ประวัติ Jack Ma แห่ง Alibaba ตอนที่ 11 : Good Boss , Bad Boss

ปัญหาใหญ่ของการขยายตัวอย่างรวดเร็วของอาลีบาบาในปี 2000 ก็คือ ปัญหาเรื่องรายจ่ายในต่างปรเทศที่สูงลิบลิ่ว ค่าใช้จ่ายแต่ละเดือน ใน ฮ่องกง อเมริกา ยุโรป เกาหลีนั้นมีมากมายมหาศาล และส่วนใหญ่หน่วยงานที่อยู่ตามต่างประเทศเหล่านี้นั้น มีแต่รายจ่าย แทบจะไม่มีรายได้เข้าเลย

ปลายปี 2000 ที่ฟองสบู่ internet แตกนั้น อาลีบาบามีเงินสดในบัญชีเพียงแค่ 7 ล้านเหรียญ ซึ่งหากยังเดินหน้าขยายกิจการต่อเนื่องในระดับความเร็วเท่าเดิม เงินทุนก้อนนี้จะเหลืออยู่ให้ใช้ได้เพียงครึ่งปีเท่านั้น

ซึ่งการขยายตลาดต่างประเทศของอาลีบาบานั้นเริ่มขึ้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2000 และได้หยุดลงเมื่อเดือนมกราคมปี 2001 ในช่วงนั้นแต่ละเดือนอาลีบาบาผลาญเงินไปกว่าล้านเหรียญ ในเวลานั้นแจ๊คเริ่มสังเกตเห็นภัยที่กำลังจะมาเยือน 

แจ๊คเริ่มรู้ตัวเองว่าตัดสินใจผิดพลาดในหลาย ๆ อย่าง เรื่องศูนย์ R&D ที่ซิลิกอน วัลเลย์ ก็เป็นอย่างหนึ่ง มันไม่ใช่เรื่องของการหาคนด้านเทคโนโลยี ที่มีอยู่เกลื่อนกลาดเต็มซิลิกอน วัลเลย์ แต่คนที่มีความรู้ความสามารถทางด้านการค้าที่ธุรกิจอีคอมเมิร์ซต้องการนั้นหาได้ยากมาก ต้องไปตามหาตัวจากเมืองอื่น ๆ เช่น นิวยอร์ก ที่มีคนพวกนี้ที่แจ๊คต้องการมากกว่า ทำให้สูญเสียทั้งเวลา และเงินทุนไปเป็นจำนวนมากในการขยายไปยังอเมริกา กว่าจะคิดได้ก็เกือบสายไปเสียแล้ว

อาลีบาบาใช้เงินเยอะมากกับศูนย์ R&D ที่ซิลิกอน วัลเลย์
อาลีบาบาใช้เงินเยอะมากกับศูนย์ R&D ที่ซิลิกอน วัลเลย์

ปัญหาใหญ่ที่ตามมาอีกอย่างคือ การที่มีคนจากหลายเชื้อชาติเข้ามาทำงานซึ่งไม่เหมือนตอนแรก ๆ ที่เหล่า 18 อรหันต์ของแจ๊ค เป็นผู้ที่แจ๊คไว้ใจ และพร้อมที่จะลุยกับแจ๊คเสมอ แต่เหล่าพนักงานต่างชาติ มักถูกชักจูงมาด้วยเรื่องเงินเป็นหลัก  ความแตกต่างทางวัฒนธรรม นั้น ทำให้เวลามีการประชุมที่ต้องตัดสินใจเรื่องสำคัญ ๆ มักจะเห็นพ้องต้องกันเป็นทิศทางเดียวได้ยากนัก ต่างจากช่วงแรก ๆ ของการก่อตั้งบริษัท

ก่อนที่จะล้มละลายตายจากไปจากธุรกิจ internet อีกรายในยุคฟองสบู่ดอทคอมเยี่ยงนี้ แจ๊ค ต้องตัดสินใจครั้งสำคัญโดยการปรับยุทธศาสตร์หลักลับมาโฟกัสที่ประเทศจีนและลดขนาดองค์กรลง แต่ปัญหาคือ จะปฏิบัติจริงได้อย่างไร

