แค่เปลี่ยนผู้นำ องค์กรก็วิ่งฉลุยได้ในพริบตากับเคสตัวอย่างของ Microsoft

ถือว่าเป็นเคสตัอย่างการเปลี่ยนแปลงที่น่าสนใจเลยทีเดียว สำหรับ CEO ของคนปัจจุบันของ Microsoft อย่าง สัตยา นาเดลลา ที่ก้าวผ่านจากกลุ่มผู้ก่อตั้งเดิมอย่าง บิลล์ เกตส์  , สตีฟ บัลเมอร์. รวมถึง พอล อัลเลน  ซึ่ง CEO สองคนแรกของ Microsoft อย่าง. บิลล์ เกตส์ รวมถึง สตีฟ บัลมอร์ นั้น ถือเป็นกลุ่ม founder กลุ่มแรก ๆ ในการนำพา Microsoft ขึ้นสู่จุดสูงสุด

เมื่อเข้าสู่ยุคปลาย ของ CEO คนที่สองอย่างสตีฟ บัลเมอร์ ต้องบอกว่าแทบจะเป็นช่วงขาลงที่ตกต่ำที่สุดของ Microsoft เลยก็ว่าได้ มีการก้าวเดินที่ผิดพลาดหลายอย่างในยุคที่ สตีฟ บัลเมอร์ ขึ้นคุมบังเหียน ทั้งการพลาดในตลาดมือถือ ทั้งที่ตัวเองเป็นผู้นำอยู่ก่อนใน  smartphone ยุคก่อนหน้า iPhone ที่มี Windows Mobile ซึ่งถือว่าล้ำที่สุดในสมัยนั้นครองตลาดอยู่

การประเมินบริษัทอย่าง google ต่ำไป ทำให้กลายมาเป็นริษัทยักษ์ใหญ่ของโลกในปัจจุบัน กับการที่ออก Bing มาสู้ก็ถือว่าช้าเกินไปแล้ว google ได้ครองส่วนแบ่งตลาดไปเกือบแทบจะทั้งสิ้นแล้ว ทั้งที่ Microsoft นั้น เป็นบริษัทแรก ๆ ที่ทำให้ผู้คนทั่วไปสามารถเข้าสู่โลกอินเทอร์เน็ตได้ผ่านทาง Internet Exproler

Microsoft กลายเป็นบริษัทที่ใหญ่เทอะทะมีพนักงานมากมายแทบไม่เหลือเค้าลางของบริษัทนวัตกรรมเหมือนในอดีต. การบริหารก็มีลำดับชั้นมากมายแทบจะกลายเป็นรัฐราชการ ปัญหาเหล่านี้ IBM นั้นเคยประสบมาก่อน ซึ่งการเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ทำให้เคลื่อนที่ไปข้างหน้าได้ช้าไม่ได้สนับสนุนนวัตกรรมใหม่ ๆ เหมือนในอดีต

เมื่อถึงเวลา ก็ต้องเปลี่ยนผู้นำเพื่อรับการเปลี่ยนแปลงของโลก ที่คนยุคเก่า ๆ เริ่มตามไม่ทัน ซึ่งเป็นที่มาของหนังสือเล่มนี้. Hit Refresh ของ สัตยา นาเดลลา ที่เปรียบเสมือนการเข้ามา Refresh องค์กรใหม่ทั้งหมด ผ่านการบริหารงานของเขาหลังจากได้รับไม้ต่อมาจาก สตีฟ บัลเมอร์

การเปลี่ยนที่สำคัญที่สุดของ สัตยา นาเดลลา คือ วัฒนธรรมองค์กร ของ Microsoft เมื่อตอนที่เขาได้รับตำแหน่งนั้น องค์กรมีขนาดใหญ่เทอะทะ มาก ๆ การสั่งการเป็นลำดับขั้น ซึ่งเป็นปัญหาที่หลาย ๆ องค์กรใหญ่น่าจะเคยเจอ ทำให้ขับเคลื่อนเรื่องต่าง ๆ ได้ช้า มีการตัดสินใจหลายชั้นมากเกินไป โปรเจกต์หลาย ๆ ตัวถูกทิ้งไว้ ไม่ได้นำมาใช้ประโยชน์ให้กับบริษัท

