PayPal Wars ตอนที่ 9 : Earth vs Palo Alto

SEPTEMBER 2001 — FEBRUARY 2002

เจ็ดสิบวัน หลังจากการโจมตีครั้งร้ายแรงที่สุดในนิวยอร์ก และ วอชิงตัน PayPal ได้ประกาศแผนที่ทำให้ทั้ง Wall Street และ Silicon Valley ตกใจ เมื่อ PayPal ได้ยื่นแสดงรายการข้อมูล กับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เพื่อเสนอขายหุ้นแก่ประชาชนครั้งแรก หรือ IPO นั่นเอง

และแน่นอนว่าหลังการประกาศตัวครั้งนี้ของ PayPal ออกไปนั้น สื่อก็รุมถล่มแนวคิดนี้ของพวกเขาทันที และในบทความนึงที่ชื่อว่า “Earth to Palo Alto” ซึ่งได้ปรากฏในสื่อชื่อดังอย่าง “The Recorder” ที่เป็นสื่อด้านกฏหมาย ในรัฐแคลิฟอร์เนีย

ซึ่งถูกเขียนโดย George Kraw ซึ่งเป็นนักกฏหมาย ชื่อดังในซิลิกอน วัลเลย์ โดยมีการแสดงความเห็นโจมตีความน่าเชื่อถือของรูปแบบธุรกิจ รวมถึงเหล่าทีมผู้บริหารของ PayPal:

“คุณจะทำอะไรกับบริษัทอายุเพียง 3 ปี ที่ยังไม่เคยสร้างกำไรได้เลยด้วยซ้ำ และบริการเหล่านี้อาจจะนำไปสู่การฟอกเงิน เหล่าผู้จัดการ และผู้ร่วมลงทุนที่อยู่เบื้องหลัง PayPal ต้องเปิดเผยตัวต่อสาธารณะ ที่พวกเขาคิดจะทดสอบเหล่านักลงทุนในวอลล์สตรีท และความไม่แน่นอนของตลาดการเงิน”

ซึ่งแน่นอนว่า Kraw และ สื่อในขณะนั้น ส่วนใหญ่จะไม่เข้าใจรูปแบบธุรกิจของ PayPal ด้วยตัวเลขทางการเงินที่ดีขึ้นแสดงให้เห็นแนวโน้มชัดเจนว่าบริษัทกำลังจะทำกำไรได้ในไม่ช้า แต่เนื่องด้วยสถานการณ์ในขณะนั้นเพิ่งผ่านฟองสบู่ดอทคอมแตกมาไม่นาน PayPal จึงยากที่จะแก้ไขความเข้าใจผิดเหล่านี้ได้

และที่สำคัญเมื่อทางฝั่ง ebay ได้รับรู้ข่าวดังกล่าว ก็เป็นเดือดเป็นร้อนไม่แพ้กัน ซึ่งอาจจะปิดโอกาสที่จะทำให้ Billpoint เป็นผู้นำในตลาดชำระเงินออนไลน์ พวกเขาจึงต้องเริ่งทำอะไรซักอย่างโดยด่วน

เมื่อ PayPal กำลังจะเข้า IPO
เมื่อ PayPal กำลังจะเข้า IPO

ebay จึงได้เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ คือ “Checkout” ที่มีการ Link ไปยังฟอร์มการชำระเงินของ Billpoint ทันที ซึ่งหากผู้ขายไม่มีบัญชี Billpoint ก็จะมีหน้าจอที่กระตุ้นให้ผู้ซื้อติดต่อผู้ขายเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยบอกผู้ซื้อว่าเป็นปัญหาที่ต้องแก้ไข เป็นการบีบบังคับกลาย ๆ ให้ผู้ขายต้องไปใช้งาน Billpoint

ซึ่งมันส่งผลกระทบต่อ PayPal โดยตรง ebay ได้กำหนดให้ checkout เป็นข้อบังคับสำหรับผู้ขายในอเมริกาทั้งหมด โดยกล่าวว่าจำเป็นต้องให้ประสบการณ์ผู้ซื้อที่ดีขึ้น และสอดคล้องกัน โดยเป็นการแทนที่ระบบเดิมที่สิทธิ์จะเป็นของผู้ขายในการควบคุมการประมูลและการชำระเงิน

