เป็นบทสัมภาษณ์สองเทพแห่งวงการเทคโนโลยีที่น่าสนใจจากช่อง Asia Society ทั้ง Dr. Morris Chang ผู้ก่อตั้ง Taiwan Semiconductor Manufacturing Company (TSMC) และ Joe Tsai ผู้ร่วมก่อตั้งและประธานของ Alibaba Group สองสุดยอดผู้นำธุรกิจและนักนวัตกรรมระดับโลก
ทั้งสองได้มาแบ่งปันมุมมองเกี่ยวกับภาวะผู้นำ การศึกษา และนวัตกรรมสำหรับโลกที่กำลังเผชิญความตึงเครียดจากปัญหาทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ เศรษฐกิจโลกที่กำลังแตกแยก และการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและสังคมอย่างรวดเร็ว โดยมี Ida Liu (Global Head of Citi Private Bank) เป็นผู้ดำเนินรายการ
Highlights
🌟 Dr. Morris Chang เล่าถึงวิสัยทัศน์เบื้องหลังการก่อตั้ง TSMC ในไต้หวัน และโมเดลธุรกิจที่พวกเขานำมาใช้
💡 Joe Tsai ได้แบ่งปันเส้นทางชีวิตจากการทำงานในวงการ private equity สู่การร่วมก่อตั้ง Alibaba กับ Jack Ma โดยเน้นย้ำถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจสำคัญ ๆ ของบริษัท
🌏 Dr. Morris Chang และ Joe Tsai ได้พูดคุยเกี่ยวกับการทะเลาะกันระหว่างสหรัฐอเมริกาและจีน โดยแสดงความกังวลเกี่ยวกับผลกระทบเชิงลบที่อาจเกิดขึ้นโดยเฉพาะในด้านนวัตกรรมทางเทคโนโลยี
🚀 Dr. Chang ได้แบ่งปันข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับวิวัฒนาการของเทคโนโลยีในการผลิตชิป โดยโฟกัสไปที่การพัฒนานวัตกรรมอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ล้ำหน้ากว่าคู่แข่งและปรับตัวให้เข้ากับแนวโน้มของอุตสาหกรรมที่เปลี่ยนแปลงไป
🧠 Dr. Chang เน้นย้ำถึงความสำคัญของการสร้างฐานความรู้ที่แข็งแกร่งในหลากหลายสาขา และการพัฒนาในเรื่องของวิสัยทัศน์ ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่จำเป็นสำหรับการเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพ
💡 Joe Tsai เน้นถึงคุณค่าของสติปัญญา ความฉลาดทางอารมณ์ (EQ) และความอ่อนน้อมถ่อมตัวในการเป็นผู้นำ โดยเน้นย้ำถึงความสำคัญของการจ้างบุคลากรที่มีความสามารถ
🌟Joe Tsai ได้พูดคุยเกี่ยวกับการเข้ามาเป็นเจ้าของทีมกีฬาอย่างไม่คาดคิดกับ Brooklyn Nets โดยเน้นย้ำถึงมูลค่าทางเศรษฐกิจของทีมกีฬาอาชีพในลีกสำคัญอย่าง NBA ของสหรัฐฯ
🎓 ทั้งสองท่านได้พูดถึงผลกระทบของการศึกษาต่อการพัฒนาบุคลากรที่มีความสามารถ โดย Dr. Chang ยอมรับถึงระบบโรงเรียนอาชีวศึกษาของไต้หวันในการสร้างแรงงานที่มีทักษะในภาคการผลิต ในขณะที่ Joe เน้นถึงประโยชน์ของการศึกษาระดับอุดมศึกษาของอเมริกาในการส่งเสริมนวัตกรรม
💻 Dr. Chang แบ่งปันข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่ TSMC โดยโฟกัสที่การพัฒนาชิปที่มีขนาดเล็กลงและประหยัดพลังงานมากขึ้น พร้อมทั้งยอมรับถึงข้อจำกัดของกฎของมัวร์ (Moore’s Law) ในการผลิตชิป