และเริ่มที่จะปรับทิศทางผลิตภัณฑ์ของบริษัทใหม่ให้ก้าวทันสู่โลกยุคใหม่มากยิ่งขึ้น ไม่พึ่งพาเพียงแค่ windows และ office เหมือนอดีด ผลิตภัณฑ์สำคัญที่ช่วยพลิกโฉมหน้าของ microsoft ยุคใหม่คือ Cloud Service อย่าง Windows Azure ซึ่ง  สัตยา นาเดลลา ได้โฟกัส กับ cloud service เป็นอย่างมาก โดยให้เป็นผลิตภัณฑ์หลักของบริษัท ซึ่งทำให้บริการต่าง ๆ ของ Microsoft นั้นเปลี่ยนมาให้บริการบน cloud เช่น office365 ทำให้สามารถเพิ่มรายได้ให้กับ microsoft มหาศาล

การเท Windows Phone

ในยุคบัลเมอร์นั้นมีการตัดสินใจที่ถือได้ว่าผิดพลาดครั้งใหญ่ของ Microsoft ในการสร้างแพลตฟอร์มมือถือใหม่ ที่เป็นจอสัมผัสโดยใช้ code name ว่า “Windows Phone” ซึ่งจะมีการ Design Interface ของหน้าจอรูปแบบใหม่ที่เรียกว่า “Metro” และหันมาใช้เทคโนโลยีของตัวเองในการสร้างระบบปฏิบัติการใหม่นี้ขึ้นมาแทน

ในยุคนั้นสถานการณ์ของ Nokia ที่แม้จะยังคงเป็นผู้ผลิตมือถือรายใหญ่ที่สุดในโลกอยู่ แต่กราฟการเติบโตของพวกเขาเริ่มดิ่งลงเรื่อย ๆ โดยเฉพาะในตลาด smartphone ที่ Symbian โดนแย่งชิงตลาดจากทั้ง Android และ iOS ของ Apple อย่างหนักจนต้องมีการปลด CEO คนเก่าออกแล้วตั้ง Stephen Elop ที่เป็นอดีตลูกหม้อของ Microsoft ขึ้นมากุมบังเหียนแทน

ซึ่งสุดท้าย Elop ที่ด้วยความเป็นลูกหม้อเก่าของ Microsoft ก็ได้ตัดสินใจว่าจะร่วมวงกับ Microsoft ในการผลักดัน Windows Phone และรอให้ Windows Phone นั้นสมบูรณ์พร้อม

 Stephen Elop ที่เป็นอดีตลูกหม้อของ Microsoft ขึ้นมากุมบังเหียน Nokia (CR:Digital Trend)
Stephen Elop ที่เป็นอดีตลูกหม้อของ Microsoft ขึ้นมากุมบังเหียน Nokia (CR:Digital Trend)

โดยทั้ง 2 บริษัทจะใช้ระบบปฏิบัติการ Windows Phone เป็นแพลตฟอร์มหลักของ smartphone ของ Nokia โดย Nokia จะอาศัยความเชี่ยวชาญด้านการปรับแต่งฮาร์ดแวร์ การเลือกสรรซอฟต์แวร์ ภาษาที่รองรับและขีดความสามารถในการผลิตและการเข้าถึงตลาด

นอกจากนี้จะร่วมกันให้บริการเพื่อขับเคลื่อนสินค้าใหม่ ๆ เช่น Nokia Maps ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญของบริการเด่นของ Microsoft อย่าง Bing และ AdCenter แอพพลิเคชั่นและคอนเทนท์ของ Nokia จะรวมเข้ากับ Microsoft Marketplace ด้วยเช่นกัน

แต่ดูเหมือนกลยุทธ์ดังกล่าว ก็ไม่ได้ทำให้ Nokia สถานการณ์ดีขึ้นแต่อย่างใดจนสุดท้าย Microsoft ก็ได้เดินเกมเดิมพันครั้งสุดท้ายในตลาดมือถือ smartphone ด้วยการเข้า Take Over เอา Nokia มาครอบครองได้สำเร็จในช่วงปลายปี 2013 

แต่เนื่องด้วยความล่าช้าและการพัฒนาอย่างรวดเร็วของทั้ง android และ iOS ของ iPhone รวมถึงการที่ตัว Windows Phone ไม่ได้รับความสนใจจากเหล่านักพัฒนา และที่สำคัญด้วย UI ใหม่แบบ Metro นั้นทำให้เหล่านักพัฒนาแขยงที่จะร่วมวงด้วยเพราะมันมีความแตกต่างอย่างชัดเจนกับ iOS และ Android ที่พวกเขาแทบจะต้องพัฒนาแอปต่าง ๆ ขึ้นมาใหม่หมด

