20 ปีหลัง Dot-Com Crash ฟองสบู่ของเทคโนโลยีกำลังจะแตกอีกครั้งหรือไม่?

ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา ซิลิกอน วัลเลย์ได้เปลี่ยนบริษัทจากในโรงรถ หอพักนักศึกษา ให้กลายเป็นบริษัทที่มีอำนาจเหนือระดับโลกมากมาย ไม่ว่าจะเป็น Google , Facebook ,Apple , Microsoft หรือ Amazon

ในปีที่แล้วมีการลงทุนในบริษัทร่วมทุนกว่า 6 แสนล้านดอลลาร์ทั่วโลก เกือบสิบเท่าของเงินลงทุนเมื่อทศวรรษที่แล้ว เหล่าบริษัท VC (Venture Capital) แผ่ขยายอำนาจทุนไปสู่ดินแดนใหม่ ๆ ดึงดูดผู้ร่วมทุนใหม่ ๆ และกลายเป็นระบบที่มีความสากลมากยิ่งขึ้น

แต่ในตอนนี้ ทั้งปัญหาสงครามในยูเครน การกวาดล้างอุตสาหกรรมเทคโนโลยีของจีน และอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้น ได้ทลายเครื่องจักรทางการเงินเหล่านี้ จนดิ่งพสุธา

สิ่งที่บ่งชี้ชัดเจนที่สุดคือดัชนี NASDAQ ซึ่งเน้นไปที่การลงทุนในบริษัทด้านเทคโนโลยีเป็นหลัก มูลค่าลดลงเกือบ 30% มูลค่าบริษัทที่ลดลงอย่างน่าสยดสยอง จำนวนเงินที่ระดมทุนผ่านการเสนอขายหุ้นต่อสาธารณชน (IPO) ลดลงประมาณ 50% ทั่วโลก และมากกว่า 70% ในอเมริกา เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีที่แล้ว

การนองเลือดในตลาด IPO กำลังทำร้ายโลกของ VC อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ มันทำให้เกิดความสูญเสียครั้งใหญ่ของกลุ่มนักลงทุนปลายทางในตลาดหุ้น ไม่ว่าจะเป็น การลงทุนส่วนตัว กองทุนบำเน็จบำนาญ หรือ กองทุนรวมต่าง ๆ

นั่นทำให้ในตอนนี้เกิดการชะลอการลงทุนในกลุ่มสตาร์ทอัพมากขึ้น มีการลงทุนในเดือนพฤษภาคมมูลค่าเพียง 39 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งน้อยกว่าค่าเฉลี่ยรายเดือนในปี 2021 ประมาณ 30% และกว่า 68% ของกองทุน VC กำลังลดพอร์ตการลงทุนสตาร์ทอัพที่ต้องการเงินสดเพื่อใช้ในการเผาเงินอย่างหนัก

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในธุรกิจที่มีการแข่งขันสูง และยังไม่เห็นวี่แววในการทำกำไรในระยะสั้น เช่น การจัดส่งอาหาร ซึ่งดูเหมือนจะอยู่ในสถานการณ์ที่ย่ำแย่ที่สุด หลังจากเฟื่องฟูมาก ๆ ในยุคการแพร่ระบาดของ COVID-19

ธุรกิจการจัดส่งอาหารที่การแข่งขันดุเดือดเป็นอย่างมาก (CR:CNBC)
ธุรกิจการจัดส่งอาหารที่การแข่งขันดุเดือดเป็นอย่างมาก (CR:CNBC)

ซึ่งเกิดข้อสงสัยหลายอย่างในธุรกิจแบบนี้ เงินที่ใช้ไปเป็นำจำนวนมากในการลงทุน การทำการตลาด หรือ การโน้มน้าวเหล่า Rider ให้เข้ามาอยู่ในแพลตฟอร์ม แต่แทบไม่ได้กลุ่มลูกค้าที่มีความภักดีกลับมาเท่าไหร่นัก ซึ่งมันเหมือนเป็นการผลาญเงินของ VC ไปเสียเปล่า ๆ

หรือในตลาด crypto ที่ได้สูญเสียมูลค่าไปแล้วประมาณ 1 ล้านล้านดอลลาร์ จากปีที่แล้วที่ตลาดกำลังพุ่งทะยาน to the moon

เหล่ากองทุน VC ก็เรียนรู้จากอดีตมากขึ้น เริ่มกระชับกระเป๋าเงินของพวกเขาและเปลี่ยนโฟกัสไปที่ผลกำไรและหันเหความสนใจจากการที่ต้องทุ่มเงินแบบบ้าคลั่งเหมือนในอดีต นั่นทำให้เหล่าผู้ก่อตั้งและCEO ต้องคิดหาวิธีมากขึ้นโดยใช้เงินที่น้อยลง

