การจากลาของ Ilya Sutskever เมื่อทีมที่รับผิดชอบด้านการปกป้องมนุษยชาติของ OpenAI กำลังถูกทำลาย

ในทางการเมืองหากหัวหน้ากลุ่มรัฐประหารกระทำการยึดอำนาจไม่สำเร็จ กลุ่มคนเหล่านั้นก็จะกลายเป็นกบฏทันที เฉกเช่นเดียวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่สั่นสะเทือนโลกเทคโนโลยีในมุ้งของ OpenAI

มันเป็นช่วงเวลา 72 ชั่วโมงที่น่าตื่นเต้นที่สุดสำหรับชายอย่าง Ilya Sutskever แต่มันก็เป็นจุดสิ้นสุดของการเดินทาง 15 ปี ที่ทำให้เขาเติบโตจากนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาที่ทดลองกับอัลกอริธึมที่ไม่เป็นที่รู้จักไปสู่การเป็นผู้นำการรัฐประหารที่ปลดหนึ่งในบุคคลที่โดนเด่นที่สุดใน Silicon Valley อย่าง Sam Altman

แต่สุดท้าย Sutskever ก็เป็นได้เพียงแค่กบฏ …

Sutskever ที่ถือได้ว่าเป็นหนึ่งในลูกศิษย์ของปรมาจารย์ AI อย่าง Andrew Ng และได้เข้าร่วมสุดยอดทีม AI อันดับต้น ๆ ของโลกอย่าง Google Brain ก่อนที่จะถูกชักชวนโดย Elon Musk ให้มาร่วมงานเป็นหัวหน้านักวิทยาศาสตร์ด้าน AI ที่ OpenAI

รากเหง้าของ OpenAI

ในงานเลี้ยงอาหารค่ำในปี 2015 ที่ Rosewood Sand Hill โรงแรมสุดหรูใน Silicon Valley ในตอนนั้น Google เพิ่งเข้าซื้อกิจการของ Deepmind บริษัทสตาร์ทอัพด้าน Neural Network จากลอนดอน

ทุกคนในแวดวงเทคโนโลยีต่างมองไปในทิศทางเดียวกันว่า Google มีความได้เปรียบอย่างมากที่จะพัฒนาเทคโนโลยี AGI ซึ่งเป็นระบบ AI ที่มีความสามารถเทียบเท่ากับมนุษย์เมื่อเผชิญกับงานที่ไม่คุ้นเคย

ในงานเลี้ยงอาหารค่ำทั้ง Altman และ Musk พร้อมด้วยคนอื่น ๆ ได้พูดคุยเกี่ยวกับเริ่มต้นห้องปฏิบัติการด้าน AI ที่มีความโปร่งใส เปิดเผยแหล่งที่มา และอุทิศตนเพื่อทำให้ประโยชน์ของเทคโนโลยี AI ขั้นสูงมีความเป็นประชาธิปไตยสำหรับทุกคน

นั่นทำให้ในวันนั้น Musk และสมาชิกคนอื่น ๆ ของกลุ่ม “PayPal Mafia” รวมถึง Peter Thiel และ Reid Hoffman ได้ลงทุนหลายล้านดอลลาร์เพื่อให้ห้องปฏิบัติการด้าน AI แนวคิดใหม่นี้เกิดขึ้นได้

Musk ที่เป็นตัวตั้งตัวตีในการสร้าง OpenAI (CR:Britannica)
Musk ที่เป็นตัวตั้งตัวตีในการสร้าง OpenAI (CR:Britannica)

OpenAI ซึ่งเปิดตัวในปี 2015 แต่หลังจาก Musk ต้องการที่จะเข้ามาควบคุมและพ่ายแพ้ในการต่อสู้เพื่อแย่งชิงบริษัทในปี 2018 ทำให้องค์กรแห่งนี้ที่ต้องการทรัพยากรโดยเฉพาะด้านการเงินรวมถึงพลังในการประมวลผลได้หันไปจูบปากกับ Microsoft

