Geek China EP22 : Alibaba: Other Innovation Innitiatives

EP นี้จะมาเล่าธุรกิจนวัตกรรมอื่นๆ ที่เริ่มต้นก่อตั้งหรือซื้อกิจการผ่านการลงทุนและรวบควบมารวมในเครืออาลีบาบาในช่วงระหว่างปี 2009-2015 อันได้แก่ 

1. ธุรกิจด้าน digital-navigation Amap 高德地图
2. ธุรกิจแอปการสื่อสารสนทนาสำหรับenterprise DingTalk 钉钉 รวมทั้งย้อนเล่าถึงบทเรียนของการกำเนิดและล่มสลายของแอปพลิเคชั่น Laiwang 来往
3. ธุรกิจ Local Consumers Services ที่รวมเอาข้าวสารข้อมูล lifestyle ในชีวิตของคนจีน Koubei口碑
4. ธุรกิจ Digital Health ที่ชื่อว่า Ali Health 阿里健康 (HK: 00241)

แต่ละธุรกิจทำอะไร มีกลยุทธ์อย่างไร ทั้งหมดติดตามได้ใน EP 22

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/35KBLy4

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/2lEqPPg

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
http://bit.ly/2kxHtQ3

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/2m0PTzR

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/koHUg0cSSig

Credit Image : https://www.laingbuissonnews.com/healthcare-markets-international-content/inbusiness-healthcare-markets-international-content/hong-kong-ali-health-raises-us1-3bn-in-hong-kongs-largest-healthcare-follow-on-offering/

Billion Dollar Loser ตอนที่ 8 : The Rising Son

เมื่อเข้าสู่เดือนมกราคมของปี 2016 Adam และผู้บริหารหลายรายของ WeWork ได้บินไปที่ประเทศอินเดีย เพื่อการประชุมทางด้านธุรกิจโดยมีเจ้าภาพคือ นายกรัฐมนตรีอินเดียอย่าง Narendra Modi ซึ่งต้องบอกว่าเศรษฐกิจอินเดียกำลังเติบโตอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน โดย GDP เพิ่มขึ้น 7% ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราที่แทบจะสูงที่สุดในโลกในยุคนั้น

Marc Schimmel หนึ่งในนักลงทุนของ WeWork ได้พยายามผลักดันให้ Adam นั้นหันมาโฟกัสที่ตลาดอินเดีย เพราะเป็นอีกหนึ่งตลาดที่กำลังเติบโตอย่างสูงมาก

และ Adam ก็ได้ใช้ช่วงเวลาดังกล่าวตระเวนทัวร์อินเดีย โดยเมื่อทีม WeWork ถึงมุมไบ Adam ก็ได้ไปพบปะกับนักธุรกิจท้องถิ่นหลายคนผ่านทาง Connection ของ Schimmel

โดยหนึ่งในนั้นคือ Jitu Virwani ผู้ประกอบการด้านอสังหาริมทรัพย์และชายที่ร่ำรวยที่สุดคนหนึ่งของอินเดีย ที่สนใจจะร่วมทุนกับ WeWork เพื่อขยายธุรกิจมายังประเทศอินเดีย

โดยในคืนสุดท้ายของเขาที่อินเดียนั้น Adam ได้ไปพบกับหนึ่งในบุคคลสำคัญมาก ๆ นั่นก็คือ Masayoshi Son ที่บาร์ชั้นบนสุดของอาคารแห่งหนึ่งในนิวเดลี

การประชุมดังกล่าว กำหนดขึ้นโดย Nikesh Arora รองประธานของ Softbank ซึ่งก่อนหน้านี้ต้องบอกว่า Softbank เองแทบจะไม่เคยสนใจในธุรกิจของ WeWork มาก่อนเลยด้วยซ้ำ

ต้องบอกว่าตัว Masayoshi Son เอง ก็เก็บงำความสงสัยในหลาย ๆ อย่างเกี่ยวกับธุรกิจ WeWork ของ Adam ส่วน Adam เอง ก็มีความต้องการเป็นอย่างมากที่จะพบกับ Son เพราะเขามั่นใจว่า เขาสามารถโน้มน้าวให้ Softbank ลงทุนได้

ดูเหมือนการพบกันครั้งนี้ ทำให้ Son เองมองเห็นอะไรบางอย่างในตัว Adam ที่สามารถเข้าถึงจิตวิญญาณของธุรกิจและการเป็นผู้ประกอบการได้ เหมือนที่เขาในผู้นำธุรกิจหลาย ๆ ที่เขาเคยประสบพบเจอมา

