Trade War ค่าแรงและรัฐจีน เมื่อบริษัทยักษ์ใหญ่ญี่ปุ่นเริ่มมีความพยายามลดการพึ่งพาการผลิตจากจีน

ในช่วงสิ้นเดือนกันยายนที่กำลังจะมาถึง สายการผลิตของโรงงานโตชิบาในต้าเหลียนจะหยุดทำการ มันเป็นเวลา 30 ปี หลังจากที่ยักษ์ใหญ่ด้านอิเล็กทรอนิกส์ของญี่ปุ่นเปิดโรงงานในเมืองทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ซึ่งเป็นการดำเนินการตามห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกที่ขยายไปสู่ประเทศจีน

โรงงานของโตชิบาในต้าเหลียนได้ขยายการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบธุรกิจในเอเชียของบรษัท ซึ่งเมื่อครั้งที่พวกเขาเริ่มเปิดทำการ มันก็ได้กลายเป็นหัวใจสำคัญของเครือข่ายการค้าและการผลิตของภูมิภาค 

แต่ตอนนี้ด้วยสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เปลี่ยนไป ค่าจ้างรายชั่วโมงโดยคนงานชาวจีนได้เพิ่มขึ้นสิบเท่าในรอบศตวรรษที่ผ่านมา เป็น 6.20 ดอลลาร์ แต่นั่นยังคงเป็นอัตราหนึ่งในสี่ของอัตราค่าแรงของคนญี่ปุ่น และเป็นสองเท่าของค่าจ้างแรงงานไทย

และแน่นอนว่าความตึงเครียดทางการเมืองกำลังทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์จีนกับกลุ่มธุรกิจ ที่เริ่มถูกรัฐเข้ามาควบคุมอำนาจต่าง ๆ มากขึ้นเรื่อยๆ จากที่ได้เห็นในหลากหลายกรณีที่เกิดขึ้นกับบริษัทเทคโนโลยีของจีนเอง หรือ สงครามการค้าที่เกิดขึ้นกับโลกตะวันตกที่กำลังทวีความรุนแรง

แนวโน้มเหล่านี้ช่วยอธิบายได้ว่าทำไมสัดส่วนของจีนในการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศของญี่ปุ่นจึงลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2012

จำนวนบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านการผลิตที่บริษัทญี่ปุ่นมีอยู่ในประเทศจีนหยุดเติบโตเมื่อเกือบทศวรรษที่แล้ว ในขณะที่อื่น ๆ ในเอเชีย โดยเฉพาะอินเดีย อินโดนีเซีย ไทยและเวียดนาม ยังคงเติบโตต่อไป

โตชิบาจะชดเชยกำลังการผลิตบางส่วนด้วยการขยายโรงงาน 50 แห่งที่ญี่ปุ่นบ้านเกิดของพวกเขาและเวียดนาม และทำให้พวกเขาได้เข้าโครงการเงินอุดหนุนประจำปีของรัฐบาลญี่ปุ่นเพื่อสนับสนุนการฟื้นฟูและการกระจายห่วงโซ่อุปทาน ที่มีเป้าหมายเพื่อลดการพึ่งพาจีน

บริษัทญี่ปุ่นอื่นๆ อีกหลายแห่งพบว่าตนเองอยู่ในสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกัน ในเดือนนี้ OKI Electric Industry ผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์รายเล็กของญี่ปุ่น ประกาศว่าโรงงานในเซินเจิ้น ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อ 20 ปีที่แล้ว จะหยุดผลิตเครื่องพิมพ์ โดยกำลังการผลิตดังกล่าวจะย้ายไปยังโรงงานที่มีอยู่ในประเทศไทยและญี่ปุ่นแทน 

OKI Electric Industry ที่จะย้ายกำลังการผลิตจากเซินเจิ้นมาที่ไทย (CR:NNA Business News)
OKI Electric Industry ที่จะย้ายกำลังการผลิตจากเซินเจิ้นมาที่ไทย (CR:NNA Business News)

