หลอดสุญญากาศยักษ์สู่นาโนเมตร จากลอจิกเกตสู่พลังงานขับเคลื่อนเทคโนโลยี AI

เราคงจำภาพหลอดสุญญากาศยักษ์ที่เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ยุคโบราณกันได้ แต่น่าสนใจว่าเวลามันได้แปรเปลี่ยนเพียงไม่กี่สิบปี แต่ขนาดของชิปมันเข้าสู่ระดับนาโนเมตรกันแล้ว และยังไม่หยุดยั้งที่จะพัฒนาให้มันเล็กลงไปอีก

ในช่วงทศวรรษ 1940 มีพื้นที่ลับสุดยอดของสงครามโลกครั้งที่สองของอังกฤษคือ Bletchley Park ที่นั่นเหล่านักวิจัยและนักวิทยาศาสตร์เริ่มตระหนักถึงคอมพิวเตอร์ที่แท้จริงเป็นครั้งแรก

ในการแข่งขันเพื่อทำการ Crack รหัสลับที่เยอรมนีประกาศกร้าวว่าไม่มีใครในโลกที่จะแก้สุดยอดโค้ดลับของพวกเขาได้นั่นก็คือเครื่อง “Enigma”

ทีมงานที่ Bletchley Park ที่นำโดย Alan Turing ได้คิดค้นเครื่องจักรอัตโนมัติเพื่อช่วยในการถอดรหัสเครื่อง Enigma ได้สำเร็จ และพัฒนาจนกลายมาเป็นเครื่อง Colossus ซึ่งเป็นคอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์แบบดิจิทัลที่สามารถตั้งโปรแกรมได้เครื่องแรกของโลก

ภายในปี 1945 อุปกรณ์ที่เป็นรากฐานสำคัญของคอมพิวเตอร์ที่เรียกว่า ENIAC ที่ออกแบบโดย John Mauchly และ J.Presper Eckert โดยเป็นเครื่องจักรขนาดยักษ์สูง 8 ฟุต ประกอบด้วยหลอดสุญญากาศ 17,500 หลอด ไดโอด 7,200 หลอด และสายไฟยาวหลายไมล์ ใช้พื้นที่กว่า 1,8000 ตารางฟุต สามารถทำการคำนวณได้ 300 คำสั่งต่อวินาทีได้รับการพัฒนาขึ้นที่มหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนีย

Bell Labs ได้ทำสิ่งที่เรียกได้ว่าก้าวไปอีกขั้นในปี 1947 สิ่ง ๆ นั้นคือทราสซิสเตอร์ ซึ่งเป็นสารกึ่งตัวนำที่สร้าง “Logic Gates” เพื่อใช้ในการคำนวณซึ่งเป็นรากฐานให้กับยุคดิจิทัล

เหล่าผู้สังเกตการณ์ในยุคนั้นไม่คิดว่าการคำนวณมันจะแพร่หลายอย่างรวดเร็ว ในช่วงปลายทศวรรษ 1940 ยังมีอุปกรณ์ที่เรียกว่าคอมพิวเตอร์เพียงไม่กี่ตัวเท่านั้นบนโลก

ในช่วงต้นทศวรรษนั้น Thomas J. Watson ประธานของ IBM ได้กล่าวไว้ว่า “ผมคิดว่าคงมีตลาดคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเพียงประมาณ 5 เครื่อง”

นิตยสาร Popular Mechanics ได้คาดการณ์ในปี 1949 ไว้ว่า “ในอนาคต คอมพิวเตอร์อาจมีหลอดสุญญากาศเพียง 1,000 หลอด และ น่าจะมีน้ำหนักเพียงประมาณ 1.5 ตัน” ซึ่งราว ๆ หนึ่งทศวรรษหลังจากนั้นยังคงมีคอมพิวเตอร์เพียงหลักร้อยเครื่องทั่วโลก

แต่การคำนวณได้เปลี่ยนแปลงสังคมอย่างรวดเร็วเกิดกว่าที่ใครจะคาดเดา และแพร่กระจายเกินกว่าที่สิ่งประดิษฐ์ใดในประวัติศาสตร์มนุษย์จะทำได้

Robert Noyce ได้คิดค้นแผงวงจรรวมในช่วงปลายทศวรรษ 1950 และในช่วงทศวรรษ 1960 ที่ Fairchild Semiconductor มีการสร้างแผงวงจรที่มีทราสซิสเตอร์จำนวนมากบนแผ่นซิลิกอน เพื่อผลิตสิ่งที่เรียกว่า “ชิป”

หลังจากนั้นไม่นาน Gordon Moore ได้ได้นำเสนอ “Moore Law” ว่า ในทุก ๆ 24 เดือน จำนวนทราสซิสเตอร์บนชิปจะเพิ่มเป็นสองเท่า นั่นหมายความว่าโลกของเทคโนโลยีดิจิทัลและการคำนวณจะได้เติบโตแบบ Exponential

ตั้งแต่ต้นทศวรรษ 1970 จำนวนทราสซิสเตอร์ต่อชิปได้เพิ่มขึ้นสิบล้านเท่าและให้พลังการประมวลผลที่เพิ่มขึ้น 17,000 ล้านเท่า ในปี 1958 Fairchild Semiconductor ขายทรานซิสเตอร์ 100 ตัวในราคา 150 ดอลลาร์ แต่ปัจจุบันทรานซิสเตอร์ถูกผลิตขึ้นมานับพันล้านตัวต่อทุกวินาที ในราคาเพียงแค่เศษสตางค์

