PayPal Wars ตอนที่ 11 : Sell Out

JULY–OCTOBER 2002

ข่าวลือต่าง ๆ ได้หลุดออกไปอย่างรวดเร็วในเรื่องการควบรวมกิจการระหว่าง ebay และ PayPal มันเป็นการเจรจาที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วมาก ๆ ระหว่างบริษัททั้งสองที่ไม่คิดจะสู้กันอีกต่อไป การควบรวมกิจการนั้นดูเหมือนจะเป็นทางออกที่ดีที่สุดของทั้งสองฝ่าย

‘ebay ทุ่มซื้อ PayPal มูลค่า 1.5 พันล้านเหรียญ’ กลายเป็นข่าวใหญ่ของสื่อในช่วงเวลานั้น โดยเนื้อหานั้นกล่าวถึงการที่ ebay จะเปิดบริการ Billpoint ลง และให้ PayPal กลายเป็นบริการหลักของ ebay แทน

และเป็น Thiel ที่แอบไปเจรจา จน Deal นี้สำเร็จเสียที เป็นการต่อสู้ที่ยาวนาน เป็นการแข่งขันในเกมธุรกิจที่เรียกได้ว่าสนุกที่สุดครั้งในประวัติศาสตร์ของบริษัทในอเมริกา แต่ถึงบัดนี้ ทั้งสองก็ได้จูบปากกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

Thiel ได้ทำการนัดพนักงานเข้ามาเพื่อชี้แจ้งเรื่องดังกล่าว โดยกล่าวในรายละเอียดที่เกิดขึ้น ที่ได้สรุปข้อตกลงขายบริษัท PayPal ให้กับ ebay โดยจะเป็นการแลกเปลี่ยนหุ้นทั้งหมด ในสัดส่วน 0.39 หุ้นของ ebay สำหรับ PayPal ในทุก ๆ หุ้น

ซึ่งแน่นอนว่า อาจจะต้องใช้เวลาหกเดือน กว่าที่รายละเอียดของ Deal ทั้งหมดจะเสร็จสิ้น และในช่วงเวลาดังกล่าวนั้น ทุกอย่างยังคงเหมือนเดิม ทั้งสองบริษัทจะแยกทำงานกัน โดยหลังจากทำการซื้อขายเสร็จสมบูรณ์ PayPal จะยังคงเป็นหน่วยงานอิสระ ภายใน ebay และทีมผู้บริหารปัจจุบันก็จะยังคงอยู่ทำงานต่อไป

เหล่าพนักงาน PayPal ฉลองชัย ที่สงครามสิ้นสุด เสียที
เหล่าพนักงาน PayPal ฉลองชัย ที่สงครามสิ้นสุด เสียที

และคำพูดสุดท้าย ที่ทำให้เหล่าพนักงานต่างส่งเสียงปรบมือกันเกรียวกราว ก็คือ “เมื่อการซื้อขายเสร็จสมบูรณ์ Billpoint จะถูกปิดตัวลง และ PayPal จะถูกรวมเข้ากับเว๊บไซต์ ebay” ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นการยุติสงครามที่มีความยืดเยื้อมาอย่างยาวนานนั่นเอง

และสิ่งสำคัญในการควบรวมครั้งนี้ก็คือ Thiel ต้องการประกาศให้เหล่าพนักงานของเขาได้รับรู้ว่า PayPal จะกลายเป็นสกุลเงินสำหรับอินเทอร์เน็ต ตามความฝันที่เค้าได้ตั้งใจไว้ตั้งแต่ตอนเริ่มสร้าง PayPal ใหม่ ๆ และด้วยจำนวนผู้ใช้งานในระบบ ebay ในขณะนั้นกว่า 46 ล้านคน มันกลายเป็นพื้นที่ ที่เหลือเฟือสำหรับการเติบโตในอนาคตของ PayPal

และที่สำคัญการต่อสู้ในครั้งนี้ของ PayPal มันยังได้แสดงให้เห็นอีกอย่างนึงว่า PayPal บริษัท startup เล็ก ๆ ที่แจ้งเกิดได้เพียงไม่เกิน 3 ปีนั้น แต่พวกเขาสามารถเอาชนะยักษ์ใหญ่อย่าง ebay และกลายเป็นผู้ชนะตัวจริงในศึกปฏิวัติวงการชำระเงินออนไลน์ของโลกในครั้งนี้นั่นเองครับ