ต้องบอกว่า การลงทุนของ Son นั้นเป็นสิ่งที่ผสมผสานระหว่างเรื่องของการมองไปที่ตัวบุคคล กับ การมองตัวเลขทางด้านธุรกิจ ซึ่งพบว่าหลาย ๆ ครั้ง Son ตัดสินใจเพียงไม่กี่นาที หากเขารู้สึกเชื่อมั่นในผู้ก่อตั้งที่ มีความเชื่ออย่างแท้จริงในหัวใจของพวกเขาว่าจะสร้างสิ่งที่ยิ่งใหญ่ได้ เขาก็พร้อมจะอัดเงินให้แบบทันที

ตัวอย่างตอนที่ Son ได้พบกับ Jack Ma มันเป็นจิตวิญญาณผู้ประกอบการตัวจริงที่ Jack Ma แสดงให้ Son เห็น ซึ่งแน่นอนว่า เรื่องเงินเป็นเรื่องรอง Son ต้องการเข้าถึงจิตใจของคนเหล่านี้มากกว่า ว่าพร้อมที่จะเปลี่ยนแปลงโลกผ่านเงินลงทุนของเขาหรือไม่

Adam และ Son นั่งคุยกันเป็นเวลาครึ่งชั่วโมง บนโซฟาตัวเล็กที่มุมบาร์ Adam บอก Son เกี่ยวกับการเติบโตของ WeWork โดยบริษัทกำลังจะเปิดสาขาที่หนึ่งร้อยในปลายปีนั้น ซึ่งเป็นจำนวนที่ Adam นั้นใฝ่ฝันมานานแล้ว

หลังจากนั้นเมื่อ Adam เดินทางกลับไปที่อเมริกา Son เองก็มีแผนที่จะมาเยือนอเมริกาอยู่แล้ว และได้วางแผนที่จะไปเยี่ยมสำนักงานใหญ่ของ WeWork ด้วยเช่นกันในการเดินทางเยือนอเมริกาของเขา

Son เดินทางมาที่อเมริกาโดยมีจุดประสงค์หลายประการ อย่างแรกคงเป็นการมาเยี่ยมเยียนประธานาธิบดี Donald Trump ที่เพิ่งได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งประธานาธิบดีในปี 2016

Son เองสนใจที่จะรื้อฟื้นการควบรวมกิจการระหว่าง T-Mobile และ Sprint ซึ่ง Softbank เป็นเจ้าของ ซึ่งข้อตกลงดังกล่าวถูกเบรค โดยหน่วยงานกำกับดูแลของอดีตประธานาธิบดี Barack Obama ที่กังวลเกี่ยวกับการแข่งขันในตลาดโทรศัพท์มือถือ

และ Son เองก็มีแผนที่จะนำ Softbank เข้ามาลงทุน 5 หมื่นล้านดอลลาร์ และสร้างงานใหม่ห้าหมื่นตำแหน่งในช่วงสี่ปี ซึ่งเป็น Timeline ที่เชื่อมโยงกับการครองอำนาจของประธานาธิบดีคนใหม่อย่าง Donald Trump ในตอนนั้น

Son เข้ามาร่วมลงทุนและสร้างงาน 5 หมื่นตำแหน่งในสมัยของ Trump (CR:jsonline.com)
Son เข้ามาร่วมลงทุนและสร้างงาน 5 หมื่นตำแหน่งในสมัยของ Trump (CR:jsonline.com)

เนื่องจาก Softbank เองได้มีการประกาศโครงการ Vision Fund ซึ่งเป็นกองทุนร่วมทุนมูลค่า 100,000 ล้านดอลลาร์ และกลายเป็นกองทุนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีพันธมิตรจากทั้ง Foxconn รัฐบาลอาบูดาบี และ Apple ซึ่งมีเงินสดอยู่ในมือมากจนไม่รู้จะเอาไปลงทุนที่ไหนต่อ รวมถึงเงินส่วนใหญ่ที่มาจากรัฐบาลซาอุดิอาระเบีย

ในช่วงหลายเดือนนับตั้งแต่ Son และ Adam ได้พบกันที่อินเดีย พวกเขาได้หารือเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของการลงทุน และ Vision Fund อาจจะเติมเต็มสิ่งที่เป็นไปได้ให้กับ WeWork

