Trade War ค่าแรงและรัฐจีน เมื่อบริษัทยักษ์ใหญ่ญี่ปุ่นเริ่มมีความพยายามลดการพึ่งพาการผลิตจากจีน

ในช่วงสิ้นเดือนกันยายนที่กำลังจะมาถึง สายการผลิตของโรงงานโตชิบาในต้าเหลียนจะหยุดทำการ มันเป็นเวลา 30 ปี หลังจากที่ยักษ์ใหญ่ด้านอิเล็กทรอนิกส์ของญี่ปุ่นเปิดโรงงานในเมืองทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ซึ่งเป็นการดำเนินการตามห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกที่ขยายไปสู่ประเทศจีน

โรงงานของโตชิบาในต้าเหลียนได้ขยายการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบธุรกิจในเอเชียของบรษัท ซึ่งเมื่อครั้งที่พวกเขาเริ่มเปิดทำการ มันก็ได้กลายเป็นหัวใจสำคัญของเครือข่ายการค้าและการผลิตของภูมิภาค 

แต่ตอนนี้ด้วยสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เปลี่ยนไป ค่าจ้างรายชั่วโมงโดยคนงานชาวจีนได้เพิ่มขึ้นสิบเท่าในรอบศตวรรษที่ผ่านมา เป็น 6.20 ดอลลาร์ แต่นั่นยังคงเป็นอัตราหนึ่งในสี่ของอัตราค่าแรงของคนญี่ปุ่น และเป็นสองเท่าของค่าจ้างแรงงานไทย

และแน่นอนว่าความตึงเครียดทางการเมืองกำลังทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์จีนกับกลุ่มธุรกิจ ที่เริ่มถูกรัฐเข้ามาควบคุมอำนาจต่าง ๆ มากขึ้นเรื่อยๆ จากที่ได้เห็นในหลากหลายกรณีที่เกิดขึ้นกับบริษัทเทคโนโลยีของจีนเอง หรือ สงครามการค้าที่เกิดขึ้นกับโลกตะวันตกที่กำลังทวีความรุนแรง

แนวโน้มเหล่านี้ช่วยอธิบายได้ว่าทำไมสัดส่วนของจีนในการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศของญี่ปุ่นจึงลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2012

จำนวนบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านการผลิตที่บริษัทญี่ปุ่นมีอยู่ในประเทศจีนหยุดเติบโตเมื่อเกือบทศวรรษที่แล้ว ในขณะที่อื่น ๆ ในเอเชีย โดยเฉพาะอินเดีย อินโดนีเซีย ไทยและเวียดนาม ยังคงเติบโตต่อไป

โตชิบาจะชดเชยกำลังการผลิตบางส่วนด้วยการขยายโรงงาน 50 แห่งที่ญี่ปุ่นบ้านเกิดของพวกเขาและเวียดนาม และทำให้พวกเขาได้เข้าโครงการเงินอุดหนุนประจำปีของรัฐบาลญี่ปุ่นเพื่อสนับสนุนการฟื้นฟูและการกระจายห่วงโซ่อุปทาน ที่มีเป้าหมายเพื่อลดการพึ่งพาจีน

บริษัทญี่ปุ่นอื่นๆ อีกหลายแห่งพบว่าตนเองอยู่ในสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกัน ในเดือนนี้ OKI Electric Industry ผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์รายเล็กของญี่ปุ่น ประกาศว่าโรงงานในเซินเจิ้น ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อ 20 ปีที่แล้ว จะหยุดผลิตเครื่องพิมพ์ โดยกำลังการผลิตดังกล่าวจะย้ายไปยังโรงงานที่มีอยู่ในประเทศไทยและญี่ปุ่นแทน 

OKI Electric Industry ที่จะย้ายกำลังการผลิตจากเซินเจิ้นมาที่ไทย (CR:NNA Business News)
OKI Electric Industry ที่จะย้ายกำลังการผลิตจากเซินเจิ้นมาที่ไทย (CR:NNA Business News)

ถึงอย่างไรก็ตาม บริษัทส่วนใหญ่ก็ยังไม่รีบออกจากจีนโดยทันที การสำรวจเมื่อปีที่แล้วสำหรับ Japan External Trade Organisation ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐบาล พบว่า 8% ของบริษัทญี่ปุ่นกล่าวว่าพวกเขากำลังวางแผนที่จะลดกำลังการผลิตในประเทศจีน

