ประวัติ Jack Ma แห่ง Alibaba ตอนที่ 11 : Good Boss , Bad Boss

ปัญหาใหญ่ของการขยายตัวอย่างรวดเร็วของอาลีบาบาในปี 2000 ก็คือ ปัญหาเรื่องรายจ่ายในต่างปรเทศที่สูงลิบลิ่ว ค่าใช้จ่ายแต่ละเดือน ใน ฮ่องกง อเมริกา ยุโรป เกาหลีนั้นมีมากมายมหาศาล และส่วนใหญ่หน่วยงานที่อยู่ตามต่างประเทศเหล่านี้นั้น มีแต่รายจ่าย แทบจะไม่มีรายได้เข้าเลย

ปลายปี 2000 ที่ฟองสบู่ internet แตกนั้น อาลีบาบามีเงินสดในบัญชีเพียงแค่ 7 ล้านเหรียญ ซึ่งหากยังเดินหน้าขยายกิจการต่อเนื่องในระดับความเร็วเท่าเดิม เงินทุนก้อนนี้จะเหลืออยู่ให้ใช้ได้เพียงครึ่งปีเท่านั้น

ซึ่งการขยายตลาดต่างประเทศของอาลีบาบานั้นเริ่มขึ้นเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2000 และได้หยุดลงเมื่อเดือนมกราคมปี 2001 ในช่วงนั้นแต่ละเดือนอาลีบาบาผลาญเงินไปกว่าล้านเหรียญ ในเวลานั้นแจ๊คเริ่มสังเกตเห็นภัยที่กำลังจะมาเยือน 

แจ๊คเริ่มรู้ตัวเองว่าตัดสินใจผิดพลาดในหลาย ๆ อย่าง เรื่องศูนย์ R&D ที่ซิลิกอน วัลเลย์ ก็เป็นอย่างหนึ่ง มันไม่ใช่เรื่องของการหาคนด้านเทคโนโลยี ที่มีอยู่เกลื่อนกลาดเต็มซิลิกอน วัลเลย์ แต่คนที่มีความรู้ความสามารถทางด้านการค้าที่ธุรกิจอีคอมเมิร์ซต้องการนั้นหาได้ยากมาก ต้องไปตามหาตัวจากเมืองอื่น ๆ เช่น นิวยอร์ก ที่มีคนพวกนี้ที่แจ๊คต้องการมากกว่า ทำให้สูญเสียทั้งเวลา และเงินทุนไปเป็นจำนวนมากในการขยายไปยังอเมริกา กว่าจะคิดได้ก็เกือบสายไปเสียแล้ว

อาลีบาบาใช้เงินเยอะมากกับศูนย์ R&D ที่ซิลิกอน วัลเลย์
อาลีบาบาใช้เงินเยอะมากกับศูนย์ R&D ที่ซิลิกอน วัลเลย์

ปัญหาใหญ่ที่ตามมาอีกอย่างคือ การที่มีคนจากหลายเชื้อชาติเข้ามาทำงานซึ่งไม่เหมือนตอนแรก ๆ ที่เหล่า 18 อรหันต์ของแจ๊ค เป็นผู้ที่แจ๊คไว้ใจ และพร้อมที่จะลุยกับแจ๊คเสมอ แต่เหล่าพนักงานต่างชาติ มักถูกชักจูงมาด้วยเรื่องเงินเป็นหลัก  ความแตกต่างทางวัฒนธรรม นั้น ทำให้เวลามีการประชุมที่ต้องตัดสินใจเรื่องสำคัญ ๆ มักจะเห็นพ้องต้องกันเป็นทิศทางเดียวได้ยากนัก ต่างจากช่วงแรก ๆ ของการก่อตั้งบริษัท

