ประวัติ Jack Ma แห่ง Alibaba ตอนที่ 8 : Angel Fund

สิ่งที่อาลีบาบาต้องการอย่างสูงในการ พาบริษัทก้าวขึ้นไปอีกระดับคือ พนักงานระดับมืออาชีพ และมีฝีมือ ซึ่งการจะที่จะหาพนักงานระดับ top มาร่วมงานกับ อาลีบาบาได้นั้น เป็นสิ่งที่ยากยิ่งนัก เพราะฐานะการเงินของ อาลีบาบา ในตอนตั้งต้นนั้น เงินทุนแทบร่อยหรอ ต้องอยู่กันอย่างประหยัดมาก ถึงมากที่สุด เพื่อประคองบริษัทให้อยู่ได้ แม้เริ่มจะมีฐานลูกค้าเข้ามาบ้างแล้วก็ตาม

แต่แล้ว วันหนึ่งในเดือน พฤษภาคม 1999 เขาคือ โจเซฟ ไช่ ผู้ที่มีดีกรี เป็นถึงรองประธานและผู้จัดการระดับสูงของบริษัท Investor Asia Limited ซึ่งเป็นบริษัทในเครือของ Investor AB อันเป็นบริษัทโฮลดิ้งด้านการลงทุนที่ใหญ่ที่สุดในแถบ สแกนดิเนเวีย

เขาเรียนจบปริญญาตรีด้านเศรษฐศาสตร์จากเยล และ MBA จากฮาร์วาร์ด ซึ่งเป็นผู้ที่มากด้วย profile ชนิดบริษัทยักษ์ใหญ่แทบทั่วโลกต่างอยากได้ตัวไปร่วมงาน

โจเซฟ ไช่ ผู้มากด้วย profile
โจเซฟ ไช่ ผู้มากด้วย profile

โจเซฟนั้นกำลังทำงานให้บริษัท Investor AB ของสวีเดน สาขาอยู่ในฮ่องกง ซึ่งเป็นสาขาที่รับผิดชอบกิจการลงทุนความเสี่ยงในเอเชีย รวมถึงประเทศจีน ทำให้เขาสนใจเป็นพิเศษ กับตลาดเกิดใหม่อย่างประเทศจีน และมักได้ยินคนพูดถึงแจ๊ค และ อาลีบาบา จากสื่อใหญ่ ๆ อยู่บ่อยครั้ง

ดังนั้นเขาจึงหวังอยู่ตลอดเวลาว่าจะได้พบกับ แจ๊ค หม่า สักครั้ง ซึ่งโอกาสนั้นก็มาถึงเขาอย่างรวดเร็ว ในต้นเดือน พฤษภาคม 1999 โจเซฟบินจากฮ่องกงไปหังโจวในฐานะตัวแทนของ Invest AB เพื่อไปหาช่องทางลงทุนในจีน ซึ่ง บริษัทที่โจเซฟ นึกถึงแห่งแรก ก็ต้องเป็น อาลีบาบา ของแจ๊ค หม่า เป็นแน่แท้อยู่แล้ว

แต่ใครจะไปคาดคิดว่า การไปพบแจ๊ค ครั้งนี้นั้น จะเปลี่ยนแปลงอาชีพของเขาไปตลอดกาล คำพูดของแจ๊ค นั้นมีสเน่ห์ดึงดูดใจอย่างบอกไม่ถูก แจ๊ค พร่ำพรรณนา ถึงความฝันใน อาลีบาบาของเขาให้ โจเซฟ ฟัง เขาพูดถึงว่าเขาจะทำ B2B ที่ดีที่สุดในโลก และ อาลีบาบา จะเป็นแพลตฟอร์มการซื้อขาย online ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก

หลังจากนั้นแจ๊ค ก็พา โจเซฟ ไปตระเวนทัวร์บริษัท ทำให้ โจเซฟ ทึ่งกับภาพที่เขาเห็น มีคนนั่งเบียดเสียดกันอยู่ยี่สิบกว่าคน บนพื้นเต็มไปด้วยผ้าปูเตียงเก่า ๆ แต่ โจเซฟ ประทับใจฉากเหล่านี้มาก ๆ โดยเฉพาะบุคลิกและสเน่ห์ของแจ๊ค ที่เปรียบเสมือนพี่ใหญ่ของบริษัท ที่หาใครเทียบได้ยาก

โจเซฟ ประทับใจกับความเป็นพี่ใหญ่ของ แจ๊ค หม่า มาก ๆ
โจเซฟ ประทับใจกับความเป็นพี่ใหญ่ของ แจ๊ค หม่า มาก ๆ

หลังจากผ่านการพบเจอกันครั้งแรก อีกราว ๆ ครึ่งเดือน โจเซฟ ก็ต้องกลับมาอีกครั้ง แต่คราวนี้เขาพาภรรยามาด้วย แจ๊คพาโจเซฟไปพายเรือในทะเลสาบหังโจว ที่ติดกับ ออฟฟิสหลักของอาลีบาบา

ในระหว่างพายเรือกันอย่างสนุกสนาน เมื่อถึงกลางลำน้ำ โจเซฟ หยุดฝีพายลง แล้วหันไปกล่าวกับแจ๊คที่อยู่ข้างหลังว่า “แจ๊ค งานที่ฮ่องกงผมจะไม่ทำแล้ว ผมจะเข้าร่วมกับอาลีบาบา ทำงานกับคุณดีไหม”

โจเซฟ ต้องการร่วมงานกับแจ๊คใน อาลีบาบา
โจเซฟ ต้องการร่วมงานกับแจ๊คใน อาลีบาบา

โจเซฟ และ ภรรยา พยายามขอร้องให้แจ๊ค รับไปทำงานด้วย เพราะนี่เป็นโอกาสสำคัญที่จะทำให้โจเซฟ ได้ร่วมงานกับบริษัทที่มีอนาคตที่สดใสอย่าง อาลีบาบา โจเซฟ นั้นเชื่อในวิสัยทัศน์ของแจ๊คอย่างแรงกล้า ยอมทิ้งเงินเดือนหกหลัก ที่บริษัทลงทุนยักษ์ใหญ่ มารับเงินเพียงไม่กี่ร้อยหยวน เพื่อร่วมงานกับแจ๊ค

และ โจเซฟ นี่เองเป็นคนแรก ในบรรดาอีกหลายคนที่จะตาม ที่ถูกมนสเน่ห์ของแจ๊ค ดึงดูให้สยบ และยอมมาทำงานด้วยในอาลีบาบา โดยโจเซฟ เข้าร่วมงานในตำแหน่ง CFO (Chief Financial Officer) ในเดือน มิถุนายน 1999 ซึ่งเพราะการเข้าร่วมของ โจเซฟนี่เอง ที่เปลี่ยนแปลงอาลีบาบา ให้กลายเป็นบริษัทที่มีระบบ และโกอินเตอร์ได้ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งได้ไม่นาน

และบทบาทสำคัญคือ โจเซฟทำหน้าที่ตั้งสำนักงานใหญ่อาลีบาบา ที่ฮ่องกง รับผิดชอบด้านตลาดระหว่างประเทศ การขยายกิจการ และ การเงินของบริษัท ซึ่งมันเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมมาก ๆ ที่ได้อดีตนักลงทุนมืออาชีพมาในช่วงเวลาเช่นนี้ เพราะตอนนี้แจ๊คกับ อาลีบาบาก็ห่างจากเงินทุนไม่ไกลเกินเอื้อมแล้ว