แน่นอนว่าความก้าวหน้าในพลังการคำนวณเช่นนี้มาจากการเกิดขึ้นของอุปกรณ์ใหม่ ๆ แอปพลิเคชันใหม่ ๆ และจำนวนผู้ใช้งานที่เพิ่มขึ้นแบบทวีคูณ

ในช่วงต้นทศวรรษ 1970 มีคอมพิวเตอร์ทั่วโลกประมาณห้าแสนเครื่อง และในปี 1983 มีคอมพิวเตอร์เพียง 562 เครื่องทั่วโลกเท่านั้นที่เชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ต

ปัจจุบันจำนวนคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน และอุปกรณ์ที่มีการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตอื่น ๆ มีอยู่ 14 พันล้านเครื่อง ซึ่งสมาร์ทโฟนใช้เวลาเพียงไม่กี่ปีในการเปลี่ยนจากผลิตภัณฑ์เฉพาะกลุ่มเล็ก ๆ สำหรับเหล่านักธุรกิจไปสู่สิ่งของจำเป็นสำหรับประชากรสองในสามของโลก

มันได้เกิดอีเมล โซเชียลมีเดีย วีดีโอสตรีมมิ่ง ซึ่งแต่ละอย่างเป็นประสบการณ์ใหม่ของมนุษย์โลกแทบจะทั้งสิ้นซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นผลมาจากการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดของอุตสาหกรรมเซมิคอนดักเตอร์

การเกิดขึ้นของอินเทอร์เน็ตมาพร้อมกับข้อมูล ที่เพิ่มขึ้น 20 เท่าในเวลาเพียงหนึ่งทศวรรษตั้งแต่ปี 2010 ถึง 2020 ในยุคก่อนหน้านั้นเพียงไม่นานมนุษย์จัดเก็บข้อมูลจำกัดอยู่แค่ในหนังสือและหอจดหมายเหตุเพียงเท่านั้น

แต่ตอนนี้มนุษย์สร้างอีเมล ข้อความ รูปภาพและวีดีโอนับหมื่นล้านชิ้นในทุก ๆ วัน และจัดเก็บไว้ในคลาวด์ โดยทุก ๆ นาทีของทุกวันจะมีข้อมูล 18 ล้านกิกะไบต์ถูกเสกขึ้นบนโลก

มนุษย์ใช้เวลานับพันล้านชั่วโมงในการบริโภคเทคโนโลยีเหล่านี้ และพวกมันได้เข้ามาครอบงำทั้งเรื่องงาน ธุรกิจ หรือแม้กระทั่งเวลาพักผ่อนของเรา โทรศัพท์มือถือกลายเป็นสิ่งแรกที่เราเห็นในตอนเช้าและเป็นสิ่งสุดท้ายที่เราจะสัมผัสมันก่อนนอน

หากย้อนกลับไปในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 หากมีคนในยุคนั้นมาเห็นสิ่งเหล่านี้ พวกเขาคงตกตะลึงกับความบ้าคลั่งในการก้าวกระโดดของเทคโนโลยี ที่คนในยุคนั้นอาจจะมองว่ามันเป็นเพียงเทคโนโลยีสำหรับคนเฉพาะกลุ่มเท่านั้น

โลกเราได้เข้าสู่ยุคของการเปลี่ยนแปลงอย่างก้าวกระโดดจริง ๆ ก็ยุคหลังสงครามโลกครั้งที่สองนี่เอง ที่ยุคก่อนหน้านับพันนับหมื่นปีมีการพัฒนาแบบก้าวกระโดดอย่างที่เราเห็นในยุคหลังสงครามเพียงเล็กน้อยเท่านั้น สิ่งเหล่านี้มันกำลังจะเกิดขึ้นซ้ำรอยเดิมกับเทคโนโลยีคลื่นลูกใหม่อย่าง AI ซึ่งเราคงไม่สามารถจินตนาการภาพโลกในอนาคตในอีกเพียงแค่ 20-30 ปีที่จะถึง มันคงนึกภาพไม่ออกเลยจริง ๆ

References :
หนังสือ The Coming Wave :  Technology, Power, and the Twenty-first Century’s Greatest Dilemma โดย Mustafa Suleyman
https://en.wikipedia.org/wiki/Bletchley_Park
https://simple.wikipedia.org/wiki/ENIAC
https://en.wikipedia.org/wiki/Bell_Labs
https://en.wikipedia.org/wiki/Robert_Noyce


 


ติดตามสาระดี ๆ อัพเดททุกวันผ่าน Line OA



Geek Forever Club พื้นที่ของการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ



Geek Forever’s Podcast


“Open Your World With Technology


AI , Blockchain และเทคโนโลยีใหม่ ๆ กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในหลายธุรกิจ ทั้ง แวดวงการเงิน สุขภาพ หรือ งานด้านบริการต่าง ๆ ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจเกี่ยวกับ AI หรือ Machine Learning

Podcast ของผมจะเล่าเรื่องราวต่าง รวมถึงเรื่องที่ผมสนใจอื่น ๆ เช่น startup หนังสือ หนัง หรือ กีฬาฟุตบอล อยากชวนคนที่สนใจให้ลองมาติดตาม podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Youtube
ฟังผ่าน Youtube