Altman ได้ปรับรูปแบบองค์กรใหม่สร้างหน่วยธุรกิจที่ต้องมีการหากำไรภายใต้องค์กรหลักที่เป็นองค์กรไม่แสวงหาผลกำไร ซึ่งเป็นโครงสร้างที่ผิดเพี้ยน และมีส่วนสำคัญที่ทำให้เขาถูกไล่ออกชั่วคราวก่อนที่จะกลับมายึดอำนาจคืนได้สำเร็จเมื่อปลายปีที่แล้ว

ซึ่งนับตั้งแต่แยกทางกับ OpenAI เรียกได้ว่าตอนนี้ทั้ง Musk และ Altman แทบจะไม่เผาผีกันแล้ว มีการโจมตีกันด้วยถ้อยคำที่รุนแรงผ่านเครือข่ายโซเชียลมีเดียรวมถึงในสถานที่สาธารณะอื่น ๆ มันน่าสนใจว่ามันเกิดอะไรขึ้นกันแน่ในความสัมพันธ์ของทั้งคู่

นับตั้งแต่แยกทางกับ OpenAI ทาง Musk เองได้แสดงท่าทีที่รังเกียจเอามาก ๆ กับทิศทางใหม่ของ OpenAI ภายใต้การนำของ Altman โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจาก OpenAI ยอมรับการลงทุนหลายพันล้านดอลลาร์จาก Microsoft

ภายในปี 2021 บริษัทได้เปิดตัว DaLL-E ซึ่งเป็น AI ที่ใช้ในการสร้างรูปภาพที่ทำให้ผู้คนเริ่มหันมาสนใจ แต่หลังการเปิดตัว ChatGPT ในปี 2022 มันล้ำหน้ามากจนสามารถดึงดูดความสนใจจากทั่วโลกได้แทบจะทันที

“OpenAI ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเป็นโอเพ่นซอร์ส (ซึ่งนั่นคือเหตุผลที่ทำไมมันถึงถูกเรียกว่า ‘OpenAI’) บริษัทที่แต่เดิมตั้งขึ้นเพื่อไม่แสวงหาผลกำไรและคอยสร้างแรงกดดันให้กับบริษัทอย่าง Google แต่ตอนนี้ได้กลายสภาพเป็นบริษัทที่ปิดแหล่งที่มาและมุ่งเน้นผลกำไรสูงสุดที่ควบคุมโดย Microsoft ได้อย่างมีประสิทธิภาพ”

Musk ได้ทวีตไว้เมื่อต้นปี “มันไม่ใช่สิ่งที่ผมตั้งใจไว้เลย”

Musk เองได้เตือนมานานถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากเทคโนโลยี AI ขั้นสูงที่อาจจะสร้างภัยอันตรายต่อมวลมนุษยชาติ แต่เขาก็ยังเห็นถึงศักยภาพหากเทคโนโลยีนี้ได้รับการพัฒนาอย่างปลอดภัย

และก้าว Boom ขึ้นมาของเทคโนโลยี AI นี่เองที่นำไปสู่ความแตกแยกใน Silicon Valley ที่ด้านหนึ่งเรียกว่ากลุ่ม Doomers ซึ่งเชื่อว่าหากปล่อยให้ AI ก้าวไปข้างหน้าโดยไม่ได้รับการตรวจสอบอย่างเข้มงวดจะก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อมนุษยชาติ และด้วยเหตุนี้จึงสนับสนุนให้มีกฎระเบียบที่เข้มงวดยิ่งขึ้น

อีกฟากฝั่งเรียกตัวว่า Boomers ที่เน้นย้ำถึงการผลักดันศักยภาพของเทคโนโลยี AI ขัดขวางกฎระเบียบต่าง ๆ ที่จะเข้ามาจัดการหรือควบคุม AI และผลักดันให้ใช้เชิงพาณิชย์และสร้างกำไรจากเทคโนโลยีให้ได้มากที่สุด

กลุ่ม Boomers ใช้แนวคิดที่เรียกว่า “effective accelerationism” ซึ่งไม่เพียงแต่ผลักดันให้ AI พัฒนาต่อไปโดยไม่มีอุปสรรคเพียงเท่านั้น แต่ยังควรเร่งความเร็วมันอีกด้วย ผู้นำในเรื่องนี้คือ Marc Andreessen ผู้ก่อตั้ง Andreessen Horowitz บริษัทร่วมลงทุนผู้หิวกระหายเงิน