ตอนโจเซฟ เข้าร่วมงานกับอาลีบาบา นั้นต้องบอกว่าตอนนั้นเงินทุนของอาลีบาบา แทบจะไม่เหลือหลอแล้ว อาลีบาบาต้องการเงินหมุนเวียนมาคลี่คลายสถานการณ์เช่นนี้ โจเซฟต้องทำหน้าที่เฟ้นหานักลงทุนความเสี่ยงมาลงทุนกับอาลีบาบา โดยเฉพาะที่ศูนย์กลางการเงินระหว่างประเทศอย่างที่ฮ่องกง

และด้วย connection ของ โจเซฟ นี่เองที่นำพา อาลีบาบา ไปพบกับโกลด์แมนซาคส์ ซึ่งตอนนั้นเป็นหนึ่งในสามยักษ์ใหญ่แห่งวงการลงทุนของโลก ซึ่งทิศทางการลงทุนของโกลแมนซาคส์นั้นมุ่งที่อุตสาหกรรมแบบดั้งเดิมเป็นหลัก แต่เมื่อถึงปี 1999 กระแส ดอทคอม กำลังร้อนแรง บริษัทลงทุนเก่าแก่แห่งนี้ จึงเกิดความอยากเข้ามาเสี่ยงมากขึ้นบ้าง 

ซึ่งเมื่อว่ากันอย่างเป็นธรรมแล้วนั้น เมื่อเทียบกับบริษัทการลงทุนอื่น ๆ ที่แจ๊คกับ โจเซฟ กำลังเจรจาอยู่นั้น เงื่อนไขของโกลด์แมนซาคส์โหดกว่ามาก ๆ แต่ในฐานะภูมิหลังความเป็นอินเตอร์ของโกลด์แมนซาคส์ การที่สามารดึงมาเป็นผู้ถือหุ้นได้นั้น ย่อมเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาในระยะยาวของอาลีบาบา มากกว่าบริษัทลงทุนอื่น ๆ 

ซึ่งกองทุน Angel Fund ของโกลด์แมนซาคส์ หลักการสำคัญหนึ่งที่บรรดาผู้ลงทุนต้องเคารพคือ การที่จะไม่ก้าวก่ายการบริหารของระดับบริหารของอาลีบาบา นี่จึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดที่แจ๊คต้องการ ทำให้แจ๊คสามารถนำพาทีมงานของเขาได้อย่างคล่องตัวโดยไม่ถูกแทรกแซงจากนักลงทุน ทำให้ทั้งสองฝ่ายยอมรับเงื่อนไขและยินดีร่วมมือกันในที่สุด

เงินทุนก้อนแรกของ อาลีบาบา จาก โกลด์แมนซาคส์ ทำให้บริษัทก้าวต่อไปได้
เงินทุนก้อนแรกของ อาลีบาบา จาก โกลด์แมนซาคส์ ทำให้บริษัทก้าวต่อไปได้

ตุลาคม 1999 กลุ่มทุนซึ่งนำโดยโกลด์แมนซาคส์ และประกอบไปด้วย Fidelity Investment Group , Invest AB ตลอดจนกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีของรัฐบาลสิงค์โปร์ ก็ร่วมกันลงทุนในอาลีบาบาด้วยเงินก้อนแรก เป็นจำนวนห้าล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งนี่ถือเป็นกองทุน Angle Fund ก้อนแรกในประวัติศาสตร์ของอาลีบาบา

ถึงตอนนี้ อาลีบาบา ได้ขุนพล ระดับพระกาฬอย่าง โจเซฟ ไช่ ผู้ซึ่งมากดีกรีความสามารถ ที่ยอมสวามิภักดิ์ให้กับแจ๊คแต่โดยดี ด้วยมนสเนห์ทางคำพูดของแจ๊ค แม่ทัพใหญ่เมื่อได้ขุนพลชั้นดี ก็เริ่มเห็นแสงสว่างที่ปลายทางอุโมงค์กับอาลีบาบา โดยเฉพาะเงินทุนก้อนแรกที่สำคัญที่สุด ที่จะพา อาลีบาบา นั้นก้าวข้ามจากบริษัทเล็ก ๆ ในหังโจว ให้กลายเป็นยักษ์ใหญ่ในวงการเทคโนโลยีโลก มันจะเกิดอะไรขึ้นต่อหลังจากได้รับเงินทุนก้อนนี้ แจ๊คจะทำอะไรต่อไปกับ อาลีบาบา โปรดอย่างพลาดชมตอนต่อไปครับผม

–> อ่านตอนที่ 9 : The Rising Son

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :Internet *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Credit แหล่งข้อมูลบทความ

ประวัติ Jack Ma แห่ง Alibaba ตอนที่ 7 : 18 Founders

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 1999 ในบ้านธรรมดาหลังหนึ่งในหมู่บ้านริมทะเลสาบเมืองหังโจว ซึ่งเป็นบ้านของแจ๊ค เป็นบ้านที่แสนธรรมดา มีเนื้อที่เพียง 150 ตารางเมตร มีโต๊ะเก่า ๆ และเก้าอี้อยู่ไม่กี่ตัว

แต่วันนี้สำหรับพนักงานอาลีบาบาแล้วนั้น เป็นวันที่ควรแก่การรำลึก บ้านหลังนี้เป็นที่แห่งแรกที่ใช้ในการบ่มเพาะความฝันแรกเริ่มของอาลีบาบา และที่แห่งนี้ยังเคยเป็นจุดเริ่มต้นของธุรกิจแรกของแจ๊ค อย่าง ไชน่าเพจเจส

สำหรับผู้ร่วมการประชุมครั้งนี้ คือบรรดาผู้ก่อตั้ง อาลีบาบา จนกลายเป็นชื่อที่เรียกกันติดปากในภายหลังว่าคือ “เหล่า 18 อรหันต์” ซึ่งในวันนั้นไม่ได้มาทั้งหมด ที่ประชุมมีเพียง 16 คน (ส่วนอีก 2 คนร่วมการประชุมผ่านทางโทรศัพท์)

ในวันนั้น แจ๊ค มองการณ์ไกล และได้มีการบันทึกภาพการประชุมดังกล่าวไว้ด้วย พระเอกของการประชุมครั้งนี้ก็คือ แจ๊ค ผู้ร่วมประชุมต่างนั่งบ้าง ยืนบ้าน ห้อมล้อมท่านผู้นำแจ๊ค อย่างใจจดจ่อ น้ำเสียงและท่าทางของแจ๊คในวันนั้น มันช่างปลุกใจ ปลุกพลังให้กับคนรุ่นใหม่เหล่านี้ได้อย่างดียิ่ง

แจ๊คกับเหล่าทีมงาน 18 คน ซึ่งเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง อาลีบาบา
แจ๊คกับเหล่าทีมงาน 18 คน ซึ่งเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง อาลีบาบา

เหล่า 18 อรหันต์ เหล่านี้เป็นกลุ่มคนที่อายุยังน้อย ซึ่งยังมีต้นทุนให้เสียได้ หากอาลีบาบามันไม่ประสบความสำเร็จอย่างที่แจ๊คหวังไว้ พวกเขาเหล่านี้ ก็สามารถที่จะเริ่มต้นชีวิตใหม่ได้ทันอยู่

