ประวัติ Google ตอนที่ 7 : Global Goooogling

เข้าสู่ปึ 2003 แต่ละวันจะมีค้นหาข้อมูลด้วยภาษาของตนเองนับสิบ ๆ ล้านครั้งต่อวัน โดย Google สามารถรองรับการใช้งานได้กว่า 100 ภาษา เหล่าผู้คนทั่วโลกต่างใช้ Google ในชีวิตประจำวัน ใช้งานค้นหาทุกอย่างใน Google ตั้งแต่เรื่องพื้นฐาน อย่างการทำอาหาร เรื่องที่อยู่อาศัย ไปจนถึง การค้นหาค้นคว้าเรื่องการศึกษา ความบันเทิง รวมถึงเรื่องเพศ ก็ตาม

นักธุรกิจ นักลงทุนทั่วโลก รวมถึงเหล่าทนายความของพวกเขา ต่างใช้ Google ในการหาข้อมูลของคู่ค้าก่อนเจรจาการค้าครั้งสำคัญอยู่เสมอ เหล่านักเขียนหนังสือ ต่างค้นหาข้อมูลต่าง ๆ รวมถึงข้อเท็จจริงโดยใช้ Google

แม้กระทั่งเจ้าหน้าที่รัฐบาล ก็ยังใช้ Google ในการค้นหาเอกสารต่าง ๆ ด้วยตัวเองแทนใช้ผู้ช่วยเหมือนในอดีต วัยรุ่นผู้อยากรู้เนื้อเพลงยอดนิยม ก็แค่ค้นหา จากเนื้อเพลงบางส่วนได้จาก Google แม้กระทั่งสายลับ CIA ยังถึงกับใช้ Google ในการแกะรอยผู้ก่อการร้าย

การพัฒนาซอฟต์แวร์ก็ก้าวไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว วิศวกรไม่ต้องไปนั่งหาข้อมูลในห้องสมุดเหมือนในอดีตอีกต่อไป ปัญหาทางคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะปัญหาเรื่อง Bug ต่าง ๆ สามารถค้นหาต้นตอได้ผ่าน Google 

คนป่วยใช้ Google ค้นหาโรคจากอาการของตน เหล่านักกีฬาค้นหาอุปกรณ์กีฬา หรือแม้กระทั่งตารางการแข่งขันก็สามารถหาได้จาก Google 

การท่องเที่ยวก็เปลี่ยนไปเช่นกัน เดิมที่ต้องใช้หนังสือท่องเที่ยวเล่มหนาเต๊อะ แต่ตอนนี้สามารถวางแผนการท่องเที่ยวได้ผ่านการค้นหาข้อมูลสถานที่ต่างๆ  ผ่าน Google การท่องไปในโลกกว้างนั้นไม่ได้เป็นเรื่องยากอีกต่อไป แม้จะเข้าถึงยากเพียงใด ก็สามารถค้นหาข้อมูลได้ด้วย Google

ใช้ Google หาข้อมูลท่องเที่ยว
ใช้ Google หาข้อมูลท่องเที่ยว

และ ตอนนี้ Google กำลังเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของคนเกือบครึ่งค่อนโลกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ไม่เคยมีผลิตภัณฑ์แบรนด์ใดได้รับการยอมรับเร็วไปกว่า Google ชื่อบริษัทไม่เพียงแต่กลายเป็นคำศัพท์คำหนึ่งที่เก็บลงในพจนานุกรมภาษาอังกฤษ แต่ยังถูกเก็บในพจนานุกรมภาษาอื่นๆ  อีกหลายภาษา

สิ่งที่การเดินทางด้วยเครื่องบินเจ็ตได้เริ่มทำไว้ในทศวรรษ 1960 และสิ่งที่โทรศัพท์ระหว่างประเทศราคาถูกกับ email สั่งสมขึ้นในระยะเวลาหลายปีมานี้ได้ถูกผลักเข้าสู่อาณาจักรใหม่โดย Google 

มันได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ปัจจัยในเรื่องถิ่นฐานที่อยู่ที่เคยเป็นอุปสรรคในอดีตต่อทั้งการสื่อสารและค้าขายสินค้าได้หมดไป ผู้คนสามารถติดต่อกับคนแปลกหน้าที่อยู่อีกซีกโลกหนึ่งจากบ้านหรือสำนักงานตัวเอง สามารถที่จะทำความรู้จักพวกเขาได้ผ่าน Google รวมถึงสามารถที่จะดูหน้าตารายละเอียดผ่านรูปภาพได้ผ่านเครื่องมือการค้นหาด้วยภาพ 

แต่มันไม่ได้มีเฉพาะด้านดีเพียงเท่านั้น การค้นหาด้วย Google นั้นทำให้เกิดคำถามมากมายต่อเรื่องของความเป็นส่วนตัว แม้ Google จะนำเอาเทคโนโลยีใหม่ในการสื่อสารมาให้เรียนรู้อยู่ตลอดเวลา ซึ่งมันได้กลายเป็นการบังคับกลาย ๆ ให้คนยอมรับในพฤติกรรมใหม่ ๆ 

แต่ปัญหาคือ อะไรคือเส้นแบ่งระหว่างความเป็นส่วนตัวกับสิทธิเสรีภาพในการค้นหาข้อมูล และปัญหาของการที่ข้อมูลที่ค้นหามาได้นั้นเป็นข้อมูลที่ล้าสมัยไปแล้ว บางครั้งก็เป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง การเกิดขึ้นของข่าวลือที่ไม่น่าเชื่อถือ Google ก็ถือเป็นส่วนนึงที่ทำให้ข่าวเหล่านี้ถูกส่งต่อแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็วใน อินเทอร์เน็ต

ส่งที่ไม่ชอบธรรมในสายตาของคนคือ รูปภาพเก่าที่ไม่น่าดูก็ไปปรากฏอยู่ในโปรแกรมค้นภาพของ Google ด้วย แถมมันยังลบออกยากเสียด้วย คนมีชื่อเสียงหลายคนหากมีมีการทำผิดพลาดในอดีตจึงเลือกที่จะเปลี่ยนชื่อไปเลย เพื่อไม่ให้ไปปรากฏในผลการค้นหาเมื่อค้นด้วยชื่อใหม่

เหล่านักเรียนนักศึกษาทุกวัย กลายเป็นผู้ใช้ Google กันอย่างหนัก แม้เหล่าอาจารย์ทั้งหลายจะพยายามห้ามไม่ให้ใช้ Google ในการค้นหาข้อมูลในขณะเรียนอยู่ แต่มันก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปของมนุษย์เรานับแต่ Google ได้ถือกำเนิดขึ้น

สถานบันต่าง ๆ นั้นแม้จะส่งเสริมการใช้ห้องสมุด หรือการพบปะพูดคุยกันแบบซึ่ง ๆ หน้าเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเสียมากกว่า ซึ่งมันเป็นวิธีการหาข้อมูลแบบดั้งเดิมที่ผ่านการทดสอบของเวลามาเนิ่นนานแล้ว