กลุ่ม Doomers ถือเป็นผู้บุกเบิกการแข่งขัน AI ในยุคแรกมีทุนหนา ในขณะที่ฝั่ง Boomers ขยับจี้ขึ้นมาอย่างรวดเร็ว แม้จะเป็นบริษัทขนาดเล็กกว่าและชอบรูปแบบของการเป็นโอเพ่นซอร์สมากกว่าก็ตามที

การจากลาของ Sutskever

มันเป็นเวลาหลายเดือนแล้วที่ OpenAI สูญเสียพนักงานคนสำคัญ โดยเฉพาะกลุ่มที่เป็นกบฏคิดรัฐประหาร Altman แต่ไม่สำเร็จ ซึ่งคนส่วนใหญ่ในกลุ่มนี้ให้ความสำคัญกับการทำให้ AI มีความปลอดภัยต่อมวลมนุษยชาติ

ซึ่งต้องบอกว่า Sutskever เป็นผู้นำของทีม Superalignment ของบริษัท ซึ่งเป็นทีมที่ได้รับมอบหมายให้ทำให้แน่ใจว่า AI จะสอดคล้องกับเป้าหมายของผู้สร้าง แทนที่จะกระทำการอย่างคาดเดาไม่ได้และเป็นอันตรายต่อมนุษยชาติ โดยใช้พลังการประมวลผลของบริษัทราวๆ 20% เพื่อให้แน่ใจว่าระบบ AI ที่สร้างขึ้นจะไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์

แน่นอนว่า Sutskever ไม่ใช่คนเดียวที่จากลา ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว เมื่อคณะกรรมการของ OpenAI พยายามรัฐประหาร Altman พนักงานที่คำนึงถึงความปลอดภัยมากที่สุดของบริษัทอย่างน้อยห้าคนก็ได้ลาออกหรือถูกไล่ออกไป

สื่อต่างประเมินการลาออกของ Sutskever ว่าเขาไม่ได้เพียงแค่มองเทคโนโลยีในแง่ร้ายเพียงเท่านั้น แต่สาเหตุสำคัญที่ลาออกไปก็คือ เขาเริ่มมองโลกในแง่ร้ายเกี่ยวกับมนุษย์เสียมากกว่า และโดยเฉพาะมนุษย์ที่ชื่อ “Altman” ที่เหล่าพนักงานที่เคยศรัทธาในตัวเขาเริ่มทยอยจากลาไป

Sutskever ที่เริ่มมอง Altman เปลี่ยนไป (CR:EU Reporter)
Sutskever ที่เริ่มมอง Altman เปลี่ยนไป (CR:EU Reporter)

มันเป็นเรื่องของความไม่ไว้วางใจในตัว Altman โดยเฉพาะ แน่นอนว่าเรื่องราวเหล่านี้ไม่ได้มีการเปิดเผยต่อสาธารณะ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ OpenAI บังคับให้พนักงานลงนามในข้อตกลงการเลิกจ้างพร้อมกับห้ามแพร่งพรายข้อมูลภายในเป็นเด็ดอันขาด มิฉะนั้นพนักงานคนนั้นอาจจะสูญเสียผลประโยชน์ที่ได้รับจากบริษัทหลายล้านดอลลาร์เลยทีเดียว

แม้ในพื้นที่สาธารณะ จะมีการเล่นละครที่แสดงให้เห็นถึงมิตรภาพระหว่าง Sutskever กับ Altman ซึ่ง เมื่อ Sutskever ได้ลาออกไป Altman ได้โพสต์บน X ว่า “Sutskever กำลังมุ่งไปที่โครงการส่วนตัวที่มีความหมายกับตัวผมมาก” และยังโพสต์ต่ออีกว่า “นี่เป็นเรื่องน่าเศร้าสำหรับผมมาก Ilya Sutskever คือ ….เพื่อนรัก”

ซึ่งดูจากการโพสต์และท่าทีของ Sutskever ก็รู้ว่ามันเป็นการเล่นละครของ Altman เพียงเท่านั้น เพราะไม่มีใครเห็น Sutskever ที่สำนักงาน OpenAI เป็นเวลาประมาณหกเดือนแล้วนับตั้งแต่ความพยายามในการรัฐประหารของเขา

