BYD , TikTok , Huawei , Xiaomi , Shein และ Temu กับเส้นทาง 100 ปีมาราธอนของพรรคคอมมิวนิสต์จีน

ถ้าย้อนไป 20 ที่แล้ว และกล่าวว่าจะมีบริษัทจีนเหล่านี้ขึ้นมาครองโลกธุรกิจในอุตสาหกรรมของตนเอง ผมว่าทุกคนคงขำก๊าก

ต้องบอกว่าเป็นเวลากว่า 40 ปีแล้วที่สหรัฐฯ มีบทบาทอย่างมากในการช่วยเหลือจีนในการสร้างเศรษฐกิจ พัฒนาขีดความสามารถทางวิทยาศาสตร์และการทหาร และก้าวขึ้นมาบนเวทีโลก

ถ้าย้อนกลับไปตั้งแต่ช่วงแรกเริ่มในการเปิดความสัมพันธ์กับจีน สหรัฐฯ เชื่อว่าการผงาดขึ้นมาของจีน ก็จะไม่ต่างจากประเทศอื่น ๆ ที่อเมริกาเคยชักใยได้ สุดท้ายก็จะมาร่วมมือกับพวกเขาในการสร้างความแข็งแกร่งให้กับอเมริกา

แต่จะเกิดอะไรขึ้นถ้าความฝันที่แท้จริงของจีนแล้ว พวกเขามีเป้าหมายเพื่อมาแทนที่อเมริกา และทำเฉกเช่นเดียวกับที่อเมริกาเคยเข้ามาเป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลกแทนที่จักรวรรดิอังกฤษ

มีข้อมูลจากหนังสือหลายๆ เล่มที่ตีแผ่เรื่องราวแผนอันลึกลับซับซ้อนของจีน ที่ต้องการเข้ามาแทนที่สหรัฐฯ ในฐานะมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลก

และพวกเขาจะต้องดำเนินการให้สำเร็จภายในปี 2049 ซึ่งเป็นวันครบรอบหนึ่งร้อยปีของการก่อตั้ง และสถาปนาสาธารณรัฐประชาชนจีน

กลยุทธ์ของจีนคือรูปแบบของ Unrestricted Warfare จีนยินดีต้อนรับการลงทุนจากทั่วทุกมุมโลก แต่จะไม่ยอมปล่อยให้นักลงทุนนำผลกำไรออกนอกประเทศ บริษัทของจีนสยายปีกไปทั่วทุกมุมโลก แต่ในประเทศพวกเขาจำกัดบริษัทต่างชาติที่เติบโตในจีนทุกรูปแบบ

แน่นอนว่าประเทศหนึ่งไม่ต้องการกองทัพขนาดใหญ่โตอีกต่อไปเพื่อพิชิตเป้าหมายในการเป็นมหาอำนาจ

เมื่อก่อนเราอาจจะเห็นประเทศมหาอำนาจต่างไล่ล่าเพื่อควบคุมประชากร ทรัพยากร หรือแม้กระทั่งเข้าควมคุมรัฐบาลของประเทศอื่น ๆ

แน่นอนว่าการใช้กำลังทหารนั้นเป็นเพียงวิธีการหนึ่งในการแสดงความก้าวร้าว แต่อีกวิธีหนึ่งในการบรรลุอำนาจในมุมมองของจีนนั่นก็คืออำนาจทางเศรษฐกิจ

มันคือการสร้างความเป็นต่อในขอบเขตการสู้รบอื่น ๆ ทั้งหมดเท่าที่จะเป็นไปได้ ซึ่งสามารถใช้เพื่อสร้างอิทธิพลและโน้มน้าวผู้นำทางการเมืองในต่างประเทศ ปิดปาก ซื้อหรือขโมยเทคโนโลยี

มันยังสามารถใช้ในการผลิตสินค้าราคาถูกและขับไล่คู่แข่งออกจากธุรกิจหรือทำให้เศรษฐกิจของคู่แข่งอ่อนแอลง

สามารถใช้เพื่อสร้างกองทัพนักวิชาการที่รวบรวมข่าวกรองทั้งเรื่องวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และนำไปใช้เพื่อบรรลุเป้าหมายอื่นๆ ได้

การพุ่งทะยานของธุรกิจจีน

ย้อนกลับไปเมื่อ 20 ที่แล้ว หากเราพูดถึงแบรนด์อย่าง BYD , TikTok , Huawei , Xiaomi , Shein และ Temu คิดว่าหลายๆ คนคงส่ายหัวไม่รู้จัก อาจจะมีเพียงแค่ Huawei ที่พอจะมีชื่อเสียงในกลุ่มธุรกิจโทรคมนาคมอยู่บ้าง

แต่หากพูดถึงที่เหลือพวกเขาเป็นแบรนด์ที่เพิ่งเกิดมาแทบจะทั้งสิ้น BYD ก่อตั้งขึ้นในปี 2003 เริ่มผลิตรถยนต์คันแรกในปี 2005 , TikTok ที่เริ่มจาก Douyin ก่อนจะแพร่กระจายไปตัวทั่วโลกผ่านแบรนด์ TikTok ที่เปิดตัวในปี 2016

