Blog Series : Billion Dollar Loser – The Rise and Fall of Adam Neumann and WeWork

Adam Neumann ผู้ก่อตั้ง WeWork เป็นอีกหนึ่งดางรุ่งคนล่าสุดในแวดวงเทคโนโลยีที่มีวิสัยทัศน์ แต่ในท้ายที่สุดวิสัยทัศน์นั้นกลับกลายเป็นภาพลวงตาได้อย่างไร

ภาพลักษณ์ของผู้ประกอบการอัจฉริยะด้านเทคโนโลยีในศตวรรษที่ 21 ที่ทุกคนทั่วโลกต้องการเป็น ทั้ง Steve Jobs , Mark Zuckerberg หรือ Elon Musk รายต่อไป ซึ่งแน่นอนว่า Neumann ก็อยากที่จะเป็นหนึ่งในนั้น

แต่เรื่องราวของ WeWork มันกำลังบอกอะไรพวกเราได้บางอย่าง ในยุคที่ บริษัท เทคโนโลยีครอบงำทุกอย่าง WeWork พยายามอย่างเต็มที่เพื่อให้ดูเหมือนยักษ์ใหญ่ทางด้านเทคโนโลยี

แต่การใช้จ่ายอย่างฟุ่มเฟือยและความผิดปกติส่วนตัวของ Neumann และภรรยาของเขา เรื่องราวโกหก หลอกลวง ครั้งใหญ่ ที่มีนักลงทุนระดับตำนานอย่าง Masayoshi Son เข้ามาเกี่ยวข้อง

แน่นอนว่าเหล่านักลงทุนต้องการที่จะค้นหา Facebook / Apple / Uber ตัวถัดไป และ WeWork ก็พยายามที่จะทำตามเคล็ดลับนี้ มันน่าทึ่งมากที่มีการทุ่มเงินจากนักลงทุนจำนวนมหาศาลในเส้นทางการเติบโตของ WeWork ซึ่งสุดท้ายมันก็แสดงให้เห็นว่าคนรวยไม่ได้ฉลาดกว่า พวกเขาสูญเสียเงินจำนวนมหาศาลครั้งประวัติศาสตร์ในครั้งนี้ไปได้อย่างไร

Blog Series ชุดนี้จะพาไปย้อนเรื่องราวทั้งหมดที่เกิดขึ้นกับชายที่ชื่อว่า Adam Neumann และ WeWork โดยใช้เนื้อหาหลักจากหนังสือชื่อดังสองเล่ม คือ Billion Dollar Loser: The Epic Rise and Spectacular Fall of Adam Neumann and WeWork โดย Reeves Wiedeman และ The Cult of We: WeWork, Adam Neumann, and the Great Startup Delusion โดย Eliot Brown

เนื้อหาหลักเรียบเรียงจากหนังสือสองเล่ม

รวมถึงข้อมูลต่าง ๆ จากแหล่งข้อมูลออนไลน์ รวมถึงสารคดี  WeWork: Or the Making and Breaking of a $47 Billion Unicorn รับประกันความสนุกแน่นอนครับ อย่าลืมฝากติดตามกันด้วยนะครับผม

–> อ่านตอนที่ 1 : Prologue

Credit แหล่งข้อมูลบทความ

หนังสือ Billion Dollar Loser: The Epic Rise and Spectacular Fall of Adam Neumann and WeWork โดย Reeves Wiedeman

หนังสือ The Cult of We: WeWork, Adam Neumann, and the Great Startup Delusion โดย Eliot Brown

สารคดี : WeWork: Or the Making and Breaking of a $47 Billion Unicorn

Billion Dollar Loser ตอนที่ 1 : Prologue

การอ้างความสามารถในการโน้มน้าวเศรษฐกิจทั้งหมด ถือเป็นหนึ่งในเจตจำนงของ Adam Neumann ที่ถือเป็นคำประกาศที่ดูหยิ่งทรนงมาก ๆ สำหรับผู้ประการหน้าใหม่ที่เพิ่งฉลองวันเกิดครบ 40 ปีของเขาไปเพียงไม่นาน