แต่แจ๊ค ค่อนข้างมั่นใจอย่างมาก เพราะแนวโน้มของ internet กำลังมาแรง รวมกับประสบการณ์ที่ปักกิ่ง ที่ได้เห็นถึงช่องทางการตลาดที่ใหญ่มหาศาล ที่ยังไม่มีใครสนใจมันในขณะนั้น แจ๊ค เปรียบเหมือนแม่ทัพ ที่กระตุ้นคนหนุ่มสาวเหล่านี้ ให้สู้ พร้อมที่จะบุกและตะลุยกับ อาลีบาบา โปรเจคใหม่ของแจ๊ค

แต่แม้ว่าแจ๊ค จะปลุกเร้าอย่างไรก็ตาม บรรยากาศของที่ประชุมนั้นเต็มไปด้วยความลังเล และความอ้างว้าง ขณะนั้นเหล่าทีมงานทุกคนที่เข้ามาร่วมฟัง เต็มไปด้วยสีหน้าที่เคร่งเครียด แทบจะไม่เห็นรอยยิ้มจากใครคนใด เพราะมันคือการตัดสินชะตาและอนาคตของพวกเขาที่จะเกิดขึ้นในวันข้างหน้า

แจ๊คนั้น ก็ยังวิตกกังวลอยู่บ้าง และรู้อยู่ว่า internet นั้นก็เปรียบเสมือนฟองสบู่ ฟองสบู่นี้กำลังขยายตัวมากขึ้นไปทุกที แต่จะแตกเมื่อไหร่ไม่มีใครรู้ ฟองสบู่ที่พองเกินไปเหมือนตลาด internet ในขณะนี้ ย่อมมีวันแตกสลาย แต่แจ๊คคิดว่ายังไงฝันของ internet นั้นไม่มีทางล่มสลายได้อย่างแน่นอน

แจ๊ค ทำนายไว้ว่าจะเกิดฟองสบู่ internet ขึ้น และสุดท้ายมันเกิดขึ้นจริงในปี 2000
แจ๊ค ทำนายไว้ว่าจะเกิดฟองสบู่ internet ขึ้น และสุดท้ายมันเกิดขึ้นจริงในปี 2000

แจ๊คเริ่มวางพิมพ์เขียวให้กับบริษัทใหม่อย่าง อาลีบาบา โดยมีเป้าหมายใหญ่ 3 ประการคือ หนึ่งบริษัทที่เขาตั้งจะต้องอยู่ได้ถึง 80 ปี สองคืออาลีบาบาจะเป็นบริษัทอีคอมเมริ์ซเพื่อให้บริการกับเหล่า SME ของจีน และสุดท้ายที่ทำให้ทีมงานทุกที่ร่วมประชุมแทบอึ้งไปตาม ๆ กัน คือ แจ๊คต้องการสร้างอาลีบาบาให้กลายเป็นเว๊บไซต์อีคอมเมิร์ซที่ใหญ่ที่สุดในโลก และจะต้องอยู่ใน top สิบอันดับแรกของเว๊บไซต์ทั่วโลก 

เขากล่าวกับทีมงานทุกคนอย่างมั่นอกมั่นใจว่า อีก 3-5 ปีข้างหน้า เมื่ออาลีบาบากลายเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ สิ่งที่ทุกคนได้จ่ายไป ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเงิน หรือ แรงกายแรงใจที่ทุ่มเทให้กับ อาลีบาบา จะได้รับผลตอบแทนอย่างคุ้มค่าอย่างแน่นอน

จากเงินลงทุนเริ่มแรกที่ทุกคนสมทบกันได้ 500,000 หยวน อาลีบาบา ก็เริ่มการต่อสู้อย่างยากลำบากเลยทีเดียว ต้องประหยัดอดออมในทุก ๆ สิ่ง เพื่อเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ของแจ๊คในวันข้างหน้า

เผิงเหล่ย ผู้ดำรงตำแหน่งรองประธานอาวุโสของอาลีบาบาในปัจจุบัน ในช่วงเริ่มต้นนั้นเธอรับหน้าที่เป็น แม่บ้าน ของอาลีบาบา โดยทำหน้าที่เปรียบเสมือนแคชเชียร์ ส่วนนพนักงานอีกคนคือ เซี่ยซื่อหวง เป็นฝ่ายบัญชีและดูแลการเงิน ซึ่งเรื่องอะไรในอาลีบาบาที่ต้องใช้เงินนั้นก็ต้องผ่านสองคนนี้ ยุคเริ่มแรกนั้น การซื้อของชิ้นเล็กชิ้นน้อย ทั้งสองก็วิ่งวุ่นเทียบราคาแล้ว ราคาอีก เพื่อให้ได้ของที่ดีที่สุดในมูลค่าต่ำที่สุด 

เผิง เล่ย อดีตแม้บ้าน จนกลายมาเป็นรองประธานอาวุโสของอาลีบาบาในปัจจุบัน
เผิง เล่ย อดีตแม้บ้าน จนกลายมาเป็นรองประธานอาวุโสของอาลีบาบาในปัจจุบัน

ช่วงตั้งต้นของอาลีบาบา ทีมงานทุกคนอยู่อย่างอัตคัต แจ๊ค แทบจะไม่ให้ใครขึ้นแท็กซี่ถ้าไม่จำเป็น ถ้าระยะทางไม่ไกลพวกเขาก็ใช้การเดินทางเพื่อประหยัดให้มากที่สุด 

และความยากลำบากของอาลีบาบายุคบุกเบิกนี้เอง ที่ทำให้ไม่สามารถดึงดูดผู้มีฝีมือเข้ามาร่วมงานด้วยเงินเดือนสูง ๆ เหมือนบริษัทอื่น ๆ พนักงานของอาลีบาบาได้รับเงินเดือนเพียงน้อยนิด

แต่สิ่งที่ตรงกันข้ามคือ แม้เงินเดือนจะน้อย แต่ปริมาณงานนั้นไม่น้อยเลย ในเวลานั้นทุกคนทำงานชนิดไม่มีเวลากลางวันกลางคืน ทำงานติดต่อกันกว่าสิบกว่าชั่วโมงเป็นเรื่องปรกติในอาลีบาบา 

เวลาทำงานในยุคเริ่มต้นนั้นแจ๊คตกลงกันไว้ที่ เริ่มงานเก้าโมงเช้าและเลิกสามทุ่ม แต่ก็มักจะมีคนมาก่อนเวลาและกลับทีหลังทุกวันเสมอ บางครั้งก็ทำงานล่วงเวลาเป็นวันละ 16 ชั่วโมงหรือมากกว่านั้น และมีการทำงานล่วงเวลากันบ่อยมาก และไม่ต้องถามถึงค่าล่วงเวลา เพราะมันไม่มีอยู่แล้วในตอนนั้น

ทีมงานของอาลีบาบายุคเริ่มต้นแทบจะกินนอนกับที่บริษัท
ทีมงานของอาลีบาบายุคเริ่มต้นแทบจะกินนอนกับที่บริษัท

แจ๊คนั้นจะให้ความใส่ใจกับ ปรมาจารย์ด้านเทคนิค เป็นพิเศษ โดยเฉพาะเหล่าโปรแกรมเมอร์ และวิศวกร การพัฒนาโปรแกรมและการออกแบบระบบนั้นต้องการแรงบันดาลใจมาก คนเขียนโปรแกรมเหล่านี้มักมีอารมณ์พลุ่งพล่าน โดยเฉพาะเวลาตอนทดสอบโปรแกรมแล้วเจอ Bug มันจะต้องระบายความโกรธใส่คนอื่น