Shein ก่อตั้งขึ้นในเมืองหนานจิงเมื่อเดือนตุลาคมปี 2008 โดยผู้ประกอบการที่เก่งด้านการทำตลาดผ่าน SEO อย่าง Chris Xu , ส่วน Temu แม้จะมีบริษัทแม่อย่าง PDD Holdings ยักษ์ใหญ่ด้านอีคอมเมิร์ซของจีน แต่แบรนด์ใหม่อย่าง Temu เพิ่งก่อตั้งเมื่อปี 2022 นี่เอง

หรือแบรนด์ Xiaomi ที่ตอนนี้ก้าวขึ้นมาท้าชนยักษ์ใหญ่จากทั้งเกาหลีใต้ หรือ ญี่ปุ่นในสินค้ากลุ่ม consumer electronics ก็ก่อตั้งขึ้นมาเมื่อปี 2010

จะเห็นได้ว่าแบรนด์เหล่านี้กำลังก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมตนเองโดยใช้ระยะเวลาไม่นานนัก ด้วยอัตราเร่งในการเติบโตแบบโครตไฮสปีด

นี่ยังไม่นับแบรนด์อื่นๆ อีกมากมายที่กำลังเจริญรอยตามรุ่นพี่ๆ และงอกขึ้นมาในแทบจะทุกอุตสาหกรรม รถไฟความเร็วสูง ชิป เครื่องบินพี่จีนก็พัฒนาของตัวเองเป็นที่เรียบร้อยซึ่งนั่นก็คือ Comac และพร้อมขึ้นมาท้าชนผู้นำอย่าง Boeing หรือ Airbus ในเร็ววันนี้ หรือแม้กระทั่งการท่องอวกาศที่พวกเขาได้ปักหมุดไปไกลแล้ว

ส่วน Huawei เองความจริงพวกเขาประกาศกร้าวอย่างชัดเจนมาก ๆ และดูเหมือนเส้นทางจะสดใสซะด้วยว่าจะก้าวขึ้นเป็นอันดับหนึ่งในตลาดสมาร์ทโฟนโลกภายในปี 2020

แต่ด้วยปัญหาเรื่องสงครามการค้า การแบนเทคโนโลยีจากสหรัฐอเมริกา ก็ทำให้พวกเขาต้องถอยทัพกลับไปเริ่มต้นสร้างตัวใหม่โดยเฉพาะเทคโนโลยีด้านชิปที่พวกเขาหรือแม้กระทั่งรัฐบาลจีนเองมองว่าคงยืมจมูกคนอื่นหายใจไม่ได้อีกต่อไป

และเมื่อต้นเดือนกันยายนปีที่แล้ว Huawei ได้ประกาศวางขายสมาร์ทโฟน Huawei Mate 60 ซึ่งใช้ขุมพลังชิปประมวลผล 7 นาโนเมตรได้สำเร็จ ซึ่งทำให้คู่แข่งทั่วโลกต่างสะพรึงกลัวและเต็มไปด้วยคำถามที่ว่า จีนทำมันได้อย่างไรในระยะเวลาอันสั้นเช่นนี้

จะเห็นได้ว่ารูปแบบของธุรกิจต่าง ๆ ของจีนนั้นคล้ายคลึงกันอย่างมาก เริ่มต้นก็หลอกล่อบริษัทจากต่างประเทศให้มาลงทุนผลิตในประเทศ และดึงดูดเอา knowhow ก่อนที่จะเร่งพัฒนาเทคโนโลยีของตนเองอย่างรวดเร็ว

และฐานผู้บริโภคในประเทศของพวกเขาที่ใหญ่โตมหาศาลทำให้พวกเขาสามารถที่จะทดลองสร้างนวัตกรรมต่าง ๆ และปรับปรุงคุณภาพของผลิตภัณฑ์ได้ตลอดเวลา และที่สำคัญประชาชนในชาติก็พร้อมใจกันอุดหนุนผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในประเทศตัวเองเสียด้วย

ทุกแบรนด์เหล่านี้ ล้วนสร้างนวัตกรรมแบบไม่หยุดยั้ง และพัฒนาด้วยความเร็วแบบไฮสปีด กอรปกับความสัมพันธ์ที่มีความลึกลับซับซ้อนกับทางรัฐบาลจีน ที่เหมือนจะอยู่เบื้องหลังบริษัทเหล่านี้แทบจะทุกแห่ง สามารถชี้เป็นชี้ตายอนาคตของบริษัทเหล่านี้ได้ ดูได้จากเคสตัวอย่างของการกวาดล้างบริษัทเทคโนโลยีในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา

มันเป็นยุทธศาสตร์ที่ถูกวางหมากไว้แทบจะทั้งหมดสอดประสานกันระหว่างองค์กรธุรกิจและภาครัฐของจีนที่คอยกำหนดแผนการที่สอดรับไว้ ตัวอย่างเช่น การวางโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ เช่น รถไฟความเร็วสูง ท่าเรือขนส่งสินค้าที่มีอยู่ทั่วโลกในขณะนี้

