ประวัติ Elon Musk ตอนพิเศษ : Difficult and Painful

ต้องบอกว่าเป็นปีชงเลยทีเดียวสำหรับ Elon Musk ในปี 2018 ที่ชีวิต ได้เจอกับมรสุมมากมาย ทั้งปัญหาใน Tesla เอง หรือ ปัญหาส่วนตัวที่เค้าค่อนข้างเจอมรสุมมากมาย

ต้องบอกว่า Musk นั้นถือเป็น Tech entrepreneur ที่เป็น idol ของเหล่า Tech Startup ทั้งหลายที่อยากเจริญรอยตามเค้าทั้งนั้น เนื่องจากเค้ามี idea มากมายที่จะเปลี่ยนโลกของเรา ให้ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในอุตสาหกรรมรถยนต์ ที่เค้าได้ไป take over Tesla มาเนื่องจากเป็นรถที่ใช้เทคโนโลยีที่ใช้พลังงานไฟฟ้า ช่วยลดปัญหามลพิษให้กับโลกเรา

หรือ การสร้าง เทคโนโลยีอย่าง Hyperloop ที่ให้คนสามารถเดินทางจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งได้อย่างรวดเร็ว ไม่แพ้การเดินทางด้วยเครื่องบิน ผ่านอุโมงค์ใต้ดิน และใช้ระบบไฟฟ้าในการขับเคลื่อนแทนน้ำมันที่ใช้ในเครื่องบิน

รวมถึงโครงการอื่นๆ. อีกมากมาย ที่ Elon Musk น้นได้เข้าไปมีส่วนร่วม ล้วนแล้วแต่เป็นเทคโนโลยีเปลี่ยนโลกแทบทั้งสิ้น

แล้วถ้าถามว่าทำไมนักลงทุนทั้งหลายถึงได้เชื่อใจ Elon Musk ก็ต้องตอบว่า เค้าเป็นหนึ่งในนักลงทุนกลุ่มแรกของ Silicon Valley  ที่ผ่านวิกฤติ ดอทคอม ในช่วงปี 2000 มาได้และเป็นหนึ่งในกลุ่ม Paypal Mafia ซึ่งล้วนมีบทบาทสำคัญต่อโลกเทคโนโลยีของเราในช่วงหลัง ๆ ผลงานเลื่องชื่อ น่าจะเป็นการปลุกปั้น Paypal บริการด้านการเงิน online ที่ต้องบอกว่าเป็น Fintech แรก ๆ ของโลกเราเลยก็ว่าได้ ซึ่งต่อมาได้ขายกิจการให้กับ Ebay

Paypal Mafia กลุ่มผู้มีอิทธิพลใน Silicon Valley

Paypal Mafia กลุ่มผู้มีอิทธิพลใน Silicon Valley

แต่นิสัยอย่างนึงของเหล่า Paypal Mafia กลุ่มนี้ คือ การเป็นคนที่มีความมั่นใจในตัวเองสูงมาก ๆ ซึ่งจะหาคนที่ทำงานด้วยลำบาก และยึดถือความคิดตัวเองเป็นหลักเสมอ ไม่ค่อยเชื่อถือเพื่อนร่วมงานแต่อย่างใด ดังเห็นในข่าวหลาย ๆ ครั้ง ว่าเหล่าผู้ร่วมงานของ Musk ได้ทยอยลาออกไป เนื่องจากไม่สามารถทำงานร่วมกับ Elon Musk ได้

Tesla พบปัญหาผลิตไม่ได้ตามความต้องการ

Tesla พบปัญหาผลิตไม่ได้ตามความต้องการ

ซึ่งทำให้ปัญหาใหญ่อย่างที่ Tesla ที่ไม่สามารถผลิตรถได้ตามความต้องการได้นั้น Elon Musk ต้องลงมาดูด้วยตัวเอง ซึ่งผิดวิสัย CEO  ส่วนใหญ่ที่มักจะไม่ลงไป Operation เอง แต่ Musk นั้นได้ลงไปคลุกคลีในโรงงานด้วยตัวเอง และจัดการ Operation ทั้งหมดเอง เพื่อให้แก้ปัญหาไปได้ แต่ แม้จะทำให้ปัญหาคลี่คลายไปบ้าง แต่การที่ CEO ต้องลงมาทำเองแบบนี้ ทำให้งานของ CEO จริง ๆ ก็ไม่สามารถเดินหน้าต่อไปได้เช่นกัน ทำให้ปัญหาวนลูปกลับมาที่ Tesla จนเริ่มมีปัญหากับนักลงทุนในที่สุด