ฟองสบู่ดอทคอมแตกในปี 2000 เป็นที่มีของปัญหาใหญ่
ฟองสบู่ดอทคอมแตกในปี 2000 เป็นที่มีของปัญหาใหญ่

แต่บางทีทุกอย่างอาจะเป็นชะตาฟ้าลิตมาให้แจีค ได้เจอกับ กวานหมิงเซิง ซึ่งเป็นมือดีที่แจ๊คได้มาช่วยในการคลายวิกฤตในขณะนั้น

กวานหมิงเซิง สำเร็จการศึกษาจากคณะวิศวกรรมศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ และจบปริญญาโทคณะวิศวกรรมศาสตร์และวิทยาศาสตร์จาก Loughborough Universityof Technology และ London Business School ทำงานด้านการบริหารธุรกิจระหว่างประเทศอยู่ 25 ปี เริ่มจากที่ GE ของอเมริกา 15 ปีและทำให้แผนกอุปกรณ์การแพทย์ของ GE เติบโตไปจนถึง 70 ล้านเหรียญ จากนั้นจึงได้ดำรงตำแหน่งประธาน บริษัท BTR plc และ Invensys ซึ่งเป็นบริษัทหนึงใน 500 สุดยอดบริษัทของโลก

กวานหมิงเซิงเป็นคนทำงานเฉียบขาด ตัดสินฉับไว เขารับตำแหน่งสำคัญคือ COO (Chief Operating Officer) เขาเป็นคนที่มาช่วยแจ๊คในเรื่องการลดพนักงานลง โดยเฉพาะที่ซิลิกอน วัลเลย์ ที่มีจอห์น วู คุมบังเหียนอยู่

ได้ COO คนใหม่อย่าง กวานหมิงเซิง มาช่วยทำเรื่องยาก ๆ อย่างการ ปลดพนักงานจำนวนมาก
ได้ COO คนใหม่อย่าง กวานหมิงเซิง มาช่วยทำเรื่องยาก ๆ อย่างการ ปลดพนักงานจำนวนมาก

สถานการณ์ในขณะนั้น เหล่าวิศวกรที่ซิลิกอน วัลเลย์ เริ่มรู้ตัวล่วงหน้ากันบ้างแล้ว และได้ทยอยลาออกไปบ้างแล้ว ตอนนั้นเหลือวิศวกรอยู่ 30  คน ซึ่งล้วนแล้วแต่เงินเดือนระดับหกหลักแทบจะทั้งสิ้น ซึ่งเป็นภาระมหาศาลของอาลีบาบาในขณะนั้น

แม้แจ๊ค นั้นอยากให้คงเหลือวิศวกรไว้บ้าง เพื่อให้เหลือไว้สร้างความได้เปรียบทางเทคโนโลยี และเพื่อให้สามารถที่จะแข่งขันกับ microsoft , YAHOO และ ebayได้ แต่กวานหมิงเซิง ประกาศ layoff พนักงานทั้งหมดเพื่อลดภาระรายจ่ายในส่วนนี้ให้หมดไปจากบัญชีของอาลีบาบา ทำให้จอห์น วู ยังรู้สึกอื้ง ตอนนี้ศูนย์ R&D ที่ซิลิกอน วัลเลย์ ถูกยุบอย่างเป็นทางการเรียบร้อยแล้ว

ถัดจากซิลิกอน วัลเลย์ อีกหนึ่งสำนักงานที่มีรายจ่ายสูงมากคือ ฮ่องกง เนื่องจากเป็นเมืองที่มีค่าครองชีพสูง และพนักงานส่วนใหญ่จะเป็นพนักงานหัวกะทิ ที่จบ MBA จากสถาบันที่มีชื่อเสียงแทบจะทั้งสิ้น ทำให้รายจ่ายที่ฮ่องกง ไม่ได้น้อยไปกว่าที่อเมริกาเลย