ก่อนที่จะล้มละลายตายจากไปจากธุรกิจ internet อีกรายในยุคฟองสบู่ดอทคอมเยี่ยงนี้ แจ๊ค ต้องตัดสินใจครั้งสำคัญโดยการปรับยุทธศาสตร์หลักลับมาโฟกัสที่ประเทศจีนและลดขนาดองค์กรลง แต่ปัญหาคือ จะปฏิบัติจริงได้อย่างไร

ฟองสบู่ดอทคอมแตกในปี 2000 เป็นที่มีของปัญหาใหญ่
ฟองสบู่ดอทคอมแตกในปี 2000 เป็นที่มีของปัญหาใหญ่

แต่บางทีทุกอย่างอาจะเป็นชะตาฟ้าลิตมาให้แจีค ได้เจอกับ กวานหมิงเซิง ซึ่งเป็นมือดีที่แจ๊คได้มาช่วยในการคลายวิกฤตในขณะนั้น

กวานหมิงเซิง สำเร็จการศึกษาจากคณะวิศวกรรมศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแคมบริดจ์ และจบปริญญาโทคณะวิศวกรรมศาสตร์และวิทยาศาสตร์จาก Loughborough Universityof Technology และ London Business School ทำงานด้านการบริหารธุรกิจระหว่างประเทศอยู่ 25 ปี เริ่มจากที่ GE ของอเมริกา 15 ปีและทำให้แผนกอุปกรณ์การแพทย์ของ GE เติบโตไปจนถึง 70 ล้านเหรียญ จากนั้นจึงได้ดำรงตำแหน่งประธาน บริษัท BTR plc และ Invensys ซึ่งเป็นบริษัทหนึงใน 500 สุดยอดบริษัทของโลก

กวานหมิงเซิงเป็นคนทำงานเฉียบขาด ตัดสินฉับไว เขารับตำแหน่งสำคัญคือ COO (Chief Operating Officer) เขาเป็นคนที่มาช่วยแจ๊คในเรื่องการลดพนักงานลง โดยเฉพาะที่ซิลิกอน วัลเลย์ ที่มีจอห์น วู คุมบังเหียนอยู่

ได้ COO คนใหม่อย่าง กวานหมิงเซิง มาช่วยทำเรื่องยาก ๆ อย่างการ ปลดพนักงานจำนวนมาก
ได้ COO คนใหม่อย่าง กวานหมิงเซิง มาช่วยทำเรื่องยาก ๆ อย่างการ ปลดพนักงานจำนวนมาก

สถานการณ์ในขณะนั้น เหล่าวิศวกรที่ซิลิกอน วัลเลย์ เริ่มรู้ตัวล่วงหน้ากันบ้างแล้ว และได้ทยอยลาออกไปบ้างแล้ว ตอนนั้นเหลือวิศวกรอยู่ 30  คน ซึ่งล้วนแล้วแต่เงินเดือนระดับหกหลักแทบจะทั้งสิ้น ซึ่งเป็นภาระมหาศาลของอาลีบาบาในขณะนั้น

แม้แจ๊ค นั้นอยากให้คงเหลือวิศวกรไว้บ้าง เพื่อให้เหลือไว้สร้างความได้เปรียบทางเทคโนโลยี และเพื่อให้สามารถที่จะแข่งขันกับ microsoft , YAHOO และ ebayได้ แต่กวานหมิงเซิง ประกาศ layoff พนักงานทั้งหมดเพื่อลดภาระรายจ่ายในส่วนนี้ให้หมดไปจากบัญชีของอาลีบาบา ทำให้จอห์น วู ยังรู้สึกอื้ง ตอนนี้ศูนย์ R&D ที่ซิลิกอน วัลเลย์ ถูกยุบอย่างเป็นทางการเรียบร้อยแล้ว

ถัดจากซิลิกอน วัลเลย์ อีกหนึ่งสำนักงานที่มีรายจ่ายสูงมากคือ ฮ่องกง เนื่องจากเป็นเมืองที่มีค่าครองชีพสูง และพนักงานส่วนใหญ่จะเป็นพนักงานหัวกะทิ ที่จบ MBA จากสถาบันที่มีชื่อเสียงแทบจะทั้งสิ้น ทำให้รายจ่ายที่ฮ่องกง ไม่ได้น้อยไปกว่าที่อเมริกาเลย