Google ได้เปลี่ยนวิถีการเรียนรู้ของมนษย์เราไปอย่างสิ้นเชิง
Google ได้เปลี่ยนวิถีการเรียนรู้ของมนษย์เราไปอย่างสิ้นเชิง

เหล่านักศึกษาก็มีความเห็นที่ต่างกันในเรื่องของคุณประโยชน์ของ Google ส่วนนึงมองว่ามันได้ทำให้เกิดความเกียจคร้านขึ้น ส่งเสริมให้เกิดการขโมยคัดลอก ไอเดียของผู้อื่น ขัดขวางกระบวนการเรียนรู้แบบดั้งเดิม 

แต่อีกส่วนหนึ่งก็ชื่นชมมัน มันทำให้กระตุ้นให้เกิดการสำรวจเอกสารเบื้องต้นและบทวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ได้ตลอดเวลา และช่วยลดช่องว่างความแตกต่างระหว่างนักศึกษา ส่งเสริมสิทธิความเท่าเทียมในเรื่องการค้นหาข้อมูล ไม่ว่ามหาวิทยาลัย จะใหญ่หรือจะเล็ก จะรวยหรือจะจน เพราะ Google มันได้สร้างประชาธิปไตยของการเข้าถึงข้อมูลให้เกิดขึ้นมากับโลกเรานั่นเอง

–> อ่านตอนที่ 8 : April Fools

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :When Larry Met Sergey *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Credit แหล่งข้อมูลบทความ

ประวัติ Google ตอนที่ 6 : The Google Economy

ในราว ๆ ปี 2002 ในที่สุด Google ก็ได้เริ่มพิสูจน์ตัวเองในฐานะธุรกิจที่สามารถทำเงินได้จริง ๆ จัง ๆ เสียที เหล่านักลงทุนเริ่มได้มองเห็นถึงศักยภาพทางธุรกิจของ Google ที่กำลังจะมีอิทธิพลใหญ่หลวงต่อโลกอินเทอร์เน็ต

โปรแกรมค้นหาของ Google ถูกนำไปติดตั้งเป็นโปรแกรมค้นหาหลักของเว๊บไซต์ชื่อดังมากมาย ซึ่งหนึ่งในเว๊บไซต์ที่มีอิทธิพลสูงต่อชาวอเมริกันในขณะนั้น ก็คือ AOL หรือ American Online ซึ่งมีฐานผู้ใช้งานกว่า 34 ล้านคน

ซึ่งความใหญ่โตของ AOL นี่เองที่มันเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของก้าวใหม่ของ Google มันได้ช่วยให้การเข้าถึง Google นั้นขยายตัวอย่างมหาศาลมากกว่า partner รายอื่นๆ  ก่อนหน้าที่ Google เคยสร้างพันธมิตรไว้

และความคิดในการนำ Google เข้าไปเป็นโปรแกรมค้นหาหลักของ AOL สืบเนื่องมาจากตัว สตีฟ เคส ซึ่งเป็นผู้ร่วมก่อตั้ง AOL เองที่ประทับใจในการใช้งาน Google เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว การที่ บริน และ เพจ ให้ความสำคัญกับผู้ใช้เป็นอันดับหนึ่ง ซึ่งทำให้ผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและได้ผลที่น่าเชื่อถือนั้น ถือเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งที่ทำให้ไปเตะตาเข้ากับผู้ร่วมก่อตั้ง AOL อย่าง สตีฟ เคส

AOL ที่เป็นเว๊บไซต์ยักษ์ใหญ่ในขณะนั้น
AOL ที่เป็นเว๊บไซต์ยักษ์ใหญ่ในขณะนั้น

ต้องเรียกได้ว่าเป็น Deal ที่ Win-Win ทั้งคู่ทั้งฝั่ง AOL เองที่ได้โปรแกรมค้นหาระดับคุณภาพมาเป็นโปรแกรมค้นหาหลักในเว๊บไซต์ของตัวเอง ส่วน Google นั้นแน่นอนว่าจะทำให้สามารถขยายฐานลูกค้าได้อีกในปริมาณมหาศาล

ซึ่งทำให้ Google สามารถที่จะทำโฆษณาที่เกี่ยวข้องกับการค้นหาบนเว๊บไซต์ AOL มีการแบ่งส่วนแบ่งรายได้จากการทำโฆษณา

แม้สองผู้ก่อตั้งอย่างบริน และ เพจ ต้องการจะให้ Google เติบโตอย่างรวดเร็ว และพร้อมจะจ่ายเงินเต็มที่เพื่อให้ได้ร่วมธุรกิจกับ AOL ก็ตาม แต่ เอริก ชมิดต์ นั้น ค่อนข้างเป็นคนที่รอบคอบกว่า เพราะตอนนั้นสถานการณ์ทางด้านการเงินของ Google มีเงินสดอยู่เพียงแค่ 9 ล้านเหรียญในบัญชีเท่านั้น การทุ่มเงินจำนวนมากอาจจะทำให้ Google เดือดร้อนในภายหลังได้ แต่ สุดท้าย บริน และ เพจก็พร้อมที่จะเสี่ยง และผลก็คือสองผู้ก่อตั้งคิดถูกอย่างยิ่งกับ Deal ของ AOL ครั้งนี้

ซึ่งไม่เพียงแค่ AOL เท่านั้น Google ยังเดินหน้าทำสัญญาให้บริการค้นข้อมูลแก่ EarthLink รวมถึง อีก Deal ที่สำคัญกับ ask jeeves ที่เป็นโปรแกรมค้นหาคู่แข่ง ในการจัดหาโฆษณาที่เป็นข้อความให้ รวมถึง Ask Jeeves ยังคงเสนอผลการค้นหาของตนบนฐานของเทคโนโลยีที่ตนเป็นเจ้าของ ซึ่งการเป็นหุ้นส่วนกับคู่แข่งที่สำคัญนี่เอง มันคือสัญญาณบอกว่า Google กำลังโตขึ้นอีกระดับเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

google ดึงคู่แข่งอย่าง Ask Jeeves มาเป็นพันธมิตร
google ดึงคู่แข่งอย่าง Ask Jeeves มาเป็นพันธมิตร

ถึงตอนนี้ โปรแกรมค้นหาของ Google นั้นทำตลาดแทบจะตลอด 24 ชั่วโมงในทุก ๆ วัน มันมีคำหรือ วลีนับล้านคำ ที่ผู้คนกำลังค้นหา ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นสินค้าและบริการแทบจะทั้งสิ้น ตัวอย่างชื่อสินค้าประจำวันเช่น “Pet food” อาจจะมีราคาประมํูลที่ถูก กว่า คำอย่าง “Investment Advice” ซึ่งเป็นกลไกของตลาดในเรื่องราคาที่ผู้ลงโฆษณายินดีที่จะจ่ายเพื่อให้โฆษณาของตนได้ปรากฏเมื่อมีคนค้นหาคำ ๆ นั้นบน Google

