มารู้จักการออกแบบหุ่นยนต์ที่สร้างมาเพื่อดูแลสิ่งแวดล้อมกันเถอะ

อาคารและแนวชายฝั่งสามารถตรวจสอบได้โดยกลุ่มหุ่นยนต์ที่สามารถซ่อมแซมได้แบบอิสระ ตามความคิดริเริ่มของบริษัท Startup จากเดนมาร์กที่ให้การสนับสนุนเครื่องพิมพ์ 3 มิติที่จะมาแก้ไขปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมทั่วโลก

ซึ่งความคิดริเริ่มดังกล่าวนี้เป็นความร่วมมือระหว่าง บริษัทจากเดนมาร์กที่มุ่งเน้นในเทคโนโลยีในอนาคต 3 บริษัท คือ GXN Innovationซึ่งเป็นหน่วยงานวิจัยของสถาปนิกที่ชื่อว่า 3XN ; แพลตฟอร์มที่ช่วยเหลือในการผลิตอย่างThe AM AM Hub ; และบริษัทMap Architects

การแก้ปัญหาเรื่องความเสื่อมของสภาพแวดล้อม

บริษัท ต่าง ๆ เชื่อว่าความท้าทายระดับโลก เช่น ปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง และการเสื่อมสภาพของโครงสร้างพื้นฐานทางชีวภาพในท้องทะเล สามารถแก้ไขได้ด้วยการใช้เทคโนโลยีเครื่องพิมพ์ 3 มิติ

พวกเขามองเห็นกลุ่มยานยนต์แบบ 3D ที่สัญจรไปมาทั้งทางบก ทางอากาศและทางทะเล

หุ่นยนต์หกขาเป็นหนึ่งในแนวคิดที่จินตนาการโดย Break the Grid
หุ่นยนต์หกขาเป็นหนึ่งในแนวคิดที่จินตนาการโดย Break the Grid

“ การเพิ่มจำนวนเครื่องพิมพ์ 3 มิติเพื่อรับมือกับความท้าทายเหล่านี้อาจเป็นการปฏิวัติรูปแบบการผลิตของโลกเรา” ผู้ก่อตั้ง GXN อธิบาย

“ด้วยการเปิดใช้งานหุ่นยนต์ผ่านเทคโนโลยีการพิมพ์ 3 มิติ เพื่อให้หุ่นยนต์สามารถที่จะคลาน ว่ายน้ำ และบินได้ จะทำให้เราสามารถรับมือกับภัยคุกคามด้านสิ่งแวดล้อมที่เป็นปัญหาเร่งด่วนที่มีอยู่ทั่วโลกด้วยต้นทุนที่ต่ำลงและมีประสิทธิภาพมากขึ้น”

หุ่นยนต์สามตัวสำหรับสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน

บริษัทได้ออกแบบแนวคิดที่แตกต่างกันสามแบบเพื่อจัดการกับกรณีการใช้งานแยกกันทั้งสามกรณี ซึ่งหุ่นยนต์เหล่านี้จะทำการสแกนสภาพแวดล้อมโดยอัตโนมัติเพื่อระบุพื้นที่ปัญหาและดำเนินการแก้ไขทันที

ซึ่งตัวอย่างแรกในการออกแบบหุ่นยนต์นั้น มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้สามารถเคลื่อนย้ายวัตถุใต้น้ำได้ เช่น การสร้างแนวปะการังเทียม หรือ โครงสร้างที่ออกแบบมาเพื่อปกป้องแนวชายฝั่งจากการกัดเซาะและการให้ที่อยู่อาศัยสำหรับสิ่งมีชีวิตทางทะเล

หุ่นยนต์ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแนวปะการังเทียมเพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง
หุ่นยนต์ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างแนวปะการังเทียมเพื่อป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง

มันจะทำงานโดยการพ่นทรายผสมจากพื้นมหาสมุทร และทำงานร่วมกับกาวที่ได้รับแรงบันดาลใจจากกาวธรรมชาติซึ่งผลิตจากหอยนางรมและสารที่ยึดเกาะได้แบบเปียก