แล้วเราได้อะไรจากการเรื่องราวของ PayPal Wars จาก Blog Series ชุดนี้

ก็ต้องบอกว่าการเกิดขึ้นของ PayPal นั้นเป็นอีกหนึ่งในจุดเปลี่ยนสำคัญที่สุด ของวงการเทคโนโลยีโดยเฉพาะเหล่า Startup ใน อเมริกาเลยก็ว่าได้ เพราะผลผลิตจากกลุ่ม PayPal ที่ถูกกล่าวขานกันว่า PayPal Mafia นั้นได้กลายเป็นกลุ่มบุคคลที่คอยขับเคลื่อน Silicon Valley ในยุคต่อมาอย่างที่เราได้เห็นในปัจจุบัน

บริการอย่าง Facebook ก็ได้รับเงินทุนตั้งต้นครั้งแรกจาก Peter Thiel ที่เป็นอดีต CEO ผู้พา PayPal เอาชนะ Billpoint ของ ebay ได้สำเร็จนั่นเอง และหลาย ๆ คนของเหล่าพนักงานหัวกะทิของ PayPal ก็ได้กลายมาเป็นนักลงทุนทางด้านเทคโนโลยี หรือแม้กระทั่งการสร้างบริการใหม่ ๆ ขึ้นมาเอง ตัวอย่างเช่น Linkedin ของ Reid Hoffman หรือ Youtube , Yelp หรือ นวัตกรรมสุดล้ำต่าง ๆ ที่ Elon Musk กำลังสรรค์สร้างขึ้นมาอย่างที่เราเห็นในปัจจุบัน

มันได้ส่งผลทำให้เกิด Startup ในยุคหลัง ๆ ของ Silicon Valley หลาย ๆ บริการที่กลายมาเป็นบริการโด่งดังในปัจจุบัน ซึ่งก็ล้วนแต่ผ่านมือพวกเขาเหล่านี้ไม่ว่าทางใดก็ทางหนึ่งมาแล้วแทบจะทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น Uber , Instragram , Youtube , Kiva.org , AirBnb หรืออีกหลายธุรกิจที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต

บริษัทชื่อดังมากมายที่ล้วนเป็นผลผลิตมาจากเหล่าพนักงาน PayPal
บริษัทชื่อดังมากมายที่ล้วนเป็นผลผลิตมาจากเหล่าพนักงาน PayPal

ต้องบอกว่า จากเนื้อเรื่องใน Blog Series ชุดนี้ มันคือการหล่อหลอมให้เหล่าพนักงานของ PayPal ยุคบุกเบิกนั้น ได้กลายมาเป็นนักลงทุนทางเทคโนโลยีที่มีวิสัยทัศน์อย่างที่เราเห็น มันเกิดจากการสู้ของพวกเขาแทบจะทั้งสิ้น พวกเขาได้เจอประสบการณ์ต่าง ๆ มากมายในการนำพา บริษัทเล็ก ๆ ที่เพิ่งเกิดใหม่ อย่าง PayPal ให้ต่อกรกับ ebay ที่ถือเป็นยักษ์ใหญ่ในวงการเทคโนโลยีในขณะนั้นได้ถือว่าเป็น case study ที่น่าสนใจครั้งนึงในการต่อสู้ทางธุรกิจของประเทศอเมริกา

จะเห็นได้ว่าเรื่องนี้ได้ให้แนวคิดอย่างนึงก็คือ ด้วยทรัพยากรต่าง ๆ ที่จำกัด และด้อยกว่าคู่แข่งอย่าง ebay แบบเห็นได้ชัด แต่พวกเขากลุ่มนี้ เหล่าพนักงานหัวกะทิของ PayPal ได้รีดศักยภาพของตัวเองให้ออกมาได้มากที่สุด สร้างไอเดียที่สร้างสรรค์ คิดค้นกลยุทธ์ใหม่ ๆ พวกเขาต้องคอยคิดอยู่ตลอดเวลา และที่สำคัญมันต้องทำงานแข่งกับเวลาที่เงินทุนของพวกเขากำลังร่อยหรอลงเรื่อย ๆ เพื่อที่จะให้สามารถต่อสู้กับ ebay ได้ แม้จะเป็นรองแค่ไหน พวกเขาก็ไม่เคยยอมแพ้ ซึ่งสุดท้ายพวกเขาก็สามารถเอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ ได้สำเร็จ และได้กลายเป็นผู้ชนะที่ยิ่งใหญ่ในวงการชำระเงินออนไลน์ อย่างที่เราได้เห็นใน Blog Series ชุดนี้นั่นเองครับ