พนักงานกว่า 30 คนของสำนักงานใหญ่ที่ฮ่องกง ก็ถูก กวาน กับ โจเซฟปลดไปกว่า 20 คน สุดท้ายเหลือไว้เพียงแค่ 7-8 คนเพียงเท่านั้น

สำนักงานที่ฮ่องกงก็เป็นอีกแห่งที่ต้องลดคนไปจำนวนมาก
สำนักงานที่ฮ่องกงก็เป็นอีกแห่งที่ต้องลดคนไปจำนวนมาก

แม้ กวานหมิงเซิง , โจเซฟ ไช่ รวมถึง แจ๊ค นั้นจะสวมบทโหด ปลดพนักงานขนานใหญ่ แม้จะดูเป็นการกระทำที่แข็งกร้าว ที่คนภายนอกเห็น แต่ภายในจิตใจของพวกเขาทั้งสามนั้น เสียใจกับเรื่องเหล่านี้มาก โจเซฟ ถึงกับจิตตก หลังจากภารกิจนี้เสร็จ เขาจึงขอไปพักร้อนที่เซี่ยงไฮ้ตามลำพังเพื่อปรับสภาพจิตใจ

ส่วนแจ๊ค ยิ่งรู้สึกละอายและโทษตัวเอง เขารู้สึกเจ็บปวดรวดร้าวและหดหู่เป็นที่สุด ซึงในช่วงเวลาหัวเลี้ยงหัวต่อของอาลีบาบาเช่นนี้นั้น เขาก็แทบจะไม่มีทางเลือกอื่นใด เขามักคิดเสมอว่าสาเหตุที่ต้องปลดพนักงานขนานใหญ่ เป็นความบกพร่องของการบริหารงานของเขาเองแทบจะทั้งสิ้น 

มันเป็นช่วงเวลาที่ย่ำแย่มาก ๆ ของทั้งแจ๊ค และ อาลีบาบา การปลดพนักงานออกไปเป็นจำนวนมาก เป็นสิ่งที่แจ๊คไม่อยากทำ แต่มันจำเป็นต้องทำ เพราะสถานการณ์ในขณะนั้น ฟองสบู่ ดอทคอม ทำให้บริษัท internet ทั้งหลายทั่วโลก ต่างล้มหายตายจากไปเป็นโดมิโน ทั้งในอเมริการวมถึงจีนเองก็ตาม มันเป็นบาดแผล ที่ลึกลงไปในใจของแจ๊ค ของการตัดสินใจในเรื่องนี้ เพราะสาเหตุส่วนหนึ่งนั้นมาจากเขาเองที่บริหารงานผิดพลาด สถานการณ์ของอาลีบาบาจะเป็นอย่างไรต่อไป หลังเหตุการณ์ฟองสบู่ดอทคอมแตก จะเกิดอะไรขึ้นกับบริษัทแห่งนี้ โปรดติดตามตอนต่อไป

–> อ่านตอนที่ 12 : Business Reforms

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :Internet *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Credit แหล่งข้อมูลบทความ

ประวัติ Jack Ma แห่ง Alibaba ตอนที่ 4 : Bye Bye Hangzhou

ความผิดหวังจากปักกิ่งในการเดินทางครั้งแรก มันก็ไม่ได้ทำให้แจ๊ค ย่อท้อแต่อย่างใด เขาเดินทางกลับหังโจว  ไชน่าเพจเจส ที่หังโจว กำลังเติบโตไปได้ดีเลยทีเดียว ไชน่าเพจเพจสมันเป็นเว๊บไซต์ ทางธุรกิจแห่งแรกของประเทศจีน เป็นโมเดลใหม่ ที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน และผลงานของแจ๊คที่ปักกิ่ง ให้กับสื่อดัง ๆ หลายรายนั้นทำให้ตอนนี้ไชน่าเพจเจสดังเป็นพลุแตกแล้ว

