3DBio Therapeutics กับเทคโนโลยีการปลูกถ่ายหูที่พิมพ์ 3 มิติด้วยเซลล์มนุษย์ครั้งแรกของโลก

ทีมนักวิทยาศาสตร์ของบริษัท 3DBio Therapeutics ประสบความสำเร็จในการปลูกถ่ายหูด้วยวิธีการพิมพ์ 3 มิติที่ทำจากเซลล์ของผู้ป่วยเองเป็นครั้งแรก

ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าดูเหมือนว่าจะเป็นครั้งแรกในด้านวิศวกรรมเนื้อเยื่อและเทคโนโลยีดังกล่าวนี้อาจเป็นผู้นำยุคใหม่ของศาสตร์ในด้านเวชศาสตร์ฟื้นฟู

“มันเป็นเรื่องใหญ่แน่นอน” อดัม ไฟน์เบิร์ก นักวิจัยด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ของคาร์เนกี เมลลอน ซึ่งไม่ได้มีส่วนร่วมในโครงการนี้ บอกกับ The New York Times (NYT) “มันแสดงให้เห็นว่าเทคโนโลยีนี้ไม่ใช่ใช้แค่คำว่า ‘ถ้า’ อีกต่อไป แต่เป็นจะเกิดขึ้น ‘เมื่อใด'”

ผู้ป่วยซึ่งเป็นหญิงอายุ 20 ปี เกิดมาพร้อมกับหูที่มีขนาดเล็กและผิดปกติอันเนื่องมาจากความผิดปกติแต่กำเนิดที่หายากซึ่งเรียกว่าไมโครเทีย

ในการทดลองทางคลินิกเมื่อต้นปีนี้ ผู้เชี่ยวชาญด้าน 3D ได้พิมพ์ใบหูใหม่ ซึ่งออกแบบมาให้เข้ากับหูอีกข้างหนึ่งของเธอได้อย่างลงตัว และปลูกถ่ายไว้บนศีรษะของเธอ ซึ่งหูจะยังคงเติบโตต่อไป โดยจะสร้างเนื้อเยื่อกระดูกอ่อนขึ้นมาใหม่

ตามรายงานของ NYT การทดลองนี้ถือเป็นครั้งแรกที่การปลูกถ่ายเนื้อเยื่อที่มีชีวิตโดยการพิมพ์ 3 มิติไปยังผู้ป่วยที่เป็นมนุษย์

บริษัทใช้เซลล์ปริมาณครึ่งกรัมที่เก็บจากผู้ป่วย และเพิ่มจำนวนเซลล์เป็นพันล้านเซลล์โดยใช้เทคโนโลยีที่เป็นกรรมสิทธิ์ของบริษัท เครื่องพิมพ์ 3 มิติแบบพิเศษจะใช้ “หมึกชีวภาพ” ที่มีคอลลาเจนเป็นหลักในการพิมพ์ใบหูใหม่ขึ้นมา

หลังจากนั้นคอลลาเจนจะถูกสอดผ่านกระบอกฉีดยาเข้าไปในเครื่องพิมพ์ชีวภาพสามมิติแบบพิเศษ ซึ่งพ่นวัสดุออกจากหัวฉีดบางๆ ที่มีความสม่ำเสมอ และสร้างรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าเล็กๆ ที่เป็นส่วนจำลองของหูที่แข็งแรงของผู้ป่วย กระบวนการพิมพ์ทั้งหมดใช้เวลาน้อยกว่า 10 นาที

ผู้ป่วยที่ได้รับหูใหม่เป็นหนึ่งในคนกลุ่มแรกที่ได้รับการปลูกถ่ายที่ประสบความสำเร็จซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการทดลองทางคลินิกที่นำโดย อาร์ตูโล โบนิลา ที่เป็นศัลยแพทย์

อาร์ตูโล โบนิลา ที่เป็นศัลยแพทย์นำการปลูกถ่าย (CR:NYT)
อาร์ตูโล โบนิลา ที่เป็นศัลยแพทย์นำการปลูกถ่าย (CR:NYT)

“ในฐานะแพทย์ที่รักษาเด็กหลายพันคนด้วยไมโครเทียจากทั่วประเทศและทั่วโลก ผมได้รับแรงบันดาลใจจากเทคโนโลยีนี้ อาจมีความหมายสำหรับผู้ป่วยไมโครเทีย และครอบครัวของพวกเขา” โบนิลากล่าวในแถลงการณ์

