ประวัติ Jack Ma แห่ง Alibaba ตอนที่ 4 : Bye Bye Hangzhou

ความผิดหวังจากปักกิ่งในการเดินทางครั้งแรก มันก็ไม่ได้ทำให้แจ๊ค ย่อท้อแต่อย่างใด เขาเดินทางกลับหังโจว  ไชน่าเพจเจส ที่หังโจว กำลังเติบโตไปได้ดีเลยทีเดียว ไชน่าเพจเพจสมันเป็นเว๊บไซต์ ทางธุรกิจแห่งแรกของประเทศจีน เป็นโมเดลใหม่ ที่ไม่เคยมีใครทำมาก่อน และผลงานของแจ๊คที่ปักกิ่ง ให้กับสื่อดัง ๆ หลายรายนั้นทำให้ตอนนี้ไชน่าเพจเจสดังเป็นพลุแตกแล้ว

แล้วเมื่อตลาดมันเกิด ก็ย่อมมีคู่แข่งตามมา คู่แข่งรายแรกน่าจะเป็น ไชน่าวินโดวส์ ของ Academy of science ของจีน แต่เนื่องจากมันเป็นองค์กรของรัฐ ทำให้ไม่มีแรงกดดันในเรื่องการหากำไร จึงจะมองเป็นคู่แข่งเลยก็ไม่เชิง แถมยังอยู่ในเมืองหลวงอย่างปักกิ่ง ซึ่งห่างไกลจากฐานที่มั่นของแจ๊คในหังโจวมาก

องค์กรรัฐเต็มตัวอย่าง academy of science ที่ทำไชน่าวินโดวส์นั้น แจ๊คไม่ได้มองเป็นคู่แข่ง
องค์กรรัฐเต็มตัวอย่าง academy of science ที่ทำไชน่าวินโดวส์นั้น แจ๊คไม่ได้มองเป็นคู่แข่ง

แต่คู่แข่งที่น่าจะสมน้ำสมเนื้อมากที่สุดน่าจะเป็น การสื่อสารหังโจว ซึ่งอยู่ในถิ่นเดียวกันและมีกำลังทรัพยากรทั้งคนและเงินทุนมหาศาล ด้วยทุนจดทะเบียนกว่า 300 ล้วนหยวน ส่วนไชน่าเพจเจสนั้นมีทุนจดทะเบียนเพียงแค่ หนึ่งแสนหยวนเพียงเท่านั้น

แต่แม้ในเชิงธุรกิจแล้วนั้น กิจการของไชน่าเพจเจสทำได้ดีกว่าสื่อสารหังโจว ลูกค้าส่วนใหญ่สนใจบริการของแจ๊คมากกว่า ทำให้ไชน่าเพจเจสค่อย ๆ รุกคืบไปทีละก้าว ส่วนการสื่อสารหังโจวก็ถอยร่นไปเรื่อย ๆ 

แต่ปัญหาคือ เรื่องเงินทุนและทรัพยากร ไชน่าเพจเจสนั้นสู้ไม่ได้เลย ในปี 1996 ถึงกับต้องเผชิญกับภาวะไม่มีเงินจะจ่ายพนักงาน ยังดีที่แจ๊คนั้นสามารถจะแก้วิกฤตนี้ได้ทันก่อนที่ขวัญกำลังใจของพนักงานจะเสียไปมากกว่านี้

และเมื่อมันตกอยู่ในสภาพความเป็นจริงที่โหดร้ายเช่นนี้ แจ๊คผู้ไม่เคยยอมก้มหัวให้ใครจึงจำเป็นต้องยอมประนีประนอมอย่างจนปัญญา ในเดือนมีนาคม ปี 1996 ไชน่าเพจเพจสเข้าควบรวมกิจการกับการสื่อสารหังโจว โดย ไชน่าเพจเจสถือหุ้น 30% และ อีก 70% เป็นส่วนของการสื่อสารหังโจว

แจ๊คตัดสินใจครั้งสำคัญ เป็น พาร์ทเนอร์กับ การสื่อสารหังโจว
แจ๊คตัดสินใจครั้งสำคัญ เป็น พาร์ทเนอร์กับ การสื่อสารหังโจว

และมันทำให้กิจการไชน่าเพจเจสนั้น ขยายตัวอย่างรวดเร็ว จนถึงปลายปี 1996 ไม่ใช่แค่ไชน่าเพจเจสสามารถทำกำไรได้อย่างเดียว ยอดการขายก็พุ่งทะลุไปถึง 6 ล้านหยวนด้วย