ซึ่งในวันเดียวกับที่ Son มีกำหนดการไปเยี่ยมประธานาธิบดี Trump เขาก็มีกำหนดการในการทัวร์สำนักงานใหญ่ของ WeWork แต่ Son เองยังสงวนท่าที โดยไม่ได้รับปากว่าจะเข้าร่วมทัวร์บริษัทและร่วมฟังการนำเสนอแบบเต็มรูปแบบจาก WeWork แต่อย่างใด

ในวันนั้น ตัวแทนของ Softbank ได้โทรแจ้ง Adam ให้ทราบว่า Son จะเข้ามาสาย Adam เริ่มกระวนกระวายเดินไปมาในห้องทำงานของเขา ซึ่งหลังจากผ่านช่วงเช้าไป Son ก็ยังไม่มาปรากฏตัวซะที

Adam เตรียมการนำทัวร์ไว้ถึง 2 ชม. แต่ เมื่อ Son มาถึง มันก็เลทไปเยอะมากแล้ว มันเหลือเวลาเพียงแค่ 12 นาที ให้ Adam ทำทุกอย่างเพื่อให้ Son หันมาสนใจลงทุนกับ WeWork

Adam นั้นรู้เป็นอย่างดีว่า Vision Fund มุ่งเน้นไปที่เทคโนโลยี ไม่ใช่อสังหาริมทรัพย์ ดังนั้นหลังจากที่เดินผ่านชั้นที่หนึ่งของอาคารที่เต็มไปด้วยสมาชิกของ WeWork เพื่อแสดงให้เห็นว่ามันน่าอยู่เพียงใด

Adam ได้พา Son ตรงไปที่ ห้องปฏิบัติการด้าน R&D ของบริษัท บนชั้นสาม ซึ่ง Dave Fano ผู้ร่วมก่อตั้ง Case-Buildings บริษัทด้านข้อมูลที่ Adam ได้ทำการซื้อมา กำลังแสดงให้ Son ได้เห็นถึงเทคโนโลยีเบื้องหลังต่าง ๆ ที่ WeWork กำลังพัฒนา ซึ่งหลังจาก 12 นาทีผ่านไป Son ก็บอกให้ Adam ขึ้นรถไปกับเขา

Adam รีบคว้ากระเป๋า และกระโดดขึ้นรถไปที่เบาะหลังทันที Son ไม่ได้ต้องการให้ Adam นำเสนองานใด ๆ ต่อบนรถ แม้จะมีข้อสังสัย แต่ Son ประทับใจในความเร็วที่ WeWork สามารถขยายตัวโดยใช้แรงงานที่เป็นมนุษย์ได้ดีมาก

ในเดือนนั้น WeWork ได้เปิดสำนักงานใหม่ 13 เมืองใน 7 ประเทศ ซึ่ง Adam ยังได้เตรียมนำข้อเสนอสุดพิเศษสำหรับกองทุน Vision Fund ให้กับ Son อีกด้วย

ซึ่งในขณะที่ Adam และ Son กำลังนั่งรถเคลื่อนออกจากสำนักงานใหญ่ของ WeWork สิ่งที่เหลือเชื่อคือ Son ได้ดึง iPad ออกมาและเริ่มร่างเงื่อนไขของข้อตกลง : Softbank และ Vision Fund จะลงทุนมากกว่า 4 พันล้านดอลลาร์ใน WeWork ซึ่งการลงทุนครั้งนี้จะเป็นการระดมทุนครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่ WeWork เคยระดมทุนมา

Son ได้ทำการเซ็นชื่อและลากเส้นอีกเส้น ถัดจากนั้นก็ส่งสไตลัสให้กับ Adam มันเป็น Deal ที่เซอร์ไพรส์มาก ๆ สำหรับ Adam หลังจากเขาได้พยายามทำสิ่งนี้มาหลายปี ในที่สุด มันก็ถึงเส้นชัยของ WeWork เสียที

หลังจากที่ Son ขอตัวไปทำธุระต่อ Adam ก็ได้เข้าไปในรถยนต์ Maybach สีขาวของเขา ซึ่งขับตามหลังรถของ Son โดยได้เปิดเพลงแร็พแบบสุด Volume และขับรถกลับไปที่สำนักงานใหญ่ของ WeWork