AI คำ Buzzword ที่แทบจะมีอยู่ทุกหนแห่ง มันเป็นอย่างที่โฆษณาไว้จริงหรือไม่? หรือเป็นแค่การหลอกลวงครั้งใหญ่? ในตอนนี้เราจะเห็นว่าแม้ AI จะมีประโยชน์บางอย่าง แต่ด้วยกระแสความนิยมของมันก็ส่งผลเสียต่อวงการเทคโนโลยีเช่นเดียวกัน
เป็นคลิปวีดีโอที่น่าสนใจจากช่อง ColdFusion นะครับที่ได้พูดถึงวิธีที่บริษัทเทคโนโลยีกำลังหลอกลวงผู้บริโภคด้วยคำโกหกคุยโวเกี่ยวกับเทคโนโลยี AI ตั้งแต่การโฆษณาเว่อร์เกินจริงไปจนถึงการออกมาบอกทุกวี่ทุกวันว่ามันจะมาแย่งงานมนุษย์ไปจนหมดสิ้น
Highlights
🤖 ประวัติศาสตร์การหลอกลวงด้วย AI: จาก Mechanical Turk ไปจนถึงระบบชำระเงินของ Amazon
🌐 การเติบโตของ AI washing : บริษัทต่างๆ หลอกลวงนักลงทุนด้วยการสร้างกระแส AI ปลอม ๆ ขึ้นมาเพื่อผลประโยชน์ส่วนตน
💸 ผลกระทบของกระแส AI: ฟองสบู่ที่อาจเกิดขึ้น รวมถึงผลิตภัณฑ์ AI ที่ล้มเหลว
📉 ผลกระทบของ AI ต่อการโยกย้ายงานและการเลิกจ้างครั้งใหญ่
💡 การสร้างสมดุลโดยตระหนักถึงศักยภาพของ AI ไปพร้อมๆ กับคำนึงถึงข้อจำกัดของมัน
🌟 การเรียกร้องให้มีแนวทางที่ต้องเปิดโอกาสให้มีการวิพากษ์วิจารณ์ เพื่อให้สามารถนำ AI ไปใช้เพื่อสร้างอนาคตที่ดีกว่า
Key Insights
🌐 ในปี 1770 Wolfgang Von Kempelen นักประดิษฐ์ชาวฮังการีได้เปิดตัวเครื่องเล่นหมากรุกอัตโนมัติที่เรียกว่า The Mechanical Turk เขาได้ตระเวนสาธิตไปทั่วยุโรป สิ่งประดิษฐ์ที่ใช้ในการเล่นหมากรุกนี้ชนะการแข่งขันส่วนใหญ่กับผู้เล่นหมากรุกมนุษย์จริงๆ และมีการกล่าวกันว่ามันสามารถเอาชนะผู้เล่นอย่าง Napoleon และ Benjamin Franklin ได้ด้วย และมันก็ดังกระฉูดจนกลายเป็นสิ่งมหัศจรรย์ในยุคนั้น
🤖 250 ปีต่อมาในปี 2016 Amazon ได้ทำเรื่องคล้ายๆ กัน ระบบชำระเงินของพวกเขาที่เรียกว่า Just Walk Out อนุญาตให้ลูกค้าเพียงแค่หยิบสินค้าจากร้านและเดินออกไปได้เลย ภายใต้ระบบนี้ ลูกค้าไม่จำเป็นต้องสแกนสินค้าด้วยตนเองที่จุดชำระเงิน การทำธุรกรรมและโลจิสติกส์ถูกจัดการโดยอัตโนมัติเบื้องหลังด้วย AI ซึ่งเป็นการผสมผสานอย่างลงตัวระหว่างระบบ Computer Vision, Sensor Fusion และ Deep Learning
ทุกอย่างไม่ได้เป็นอย่างที่เห็น เทคโนโลยีที่เรียกว่า AI ของ Amazon นั้นจริงๆ แล้วขับเคลื่อนโดยคนกว่าพันคนในอินเดียที่คอยดูและติด tag วิดีโอเพื่อให้แน่ใจว่าระบบการชำระเงินจะทำงานได้อย่างถูกต้อง การที่มนุษย์ติด tag ข้อมูลนั้นเป็นวิธีที่โมเดล AI มักจะได้รับการฝึกฝนในตอนแรกเช่นเดียวกัน ซึ่งก็ไม่มีอะไรผิด แต่ประเด็นคือการโฆษณาที่เว่อร์เกินจริงนั้นทำให้ทุกคนเข้าใจผิด แม้กระทั่งในปี 2022 ชาวอินเดียหนึ่งพันคนเหล่านี้ยังคงตรวจสอบการทำธุรกรรมถึง 70% ใน ร้าน Amazon Go 20 แห่ง ร้านขายของชำ Amazon Fresh 40 แห่ง และร้าน Whole Foods อีก 2 แห่ง
