Gamification วิดีโอเกมสามารถเปลี่ยนนิสัยการใช้เงินของเราได้อย่างไร

ต้องบอกว่าสมองของมนุษย์เรานั้นเป็นอวัยวะที่ค่อนข้างขี้เกียจ แม้ว่ามันจะเป็นอวัยวะที่ฉลาดอย่างน่าทึ่ง แต่มันก็มีส่วนผลักดันให้มนุษย์เราเข้าสู่รูปแบบพฤติกรรมที่ไม่ดี และพฤติกรรมบางอย่างนั้นอาจจะสามารถทำร้ายนิสัยทางการเงินของเราได้อย่างเหลือเชื่อ

อุตสาหกรรมเกมในปี 2020 นั้นต้องบอกว่ามีมูลค่ามหาศาล มีมูลค่าทางธุรกิจมากกว่า 179,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่มีมูลค่ามากกว่ากีฬาและภาพยนตร์รวมกันเสียอีก

Gamification คืออะไร?

gamification เป็นการใช้พลังกระตุ้นของวีดีโอเกม และ นำไปใช้ในด้านอื่น ๆ ของชีวิต คำจำกัดความจากบริษัท gartner บริษัทวิจัยระดับโลกได้ให้ความหมายของ gamification ไว้ว่า “การใช้กลไกของเกมและการออกแบบประสบการณ์เพื่อดึงดูดและจูงใจผู้คนให้บรรลุเป้าหมายทางดิจิทัล”

รูปแบบของ gamification นั้น สามารถกระตุ้นเราโดยตอบสนองความต้องการด้านจิตใจและให้ความรู้สึกถึงรางวัลแก่เรา ซึ่งสิ่งนี้เกิดขึ้นจากการปล่อยสารที่รู้สึกดี ซึ่งได้แก่ โดปามีนและออกซิโตซิน

Paul Zak นักประสาทวิทยาและศาสตราจารย์ด้านเศรษฐศาสตร์ที่ Claremont Graduate University กล่าวว่า “สองสิ่งสำคัญต้องเกิดขึ้นในสมองเพื่อส่งผลต่อการตัดสินใจของคุณ” “อย่างแรกคือคุณต้องใส่ใจกับข้อมูลนั้น ซึ่งขับเคลื่อนโดยการผลิตโดปามีนในสมอง อย่างที่สอง คุณต้องให้สมองของคุณดูแลเกี่ยวกับผลลัพธ์ และขับเคลื่อนด้วยการสะท้อนทางอารมณ์ ที่เกี่ยวข้องกับการผลิตออกซิโทซินในสมอง”

“องค์ประกอบของความพิเศษนั้นมาในทั้งสองรูปแบบ ไม่ได้แยกจากกัน” Zak เขียน “มันเป็นส่วน ‘การกระทำ’ ที่เป็นกุญแจสำคัญในการค้นหาประสบการณ์ที่แปลกใหม่ ประสบการณ์ที่ไม่ธรรมดาทำให้ผู้คนดำเนินการ ไม่ว่าจะเป็นการบริจาคเพื่อการกุศล การซื้อผลิตภัณฑ์ การโพสต์บนโซเชียลมีเดีย หรือการกลับมาเพลิดเพลินกับประสบการณ์อีกครั้ง”

gamification นั้นเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันเรานานมากแล้ว ผ่าน แอป เว็บไซต์ ยอดนิยมมากมาย เช่น LinkedIn ที่มีการแสดงแถบความคืบหน้าที่แสดงจำนวนข้อมูลโปรไฟล์ที่คุณทำการกรอก

Apple Watch ที่มีแหวนแถบพลังงาน ที่แสดงจำนวนก้าวที่คุณต้องเดินเพื่อให้บรรลุเป้าหมายรายวันของคุณ

Apple Watch ที่มีแหวนแถบพลังงาน ที่แสดงจำนวนก้าว
Apple Watch ที่มีแหวนแถบพลังงาน ที่แสดงจำนวนก้าว