ต้องบอกว่าภาพถ่ายลายเซ็นของ Son ที่เป็นสีแดง และ สีฟ้าของ Adam นั้นกำลังถูกเผยแพร่ในหมู่ผู้บริหาร WeWork มันใช้เวลาเพียงแค่ 12 นาทีเท่านั้น นับตั้งแต่ Son ย่างเก้าเข้ามาที่สำนักงานใหญ่ของ WeWork แต่ตอนนี้ Adam กำลังได้รับการลงทุนในการร่วมทุนที่ใหญ่ที่สุดตลอดกาลของประวัติศาสตร์บริษัท WeWork ได้สำเร็จ

การลงทุนของ Softbank ใน WeWork ครั้งนี้ ได้รับการประกาศอย่างเป็นทางการในวันที่ 24 สิงหาคม ปี 2017 มีมูลค่ารวม 4.4 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นเงินบางส่วนจาก Softbank เองและ อีก 1.4 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งได้รับการจัดสรรสำหรับการขยายกิจการไปยังเอเชียของ WeWork

มันได้ทำให้มูลค่าของ WeWork พุ่งสูงขึ้นเป็น 20,000 ล้านดอลลาร์ และทำให้ WeWork กลายเป็นบริษัท Startup ที่มีมูลค่ามากที่สุดเป็นอันดับสี่ในอเมริการองจาก Uber , Airbnb และ SpaceX เพียงเท่านั้น

นั่นทำให้เหล่านักลงทุนกลุ่มแรก ต่างร่ำรวยกลายเป็นมหาเศรษฐีกันถ้วนหน้า แต่ผู้ชนะที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในเกมครั้งนี้ คือ Adam โดย We Holdings บริษัทนิติบุคคลส่วนตัวของ Adam ได้ทำการขายหุ้น WeWork มูลค่า 361 ล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นจำนวนเงินสูงสุดและมากกว่าพนักงาน WeWork คนอื่น ๆ ที่ได้รับการจัดสรรหุ้นไปก่อนหน้านี้

ต้องบอกว่าเป็นจำนวนเงินที่น่าตกใจมากที่ Adam ได้ตัดสินใจขายหุ้นไปจำนวนมหาศาลขนาดนี้ เหตุใดเขาจึงไม่รอเงินที่จะได้รับอีกมากมายหลังจากนี้ เพราะ WeWork กำลังจะกลายเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ และทำเงินได้อีกมากมายมหาศาลในอนาคต

ซึ่งคำตอบก็คือ Adam จำเป็นต้องใช้เงิน เพื่อตอบสนองชีวิตที่ฟุ่มเฟือยมากขึ้นเรื่อย ๆ ของเขา ช่วงสิ้นปี 2017 Adam และ Rebekah ใช้เงิน 35 ล้านดอลลาร์ เพื่อซื้ออพาร์ทเมนต์สี่ห้องในอาคาร Gramercy โดยรวมสามยูนิตเข้าด้วยกันให้กลายเป็นเพนต์เฮาส์ขนาดใหญ่

เพนต์เฮาส์สุดหรูใจกลางนิวยอร์กที่ Adam ได้ซื้อทันทีหลังจากขายหุ้นล็อตใหญ่ (CR:BusinessInsider.com)
เพนต์เฮาส์สุดหรูใจกลางนิวยอร์กที่ Adam ได้ซื้อทันทีหลังจากขายหุ้นล็อตใหญ่ (CR:BusinessInsider.com)

Adam ได้ซื้อบ้านให้พี่สาวและยายของเขา โดยจ่ายค่าเช่า และค่าเล่าเรียนทั้งหมดคืนให้กับพวกเขาที่ได้ยืมมาก่อนหน้านี้ ตอนเริ่มต้นใช้ชีวิตในนิวยอร์กใหม่ ๆ

พนักงานของ WeWork ทำได้เพียงแค่กลอกตา เมื่อนึกถึงคำพูดของ Adam และ Rebekah ที่ว่าด้วยเรื่องเศรษฐกิจแบ่งปัน หรือ เรื่องที่พวกเขาไม่ได้เป็นพวกวัตถุนิยม แต่ตอนนี้ ทั้งคู่กำลังเปลี่ยนไปเป็นอีกคนแล้ว

“เราเชื่อใน รูปแบบการดำเนินชีวิตใหม่นี้” Rebekah ให้สัมภาษณ์ หลังจาก Deal ใหญ่ของ WeWork และ Softbank ดำเนินการเสร็จโดยสมบูรณ์ และ Adam กำลังเป็นเจ้าของบ้านสุดหรูจำนวน 5 หลัง ใจกลางมหานครนิวยอร์ก