แล้วเมื่อตลาดมันเกิด ก็ย่อมมีคู่แข่งตามมา คู่แข่งรายแรกน่าจะเป็น ไชน่าวินโดวส์ ของ Academy of science ของจีน แต่เนื่องจากมันเป็นองค์กรของรัฐ ทำให้ไม่มีแรงกดดันในเรื่องการหากำไร จึงจะมองเป็นคู่แข่งเลยก็ไม่เชิง แถมยังอยู่ในเมืองหลวงอย่างปักกิ่ง ซึ่งห่างไกลจากฐานที่มั่นของแจ๊คในหังโจวมาก

องค์กรรัฐเต็มตัวอย่าง academy of science ที่ทำไชน่าวินโดวส์นั้น แจ๊คไม่ได้มองเป็นคู่แข่ง
องค์กรรัฐเต็มตัวอย่าง academy of science ที่ทำไชน่าวินโดวส์นั้น แจ๊คไม่ได้มองเป็นคู่แข่ง

แต่คู่แข่งที่น่าจะสมน้ำสมเนื้อมากที่สุดน่าจะเป็น การสื่อสารหังโจว ซึ่งอยู่ในถิ่นเดียวกันและมีกำลังทรัพยากรทั้งคนและเงินทุนมหาศาล ด้วยทุนจดทะเบียนกว่า 300 ล้วนหยวน ส่วนไชน่าเพจเจสนั้นมีทุนจดทะเบียนเพียงแค่ หนึ่งแสนหยวนเพียงเท่านั้น

แต่แม้ในเชิงธุรกิจแล้วนั้น กิจการของไชน่าเพจเจสทำได้ดีกว่าสื่อสารหังโจว ลูกค้าส่วนใหญ่สนใจบริการของแจ๊คมากกว่า ทำให้ไชน่าเพจเจสค่อย ๆ รุกคืบไปทีละก้าว ส่วนการสื่อสารหังโจวก็ถอยร่นไปเรื่อย ๆ 

แต่ปัญหาคือ เรื่องเงินทุนและทรัพยากร ไชน่าเพจเจสนั้นสู้ไม่ได้เลย ในปี 1996 ถึงกับต้องเผชิญกับภาวะไม่มีเงินจะจ่ายพนักงาน ยังดีที่แจ๊คนั้นสามารถจะแก้วิกฤตนี้ได้ทันก่อนที่ขวัญกำลังใจของพนักงานจะเสียไปมากกว่านี้

และเมื่อมันตกอยู่ในสภาพความเป็นจริงที่โหดร้ายเช่นนี้ แจ๊คผู้ไม่เคยยอมก้มหัวให้ใครจึงจำเป็นต้องยอมประนีประนอมอย่างจนปัญญา ในเดือนมีนาคม ปี 1996 ไชน่าเพจเพจสเข้าควบรวมกิจการกับการสื่อสารหังโจว โดย ไชน่าเพจเจสถือหุ้น 30% และ อีก 70% เป็นส่วนของการสื่อสารหังโจว

แจ๊คตัดสินใจครั้งสำคัญ เป็น พาร์ทเนอร์กับ การสื่อสารหังโจว
แจ๊คตัดสินใจครั้งสำคัญ เป็น พาร์ทเนอร์กับ การสื่อสารหังโจว

และมันทำให้กิจการไชน่าเพจเจสนั้น ขยายตัวอย่างรวดเร็ว จนถึงปลายปี 1996 ไม่ใช่แค่ไชน่าเพจเจสสามารถทำกำไรได้อย่างเดียว ยอดการขายก็พุ่งทะลุไปถึง 6 ล้านหยวนด้วย