และด้วยความกดดันหลาย ๆ ด้าน ทำให้บางครั้ง Elon Musk เองก็ทำอะไรแบบไม่คิดให้รอบด้านซักเท่าไหร่ โดยเฉพาะ ในโลก Social อย่าง Twitter  นั้น Musk มักจะ Tweet อะไรพลาด ๆ อยู่เสมอ เช่น เรื่องการจะนำเอา Tesla ออกจากตลาดหุ้น หรือ การออกมาตอบโต้ ทีมนักดำน้ำที่มาช่วยภารกิจถ้ำหลวงที่ประเทศไทย ก็ล้วน แล้ว แต่เป็นเรื่องที่ไม่น่าพูดออกไปทั้งสิ้น ซึ่งคนระดับ Musk ไม่ควรที่จะลงมาเล่นกับเรื่องอะไรแบบนี้ เป็นการเปลืองตัวเสียเปล่าๆ  ด้วยซ้ำ แต่คิดว่าเนื่องจาก นิสัยส่วนตัวดังที่กล่าว ทำให้เรื่องใน Social มักจะเป็นปัญหากับ Elon Musk เสมอ

Elon Musk สูบกัญชาในระหว่างการสัมภาษณ์ในรายการก็เป็นอีกสิ่งนึง ที่ไม่ควรเกิดขึ้นเลย

Elon Musk สูบกัญชาในระหว่างการสัมภาษณ์ในรายการก็เป็นอีกสิ่งนึง ที่ไม่ควรเกิดขึ้นเลย

และล่าสุดที่ได้ไปออกรายการทีวีในรัฐแคลิฟอเนีย  แม้จะเป็นรัฐที่การสูบกัญชานั้นถูกกฏหมาย แต่ภาพที่ Elon Musk สูบกัญชาในระหว่างการสัมภาษณ์ในรายการก็เป็นอีกสิ่งนึง ที่ไม่ควรเกิดขึ้นเลย ทำให้ภาพลักษณ์ของเขาเสียหายยิ่งขึ้นไปอีก ยิ่งในขณะนี้ปัญหาต่างๆ  มีมากมายอยู่แล้ว แต่ Musk นั้นก็ทำให้สิ่งต่าง ๆ ดูแย่ลงไปอีก ภาพลักษณ์ของเค้าเสียหายยิ่งขึ้นไปหลังจากที่ภาพการสูบกัญชาถูกปล่อยว่อนในโลก Social

Elon Musk จะผ่านวิกฤตนี้ไปได้อย่างไร

ต้องบอกว่าคนระดับอัจฉริยะ อย่าง Elon Musk นั้นผ่านประสบการณ์ มามากมาย ถึงจะได้รับการยอมรับถึงจุดนี้ได้  แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในปี 2018 นั้น ต้องถือได้ว่าเป็นปีที่แย่ที่สุดปีนึงของ Elon Musk เลยก็ว่าได้

โดยที่ธุรกิจใหม่ๆ  นั้นเป็นธุรกิจแห่งอนาคตทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็น Tesla , SpaceX หรือ SolarCity เองก็ตาม มันยังสามารถที่จะตอบโจทย์ในด้านธุรกิจได้รวดเร็วเหมือนธุรกิจอินเตอร์เน็ตอื่น ๆ   และการที่เค้ามี Idea ที่เยอะเกินไปบางครั้ง ก็ไม่ใช่เป็นสิ่งที่ดีนัก เพราะดูเหมือนจะเป็นการทำแบบไม่ Focus สิ่งใด สิ่งหนึ่งที่ชัดเจนเท่าที่ควร ต้องมานั่งไล่แก้ปัญหา SpaceX ที ปัญหา Tesla ที ทำให้วิสัยทัศน์ใหญ่ของเขานั้นอาจจะขับเคลื่อนได้ช้าลงไป

ที่สำคัญการที่ Elon Musk เป็นคนที่ทำงานหนักมากและชอบทำงานคนเดียว และ ไม่ค่อยรับฟังความคิดเห็นผู้อื่นนั้นสักเท่าไหร่นั้น ยิ่งทำให้ปัญหาเพิ่มมากขึ้นไปอีก การบริหารหลายๆ  ธุรกิจ โดยแต่ละธุรกิจเป็นธุรกิจที่ใหญ่มาก ๆ และมีเรื่องให้แก้ปัญหาเยอะไปหมด ในคราวเดียวกัน แบบที่ Elon Musk ทำในตอนนี้นั้น ไม่น่าจะใช่สิ่งที่ดีในระยะยาวอย่างแน่นอน