ต้องบอกว่าเขาเป็นหนึ่งในผู้ประกอบการที่ไม่เหมือนใคร เป็นการผสมผสานระหว่าง ความอดทน โชค เสน่ห์ รวมถึงความโหดเหี้ยมในบางจังหวะ ได้อย่างไร้ที่ติ

ทุกส่วนผสมมันได้ผลักดันให้เขาก้าวขึ้นมาในจุดที่หลายคนไม่คาดคิดว่าเขาจะสามารถทำได้ เขากลายเป็นบุคคลร่ำรวยที่สุดคนหนึ่งของโลกในเวลาเพียงแค่ 1 ทศวรรษ

เขาคือส่วนผสมระหว่างจิตวิญญาณและธุรกิจ ที่แตกต่างจากผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จรายอื่น ๆ ที่เราเคยเห็นมา

เขาได้ผลักดันให้ WeWork กลายเป็นผู้เช่าสำนักงานที่ใหญ่ที่สุดใน นิวยอร์กซิตี้ และ อันดับสองในเมืองใหญ่อันดับต้น ๆ ของยุโรปอย่างลอนดอน และกำลังขยายกิจการอย่างบ้าคลั่งไปทั่วโลก

บริษัทได้ตอบสนองความปรารถนา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่คนหนุ่มสาว คนรุ่นใหม่ เพื่อสร้างประสบการณ์ในสำนักงานรูปแบบใหม่ ๆ ที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงมาหลายสิบปี

มันไม่ใช่เรื่องธรรมดาที่ WeWork นั้นสามารถสร้างรายได้เพิ่มขึ้นสองเท่าทุกปี เป็นเวลาหนึ่งทศวรรษ และตัว Neumann ได้ระดมทุนมากกว่า 11,000 ล้านดอลลาร์

แน่นอนว่าเงินทุนส่วนใหญ่นั้นมาจาก Masayoshi Son ผู้ก่อตั้ง Softbank ซึ่งเป็นกลุ่มบริษัทเทคโนโลยีของญี่ปุ่น และ Son ก็เป็นหนึ่งในผู้บริหารไม่กี่คนในโลกที่มีความทะเยอทะยานสูงกว่า Neumann

Son ได้ลงทุนครั้งแรกใน WeWork ในปี 2017 ส่วนหนึ่งได้ลงทุนผ่าน Vision Fund ที่ได้รับทุนสนับสนุนจากรัฐบาลซาอุดิอาระเบียเป็นหลัก

Masayoshi Son หนึ่งในนักลงทุนคนสำคัญของ WeWork (CR:WSJ)
Masayoshi Son หนึ่งในนักลงทุนคนสำคัญของ WeWork (CR:WSJ)

ในเดือนมกราคมปี 2019 Softbank ได้เข้าลงทุนกับ WeWork เป็น 47,000 ล้านดอลลาร์ และทำให้ WeWork กลายเป็น Startup ที่มีมูลค่ามากที่สุดเป็นอันดับสองในอเมริกา

WeWork ได้ก่อตั้งขึ้นในปี 2009 Neumann ใช้เวลาเพียงแค่ 10 ปี ก็ก้าวมาถึงจุดนี้ได้สำเร็จ ก่อนที่ WeWork จะเริ่มเปิดพื้นที่ให้บริการเช่าในครั้งแรก ๆ Neumann ได้จินตนาการไปถึงสายธุรกิจต่าง ๆ ของ We-Branded ไม่ว่าจะเป็น WeBank , WeSail เป็นต้น มันคือวิสัยทัศน์แรกเริ่มของ Neumann ที่คิดใหญ่เกินกว่าจะเป็นเพียงบริษัทอสังหาริมทรัพย์ให้เช่า

และในปี 2019 นี่เองที่ WeWork ได้เปลี่ยนชื่อเป็น We Company โดยมีสายธุรกิจสามสายที่แยกออกจากกันอย่างชัดเจนก็คือ WeWork , WeLive และ WeGrow ภายใต้พันธกิจใหม่ของบริษัท “เพื่อยกระดับจิตสำนึกของโลก” โดยมีเป้าหมายสูงสุดที่จะทำให้โลกน่าอยู่ขึ้น