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :The New Recruit *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

รวม Blog Series ที่มีผู้อ่านมากที่สุดรวม Blog Series ที่มีผู้อ่านมากที่สุด

อย่าลืมติดตามผลงานเรื่องต่อ ๆ ไปของผมก่อนใครได้ที่ blockdit นะครับ โหลดได้เลย

อย่าลืม ค้นหา “ด.ดล Blog” แล้ว กด follow กันด้วยนะครับผม

PayPal Wars ตอนที่ 9 : Earth vs Palo Alto

SEPTEMBER 2001 — FEBRUARY 2002

เจ็ดสิบวัน หลังจากการโจมตีครั้งร้ายแรงที่สุดในนิวยอร์ก และ วอชิงตัน PayPal ได้ประกาศแผนที่ทำให้ทั้ง Wall Street และ Silicon Valley ตกใจ เมื่อ PayPal ได้ยื่นแสดงรายการข้อมูล กับสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เพื่อเสนอขายหุ้นแก่ประชาชนครั้งแรก หรือ IPO นั่นเอง

และแน่นอนว่าหลังการประกาศตัวครั้งนี้ของ PayPal ออกไปนั้น สื่อก็รุมถล่มแนวคิดนี้ของพวกเขาทันที และในบทความนึงที่ชื่อว่า “Earth to Palo Alto” ซึ่งได้ปรากฏในสื่อชื่อดังอย่าง “The Recorder” ที่เป็นสื่อด้านกฏหมาย ในรัฐแคลิฟอร์เนีย

ซึ่งถูกเขียนโดย George Kraw ซึ่งเป็นนักกฏหมาย ชื่อดังในซิลิกอน วัลเลย์ โดยมีการแสดงความเห็นโจมตีความน่าเชื่อถือของรูปแบบธุรกิจ รวมถึงเหล่าทีมผู้บริหารของ PayPal:

“คุณจะทำอะไรกับบริษัทอายุเพียง 3 ปี ที่ยังไม่เคยสร้างกำไรได้เลยด้วยซ้ำ และบริการเหล่านี้อาจจะนำไปสู่การฟอกเงิน เหล่าผู้จัดการ และผู้ร่วมลงทุนที่อยู่เบื้องหลัง PayPal ต้องเปิดเผยตัวต่อสาธารณะ ที่พวกเขาคิดจะทดสอบเหล่านักลงทุนในวอลล์สตรีท และความไม่แน่นอนของตลาดการเงิน”

ซึ่งแน่นอนว่า Kraw และ สื่อในขณะนั้น ส่วนใหญ่จะไม่เข้าใจรูปแบบธุรกิจของ PayPal ด้วยตัวเลขทางการเงินที่ดีขึ้นแสดงให้เห็นแนวโน้มชัดเจนว่าบริษัทกำลังจะทำกำไรได้ในไม่ช้า แต่เนื่องด้วยสถานการณ์ในขณะนั้นเพิ่งผ่านฟองสบู่ดอทคอมแตกมาไม่นาน PayPal จึงยากที่จะแก้ไขความเข้าใจผิดเหล่านี้ได้

และที่สำคัญเมื่อทางฝั่ง ebay ได้รับรู้ข่าวดังกล่าว ก็เป็นเดือดเป็นร้อนไม่แพ้กัน ซึ่งอาจจะปิดโอกาสที่จะทำให้ Billpoint เป็นผู้นำในตลาดชำระเงินออนไลน์ พวกเขาจึงต้องเริ่งทำอะไรซักอย่างโดยด่วน

เมื่อ PayPal กำลังจะเข้า IPO
เมื่อ PayPal กำลังจะเข้า IPO

ebay จึงได้เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ คือ “Checkout” ที่มีการ Link ไปยังฟอร์มการชำระเงินของ Billpoint ทันที ซึ่งหากผู้ขายไม่มีบัญชี Billpoint ก็จะมีหน้าจอที่กระตุ้นให้ผู้ซื้อติดต่อผู้ขายเกี่ยวกับเรื่องนี้ โดยบอกผู้ซื้อว่าเป็นปัญหาที่ต้องแก้ไข เป็นการบีบบังคับกลาย ๆ ให้ผู้ขายต้องไปใช้งาน Billpoint