Checkout เป็นการพยายามบังคับให้ผู้ซื้อกลับไปที่เว๊บไซต์ของ ebay และเป็นการเตะ PayPal ออกจากการมีส่วนร่วมในกระบวนการดังกล่าวนี้ ซึ่งจากตรงนั้น ebay สามารถใช้เว๊บไซต์ของตัวเองเพื่อชัดจูงให้ผู้ซื้อไปยัง Billpoint โดยไม่จำเป็นต้องเข้ามาที่ PayPal อีกต่อไปนั่นเอง

และเหมือนเคย ที่ Reid Hoffman พยายามเรียกร้องความยุติธรรมกับ ebay ที่ควรให้เป็นตลาดที่แข่งขันได้แบบสมบูรณ์ แต่ครั้งนี้ ebay จะไม่ยอมอ่อนข้อให้อีกต่อไป และพยายามผลักดันนโยบายนี้แบบเต็มที่ โดยไม่สนใจ PayPal

และปัญหามันก็เกิด เพราะในคอมมิวนิตี้ของ ebay ในกระดานสนทนา ต่างเต็มไปด้วยความโกรธ เนื่องจากการบังคับใช้ของ ebay เหล่าพ่อค้าทั้งหลายไม่โอเค กับการเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ รวมถึงการปิดกั้น PayPal

มันเป็นครั้งที่ 3 ในรอบ 6 เดือนที่ ebay พยายามบังคับลูกค้าของพวกเขา ซึ่งการกระทำทุก ๆ ครั้งของ ebay นั้นผลก็คือเป็นการสร้างความผูกพันที่แน่นแฟ้นมากขึ้น ระหว่าง PayPal และเหล่าผู้ใช้งานผู้จงรักภักดีของพวกเขา และครั้งนี้ก็เช่นกัน ในที่สุด ebay ก็ต้องยอมถอน checkout ออกไปจากแพลตฟอร์มของพวกเขา

หลังจากนั้นไม่นาน สิ่งที่รอคอยของ PayPal ก็มาถึง เมื่อ PayPal สามารถทำกำไรได้ในที่สุด โดยเริ่มมีกำไรจากการดำเนินงาน 2.8 ล้านดอลลาร์ ในไตรมาสที่ 4 ซึ่งรายรับของ PayPal นั้นเพิ่มขึ้นจาก 30.2 ล้านเหรียญ ในไตรมาส 3 เป็น 40.1 ล้านเหรียญในไตรมาส 4 รวมถึงจำนวนผู้ใช้งานที่เติบโตอย่างน่าถึงไปสู่ 12.8 ล้านคน หลังจากดำเนินงานบริษัทมาได้เพียง 26 เดือนเท่านั้น

PayPal กลายเป็นธุรกิจที่สร้างกำไรได้จริง ๆ ลดการพึ่งพา ebay ลง เนื่องจากมีส่วนเสริมในธุรกิจอื่น ๆ อย่างเกมออนไลน์ เป็นบริษัทที่เรียกได้ว่ามีอัตราเติบโตเร็วที่สุดแห่งหนึ่งในประวัติศาสตร์ธุรกิจเลยก็ว่าได้

ซึ่งสถานการณ์เมื่อถึงตอนนั้น เป็นที่ชัดเจนต่อ Meg Whitman CEO ของ ebay แล้วว่า ผู้ใช้ในแพลตฟอร์มของ ebay เลือก PayPal มากกว่า Billpoint รวมถึงความเสี่ยงในการต่อสู้กับ PayPal อย่างต่อเนื่อง รวมถึงโอกาสที่จะดัน Billpoint นั้นไม่น่าจะมีทางเป็นไปได้อีกต่อไป

ในช่วงสิ้นปี 2001 Whitman ได้เขาไปพบกับ Thiel อย่างเงียบ ๆ พร้อมกับข้อเสนอเพื่อซื้อ PayPal โดยแสดงความจริงใจว่าจะทำการปิดบริการ Billpoint และให้ PayPal เป็นเพียงบริการหลักบริการเดียวใน ebay