Sam Altman กับคำถามเรื่องจริยธรรม

ความวัวไม่ทันหายความควายก็เข้ามาแทรกทันที เพราะเหตุการณ์สุดเหลือเชื่อจากการกระทำของ CEO บริษัทระดับท็อปอย่าง OpenAI ก็เกิดขึ้น

เมื่อ Sam Altman ที่ต้องการจ้างนักแสดงชื่อดังอย่าง Scarlett Johansson เมื่อปีที่แล้วให้พากย์เสียงให้กับโมเดล GPT-4o ซึ่งทางนักแสดงได้ปฏิเสธข้อเสนอดังกล่าวไปด้วยเหตุผลส่วนตัว

แต่เมื่อ GPT-4o เปิดเผยให้โลกได้ยลโฉม Johansson ก็ตกใจและรู้สึกโกรธมาก ๆ เมื่อโมเดล AI มีเสียงคล้ายกับเธอมาก และเธอเองก็ได้ว่าจ้างทนายและได้เขียนจดหมายสองฉบับถึง Altman เพื่อขอให้ OpenAI ให้รายละเอียดว่าทำการสร้างเสียงของ Sky (AI) ได้อย่างไร

 Scarlett Johansson ที่รู้สึกโกรธเป็นอย่างมาก (CR:Wikimedia common)
Scarlett Johansson ที่รู้สึกโกรธเป็นอย่างมาก (CR:Wikimedia common)

และที่น่าอับอายที่สุดของเป็นโพสต์ใน X ของ Altman เองที่ได้โพสต์คำว่า “Her” ซึ่งอ้างอิงภาพยนตร์ชื่อเดียวกับที่ Johansson พากเสียงให้กับผู้ช่วย AI ที่สร้างความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับมนุษย์ในเรื่อง

เอาจริง ๆ เรื่องนี้มันเป็นเรื่องที่ไม่น่าให้อภัยที่คนระดับ CEO กระทำการที่หลุดได้ขนาดนี้ ทำให้หลาย ๆ สื่อตั้งคำถามถึงเรื่องจริยธรรมที่เริ่มไม่ไว้วางใจในตัว Altman ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลหลุดที่ออกมาเกี่ยวกับ Sutskever

แม้ OpenAI จะพยายามแถว่า Sky ไม่ใช่เสียงเลียนแบบของ Johansson เพราะจริง ๆ แล้วมันเป็นของนักแสดงมืออาชีพคนอื่นที่บริษัทไม่ได้เอ่ยนาม เพราะต้องการปกป้องความเป็นส่วนตัวของเขา แต่ใครจะไปเชื่อเรื่องราวเหล่านี้ โดยเฉพาะกับการกระทำของ Altman ที่ต้องการให้ทุกคนเข้าใจว่าเป็นเสียงของ Johansson

บทสรุป

มีคำถามมากมายเกี่ยวกับอนาคตของ OpenAI ซึ่งการที่สุดยอดพนักงานหัวกะทิระดับ Sutskever ยังต้องจากลา รวมถึงพนักงานระดับเทพอีกหลายคนที่ทยอยออกไปก่อนหน้านี้

รวมถึง OpenAI ยังเผชิญกับการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นจากบริษัทเทคโนโลยีรายอื่น ๆ เช่น Google ซึ่งกำลังลงทุนอย่างหนักในการวิจัยและพัฒนา AI มีการปรับโครงสร้างองค์กรครั้งใหญ่รวม Google Brain เข้ากับ Deepmind และมีโอกาสูงที่จะกลับมาแซงหน้า OpenAI ได้

ในเชิงโครงสร้างองค์กรของ OpenAI สถานการณ์ในตอนนี้เรียกได้ว่า Altman เข้ามากุมอำนาจแบบเบ็ดเสร็จได้เป็นที่เรียบร้อย หลักจากได้ทยอยบีบคนที่เห็นต่างออกไปทีละคนจนแทบจะหมดสิ้นไปแล้ว