ซึ่งมันส่งผลกระทบต่อ PayPal โดยตรง ebay ได้กำหนดให้ checkout เป็นข้อบังคับสำหรับผู้ขายในอเมริกาทั้งหมด โดยกล่าวว่าจำเป็นต้องให้ประสบการณ์ผู้ซื้อที่ดีขึ้น และสอดคล้องกัน โดยเป็นการแทนที่ระบบเดิมที่สิทธิ์จะเป็นของผู้ขายในการควบคุมการประมูลและการชำระเงิน

Checkout เป็นการพยายามบังคับให้ผู้ซื้อกลับไปที่เว๊บไซต์ของ ebay และเป็นการเตะ PayPal ออกจากการมีส่วนร่วมในกระบวนการดังกล่าวนี้ ซึ่งจากตรงนั้น ebay สามารถใช้เว๊บไซต์ของตัวเองเพื่อชัดจูงให้ผู้ซื้อไปยัง Billpoint โดยไม่จำเป็นต้องเข้ามาที่ PayPal อีกต่อไปนั่นเอง

และเหมือนเคย ที่ Reid Hoffman พยายามเรียกร้องความยุติธรรมกับ ebay ที่ควรให้เป็นตลาดที่แข่งขันได้แบบสมบูรณ์ แต่ครั้งนี้ ebay จะไม่ยอมอ่อนข้อให้อีกต่อไป และพยายามผลักดันนโยบายนี้แบบเต็มที่ โดยไม่สนใจ PayPal

และปัญหามันก็เกิด เพราะในคอมมิวนิตี้ของ ebay ในกระดานสนทนา ต่างเต็มไปด้วยความโกรธ เนื่องจากการบังคับใช้ของ ebay เหล่าพ่อค้าทั้งหลายไม่โอเค กับการเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ รวมถึงการปิดกั้น PayPal

มันเป็นครั้งที่ 3 ในรอบ 6 เดือนที่ ebay พยายามบังคับลูกค้าของพวกเขา ซึ่งการกระทำทุก ๆ ครั้งของ ebay นั้นผลก็คือเป็นการสร้างความผูกพันที่แน่นแฟ้นมากขึ้น ระหว่าง PayPal และเหล่าผู้ใช้งานผู้จงรักภักดีของพวกเขา และครั้งนี้ก็เช่นกัน ในที่สุด ebay ก็ต้องยอมถอน checkout ออกไปจากแพลตฟอร์มของพวกเขา

หลังจากนั้นไม่นาน สิ่งที่รอคอยของ PayPal ก็มาถึง เมื่อ PayPal สามารถทำกำไรได้ในที่สุด โดยเริ่มมีกำไรจากการดำเนินงาน 2.8 ล้านดอลลาร์ ในไตรมาสที่ 4 ซึ่งรายรับของ PayPal นั้นเพิ่มขึ้นจาก 30.2 ล้านเหรียญ ในไตรมาส 3 เป็น 40.1 ล้านเหรียญในไตรมาส 4 รวมถึงจำนวนผู้ใช้งานที่เติบโตอย่างน่าถึงไปสู่ 12.8 ล้านคน หลังจากดำเนินงานบริษัทมาได้เพียง 26 เดือนเท่านั้น

PayPal กลายเป็นธุรกิจที่สร้างกำไรได้จริง ๆ ลดการพึ่งพา ebay ลง เนื่องจากมีส่วนเสริมในธุรกิจอื่น ๆ อย่างเกมออนไลน์ เป็นบริษัทที่เรียกได้ว่ามีอัตราเติบโตเร็วที่สุดแห่งหนึ่งในประวัติศาสตร์ธุรกิจเลยก็ว่าได้

ซึ่งสถานการณ์เมื่อถึงตอนนั้น เป็นที่ชัดเจนต่อ Meg Whitman CEO ของ ebay แล้วว่า ผู้ใช้ในแพลตฟอร์มของ ebay เลือก PayPal มากกว่า Billpoint รวมถึงความเสี่ยงในการต่อสู้กับ PayPal อย่างต่อเนื่อง รวมถึงโอกาสที่จะดัน Billpoint นั้นไม่น่าจะมีทางเป็นไปได้อีกต่อไป

