ประวัติ Google ตอนที่ 7 : Global Goooogling

เข้าสู่ปึ 2003 แต่ละวันจะมีค้นหาข้อมูลด้วยภาษาของตนเองนับสิบ ๆ ล้านครั้งต่อวัน โดย Google สามารถรองรับการใช้งานได้กว่า 100 ภาษา เหล่าผู้คนทั่วโลกต่างใช้ Google ในชีวิตประจำวัน ใช้งานค้นหาทุกอย่างใน Google ตั้งแต่เรื่องพื้นฐาน อย่างการทำอาหาร เรื่องที่อยู่อาศัย ไปจนถึง การค้นหาค้นคว้าเรื่องการศึกษา ความบันเทิง รวมถึงเรื่องเพศ ก็ตาม

นักธุรกิจ นักลงทุนทั่วโลก รวมถึงเหล่าทนายความของพวกเขา ต่างใช้ Google ในการหาข้อมูลของคู่ค้าก่อนเจรจาการค้าครั้งสำคัญอยู่เสมอ เหล่านักเขียนหนังสือ ต่างค้นหาข้อมูลต่าง ๆ รวมถึงข้อเท็จจริงโดยใช้ Google

แม้กระทั่งเจ้าหน้าที่รัฐบาล ก็ยังใช้ Google ในการค้นหาเอกสารต่าง ๆ ด้วยตัวเองแทนใช้ผู้ช่วยเหมือนในอดีต วัยรุ่นผู้อยากรู้เนื้อเพลงยอดนิยม ก็แค่ค้นหา จากเนื้อเพลงบางส่วนได้จาก Google แม้กระทั่งสายลับ CIA ยังถึงกับใช้ Google ในการแกะรอยผู้ก่อการร้าย

การพัฒนาซอฟต์แวร์ก็ก้าวไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว วิศวกรไม่ต้องไปนั่งหาข้อมูลในห้องสมุดเหมือนในอดีตอีกต่อไป ปัญหาทางคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะปัญหาเรื่อง Bug ต่าง ๆ สามารถค้นหาต้นตอได้ผ่าน Google 

คนป่วยใช้ Google ค้นหาโรคจากอาการของตน เหล่านักกีฬาค้นหาอุปกรณ์กีฬา หรือแม้กระทั่งตารางการแข่งขันก็สามารถหาได้จาก Google 

การท่องเที่ยวก็เปลี่ยนไปเช่นกัน เดิมที่ต้องใช้หนังสือท่องเที่ยวเล่มหนาเต๊อะ แต่ตอนนี้สามารถวางแผนการท่องเที่ยวได้ผ่านการค้นหาข้อมูลสถานที่ต่างๆ  ผ่าน Google การท่องไปในโลกกว้างนั้นไม่ได้เป็นเรื่องยากอีกต่อไป แม้จะเข้าถึงยากเพียงใด ก็สามารถค้นหาข้อมูลได้ด้วย Google

ใช้ Google หาข้อมูลท่องเที่ยว
ใช้ Google หาข้อมูลท่องเที่ยว

และ ตอนนี้ Google กำลังเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตของคนเกือบครึ่งค่อนโลกเป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ไม่เคยมีผลิตภัณฑ์แบรนด์ใดได้รับการยอมรับเร็วไปกว่า Google ชื่อบริษัทไม่เพียงแต่กลายเป็นคำศัพท์คำหนึ่งที่เก็บลงในพจนานุกรมภาษาอังกฤษ แต่ยังถูกเก็บในพจนานุกรมภาษาอื่นๆ  อีกหลายภาษา

สิ่งที่การเดินทางด้วยเครื่องบินเจ็ตได้เริ่มทำไว้ในทศวรรษ 1960 และสิ่งที่โทรศัพท์ระหว่างประเทศราคาถูกกับ email สั่งสมขึ้นในระยะเวลาหลายปีมานี้ได้ถูกผลักเข้าสู่อาณาจักรใหม่โดย Google 

มันได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ปัจจัยในเรื่องถิ่นฐานที่อยู่ที่เคยเป็นอุปสรรคในอดีตต่อทั้งการสื่อสารและค้าขายสินค้าได้หมดไป ผู้คนสามารถติดต่อกับคนแปลกหน้าที่อยู่อีกซีกโลกหนึ่งจากบ้านหรือสำนักงานตัวเอง สามารถที่จะทำความรู้จักพวกเขาได้ผ่าน Google รวมถึงสามารถที่จะดูหน้าตารายละเอียดผ่านรูปภาพได้ผ่านเครื่องมือการค้นหาด้วยภาพ 