มันมีบทความหนึ่งจากสื่อชื่อดังอย่าง The Economist ที่วิเคราะห์ตัวของ Altman ว่าชายคนนี้เป็นยอดอัจฉริยะตัวจริง หรือเป็นเพียงแค่นักฉวยโอกาส เพราะเส้นทางชีวิตของเขาตั้งแต่ที่ y Combinator นั้นก็ถูกตั้งคำถามมาโดยตลอด

ที่ Y Combinator เขาเป็นผู้นำตั้งแต่ปี 2014 และก็โดนไล่ออกในปี 2019 เนื่องจากพยายามที่จะ scale บริษัทอย่างรวดเร็วจนเกินไป ที่ OpenAI เขาก็ทะเลาะกับผู้คนไปทั่วแม้กระทั่ง Elon Musk และรายล่าสุดอย่าง Sutskever

หากมีสิ่งที่ที่ชัดเจนมาก ๆ ในตัวของ Altman นั่นก็คือความทะเยอทะยาน แม้มันจะเป็นสิ่งปรกติในแวดวง Silicon Valley แต่เป้าหมายของเขาในครั้งมันดูใหญ่ยิ่ง เพราะมันคือเทคโนโลยีที่จะกุมอำนาจทุกอย่างและไม่มีอำนาจไหนที่จะเหนือไปกว่าอำนาจในการควบคุมเทคโนโลยี AI นี้อีกแล้ว

Paul Graham ผู้ร่วมก่อตั้ง y Combinator เคยกล่าวคำที่น่าสนใจถึง Altman ที่ขณะนั้นอายุเพียง 20 ต้น ๆ ไว้ว่า “เขา (Altman) สามารถโดดร่มเข้าไปในเกาะที่เต็มไปด้วยมนุษย์กินคน และเมื่อเวลาผ่านไปห้าปี เขา (Altman) จะได้เป็นกษัตริย์ในเกาะที่เต็มไปด้วยมนุษย์กินคนแห่งนี้”

คงเป็นคำที่ฉายภาพชายคนนี้ได้ชัดเจนที่สุดเลยทีเดียว …

References :
https://www.vox.com/future-perfect/2024/5/17/24158403/openai-resignations-ai-safety-ilya-sutskever-jan-leike-artificial-intelligence
https://fortune.com/2024/05/14/openai-chief-scientist-ilya-sutskever-is-leaving-sam-altman/
https://www.forbes.com/sites/antoniopequenoiv/2024/05/21/sam-altman-apologizes-to-scarlett-johansson-over-openai-chatbot-voice-she-called-eerily-similar-to-hers/?sh=349815d02c86
https://www.economist.com/business/2023/11/22/the-many-contradictions-of-sam-altman

มาสด้าผนึกผู้จำหน่ายทั่วประเทศรวมพลังเป็นหนึ่งเดียว จัดประชุมใหญ่ Mazda Mirai ก้าวที่แข็งแกร่งสู่การเติบโตที่ยั่งยืน

มาสด้าผนึกผู้จำหน่ายทั่วประเทศรวมใจเป็นหนึ่งเดียว เข้าร่วมประชุมประจำปีงบประมาณ FY2024 หรือ Mazda Dealer National Conference ภายใต้ธีม Mazda Mirai 2024 และแนวคิด “Reinvent for a Sustainable Future” ประกาศยึดมั่นนโยบายการเอาใจใส่ดูแลลูกค้าให้ดีที่สุด Customer Experience Management สร้างสรรค์ประสบการณ์ลูกค้าและมอบสิทธิประโยชน์เกินกว่าที่ลูกค้าคาดหวัง

ย้ำการสร้างแบรนด์คือหนทางสู่การเติบโตที่ยั่งยืน มุ่งมั่นสร้างแบรนด์ให้แข็งแกร่งและน่าเชื่อถือ เดินหน้าสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าจากอดีตและตลอดไป ให้เกิดเป็นความผูกพันเหมือนคนในครอบครัวเดียวกัน

โดยมีเป้าหมายและพันธกิจไปในทิศทางเดียวกัน พร้อมให้คำมั่นสัญญาว่าจะส่งมอบคุณค่าของแบรนด์จากรุ่นสู่รุ่น โดยมีผู้จำหน่ายมาสด้าทั่วประเทศ คณะผู้บริหารระดับสูงจาก มาสด้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น คณะผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ มาสด้า เซลส์ ประเทศไทย พร้อมพันธมิตรทางธุรกิจ เข้าร่วมการประชุมอย่างพร้อมเพรียงกัน