Meg Whitman ตัดสินใจเจรจาขอซื้อ PayPal
Meg Whitman ตัดสินใจเจรจาขอซื้อ PayPal

Thiel ต้องใช้เวลาในช่วงสุดสัปดาห์ พิจารณาข้อเสนอดังกล่าวกับคณะกรรมการรวมถึง elon musk อย่างถี่ด้วน และเมื่อพิจารณาจากคาวมเสี่ยงหลาย ๆ ทางแล้วนั้น คณะกรรมการตัดสินใจยกเลิกข้อเสนอของ ebay เพื่อคงความเป็นอิสระของ PayPal ไว้ดังเดิม

ในกระบวนการเสนอขายหุ้นต่อสาธารณะชนนั้น เริ่มเกิดปัญหา เมื่อ CertCo บริษัทที่ปรึกษาด้านการชำระเงิน ได้ยื่นฟ้อง PayPal โดยกล่าวหาว่า โครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินหลักของ PayPal นั้น มีการละเมิดสิทธิบัตรของพวกเขา หลังจากนั้นไม่นาน บริษัทที่ชื่อ Tumbleweed Communications ได้อ้างเรื่องการละเมิดสิทธิบัตรของ PayPal เช่นเดียวกัน

แต่สุดท้ายทีมกฏหมายของ PayPal ก็ได้พยายามทำงานอย่างหนัก เพื่อจัดการปัญหาดังกล่าวได้สำเร็จ และในที่สุด PayPal ก็สามารถเข้าสู่กระบวนการทำ IPO ได้สำเร็จ โดยมีราคา IPO ที่ 13 เหรียญ และถูกกำหนดให้เริ่มซื้อขายในตลาด NASDAQ ภายใต้สัญลักษณ์ PYPL

และในวันแรกของการเปิดตัวต่อสาธารณชน ราคาหุ้นของ PayPal ก็พุ่งขึ้นไปสู่ราคา 18 เหรียญ ทุกฝ่ายต่างฉลองกันอย่างยิ่งใหญ่ เมื่อความสำเร็จที่ร่วมฝ่าฟันกันมานาน ผ่านร้อนผ่านหนาว การเปลี่ยน CEO ถึง 3 คน และต่อสู้กับยักษ์ใหญ่อย่าง ebay ได้อย่างไม่เกรงกลัว จนในที่สุดสามารถที่จะพา PayPal เข้าสู่บริษัทมหาชนได้สำเร็จ ถือเป็นเรื่องราวที่สุดยอดมาก ๆ ของธุรกิจเล็ก ๆ อย่าง PayPal ที่ใช้เวลาไม่ถึง 3 ปีก้าวมาถึงจุดนี้ได้ เรื่องราวยังไม่จบเพียงแค่นี้นะครับ แล้วจะเกิดอะไรขึ้นต่อหลังจากพวกเขาสามารถนำพาบริษัทเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ได้สำเร็จเป็นที่เรียบร้อย โปรดติดตามตอนต่อไปครับผม

–> อ่านตอนที่ 10 : To The Brink

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :The New Recruit *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***


 


ติดตามสาระดี ๆ อัพเดททุกวันผ่าน Line OA



Geek Forever Club พื้นที่ของการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ



Geek Forever’s Podcast


“Open Your World With Technology


AI , Blockchain และเทคโนโลยีใหม่ ๆ กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในหลายธุรกิจ ทั้ง แวดวงการเงิน สุขภาพ หรือ งานด้านบริการต่าง ๆ ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจเกี่ยวกับ AI หรือ Machine Learning

Podcast ของผมจะเล่าเรื่องราวต่าง รวมถึงเรื่องที่ผมสนใจอื่น ๆ เช่น startup หนังสือ หนัง หรือ กีฬาฟุตบอล อยากชวนคนที่สนใจให้ลองมาติดตาม podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Youtube
ฟังผ่าน Youtube