ในช่วงสิ้นปี 2001 Whitman ได้เขาไปพบกับ Thiel อย่างเงียบ ๆ พร้อมกับข้อเสนอเพื่อซื้อ PayPal โดยแสดงความจริงใจว่าจะทำการปิดบริการ Billpoint และให้ PayPal เป็นเพียงบริการหลักบริการเดียวใน ebay

Meg Whitman ตัดสินใจเจรจาขอซื้อ PayPal
Meg Whitman ตัดสินใจเจรจาขอซื้อ PayPal

Thiel ต้องใช้เวลาในช่วงสุดสัปดาห์ พิจารณาข้อเสนอดังกล่าวกับคณะกรรมการรวมถึง elon musk อย่างถี่ด้วน และเมื่อพิจารณาจากคาวมเสี่ยงหลาย ๆ ทางแล้วนั้น คณะกรรมการตัดสินใจยกเลิกข้อเสนอของ ebay เพื่อคงความเป็นอิสระของ PayPal ไว้ดังเดิม

ในกระบวนการเสนอขายหุ้นต่อสาธารณะชนนั้น เริ่มเกิดปัญหา เมื่อ CertCo บริษัทที่ปรึกษาด้านการชำระเงิน ได้ยื่นฟ้อง PayPal โดยกล่าวหาว่า โครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินหลักของ PayPal นั้น มีการละเมิดสิทธิบัตรของพวกเขา หลังจากนั้นไม่นาน บริษัทที่ชื่อ Tumbleweed Communications ได้อ้างเรื่องการละเมิดสิทธิบัตรของ PayPal เช่นเดียวกัน

แต่สุดท้ายทีมกฏหมายของ PayPal ก็ได้พยายามทำงานอย่างหนัก เพื่อจัดการปัญหาดังกล่าวได้สำเร็จ และในที่สุด PayPal ก็สามารถเข้าสู่กระบวนการทำ IPO ได้สำเร็จ โดยมีราคา IPO ที่ 13 เหรียญ และถูกกำหนดให้เริ่มซื้อขายในตลาด NASDAQ ภายใต้สัญลักษณ์ PYPL

และในวันแรกของการเปิดตัวต่อสาธารณชน ราคาหุ้นของ PayPal ก็พุ่งขึ้นไปสู่ราคา 18 เหรียญ ทุกฝ่ายต่างฉลองกันอย่างยิ่งใหญ่ เมื่อความสำเร็จที่ร่วมฝ่าฟันกันมานาน ผ่านร้อนผ่านหนาว การเปลี่ยน CEO ถึง 3 คน และต่อสู้กับยักษ์ใหญ่อย่าง ebay ได้อย่างไม่เกรงกลัว จนในที่สุดสามารถที่จะพา PayPal เข้าสู่บริษัทมหาชนได้สำเร็จ ถือเป็นเรื่องราวที่สุดยอดมาก ๆ ของธุรกิจเล็ก ๆ อย่าง PayPal ที่ใช้เวลาไม่ถึง 3 ปีก้าวมาถึงจุดนี้ได้ เรื่องราวยังไม่จบเพียงแค่นี้นะครับ แล้วจะเกิดอะไรขึ้นต่อหลังจากพวกเขาสามารถนำพาบริษัทเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ได้สำเร็จเป็นที่เรียบร้อย โปรดติดตามตอนต่อไปครับผม

–> อ่านตอนที่ 10 : To The Brink

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :The New Recruit *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Alibaba ของ Jack Ma เอาชนะ Ebay ในประเทศจีนได้อย่างไร?

สภาพแวดล้อมในธุรกิจค้าปลีกของจีนนั้นมีพัฒนาการแตกต่างจากหลาย ๆ ประเทศ วิวัฒนาการปรกติของธุรกิจค้าปลีกมักจะเริ่มต้นขึ้นจากร้านโชว์ห่วย พัฒนามาเป็นห้างสรรพสินค้า เป็นดิสเค้าท์สโตร์ เป็นร้านค้าเฉพาะทาง และจบลงด้วยธุรกิจรูปแบบใหม่คือ อีคอมเมิร์ซ