มันทำให้ Google ได้เงินทุกครั้งที่ผู้ใช้คอมพิวเตอร์คลิกบนโฆษณา ที่มันแสดงขึ้นบนผลการค้นหา และมันถูกทำงานแบบอัตโนมัติ โดยระบบการประมูลออนไลน์ ซึ่งมันทำให้ Google มั่นใจได้ว่า จะได้รับราคาที่ดีที่สุดอยู่เสมอ และสร้างกระแสเงินสดปริมาณมหาศาลให้ Google มากขึ้นเรื่อย ๆ 

มันได้ทำให้เกิดธุรกิจเกี่ยวเนื่องอีกมากมาย ทั้งระบบทำงานแบบอัตโนมัติ หรือ การเกิดขึ้นของเหล่านักการตลาดมืออาชีพ ผู้ซึ่งเชี่ยวชาญการทำการตลาดผ่าน Google หรือ เหล่านักสร้าง Content ให้ติดอันดับการค้นหาใน Google ในผลการค้นหาแรก ๆ 

บริษัททั้งขนาดใหญ่ และ ขนาดเล็กนั้น ได้เข้ามาร่วมการประมูลคำหลัก ๆ เหล่านี้ และทำการส่งเงินมาให้ Google ทุก ๆ วันกว่าหลายล้านเหรียญ การที่สามารถเข้าไปใช้งานด้วยตัวเองได้ ไม่ต้องพึ่งพาสื่อเก่า ๆ อย่าง ทีวี หรือ วิทยุ ทำให้ เหล่าธุรกิจขนาดย่อมสามารถที่จะร่วมในการแข่งประมูลคำเหล่านี้ได้

ระบบประมูลคำค้นหา เป็นเครื่องจักรผลิตเงินให้ Google ตลอด 24 ชม.
ระบบประมูลคำค้นหา เป็นเครื่องจักรผลิตเงินให้ Google ตลอด 24 ชม.

แต่อย่างไรก็ดีนั้น การประมูลราคาที่สูงสุด ไม่ใช่ปัจจัยเดียวที่จะทำให้โฆษณาขึ้นไปอยู่จุดสูงสุดของผลการค้นหา Google นั้นจะพิจารณา เรื่องความน่าสนใจของโฆษณาเป็นอีกปัจจัยด้วย ไม่ใช่เพียงแค่ราคาประมูลที่สูงที่สุดเท่านั้น มันทำให้เหล่านักโฆษณาต้องมีการปรับปรุงโฆษณาให้ดึงดูดผู้ใช้งานให้มาคลิกให้มากที่สุด

การได้ทั้ง Yahoo , AOL , EarthLink และ Ask Jeeves มาเป็นหุ้นส่วนนั้น ทำให้อิทธิพลของ Google ต่อโลกอินเทอร์เน็ตเพิ่มสูงขึ้น และกลายเป็นที่รู้จักมากที่สุด ซึ่งผลจากการกลายเป็นโปรแกรมหลักในเครือข่ายการค้นหาเหล่านี้ สุดท้ายก็ทำให้ผู้คนรู้จัก Google มากยิ่งขึ้น กลายเป็นเครือข่ายผลิตเงินให้ Google ในที่สุด

และมันส่งผลให้ฐานะทางการเงินของ Google เติบโตขึ้นแบบฉุดไม่อยู่ ในปี 2002 นั้น Google สร้างรายได้ 440 ล้านเหรียญ และสามารถทำกำไรได้ถึงกว่า 100 ล้านเหรียญ ซึ่งกำไรทั้งหมดมันมาจากการที่ผู้ใช้คลิกข้อความโฆษณาที่วางอยู่ทางขวาในหน้ารายงานผลการค้นหาบน Google.com

มันทำให้ บริน เพจ และ เอริก ชมิดต์ สามารถจะผลักดันให้ Google เติบโตได้อย่างเต็มที่ พวกเขาแทบจะปิดปากเงียบสนิท เกี่ยวกับตัวเลขทางการเงินเพื่อไม่ให้คนอื่น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Microsoft และ Yahoo รู้ว่าการค้นข้อมูลออนไลน์และธุรกิจการโฆษณาของตนนั้นทำกำไรได้มหาศาลขนาดไหน ซึ่งกว่าที่เหล่ายักษ์ใหญ่เหล่านี้จะรู้เท่าทัน Google ก็ได้พัฒนาบริการของตนเองจน ยากที่คู่แข่งจะตามทันเสียแล้ว

MSN ของยักษ์ใหญ่อย่าง Microsoft ยังไม่รู้ว่าจะถูกแย่งชิงเค้กจากเม็ดเงินโฆษณาออนไลน์โดย Google
MSN ของยักษ์ใหญ่อย่าง Microsoft ยังไม่รู้ว่าจะถูกแย่งชิงเค้กจากเม็ดเงินโฆษณาออนไลน์โดย Google

การเป็นผู้ริเริ่มทำเป็นคนแรก และการเติบโตอย่างรวดเร็วที่สุดในประวัติศาสตร์ของบริษัทอเมริกาของ Google มันได้ย้ายเงินโฆษณาที่เดิมต้องจ่ายให้สื่อเก่า ๆ อย่าง ทีวี วิทยุ หนังสือพิมพ์ และ นิตยสาร มายังอินเทอร์เน็ตแทน และตอนนี้ บริษัทซึ่งตั้งเป้าหมายแรกเพียงแค่ต้องการเป็นผู้สนองการค้นข้อมูลเพียงอย่างเดียวอย่าง Google ได้ก้าวขึ้นมาท้าทายอำนาจของบริษัทยักษ์ใหญ่ในโลกอินเทอร์เน็ต ผ่านการโฆษณาทางอินเทอร์เน็ตได้สำเร็จแล้ว 

แล้วเหล่ายักษ์ใหญ่ จะรู้ตัวเมื่อไหร่ ว่าพวกเขากำลังถูกแย่งชิงเค้กเม็ดเงินโฆษณาทางออนไลน์จำนวนมหาศาลที่ Google ดึงมาได้สำเร็จ และจะตอบโต้กับ การเติบโตที่รวดเร็วของ Google ได้อย่างไร Google จะทะยานไปทางไหนต่อ โปรดอย่าพลาดติดตามตอนต่อไปครับผม

-> อ่านตอนที่ 7 : Global Goooogling

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :When Larry Met Sergey *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Credit แหล่งข้อมูลบทความ