บริษัทระดับโลกหลายแห่ง ตั้งแต่ Hasbro (ผู้ผลิตของเล่นชาวอเมริกัน) ไปจนถึง Samsung (บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีของเกาหลีใต้) กำลังดำเนินการในลักษณะเดียวกัน 

มันไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะตัดห่วงโซ่อุปทานในประเทศจีน เพราะเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจเป็นอันดับสองของโลก เป็นรองเพียงแค่อเมริกาเท่านั้น และดูจากเทรนด์ที่เกิดขึ้นมีโอกาสที่จีนจะแซงหน้าอเมริกาในไม่ช้า

แน่นอนว่าสถานการณ์ในตอนนี้บริษัทต่างๆในญี่ปุ่น พบว่าตนเองถูกกดดัน โดยความจำเป็นในการลดต้นทุน โดยเฉพาะสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ที่ดูเหมือนว่าญี่ปุ่นจะโดนโจมตีหนักทั้งสินค้าจากเกาหลีใต้และสินค้าแบรนด์ในประเทศจีนเอง

หลังจากผ่านยุคอนาล็อก ที่ต้องเรียกได้ว่ายุคนั้น บริษัทที่จำหน่ายสินค้าอิเล็กทรอนิกส์จากญี่ปุ่นนั้นเติบโตอย่างบ้าคลั่ง และได้รับความนิยมอย่างสูงทั่วโลก ทำให้เศรษฐกิจของพวกเขาขยายตัวอย่างรวดเร็ว

แต่ดูเหมือนตอนนี้ เมื่อเข้าสู่ยุคดิจิทัลแบบเต็มตัว ญี่ปุ่นดูจะตามหลัง เกาหลีใต้ หรือแม้กระทั่งจีนด้วยซ้ำ ในการสร้างผลิตภัณฑ์ที่สอดรับกับกระแสการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และทำให้ตกอยู่ในภาวะเศรษฐกิจชะงักงันมานานหลายทศวรรษ

และตอนนี้ก็เป็นนโยบายของรัฐบาลญี่ปุ่นเองที่เริ่มสนับสนุนให้แบรนด์ยักษ์ใหญ่ต่าง ๆ ของพวกเขากลับมาตั้งฐานการผลิตในประเทศ เพื่อจ้างงานคนในประเทศ โดยให้เงินอุดหนุนเป็นจำนวนมากแก่บริษัทต่าง ๆเหล่านี้ หากย้ายการลงทุนมาอยู่ที่ประเทศบ้านเกิด

เราก็ต้องมาติดตามกันต่อไปนะครับ ว่าโลกยุคดิจิทัล ที่ดูเหมือนแบรนด์จากญี่ปุ่นจะถูกเมินจากเหล่าลูกค้า ทำให้หลาย ๆ แบรนด์ต้องแทบล้มหายตายจากไป หรือ ถูกขายกิจการออกไป แล้วสุดท้ายการเปลี่ยนนโยบายที่จะลดการพึ่งพาจีน จะทำพวกเขาจะกลับมายืนหยัดในแถวหน้าได้อีกครั้งหรือไม่

References : https://www.economist.com/business/2021/09/18/japanese-companies-try-to-reduce-their-reliance-on-chinese-manufacturing
https://www.ft.com/content/d1e2f806-1958-4cd6-8047-e27901786f26
https://thediplomat.com/2021/08/japans-challenge-in-the-age-of-china-us-rivalry/


 


ติดตามสาระดี ๆ อัพเดททุกวันผ่าน Line OA



Geek Forever Club พื้นที่ของการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ



Geek Forever’s Podcast


“Open Your World With Technology


AI , Blockchain และเทคโนโลยีใหม่ ๆ กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในหลายธุรกิจ ทั้ง แวดวงการเงิน สุขภาพ หรือ งานด้านบริการต่าง ๆ ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจเกี่ยวกับ AI หรือ Machine Learning

Podcast ของผมจะเล่าเรื่องราวต่าง รวมถึงเรื่องที่ผมสนใจอื่น ๆ เช่น startup หนังสือ หนัง หรือ กีฬาฟุตบอล อยากชวนคนที่สนใจให้ลองมาติดตาม podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Youtube
ฟังผ่าน Youtube