การประชุมผู้จำหน่ายประจำปี หรือ Mazda Mirai 2024 มาสด้าได้นำเสนอนโยบายและแผนธุรกิจระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว ทำให้ผู้จำหน่ายเห็นทิศทางที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้น สร้างความเชื่อมั่นและเกิดความร่วมมือเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันมุ่งสู่เป้าหมายร่วมกัน

ภายใต้แนวคิด Reinvent for a Sustainable Future ผ่าน 3 คีย์เวิร์ดสำคัญ คือ Reinvention หมายถึงการปรับและเปลี่ยนวิธีคิดการทำงานเพื่อให้ทันกับสถานการณ์โลกธุรกิจในปัจจุบันที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว Sustainability คือการเติบโตอย่างแข็งแกร่งและยั่งยืน

ไม่เพียงในแง่ของการดำเนินธุรกิจเท่านั้น แต่รวมถึงผู้คนที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้โลกของเรายังคงสวยงาม เพื่อสร้างสรรค์สังคมให้น่าอยู่ยิ่งขึ้น และ Future คืออนาคตที่พวกเราจะก้าวเดินไปพร้อมกัน ระหว่าง มาสด้า เซลส์ ประเทศไทย และผู้จำหน่าย ประสานมือสร้างพันธกิจร่วมกัน โดยมีเป้าหมายสูงสุดคือการส่งมอบความสุขให้กับลูกค้ามาสด้าตลอดไป

มร. ทาดาชิ มิอุระ ประธานบริหาร บริษัท มาสด้า เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ในปีงบประมาณ 2567 มาสด้ายังคงเดินหน้าตามแผนการดำเนินธุรกิจสู่ความยั่งยืนในระยะยาว สิ่งสำคัญที่จะทำให้มาสด้าเกิดความแข็งแกร่งจึงไม่ใช่การขายรถใหม่เพียงอย่างเดียว ทุกภาคส่วนต้องสร้างความรัก ความผูกพัน

ให้ลูกค้าสัมผัสได้ถึงประสบการณ์ที่ดี จนเกิดเป็นความประทับใจ กลับมาซื้อซ้ำ และเป็นเจ้าของรถยนต์มาสด้าได้ทุกรุ่น ทุกช่วงเวลาของชีวิต กลายมาเป็น “มาสด้า แฟมิลี่” นั่นคือแก่นแท้ของการดำเนินธุรกิจในรูปแบบของ Retention Business คือการดูแลเอาใจใส่ลูกค้าให้ดีที่สุด

รวมถึงการแนะนำจุดเด่นของรถมาสด้าให้กับคนอื่นๆ ต่อไป มาสด้าเชื่อว่าแนวทางการทำธุรกิจด้วยวิถีนี้จะนำไปสู่การเติบโตที่ยั่งยืน พร้อมยกระดับประสบการณ์ลูกค้าอย่างเต็มกำลัง และให้ความสำคัญสูงสุดต่อการสร้างแบรนด์ Brand Value Management โดยเฉพาะการบริการหลังการขายให้ถือเป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ ตามกลยุทธ์ Retention Business Model

ตั้งเป้าเป็นแบรนด์อันดับหนึ่งที่ลูกค้าเลือก Top Customer Retention และเป็นอันดับหนึ่งด้านการบริการ Top Service Retention เพื่อส่งมอบรอยยิ้มและความสุขให้ลูกค้า Joy Drives Lives โดยเฉพาะผลประกอบการของผู้จำหน่ายต้องแข็งแกร่งและเติบโตอย่างยั่งยืนไปพร้อมกัน

นายธีร์ เพิ่มพงศ์พันธ์ รองประธานบริหารอาวุโส บริษัท มาสด้า เซลส์ (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า ก้าวต่อไปของมาสด้าคือการสร้างธุรกิจให้เติบโตแบบยั่งยืน โดยเฉพาะนโยบายด้านการขายและการบริการ รวมถึงการสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้กับแฟนมาสด้า เนื่องจากเป็นกลยุทธ์สำคัญที่มาสด้าได้ดำเนินการมาตลอด 2-3 ปีนี้ และกำลังเห็นผลเป็นรูปธรรม เพื่อรักษาลูกค้าให้อยู่กับมาสด้าตลอดระยะเวลาที่ครอบครองรถมาสด้า

