Trade War ค่าแรงและรัฐจีน เมื่อบริษัทยักษ์ใหญ่ญี่ปุ่นเริ่มมีความพยายามลดการพึ่งพาการผลิตจากจีน

ในช่วงสิ้นเดือนกันยายนที่กำลังจะมาถึง สายการผลิตของโรงงานโตชิบาในต้าเหลียนจะหยุดทำการ มันเป็นเวลา 30 ปี หลังจากที่ยักษ์ใหญ่ด้านอิเล็กทรอนิกส์ของญี่ปุ่นเปิดโรงงานในเมืองทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ซึ่งเป็นการดำเนินการตามห่วงโซ่อุปทานทั่วโลกที่ขยายไปสู่ประเทศจีน

โรงงานของโตชิบาในต้าเหลียนได้ขยายการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบธุรกิจในเอเชียของบรษัท ซึ่งเมื่อครั้งที่พวกเขาเริ่มเปิดทำการ มันก็ได้กลายเป็นหัวใจสำคัญของเครือข่ายการค้าและการผลิตของภูมิภาค 

แต่ตอนนี้ด้วยสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เปลี่ยนไป ค่าจ้างรายชั่วโมงโดยคนงานชาวจีนได้เพิ่มขึ้นสิบเท่าในรอบศตวรรษที่ผ่านมา เป็น 6.20 ดอลลาร์ แต่นั่นยังคงเป็นอัตราหนึ่งในสี่ของอัตราค่าแรงของคนญี่ปุ่น และเป็นสองเท่าของค่าจ้างแรงงานไทย

และแน่นอนว่าความตึงเครียดทางการเมืองกำลังทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์จีนกับกลุ่มธุรกิจ ที่เริ่มถูกรัฐเข้ามาควบคุมอำนาจต่าง ๆ มากขึ้นเรื่อยๆ จากที่ได้เห็นในหลากหลายกรณีที่เกิดขึ้นกับบริษัทเทคโนโลยีของจีนเอง หรือ สงครามการค้าที่เกิดขึ้นกับโลกตะวันตกที่กำลังทวีความรุนแรง

แนวโน้มเหล่านี้ช่วยอธิบายได้ว่าทำไมสัดส่วนของจีนในการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศของญี่ปุ่นจึงลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2012

จำนวนบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านการผลิตที่บริษัทญี่ปุ่นมีอยู่ในประเทศจีนหยุดเติบโตเมื่อเกือบทศวรรษที่แล้ว ในขณะที่อื่น ๆ ในเอเชีย โดยเฉพาะอินเดีย อินโดนีเซีย ไทยและเวียดนาม ยังคงเติบโตต่อไป

โตชิบาจะชดเชยกำลังการผลิตบางส่วนด้วยการขยายโรงงาน 50 แห่งที่ญี่ปุ่นบ้านเกิดของพวกเขาและเวียดนาม และทำให้พวกเขาได้เข้าโครงการเงินอุดหนุนประจำปีของรัฐบาลญี่ปุ่นเพื่อสนับสนุนการฟื้นฟูและการกระจายห่วงโซ่อุปทาน ที่มีเป้าหมายเพื่อลดการพึ่งพาจีน

บริษัทญี่ปุ่นอื่นๆ อีกหลายแห่งพบว่าตนเองอยู่ในสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกัน ในเดือนนี้ OKI Electric Industry ผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์รายเล็กของญี่ปุ่น ประกาศว่าโรงงานในเซินเจิ้น ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อ 20 ปีที่แล้ว จะหยุดผลิตเครื่องพิมพ์ โดยกำลังการผลิตดังกล่าวจะย้ายไปยังโรงงานที่มีอยู่ในประเทศไทยและญี่ปุ่นแทน 

OKI Electric Industry ที่จะย้ายกำลังการผลิตจากเซินเจิ้นมาที่ไทย (CR:NNA Business News)
OKI Electric Industry ที่จะย้ายกำลังการผลิตจากเซินเจิ้นมาที่ไทย (CR:NNA Business News)

ถึงอย่างไรก็ตาม บริษัทส่วนใหญ่ก็ยังไม่รีบออกจากจีนโดยทันที การสำรวจเมื่อปีที่แล้วสำหรับ Japan External Trade Organisation ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐบาล พบว่า 8% ของบริษัทญี่ปุ่นกล่าวว่าพวกเขากำลังวางแผนที่จะลดกำลังการผลิตในประเทศจีน

บริษัทระดับโลกหลายแห่ง ตั้งแต่ Hasbro (ผู้ผลิตของเล่นชาวอเมริกัน) ไปจนถึง Samsung (บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีของเกาหลีใต้) กำลังดำเนินการในลักษณะเดียวกัน 

มันไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะตัดห่วงโซ่อุปทานในประเทศจีน เพราะเป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจเป็นอันดับสองของโลก เป็นรองเพียงแค่อเมริกาเท่านั้น และดูจากเทรนด์ที่เกิดขึ้นมีโอกาสที่จีนจะแซงหน้าอเมริกาในไม่ช้า

แน่นอนว่าสถานการณ์ในตอนนี้บริษัทต่างๆในญี่ปุ่น พบว่าตนเองถูกกดดัน โดยความจำเป็นในการลดต้นทุน โดยเฉพาะสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ ที่ดูเหมือนว่าญี่ปุ่นจะโดนโจมตีหนักทั้งสินค้าจากเกาหลีใต้และสินค้าแบรนด์ในประเทศจีนเอง

หลังจากผ่านยุคอนาล็อก ที่ต้องเรียกได้ว่ายุคนั้น บริษัทที่จำหน่ายสินค้าอิเล็กทรอนิกส์จากญี่ปุ่นนั้นเติบโตอย่างบ้าคลั่ง และได้รับความนิยมอย่างสูงทั่วโลก ทำให้เศรษฐกิจของพวกเขาขยายตัวอย่างรวดเร็ว

แต่ดูเหมือนตอนนี้ เมื่อเข้าสู่ยุคดิจิทัลแบบเต็มตัว ญี่ปุ่นดูจะตามหลัง เกาหลีใต้ หรือแม้กระทั่งจีนด้วยซ้ำ ในการสร้างผลิตภัณฑ์ที่สอดรับกับกระแสการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และทำให้ตกอยู่ในภาวะเศรษฐกิจชะงักงันมานานหลายทศวรรษ

และตอนนี้ก็เป็นนโยบายของรัฐบาลญี่ปุ่นเองที่เริ่มสนับสนุนให้แบรนด์ยักษ์ใหญ่ต่าง ๆ ของพวกเขากลับมาตั้งฐานการผลิตในประเทศ เพื่อจ้างงานคนในประเทศ โดยให้เงินอุดหนุนเป็นจำนวนมากแก่บริษัทต่าง ๆเหล่านี้ หากย้ายการลงทุนมาอยู่ที่ประเทศบ้านเกิด

เราก็ต้องมาติดตามกันต่อไปนะครับ ว่าโลกยุคดิจิทัล ที่ดูเหมือนแบรนด์จากญี่ปุ่นจะถูกเมินจากเหล่าลูกค้า ทำให้หลาย ๆ แบรนด์ต้องแทบล้มหายตายจากไป หรือ ถูกขายกิจการออกไป แล้วสุดท้ายการเปลี่ยนนโยบายที่จะลดการพึ่งพาจีน จะทำพวกเขาจะกลับมายืนหยัดในแถวหน้าได้อีกครั้งหรือไม่

References : https://www.economist.com/business/2021/09/18/japanese-companies-try-to-reduce-their-reliance-on-chinese-manufacturing
https://www.ft.com/content/d1e2f806-1958-4cd6-8047-e27901786f26
https://thediplomat.com/2021/08/japans-challenge-in-the-age-of-china-us-rivalry/

ไม่ใช่แค่ Apple! เมื่อเหล่ายักษ์ใหญ่ทางด้านเทคโนโลยีเตรียมย้ายฐานผลิตจากจีน

Apple ไม่ได้เป็นยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีเพียงรายเดียวที่ต้องการย้ายการผลิตออกไปจากประเทศจีน ตามรายงานใหม่วันนี้ HP, Dell, Microsoft, Google, Amazon, Sony, Lenovo, Acer, Asus และ Nintendo เป็นหนึ่งใน บริษัท ที่กำลังพิจารณาแผนการที่คล้ายๆ กัน

ผู้ผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภคระดับโลก HP, Dell, Microsoft และ Amazon ต่างก็กำลังมองหาวิธีที่จะเปลี่ยนกำลังการผลิตจำนวนมากจากประเทศจีน ไปยังประเทศอื่น ซึ่งจะทำลายสถานะของประเทศจีนในฐานะผู้ผลิตอุปกรณ์เทคโนโลยีระดับโลก

HP และ Dell ผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลอันดับ 1 และอันดับ 3 ของโลกที่ครองส่วนแบ่งการตลาดรวมกันประมาณ 40% ของตลาดโลก กำลังวางแผนที่จะย้ายฐานการผลิตโน้ตบุ๊กใหม่ ซึ่งตอนนี้กว่า 30% ของกำลังการผลิต นั้นมาจากแหล่งการผลิตในประเทศจีน .