แต่สำหรับประเทศจีนนั้นมันแตกต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง เนื่องจากประเทศจีนนั้นเปิดประเทศมาเพียงแค่ไม่กี่ปีเท่านั้น และมีการเติบโตของชนชั้นกลางที่รวดเร็วที่สุดประเทศหนึ่งในประวัติศาสตร์โลก ย่อมทำให้เกิดการก้าวกระโดดอย่างรวดเร็วของพัฒนาการในธุรกิจค้าปลีกเหล่านี้ และจีนเป็นเพียงหนึ่งในไม่กี่ประเทศ ที่กระโดดจากร้านโชว์ห่วยข้ามมาเป็น อีคอมเมิร์ซ ได้รวดเร็วและรุนแรงที่สุด

และหลังจากที่แจ๊ค หม่า ได้สร้าง taobao ขึ้นมาออนไลน์ได้เรียบร้อยแล้วนั้น มันคือจุดเริ่มต้นของการสู้รบระหว่างธุรกิจ C2C ของ อาลีบาบา และผู้นำในตลาดอีคอมเมิร์ซจากอเมริกาอย่าง ebay ซึ่งในตอนนั้นต้องบอกว่า ebay ที่เป็นยักษ์ใหญ่ที่สุดในวงการอีคอมเมิร์ซโลกเลยก็ว่าได้ 

ebay นั้นบุกไปที่ประเทศไหน ก็สามารถยึดครองตลาดได้แทบเบ็ดเสร็จ มีเพียงแค่ญี่ปุ่นที่เดียวเท่านั้น ที่ ebay ไม่สามารถยึดครองได้ เนื่องจากพ่ายแพ้ต่อ YAHOO Japan แต่อย่างไรก็ดี ebay ก็ค่อนข้างมั่นใจว่าจะสามารถยึดตลาดจีนได้ เพราะตอนนั้นเอง taobao ก็ยังเล็กเกินกว่าที่จะต่อสู้กับ ebay  

ซึ่งหลังจาก ebay เข้าตลาดจีนได้สำเร็จจากการ take over EachNet โดย Meg Whitman ที่ดำรงตำแหน่ง CEO ของ ebay ในขณะนั้น ได้กล่าวไว้ว่าประเทศจีนคือตลาดที่สำคัญที่สุดอันดับสองรองจากสหรัฐอเมริกา และเขาคาดว่าในอีก 10-15 ปี ตลาดจีนจะกลายเป็นตลาดใหญ่ที่สุดของ ebay และที่สำคัญยังประกาศท้ารบกับคู่แข่งโดยกล่าวไว้ว่าจะทำการยุติสงครามอีคอมเมิร์ซให้ได้ภายใน 18 เดือน ซึ่งถือเป็นคำขู่จากบริษัทที่ถือเป็นยักษ์ใหญ่วงการอีคอมเมิร์ซโลก

Meg Whitman มั่นใจอย่างมากว่าจะครองครองตลาดจีนได้สำเร็จ

กลยุทธ์ป่าล้อมเมือง

ตอนนั้น ebay ทุ่มหมดหน้าตัก ทำการโฆษณาสัมพันธ์ไปทั่วทั้งจีน โดยเว๊บไซต์ใหญ่ ๆ ในประเทศจีนในตอนนั้น ได้ถูก ebay ซื้อพื้นที่โฆษณาไปแทบจะหมดแล้ว แล้วแจ๊คตัวน้อยกับ taobao ของเขาจะทำอย่างไร ด้วยทุนรอนที่น้อยกว่า แถมเครือข่ายเว๊บใหญ่ ๆ นั้นได้ถูก ebay ยึดครองไปหมดแล้ว

แต่เนื่องจากหลังปี 2000 จำนวนผู้ใช้ internet ในจีนเพิ่มมากขึ้นและต้นทุนการทำเว๊บก็ลดลงไปมาก เว๊บไซต์ขนาดเล็กจึงมีให้เห็นเป็นจำนวนมาก เว๊บเหล่านี้ส่วนมากทำโดยบุคคลทั่วไป และเป็นเว๊บไซต์เจาะจงในความสนใจหรือความต้องการของเจ้าของเว๊บเป็นหลัก

ซึ่งเครือข่ายเว๊บไซต์เหล่านี้ล้วนเสนอราคาค่าโฆษณาที่ต่ำมาก และมีการผูกโยงเป็นเครือข่ายไว้บ้างแล้ว ซึ่งทำให้ taobao นั้นจะไปโฆษณาอยู่ในเครือข่ายเว๊บเหล่านี้แทนเว๊บไซต์ขนาดใหญ่ ซึ่งเมื่อเทียบจากผลลัพธ์แล้วนั้น พบว่าได้ผลดีกว่าเว๊บไซต์ใหญ่ ๆ เสียอีก โดยใช้เงินทุนที่น้อยกว่ามาก