พนักงานกว่า 30 คนของสำนักงานใหญ่ที่ฮ่องกง ก็ถูก กวาน กับ โจเซฟปลดไปกว่า 20 คน สุดท้ายเหลือไว้เพียงแค่ 7-8 คนเพียงเท่านั้น

สำนักงานที่ฮ่องกงก็เป็นอีกแห่งที่ต้องลดคนไปจำนวนมาก
สำนักงานที่ฮ่องกงก็เป็นอีกแห่งที่ต้องลดคนไปจำนวนมาก

แม้ กวานหมิงเซิง , โจเซฟ ไช่ รวมถึง แจ๊ค นั้นจะสวมบทโหด ปลดพนักงานขนานใหญ่ แม้จะดูเป็นการกระทำที่แข็งกร้าว ที่คนภายนอกเห็น แต่ภายในจิตใจของพวกเขาทั้งสามนั้น เสียใจกับเรื่องเหล่านี้มาก โจเซฟ ถึงกับจิตตก หลังจากภารกิจนี้เสร็จ เขาจึงขอไปพักร้อนที่เซี่ยงไฮ้ตามลำพังเพื่อปรับสภาพจิตใจ

ส่วนแจ๊ค ยิ่งรู้สึกละอายและโทษตัวเอง เขารู้สึกเจ็บปวดรวดร้าวและหดหู่เป็นที่สุด ซึงในช่วงเวลาหัวเลี้ยงหัวต่อของอาลีบาบาเช่นนี้นั้น เขาก็แทบจะไม่มีทางเลือกอื่นใด เขามักคิดเสมอว่าสาเหตุที่ต้องปลดพนักงานขนานใหญ่ เป็นความบกพร่องของการบริหารงานของเขาเองแทบจะทั้งสิ้น 

มันเป็นช่วงเวลาที่ย่ำแย่มาก ๆ ของทั้งแจ๊ค และ อาลีบาบา การปลดพนักงานออกไปเป็นจำนวนมาก เป็นสิ่งที่แจ๊คไม่อยากทำ แต่มันจำเป็นต้องทำ เพราะสถานการณ์ในขณะนั้น ฟองสบู่ ดอทคอม ทำให้บริษัท internet ทั้งหลายทั่วโลก ต่างล้มหายตายจากไปเป็นโดมิโน ทั้งในอเมริการวมถึงจีนเองก็ตาม มันเป็นบาดแผล ที่ลึกลงไปในใจของแจ๊ค ของการตัดสินใจในเรื่องนี้ เพราะสาเหตุส่วนหนึ่งนั้นมาจากเขาเองที่บริหารงานผิดพลาด สถานการณ์ของอาลีบาบาจะเป็นอย่างไรต่อไป หลังเหตุการณ์ฟองสบู่ดอทคอมแตก จะเกิดอะไรขึ้นกับบริษัทแห่งนี้ โปรดติดตามตอนต่อไป

–> อ่านตอนที่ 12 : Business Reforms

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :Internet *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Credit แหล่งข้อมูลบทความ


 


ติดตามสาระดี ๆ อัพเดททุกวันผ่าน Line OA



Geek Forever Club พื้นที่ของการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ



Geek Forever’s Podcast


“Open Your World With Technology


AI , Blockchain และเทคโนโลยีใหม่ ๆ กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในหลายธุรกิจ ทั้ง แวดวงการเงิน สุขภาพ หรือ งานด้านบริการต่าง ๆ ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจเกี่ยวกับ AI หรือ Machine Learning

Podcast ของผมจะเล่าเรื่องราวต่าง รวมถึงเรื่องที่ผมสนใจอื่น ๆ เช่น startup หนังสือ หนัง หรือ กีฬาฟุตบอล อยากชวนคนที่สนใจให้ลองมาติดตาม podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Youtube
ฟังผ่าน Youtube