ทางที่ดี Musk ควรที่จะเริ่มเชื่อใจผู้ร่วมงานบ้าง และหาคนที่เป็นมืออาชีพ จริง ๆ มาช่วยบริหาร หลาย ๆ ธุรกิจของตัวเองบ้าง แบบที่หลาย ๆ คนทำ เช่น Mark Zuckerberg ก็ปล่อยให้ sheryl sandberg เข้ามาช่วยเหลือในสิ่งที่ตัวเองไม่ถนัด  แล้วทำในสิ่งที่ตัวเองถนัด จะเห็นได้ถึงการเติบโตอย่างรวดเร็วของ Facebook ในช่วงที่ผ่านมา

ซึ่งถ้า Mark ยังทำอยู่คนเดียวเหมือนช่วงแรก ๆ Facebook คงไม่สามารถเติบโตได้รวดเร็วดังที่เห็นในวันนี้อย่างแน่นอน ซึ่ง Elon Musk ก็น่าจะมีปัญหาคล้าย ๆ กัน คือต้องยอมลดฐิถิ  ตัวเองลงบ้าง แล้วปล่อยให้มืออาชีพของแต่ละส่วนมาช่วยทำงานด้าน Operation มากขึ้น เพื่อให้งานรุดหน้าไปได้รวดเร็วและมั่นคงมากยิ่งขึ้น แต่ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับเขา ทุกคนก็ต่างยอมรับในความทุ่มเท และเสียสละ และการทำสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ให้เป็นไปได้อย่างที่เขาเคยทำมาสำเร็จมาแล้วนับครั้งไม่ถ้วน ซึ่งมัสก์ ก็คงสามารถผ่านวิกฤติครั้งนี้ไปได้เหมือนเคย เพราะชายผู้นี้เป็นนักสู้กับปัญหาตัวยง ไม่ว่าปัญหาจะเล็กหรือใหญ่ขนาดไหนเขาก็สามารถที่จะผ่านมันไปได้ทุกครั้งเหมือนเคย

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :Sand Hill Road *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

รวม Blog Series ที่มีผู้อ่านมากที่สุดรวม Blog Series ที่มีผู้อ่านมากที่สุด

ติดตาม ด.ดล Blog เพิ่มเติมได้ที่
Fanpage :facebook.com/tharadhol.blog
Blockdit :blockdit.com/tharadhol.blog
Twitter :twitter.com/tharadhol
Instragram :instragram.com/tharadhol

Tencent กับมูลค่าที่ก้าวข้ามผ่าน facebook

ต้องยอมรับกันก่อนว่า บริษัททางด้านเทคโนโลยีจาก silicon valley ที่คิดจะเข้าไปเจาะตลาดจีนนั้นเป็นเรื่องไม่ง่าย เนื่องมาจากปัจจัยหลายประการ ทั้งทางด้านวัฒนธรรม รวมถึง รูปแบบการปกครอง และ นโยบายของรัฐจีนนั้น ค่อนข้างกีดกัน บริษัทจากทางฝั่งตะวันตก

มีบริษัทน้อยรายที่ประสบความสำเร็จในตลาดจีนได้เช่น apple แต่มีบริษัทมากมายที่ต้องมาตกม้าตายที่ตลาดจีน ทั้ง google ,ebay , amazon หรือรายล่าสุดอย่าง Uber ที่ต้องถอยทัพหนีจากตลาดจีนไปเมื่อไม่นานมานี้

ทำให้บริษัทเจ้าถิ่นสามารถที่จะสร้างตัวขึ้นมาได้อย่างรวดเร็วในทศวรรษหลัง ทั้ง ยักษ์ใหญ่อย่าง Alibaba ที่นำโดย Jack Ma , Baidu เจ้าพ่อ search engine จากจีน รวมถึงบริษัทที่เราจะกล่าวถึงใน blog นี้อย่าง Tencent ซึ่งแม้จะมีข่าวน้อย แต่ก็ทำรายได้เป็นอันดับหนึ่งในจีน แซงหน้า Alibaba ไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ถ้าพูดถึง Tencent ก็ต้องกล่าวถึง Wechat บริการด้านการ chat ที่ครอบครองตลาดจีนได้อย่างเบ็ดเสร็จ ซึ่งเป็นต้นทางของบริการหลาย ๆ อย่างของ Tencent ทั้งระบบ E payment หรือ เกมส์ ที่เป็นรายได้หลักของบริษัทในขณะนี้ และลงทุนในบริษัททางด้านเทคโนโลยีต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศอีกมากมาย

ซึ่งผมก็เคยเขียน blog เกี่ยวกับ tencent ไว้ก่อนหน้านี้ ซึ่งตอนนี้นั้น มูลค่าของ tencent ได้มีมูลค่า Market Value แซง facebook ยักษ์ใหญ่ทางด้าน social network จากอเมริกาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยมูลค่าล่าสุดนั้นสูงถึง 528,000 ล้านดอลล่าร์  มากกว่า มูลค่า facebook ณ ปัจจุบันอยู่ 6 พันล้านดอลล่าร์

อาจจะเป็นการแซงเพียงชั่วคราวจากมูลค่าหุ้นที่เพิ่มขึ้นมา แต่ก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจไม่น้อย เพราะบริษัทที่ติด Top Ten ของโลกนั้น ล้วนเป็นบริษัทใน silicon valley ซะเป็นส่วนมาก แต่การเข้ามาของ tencent นั้นสามารถเบียดบริษัทจากชาติตะวันตกขึ้นมาเป็นบริษัทที่มูลค่าติดอันดับต้น ๆ ของโลกได้

ซึ่งมีโอกาสสูงที่บริษัทอื่น ๆ เช่น Alibaba หรือ Baidu นั้นก็มีโอกาสที่จะขึ้นมาทาบรัศมีของบริษัทจาก silicon valley เช่นกันในอนาคตอันใกล้นี้ เนื่องจากการเติบโตของผู้ใช้งาน internet ในประเทศจีน รวมถึงการเกิดขึ้นของชนชั้นกลางอีกจำนวนมากในประเทศจีน ทำให้สามารถสร้างกำลังซื้อ รวมถึงการใช้บริการต่าง ๆ ที่บริษัทเทคโนโลยีของจีนเหล่านี้ให้บริการอยู่ ก็มีโอกาสที่จะทำให้บริษัทเหล่านี้รายได้เพิ่มสูงขึ้นไปอีกในอนาคตอันใกล้นี้

เราคนไทยก็ต้องหันมามองจีนใหม่ ตอนนี้จีนนั้นได้พัฒนาทางด้านเทคโนโลยี โดยเฉพาะด้าน internet ไปไกลแล้ว บริการต่าง ๆ ของจีนทั้ง e-commerce  ระบบ payment นั้นต้องยอมรับว่ามีการพัฒนา และใช้งานกันในชีวิตประจำวันของคนจีนเป็นปรกติแล้ว ซึ่งบางอย่างนั้นได้ก้าวล้ำกว่าชาติตะวันตกไปอีกด้วย

ซึ่งสิ่งเหล่านี้นั้นล้วนมาจากพื้นฐานทางด้านงาน R&D ของจีน ซึ่งวิศวกรชาวจีนนั้นก็ไม่ได้มีความสามารถด้อยไปกว่าชาวตะวันตกเลยด้วยซ้ำ จะเห็นได้ว่า paper ทางวิชาการต่าง ๆ ในปัจจุบันนั้น ส่วนใหญ่เป็นของชาวจีนมากกว่าทางตะวันตกแล้ว ซึ่งงานวิจัยเหล่านี้บ่งบอกได้ถึงแนวโน้มของเทคโนโลยีต่าง ๆ โดยเฉพาะด้านคอมพิวเตอร์นั้น มีโอกาสสูงที่บริษัทจากจีนนั้นจะมีนวัตกรรมที่แซงหน้าบริษัทจากตะวันตกไปได้อย่างแน่นอน

Image Ref : news.abs-cbn.com

 

 

 

การก้าวเข้าสู่ Marketplace ของ Facebook

ต้องบอก facebook ถือได้ว่าเป็นหนึ่งบริษัทยักษ์ใหญ่ ที่ไล่ disrupt ธุรกิจอื่นๆ  มานับไม่ถ้วน ทั้งธุรกิจสื่อสิ่งพิมพ์ รวมถึง สื่อทีวี ก็ล้วนแล้วแต่ต้องเหนื่อยหนักเมื่อมีการเข้ามาของ facebook

ก่อนหน้านี้นั้น facebook focus ไปที่ระบบ live ของตัวเองโดยให้ strategy หลักเป็น video first กับการเกิดขึ้นของระบบ live รวมถึง video ต่าง ๆ ที่ขึ้นมาเต็ม feed facebook ทำให้ผู้ใช้งานแทบจะไม่ต้องไปสนใจกับสิ่งอื่น ซึ่งทำให้ธุรกิจ tv ได้รับผลกระทบไปพอสมควรกับการเกิดขึ้นของ live ผ่าน facebook นี่ยังไม่รวมถึง youtube ที่แทบจะไม่ต้องกลับมาดูทีวีจริง ๆ เหมือนเมื่อก่อนอีกเลย

