคนก็ใช้ แพลตฟอร์มของ taobao ที่ง่ายกว่า เพราะผ่าน แพลตฟอร์ม หรือไม่ ก็ไม่ได้เสียเงินอยู่แล้ว ซึ่งสิ่งนี้ทำให้ลูกค้าของ taobao รู้สึกว่า taobao จริงใจในการช่วยเหลือพวกเขาและไม่หน้าเลือด มุ่งแต่จะเก็บแต่ค่าธรรมเนียมเหมือน ebay

และลำพังการให้บริการฟรีเพียงอย่างเดียวนั้นยังไม่เพียงพอที่จะเอาชนะ ebay ได้อย่างแน่นอน แจ๊คจึงต้องสร้างระบบให้บริการบนเว๊บที่ดีด้วย เขาจึงทุ่มเทอย่างหนักเพื่อปรับปรุงการบริการให้ตอบสนองลูกค้าให้ดีที่สุด เขามุ่งมั่นที่จะทำระบบบริการลูกค้าสำหรับเว๊บที่ให้ใช้ฟรีอย่าง taobao ให้ได้ดียิ่งกว่าเว๊บที่คิดค่าธรรมเนียมอย่าง ebay อีกด้วย

นั่นมันทำให้ลูกค้าเริ่มหลั่งไหลมาใช้งาน taobao แทน แต่ทางผู้บริหาร ebay ก็ยังไม่รู้ร้อนรู้หนาวกับยุทธศาสตร์ที่ผิดพลาดของตน โดย ทำการเผาเงินเพื่อทุ่มโฆษณาขนานใหญ่เพื่อหวังฆ่า taobao ให้ตาย ด้วยเงินทุนที่มากกว่า

แต่หารู้ไม่ว่านั่นเป็นการโฆษณาที่ไร้ตรรกะสิ้นเชิง ผู้บริหารระดับสูงของ ebay นั้นละเลยความจริงพื้นฐานข้อหนึ่ง ที่ว่า taobao ของ อาลีบาบานั้นกำลังกลายเป็นหนุ่มใหญ่วัยกำลังเจริญเติบโต

ในขณะนั้นการซื้อขายออนไลน์ยังไม่ฝังลึกลงในใจชาวจีน โฆษณาทั้งหมดเกี่ยวกับการซื้อขายออนไลน์จึงล้วนกลายเป็นการทำตลาดให้ธุรกิจ C2C ทั้งหมดของจีนไปด้วย ดังนั้น ebay จึงกลายเป็น ฮีโร่ ในตลาด C2C การโฆษณาแบบเหวี่ยงแหของ ebay กลับกลายเป็นการทำโฆษณาฟรีให้ taobao ไปด้วย

และไม่ว่าจะด้วยตรรกะของแจ๊ค หรือความจริงที่ปรากฏในภายหลังล้วนพิสูจน์ได้ว่า ในการแข่งขันทางธุรกิจนั้น การเผาเงิน อย่างบ้าคลั่งของ ebay ไม่มีคุณค่าเลยแม้แต่น้อย และสำหรับตลาดประมูลของประเทศจีนแล้ว ebay ดูเหมือนจะกลายเป็นผู้เสียสละด้วยซ้ำ โดยเฉพาะการสละเงินจำนวนมากในการทุ่มโฆษณาครั้งนี้

ในเดือนพฤษภาคม 2005 ส่วนแบ่งการตลาดของ taobao คือ 67.3% แซงหน้า ebay ที่ครอง 29.1% สมาชิกลงทะเบียน taobao 19 ล้านราย ในปี 2006 สามาชิกของ taobao เพิ่มเป็น 22.5 ล้านรายมากกว่า ebay ในที่สุด taobao ก็ครองแชมป์ตลาด C2C ของจีนทั้งด้านจำนวนสมาชิกและยอดเงินจากการซื้อขาย และในที่สุดในช่วงฤดูหนาวปี 2006 ebay ก็ต้องถอนตัวจากประเทศจีน โดยขายกิจการให้กับ กลุ่ม TOM เป็นอันสิ้นสุดสองคราม C2C ของประเทศจีนที่ฝ่าย taobao เอาชนะไปได้อย่างขาดลอย

ebay สูญเสีย market share ไปเรื่อย ๆ จนต้องถอนตัวออกจากจีน
ebay สูญเสีย market share ไปเรื่อย ๆ จนต้องถอนตัวออกจากจีน

ต้องบอกว่า สงครามระหว่าง taobao กับ ebay ใน ประเทศจีนครั้งนี้ ถือเป็น case study ที่สำคัญของวงการธุรกิจโลก ฝ่ายหนึ่งเป็นผู้นำทางธุรกิจที่ใหญ่ที่สุด และกำลังบูมสุดขีดในขณะนั้น แต่ฝ่ายหลัง ที่สร้างเว๊บไซต์ขึ้นมาใหม่ใช้เวลาแค่ 2 ปีก็แย่งส่วนแบ่งการตลาดมาได้ถึง 70%  ถึงตอนนี้มันก็พิสูจน์ได้อย่างชัดเจนแล้วว่าสงครามในครั้งนี้ taobao เอาชนะไปได้อย่างขาดลอย เส้นทางต่อไปของ แจ๊ค อาลีบาบา และ taobao จะเป็นอย่างไรต่อ โปรดติดตามในตอนต่อไปครับผม

–> อ่านตอนที่ 15 : Alipay

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :Internet *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Credit แหล่งข้อมูลบทความ