แจ๊ค ให้พวกเขาเหล่านี้จัดแจงเวลาพักผ่อนของตนเอง ดังนั้นคนเหล่านี้จึงทำงานเหลื่อมล้ำเวลากับคนส่วนใหญ่ พวกเขาเลือกมที่จะทำงานสี่ทุ่มถึงตีสี่ เพราะช่วงเวลานี้ที่ทำงานเงียบสงัดดียิ่งนัก

แจ๊ค ให้ความใส่ใจกับเหล่าโปรแกรมเมอร์มากเป็นพิเศษ เพราะเป็นขุมกำลังหลักในการสร้างเว๊บไซต์ อาลีบาบา
แจ๊ค ให้ความใส่ใจกับเหล่าโปรแกรมเมอร์มากเป็นพิเศษ เพราะเป็นขุมกำลังหลักในการสร้างเว๊บไซต์ อาลีบาบา

สมัยนั้นการนอนค้างที่ทำงานเป็นเรื่องปรกติ ทีมงานหลาย ๆ คนนอนค้างที่ห้องทำงาน หรือ ห้องประชุมกันบ่อย ๆ พอ ๆ กับนอนที่บ้าน ตอนนั้นบริษัทกับบ้านไม่มีอะไรต่างกันแล้ว บรรดาวิศวกรมักจะทำงานกันดึกดื่น ทำงานจนแทบจะทำต่อไม่ไหว ก็ล้มตัวลงนอนเสียเลย

เดือนมีนาคม ถึง กันยายน 1999 นั้นถือเป็นช่วงการเก็บตัวเพื่อสู้ศึกใหญ่ของแจ๊ค และทีมงาน ตอนนั้น อาลีบาบาแทบจะไม่มีการโฆษณาที่เป็นเรื่องเป็นราวให้ผู้คนหรือลูกค้ารู้จักแม้แต่ชิ้นเดียว และทีสำคัญนโยบายทางการเงินที่ชัดเจนคือ งบโฆษณาเป็นศูนย์

แต่เหล่านักข่าว หรือสื่อมวลต่าง ๆ นั้นก็รู้จักแจ๊คอย่างดีอยู่แล้ว ก็อยากรู้ว่าแจ๊คกำลังทำอะไรอยู่ ซึ่งการที่อาลีบาบา ปิดเงียบสนิทเช่นนี้นั้น ก็ยิ่งทำให้ปลุกเร้าความกระหายอยากรู้ของสื่อมวลชนมากยิ่งขึ้นไปอีก

สื่อต่างประเทศรายแรกที่ค้นพบ อาลีบาบา คือ Business Week ด้วยการอาศัยความสัมพันธ์หลายด้าน จนสามารถเกลี้ยกล่อมให้แจ๊คยอมสัมภาษณ์ได้

แรกเริ่มเดิมทีนั้นแจ๊คก็ไม่ค่อยอยากให้สัมภาษณ์เลยเสียทีเดียว เนื่องจาก อาลีบาบา ในขณะนั้นยังทำงานกันในบ้านหลังเล็กริมทะเลสาบ ไม่มีโทรศัพท์ ไม่มีเครื่องแฟกซ์ มีเพียงแค่ email ไว้ติดต่อเพียงอย่างเดียวเท่านั้น ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าอายที่แจ๊คยังไม่อยากประกาศให้ใครได้รับรู้นั่นเอง

แต่การปฏิเสธสื่อยักษ์ใหญ่อย่าง Business Week คงไม่ใช่วิสัยของแจ๊คแต่อย่างใด ในที่สุดเหล่าผู้สื่อข่าวก็เร่ร่อน กันมาถึง หมู่บ้านเล็ก ๆ ริมทะเลสาบของเมืองหังโจว และได้พบกับ อาลีบาบาอันลึกลับที่พวกเขากำลังสนใจในที่สุด

พอเห็นสภาพบริษัท บรรดาผู้สื่อข่าวก็ถึงกับตกใจ นี่หรือคือ อาลีบาบา ที่มีบริษัทจากทั่วดลกเข้าสมัครสมาชิกถึง 20,000 รายเข้าไปแล้ว

Business Week สื่อชื่อดังจากอเมริการายแรกที่เข้าไปทำข่าวเกี่ยวกับอาลีบาบา
Business Week สื่อชื่อดังจากอเมริการายแรกที่เข้าไปทำข่าวเกี่ยวกับอาลีบาบา

หลายเดือนต่อมาหลังจากอาลีบาบาเริ่มได้รับเงินสนับสนุน และได้แปลงโฉม ย้ายที่ทำการบริษัทใหม่เสร็จเรียบร้อย Business Week  จึงได้เริ่มตีพิมพ์บทความ ซึ่ง มันเหมือนเป็นการโฆษณาฟรีให้กับอาลีบาบา และ Business Week ถือเป็นสื่อยักษ์ใหญ่ของอเมริการในขณะนั้น มีผู้อ่านที่เป็นนักธุรกิจอยู่มากมายทั่วโลก ซึ่งเป็นฐานลูกค้าของอาลีบาบาแทบจะทั้งสิ้น ซึ่งถือว่าเป็นโชคสองชั้นเลยก็ว่าได้สำหรับแจ๊ค และ อาลีบาบา

ซึ่งหลังจากได้รับความสนใจจาก Business Week สื่อต่างประเทศอื่น ๆ ก็เริ่มสนใจอาลีบาบาอย่างเห็นได้ชัด ทั้งสื่อภายในประเทศรวมถึงสื่อใหญ่ ๆ จากต่างประเทศ ต่างประโคมข่าวการเกิดขึ้นของ อาลีบาบา ซึ่งตอนนั้นพร้อมแล้วที่จะออกรบในสงคราม อีคอมเมิร์ซ

มันเป็นการเดินทางที่ยากลำบากไม่ใช่น้อยกับ อาลีบาบา ธุรกิจใหม่ของแจ๊ค ที่เขาได้เห็นถึงอนาคตที่สดใส แม้การเริ่มต้นจะยากลำบากสักแค่ไหน แต่การมีทีมงานที่พร้อมจะสู้ไปกับเขานั้น ก็ทำให้ อาลีบาบา เริ่มเป็นที่สนใจ โดยเฉพาะจากสื่อทั้งจากภายในและต่างประเทศ ตอนนี้ ข่าวมันเริ่มแพร่กระจายไปทั่วโลกแล้ว สำหรับ โมเดลธุรกิจใหม่อันนี้ของแจ๊ค จะเกิดอะไรขึ้นต่อกับ อาลีบาบา หลังจากซุ่มพัฒนาอยู่นานกว่าปีจนเว๊บไซต์สำเร็จไปได้ด้วยดี แผนต่อไปของแจ๊ค คืออะไร อย่าพลาดโปรดติดตามในตอนต่อไปครับผม

–> อ่านตอนที่ 8 : Angle Fund

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :Internet *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Credit แหล่งข้อมูลบทความ

ประวัติ Jack Ma แห่ง Alibaba ตอนที่ 6 : Alibaba

การออกจากปักกิ่งครั้งนี้ ไม่ใช่ว่าแจ๊คนั้นหมดหนทางเลือกเลยเสียทีเดียว ก่อนที่แจ๊คจะออกจากปักกิ่ง นั้น YAHOO และ โชวหู (Sohu) ก็ได้ยื่นโอกาสให้แจ๊ค โดย YAHOO ต้องการผู้จัดการสาขาประจำประเทศจีน เจอร์รี่ หยาง นึกถึงแจ๊คทันที และพยายามง้อแจ๊คหลายครั้ง แต่แจ๊ค ก็ตอบปฏิเสธเจอร์รี่ หยาง มาโดยตลอด เพราะเขาวางอนาคตของตัวเองแล้วว่าจะสร้างบริษัทที่ยิ่งใหญ่ของตัวเองขึ้นมา