แม้ว่าทั้งหมดนี้ มันจะไม่เลวร้ายเท่าสิ่งที่เคยเกิดขึ้นกับ Dot-Com Crash ในปี 2000 เพราะในตอนนี้บริษัทสตาร์ทอัพจำนวนมากได้สร้างงบดุลที่มีความเป็นมืออาชีพมากยิ่งขึ้น และส่วนใหญ่มีการระดมทุนที่เพียงพอที่จะยืนระยะไปได้อย่างน้อยถึงปี 2025

และความแตกต่างที่สำคัญระหว่างเทคโนโลยีไททันยุคปัจจุบันกับยุค Dot Com รุ่นก่อนก็คือ ขนาด เพราะตอนนี้บริษัทเหล่านี้ได้กลายเป็นยักษ์ใหญ่ระดับโลกที่ทำกำไรได้มหาศาลและเป็นบริษัทที่มูลค่าอันดับต้น ๆ ของโลก มีอำนาจอิทธิพลเหนือล้น ผ่านข้อมูลขนาดใหญ่จำนวนมากที่พวกเขาได้ซึมซับมาเป็นเวลาหลายปี

เทคโนโลยีไททันยุคปัจจุบันทีมีอำนาจอิทธิพลเหลือล้น (CR:Business Insider India)
เทคโนโลยีไททันยุคปัจจุบันทีมีอำนาจอิทธิพลเหลือล้น (CR:Business Insider India)

ในยุค Dot-Com Crash นั้นมูลค่ารวมของหุ้นทางอินเทอร์เน็ตอยู่ที่ราว ๆ 450 พันล้านดอลลาร์ และยอดขายรวมของบริษัทเหล่านี้มีเพียงแค่ 21 พันล้านดอลลาร์เพียงเท่านั้น มันต่างกันอย่างมากโขเมื่อเทียบกับบริษัทอย่าง Facebook , Google หรือ Apple ในยุคปัจจุบัน

แม้หุ้นยอดนิยมในปัจจุบันรวมถึงหุ้นบางตัวจะมีมูลค่าสูงจนเว่อร์เกินไปมาก แต่พวกเขายังทำกำไรได้ในระดับที่บริษัทอินเทอร์เน็ตเมื่อ 20 ปีที่แล้วแแแทบจะจินตนาการไม่ถึง

เฉกเช่นเดียวกันกับอุตสาหกรรม VC ที่มีความเป็นสถาบันมากยิ่งขึ้น เครือข่าย VC แบบพึ่งพาตนเองจากยุโรปไปยังเอเชียนั้นพึ่งพาเงินทุนของอเมริกาน้อยลงและมีการเชือมโยงกับบริษัททางการเงินและผู้ประกอบการในท้องถิ่นมากขึ้น

ที่สำคัญที่สุด โอกาสในการสร้างนวัตกรรมยังคงมีอยู่อีกมากมาย ตลาดที่มีศักยภาพสำหรับผลิตภัณฑ์เทคโนโลยีได้ขยายตัวอย่างมหาศาล

เทคโนโลยีกำลังส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วนของโลกธุรกิจ ตั้งแต่เทคโนโลยีชีวภาพไปจนถึงการตรวจสอบ supplychain และผู้ที่รอดจากวิกฤติที่เกิดขึ้นในครั้งนี้ จะส่งผลให้ภาพรวมของอุตสาหกรรมมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และที่สำคัญที่สุดก็ยังคงเป็นอุตสาหกรรมที่ทรงพลังไปอีกตราบนานเท่านาน

References :
https://finance.yahoo.com/news/looking-lot-dot-com-crash-110000945.html
https://www.theguardian.com/business/2020/sep/12/twenty-years-after-the-dotcom-crash-is-techs-bubble-about-to-burst-again
https://www.economist.com/leaders/2022/06/30/venture-capitals-reckoning
https://www.pymnts.com/connectedeconomy/2022/two-reasons-why-2022s-tech-wreck-doesnt-have-to-mean-a-dotcom-crash-landing/
https://slidebean.com/blog/startups-dot-com-bubble


 


ติดตามสาระดี ๆ อัพเดททุกวันผ่าน Line OA



Geek Forever Club พื้นที่ของการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ



Geek Forever’s Podcast


“Open Your World With Technology


AI , Blockchain และเทคโนโลยีใหม่ ๆ กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในหลายธุรกิจ ทั้ง แวดวงการเงิน สุขภาพ หรือ งานด้านบริการต่าง ๆ ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจเกี่ยวกับ AI หรือ Machine Learning

Podcast ของผมจะเล่าเรื่องราวต่าง รวมถึงเรื่องที่ผมสนใจอื่น ๆ เช่น startup หนังสือ หนัง หรือ กีฬาฟุตบอล อยากชวนคนที่สนใจให้ลองมาติดตาม podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Youtube
ฟังผ่าน Youtube