“การศึกษานี้จะช่วยให้เราสามารถตรวจสอบความปลอดภัยและคุณสมบัติของขั้นตอนใหม่นี้ที่ใช้สำหรับการสร้างหูใหม่โดยใช้เซลล์กระดูกอ่อนของผู้ป่วยเอง” โบนิลากล่าวเสริม

แม้จะผ่านการตรวจสอบจากหน่วยงานกำกับดูแลของรัฐบาลกลางแล้ว แต่บริษัทก็ยังคงไม่ได้ให้รายละเอียดทางเทคนิคมากนัก และผลการวิจัยยังไม่ได้รับการตีพิมพ์เนื่องจากการทดลองทางคลินิกกับผู้ป่วยอีก 11 รายยังคงดำเนินการอยู่

ตอนนี้ 3DBio Therapeutics หวังว่าจะใช้เทคนิคเดียวกันกับส่วนอื่นๆ ของร่างกาย รวมถึงหมอนรองกระดูกสันหลัง จมูก และเส้นเอ็นที่หุ้มล้อมรอบข้อไหล่

อย่างไรก็ตาม การพิมพ์ส่วนต่างๆ ของร่างกายที่ซับซ้อนมากขึ้น เช่น อวัยวะภายใน มีความท้าทายที่ยิ่งใหญ่กว่าหู ซึ่งเป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่เพื่อจุดประสงค์ด้านความสวยงามเป็นหลัก

ผู้ป่วยที่ได้รับการปลูกถ่ายรายนี้ชื่อ Alexa กล่าวว่าเธอรู้สึกตื่นเต้นเกี่ยวกับหูใหม่นี้ แม้ว่าหูจะยังคลุมด้วยผ้าพันแผลก็ตาม 

ซึ่งเด็กที่มี ไมโครเทีย หลายคนจะถูกเพื่อนล้อเลียน ซึ่งอาจนำไปสู่ความวิตกกังวล ความซึมเศร้า และความเกลียดชัง และสร้างปัญหาระยะยาวให้กับเด็กเหล่านี้

Alexa กล่าวว่าเธอไม่เคยใส่ใจเรื่องนี้มากจนกระทั่งช่วงวัยรุ่น เมื่อเธอเริ่มประหม่ามากขึ้นเกี่ยวกับรูปร่างหน้าตาของเธอ

“คุณใส่ใจภาพลักษณ์ของคุณมากขึ้นเมื่อคุณเป็นวัยรุ่น” เธอกล่าว “บางคนพูดสิ่งที่ไม่ครุ่นคิดออกมา และมันก็เริ่มกวนใจฉัน”

Alexa ก่อนและหลังการปลูกถ่าย (CR:NYT)
Alexa ก่อนและหลังการปลูกถ่าย (CR:NYT)

Alexa กล่าวว่าเธอได้พัฒนาวิธีในการปิดหูข้างขวาของเธอให้สมบูรณ์แบบด้วยการไว้ผมยาวแบบหลวม ๆ และคนส่วนใหญ่จะมองไม่เห็นความผิดปกติของหูเธอ แต่ตอนนี้เธอบอกว่าเธอตั้งหน้าตั้งตารอที่จะสนุกสนานกับผมของเธอ การรวบผมเปียหรือมัดเป็นมวย

“ฉันคิดว่าความภาคภูมิใจในตนเองของฉันจะเพิ่มขึ้น” เธอกล่าว

References :
https://www.nytimes.com/2022/06/02/health/ear-transplant-3d-printer.html
https://www.theverge.com/2022/6/2/23151690/3d-printed-ear-transplant
https://www.smithsonianmag.com/smart-news/surgeons-transplant-3d-printed-ear-made-from-patients-own-cells-180980196/


 


ติดตามสาระดี ๆ อัพเดททุกวันผ่าน Line OA



Geek Forever Club พื้นที่ของการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ



Geek Forever’s Podcast


“Open Your World With Technology


AI , Blockchain และเทคโนโลยีใหม่ ๆ กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในหลายธุรกิจ ทั้ง แวดวงการเงิน สุขภาพ หรือ งานด้านบริการต่าง ๆ ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจเกี่ยวกับ AI หรือ Machine Learning

Podcast ของผมจะเล่าเรื่องราวต่าง รวมถึงเรื่องที่ผมสนใจอื่น ๆ เช่น startup หนังสือ หนัง หรือ กีฬาฟุตบอล อยากชวนคนที่สนใจให้ลองมาติดตาม podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Youtube
ฟังผ่าน Youtube