💸 บริษัทที่เข้าร่วมใน “AI washing” โฆษณาแบบโม้เกินจริงเกี่ยวกับความสามารถของผลิตภัณฑ์ AI ของตนเพื่อดึงดูดนักลงทุนและผู้บริโภค ซึ่งในที่สุดนำไปสู่ความคาดหวัง และอาจทำให้เกิดการล่มสลายของตลาดได้ในท้ายที่สุด
🧠 Gartner Hype Cycle สำหรับ AI ซึ่งดูเหมือนว่าเรากำลังอยู่ในช่วงของความคาดหวังที่เกินจริงของเทคโนโลยี AI และกำลังค่อยๆ เข้าสู่ช่วงเวลาแห่งความผิดหวัง ซึ่งหมายความว่าจะมีเรื่องน่าผิดหวังมากมายของเทคโนโลยีนี้รออยู่ข้างหน้า การประยุกต์ใช้ AI ที่แท้จริงจะเกิดขึ้นหลังจากที่กระแสเห่อของมันจางหายไป
🤯 การใช้เทคโนโลยี AI ในทางที่ผิดส่งผลให้เกิดผลลัพธ์ที่เป็นอันตราย เช่น AI chatbot ที่ให้ข้อมูลไม่ตรงประเด็น หรือสร้างข้อมูลเท็จและส่งไปยังหน่วยงานของรัฐ
👥 แม้ว่า AI จะมีศักยภาพในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของมนุษย์ แต่ก็มีความกังวลว่าอาจนำไปสู่การสูญเสียงานครั้งใหญ่ของมนุษย์ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรม เช่น การบริการลูกค้าและการขาย เนื่องจากบริษัทต่างๆ ให้ความสำคัญกับการใช้ระบบอัตโนมัติมากกว่าแรงงานมนุษย์
⚠️ แม้จะมีกระแสความนิยมในเทคโนโลยี AI แต่ก็มีการฉุกคิดมากขึ้นว่าคำคุยโม้โอ้อ้วดเกี่ยวกับเทคโนโลยี AI ยังไม่เป็นจริงทั้งหมด ทำให้เกิดแนวทางที่ระมัดระวังมากขึ้นสำหรับการนำไปใช้และผลกระทบต่อสังคม
🤔 เนื้อหาในวิดีโอนี้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการประเมินบทบาทของ AI ในเรื่องของแรงงาน และผลกระทบทางจริยธรรมของการแทนที่คนงานด้วย AI โดยเรียกร้องให้มีแนวทางที่สมดุลและโปร่งใสมากขึ้นในการนำ AI มาใช้
🔄 เทคโนโลยี AI กำลังเกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่การตระหนักถึงความเสี่ยงและข้อจำกัดที่อาจเกิดขึ้นของ AI ในขณะเดียวกันก็ยอมรับศักยภาพของมันในการเสริมพลังความสามารถให้กับมนุษย์และช่วยในการขับเคลื่อนนวัตกรรมในอนาคต
Opinion
ก็ต้องบอกว่าเทคโนโลยี AI ที่เราได้เห็นในปัจจุบันนี้คงไม่ได้เป็นเรื่องหลอกลวงทั้งหมด แต่มุมมองของเนื้อหาในวีดีโอในบางเรื่องมันก็น่าคิด โดยเฉพาะเรื่องของ AI Washing ซึ่งผมว่าแม้ในประเทศไทยก็คงเจอ เอะอะอะไรก็ AI ไว้ก่อนซึ่งบางครั้งคนที่นำไปใช้ก็ไม่ได้รู้จริงเกี่ยวกับเทคโนโลยีดังกล่าวนี้ดีนัก
แม้กระทั่งบริษัทยักษ์ใหญ่ เราเห็นพวกเขาหน้าแตกมาหลายครั้ง ตัวอย่างเช่น Google เอง ที่พยายามเข็นผลิตภัณฑ์ที่ยังไม่พร้อมออกมา แต่ดันโม้คุณสมบัติซะเว่อร์เกินจริง จนในที่สุดก็ถูกสื่อใหญ่แฉมาก่อนหน้านี้แล้ว