ซึ่งสุดท้ายมันก็จะเป็นไปตามแผนการ The Hundred-Year Marathon ของประเทศจีน ซึ่งดูจากสถานการณ์ในตอนนี้มันมีความเป็นไปได้ค่อนข้างมากที่พวกเขาก็จะก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลกโดยแทบจะไม่ต้องใช้กระสุนซักนัดเหมือนที่อเมริกาเคยล้มจักรวรรดิอังกฤษได้สำเร็จมาแล้วนั่นเองครับผม

References :
หนังสือ The Hundred-Year Marathon: China’s Secret Strategy to Replace America as the Global Superpower โดย Michael Pillsbury
หนังสือ Stealth War: How China Took Over While America’s Elite Slept โดย Robert Spalding
https://en.wikipedia.org/wiki/BYD_Auto
https://en.wikipedia.org/wiki/TikTok
https://en.wikipedia.org/wiki/Shein
https://en.wikipedia.org/wiki/Temu_(marketplace)
https://en.wikipedia.org/wiki/Xiaomi

MULA-X ร่วมมือกับ BOOKCAZE รวบรวม E-BOOKS กว่า 350 เล่ม ภายใต้ห้องสมุดออนไลน์

Mula-X บริษัทฟินเทคของไทยที่มุ่งเน้นเพิ่มโอกาสการเข้าถึงบริการทางการเงินแก่กลุ่มผู้บริโภคที่ขาดโอกาสในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประกาศความร่วมมือกับ Bookcaze แพลตฟอร์มการศึกษาที่นำเสนอ ebooks ที่หลากหลาย

ความร่วมมือในครั้งนี้ ช่วยส่งเสริมผลิตภัณฑ์ Earned Wage Access (หรือที่เรียกว่า Salary on Demand) และ Salary to Wallet ที่ให้บริการโดย MULA พันธกิจของ Mula-X คือการสร้างแพลตฟอร์มดิจิทัลที่ให้บริการทางการเงิน ช่วยให้พนักงานระดับ blue collar, pink collar และ grey collar เข้าถึงบริการทางการเงิน

พนักงานเหล่านี้ล้วนได้รับค่าจ้างเพียงค่าแรงขั้นต่ำและไม่เพียงพอต่อค่าครองชีพ โดยห้องสมุดออนไลน์ของ Mula มี e-books ให้เลือกมากกว่า 350 เล่ม เน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นของ Mula-X ในการให้ความรู้ที่จะนำพาไปสู่อิสรภาพทางการเงินที่ควบคู่ไปกับความรู้ทางการเงิน

การผสานรวมแอป MULA เข้ากับ Bookcaze ทำให้มีรายการ e-books ที่หลากหลายใน MULA E-Library ซึ่งครอบคลุมหลายหมวดหมู่ที่สำคัญ เช่น ความรู้ทางการเงิน การพัฒนาตนเอง การเลี้ยงดูบุตร และการดูแลสุขภาพ โครงการนี้สอดคล้องกับพันธกิจของ Mula-X ในการมอบทรัพยากรแบบองค์รวม เพื่อพัฒนาตนเองและการเงินของคนชุมชนให้ดียิ่งขึ้น

Lyn Kok ผู้ก่อตั้งและ CEO ของ Mula-X กล่าวว่า “การเป็นพันธมิตรกับ Bookcaze ร้านหนังสือดิจิทัลแบบครบวงจรนั้น เน้นย้ำความมุ่งมั่นของเราในการเป็นแพลตฟอร์มที่ช่วยเสริมศักยภาพรอบด้าน ซึ่งขยายออกไปไม่เพียงแต่บริการทางการเงินเท่านั้น สะท้อนให้เห็นถึงความทุ่มเทของเราในการทำให้ผู้ใช้บริการของเราได้มีอิสรภาพทางการเงิน ผ่านความรู้และการเรียนรู้ตลอดชีวิตที่แพลตฟอร์มของเราคัดสรรมาให้ ไม่ว่าจะเป็นความรู้ทางการเงินหรือการพัฒนาตนเอง”

“ทุกคนสามารถเข้าถึงบริการคลังความรู้ได้อย่างง่ายดายผ่านแอปพลิเคชัน MULA โดยการร่วมมือครั้งนี้ทำให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงบริการหนังสือ e-books ได้ฟรี และสามารถเลือกซื้อหนังสือได้ตามรายการที่คุณต้องการจาก Bookcaze นับเป็นอีกก้าวหนึ่งที่สำคัญในการบรรลุวิสัยทัศน์ของเราที่ต้องการเสริมศักยภาพบุคคล เพื่อให้เกิดความสำเร็จทั้งทางด้านการเงินและการดำเนินชีวิต”

ห้องสมุดออนไลน์ของ Mula เข้าถึงได้ง่ายเพียงผ่านแอป MULA ในคลิกเดียว สามารถรับบริการผ่านแอป MULA และ Bookcaze ได้อย่างราบรื่น หากต้องการเข้าถึงห้องสมุดออนไลน์ของ Mula ผู้ใช้จะต้องลงทะเบียนกับแอปพลิเคชัน MULA โดยสามารถดาวน์โหลดได้ทั้งใน App Store และ Google Play