ต้องบอกว่า ถึงตอนนี้ มันได้กลายเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของทั้ง Adam และ WeWork ที่เหมือนถูกลอตเตอรี่รางวัลใหญ่ สถานการณ์ ที่ดูเหมือนจะหมดหวังก่อนหน้านี้ ได้ชายที่ชื่อ Masayoshi Son ที่ได้กลายเป็นอัศวินขี่ม้าขาว มาช่วยกอบกู้วิกฤติได้ทัน แล้วจะเกิดอะไรขึ้นต่อกับเรื่องราวของ Adam และ WeWork โปรดอย่าพลาดติดตามต่อในตอนหน้าครับผม

–> อ่านตอนที่ 9 : Winnter Loses All

ย้อนไปอ่านตั้งแต่ตอนแรก & Credit แหล่งข้อมูลบทความ

Geek Monday EP91 : Coded Bias เมื่ออัลกอริธึม AI มีอคติและไม่ได้เป็นกลางอย่างที่เราคิด

ต้องบอกว่าเป็นอีกหนึ่ง Documentary ที่ถ่ายทอดออกมาได้น่าสนใจอีกเรื่องนึงเลยทีเดียวสำหรับ Coded Bias จาก Netflix เรื่องราวที่เกี่ยวปัญหา Bias ความอคติจาก Code ของเทคโนโลยีทางด้าน AI ที่เป็นปัญหาสั่งสมมานานแสนนาน และยังไม่มีทีท่าว่าจะแก้ปัญหาเหล่านี้ได้เลย

เป็นเรื่องราวที่ถ่ายทอดเรื่องราวผ่าน Joy Buolamwini ที่เป็นนักศึกษาผิวสี PhD Candidate ที่ MIT Media Lab ที่มีความฝันในการสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ผ่านเทคโนโลยีอย่าง Computer Vision

ซึ่งต้นตอปัญหาที่เธอพบเจอคือ เทคโนโลยีอย่าง Facial Recognition ที่พบว่า เทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบัน นั้นไม่สามารถจดจำหน้าเธอได้ แต่เมื่อเธอใส่หน้ากากสีขาวครอบไปที่ใบหน้าของเธอ มันกลับทำงานได้ซะอย่างงั้น

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/3iRxQY9

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/2lEqPPg

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
http://bit.ly/2kxHtQ3

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/2m0PTzR

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/g9EE_-HE800

Billion Dollar Loser ตอนที่ 7 : Last Breath

ในปี 2015 ด้วยอัตราค่าเช่าอสังหาริมทรัพย์ที่สูงขึ้น เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจกลับมาครึกครื้นอีกครั้งหลังจากถดถอยครั้งใหญ่จากวิกฤติ Hamburger Crisis ในปี 2008 นั่นทำให้ Adam ต้องหาแหล่งเงินทุนเพิ่มโดยด่วน

ในปลายปี 2015 Adam จึงมองไปที่ประเทศจีน โดยมีการว่าจ้าง Goldman Sachs เพื่อหานักลงทุนที่น่าสนใจในการระดมทุนเพื่อขยายบริษัทในเอเชีย และ ที่อื่น ๆ

ในตอนนั้น Uber เพิ่งระดมทุนได้มากกว่า 1 พันล้านดอลลาร์ เพื่อขยายไปยังประเทศจีน แต่ต้องบอกว่า WeWork นั้นระดมทุนได้ยากกว่าเป็นอย่างมากเมื่อเทียบกับธุรกิจแพล็ตฟอร์ม เหมือน Uber หรือ Airbnb

เหล่าสมาชิกทีมการเงินของ WeWork วิเคราะห์แล้วว่า กองทุนของจีนไม่สนใจที่จะมาช่วยลดการขาดทุนที่เพิ่มขึ้นของ WeWork โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อตลาดจีนเริ่มมีคู่แข่งในท้องถิ่นที่นำเสนอผลิตภัณฑ์ที่คล้ายคลึงกันอยู่แล้ว

แต่มีหนึ่งกองทุนที่หันมาสนใจธุรกิจของ WeWork นั่นคือ Hony Capital ซึ่งเป็นกองทุนที่ก่อตั้งโดย John Zhao นักธุรกิจชาวจีนซึ่งตกลงที่จะลงทุน 600 ล้านดอลลาร์ซึ่งถือเป็นรอบการระดมทุนที่ใหญ่ที่สุดของบริษัท