ภารกิจของ WeWork คือการช่วยให้ผู้คน “สร้างชีวิต” ไม่ใช่แค่เพียงการหาเลี้ยงชีพ เขาเชื่อว่า WeLive ซึ่งให้เช่าอพาร์ทเมนต์ขนาดเล็กที่มีพื้นที่ส่วนกลางขนาดใหญ่ ซึ่งช่วยสามารถบรรเทาความเหงาและลดอัตราการฆ่าตัวตายที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องได้

Neumann นั้นมีความทะเยอทะยานไม่ต่างจาก Elizabeth Holmes ผู้ก่อตั้ง Theranos และเหล่าพนักงานของ WeWork ก็เริ่มได้ติดตามเรื่องราวของ Theranos ด้วยความรู้สึกไม่สบายใจมากยิ่งขึ้นเรื่อย ๆ

เมื่อบริษัทของ Neumann นั้นใช้เงินจำนวนมากในการขยายกิจการไปทั่วโลก ในปี 2018 สูญสิ้นเงินลงทุนไปกว่า 2 พันล้านดอลลาร์

และเมื่อกำลังสิ้นสุดทศวรรษ WeWork กำลังจะหมดเงิน Neumann ได้กอบโกยเงินทุนจากบริษัทเข้ามาใช้จ่ายส่วนตัวอย่างบ้าคลั่ง และเขากำลังจะนำพา WeWork เข้าสู่ IPO ครั้งประวัติศาสตร์

แน่นอนว่ามันเป็นหนทางเดียวที่เป็นไปได้ ที่จะสร้างความเติบโตอย่างต่อเนื่อง รวมถึงโอกาสในการอยู่รอดของ ธุรกิจ WeWork ที่เขาได้ซุกปัญหาต่าง ๆ ไว้ใต้พรมมากมาย

ย้อนกลับไปเมื่อปี 2010 ที่ Neumann นั้นได้มองเห็นภาพความหวังครั้งแรกในธุรกิจของเขา แต่เมื่อถึงปลายทศวรรษ ความแตกหักต่าง ๆ ที่กำลังก่อตัวขึ้น และ มันกำลังใกล้จะถึงจุดสิ้นสุดของเส้นทางวิสัยทัศน์ปลอม ๆ ของเขา

แล้วเรื่องราวตั้งแต่จุดเริ่มต้น จนมาถึงจุดสิ้นสุดของชายคนนี้เป็นอย่างไร เขาเปลี่ยนตัวเองจากผู้อพยพที่กำลังจะถูกขับไล่ให้ออกจากประเทศ ให้กลายมาเป็นเศรษฐีพันล้านแถวหน้าของอเมริกาได้อย่างไร อย่าพลาดติดตามต่อในตอนหน้านะครับผม

–> อ่านตอนที่ 2 : American Dream

ย้อนไปอ่านตั้งแต่ตอนแรก & Credit แหล่งข้อมูลบทความ

Series Review : Charité at War ชาริเต้ รักกลางสนามรบ

ต้องบอกว่าส่วนตัวเป็นคนที่ชอบเรื่องราวที่เกี่ยวกับสงครามโลก ครั้งที่ 2 มาก ๆ ทั้งสารคดี หรือ ภาพยนตร์จอยักษ์ หรือ ซีรีส์หลาย ๆ เรื่อง ผมจะเก็บเรียบทั้งหมด จึงได้เห็นหลากหลายแง่มุม จากสงครามครั้งประวัติศาสตร์ครั้งนี้

แต่ต้องบอกว่า Charité at War ชาริเต้ รักกลางสนามรบ ถือเป็นอีกหนึ่ง ซีรีส์ คุณภาพที่มาลงใน Netflix ที่ถ่ายทอดอีกมุมหนึ่งของสงครามครั้งนี้ได้อย่างน่าสนใจมาก ๆ