ส่วน โชวหู นั้น ตอนนั้น ถือเป็นเว๊บที่โด่งดังมาก ๆ ของจีน และต้องการผู้บริหารระดับสูงในตำแหน่ง COO ( Chief Operation Officer)  ซึ่งคน ๆ นั้นก็คือแจ๊ค ผู้เปรียบเสมือนเป็น บิดาแห่ง internet จีนนั่นเอง แต่แจ๊คก็ได้ตอบปฏิเสธไปเหมือนกัน เพราะเขามีเป้าหมายเดียวคือการสร้างบริษัทของตนเองขึ้นมาใหม่อีกครั้ง

เว๊บ Sohu ซึ่งตอนนั้นเป็นธุรกิจที่ร้อนแรงมาก ๆ ของจีน
เว๊บ Sohu ซึ่งตอนนั้นเป็นธุรกิจที่ร้อนแรงมาก ๆ ของจีน

การที่จะสร้างบริษัทที่มีชื่อเสียงระดับโลกให้ตาม ตามวิสัยทัศน์ของแจ๊ค นั้น ก็ต้องมีชื่อแบรนด์ที่ใช้ได้ทั่วโลกเช่นกัน ทีมงานทุกคนต่างถูกปลุกให้ระดมสมอง ทุกคนก็พยายามสรรหาชื่อที่เหมาะสม พวกเขา list รายชื่อได้ร้อยกว่าชื่อ แต่กลับไม่มีชื่อไหนถูกใจแจ๊ค

ปลายปี 1998 แจ๊คไปติดต่องานที่อเมริกา ขณะกินอาหารที่ร้านธรรมดาแห่งหนึ่ง เขากำลังคิดโยงไปถึงนิทานปรัมปราที่ทุกคนรู้จักดีแต่ก็เริ่มลืมเลือนไปแล้ว internet เหมือนขุมทรัพย์วิเศษ รอให้ผู้คนไปขุดคุ้ย บุกเบิกและนำไปใช้ มันเหมือนกับเทพนิยายอาลีบาบา ใน อาหรับราตรี

ชื่อมาจาก เทพนิยาย อาหรับราตรี
ชื่อมาจาก เทพนิยาย อาหรับราตรี

ครุ่นคิดได้ไม่นาน เขาก็ระงับความตื่นเต้นกับชื่อนี้ไม่ไหว รีบเดินสู่ถนนใหญ่หน้าร้านอาหาร สอบถามผู้คนที่เดินไปมาอยู่แถว ๆ ร้านอาหาร ว่ารู้จัก อาลีบาบา ไหม  ซึ่งเป็นคำตอบที่ได้จากทุกคนที่เขาถาม “Alibaba — Open Sesame!”

และที่ล้ำค่าที่สุด อาลีบาบาออกเสียง “a-li-ba-ba” ในเกือบทุกภาษาของโลก เป็นชื่อที่ไม่ว่าจะใช้ภาษาอะไรก็ไม่มีผิดเพี้ยน ยิ่งทำให้แจ๊ค รู้สึกตื่นเต้นกว่าเดิม หากใช้ชื่อนี้ แน่นอนว่านักธุรกิจทั่วโลก ต้องรู้จักมันอย่างไม่ยากเย็น และ ฟังแล้วเข้าใจทันที แจ๊ค จึงตัดสินใจใช้ “alibaba.com” ซึ่งเป็นชื่อภาษาอังกฤษที่ออกเสียงตรงกันกับภาษาจีนอีกด้วย

ในเดือนมกราคม ปี 1999 แจ๊คและทีมงานก็ได้เคลื่อนพลจากปักกิ่ง กลับ หังโจว ทันทีที่ถึงหังโจว เขาก็เรียกประชุมทีมงานที่บ้านของเขาทันที โดยเป็นการหารือ เรื่องการสร้างธุรกิจใหม่ ซึ่ง เขาต้องการให้ทีมงานทุกคน นำเงินส่วนตัวมาลงขัน โดยต้องไม่มีการยืมมาจากญาติพี่น้อง ต้องเป็นเงินส่วนตัวเท่านั้น และสำคัญต้องไม่ทำให้ครอบครัวของตัวเองเดือดร้อนด้วย

สุดท้ายทั้งหมดก็ควักเงินมารวมกันได้ 500,000 หยวน โดยแบ่งเป็นคนละ 10,000 – 20,000 หยวน โดยเงินทั้งหมดหมดก้อนแรกนี้ ถือ เป็นเงินทุนตั้งต้นของอาลีบาบา ซึ่งอุดมการณ์ของแจ๊ค คือ เขาต้องการให้พนักงานทุกคนถือหุ้น ให้ธุรกิจในอนาคต เป็นธุรกิจหุ้นส่วนอย่างแท้จริง 

ปัญหาใหญ่อีกอย่างของแจ๊ค คือ ตอนนี้ alibaba.com นั้นได้ถูกจดทะเบียนไว้ก่อนแล้วโดยนักธุรกิจของแคนาดา ซึ่งแจ๊คต้องใช้เงินกว่าหมื่นเหรียญในการซื้อ ชื่อ Domain ดังกล่าว ซึ่งจากเงินลงทุน 500,000 หยวน นั้น หมื่นเหรียญถือเป็นเงินไม่ใช่น้อยเลยทีเดียว แต่แจ๊คก็ต้องจำใจซื้อมันมา เพราะ ต้องการใช้ชื่อ Brand Alibaba.com อย่างจริงจัง

ใช้เงินกว่าหมืนเหรียญในการซื้อ domain alibaba.com
ใช้เงินกว่าหมืนเหรียญในการซื้อ domain alibaba.com

การกลับมาหังโจวครั้งนี้ นั้น ความจริงแจ๊ค นั้นมีความคิดเบื้องต้นของเขาไว้อยู่แล้วสำหรับโมเดลของธุรกิจใหม่ใน alibaba.com  สภาพของประเทศจีนในตอนนั้นเว๊บไซต์ เริ่มเกิดขึ้นตามมาเป็นดอกเห็ด เว๊บอีคอมเมิร์ซ เกิดขึ้นมากมาย ธุรกิจ online กำลังกลายเป็นกระแสในธุรกิจของจีน

แต่แจ๊ค นั้นมองอีกอย่าง เขามองว่า อีคอมเมิร์ซ แบบ B2C หรือ Business to Customer นั้นเป็นเรื่องที่จีนยังไม่มีความพร้อม ทั้งเรื่องการชำระเงิน ธนาคารก็ยังไม่มี model รูปแบบการชำระเงินรองรับการซื้อขายแบบ online เลยเสียทีเดียว ส่วนเรื่องระบบ logistics นั้นยิ่งแล้วใหญ่ ยังไม่มีความพร้อมใด ๆ กับการส่งสินค้าไปให้ลูกค้า หากตลาดมันเกิดใหญ่ขึ้นมาจริง ๆ ในตอนนั้น มันต้องเป็นสภาพที่ทุลักทุเลเป็นอย่างมากแน่นอน 

แจ๊ค รู้สึกทันทีว่า โมเดลแบบอเมริกา นั้น ยังไม่เหมาะกับประเทศจีน เขาจะผลักดันโมเดลใหม่คือ B2B (Business to Business) ซึ่งจากประสบการณ์การทำงานกับกระทรวงการค้าต่างประเทศที่ปักกิ่ง ทำให้แจ๊คสามารถมองเห็นภาพรวมในแง่ของยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ 