John Zhao จาก Hony Capital เข้ามาลงทุนเพื่อเจาะตลาดจีน (CR:avcj.com)
John Zhao จาก Hony Capital เข้ามาลงทุนเพื่อเจาะตลาดจีน (CR:avcj.com)

“ธรรมชาติของตลาดเอกชนคือ หากนักลงทุนที่ชาญฉลาด 9 คนมองผ่าน ก็ต้องใช้นักลงทุนที่ค่อนข้างโง่เพียงคนเดียว และทันใดนั้นบริษัทเราก็มีมูลค่าเพิ่งขึ้นเป็น 16,000 ล้านดอลลาร์” สมาชิกทีมการเงินของ WeWork กล่าว

แม้ในการประชุมเพื่อหารือเกี่ยวกับข้อตกลง สมาชิกหลายคนของคณะกรรมการบริหารของ WeWork จะคัดค้าน พวกเขาคิดว่าการเข้าสู่ตลาดจีน เป็นสิ่งที่โง่เขลา Uber กำลังผลาญเงินทุนจำนวนมากในการขยายไปยังประเทศจีน

แต่ Adam และผู้บริหารของ WeWork คนอื่น ๆ ชอบข้อตกลงดังกล่าวนี้ Miguel รู้สึกตื่นเต้นกับความท้าทายในการขยายธุรกิจไปยังประเทศจีน

มันเป็นเวลาหลายปีแล้วที่ Adam พึ่งพากลุ่มเพื่อนและครอบครัวในตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงของ WeWork พี่เขยของเขาเป็น COO ของบริษัท ลูกพี่ลูกน้องของเขาเป็นหัวหน้าฝ่ายอสังหาริมทรัพย์ เพื่อนกองทัพเรือของเขาเป็น CFO คนแรกของบริษัท Rebekah เองก็เข้ามามีส่วนร่วมในบริษัทมากยิ่งขึ้นในภายหลังเช่นเดียวกัน

แต่ WeWork นั้นเติบโตเกินกว่าความเชี่ยวชาญของพนักงานบางคน ซึ่งคุณสมบัติหลักของกลุ่มคนใกล้ชิด Adam เหล่านี้ คือ ความจงรักภักดีเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

คณะกรรมการกดดันให้ Adam จ้างผู้เชี่ยวชาญจากภายนอกเพิ่มมากขึ้น เพื่อรองรับการขยายตัวของบริษัท และทำให้กลายเป็นบริษัทมืออาชีพมากขึ้น

Artie Minson เป็นอีกหนึ่งคนที่เข้ามาเป็นประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการคนใหม่ของ WeWork ต้องบอกว่า Minson นั้นโดดเด่นที่สุดในบรรดาผู้บริหารใหม่ที่เข้ามาร่วมงานกับ WeWork

Mison ได้นำพาคนเก่งอีกหลายคนเข้ามาที่ WeWork เขาได้นำ Francis Lobo อดีตผู้บริหารของ AOL มาดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายรายได้ Jon Gieselman ผู้บริหารของ DirecTV เข้าร่วมเป็นประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาดของ WeWork

ผู้บริหารโปรไฟล์ดีเหล่านี้ ส่วนใหญ่ถูกล่อลวง โดยความคิดที่ว่า WeWork กำลังก้าวไปสู่การนำเสนอขายหุ้น IPO เนื่องจาก Minson เองช่วยมาทำสิ่งต่าง ๆ ให้เป็นมืออาชีพมากยิ่งขึ้น และทำให้การคาดการณ์ในสิ่งต่างๆ นั้นสมเหตุสมผลมากยิ่งขึ้น

Artie Minson ผู้บริหารมากฝีมือที่เข้ามาช่วยทำให้ WeWork เป็นมืออาชีพมากขึ้น (CR:CNBC.com)
Artie Minson ผู้บริหารมากฝีมือที่เข้ามาช่วยทำให้ WeWork เป็นมืออาชีพมากขึ้น (CR:CNBC.com)

ทั้ง Minson และผู้บริหารคนอื่น ๆ ที่เข้ามาใหม่ พยายามที่จะควบคุมการดำเนินงานของบริษัทมากขึ้น แน่นอนว่าการขยายตัวของธุรกิจเป็นแรงกระตุ้นในการขับเคลื่อนให้องค์กรก้าวไปข้างหน้านั่นเอง

WeWork ได้สร้างเครื่องจักรการทำงาน ที่สามารถขยายพื้นที่สำนักงานให้เช่าได้อย่างรวดเร็วในอัตราที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน เมื่อเทียบกับคู่แข่งในธุรกิจเดียวกัน