แบรนด์ต่าง ๆ ใช้ gamification เพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วมของลูกค้ามานานหลายทศวรรษ ตัวอย่างเช่น McDonald’s เปิดตัวเกม Monopoly ในปี 1987 ซึ่งมีการติดสลากลอตเตอรี่เข้ากับรายการเมนู

นอกเหนือจากด้านการตลาดแล้ว gamification ยังใช้ในโซเชียลมีเดีย ฟิตเนส การศึกษา การระดมทุน การเกณฑ์ทหาร และการฝึกอบรมพนักงาน

หรือแม้กระทั่งการที่ รัฐบาลจีนได้จำลองแง่มุมต่าง ๆ ของระบบ Social Credit ซึ่งประชาชนดำเนินการหรือละเว้นจากกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อรับคะแนนที่แสดงถึงความน่าเชื่อถือ

Gamification ไม่เพียงแต่ทำให้เรื่องน่าเบื่อกลายเป็นเรื่องสนุกเท่านั้น ยังเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเรา หรือ แม้กระทั่งสามารถทำลายนิสัยดี ๆ ของเราได้เช่นกัน

เกมสามารถกระตุ้นประสบการณ์ที่ดื่มด่ำเหล่านี้ได้.. แต่ตอนนี้เหล่าองค์กรทางด้านการเงินใช้ gamification เพื่อช่วยให้ผู้คน “ยกระดับ” อนาคตทางการเงินของพวกเขาได้อย่างไร?

Gamification กับการเงินส่วนบุคคล

ธนาคารและบริษัทางด้านการเงินใช้ gamification มาหลายปีแล้ว ซึ่งเริ่มต้นด้วยแนวคิดง่าย ๆ เช่น คุณลักษณะของการออมเงิน “Punch the Pig” ของ PNC Bank ได้พัฒนาไปสู่เกมที่หลากหลายที่ช่วยให้ผู้คนใช้เงิน ประหยัดเงิน และชำระหนี้ได้ดีขึ้น

แต่สิ่งที่น่าประหลาดใจเกี่ยวกับ gamification ในเรื่องการเงินส่วนบุคคล คือ แอปที่ประสบความสำเร็จที่สุดบางตัวสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมทางการเงินที่แย่ ๆ ในอดีตของมนุษย์เราได้

ตัวอย่างเช่น การซื้อสลากกินแบ่ง แอปที่มีชื่อว่า Long Game ซึ่งใช้แนวทางที่เรียกว่า “การออมลอตเตอรี่”

“ผู้คนชอบลอตเตอรี่จริงๆ” Lindsay Holden ผู้ร่วมก่อตั้งและ CEO ของ Long Game กล่าว “ลอตเตอรี่เป็นอุตสาหกรรมมูลค่า 70,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ประเทศอเมริกา คนที่ซื้อสลากส่วนใหญ่เป็นคนจน แล้วเราจะเปลี่ยนเส้นทางการใช้จ่ายเหล่านี้ ไปสู่สิ่งที่ช่วยเหลือพวกเขาได้อย่างไร?”

คำตอบของ Long Game คือ การสนับสนุนให้ผู้ใช้ลงทุนแบบอัตโนมัติในบัญชีออมทรัพย์ที่เชื่อมโยงกับรางวัล เมื่อผู้ใช้ทำการลงทุน พวกเขาจะได้รับเหรียญที่สามารถนำมาใช้เล่นเกมได้

Long Game ซึ่งใช้แนวทางที่เรียกว่า
Long Game ซึ่งใช้แนวทางที่เรียกว่า “การออมลอตเตอรี่” (CR:VentureBeat)

ซึ่งบางอันมีรางวัลเป็นเงินสด แต่เงินรางวัลมาจากธนาคารที่เป็นพันธมิตรกับ Long Game ซึ่งหมายความว่าผู้ใช้จะไม่สูญเสียเงินทุนหลักของเขา

Blast เป็นแอปออมเงินที่มุ่งเป้าไปที่นักเล่นเกมทั่วไป แพลตฟอร์มนี้ช่วยให้ผู้ใช้เชื่อมต่อบัญชีออมทรัพย์กับบัญชีการเล่นเกมของตัวเองได้