หลังจากระบบ live เริ่มลงตัวและเริ่มทำรายได้ให้กับ facebook  ทาง facebook เองก็ได้เริ่มสู่ธุรกิจใหม่ที่เพิ่งจะเปิดตัวไม่เห็นกันในไม่นานนี้อย่าง marketplace

ซึ่งต้องยอมรับว่า facebook ทำการบ้านมาอย่างดีกับการทำ marketplace ซึ่งเป็นพัฒนาต่อยอดมาจาก group ที่มีการซื้อของ ขายของกันมาก่อนหน้านี้

หลังจากไปได้ดีกับ group ก็ขยายมาสู่ marketplace เพื่อขยายตลาดให้ใหญ่ยิ่งขึ้น เพราะคนส่วนใหญ่ก็มักจะซื้อขายของ กันผ่าน social เป็นเรื่องปรกติในปัจจุบัน โดยเฉพาะประเทศไทย ที่ตลาด social commerce นั้นมีมูลค่ามหาศาลมาก

ก่อนหน้านี้ เราอาจจะใช้งาน ebay หรือในไทยเราก็มี local service อย่าง kaidee ที่เข้ามาทำตลาดและลงทุนไปขนาดใหญ่หลายปีมาแล้ว ซึ่งก็เริ่มคิดสร้าง model เพื่อทำเงินกันบ้างแล้ว โดยใช้ รูปแบบของการ promote ads จ่ายเงินเพื่อให้อันดับขึ้นสู่ด้านบนให้ผู้ใช้งานเห็นก่อน ก็ทำให้มีโอกาสขายของได้ก่อน

รวมถึง shopspot ซึ่งถือว่าเป็น startup ที่มาแล้ว ที่ทำ marketplace เน้นที่ระบบ mobile ซึ่งดูไปดูมา marketplace ของ facebook น่าจะใกล้เคียงกับ shopspot มากที่สุด ซึ่งผลกระทบน่าจะเป็น shopspot ที่น่าจะโดนหนักกว่าเพื่อนหลังจากลงทุนสร้าง platform มานานแสนนาน แต่มาถูกเจ้าใหญ่อย่าง facebook เข้ามาตีตลาดแบบนี้ ซึ่งน่าจะเป็น startup ที่น่าเป็นห่วงอยู่ไม่น้อย

ส่วน kaidee ถึงแม้จะเป็นเจ้าใหญ่ และมีเงินทุนมหาศาล และลงทุนไปเป็นจำนวนมากแล้วนั้น แต่การเข้ามาของ facebook marketplace นั้นต้องบอกว่าไม่ธรรมดาอย่างแน่นอน ในขณะที่ kaidee เริ่มคิด model ในการสร้างรายได้ แต่ facebook นั้นมา concept เดิมคือให้ใช้ฟรีให้ติดก่อน ค่อยลด reach ภายหลังด้วยการจ่ายเงินเหมือนกัน

แต่หากสถานการณ์เป็นอย่างงี้ facebook เพิ่งเริ่มเข้ามาก็ต้องเน้นว่าให้ใช้ฟรีก่อนอย่างแน่นอน ซึ่งเป็นสถานการณ์ลำบากไม่ใช้น้อยสำหรับ kaidee ซึ่งหากคิดจะกลับไปใช้ฟรีเหมือนเดิมไม่มี ads ก็คงจะคืนทุนที่ลงทุนไปมหาศาลยากมาก ๆ

หากคิดจะสู้กับ facebook ก็คงไม่มีเงินมากมายขนาดนั้นไปสู้อย่างแน่นอน ทำให้ตลาด maketplace เข้าสู่สมรภูมิแดงเดือดกันอีกครั้ง หลังจากไม่มีคู่แข่งที่จะมาท้าชน kaidee มาอย่างยาวนาน

ตอนนี้ตัวผมเองนั้นก็เริ่มใช้ facebook marketplace ไปแล้วบ้างซึ่งเห็นได้ชัดเจนว่าสามารถขายได้ง่ายกว่าลง kaidee ในยุคนี้เป็นอย่างมาก ซึ่ง kaidee ยุคแรก ๆ นั้นสามารถดับ post ได้อย่างง่ายดาย ก่อนที่จะมาถูก block ในภายหลัง ทำให้ขายยากขึ้นเรื่อย ๆ หากไม่โฆษณา ซึ่งจะทำให้ผู้ใช้งานนั้นต้องย้ายไปยัง marketplace ของ facebook อย่างแน่นอนเพราะมันยังฟรีอยู่