Localization

กลยุทธ์อีกอย่างที่สำคัญของ taobao คือ ความเข้าใจในพื้นที่ ซึ่ง taobao มีสูงกว่า ebay มาก แจ๊คได้ปรับ taobao ให้เป็นเว๊บไซต์ที่มีหน้าตาแบบจีนแท้ ๆ คือมีตัวหนังสือเต็มไปหมดทั้งหน้าจอ เรียกได้ว่าแทบจะไม่มีพื้นที่ว่างเลยด้วยซ้ำ

ในสายตาของ ebay ที่คิดแบบฝรั่งนั้น มันคือความรกชัด ๆ ebay ต้องการหน้าจอที่ใช้งานได้แบบเรียบง่ายตามสไตล์อเมริกา ที่เน้นหน้าจอที่ดูสะอาดใช้งานง่าย ๆ แต่นี่คือประเทศจีน มันคือความเคยชิน ที่เหล่าลูกค้าคุ้นเคยในชีวิตประจำวัน

การเรียงหมวดหมู่สินค้าก็เป็นอีกปัจจัยสำคัญ  taobao นั้นเรียงหมวดหมู่ของสินค้าตามสไตล์จีนแท้ ๆ คือเรียงหมวดหมู่สินค้าแบบห้างสรรพสินค้าในจีน ในขณะที่ ebay นั้นจัดเรียงแบบบริษัทแม่ที่อยู่ในอเมริกา ทำให้ลูกค้าชาวจีนที่เข้ามาใช้บริการใหม่ ๆ จะรู้สึกคุ้นเคยกับแพลตฟอร์มของ taobao มากกว่า

ebay นั้นได้ทำสิ่งที่ผิดพลาดอีกอย่างนึงที่ไม่เข้าใจถึงวัฒนธรรมจีนเลย ก็คือ การทำให้ แพลตฟอร์มของ ebay ทั่วโลกเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทำให้ต้องมีการปรับหน้าเว๊บจาก EachNet เดิมที่คนจีนคุ้นเคย เปลี่ยนมาเป็น ebay แบบเดียวกับที่อเมริกา ทำให้ ขั้นตอนการซื้อขาย กลไกการประเมินราคา และอื่น  ๆ อีกมากมาย ซึ่งทำให้ลูกค้าเก่าในประเทศจีนที่ชินกับลักษณะเดิม ๆ ปรับตัวไม่ได้

ebay พยายามมาคั่นกลางระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายด้วยความกลัวว่าจะไม่ได้ค่า ธรรมเนียม ซึ่งเป็นรายได้หลักของบริษัท แต่ taobao ปล่อยให้ผู้ซื้อและผู้ขายคุยกันได้อย่างอิสระ แถมยังมีโปรแกรม Messenger ให้คุยกันง่ายขึ้นด้วย เพราะ taobao นั้นไม่มีค่าธรรมเนียมจึงไม่ต้องกลัวว่าผู้ซื้อและผู้ขายจะไปขายกันเองโดยไม่ผ่านแพลตฟอร์ม

Messenger ของ taobao ที่ให้พ่อค้าและลูกค้า มาคุยกันได้อย่างอิสระ

สุดท้ายคนก็ใช้ แพลตฟอร์มของ taobao ที่ง่ายกว่า เพราะผ่าน แพลตฟอร์ม หรือไม่ ก็ไม่ได้เสียเงินอยู่แล้ว ซึ่งสิ่งนี้ทำให้ลูกค้าของ taobao รู้สึกว่า taobao จริงใจในการช่วยเหลือพวกเขาและไม่หน้าเลือด มุ่งแต่จะเก็บแต่ค่าธรรมเนียมเหมือน ebay

และลำพังการให้บริการฟรีเพียงอย่างเดียวนั้นยังไม่เพียงพอที่จะเอาชนะ ebay ได้อย่างแน่นอน แจ๊คจึงต้องสร้างระบบให้บริการบนเว๊บที่ดีด้วย เขาจึงทุ่มเทอย่างหนักเพื่อปรับปรุงการบริการให้ตอบสนองลูกค้าให้ดีที่สุด เขามุ่งมั่นที่จะทำระบบบริการลูกค้าสำหรับเว๊บที่ให้ใช้ฟรีอย่าง taobao ให้ได้ดียิ่งกว่าเว๊บที่คิดค่าธรรมเนียมอย่าง ebay อีกด้วย