ประวัติ Google ตอนที่ 5 : Hiring a Pilot

เอริก ชมิดต์ ไม่ได้มีความคิดที่จะมาเยี่ยมเยียน Google เลยในขณะที่เขาได้เดินทางมาพบ บริน และ เพจ ในเดือนธันวาคมปี 2000 แต่เนื่องจอห์น โดเออร์ แห่ง ไคลเนอร์ เปอร์กินส์ ที่รู้จักเป็นการส่วนตัวกับ เอริก ชมิดต์ ซึ่ง โดเออร์นั้นอยากให้ ชมิดต์ ได้เข้าไปมีบทบาทไม่ทางใดก็ทางหนึ่งอย่างน้อยที่สุดก็ขอให้ไปมีบทบาทในคณะบริหาร 

ชมิดต์ นั้นไม่เชื่อแต่แรกเริ่มว่าจะมีคนสนใจโปรแกรมค้นหาแบบจริง ๆ จัง  ๆ และจะสามารถทำให้มันเป็นธุรกิจได้ และในขณะนั้น ชมิดต์ ซึ่งกำลังเป็น CEO ของ Novell บริษัทซอฟต์แวร์ชื่อดัง ก็ยังไม่ได้มีแนวคิดที่จะหางานใหม่แต่อย่างใด แต่สถานการณ์ของ Novell ขณะนั้นกำลังจะถูกขาย มันคือโชคชะตาลิขิตบางอย่างที่ทำให้ชมิดต์ ต้องเข้ามาร่วมหัวจมท้ายกับ เหล่าผู้ก่อตั้ง Google

เอริก ชมิดต์ ที่ขณะนั้นเป็น CEO ของ Novell อยู่
เอริก ชมิดต์ ที่ขณะนั้นเป็น CEO ของ Novell อยู่

และในทางฟากฝั่งของสองคู่หู Google อย่าง บริน และ เพจ ก็คิดเช่นเดียวกัน ในตอนนั้นทั้งสองยังไม่ได้ต้องการหาคนอื่นมาเพื่อช่วยพวกเขา พวกเขากำลังสนุกกับการปั้นแต่ง Google ให้กลายเป็นโปรแกรมค้นหาระดับโลกให้ได้ และ การไปพบกับ ชมิดต์ ก็เหตุผลอันเดียวกัน เพราะต้องเอาใจโดเออร์ และ โมริตซ์ นักลงทุนรายใหญ่ของพวกเขาเพียงเท่านั้น

ทั้งบรินและเพจ ยังไม่ต้องการให้มีใครมาจุ้นจ้านใน Google โดยเฉพาะเรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ ซึ่งพวกเขามองว่ามันเป็นการทำให้การสร้างสรรค์ของพวกเขาอาจจะต้องหยุดชะงักลง

มันเป็นเวลากว่า 16 เดือนแล้วที่ โดเออร์ พยายามที่จะควานหามือดีมาทำหน้าที่  CEO ให้กับ Google แต่มันยังไม่มีใครหน้าไหนที่ทำให้สองคู่หูผู้ก่อตั้งอย่าง บริน และ เพจ พอใจได้เลย ทั้งสองปฏิเสธคนมานับต่อนับ ในสายต่อของพวกเขานั้น ทุกอย่างที่ Google กำลังไปได้สวยในสายตาของพวกเขา และทั้งคู่พยายามสุดความสามารถในการทำให้คนที่โดเออร์ส่งมานั้นไม่มีใครอยากกลับมาทำงานด้วยเลย

จอห์น โดเออร์ ต้องการ CEO มาช่วยประคับประคองสองคู่หูผู้ก่อตั้ง Google
จอห์น โดเออร์ ต้องการ CEO มาช่วยประคับประคองสองคู่หูผู้ก่อตั้ง Google

การพบกันครั้งแรกของพวกเขาทั้งสามนั้น เต็มไปด้วยการถกเถียง บริน นั้นเริ่มโจมตี ชมิดต์ก่อนเลย เกี่ยวกับ ความอ่อนด้อย ของ ชมิดต์ ในการใช้ยุทธศาสตร์กับบริษัท Novell ที่เขาทำงานอยู่ และชมิดต์ ก็เถียงกับอย่างรุนแรง แต่มันเป็นการเถียงกันด้วยปัญญาล้วน ๆ โต้กันไปโต้กันมา ซึ่งครั้งนี้ มันทำให้ ชมิดต์เริ่มเอนเอียง เพราะ เป็นเวลานานมากแล้วที่เขาไม่ได้ถกเถียงกับใครสนุกเท่ากับการถกเถียงกับคู่หูผู้ก่อตั้ง Google อย่าง บริน และ เพจ

และการถกเถียงครั้งนี้ ทำให้สองคู่หูนั้นเริ่มหันมาสนใจ ชมิดต์ หลังจากปฏิเสธตัวเลือกหลายคนก่อนหน้านี้ไปอย่างไม่ใยดี สิ่งที่สองคู่หูชอบชมิดต์ คือ เขาไม่เพียงเป็น CEO มากประสบการณ์เพียงเท่านั้น แต่ยังเป็นนักวิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์ รู้ลึก รู้จริง เสียด้วย ซึ่งเป็นที่ถูกใจกับเหล่าผู้ก่อตั้ง Google เป็นอย่างมาก และความสัมพันธ์ของพวกเขาทั้งสามมันได้เริ่มต้นขึ้นแล้ว

ซึ่งในที่สุดนั้น ชมิดต์ ก็บรรลุข้อตกลงกับ บริน และ เพจในเดือนมกราคมปี 2001 และสรุปทุกอย่างลงตัวในเรื่องการเงินและกฏหมายในเดือนมีนาคม 2001 โดยที่ ตั้งแต่เดือนมีนาคม จนถึงเดือนกรกฏาคม นั้น ชมิดต์จะควบตำแหน่งประธาน Google และ CEO ของ Novell โดยจะใช้เวลาที่ Google หลังจากทำงานประจำวันที่ Novell เสร็จเรียบร้อยแล้ว

และเมื่อการควบรวมกิจการของ Novell เสร็จสิ้นในเดือนกรกฏาคมปี 2001 เขาจะเข้ารับตำแหน่ง CEO ของ Google อย่างเป็นทางการ และเขายังได้จ่ายเงินส่วนตัวกว่า 1 ล้านเหรียญเพื่อซื้อหุ้นบุริมสิทธิใน Google อีกด้วย

ชมิดต์ นั้นมีภารกิจมากมายที่ต้องทำใน Google เขารู้ว่าต้องทำอะไรบ้าง แต่เขาต้องชักจูง บรินและเพจ ให้ยอมรับความจำเป็นในการสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางธุรกิจด้วย ยกตัวอย่างเช่น การบันทึกข้อมูลด้านการเงินและระบบเงินเดือนนั้นให้ปรับมาใช้ซอฟต์แวร์มาตรฐานของ Quicken