ถึงอย่างไรก็ตาม บริษัทส่วนใหญ่ก็ยังไม่รีบออกจากจีนโดยทันที การสำรวจเมื่อปีที่แล้วสำหรับ Japan External Trade Organisation ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐบาล พบว่า 8% ของบริษัทญี่ปุ่นกล่าวว่าพวกเขากำลังวางแผนที่จะลดกำลังการผลิตในประเทศจีน

บริษัทระดับโลกหลายแห่ง ตั้งแต่ Hasbro (ผู้ผลิตของเล่นชาวอเมริกัน) ไปจนถึง Samsung (บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีของเกาหลีใต้) กำลังดำเนินการในลักษณะเดียวกัน 

มันไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะตัดห่วงโซ่อุปทานในประเทศจีน เพราะเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจเป็นอันดับสองของโลก เป็นรองเพียงแค่อเมริกาเท่านั้น และดูจากเทรนด์ที่เกิดขึ้นมีโอกาสที่จีนจะแซงหน้าอเมริกาในไม่ช้า

แน่นอนว่าสถานการณ์ในตอนนี้บริษัทต่างๆในญี่ปุ่น พบว่าตนเองถูกกดดัน โดยความจำเป็นในการลดต้นทุน โดยเฉพาะสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ที่ดูเหมือนว่าญี่ปุ่นจะโดนโจมตีหนักทั้งสินค้าจากเกาหลีใต้และสินค้าแบรนด์ในประเทศจีนเอง

หลังจากผ่านยุคอนาล็อก ที่ต้องเรียกได้ว่ายุคนั้น บริษัทที่จำหน่ายสินค้าอิเล็กทรอนิกส์จากญี่ปุ่นนั้นเติบโตอย่างบ้าคลั่ง และได้รับความนิยมอย่างสูงทั่วโลก ทำให้เศรษฐกิจของพวกเขาขยายตัวอย่างรวดเร็ว

แต่ดูเหมือนตอนนี้ เมื่อเข้าสู่ยุคดิจิทัลแบบเต็มตัว ญี่ปุ่นดูจะตามหลัง เกาหลีใต้ หรือแม้กระทั่งจีนด้วยซ้ำ ในการสร้างผลิตภัณฑ์ที่สอดรับกับกระแสการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และทำให้ตกอยู่ในภาวะเศรษฐกิจชะงักงันมานานหลายทศวรรษ

และตอนนี้ก็เป็นนโยบายของรัฐบาลญี่ปุ่นเองที่เริ่มสนับสนุนให้แบรนด์ยักษ์ใหญ่ต่าง ๆ ของพวกเขากลับมาตั้งฐานการผลิตในประเทศ เพื่อจ้างงานคนในประเทศ โดยให้เงินอุดหนุนเป็นจำนวนมากแก่บริษัทต่าง ๆเหล่านี้ หากย้ายการลงทุนมาอยู่ที่ประเทศบ้านเกิด

เราก็ต้องมาติดตามกันต่อไปนะครับ ว่าโลกยุคดิจิทัล ที่ดูเหมือนแบรนด์จากญี่ปุ่นจะถูกเมินจากเหล่าลูกค้า ทำให้หลาย ๆ แบรนด์ต้องแทบล้มหายตายจากไป หรือ ถูกขายกิจการออกไป แล้วสุดท้ายการเปลี่ยนนโยบายที่จะลดการพึ่งพาจีน จะทำพวกเขาจะกลับมายืนหยัดในแถวหน้าได้อีกครั้งหรือไม่

References : https://www.economist.com/business/2021/09/18/japanese-companies-try-to-reduce-their-reliance-on-chinese-manufacturing
https://www.ft.com/content/d1e2f806-1958-4cd6-8047-e27901786f26
https://thediplomat.com/2021/08/japans-challenge-in-the-age-of-china-us-rivalry/