แน่นอนว่าทีมขายก็ต้องตามให้ทัน พวกเขาทำงานนอกพื้นที่ที่ยังสร้างไม่เสร็จเพื่อพยายามขายอาคารเปล่า โดยบางครั้งต้องขโมย Wi-Fi จากร้านอาหารใกล้เคียงในขณะที่มีการจัดสถานที่ใหม่เพื่อทำการขาย

ในเดือนพฤษภาคมปี 2016 Adam กล่าวกับพนักงานของเขาในการประชุมประจำปีของบริษัท เขาพยายามตั้งข้อสังเกตในแง่ดี โดยอ้างว่า WeWork นั้นยังทำได้ไม่ดีเท่าที่ควร

บริษัทกำลังอยู่ในช่วงหัวเลี้ยงหัวต่อที่สำคัญ แต่เวลามันไม่สามารถย้อนกลับไปได้ Adam เริ่มกังวลเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายของบริษัท แม้ WeWork จะได้รับเงินลงทุนจำนวนมหาศาลก็ตาม แต่ในเรื่องอัตราการขยายตัวของบริษัท เขายังไม่พอใจกับมันนัก

และในที่สุดข้อมูลที่ควรจะเป็นข้อมูลลับภายในบริษัท มันก็ได้หลุดไปถึงสำนักข่าวชื่อดังอย่าง Bloomberg

ซึ่ง Bloomberg ได้เผยแพร่รายละเอียดจากรายงานทางการเงินภายในของ WeWork เอกสารดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า WeWork กำลังปรับลดการประมาณรายได้สำหรับปีนี้ และ ลดการคาดการณ์กำไรลงถึง 87%

ซึ่งการรั่วไหลของข้อมูลภายในนี่เองที่ทำให้เหล่าพนักงาน WeWork ต่างหวาดระแวง ไม่กี่เดือนต่อมา Joanna Strange ถูกกันให้ออกจากอาคารที่ทำงานทันทีและถูกล็อกไม่ให้เข้าบัญชีภายในของ WeWork

มีการสืบสวนพบว่า Strange อยู่เบื้องหลังการรั่วไหลของข้อมูลในครั้งนี้ ซึ่งไม่นานหลังจากนั้น Adam ได้เรียกพนักงานหลายคนที่เคยทำงานกับ Strange มาที่สำนักงานของเขาเพื่อกดดันถามพวกเขาว่ามันเกิดอะไรขึ้น

พนักงานคนหนึ่งที่อยู่กับ WeWork มาหลายปี ถาม Adam ว่าต้องการอะไรจากพวกเธอ จากนั้น Adam เดินไปที่กระดานไวท์บอร์ด หยิบปากกามาร์กเกอร์ออกมาแล้ววาดวงกลมขนาดใหญ่ จากนั้นเขาเขียนคำว่า “WE” ไว้ตรงกลาง

“คุณอยู่ข้างเรา หรือ คุณกำลังต่อต้านเรา” Adam กล่าวกับพนักงานกลุ่มดังกล่าว

ในช่วงฤดูใบไม้ผลิของปี 2016 Bill Gurley หนึ่งในหุ้นส่วนของ Benchmark Capital ได้เขียน Blog ในเว็บไซต์ Above The Crowd โดยแสดงความกังวลของเขาเกี่ยวกับ “กระบวนการระดมทุนของ unicorn ที่ง่ายดายอย่างน่าทึ่ง”

ในปีเดียวกันนั้น จำนวน unicorn เพิ่มขึ้นเกือบสามเท่าเป็น 229 ราย ผู้ก่อตั้งใหม่ ๆ สามารถระดมทุนได้อย่างง่ายดาย ด้วยแรงกดดันจากการประเมินมูลค่าที่สูง ได้ส่งผลต่ออัตรา Burn Rate ของบริษัท Startup จำนวนมาก และทำให้พวกเขาต้องการเงินสดเพิ่มมากขึ้นไปในตัว

Gurley กลัวว่า Startup บางรายจะเริ่มล้มหายตายจากเนื่องจากปัญหาอื่น ๆ ที่ไม่ใช่เรื่องเงินระดมทุน เขาอ้างถึงการตรวจสอบ Theranos ล่าสุดจาก Wall Street Journal ซึ่งเปิดเผยการฉ้อโกงอย่างกว้างขวางภายในบริษัท