แต่มันไม่ได้มีเฉพาะด้านดีเพียงเท่านั้น การค้นหาด้วย Google นั้นทำให้เกิดคำถามมากมายต่อเรื่องของความเป็นส่วนตัว แม้ Google จะนำเอาเทคโนโลยีใหม่ในการสื่อสารมาให้เรียนรู้อยู่ตลอดเวลา ซึ่งมันได้กลายเป็นการบังคับกลาย ๆ ให้คนยอมรับในพฤติกรรมใหม่ ๆ 

แต่ปัญหาคือ อะไรคือเส้นแบ่งระหว่างความเป็นส่วนตัวกับสิทธิเสรีภาพในการค้นหาข้อมูล และปัญหาของการที่ข้อมูลที่ค้นหามาได้นั้นเป็นข้อมูลที่ล้าสมัยไปแล้ว บางครั้งก็เป็นข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง การเกิดขึ้นของข่าวลือที่ไม่น่าเชื่อถือ Google ก็ถือเป็นส่วนนึงที่ทำให้ข่าวเหล่านี้ถูกส่งต่อแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็วใน อินเทอร์เน็ต

ส่งที่ไม่ชอบธรรมในสายตาของคนคือ รูปภาพเก่าที่ไม่น่าดูก็ไปปรากฏอยู่ในโปรแกรมค้นภาพของ Google ด้วย แถมมันยังลบออกยากเสียด้วย คนมีชื่อเสียงหลายคนหากมีมีการทำผิดพลาดในอดีตจึงเลือกที่จะเปลี่ยนชื่อไปเลย เพื่อไม่ให้ไปปรากฏในผลการค้นหาเมื่อค้นด้วยชื่อใหม่

เหล่านักเรียนนักศึกษาทุกวัย กลายเป็นผู้ใช้ Google กันอย่างหนัก แม้เหล่าอาจารย์ทั้งหลายจะพยายามห้ามไม่ให้ใช้ Google ในการค้นหาข้อมูลในขณะเรียนอยู่ แต่มันก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปของมนุษย์เรานับแต่ Google ได้ถือกำเนิดขึ้น

สถานบันต่าง ๆ นั้นแม้จะส่งเสริมการใช้ห้องสมุด หรือการพบปะพูดคุยกันแบบซึ่ง ๆ หน้าเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันเสียมากกว่า ซึ่งมันเป็นวิธีการหาข้อมูลแบบดั้งเดิมที่ผ่านการทดสอบของเวลามาเนิ่นนานแล้ว

Google ได้เปลี่ยนวิถีการเรียนรู้ของมนษย์เราไปอย่างสิ้นเชิง
Google ได้เปลี่ยนวิถีการเรียนรู้ของมนษย์เราไปอย่างสิ้นเชิง

เหล่านักศึกษาก็มีความเห็นที่ต่างกันในเรื่องของคุณประโยชน์ของ Google ส่วนนึงมองว่ามันได้ทำให้เกิดความเกียจคร้านขึ้น ส่งเสริมให้เกิดการขโมยคัดลอก ไอเดียของผู้อื่น ขัดขวางกระบวนการเรียนรู้แบบดั้งเดิม 

แต่อีกส่วนหนึ่งก็ชื่นชมมัน มันทำให้กระตุ้นให้เกิดการสำรวจเอกสารเบื้องต้นและบทวิเคราะห์ข้อมูลต่าง ๆ ได้ตลอดเวลา และช่วยลดช่องว่างความแตกต่างระหว่างนักศึกษา ส่งเสริมสิทธิความเท่าเทียมในเรื่องการค้นหาข้อมูล ไม่ว่ามหาวิทยาลัย จะใหญ่หรือจะเล็ก จะรวยหรือจะจน เพราะ Google มันได้สร้างประชาธิปไตยของการเข้าถึงข้อมูลให้เกิดขึ้นมากับโลกเรานั่นเอง

–> อ่านตอนที่ 8 : April Fools

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :When Larry Met Sergey *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Credit แหล่งข้อมูลบทความ


 


ติดตามสาระดี ๆ อัพเดททุกวันผ่าน Line OA



Geek Forever Club พื้นที่ของการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ



Geek Forever’s Podcast


“Open Your World With Technology


AI , Blockchain และเทคโนโลยีใหม่ ๆ กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในหลายธุรกิจ ทั้ง แวดวงการเงิน สุขภาพ หรือ งานด้านบริการต่าง ๆ ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจเกี่ยวกับ AI หรือ Machine Learning

Podcast ของผมจะเล่าเรื่องราวต่าง รวมถึงเรื่องที่ผมสนใจอื่น ๆ เช่น startup หนังสือ หนัง หรือ กีฬาฟุตบอล อยากชวนคนที่สนใจให้ลองมาติดตาม podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Youtube
ฟังผ่าน Youtube