ซึ่งในอนาคต facebook ก็เคยให้บทเรียนกับนักธุรกิจ หลาย ๆ ครั้งแล้ว ทั้ง page ที่ทำการลด reach ลงเรื่อย ๆ จนแทบมองไม่เห็นกันแล้วในยุคนี้ ต้อง boost post กันอย่างเดียวเท่านั้น ถึงจะให้มีคนเห็นได้ ซึ่งก็คงเป็นลักษณะเดียวกันกับ marketplace ซึ่ง facebook คงปล่อยให้คนใช้ติดก่อนอย่างแน่นอนแล้ว ค่อยมาเสียตังค์ภายหลังเหมือนที่ facebook ทำมาทุกครั้ง

ประวัติ Reid Hoffman ผู้ก่อตั้ง Linkedin

ถ้าพูดถึง Linkedin นั้นก็คงจะต้องกล่าวถึง Reid Hoffman ผู้ก่อตั้งชื่อดัง ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่ม Founder Paypal ผู้ซึ่งมีบทบาทสำคัญในวงการดอทคอมของสหรัฐอเมริกาหลังยุคฟองสบู่ดอทคอมในปี 2000

สำหรับประวัติของ Reid Hoffman นั้นเป็นคนที่ไม่ได้จบมาทางด้าน computer science โดยตรงแต่มีความชอบในเรื่องของ game มาตั้งแต่เด็ก ๆ โดยส่วนตัวนั้นของชอบ game แนว RPG  แต่เนื่องจากการที่ได้มาพบกับ Peter Thiel โดยเป็น classmate ที่ Standford นั้นก็ทำให้ Reid Hoffman หันเหชีวิตเข้ามาสู่การทำงานทางด้านเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

ได้เจอ peter thiel ทำให้หันเหชีวิตมาสนใจ computer science

ได้เจอ peter thiel ทำให้หันเหชีวิตมาสนใจ computer science

ชีวิตการทำงานของเค้านั้นเริ่มต้นที่ apple computer โดยงานแรกที่เขาได้ทำนั้นเป็นการสร้าง eWorld ซึ่งถือว่าเป็นพื้นฐานทางด้าน software ที่ใช้ทำงานที่เป็น social network แรก ๆ ของ apple ในยุคนั้นแต่ไม่ค่อย boom เท่าไหร่ และสุดท้ายได้ขายไปให้กับ AOL ในที่สุด

หลังจากออกจาก apple นั้นเขาก็ได้สร้าง online dating website ชื่อ socialnet.com ก่อนที่จะมามีปัญหากับผู้ร่วมทุนในภายหลังและได้ออกมา ซึ่งในช่วงนั้นทาง Peter Thiel นั้นได้เริ่มสร้างระบบ Payment Online ที่ชื่อ Confinity และเนื่องจากเขารู้จักกับ Peter Thiel อยู่แล้วนั้นจึงได้รับการชักชวนให้มาทำงานกับ Confinity

ในช่วงนั้นก็ได้มีการแข่งขันกันระหว่าง X.com ที่ถูกสร้างโดย Elon Musk และ Confinity ที่ก่อตั้งโดย Peter Thiel ซึ่งมีการแข่งขันกันอย่างรุนแรง และเป็นช่วงปลายก่อนที่จะเกิดฟองสบู่ดอทคอมแตกในยุคปี 2000 ซึ่งต่อมา Peter Thiel และ Elon Musk ก็ได้ตัดสินใจร่วมมือกันแทนที่จะแข่งกัน และรวมตัวกันใหม่ภายใต้ชื่อ Paypal.com และทำให้ทั้งคู่รอดพ้นยุคฟองสบู่ดอมคอมของสหรัฐอเมริกามาได้อย่างหวุดหวิด

ร่วม x.com ของ elon musk

ร่วม x.com ของ elon musk

Reid Hoffman นั้นถือเป็นหนึ่งในบุคคลที่ถูกขานในวงการเทคโนโลยีสหรัฐว่าเป็นกลุ่ม Paypal Mafia ซึ่งมีบทบาทที่สำคัญหลังจากยุคฟองสบู่ดอทคอมในปี 2000  ซึ่งหลังจากตัดสินใจขาย Paypal ให้กับ Ebay ในช่วงปี 2002 แล้วนั้น ( มูลค่าประมาณ 1.5 พันล้านเหรียญ) ก็ทำให้เขาได้รับส่วนแบ่งเป็นจำนวนมากพอที่จะมาตั้งบริษัทใหม่ที่ใจเขาต้องการคือ Linkedin

