เมื่อ LinkedIn มีความลำเอียง กับระบบ AI หาตำแหน่งงานที่ไม่แฟร์ อย่างที่คุณคาดคิด

ต้องบอกว่าเป็นอีกหนึ่งปัญหาใหญ่ที่เกิดขึ้นกับแทบจะทุก ๆ แพล็ตฟอร์มยักษ์ใหญ่เลยทีเดียวนะครับสำหรับปัญหาในเรื่องความ Bias หรือลำเอียงที่เกิดขึ้น ซึ่งตอนนี้มันได้กลายเป็นปัญหาแม้กระทั่งในเรื่องการหางานของคุณ

ผมก็เป็นคนเชื่อเรื่องนี้เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ที่ แพล็ตฟอร์มยักษ์ใหญ่ที่ตอนนี้แทบจะไม่ได้ถูกควบคุมโดยมนุษย์อีกต่อไป ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนแล้วแต่ถูกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยี AI และข้อมูลมหาศาลจาก Big Data

AI ได้ก่อกำเนิดขึ้นครั้งแรกจากการประชุมที่คณะคณิตศาสตร์ในมหาวิทยาลัยดาร์ตมัธ ในปี 1956 ซึ่งต้องบอกว่า กลุ่มคนในรุ่นนั้น มีเพียงแค่ 100 คนจากประชากรทั้งโลกที่เข้าไปมีบทบาทกับ AI ในยุคเริ่มต้น

ซึ่งคนกลุ่มหนึ่งในยุคนั้น ได้ตัดสินใจว่า เทคโนโลยีใหม่อย่าง AI จะมีการโชว์ให้โลกเห็นผ่านทางทักษะการเล่นเกม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเกมหมากรุก

นั่นเองได้เป็นที่มาให้เกิดการประชันหน้าครั้งแรกระหว่าง AI กับมนุษย์ในเกมหมากรุก ซึ่ง คาสปารอฟ แชมป์หมากรุกโลกชาวรัสเซีย ได้พ่ายแพ้ให้กับ Deep Blue ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ของ IBM

และมันส่งผ่านถึงยุคปัจจุบันโดยตรง กับแนวคิดเกี่ยวกับเทคโนโลยี AI ในปัจจุบันที่เราคิดว่ามันปรกติ แต่ที่จริงแล้ว มันเป็นแนวคิดที่มาจากกลุ่มคนที่เล็กมาก และไม่มีความหลากหลายเอาเสียเลย

ซึ่งแน่นอนว่า กลุ่มคนกลุ่ม ๆ แรกก็เป็นมนุษย์ ซึ่งมีอคติในเรื่องราวต่าง ๆ ในจิตใจเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว และคนเหล่านี้ก็นำมาใส่มันลงไปในเทคโนโลยีอย่าง AI

ซึ่งนั่นเองมันได้นำไปสู่การพัฒนาเทคโนโลยีอย่าง Machine Learning ที่มีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายในทุก ๆ อุตสาหกรรมในปัจจุบัน

เมื่อการหางานถูกบดบังโดยอคติจาก AI

เมื่อหลายปีก่อน LinkedIn ค้นพบว่าอัลกอริธึมการแนะนำในการจับคู่ผู้สมัครงานมีโอกาสสร้างผลลัพธ์ที่ลำเอียง

อัลกอริธึมได้จัดอันดับผู้สมัครบางส่วนโดยพิจารณาจากแนวโน้มที่จะสมัครตำแหน่งหรือตอบสนองต่อนายหน้ามากกว่า ซึ่งสุดท้ายระบบลงเอยด้วยการอ้างถึงผู้ชายมากกว่าผู้หญิงสำหรับบทบาทที่เปิดกว้าง เพียงเพราะผู้ชายมักมีความทะเยอทะยานมากกว่าในการหาโอกาสใหม่ ๆ ในการทำงาน

แน่นอนว่าหากคุณเริ่มหางานใหม่ในวันนี้ ปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI อาจะมีอิทธิพลต่อการหางานของคุณ

AI สามารถกำหนดสิ่งที่คุณเห็นในแพล็ตฟอร์ม และตัดสินใจว่าจะส่งเรซูเม่ของคุณไปยังนายหน้าของบริษัทหรือไม่ หรือบางครั้ง ก็อาจจะให้คุณเล่นเกม ที่ขับเคลื่อนด้วย AI ที่จะวัดลักษณะบุคลิกภาพของคุณ และวัดว่าคุณเหมาะสมกับตำแหน่งงานต่าง ๆ หรือไม่

การหางานส่วนใหญ่ในปัจจุบันเริ่มต้นด้วยการค้นหาง่าย ๆ ผู้หางานหันไปใช้แพล็ตฟอร์มต่างๆ เช่น LinkedIn , Monster หรือ ZipRecruiter ซึ่งสามารถที่จะอัปโหลดประวัติโดยย่อ เรียกดูประกาศรับสมัครงาน และสมัครตำแหน่งงานที่ว่างได้

เป้าหมายของแพล็ตฟอร์มยักษ์ใหญ่เหล่านี้ คือ การจับคู่ผู้ที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับตำแหน่งที่มีอยู่ เพื่อจัดระเบียบตำแหน่งงาน และ ผู้สมัคร

แน่นอนว่าตอนนี้มันแทบจะไม่ได้ขับเคลื่อนโดยมนุษย์อีกต่อไป ทุกสิ่งทุกอย่างขับเคลื่อนโดยพลังของ AI ที่จะประมวลผลข้อมูลทั้งผู้หางานและนายจ้าง เพื่อรวบรวมรายการคำแนะนำสำหรับแต่ละรายการ

ซึ่งเครื่องมือในการจับคู่ส่วนใหญ่ได้รับการปรับแต่งให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคล

John Jersin อดีตรองประธานฝ่ายการจัดการผลิตภัณฑ์ที่ LinkedIn กล่าวว่า ระบบเหล่านี้อ้างอิงจากข้อมูลมูลสามประเภท : ข้อมูลที่ผู้ใช้ให้กับแพล็ตฟอร์มโดยตรง ข้อมูลโดยอ้างอิงจากผู้อื่นที่มีทักษะ ประสบการณ์และความสนใจที่คล้ายคลึงกัน และข้อมูลด้านพฤติกรรม เช่น ความถี่ที่ผู้ใช้ตอบกลับข้อความหรือโต้ตอบกับประกาศรับสมัครงาน

John Jersin อดีตรองประธานฝ่ายการจัดการผลิตภัณฑ์ที่ LinkedIn  ที่ออกมาให้ข้อมูลเรื่องดังกล่าว (CR:SHRM)
John Jersin อดีตรองประธานฝ่ายการจัดการผลิตภัณฑ์ที่ LinkedIn ที่ออกมาให้ข้อมูลเรื่องดังกล่าว (CR:SHRM)

ซึ่งอัลกอริธึมเหล่านี้ จะไม่รวมเอาชื่อ อายุ เพศ และเชื้อชาติ เนื่องจากการรวมเอาลักษณะเหล่านี้สามารถนำไปสู่อคติในระบบอัตโนมัติที่ถูกตัดสินใจจาก AI ได้

แต่มีข้อมูลที่น่าสนใจเมื่อทีมของ Jersin พบว่า อัลกอริธึมมีการตรวจจับพฤติกรรมที่แสดงโดยกลุ่มที่มีอัตลักษณ์ทางเพศเฉพาะ

ตัวอย่างเช่น ในขณะที่ผู้ชายมักจะสมัครงานที่ต้องใช้ประสบการณ์การทำงานที่มากกว่าคุณสมบัติของพวกเขา แต่ผู้หญิงมักจะไปสมัครงานที่มีคุณสมบัติที่ตรงตามข้อกำหนดของตำแหน่งนั้น ๆ

ซึ่งท้ายที่สุด อัลกอริธึม จะตีความรูปแบบพฤติกรรมเหล่านี้ และปรับคำแนะนำในลักษณะที่ทำให้ผู้หญิงเสียเปรียบโดยไม่ตั้งใจ

การหางานกำลังถูกขับเคลื่อนโดย AI มากกว่าทักษะงานจริง ๆ หรือไม่?

ก็ต้องบอกว่าเป็นคำถามที่น่าสนใจเช่นเดียวกัน ว่าตอนนี้ แพล็ตฟอร์มต่าง ๆ ที่ถูกขับเคลื่อนด้วยพลังของ AI และ Big Data นั้น ทำสิ่งต่าง ๆ ในการจับคู่คนหางานกับตำแหน่งงานได้ถูกต้อง 100% หรือไม่

จากที่กล่าวไปข้างต้น หากผู้หางานเรียนรู้อัลกอริธึม และ เข้าใจเทคนิคการทำงานของมันจริง ๆ ย่อมทำให้มีความได้เปรียบมากกว่าคนที่ไม่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องแพล็ตฟอร์มเหล่านี้

ลองยกตัวอย่างง่าย ๆ ในเรื่องความถี่ที่ผู้ใช้ตอบกลับข้อความหรือโต้ตอบกับประกาศรับสมัครงาน จุดนี้ มันแทบจะไม่เกี่ยวข้องกับทักษะงานใด ๆ เลย แต่อยู่ที่ความขยันในการเข้ามาปฏิสัมพันธ์กับระบบเสียมากกว่า ซึ่งมันเป็นส่วนสำคัญเสียด้วยในแพล็ตฟอร์มออนไลน์ต่าง ๆ ที่ต้องการปฏิสัมพันธ์จากผู้ใช้ให้มากที่สุด

คุณเคยสงสัยหรือไม่ ทำไมเพื่อนคุณบางคนที่คุณอาจจะคิดว่า ความสามารถก็ไม่เท่าไหร่นี่หว่า แต่ทำไมได้แต่งานดี ๆ ก็ต้องบอกว่าการทำความเข้าใจกับอัลกอริธึมเบื้องหลังของแพล็ตฟอร์มเหล่านี้ ก็อาจทำให้คุณเป็นต่อได้ แม้คุณจะไม่ได้เป็นคนที่เก่งที่สุดในตำแหน่งงานนั้น ๆ ก็ตามที แต่คุณก็มีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในการหางานที่ดี ๆ ได้นั่นเองครับผม

References : https://www.xanjero.com/news/linkedin-search-engine-results-suggest-gender-bias/
https://www.johnjersin.com/
https://www.technologyreview.com/2021/06/23/1026825/linkedin-ai-bias-ziprecruiter-monster-artificial-intelligence
https://www.technologyreview.com/2021/02/11/1017955/auditors-testing-ai-hiring-algorithms-bias-big-questions-remain/


 


ติดตามสาระดี ๆ อัพเดททุกวันผ่าน Line OA



Geek Forever Club พื้นที่ของการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ



Geek Forever’s Podcast


“Open Your World With Technology


AI , Blockchain และเทคโนโลยีใหม่ ๆ กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในหลายธุรกิจ ทั้ง แวดวงการเงิน สุขภาพ หรือ งานด้านบริการต่าง ๆ ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจเกี่ยวกับ AI หรือ Machine Learning

Podcast ของผมจะเล่าเรื่องราวต่าง รวมถึงเรื่องที่ผมสนใจอื่น ๆ เช่น startup หนังสือ หนัง หรือ กีฬาฟุตบอล อยากชวนคนที่สนใจให้ลองมาติดตาม podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Youtube
ฟังผ่าน Youtube