เรื่องราวที่ว่าด้วย ในปี 1943 เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลชาริเต้แห่งเบอร์ลินต้องรับมือกับผลกระทบจากสงครามโลกครั้งที่สองและการปกครองของพวกนาซี รวมทั้งแผนปฏิบัติการพัฒนาพันธุกรรมสุดอันตราย ที่โลกยากจะลืมเลือน

ต้องบอกว่า Charité at War เป็นซีรีส์ สัญชาติเยอรมันที่บอกเล่าเรื่องราวของบุคลากรทางการแพทย์ภายใต้การปกครองของนาซี โดยมีประเด็นหลักเป็นการตั้งคำถาม “คำปฎิญาณแห่งฮิปโปเครตีสจะไปด้วยกันกับคำสาบานตนต่อท่านผู้นำได้อย่างไร?”

มันเป็นสิ่งที่ conflict กันมาก ๆ กับความเป็นมืออาชีพทางด้านการแพทย์ของบุคลากรทางการแพทย์ในสงครามครั้งนี้ กับความจงรักภักดีต่อ ท่านผู้นำอย่างฮิตเลอร์

เป็นซีรีส์ กึ่งสารคดี ที่ว่ากันถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริง ต้องบอกว่าเมื่อย้อนกลับไปในยุคนั้น จักรวรรดินาซีมีประชากรราว 4 แสนคนถูกบังคับให้ทำหมันเพราะมีประวัติพันธุกรรมบกพร่อง, ไม่สามารถพิสูจน์ตนว่าเป็นชนชาติอารยัน หรือเป็นผู้ถูกกล่าวหาว่ารักร่วมเพศ ผู้ป่วยทางจิตและผู้มีร่างกายไม่สมบูรณ์ 2 แสนคนถูกสังหาร โดยใช้คำว่าการุณยฆาตเพื่อไม่ให้เป็นภาระต่อรัฐและครอบครัว

มันเป็นความโหดร้าย โหดเหี้ยม ที่น่าสนใจมาก ๆ กับการกระทำดังกล่าว แต่ ก็มีตัวเอกในเรื่องอย่าง คุณหมอ เฟอร์ดินันด์ เซาเออร์บรูค ที่เป็นอาจารย์หมอและศัลยแพทย์ชื่อดังในยุคนั้น

หมอ เซาเออร์บรูค ที่มีความพยายามส่งข้อความสุดท้ายถึงทำเนียบรัฐบาลของจักรวรรดิไรซ์ที่ใกล้ล่มลาย ในชั่วโมงสุดท้ายก่อนเบอร์ลินจะถูกยึดครอง และในสภาพที่อาคารกว่า 90% ถูกทำลาย ชาริเต้ ยังคงเป็นโรงพยาบาลที่รองรับคนไข้ได้ถึง 800 คน ช่วยเหลือชาวเยอรมันที่กำลังถูกรุกไล่เข้าสู่เมืองเหลืองจนถึงนาทีสุดท้าย

ซีรีส์ สั้น ๆ ที่มีความยาวเพียงแค่ 6 ตอน แต่ต้องบอกว่ามันผสานเรื่องราวหลาย ๆ อย่างได้อย่างลงตัว ทั้งความรัก ทั้งชายหญิง ครอบครัว หรือแม้กระทั่งรักร่วมเพศ สงคราม ความโหดร้ายของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ซึ่งไม่ใช่มีเพียงแค่ชาวยิว ที่ตกเป็นเหยื่อเพียงเท่านั้น

เป็นอีกหนึ่งมุมมองที่น่าสนใจมาก ๆ สำหรับคนที่สนใจภาพยนตร์ที่เกี่ยวกับสงคราม ที่เราจะไม่เคยเห็นมุมมองในด้านมาก่อนเลย จึงแนะนำเลยครับสำหรับคนที่สนใจมุมมองใหม่จากสงครามครั้งประวัติครั้งนี้กับ Charité at War ชาริเต้ รักกลางสนามรบ