เนื่องจากเป็นคนที่มีชื่อเสียงอยู่แล้ว เมื่อทำการสร้าง Linkedin ซึ่งเขาให้สโลแกนของ Linkedin คือ Online social network for Professional ก็ถือได้ว่าเป็นจุดแตกต่างจาก social network อื่น ๆ ในสมัยนั้น โดยเน้นกลุ่มไปที่ลูกค้าที่เป็นกลุ่มคนทำงานแทน จึงได้รับผลตอบรับจากนักลงทุนเป็นจำนวนมาก และทำให้สามารถขยายกิจการได้อย่างรวดเร็ว

โดยมี รูปแบบการทำรายได้จากสามทางคือ การโฆษณา , Premium Subscribtion และ  Hiring solution for company ซึ่งก็คือรูปแบบการหาเงินจากบริษัทจัดหางานแบบเก่า แต่ linkedin แตกต่างตรงมีส่วนของการเป็น social network ทำให้แตกต่างจาก web หางานแบบเดิม ๆ ที่แข่งขันกันในตลาดอยู่ทำให้ได้ผลตอบรับที่ดีจากกลุ่มคนทำงานทั่วโลกจนถึงปัจจุบัน

ถึงจุดอิ่มตัวให้  Jeff Weiner จาก yahoo มาดูแล linkedin ต่อ

ถึงจุดอิ่มตัวให้ Jeff Weiner จาก yahoo มาดูแล linkedin ต่อ

ในช่วงปี 2008 เขาก็ได้ตัดสินใจปล่อยงานบริหารบริษัทให้กับ Jeff Weiner ที่ได้ย้ายมาจาก Yahoo เพื่อเข้ารับตำแหน่ง CEO ต่อจากเขา และ เขาก็เริ่มเข้าไปตั้งบริษัทด้านการลงทุนในบริษัทด้านเทคโนโนยี  คือ GreylockPartner ในปี 2009 เพื่อลงทุนในบริษัทเกิดใหม่เช่นเจริญรอยตามอดีตเพื่อนร่วมงานของเขาที่ paypal อย่าง peter thiel ซึ่งจะทำให้กลุ่ม Paypal Mafia นั้นน่าจะมีบทบาทที่สำคัญกับบริษัทดอมคอมของอเมริการในอนาคตต่อจากนี้ไปนั่นเอง

ติดตาม ด.ดล Blog เพิ่มเติมได้ที่
Fanpage :facebook.com/tharadhol.blog
Blockdit :blockdit.com/tharadhol.blog
Twitter :twitter.com/tharadhol
Instragram :instragram.com/tharadhol

Book Review : Zero to One ( จาก 0 เป็น 1 วิธีสร้างธุรกิจให้เป็นเบอร์ 1 )

เป็นอีกหนังสืออีกเล่มที่น่าสนใจสำหรับเหล่า Startup ทั้งหลายในวงการเทคโนโลยีจากผู้เขียนที่เป็นเจ้าพ่อวงการเทคโนโลยีชื่อดังอย่าง Peter Thiel ซึ่งถือว่าเป็นผู้ที่บทบาทสำคัญกับบริษัทเทคโนโลยีที่โด่งดังจำนวนมากใน Silicon Valley

สำหรับ Peter Thiel นั้นโด่งดังมาจากการสร้างระบบ Paypal ซึ่งเป็นระบบ Payment online เจ้าแรก ๆ ของโลกเลยก็ว่าได้ ก่อนที่จะขายให้กับ Ebay ซึ่งเหล่า founder ของ Paypal ก็ถือว่าเป็นผู้ที่บทบาทสำคัญสำหรับการพัฒนาอุตสาหกรรม dotcom ในยุคหลังปี 2000 หลังจากช่วงฟองสบู่ดอทคอมในปี 2000

หลังจากขาย Paypal ให้กับ Ebay แล้วนั้น Peter Thiel ก็ได้มาสร้างบริษัทด้านการลงทุนในธุรกิจด้านเทคโนโลยีใหม่ ๆ โดยบริษัทของเขานั้นได้ลงทุนไปกับหลาย ๆ startup ชื่อดังจำนวนมากเช่น facebook , reddit , zynga  และบริษัท startup ขนาดเล็กอีกเป็นจำนวนมาก ซึ่งเนื้อหาในหนังสือเล่มนี้จะพูดถึงประสบการณ์ในการลงทุนของ Peter Thiel และมุมมองทางด้านการลงทุนกับบริษัททางด้านเทคโนโลยี