ทำให้แอปดี ๆ ที่คนใช้งานทั่วไปในทั้ง Android และ iOS ไม่มีการมาพัฒนาบนแพลตฟอร์มของ Windows Phone และมันก็ได้ทำให้ผู้ใช้งานแทบจะไม่สนใจ Windows Phone เลย

สัตยา นาเดลลาจึงได้ตัดสินใจทิ้งผลิตภัณฑ์ Windows Phone ที่ไม่น่าจะต่อกรได้กับยักษ์ใหญ่ได้อีกแล้ว ถือว่าเป็นการตัดสินใจที่สำคัญอย่างนึงของ สัตยา นาเดลลา ซึ่งมองว่าในระยะยาวการลงทุนด้าน Windows Phone นั้นไม่น่าจะสามารถแย่งส่วนแบ่งจากเจ้าตลาดอย่าง iOS และ Android ได้อีกต่อไปแล้ว

การตัดขาดทุนรวมถึงการโละพนักงานออกไปเป็นจำนวนมากเป็นสิ่งที่ยากของคนระดับ CEO แต่เพื่อพยุงบริษัทในระยะยาวนั้นต้องถือว่าเป็นการที่ตัดสินใจที่ถูกต้องอย่างยิ่ง

เดิมพันกับ OpenAI

การตัดสินใจที่สุดยอดอีกครั้งของสัตยา นาเดลลาก็คือการเข้าไปสนับสนุน OpenAI ตั้งแต่ในช่วงแรก ๆ และเน้นย้ำถึงบทบาทสำคัญของ Microsoft ในการเติบโตไปสู่บริษัททางด้านเทคโนโลยี AI ชั้นนำ

Microsoft ลงทุน 1 พันล้านดอลลาร์กับ OpenAI ในปี 2019 และตามมาด้วยการทุ่มทุนอีก 1 หมื่นล้านดอลลาร์ในปี 2021 โดยถึงแม้ Microsoft จะสนับสนุนทางการเงินจำนวนมากก็ตามแต่ Microsoft ก็ไม่ได้ถือกรรมสิทธิ์ใด ๆ ใน OpenAI แต่จะได้รับส่วนแบ่งกำไรแทน

สัตยา นาเดลลา ที่เดิมพันกับ openai ได้ถูกที่ถูกเวลาเป็นอย่างมาก (CR: Loas Angeles Times)
สัตยา นาเดลลา ที่เดิมพันกับ openai ได้ถูกที่ถูกเวลาเป็นอย่างมาก (CR: Loas Angeles Times)

มันเป็นการยกระดับโครงสร้างพื้นฐานด้าน AI ไปทั่วทุกมุมโลก เรียกได้ว่ายิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว เพราะเราจะเห็นข่าว Microsoft เข้าไปลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานด้าน cloud และ AI ไปทั่วโลก ซึ่งล่าสุดในการมาเยือนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็ประกาศเม็ดเงินลงทุนจำนวนมหาศาล ซึ่งสุดท้ายรายได้ก็จะหลั่งไหลกลับมาที่ Microsoft ผ่านโครงสร้างพื้นฐานที่สร้างขึ้นใหม่เหล่านี้

ตัวอย่างของการเปลี่ยนผู้นำก็พลิกบริษัทได้

ถ้าถามว่าในยุคปลายของ สตีฟ บัลเมอร์ ในตอนนั้นภาพลักษณ์ของ Microsoft ดูย่ำแย่ไปทุก ๆ อย่าง ทั้งเรื่องรายได้ ภาพลักษณ์ในเรื่องนวัตกรรม  ที่ไม่มีนวัตกรรมออกมาเลยจากฝั่ง Microsoft และสิ่งที่สำคัญคือ ไม่สามารถที่จะดึงดูดคนรุ่นใหม่ ๆ ให้มาทำงานได้ เพราะไม่มีความ cool ที่จะดึงดูดเด็กรุ่นใหม่ ๆ ให้เข้ามาร่วมงานได้อีกต่อไป

การแค่เพียงเปลี่ยนผู้นำเป็น สัตยา นาเดลลา ต้องบอกว่าเป็นการเลือกตัดสินใจที่ถูกต้องครั้งนึงของ Microsoft เพราะใช้เวลาเพียงแค่ไม่กี่ปี ทุกอย่างก็พลิกจากหน้ามือเป็นหลังมือภาพลักษณ์ของ Microsoft ดูดีขึ้นมาทันที ทั้งในเรื่องรายได้ กำไร ความเป็นบริษัทนวัตกรรม เริ่มดึงดูดคนรุ่นใหม่กลับมาทำงานได้อีกครั้ง