และงานในสองปีแรกของชมิดต์ นั้น คือ การวางโครงสร้างทางธุรกิจและการจัดการไว้รอบวิสัยทัศน์ และ สิ่งต่าง ๆ ที่ บรินกับเพจ ได้ร่วมสร้างกันมาก่อนหน้าแล้ว  และผลักดันวิสัยทัศน์ของผู้ก่อตั้งทั้งสองเข้าไปในเส้นทางที่มีโอกาสที่ดีที่สุดที่จะสร้างรายได้ที่สามารถจับต้องได้ และ มาหล่อเลี้ยงธุรกิจได้จริง ๆ 

ซึ่งกลุ่มสามคนก็สามารถที่จะหล่อรวมกันทำงานเป็นทีมได้ดีขึ้นด้วยความช่วยเหลือของคนนอกคนหนึ่ง คือ บิลล์ แคมพ์เบลล์ CEO ของ Intuit ซึ่งโดเออร์พาเข้ามาช่วยแนะนำพวกเขา มันทำให้ชมิดต์ ได้เรียนรู้ว่าเมื่อไหร่ที่จะต้องสู้ เมื่อไหร่ต้องหาทางอื่น และจะหลอมรวมความไว้ใจต่าง ๆ ให้ทำงานไปอย่างลุล่วง ซึ่งมันได้ส่วนผสมที่ลงตัวของ Google โดย บริน เป็นนักวิ่งเต้นทางธุรกิจที่มีพรสวรรค์ ส่วน เพจ นั้น เป็นนักเทคโนโยลีที่ลึกล้ำที่สุดในกลุ่มสามคน ส่วน ชมิดต์  จะเน้นไปที่รายละเอียดของการดำเนินธุรกิจ

บิลล์ แคมพ์เบลล์ โค้ช CEO ระดับตำนาน มาคอยเป็นที่ปรึกษาให้ทั้งสาม
บิลล์ แคมพ์เบลล์ โค้ช CEO ระดับตำนาน มาคอยเป็นที่ปรึกษาให้ทั้งสาม

และเมื่อ Google ได้เริ่มเติบโตขึ้น มันก็ได้เห็นความจำเป็นชัดเจนขึ้นเรื่อย ๆ กับสิ่งที่ จอห์น โดเออร์ทำในการกระตุ้นให้ บรินและเพจ จ้าง ชมิดต์เข้ามาเป็น CEO นั้นเป็นสิ่งที่สำคัญ และการได้ บิลล์ แคมพ์เบลล์ โค้ช CEO ในตำนานมาช่วยเหลือในฐานะที่ปรึกษานั้น ก็ส่งผลช่วยให้ทั้งสามนั้นร่วมกันทำงานได้อย่างดียิ่งขึ้น พวกเขาได้รับการชี้แนะที่จำเป็น ในการดำเนินธุรกิจที่เติบโตขึ้นเรื่อย ๆ อย่างรวดเร็ว ในรูปแบบของมืออาชีพ ในขณะที่การสร้างนวัตกรรมและความเป็นผู้ประกอบในบริษัทยุคใหม่นั้น กำลังเดินหน้าอย่างเต็มที่ ในที่สุด พวกเขาทั้งสามก็ได้ยอมรับระบบการบริหารแบบใหม่ ซึ่งมีกลุ่มคนสามคนอยู่ชั้นสูงสุด

แม้ดูเหมือน เอริก ชมิดต์ จะรั้งตำแหน่ง CEO ในกลุ่มสามคนที่ดูเหมือนจะมีอำนาจสูงสุด  แต่ในไม่ใช้ชมิดต์ ก็พบว่า อำนาจที่เขาได้มานั้นมันไม่ง่ายเลยที่จะควบคุมเหล่าคู่หูผู้ก่อตั้งทั้งสองที่ชอบเล่นนอกกรอบอยู่ตลอดเวลา ถึงตอนนี้ Google ก็ได้มืออาชีพมาคอยเป็นพี่เลี้ยงให้กับคู่หูทั้งสองเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ตอนนี้ Google พร้อมที่จะทยานไปข้างหน้าแบบมืออาชีพ และการรังสรรค์นวัตกรรมที่เตรียมที่จะออกมาอย่างต่อเนื่องนับต่อจากนี้ จะเกิดอะไรขึ้นกับ Google ต่อไป โปรดอย่าพลาดติดตามตอนต่อไปครับผม

–> อ่านตอนที่ 6 : The Google Economy

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :When Larry Met Sergey *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Credit แหล่งข้อมูลบทความ

ประวัติ Google ตอนที่ 4 : Divide and Conquer

เมื่อ บริน และ เพจ ออกจากสแตนฟอร์ด อย่างเป็นทางการใน ฤดูใบไม้ร่วงปี 1998 พวกเขาก็ได้ก่อตั้ง Google Inc. อย่างเป็นทางการในวันที่ 7 กันยายน ปี 1998 และ ใช้โรงรถในบ้านเช่าหลังหนึ่งที่พวกเขาเช่าใช้เป็นทีทำการบริษัท เฉกเช่นที่บริษัทใหม่ ๆ ในซิลิกอนวัลเลย์ทำเป็นส่วนใหญ่

โปรแกรมค้นหาของพวกเขานั้นเป็นที่รู้จักอยู่แล้วในสแตนฟอร์ด มีการค้นหาผ่าน google ในแต่ละวันราว ๆ 100,000 รายการ ผู้คนต่างหลงรัก google ตั้งแต่แรกพบ ด้วยความเรียบง่าย สะอาด และ ทำงานได้อย่างรวดเร็วของมัน มันเป็นการเติบโตแบบปากต่อปากแทบจะทั้งสิ้น โดยที่พวกเขาแทบจะไม่ต้องเสียเงินโปรโมตอะไรเลยด้วยซ้ำ

เพียงไม่นานก็มีการค้นหากว่า 100,000 ครั้งต่อวัน
เพียงไม่นานก็มีการค้นหากว่า 100,000 ครั้งต่อวัน

บรินและเพจ เริ่มพยายามสร้างวัฒนธรรมการทำงานแบบใหม่ เพื่อดึงดูดคนหนุ่มสาวเข้ามาเปลี่ยนโลกกับเขา ด้วยทุนทรัพย์ที่จำกัดทำให้ไม่สามารถจ่ายค่าจ้างแพง ๆ ได้ แต่พวกเขาได้ สร้างวัฒนธรรมอย่าง การให้หุ้น อาหารและเครื่องดื่มที่ฟรี และ เป้าหมายที่ใหญ่มากของพวกเขาที่จะให้คนทั่วโลกนับล้านได้ใช้งาน google มันก็เป็นแรงดึงดูดสำคัญให้เหล่าคนรุ่นใหม่สนใจจะมาทำงานกับ google มากยิ่งขึ้น

ซึ่งเพจและบริน นั้นคิดอยู่เพียงอย่างเดียวที่จะพัฒนาบริการของเขาให้ดีที่สุด เรื่องการหาเงินนั้นพวกเขายังไม่สนใจใด  ๆด้วยซ้ำในช่วงแรกของการก่อตั้ง Google พวกเขาต้องการสร้างประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุด ซึ่งทำให้มีผู้ใช้งานใหม่ ๆ เข้ามามาก และเพื่อให้มั่นใจในความแม่นยำ ความเร็วในการตอบสนอง ทั้งสองก็ได้ลงทุนสร้างฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์เพิ่มด้วยเงินที่่หามาได้แทบจะทั้งหมด