ถึงแม้ว่าวันนี้ลูกค้าจะมีทางเลือกที่หลากหลาย แต่เราก็ยังยืนหยัดที่จะเน้นนโยบาย เพื่อรักษาและดูแลฐานลูกค้าเก่าเป็นอันดับแรก นี่คือจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญต่อการดำรงอยู่อย่างมั่นคงของมาสด้าที่ประสบความสำเร็จมาแล้วทั่วโลกและกำลังเกิดขึ้นในประเทศไทย ด้วยแผนการดำเนินธุรกิจ Retention Business Model ซึ่งเป็นกลยุทธ์ใหม่ที่เคยประกาศไปก่อนหน้านี้

แต่เพิ่มเติมเป้าหมายใหม่ที่ท้าทายยิ่งขึ้น คือเป็นแบรนด์อันดับหนึ่งด้าน Customer Retention เป็นแบรนด์ที่ลูกค้าเลือกเป็นอันดับแรก และให้บริการลูกค้าจนเกิดความพึงพอใจ นำเสนอคุณค่าของแบรนด์ผ่านประสบการณ์และสร้างความพึงพอใจสูงสุด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนงานระยะกลาง Mid-Term Plan หัวใจหลักสำคัญคือการสร้างมูลค่าแบรนด์สู่การเติบโตอย่างยั่งยืนในอนาคต

เนื่องจากปัจจุบันรูปแบบการดำเนินธุรกิจเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว พฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนไป และมีทางเลือกที่หลากหลายมากขึ้น ดังนั้น การให้ความสำคัญกับการขายรถใหม่เพียงด้านเดียวอาจไม่เพียงพอที่จะทำให้ธุรกิจเกิดความแข็งแกร่งได้ แต่การเอาใจใส่ดูแลลูกค้าให้ครบทุกองค์ประกอบ คือหัวใจสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจของผู้จำหน่ายเติบโตอย่างมั่นคงและยั่งยืนเคียงข้างลูกค้าตลอดไป

สิ่งเหล่านี้ล้วนเป็นไปตามแนวทางการบริหารคุณค่าหลักของแบรนด์มาสด้า หรือ PPV ประกอบด้วย Purpose การสร้างคุณค่าและเติมเต็มความมีชีวิตชีวาให้กับผู้คนที่ได้สัมผัสกับแบรนด์มาสด้าในทุกประสบการณ์ และทุกช่วงเวลาของชีวิต ตามด้วย Promise คำมั่นสัญญาจากมาสด้า คือการยกระดับประสบการณ์ลูกค้าให้ครบทุกมิติได้อย่างสมดุล ทั้งทางด้านอารมณ์ความรู้สึกและกายภาพ รวมถึงชุมชนและสังคม

และคุณค่าหลักที่สำคัญอย่างยิ่งที่บุคลากรมาสด้าทุกคนยึดมั่น คือ Values หรือ คุณค่า ทัศนคติ แนวคิด และพฤติกรรม ให้ความสำคัญกับมนุษย์อย่างแท้จริง มีจิตวิญญาณนักสู้ ส่งมอบประสบการณ์ความประทับใจด้วยความใส่ใจและเป็นมิตรโดยไม่คาดหวังรางวัลตอบแทน โดยมีลูกค้าเป็นศูนย์กลางในทุกบริบท

นี่คือ แนวทางในการสร้างแบรนด์มาสด้าให้แข็งแกร่งและยั่งยืนตลอดไป เพื่อมุ่งสู่การเป็นแบรนด์อันดับหนึ่งในด้าน Customer Retention และ Service Retention เพื่อแทนคำมั่นสัญญาว่ามาสด้าจะเป็นแบรนด์ที่มอบความสุขและสร้างรอยยิ้มให้กับลูกค้า Joy Drives Lives แทนคำขอบคุณที่ลูกค้าไว้วางใจและเลือกใช้รถมาสด้าให้เป็นรถคู่ใจไปตลอดการเดินทาง