แต่ด้วยวัฒนธรรมการทำงานของทั้งสองฝ่ายที่ต่างกัน ไม่นานนัก ความร่วมมือของทั้งสองฝ่ายก็เริ่มมีรอยร้าว เป้าหมายของแจ๊คนั้นคือสร้างไชน่าเพจเจสให้เป็น “YAHOO ของประเทศจีน” เขาเสนอให้ทำการบ่มเพาะตลาดก่อน หลังจากที่ตลาดเติบโต้ด้วดีแล้วค่อยทำการแสดงหากำไร แต่มันตรงข้ามกับแนวความคิดของการสื่อสารหังโจว ที่มีภารกิจเดียวคือ การแสดงหากำไรเท่านั้น

ซึ่งความเห็นต่างทางยุทธศาสตร์ต่าง ๆ เหล่านี้นั้น ค่อย ๆ สะสมและลุกลามจนกลายเป็นความขุ่นเคืองทางอารมณ์ ทำให้ทีมงานของแจ๊คต่างขอลาออก และชนวนสุดท้าย สำหรับแจ๊ค มันคือ การที่พาร์ทเนอร์ธุรกิจอย่างการสื่อสารของหังโจว หันไป ตั้งบริษัทใหม่แล้วตั้งบริการแบบเดียวกับ ไชน่าเพจเจส แม้ ชื่อตัวเว๊บไซต์ ยังมีความคล้ายคลึงกัน

มันเป็นเจตนาที่ชัดเจนอยู่แล้วว่า ฝั่งของการสื่อสารหังโจว ต้องการทำอะไร แจ๊ค กำลังถูกหลอก เนื่องมาจากตอนแรกการสื่อสารของหังโจวนั้น ทำแข่งกับแจ๊ค ไม่ไหว จึงต้องมาขอร่วมทุน และสุดท้ายเป้าหมายของพวกเขาก็คือ “ซื้อมา – เผาทิ้ง – ทำเอง” เมื่อได้ know-how จากแจ๊ค ไปมากเพียงพอแล้ว

หลังจากครุ่นคิดอย่างรอบคอบอยู่หลายเดือน ในที่สุด แจ๊ค ก็ต้องยอมพ่ายแพ้ ยอมลาออกจากกิจการร่วมครั้งนี้  แจ๊ค ตัดสินใจแล้วว่า จะไปที่ปักกิ่งอีกครั้ง แต่ไม่ได้เป็นการจากลาจากไชน่าเพจเจสแบบไปแล้วไปลับ แต่จะไปปักกิ่ง เพื่อทำภารกิจอะไรบางอย่างให้เสร็จสิ้นสมบูรณ์  และเมื่อเขาทำภารกิจที่ปักกิ่งเสร็จสิ้น เขาสัญญากับพนักงานทุกคนของไชน่าเพจเจส ว่าเขาจะกลับมาแน่นอน และหวังให้ทุกคนในหังโจว ตั้งใจทำงาน เพื่อรอเขากลับมา

แจ๊คสัญญากับทีมงานไชน่าเพจเจสว่าจะกลับมา
แจ๊คสัญญากับทีมงานไชน่าเพจเจสว่าจะกลับมา

ถึงตอนนี้ มันเป็นความพ่ายแพ้ครั้งแรกของแจ๊ค ในการทำธุรกิจ การถูกหักหลังจากการสื่อสารหังโจวครั้งนี้ ทำให้แจ๊คโตขึ้น และ ไม่ใช่เป็นการยอมแพ้ แต่จะไปทำภารกิจที่เขายังทำไม่เสร็จสิ้นที่ปักกิ่ง จะเกิดอะไรขึ้นที่ปักกิ่ง กับการเดินทางครั้งที่สองของแจ๊ค และ จะเกิดอะไรขึ้นกับ ไชน่าเพจเจสต่อไป โปรดติดตามได้ในตอนต่อไปครับผม

–> อ่านตอนที่ 5 : Break the Wall

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :Internet *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Credit แหล่งข้อมูลบทความ