แต่การเติบโตอย่างรวดเร็วของ Google นั้นมันทำให้เงินจากนักลงทุนหมดลงไปอย่างรวดเร็วเช่นเดียวกัน แม้พวกเขาใช้ส่วนประกอบคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลราคาถูกและได้สร้างซอฟท์แวร์เลียนแบบการทำงานของซุเปอร์คอมพิวเตอร์ขึ้นมาเองเสียด้วยซ้ำ แต่การเติบโตอย่างรวดเร็วจนการค้นหาเพิ่มขึ้นถึง 500,000 รายต่อวันนั้น มันทำให้แค่เพียงสิ้นปี 1998 เงินลงทุนกว่า 1 ล้านเหรียญทีได้จาก เบ็คโตลส์ไฮม์ รวมถึงเงินส่วนตัวของทั้งสองก็หมดลงไปในที่สุด

และการที่จะได้เงินทุนมหาศาลมาหล่อเลี้ยงธุรกิจตั้งไข่ของพวกเขา ที่ยังไม่มีโมเดลทำเงินที่ชัดเจนนั้น ก็ต้องกระโจนเข้าหาบริษัทลงทุนยักษ์ใหญ่อย่าง Kleiner Perkins Caufield & Byers (KPCB) ของ จอห์น โดเออร์ รวมถึง sequoia capital ของ ไมเคิล โมริตซ์ ซึ่งทั้งสองเป็นนักลงทุนระดับตำนานของ ซิลิกอน วัลเลย์

KPCB ของ จอห์น โดเออร์
KPCB ของ จอห์น โดเออร์

แม้ทั้งสองบริษัทลงทุน ยักษ์ใหญ่ จะมีเหล่าบริษัทสตาร์ทอัพมากมาย มาเสนอให้ลงทุน แต่ดูเหมือนว่า Google จะแตกต่างออกไปจากบริษัทอื่น ๆ บรินและเพจ เดินเข้าไปหาพร้อมเทคโนโลยีการค้นหาที่เหนือกว่าโปรแกรมอื่นที่ทั้ง โดเออร์ และ โมริตซ์ เคยพบเจอมาก่อน

และเอกลักษณ์ที่แตกต่าง ความฉลาดสุด ๆ ของทั้งสอง การมีสายเลือดของสแตนฟอร์ดที่เข้มข้น มีไฟอยู่เต็มเปี่ยม โมริตซ์ เคยรู้จักทั้งคู่ผ่านการลงทุนที่ Yahoo ในช่วงก่อนหน้า ซึ่งเป็นยุทธศาสตร์ที่ต่อยอดเพื่อเสริมบริการของ Yahoo ได้อย่างดีเยี่ยม

ไมเคิล โมริตซ์ แห่ง sequoia capital ต้องการ google มาเสริมธุรกิจที่เคยลงทุนไป
ไมเคิล โมริตซ์ แห่ง sequoia capital ต้องการ google มาเสริมธุรกิจที่เคยลงทุนไป

โมริตซ์มองว่า การมีผู้ตั้งสองคนมีโอกาสประสบความสำเร็จได้มากกว่าการมีผู้ก่อตั้งเพียงคนเดียว ซึ่งมันเคยเกิดขึ้นมาแล้วตั้งแต่ บิลล์ เกตส์ และ พอล อัลเลน แห่ง Microsoft , สตีฟ จ๊อบส์ และ สตีฟ วอซเนี๊ยก แห่ง apple

ส่วนฟากของจอห์น โดเออร์ นั้นชอบอยู่แล้วในเรื่องการเปลี่ยนแปลงระยะยาวของอินเทอร์เน็ต เขาไม่ซีเรียสในเรื่องการที่ยังไม่มี โมเดลธุรกิจที่จะทำเงินชัดเจนจาก gooogle จากผู้ก่อตั้งทั้งสอง และเขามีความสัมพันธ์ที่ดีผ่าน เจฟ เบซอส ที่ได้เป็นผู้ลงทุนระยะแรก ๆ ของ google ด้วย

ทั้งสองบริษัทนั้นพร้อมที่จะลงทุนกับ google เป็นอย่างยิ่ง แต่ปัญหาคือ นักลงทุนทั้งสองไม่ยอมลงทุนร่วมกันใน google ซึ่งมันเป็นสถานการณ์ที่ทำให้เกิดความยากลำบากในกาตัดสินใจของ ทั้งบริน และ เพจ และทั้งสองบริษัทก็ไม่มีใครยอมใครโดยเด็ดขาด

ด้วยความเป็นต่อของทั้งบริน และ เพจ ที่ธุรกิจของพวกเขากำลังเตะตาไปทั่วซิลิกอนวัลเลย์ รวมถึงความต้องการเงินลงทุนโดยเร็วที่สุด ทำให้ทั้งสองตัดสินใจบอกทั้ง โมริตซ์ และ โดเออร์ว่า หากทั้งสองไม่ทำงานร่วมกัน google ก็จะใช้ทางเลือกอื่นโดยจะไปหานักลงทุนกลุ่มอื่นๆ  แทน

สุดท้าย ทั้งสองบริษัทก็ต้องยอมให้กับ Google โดยเสนอลงทุนฝ่ายละ 12.5 ล้านเหรียญ และยอมรับข้อเรียกร้องของ บริน และ เพจ ว่าต้องการรับผิดชอบการจัดการเรื่องภายในบริษัทเอง และสามารถควบคุมการออกเสียงได้ และมีการเสนอจากโดเออร์ และ โมริตซ์ ให้มีการว่าจ้างผู้บริหารที่มีประสบการณ์มาช่วยพวกเขาเปลี่ยนโปรแกรมการค้นหาของตนให้เป็นธุรกิจที่เป็นกำไร และมันเป็น Deal ที่สมเหตุสมผล จนไปสู่การตกลงกับ Deal ดังกล่าวในที่สุด

ในที่สุดทั้งบรินและเพจก็สามารถจบ Deal ยักษ์นี้ได้สำเร็จและพร้อมพา google ไปในระดับโลก
ในที่สุดทั้งบรินและเพจก็สามารถจบ Deal ยักษ์นี้ได้สำเร็จและพร้อมพา google ไปในระดับโลก

ทั้งบรินและเพจ พร้อมแล้วทั้งเงินทุน และทีมงานที่ปรึกษาระดับพระกาฬ ที่พร้อมจะช่วยพวกเขาสร้างโปรแกรมค้นหาที่สมบูรณ์แบบ และ เป้าหมายของพวกเขานั้นก้าวข้ามอเมริกาไปเป็นระดับโลกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