และเราจะเห็นได้ว่า การแค่เพียงเปลี่ยนเพียงผู้นำเป็น สัตยา นาเดลลา ต้องบอกว่าเป็นการเลือกตัดสินใจที่ถูกต้องอีกครั้งหนึ่งของ Microsoft เพราะใช้เวลาเพียงแค่ไม่กี่ปี ทุกอย่างก็พลิกจากหน้ามือเป็นหลังมือ สุดท้ายสามารถทะยานขึ้นกลับมาเป็นบริษัทที่มีมูลค่าสูงที่สุดในโลกได้อย่างที่เราเห็นกันในทุกวันนี้นั่นเองครับผม

“ลีโอ” คว้ารางวัลแบรนด์ยอดเยี่ยมบนโซเชียลมีเดีย 2 ปีซ้อน เวที Thailand Social Awards

“ลีโอ” คว้ารางวัลแบรนด์ยอดเยี่ยมบนโซเชียลมีเดีย (Finalist Best Brand Performance on Social Media) จากเวที Thailand Social Awards ซึ่งลีโอเป็นหนึ่งในแบรนด์ที่ได้รับรางวัลนี้ถึง 2 ปีติดต่อกัน จัดโดย บริษัท ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) จำกัด มอบรางวัลให้แก่แบรนด์และครีเอเตอร์ผู้ใช้โซเชียลมีเดียยอดเยี่ยม จากผลงานการสร้างสรรค์แคมเปญและครีเอทคอนเทนต์ได้อย่างมีคุณภาพ เพิ่มยอดเอนเกจเมนต์ และ Performance ต่างๆ จนครองใจผู้บริโภค 

คุณวาระ โชตน์ธเนส Division Manager – Brand Management บริษัท บุญรอดเทรดดิ้ง จำกัด เปิดเผยว่า “ลีโอเป็นแบรนด์ที่ให้ความสำคัญกับการสื่อสารอย่างมาก ซึ่งการสื่อสารในปัจจุบัน เป็นการสื่อสารผ่านช่องทางออนไลน์เป็นหลัก และลีโอได้ใช้ประโยชน์อย่างเต็มที่ในการรับฟังความต้องการของลูกค้า และสร้างการสื่อสารแบบสองทาง (2 Way Communication) เพื่อให้แบรนด์สามารถเชื่อมต่อกับผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ

โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลยุทธ์ Music Marketing ที่ใช้แพลตฟอร์มออนไลน์ทุกช่องทางโซเชียลมีเดีย เพื่อเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคเป้าหมายจำนวนมากและทรงพลัง จนสามารถคว้ารางวัลแบรนด์ยอดเยี่ยมบนโซเชียล มีเดีย (Finalist Best Brand Performance on Social Media) จากเวที Thailand Social Awards  2 ปีซ้อนในหมวดของผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม 

ปัจจุบันการสื่อสารตลาด สร้างแบรนด์ผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ โดยเฉพาะโซเชียลมีเดีย กลายเป็นช่องทางสำคัญในการเข้าถึงหรือ Reach การสร้าง Engagement กับผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งลีโอได้สร้างแฟนเพจบนเฟซบุ๊กและยูทูป ภายใต้ “LEO Thailand” ที่มียอดผู้ติดตามรวมกว่า 1 ล้านบัญชี  พร้อมกับครีเอทคอนเทนต์ อย่างการ Cover เพลงฮิต การจัด Leo Hurt Fest กิจกรรมลานลีโอออนไลน์  Leo Box Stage และ Leo Playroom เช่น การนำศิลปินต่างค่าย ต่างแนวเพลงมาแลกเพลงกันร้อง แลกกันเล่นดนตรีในแบบที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน  

สำหรับงานมอบรางวัล Thailand Social Awards เป็นงานประกาศรางวัลโซเชียลที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของประเทศไทย จัดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 12 โดย บริษัท ไวซ์ไซท์ (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทเทคโนโลยีผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ด้านการวิเคราะห์ข้อมูลตลาด มีการมอบรางวัลให้แก่แบรนด์และครีเอเตอร์ผู้ใช้โซเชียลมีเดียยอดเยี่ยมในสาขาต่างๆ รวมกว่า 300 รางวัล ใน 3 กลุ่มสาขาได้แก่ Best Brand Performance on Social Media, Best Content Performance on Social Media และ Best Creator Performance on Social Media โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิจากหลากหลายแวดวงร่วมเป็นคณะกรรมการตัดสิน