แม้จะมีคำเตือนโดยนัยจากหนึ่งในนักลงทุนของ WeWork อย่าง Gurley แต่ Adam และ Miguel ดูจะไม่แยแสกับสิ่งที่เกิดขึ้น Adam เชื่อว่าสิ่งเดียวที่ WeWork ต้องการคือ ศรัทธาจากชุมชนนักลงทุนเพียงเท่านั้น

แต่ดูเหมือน Adam ต้องเจอปัญหาใหญ่อีกครั้ง ด้วยเงินของ Hony WeWork กำลังมุ่งหน้าไปยังประเทศจีน ซึ่งมี unicorn อยู่เป็นจำนวนมาก รวมถึงคู่แข่งท้องถิ่นที่พร้อมจะถล่มบริษัทจากอเมริกา เหมือนหลาย ๆ บริการที่โดน Startup ท้องถิ่นจากประเทศจีนถล่มจนพ่ายแพ้อย่างย่อยยับมาก่อนหน้านี้หลายรายแล้ว

ในเดือนสิงหาคม Uber ขายธุรกิจในจีนให้กับคู่แข่งในพื้นที่ หลังจากสูญเสียเงินหลายพันล้านดอลลาร์ในการทำการตลาดในประเทศจีน

WeWork กำลังผลาญเงินที่นั่นเช่นเดียวกัน กระแสการระดมทุนจากการร่วมทุนที่เพิ่มขึ้นนับตั้งแต่ภาวะเศรษฐกิจที่ดีขึ้นในปี 2016 นั่นเองทำให้เหล่านักลงทุนเริ่มมีการประเมินมูลค่ากิจการที่สูงขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นเดียวกันสำหรับ บริษัท Startup ที่ไม่คิดจะทำ IPO หรือ ทำกำไรในเร็ววันนี้

สำหรับ WeWork นั้น ดูเหมือนจะไม่มีตัวเลือกใด ๆ เหลืออยู่ นอกจากการทำ IPO เพื่อนำเสนอขายหุ้นต่อสาธารณะชน ตอนนั้นเหล่าสมาชิกทีมการเงินคิดว่า คงไม่มีใครในโลกที่พร้อมจะระดมทุนเพิ่มเติมให้ WeWork อีกต่อไปแล้ว มันคงถึงทางตันแล้วจริง ๆ

แต่เหตุการณ์เหลือเชื่อก็เกิดขึ้น WeWork ที่ใกล้จะถึงทางตัน แต่อยู่ดี ๆ ก็มีอัศวินม้าขาวมาช่วยชุบชีวิตไว้ได้แบบเส้นยาแดงผ่าแปด แล้วใครคืออัศวินคนนั้น ที่กล้ามาชุบชีวิต WeWork ที่กำลังอยู่ในสถานการณ์ที่กำลังวิกฤติแบบสุด ๆ โปรดอย่าพลาดติดตามต่อในตอนหน้านะครับผม

–> อ่านตอนที่ 8 : The Rising Son

ย้อนไปอ่านตั้งแต่ตอนแรก & Credit แหล่งข้อมูลบทความ

Geek China EP21 : Alibaba – From eCommerce to Entertainment

นอกเหนือจากธุรกิจอีคอมเมิซที่บุกเบิกสร้างมาจนแข็งแรง และต่อยอดด้วยธุรกิจการจ่ายเงิน และการขนส่งเพื่อส่งเสริมให้ eCommerce ในเครืออาลีบาบาเติบโตไปได้อย่างมั่นคงแล้ว อาลีบาบายังต้องเสริมสร้างธุรกิจด้านอื่นอีกด้วย

ใน EP นี้จะมาเล่าสู่กันฟังกับประวัติการก่อตั้งแผนกธุรกิจความบันเทิงทางดิจิตอล (Digital media and entertainment) ที่เริ่มบุกเบิกอย่างจริงจังตั้งแต่ปี 2014 ไม่ว่าจะเป็น Mobile browser, ดนตรีและภาพยนตร์ Alibaba จะมีกลยุทธ์ในการ diversify ธุรกิจแขนงเหล่านี้อย่างไร มีผลงานในด้านส่วนแบ่งการตลาดในจีนที่แข่งกันอย่างดุเดือดที่ดีมากน้อยแค่ไหน

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/2SMdV2b

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/2lEqPPg

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
http://bit.ly/2kxHtQ3

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/2m0PTzR

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/SlqMdNI9OOY