ในขณะเดียวกันหุ่นยนต์หกขาจะวิ่งไปตามเมืองต่าง ๆ ทำการ Scan หา และซ่อมแซมรอยแตกขนาดเล็กในคอนกรีต ซึ่งช่วยลดความเสียหาย โดยจะสามารถแก้ไขได้ก่อนที่น้ำและออกซิเจนจะซึมเข้าไปข้างในซึ่งนำไปสู่การกัดกร่อนต่อไปนั่นเอง

ศักยภาพของวัสดุในการ “รักษาด้วยตัวเอง”

ทีมงาน Break the Grid จินตนาการว่าหุ่นยนต์ที่เคลื่อนที่บนบกเหล่านี้สามารถที่จะพิมพ์ฟิลเลอร์รูพรุนแบบ 3 มิติ ซึ่งจะผสมกับเชื้อรา trichoderma reesei ซึ่งมันจะช่วยในการก่อตัวของแคลเซียมคาร์บอเนต และทำให้การรักษาวัสดุได้ด้วยตนเองอย่างมีประสิทธิภาพ

หุ่นยนต์ตัวนี้สามารถลาดตระเวนบริเวณที่มีโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นคอนกรีตได้จากระยะไกลจากสภาพแวดล้อมแบบเมืองได้

หุ่นยนต์ที่ทำงานบนยอดตึกสูงเพื่อซ่อมแซมความเสียหาย
หุ่นยนต์ที่ทำงานบนยอดตึกสูงเพื่อซ่อมแซมความเสียหาย

แนวคิดที่สามคือ หุ่นยนต์โดรน ที่จะทำงานในรอบ ๆ ตัวอาคารขนาดใหญ่ ซึ่งเมื่ออาคารเหล่านี้เก่าและเสื่อมสภาพลง ทำให้ประสิทธิภาพการใช้พลังงานลดลง พวกโดรนเหล่านี้จะเข้ามาช่วยซ่อมแซมความเสียหาย

แนวคิดนี้นำมาจากการวิจัยวัสดุใหม่ที่ใช้แก้วและโพลีเมอร์ที่สามารถปรับแต่งได้ เพื่อสร้างฉนวนกันความร้อนบนโครงสร้างอาคารที่มีอยู่นั่นเอง

แนวคิดบนพื้นฐานของเทคโนโลยีที่ใหม่ ๆ

ในขณะที่การออกแบบของ Break the Grid นั้นเป็นเพียงแค่ทฤษฎี แต่ทั้งหมดก็ขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นจริง ทีมยังได้ทำการแฮ็กเครื่องพิมพ์ 3 มิติที่มีอยู่ เพื่อสร้างต้นแบบหุ่นยนต์ตามแนวคิดของพวกเขา

“ เราหวังว่าจะเป็นแรงบันดาลใจให้อุตสาหกรรมการผลิตต่าง ๆ ในปัจจุบันนั้นมองเห็นความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ซึ่งจะต้องมีการผสมผสานการออกแบบและเทคโนโลยีเพื่อเปลี่ยนค่านิยมของพวกเราและปรับเปลี่ยนวิธีคิดในปัจจุบันของเรา” เขากล่าวเสริม

Break The Grid เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Moonshots ของ AM-Hub ของเดนมาร์กซึ่งมุ่งเน้นไปที่เทคโนโลยีการผลิตแบบใหม่ ที่มีแนวคิดหลักว่าจะสามารถสร้างโลกที่ดีขึ้นได้อย่างไร

References : 
https://www.dezeen.com


 


ติดตามสาระดี ๆ อัพเดททุกวันผ่าน Line OA



Geek Forever Club พื้นที่ของการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ



Geek Forever’s Podcast


“Open Your World With Technology


AI , Blockchain และเทคโนโลยีใหม่ ๆ กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในหลายธุรกิจ ทั้ง แวดวงการเงิน สุขภาพ หรือ งานด้านบริการต่าง ๆ ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจเกี่ยวกับ AI หรือ Machine Learning

Podcast ของผมจะเล่าเรื่องราวต่าง รวมถึงเรื่องที่ผมสนใจอื่น ๆ เช่น startup หนังสือ หนัง หรือ กีฬาฟุตบอล อยากชวนคนที่สนใจให้ลองมาติดตาม podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Youtube
ฟังผ่าน Youtube