จากนั้นผู้ใช้จะตั้งเป้าหมายในเกม เช่น การฆ่าศัตรจำนวนหนึ่ง โดยการบรรลุเป้าหมายเหล่านี้ จะทำการกระตุ้นการลงทุนที่เลือกไว้ล่วงหน้าในบัญชีออมทรัพย์ ซึ่งนอกเหนือจากการได้รับดอกเบี้ยแล้วนั้น ผู้ใช้ยังสามารถชนะเงินรางวัลโดยการทำภารกิจให้สำเร็จ หรือ ได้อันดับสูงสุดใน Leader Board ในเกม

Foutune City ใช้แนวทางที่แตกต่างออกไป โดยแอปจะสนับสนุนให้ผู้ใช้ติดตามพฤติกรรมการใช้จ่ายของตน ซึ่งแสดงด้วยกราฟที่ดึงดูดสายตา เมื่อผู้ใช้บันทึกค่าใช้จ่าย พวกเขาก็สามารถสร้างสิ่งปลูกสร้างในเมืองเสมือนจริงของตนเองได้

ความเสี่ยงของการเล่นเกม

การใช้ gamification อาจช่วยให้เราประหยัดเงินได้ แต่มันก็มีความเสี่ยงเช่นเดียวกัน การได้รับรางวัลต่าง ๆ เหล่านี้ อาจส่งผลต่อแรงจูงใจภายในของเรา ในการทำซ้ำพฤติกรรมนั้นทั้งด้านบวกและด้านลบ

นอกจากนี้ แอปด้านการเงินบางชนิดยังสามารถทำให้เราเสพติดกับมันและส่งเสริมพฤติกรรมทางการเงินที่มีความเสี่ยงได้เช่นเดียวกัน

ตัวอย่างเช่น Robinhood ใช้เมตริกที่ดึงดูดสายตา และองค์ประกอบเกมที่เหมือนลอตเตอรี่ เพื่อสร้างแรงจูงใจในการซื้อขายหุ้นและสกุลเงินดิจิทัล

ซึ่งสุดท้าย แอปใดๆ ที่ช่วยให้เรามีประสิทธิภาพมากขึ้นโดยเฉพาะในเรื่องพฤติกรรมทางด้านการเงิน อาจเป็นแอปที่ดี แต่ก็ต้องมีการทำความเข้าใจเกี่ยวกับประโยชน์และโทษของ gamification อย่างแท้จริง

ดังนั้น ในอนาคต gamification จะเข้ามามีบทบาทกับมนุษย์เรามากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะในเรื่องการปรับพฤติกรรมทางด้านการเงินของเราซึ่งสุดท้ายมันคือการช่วยให้เรา ‘อัพเลเวลในชีวิตจริง’ ไม่ใช่แค่การอัพเลเวลในเกมอีกต่อไปนั่นเองครับผม

References : https://www.finextra.com/blogposting/19896/gamification—a-good-idea-for-a-serious-topic-like-financial-services
https://www.tandfonline.com/doi/full/10.1080/17530350.2021.1882537
https://bigthink.com/mind-brain/gamification
https://www.linkedin.com/pulse/gamification-financial-services-robert-zepeda/
https://www.noblesystems.com/gamification-for-financial-services/


 


ติดตามสาระดี ๆ อัพเดททุกวันผ่าน Line OA



Geek Forever Club พื้นที่ของการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ



Geek Forever’s Podcast


“Open Your World With Technology


AI , Blockchain และเทคโนโลยีใหม่ ๆ กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในหลายธุรกิจ ทั้ง แวดวงการเงิน สุขภาพ หรือ งานด้านบริการต่าง ๆ ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจเกี่ยวกับ AI หรือ Machine Learning

Podcast ของผมจะเล่าเรื่องราวต่าง รวมถึงเรื่องที่ผมสนใจอื่น ๆ เช่น startup หนังสือ หนัง หรือ กีฬาฟุตบอล อยากชวนคนที่สนใจให้ลองมาติดตาม podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Youtube
ฟังผ่าน Youtube