Microsoft, Google, Amazon, Sony และ Nintendo ก็กำลังมองหาการเคลื่อนย้ายการผลิตเกมคอนโซลบางส่วน และการผลิตลำโพงอัจฉริยะออกไปนอกประเทศเช่นกัน รวมถึง ผู้ผลิตพีซีชั้นนำอื่น ๆ เช่นกลุ่ม Lenovo, Acer และ Asustek Computer กำลังประเมินแผนการที่จะเปลี่ยนตามกระแสข่าวที่ออกมาเช่นเดียวกัน

ซึ่งการเคลื่อนไหวดังกล่าวได้รับแรงกระตุ้นจากความไม่แน่นอนเกี่ยวกับสงครามการค้าที่เริ่มต้นโดยทรัมป์กับจีนโดยที่มีการเพิ่มการเก็บภาษี 25% สำหรับสินค้าทั้งหมดที่นำเข้ามาในสหรัฐฯจากจีน

Foxconn ยืนยันเมื่อต้นปีนี้ว่ากำลังจะเริ่มการผลิตไอโฟนในอินเดียในปลายปีนี้และกล่าวว่าว่าไอโฟนทั้งหมดที่สร้างขึ้นเพื่อขายในสหรัฐอเมริกาสามารถผลิตนอกประเทศจีนได้ รายงานล่าสุดชี้ให้เห็นว่าเป้าหมายของ Apple อาจจะย้ายฐานการผลิตประมาณ 15-30% ของการผลิตทั้งหมดออกนอกประเทศจีนภายในสามปีนี้

ยักษ์ใหญ่ทางด้านเทคโนโลยีรายอื่น ๆ ก็เตรียมย้ายฐานการผลิตเช่นเดียวกัน
ยักษ์ใหญ่ทางด้านเทคโนโลยีรายอื่น ๆ ก็เตรียมย้ายฐานการผลิตเช่นเดียวกัน

สำนักข่าว Nikkei รายงาน ว่านี่คือการสำรวจแนวคิดใหม่นี้โดยแอปเปิ้ล ซึ่งทีมงานทั้งหมดประกอบด้วยคนเพียงไม่กี่คนที่จะตัดสินใจย้ายฐานการผลิต และสิ่งที่พวกเขากำลังทำคือการหารือกับซัพพลายเออร์เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นและรัฐบาลต่าง ๆ ในประเทศปลายทางใหม่เกี่ยวกับแรงจูงใจที่อาจเกิดขึ้น 

ในระยะยาวนั้นแอปเปิ้ลมีความคิดที่จะมีการย้ายฐานการผลิตมากขึ้นเพื่อออกจากประเทศจีนโดย Apple มีจุดประสงค์ในการกระจายความเสี่ยงของ Supply Chain มาอย่างยาวนานโดยเลือกที่จะมีซัพพลายเออร์หลายรายเพื่อให้ได้ส่วนประกอบมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้และการกระจายความเสี่ยงทางด้านสถานที่ผลิตก็มีความสมเหตุสมผลเช่นกัน การพึ่งพาประเทศจีนเป็นความเสี่ยงและเป็นสิ่งหนึ่งที่ Apple ต้องการที่จะลดระดับความสำคัญลงเรื่อย ๆ นับจากนี้

Nikkei กล่าวต่อไปว่าต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นในประเทศจีนเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้การผลิตบางส่วนนั้นต้องมีการย้ายออกไปจากจีน

“ ต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้นของจีนได้นำไปสู่การลดลงของคำสั่งซื้อจากทั่วโลก ตอนนี้ความไม่แน่นอนที่เกี่ยวข้องกับสงครามการค้ากำลังเพิ่มขึ้น” เจ้าหน้าที่ของรัฐกล่าว

แม้ว่าวอชิงตันและปักกิ่งจะแก้ปัญหาข้อพิพาทในระยะยาวได้ แต่การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้ก็หมายความว่าจีนจะเผชิญกับการแข่งขันที่เพิ่มสูงขึ้นในฐานะฐานการผลิตด้านอิเล็กทรอนิกส์ “ ไม่เพียงเกี่ยวกับเรื่องภาษีศุลกากรเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวกับการลดความเสี่ยงในระยะยาว [เช่นต้นทุนแรงงานที่เพิ่มขึ้น]”  “ ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอินเดียจะรวมตัวกันเป็นศูนย์กลางการแข่งขันใหม่ในไม่กี่ปีข้างหน้าสำหรับการผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์” TIER’s Chiu นักเศรษฐศาสตร์กล่าวให้สัมภาษณ์กับ Nikkei

References : 
https://9to5mac.com/2019/07/03/production-out-of-china/