การแถลงการณ์เรื่องการร่วมลงทุนของทั้ง โมริตซ์ และ โดเออร์ เป็นที่ฮือฮาไปทั่วทั้งซิลิกอนวัลเลย์ มีการประกาศรายละเอียดเกี่ยวกับการให้ทุนและข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับ google ทั้งรายชื่อผู้ลงทุน และการเติบโตในอัตราร้อยละ 50 ต่อเดือน ทำให้ google กำลังถูกจับตามองไปทั่วโลกทันที

มันเป็นช่วงเวลา ที่เป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญที่สุดของ Google เป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นและน่ายินดีสำหรับผู้ก่อตั้งทั้งสอง แต่อย่างไรก็ตาม การแถลงการที่เต็มไปด้วยตัวเลขที่สวยหรูมากมาย เกี่ยวกับ Deal ในครั้งนี้นั้น มันไม่ได้ตอบคำถามใหญ่ที่สำคัญข้อนึง ก็คือ Google จะมีแผนการทำเงินด้วยวิธีใด? แล้วสถานการณ์ของ Google หลังจากได้เงินทุนก้อนใหญ่ จะเกิดอะไรขึ้นกับ google ต่อจากนี้ แล้ว ผู้บริหารที่มีประสบการณ์ที่จะมาช่วยพยุง google ในช่วงแรกเริ่มตั้งไข่จะเป็นใคร? โปรดอย่าพลาดติดตามตอนต่อไปครับผม

–> อ่านตอนที่ 5 : Hiring a Pilot

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :When Larry Met Sergey *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Credit แหล่งข้อมูลบทความ

 

ประวัติ Google ตอนที่ 3 : The Secret Sauce

ลาร์รี่ เพจ และ เซอร์เกย์ บริน กำลังเผชิญบททดสอบครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดครั้งนึง จากการหยุดเรียนปริญญาเอก จาก สแตนฟอร์ด แล้วมาทำตามสิ่งที่เขาเชื่อมั่นว่ามันจะเป็นสิ่งที่เปลี่ยนโลกเราให้ดีขึ้นได้ แต่ปัญหาแรกคือ พวกเขาแทบจะไม่มีทุนในการจัดหาเซอร์เวอร์ ที่กำลังเติบโตขึ้นอย่างบ้าคลั่ง ๆ พร้อมกับ เว๊บไซต์ที่กำลังเกิดขึ้นแบบดอกเห็ด

และเหมือนฟ้ามาโปรดให้กับคู่หูทั้งสอง เมื่อ เดวิด เชอรีตัน หนึ่งในอาจารย์ที่ปรึกษาของเขาที่ สแตนฟอร์ด ได้แนะนำ 2 คู่หูให้ไปพบกับเพื่อนของเขาอย่าง แอนดี เบ็คโตลส์ไฮม์ นักลงทุนในกิจการใหม่ ๆ ที่ประสบความสำเร็จจนได้กลายเป็นตำนานไปแล้ว

ไม่มีใครใน ซิลิกอนวัลเลย์ ที่ไม่รู้จักเขา ผู้ซึ่งเป็น ผู้ร่วมก่อตั้ง Sun Microsystem รวมถึงนักลงทุนต่อเนื่องในอีกหลากหลายกิจการ ที่ล่าสุดเขาเพิ่งปั้นกิจการ startup จนขายให้กับ Cisco ยักษ์ใหญ่ทางด้านเครือข่ายเน็ตเวิร์คส์ ไปกว่า ร้อยล้านเหรียญ

แอนดี เบ็คโตลส์ไฮม์ ผู้ก่อตั้ง sun microsystem
แอนดี เบ็คโตลส์ไฮม์ ผู้ร่วมก่อตั้ง sun microsystem

ซึ่งปัญหาใหญ่ของ บริน และ เพจในตอนนี้ คือเงินทุนในการซื้อคอมพิวเตอร์ เพื่อมาทำเซอร์เวอร์ต่อ แม้พวกเขาจะใช้คอมพิวเตอร์ราคาถูก ๆ มาดีไซต์ใหม่ให้กลายเป็นพลังของเซอร์เวอร์ขนาดยักษ์แล้วก็ตาม แต่การเพิ่มขึ้นของเว๊บไซต์ในอัตราเร่งขนาดนี้ เงินทุนเพียงน้อยนิดของพวกเขาคงจะไม่พออย่างแน่นอน

แต่สิ่งที่ เบ็คโตลส์ไฮม์ ต้องการรู้คือ google จะทำเงินได้อย่างไร ในเมื่อผู้ร่วมก่อตั้งอย่างบริน และ เพจ นั้นเกลียดการโฆษณามาก พวกเขามองว่าเป็นสิ่งที่ไม่ Cool หากมีโฆษณาเต็มหน้าจอเหมือนที่ AltaVista หรือ โปรแกรมค้นหารายอื่น ๆ ได้ทำมา

สองคู่หูต้องการโปรแกรมที่เรียบง่าย และใช้งานง่ายที่สุด พวกเขายังไม่คิดถึงการทำเงินใด ๆ แต่ต้องการให้ผู้ใช้งานประทับใจการใช้งานให้มากที่สุด และ สร้างฐานผู้ใช้งานให้มากที่สุดโดยเร็วเท่านั้น

แต่เมื่อมาเรียนรู้ Google อย่างถ่องแท้แล้วนั้น เบ็คโตลส์ไฮม์ ก็ได้เห็นบางอย่างของ Google เขามองว่าโปรแกรมค้นหาคือ ภาพของสารบัญทางอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมันดูคล้ายสมุนโทรศัพท์หน้าเหลืองที่มีโฆษณาอยู่ในหน้าเดียวกับรายการโทรศัพท์ของช่างไฟ ช่างประปา หรือบริการอื่นใดก็ได้ในระบบอินเตอร์เน็ต และ เบ็คโตลส์ไฮม์ ก็ไม่รีรอที่จะเป็นส่วนนึงของ Google ทันที

เหมือนกับนักลงทุนทางด้านเทคโนโลยีส่วนใหญ่ ที่การลงทุนในสเตจแรกนั้น พวกเขาแทบจะไม่ค่อยหวังด้วยซ้ำว่าจะทำกำไรได้มากมายมหาศาล เหมือนดั่ง Google ในตอนนี้ เบ็คโตลส์ไฮม์ เขียนเช็ค 100,000 เหรียญให้เป็นทุนเปล่าเพื่อประเดิมในการตั้งบริษัทอย่างเป็นทางการ รวมถึงการนำไปซื้อคอมพิวเตอร์เพื่อมาทำเซอร์เวอร์เพิ่มเติม