แต่ด้วยวัฒนธรรมการทำงานของทั้งสองฝ่ายที่ต่างกัน ไม่นานนัก ความร่วมมือของทั้งสองฝ่ายก็เริ่มมีรอยร้าว เป้าหมายของแจ๊คนั้นคือสร้างไชน่าเพจเจสให้เป็น “YAHOO ของประเทศจีน” เขาเสนอให้ทำการบ่มเพาะตลาดก่อน หลังจากที่ตลาดเติบโต้ด้วดีแล้วค่อยทำการแสดงหากำไร แต่มันตรงข้ามกับแนวความคิดของการสื่อสารหังโจว ที่มีภารกิจเดียวคือ การแสดงหากำไรเท่านั้น

ซึ่งความเห็นต่างทางยุทธศาสตร์ต่าง ๆ เหล่านี้นั้น ค่อย ๆ สะสมและลุกลามจนกลายเป็นความขุ่นเคืองทางอารมณ์ ทำให้ทีมงานของแจ๊คต่างขอลาออก และชนวนสุดท้าย สำหรับแจ๊ค มันคือ การที่พาร์ทเนอร์ธุรกิจอย่างการสื่อสารของหังโจว หันไป ตั้งบริษัทใหม่แล้วตั้งบริการแบบเดียวกับ ไชน่าเพจเจส แม้ ชื่อตัวเว๊บไซต์ ยังมีความคล้ายคลึงกัน

มันเป็นเจตนาที่ชัดเจนอยู่แล้วว่า ฝั่งของการสื่อสารหังโจว ต้องการทำอะไร แจ๊ค กำลังถูกหลอก เนื่องมาจากตอนแรกการสื่อสารของหังโจวนั้น ทำแข่งกับแจ๊ค ไม่ไหว จึงต้องมาขอร่วมทุน และสุดท้ายเป้าหมายของพวกเขาก็คือ “ซื้อมา – เผาทิ้ง – ทำเอง” เมื่อได้ know-how จากแจ๊ค ไปมากเพียงพอแล้ว

หลังจากครุ่นคิดอย่างรอบคอบอยู่หลายเดือน ในที่สุด แจ๊ค ก็ต้องยอมพ่ายแพ้ ยอมลาออกจากกิจการร่วมครั้งนี้  แจ๊ค ตัดสินใจแล้วว่า จะไปที่ปักกิ่งอีกครั้ง แต่ไม่ได้เป็นการจากลาจากไชน่าเพจเจสแบบไปแล้วไปลับ แต่จะไปปักกิ่ง เพื่อทำภารกิจอะไรบางอย่างให้เสร็จสิ้นสมบูรณ์  และเมื่อเขาทำภารกิจที่ปักกิ่งเสร็จสิ้น เขาสัญญากับพนักงานทุกคนของไชน่าเพจเจส ว่าเขาจะกลับมาแน่นอน และหวังให้ทุกคนในหังโจว ตั้งใจทำงาน เพื่อรอเขากลับมา

แจ๊คสัญญากับทีมงานไชน่าเพจเจสว่าจะกลับมา
แจ๊คสัญญากับทีมงานไชน่าเพจเจสว่าจะกลับมา

ถึงตอนนี้ มันเป็นความพ่ายแพ้ครั้งแรกของแจ๊ค ในการทำธุรกิจ การถูกหักหลังจากการสื่อสารหังโจวครั้งนี้ ทำให้แจ๊คโตขึ้น และ ไม่ใช่เป็นการยอมแพ้ แต่จะไปทำภารกิจที่เขายังทำไม่เสร็จสิ้นที่ปักกิ่ง จะเกิดอะไรขึ้นที่ปักกิ่ง กับการเดินทางครั้งที่สองของแจ๊ค และ จะเกิดอะไรขึ้นกับ ไชน่าเพจเจสต่อไป โปรดติดตามได้ในตอนต่อไปครับผม

–> อ่านตอนที่ 5 : Break the Wall

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :Internet *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Credit แหล่งข้อมูลบทความ


 


ติดตามสาระดี ๆ อัพเดททุกวันผ่าน Line OA



Geek Forever Club พื้นที่ของการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ



Geek Forever’s Podcast


“Open Your World With Technology


AI , Blockchain และเทคโนโลยีใหม่ ๆ กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในหลายธุรกิจ ทั้ง แวดวงการเงิน สุขภาพ หรือ งานด้านบริการต่าง ๆ ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจเกี่ยวกับ AI หรือ Machine Learning

Podcast ของผมจะเล่าเรื่องราวต่าง รวมถึงเรื่องที่ผมสนใจอื่น ๆ เช่น startup หนังสือ หนัง หรือ กีฬาฟุตบอล อยากชวนคนที่สนใจให้ลองมาติดตาม podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Youtube
ฟังผ่าน Youtube