นั่นมันทำให้ลูกค้าเริ่มหลั่งไหลมาใช้งาน taobao แทน แต่ทางผู้บริหาร ebay ก็ยังไม่รู้ร้อนรู้หนาวกับยุทธศาสตร์ที่ผิดพลาดของตน โดย ทำการเผาเงินเพื่อทุ่มโฆษณาขนานใหญ่เพื่อหวังฆ่า taobao ให้ตาย ด้วยเงินทุนที่มากกว่า

แต่หารู้ไม่ว่านั่นเป็นการโฆษณาที่ไร้ตรรกะสิ้นเชิง ผู้บริหารระดับสูงของ ebay นั้นละเลยความจริงพื้นฐานข้อหนึ่ง ที่ว่า taobao ของ อาลีบาบานั้นกำลังกลายเป็นหนุ่มใหญ่วัยกำลังเจริญเติบโต

ในขณะนั้นการซื้อขายออนไลน์ยังไม่ฝังลึกลงในใจชาวจีน โฆษณาทั้งหมดเกี่ยวกับการซื้อขายออนไลน์จึงล้วนกลายเป็นการทำตลาดให้ธุรกิจ C2C ทั้งหมดของจีนไปด้วย ดังนั้น ebay จึงกลายเป็น ฮีโร่ ในตลาด C2C การโฆษณาแบบเหวี่ยงแหของ ebay กลับกลายเป็นการทำโฆษณาฟรีให้ taobao ไปด้วย

และไม่ว่าจะด้วยตรรกะของแจ๊ค หรือความจริงที่ปรากฏในภายหลังล้วนพิสูจน์ได้ว่า ในการแข่งขันทางธุรกิจนั้น การเผาเงิน อย่างบ้าคลั่งของ ebay ไม่มีคุณค่าเลยแม้แต่น้อย และสำหรับตลาดประมูลของประเทศจีนแล้ว ebay ดูเหมือนจะกลายเป็นผู้เสียสละด้วยซ้ำ โดยเฉพาะการสละเงินจำนวนมากในการทุ่มโฆษณาครั้งนี้

ในเดือนพฤษภาคม 2005 ส่วนแบ่งการตลาดของ taobao คือ 67.3% แซงหน้า ebay ที่ครอง 29.1% สมาชิกลงทะเบียน taobao 19 ล้านราย ในปี 2006 สามาชิกของ taobao เพิ่มเป็น 22.5 ล้านรายมากกว่า ebay ในที่สุด taobao ก็ครองแชมป์ตลาด C2C ของจีนทั้งด้านจำนวนสมาชิกและยอดเงินจากการซื้อขาย และในที่สุดในช่วงฤดูหนาวปี 2006 ebay ก็ต้องถอนตัวจากประเทศจีน โดยขายกิจการให้กับ กลุ่ม TOM เป็นอันสิ้นสุดสองคราม C2C ของประเทศจีนที่ฝ่าย taobao เอาชนะไปได้อย่างขาดลอย

ความพ่ายแพ้อย่างย่อยยับในจีนของ ebay ต่อ jack ma

ต้องบอกว่า สงครามระหว่าง taobao กับ ebay ใน ประเทศจีนครั้งนี้ ถือเป็น case study ที่สำคัญของวงการธุรกิจโลก ฝ่ายหนึ่งเป็นผู้นำทางธุรกิจที่ใหญ่ที่สุด และกำลังบูมสุดขีดในขณะนั้น แต่ฝ่ายหลัง ที่สร้างเว๊บไซต์ขึ้นมาใหม่ใช้เวลาแค่ 2 ปีก็แย่งส่วนแบ่งการตลาดมาได้ถึง 70%  ถึงตอนนี้มันก็พิสูจน์ได้อย่างชัดเจนแล้วว่าสงครามในครั้งนี้ taobao เอาชนะไปได้อย่างขาดลอยนั่นเองครับ

References : https://brandinginasia.com/wp-content/uploads/2018/02/Jack-Ma-Jet-Li-Alibaba-Martial-Arts-Film-Branding-in-Asias.jpg