ซึ่งการได้เครดิตจาก เบ็คโตลส์ไฮม์ นั้นก็ทำให้ทั้ง บริน และ เพจสามารถ นำเครดิตไปหาเงินสนับสนุนต่อจากเพื่อนฝูงรวมถึงครอบครัวญาติพี่น้อง จนสามารถหาเงินได้ถึง 1 ล้านเหรียญ ซึ่งเพียงพอที่จะซื้อคอมพิวเตอร์ที่จำเป็นให้มากพอที่จะก้าวต่อกับโครงการนี้

การพัฒนา Google ของทั้ง เพจ และ บริน นั้นคำนึงถึงปัจจัยหลายอย่างมากกว่าโปรแกรมการค้นหาอื่น ๆ ที่มีอยู่ในตลาด มันไม่ใช่แค่เพียงการนับ Link แล้วก็แจ้งผลการค้นหาเพียงเท่านั้น

พวกเขาได้สร้างการเชื่อมข้อมูลเกี่ยวกับ Link และคำกับตัวแปรอื่น ๆ โดยใช้วิธีการแบบใหม่ ซึ่งจะให้ผลการค้นหาที่ตรงคำถามมากกว่า เช่น คำ หรือ วลีบนเว๊บเพจที่ค้นหานั้น อยู่ติดกัน หรือ แยกกัน ขนาดตัวอักษร ตัวอักษรใหญ่หรือ ตัวเล็กเหล่านี้ล้วนมีผลต่อการค้นหาทั้งสิ้น

และที่สำคัญการที่จะทำให้ผลการค้นหามีคุณภาพมากยิ่งขึ้น นั้น พวกเขาต้องลงทุนในเรื่องฮาร์ดแวร์ในปริมาณที่สูงมาก ๆ เช่นกัน  มันไม่ใช่เพียงแค่เรื่องของซอฟท์แวร์เท่านั้น มันรวมถึงเรื่องเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งทุกอย่างล้วนแล้วแต่เป็นส่วนหนึ่งของการทำให้ผลการค้นหาดีขึ้นแทบจะทั้งสิ้น

เซอร์เวอร์ google ในยุคแรก ๆ ประกอบขึ้นจาก PC
เซอร์เวอร์ google ในยุคแรก ๆ ประกอบขึ้นจาก PC

สำหรับส่วนหลักของ Google ที่ใช้เทคนิคของ เพจแรงค์นั้น ซึ่งโดยพื้นฐาน Link ที่ถูกชี้มานั้นมันบ่งบอกได้ถึงความสำคัญของเว๊บไซต์นั้น ๆ และ ยิ่งเว๊บไซต์ที่มีขนาดใหญ่ตัวอย่างเช่น Yahoo มี Link มาที่เว๊บใด ๆ  มันก็บ่งบอกได้ถึงความสำคัญของเว๊บนั้น ๆ ได้อย่างชัดเจน 

สำหรับความท้าทายอย่างหนึ่งที่สำคัญของ Google คือ มีเหล่า hacker พยายามทำให้เว๊บไซต์ของตนอยู่อันดับต้น ๆ ของผลการค้นหา ซึ่งส่วนนี้ มันได้กลายเป็นสงครามของ Google กับเหล่า hacker เหล่านี้

ซึ่งเพจก็ได้หาทางแก้ไขปัญหาอย่างงี้อยู่แล้ว ซึ่งวิธีการก็คือ การให้ความสำคัญของเว๊บไซต์นั้นจะถูกเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา และมันจะทำให้ยากสำหรับผู้ทำเว๊บไซต์ในการเล่นกับ Google ซึ่ง Google จะทำเรื่องนี้ให้เห็นผลด้วยการมุ่งให้ความสำคัญกับประสบการณ์ของผู้ใช้งานเป็นหลัก

มันมีหลายส่วนผสมที่ลงตัวของ Google ที่ ตั้งใจมาแก้ปัญหาของโปรแกรมการค้นหาที่มีอยู่ในตลาด google กลายเป็น บริษัทหน้าใหม่ เป้นทางเลือกใหม่ของผู้ใช้งานอย่างรวดเร็ว การส่ง spyder เข้าไปคืบคลานตามเว๊บต่าง ๆ กว่าหลายร้อยล้านเว๊บ ทำให้ google เข้าใจถึง content หรือเนื้อหาของเพจ และมาวัดระดับคุณภาพของเว๊บไซต์ได้ ซึ่งให้ผลการค้นหาที่ตรงความต้องการของผู้ใช้มากกว่าบริการอื่น ๆ 

แต่อีกทางหนึ่ง มันก็เหมือนเป็นการบุกรุกไปยังเว๊บไซต์อื่น ๆ ที่เจ้าของอาจจะไม่ได้อนุญาติให้มาเก็บข้อมูลแบบนี้ ซึ่งฟังดูแล้วมันเป็นเรื่องเสี่ยงอยู่เหมือนกันสำหรับ Google ในช่วงแรกที่ยังไม่เป็นที่นิยม มันเหมือนการแอบไปขโมยเนื้อหาจากเว๊บไซต์ต่าง ๆ จากทั่วโลกเพื่อมาจัดอันดับ โดยที่เจ้าบ้านอาจจะยังไม่รู้ตัวเสียด้วยซ้ำ

เครือข่าย Spyder ของ google ช่วงแรก ๆ มันก็เหมือนโจรแอบย่องไปขโมยข้อมูลนั่นเอง
เครือข่าย Spyder ของ google ช่วงแรก ๆ มันก็เหมือนโจรแอบย่องไปขโมยข้อมูลนั่นเอง

สำหรับ บริน และ เพจ ความท้าทายเหล่านี้ทั้งเรื่องเงินทุนที่จำกัด รวมถึงเทคโนโลยีทางด้านฮาร์ดแวร์ที่ไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร พวกเขามีความมุ่งมั่น ที่จะแก้ปัญหาที่คนอื่นเห็นเป็นความยุ่งยากเหล่านี้ มันได้ท้าทายและสร้างแรงจูงใจให้กับสองคู่หู ว่าจะเดินตามรอยเท้ารุ่นพี่ที่เข้า ๆ ออก ๆ สแตนฟอร์ด ไปก่อตั้งบริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Sun Microsystem , Yahoo , Logitech ได้หรือไม่

และการได้เงินทุนกว่า 1 ล้านเหรียญในการเริ่มต้นนั้น ตอนนี้พวกเขาพร้อมแล้ว ที่จะทำให้ google กลายเป็นโปรแกรมค้นหาอันดับหนึ่งของโลกให้จงได้ เป้าหมายของพวกเขาที่ดูยิ่งใหญ่มาก ๆ ในเวลานั้น ทั้งสองคู่หู บริน และ เพจ จะพา google ที่ตอนนี้กลายเป็นบริษัทน้องใหม่ในซิลิกอน วัลเลย์ ฝ่าขวากหนามที่ขวางพวกเขาไว้ได้อย่างไร โปรดอย่าพลาดติดตามตอนต่อไปครับผม

–> อ่านตอนที่ 4 : Divide and Conquer

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :When Larry Met Sergey *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Credit แหล่งข้อมูลบทความ