และมันยังทำให้แจ๊คเข้าใจหลักการหนึ่ง คือ ธุรกิจ SME คือผู้ที่ต้องการ อีคอมเมิร์ซมากที่สุด การให้ SME สร้างโลกใบใหม่ที่เป็นเอกเทศโดยใช้ internet นี่จะเป็นการปฏิวัติ internet อย่างแท้จริง

เว๊บไซต์ ที่เขาคิดจะทำต้องเป็นแพลตฟอร์มขนาดใหญ่ สำหรับให้ร้านค้าปลีกต่าง ๆ มาตั้งร้านในโลกออนไลน์ ในฐานะที่จีนเป็นประเทศซึ่งพัฒนาอย่างรวดเร็ว แพลตฟอร์มตัวนี้จะกลายเป็นตลาดขายส่งที่ใหญ่ที่สุดของโลก ในอนาคต ผู้คนจะสามารถพบและขายของได้ทุกอย่างที่แพลตฟอร์มแห่งนี้ ทั้ง ถุงเท้า ดอกไม้ประดิษฐ์ หลอดกาแฟ เครื่องกีฬา อุปกรณ์ห้องน้ำ เครื่องประดับ อุปกรณ์อิเล็กทรอนิค ต่าง ๆ 

ต้นเดือน กุมภาพันธ์ 1999 โมเดลของแจ๊ค ก็เริ่มเป็นรูปเป็นร่างขึ้น และอาลีบาบาก็ได้ถือกำเนิดขึ้นอย่างเป็นทางการในที่สุด

ในที่สุด alibaba.com เว๊บไซต์โมเดลใหม่ของแจ๊คก็เปิดตัวอย่างเป็นทางการ
ในที่สุด alibaba.com เว๊บไซต์โมเดลใหม่ของแจ๊คก็เปิดตัวอย่างเป็นทางการ

ถึงตอนนี้ต้องบอกว่าแจ๊คนั้น กำลังทำในสิ่งที่ผู้คนในตลาดส่วนใหญ่ ไม่ได้มีใครนึกถึง ในตอนนั้น ผู้คนแห่กันไปทำ เว๊บไซต์ เลียนแบบอเมริกา ไม่ว่าจะเป็น YAHOO , Ebay หรือ Amazon แต่ แจ๊ค กำลังคิดต่าง จากประสบการณ์การทำงานในกระทรวงการค้าต่างประเทศกว่าหนึ่งปีนั้น ถือเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้แจ๊ค ได้เห็น model บางอย่างที่เป็นช่องว่างของตลาดอยู่ นั่นก็คือ เหล่า SME ที่กระจายอยู่ทั่วประเทศจีน พวกเขาเหล่านี้ต้องการ อีคอมเมิร์ซมากที่สุด แล้วมันจะเกิดอะไรขึ้นต่อกับ อาลีบาบา ธุรกิจใหม่ของแจ๊ค โปรดติดตามได้ในตอนต่อไปครับผม

–> อ่านตอนที่ 7 : 18 Founders

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :Internet *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Credit แหล่งข้อมูลบทความ

ประวัติ Jack Ma แห่ง Alibaba ตอนที่ 5 : Break the Wall

ในการขึ้นเหนือครั้งแรก ในปี 1995 นั้น แจ๊ค พบกับความผิดหวัง กับความพยายามเผยแพร่ความคิด เรื่อง internet ในเมืองหลวง ดูเหมือน มันยังเร็วเกินไปที่ทางปักกิ่ง จะยอมรับสิ่งนี้ แต่สองปีผ่านไป โลกมันก้าวเดินไปอย่างรวดเร็ว การกลับมาครั้งนี้ แจ๊คต้องทำให้สำเร็จให้ได้ เพราะ ที่หังโจว ยังรอความหวังจากเขาอยู่

ในเดือนธันวาคม ปี 1997 นั้น แจ๊ค ได้รับหนังสือเชิญจากกระทรวงการค้าต่างประเทศของจีน เขาได้นำคณะทีมงาน ที่ดึงมาจากไชน่าเพจเจสด้วยราว 13 คน ซึ่งเป็นผู้ที่ล้วนภักดีต่อแจ๊คแทบจะทั้งสิ้น แจ๊คกำลังจะทำงานใหญ่ที่เมืองหลวง

ขณะนั้น กระแสของ internet กำลังลุกลามไปทั่วโลก และทางรัฐบาลจีนก็ไม่อยากตกรถด่วนขบวนนี้ ทางกระทรวงการค้าต่างประเทศต้องการสร้างเว๊บไซต์ภายใน ขนาดใหญ่ เพื่อช่วยเหลือในเรื่องการค้าระหว่างประเทศ เพื่อให้ข้อมูลกับเหล่านักธุรกิจและนักลงทุน ทั้งจากภายใน และต่างประเทศ

และสิ่งที่คนระดับสูงของกระทรวงการค้าต่างประเทศห่วงที่สุด คือ การหาคนมีฝีมือมีคุณภาพและเหมาะสมที่สุดมาดำเนินการ กับงานใหญ่เช่นนี้ และเป็นแจ๊คนี่เอง ซึ่งมีชื่อเสียงจากไชน่าเพจเจส และมีประสบการณ์มากพอ กลายเป็นตัวเลือกแรกของเหล่าบรรดาผู้นำในกระทรวง

หลังจากที่แจ๊คเดินทางถึงปักกิ่งแล้ว งานรับผิดชอบหลักของเขา และทีมงาน คือ การบุกเบิกเว๊บไซต์ทางการของกระทรวงการค้าต่างประเทศ แจ๊คและทีมงานรวม 13 คน แม้จะเป็นจำนวนไม่มาก แต่ทุกคนล้วนเป็นผู้เชี่ยวชาญ แทบจะทั้งสิ้น ทำให้บรรลุภารกิจสามารถทำให้เว๊บสร้างเสร็จอย่างรวดเร็วและประสบความสำเร็จ

หลังจากประสบความสำเร็จจาก เว๊บไซต์ภายในที่เป็น intranet ยังไม่ออก internet สากลได้สมบูรณ์แล้ว แจ๊ค นึงเริ่มเกลี้ยกลุ่มให้บุคคลระดับสูงของกระทรวง ให้สร้าง “ตลาดซื้อขายออนไลน์แห่งประเทศจีน” เพราะ internet จะเปลี่ยนประเทศจีน เหล่าผู้บริหารจึงเห็นด้วยกับแนวความคิดของแจ๊ค และ อนุมัติในที่สุด

แจ๊คผลักดันให้ทำเว๊บไซต์ ออกสู่ internet สากล
แจ๊คผลักดันให้ทำเว๊บไซต์ ออกสู่ internet สากล

ปีเศษ ที่แจ๊คกับทีมงานอยู่ที่ปักกิ่ง พวกเขาประสบความสำเร็จในการทำเว๊บตลาดซื้อขายออนไลน์ , เว๊บการค้าส่งออกแห่งประเทศจีนออนไลน์ , เว๊บการลงทุน และมันยังเป็นเว๊บรัฐบาลที่ดีที่สุดด้วยเมื่อเทียบกับกระทรวงอื่น ๆ และได้รับการยกย่องให้เป็นเว๊บไซต์ดีเด่นของจีนในปี  1999

และความเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ก็เกิดขึ้นในวันที่ 4 พฤษภาคม ปี 1998 เว๊บไซต์ยักใหญ่อย่าง YAHOO ได้เปิดเว๊บ YAHOO ภาษาจีนขึ้น และทำให้แจ๊ค นั้นได้มีโอกาสพบกับ เจอร์รี่ หยาง ซึ่งขณะนั้นมีชื่อเสียงโด่งดังสุด ๆ ในอเมริกา

แม้จะยังไม่เริ่มมีสำนักงานในประเทศจีน แต่ YAHOO ในขณะนั้น ก็คิดจะขยายกิจการใหม่ในประเทศจีน นั่นคือ กิจการโฆษณาผ่านเว๊บไซต์

การเยือนจีนครั้งนี้ของ เจอร์รี่ หยางนั้น แจ๊ค เป็น ไกด์ ให้ทั้งวัน ตั้งแต่รับประทานอาหาร จนถึง การนำพาทัวร์ ไปท่องเที่ยวตามสถานที่สำคัญต่าง ๆ แจ๊คอยู่เคียงข้างเจอร์รี่ หยางโดยตลอดเวลา 3 วันที่เขาอยู่ในประเทศจีน

แจ๊ค เป็นผู้ดูแล เจอร์รี่ หยาง ตลอดเวลาที่อยู่ในประเทศจีน
แจ๊ค เป็นผู้ดูแล เจอร์รี่ หยาง ตลอดเวลาที่อยู่ในประเทศจีน

และมันเป็นความสัมพันธ์ที่ดีในขณะ ที่แจ๊ค เป็นผู้รับรอง ซึ่ง เจอร์รี่ หยางนั้นค่อนข้างประทับใจ แจ๊ค เป็นอย่างมาก มันเป็นมิตรภาพของเพื่อน ล้วน ๆ ซึ่งเจอร์รี่ หยาง มั่นใจว่าแจ๊คนั้นต้องกลายเป็นคนที่ยิ่งใหญ่ได้อย่างแน่นอน

หลังจากแจ๊คและทีมงานทำงานที่ปักกิ่งมาได้เกือบปี โดยที่ภารกิจต่าง ๆ เริ่มเสร็จสิ้น แจ๊ค ก็เริ่มมองหาอนาคต ว่าจะทำอย่างไรต่อ การอยู่กับรัฐบาลแบบตอนนี้นั้น แจ๊ค ดูเหมือนมันจะเริ่มที่จะไม่มีอนาคต

หลาย ๆ อย่างไม่ได้เป็นไปตามเป้าหมายที่เขาทำไว้กับรัฐบาล เช่น การจะได้หุ้น 30% ของตลาดซื้อขายออนไลน์ของรัฐบาลที่เคยสัญญากับเขาไว้ก่อนหน้า กลายเป็นเรื่องที่ไม่สามารถทำได้เนื่องจากระบบราชการที่ไม่เอื้ออำนวย ตอนนี้เขาและทีมงาน ได้รับเงินเป็นเงินเดือน เพียงคนละไม่กี่พันหยวนเท่านั้น

แม้แจ๊คจะให้ทางเลือกกับทีมงาน ว่าหากอยากที่จะอยู่ต่อเพื่อสานงานต่อที่ปักกิ่ง ก็สามารถที่จะอยู่ได้ หรือ จะย้ายไปอยู่กับ YAHOO ประเทศจีน ซึ่งตอนนั้นมาตั้งสำนักงานในจีนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ซึ่งอาจจะได้ผลประโยชน์ที่สูงกว่าก็สามารถเลือกเดินทางนี้ได้ เพราะตอนนั้นทีมงานของเขาแข็งแกร่งมากแล้ว และประสบความเร็จกับผลงานให้กับรัฐบาลอย่างสูง

ตอนนี้แจ๊ค ต้องการกลับหังโจว ต้องการกลับบ้านเกิดเพื่อไปบุกเบิกธุรกิจอีกครั้ง ซึ่งแน่นอนการกลับไปตั้งธุรกิจใหม่นั้น ต้องลำบากเหมือนกับตอนตั้ง ไชน่าเพจเจส ใหม่ ๆ และเขาคิดว่าจะสร้างเว๊บไซต์ธุรกิจใหม่ ที่ใหญ่ที่สุดในโลก แจ๊คได้ถามทีมงานว่า จะกลับไปกับเขาหรือไม่ โดยให้เวลาทีมงานทั้งหมดตัดสินใจสามวัน เพื่อเลือกอนาคตของตัวเอง

ให้ทีมงานตัดสินใจอนาคตด้วยตัวเอง ว่าจะกลับหังโจวไปเริ่มธุรกิจใหม่พร้อมเขาหรือไม่
ให้ทีมงานตัดสินใจอนาคตด้วยตัวเอง ว่าจะกลับหังโจวไปเริ่มธุรกิจใหม่พร้อมเขาหรือไม่

แม้แจ๊คจะให้คิดสามวัน แต่เพียงห้านาที ทุกคนก็ตัดสินใจได้แล้ว มันคือทางเลือกเดียวของพวกเขา กลับหังโจวด้วยกัน แล้วเริ่มต้นกันใหม่!

นี่เป็นทีมงานที่มีคุณภาพ สร้างสิ่งที่ยิ่งใหญ่ให้กับรัฐบาลได้สำเร็จ มันถึงเวลาที่พวกเขาต้องทำเพื่อตัวเขาเองเสียที และที่สำคัญ พวกเขาต่างรู้ใจกันมานาน เปรียบเสมือนพี่น้อง ไม่มีใครลังเล ที่จะตัดสินใจกลับหังโจว ร่วมกับแจ๊ค นายที่พวกเขารักที่สุด

ถึงตอนนี้ ภารกิจที่ปักกิ่งของแจ๊ค ก็บรรลุเป้าหมายเป็นที่เรียบร้อยแล้ว แถมยังได้ประสบการณ์มากมายที่ล้ำค่า จากการร่วมงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐบาล ทีมของเขาก็แกร่งขึ้นอีกระดับ และเขามั่นใจว่าตอนนี้เขาพร้อมแล้วที่จะสร้างสิ่งที่ยิงใหญ่ สิ่งที่จะเปลี่ยนแปลงจีน และโลกไปตลอดกาล สิ่ง ๆ นั้นคืออะไร แล้วการเดินทางกลับหังโจว ครั้งนี้ จะเกิดอะไรขึ้นกับ แจ๊คและทีมงาน โปรดติดตามในตอนต่อไป

–> อ่านตอนที่ 6 : Alibaba

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :Internet *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Credit แหล่งข้อมูลบทความ

ประวัติ Jack Ma แห่ง Alibaba ตอนที่ 4 : Bye Bye Hangzhou

ความผิดหวังจากปักกิ่งในการเดินทางครั้งแรก มันก็ไม่ได้ทำให้แจ๊ค ย่อท้อแต่อย่างใด เขาเดินทางกลับหังโจว  ไชน่าเพจเจส ที่หังโจว กำลังเติบโตไปได้ดีเลยทีเดียว ไชน่าเพจเพจสมันเป็นเว๊บไซต์ ทางธุรกิจแห่งแรกของประเทศจีน เป็นโมเดลใหม่ ที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน และผลงานของแจ๊คที่ปักกิ่ง ให้กับสื่อดัง ๆ หลายรายนั้นทำให้ตอนนี้ไชน่าเพจเจสดังเป็นพลุแตกแล้ว