เนื้อหาหลักที่ผมค่อนข้างสนใจคือ การกล่าวถึงการผูกขาด ซึ่งรูปแบบการผูกขาดธุรกิจในมุมมองของ Peter Thiel นั้นเป็นมุมมองบวก กล่าวคือ การทำธุรกิจไปจนถึงการผูกขาดได้นั้น เป็นสิ่งที่ดีกว่าการมีตลาดที่สมบูรณ์ โดยที่มองถึงภาพรวมในระบบ หากมีการตลาดที่สมบูรณ์นั้น ก็จะมีการแข่งขันกัน และหาก Product ที่แทบไม่ต่างกัน ก็จะสูกันด้วยเรื่องกลยุทธ์ทางด้านการตลาด หรือ กลยุทธ์ทางด้านราคา ซึ่งสุดท้าย ก็มีโอกาสสูงที่ผู้แข่งขันจะตายไปด้วยกันทั้งหมด แตกต่างจากระบบที่เหมือนจะผูกขาดโดยยกตัวอย่าง google ซึ่งเรามองว่าน่าจะเป็นการผูกขาดในธุรกิจ search engine แต่ในมุมมองของ Peter Thiel นั้นแตกต่างกัน ถึงจะผูกขาดในตลาด search engine แต่ก็เป็นเพียงผู้เล่นขนาดเล็กในอุตสาหกรรมโฆษณาที่มีมูลค่ากว่า แสนล้านเหรียญสหรัฐเท่านั้น ซึ่งถือว่าเป็นวิธีคิดแนวใหม่ที่แตกต่างจากตำราเดิม ๆ ที่เราได้ร่ำเรียนกันมาและยังเป็นแนวคิดให้มีการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อมาผูกขาดในธุรกิจรูปแบบใหม่ ๆ ดีกว่าการไปแข่งขันในตลาดเดิม ๆ ที่มีโอกาสที่จะตายกันหมด

มุมมองอีกเรื่องหนึ่งที่น่าสนใจคือความสำคัญของนักขาย ซึ่งเหล่า geek ทางด้านเทคโนโลยีนั้นค่อนข้างที่จะมีมุมมองด้านลบต่อพวกนักขาย แต่ peter thiel นั้นมองว่าเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจาก geek ทางด้านเทคโนโลยีนั้น ค่อนข้างเชี่ยวชาญในด้านเทคนิคเท่านั้น สามารถสร้างผลิตภัณฑ์ที่เยี่ยมยอดออกมาได้ แต่หากไม่มีนักขายที่เก่งนั้น ผลิตภัณฑ์ที่สุดยอดเหล่านั้น ก็ไม่มีทางออกไปสู่ผู้บริโภคจริง ๆ ได้

สรุปหนังสือเล่มนี้ก็เป็นหนังสือที่น่าอ่านอีกเล่มหนึ่ง สำหรับผู้ที่ทำธุรกิจโดยเฉพาะการทำธุรกิจ startup ซึ่งจากชื่อหนังสือ Zero to One การที่จะพลิกบริษัทจาก 0 ให้กลายเป็น 1 ได้นั้นก็ต้องผ่านกระบวนการมากมาย รวมถึงโชคชะตาที่จะนำพาบริษัทเกิดใหม่ต่าง ๆ ก้าวขึุ้นเป็นบริษัทยิ่งใหญ่ในระดับโลกได้ ซึ่งหนังสือเล่มนี้ก็มีประโยชน์ในมุมมองใหม่ ๆ ของการทำธุรกิจในปัจจุบัน

เก็บตกจากหนังสือ

  • เหล่า founder ของ paypal นั้นเป็นผู้มีบทบาทที่สำคัญมาในธุรกิจดอทคอมของสหรัฐยุคหลังฟองสบู่ปี 2000
  • Peter Thiel นั้นเน้นการลงทุนในธุรกิจดอทคอม โดยเน้นกระจายความเสี่ยงไปในหลาย บริษัท ซึ่งมีโอกาสที่ จะสร้างผลตอบแทนได้ 100 เท่าหรือ 1000 เท่า แตกต่างจากธุรกิจในด้านอื่น ๆ
  • แนวคิดหลาย ๆ อย่างในการดำเนินธุรกิจนั้นค่อนข้างฉีกจากตำราเดิมที่เราได้ร่ำเรียนกันมา