แล้วเมื่อตลาดมันเกิด ก็ย่อมมีคู่แข่งตามมา คู่แข่งรายแรกน่าจะเป็น ไชน่าวินโดวส์ ของ Academy of science ของจีน แต่เนื่องจากมันเป็นองค์กรของรัฐ ทำให้ไม่มีแรงกดดันในเรื่องการหากำไร จึงจะมองเป็นคู่แข่งเลยก็ไม่เชิง แถมยังอยู่ในเมืองหลวงอย่างปักกิ่ง ซึ่งห่างไกลจากฐานที่มั่นของแจ๊คในหังโจวมาก

องค์กรรัฐเต็มตัวอย่าง academy of science ที่ทำไชน่าวินโดวส์นั้น แจ๊คไม่ได้มองเป็นคู่แข่ง
องค์กรรัฐเต็มตัวอย่าง academy of science ที่ทำไชน่าวินโดวส์นั้น แจ๊คไม่ได้มองเป็นคู่แข่ง

แต่คู่แข่งที่น่าจะสมน้ำสมเนื้อมากที่สุดน่าจะเป็น การสื่อสารหังโจว ซึ่งอยู่ในถิ่นเดียวกันและมีกำลังทรัพยากรทั้งคนและเงินทุนมหาศาล ด้วยทุนจดทะเบียนกว่า 300 ล้วนหยวน ส่วนไชน่าเพจเจสนั้นมีทุนจดทะเบียนเพียงแค่ หนึ่งแสนหยวนเพียงเท่านั้น

แต่แม้ในเชิงธุรกิจแล้วนั้น กิจการของไชน่าเพจเจสทำได้ดีกว่าสื่อสารหังโจว ลูกค้าส่วนใหญ่สนใจบริการของแจ๊คมากกว่า ทำให้ไชน่าเพจเจสค่อย ๆ รุกคืบไปทีละก้าว ส่วนการสื่อสารหังโจวก็ถอยร่นไปเรื่อย ๆ 

แต่ปัญหาคือ เรื่องเงินทุนและทรัพยากร ไชน่าเพจเจสนั้นสู้ไม่ได้เลย ในปี 1996 ถึงกับต้องเผชิญกับภาวะไม่มีเงินจะจ่ายพนักงาน ยังดีที่แจ๊คนั้นสามารถจะแก้วิกฤตนี้ได้ทันก่อนที่ขวัญกำลังใจของพนักงานจะเสียไปมากกว่านี้

และเมื่อมันตกอยู่ในสภาพความเป็นจริงที่โหดร้ายเช่นนี้ แจ๊คผู้ไม่เคยยอมก้มหัวให้ใครจึงจำเป็นต้องยอมประนีประนอมอย่างจนปัญญา ในเดือนมีนาคม ปี 1996 ไชน่าเพจเพจสเข้าควบรวมกิจการกับการสื่อสารหังโจว โดย ไชน่าเพจเจสถือหุ้น 30% และ อีก 70% เป็นส่วนของการสื่อสารหังโจว

แจ๊คตัดสินใจครั้งสำคัญ เป็น พาร์ทเนอร์กับ การสื่อสารหังโจว
แจ๊คตัดสินใจครั้งสำคัญ เป็น พาร์ทเนอร์กับ การสื่อสารหังโจว

และมันทำให้กิจการไชน่าเพจเจสนั้น ขยายตัวอย่างรวดเร็ว จนถึงปลายปี 1996 ไม่ใช่แค่ไชน่าเพจเจสสามารถทำกำไรได้อย่างเดียว ยอดการขายก็พุ่งทะลุไปถึง 6 ล้านหยวนด้วย

แต่ด้วยวัฒนธรรมการทำงานของทั้งสองฝ่ายที่ต่างกัน ไม่นานนัก ความร่วมมือของทั้งสองฝ่ายก็เริ่มมีรอยร้าว เป้าหมายของแจ๊คนั้นคือสร้างไชน่าเพจเจสให้เป็น “YAHOO ของประเทศจีน” เขาเสนอให้ทำการบ่มเพาะตลาดก่อน หลังจากที่ตลาดเติบโต้ด้วดีแล้วค่อยทำการแสดงหากำไร แต่มันตรงข้ามกับแนวความคิดของการสื่อสารหังโจว ที่มีภารกิจเดียวคือ การแสดงหากำไรเท่านั้น

ซึ่งความเห็นต่างทางยุทธศาสตร์ต่าง ๆ เหล่านี้นั้น ค่อย ๆ สะสมและลุกลามจนกลายเป็นความขุ่นเคืองทางอารมณ์ ทำให้ทีมงานของแจ๊คต่างขอลาออก และชนวนสุดท้าย สำหรับแจ๊ค มันคือ การที่พาร์ทเนอร์ธุรกิจอย่างการสื่อสารของหังโจว หันไป ตั้งบริษัทใหม่แล้วตั้งบริการแบบเดียวกับ ไชน่าเพจเจส แม้ ชื่อตัวเว๊บไซต์ ยังมีความคล้ายคลึงกัน

มันเป็นเจตนาที่ชัดเจนอยู่แล้วว่า ฝั่งของการสื่อสารหังโจว ต้องการทำอะไร แจ๊ค กำลังถูกหลอก เนื่องมาจากตอนแรกการสื่อสารของหังโจวนั้น ทำแข่งกับแจ๊ค ไม่ไหว จึงต้องมาขอร่วมทุน และสุดท้ายเป้าหมายของพวกเขาก็คือ “ซื้อมา – เผาทิ้ง – ทำเอง” เมื่อได้ know-how จากแจ๊ค ไปมากเพียงพอแล้ว

หลังจากครุ่นคิดอย่างรอบคอบอยู่หลายเดือน ในที่สุด แจ๊ค ก็ต้องยอมพ่ายแพ้ ยอมลาออกจากกิจการร่วมครั้งนี้  แจ๊ค ตัดสินใจแล้วว่า จะไปที่ปักกิ่งอีกครั้ง แต่ไม่ได้เป็นการจากลาจากไชน่าเพจเจสแบบไปแล้วไปลับ แต่จะไปปักกิ่ง เพื่อทำภารกิจอะไรบางอย่างให้เสร็จสิ้นสมบูรณ์  และเมื่อเขาทำภารกิจที่ปักกิ่งเสร็จสิ้น เขาสัญญากับพนักงานทุกคนของไชน่าเพจเจส ว่าเขาจะกลับมาแน่นอน และหวังให้ทุกคนในหังโจว ตั้งใจทำงาน เพื่อรอเขากลับมา

แจ๊คสัญญากับทีมงานไชน่าเพจเจสว่าจะกลับมา
แจ๊คสัญญากับทีมงานไชน่าเพจเจสว่าจะกลับมา

ถึงตอนนี้ มันเป็นความพ่ายแพ้ครั้งแรกของแจ๊ค ในการทำธุรกิจ การถูกหักหลังจากการสื่อสารหังโจวครั้งนี้ ทำให้แจ๊คโตขึ้น และ ไม่ใช่เป็นการยอมแพ้ แต่จะไปทำภารกิจที่เขายังทำไม่เสร็จสิ้นที่ปักกิ่ง จะเกิดอะไรขึ้นที่ปักกิ่ง กับการเดินทางครั้งที่สองของแจ๊ค และ จะเกิดอะไรขึ้นกับ ไชน่าเพจเจสต่อไป โปรดติดตามได้ในตอนต่อไปครับผม

–> อ่านตอนที่ 5 : Break the Wall

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :Internet *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Credit แหล่งข้อมูลบทความ