The rise of 3D-printed houses เมื่อเทรนด์ใหม่ของวงการอสังหาริมทรัพย์กำลังมุ่งหน้าสู่เทคโนโลยี 3D-Printing

ต้องบอกว่าเป็นเรื่องราวที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก เมื่อบ้านใหม่จำนวนหนึ่งทั่วทั้งแคลิฟอร์เนียขายดีเป็นเทน้ำเทท่าในช่วงสองเดือนที่ผ่านมา และมีลูกค้ารอใน list กว่าอีก 1,000 ราย ที่อยากเป็นเจ้าของบ้านของบริษัทที่มีชื่อว่า Palari Homes

ในขณะที่บ้านที่ใช้เทคโนโลยีเก่า ๆ อย่างการก่อสร้างด้วยอิฐและปูน นั้นอาจจะต้องใช้เวลานานมากกว่าจะสร้างบ้านขึ้นมาได้ซัก 1 หลัง

แต่ Palari Homes สามารถสามารถสร้างบ้าน 1 หลังได้ภายใน 24 ชม.เพียงเท่านั้น พวกเขาสามารถทำมันได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากผลิตภัณฑ์ของพวกเขาประกอบขึ้นโดยการพิมพ์มันออกมา ผ่านเทคโนโลยี 3D Printing

ต้องบอกว่าเทคโนโลยี 3D Printing ในการนำมาสร้างส่วนประกอบต่าง ๆ ของบ้านนั้น ไม่เพียงแต่ช่วยให้ใช้งานได้หลากหลายขึ้นเพียงเท่านั้น แต่มันยังเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

Palari Homes กับโฆษณา 3D Printed Homes บนโซเชียลมีเดีย (CR: facebook/palarigroup)
Palari Homes กับโฆษณา 3D Printed Homes บนโซเชียลมีเดีย (CR: facebook/palarigroup)

ซึ่งนั่นเป็นคำตอบที่เป็นประโยชน์ สำหรับความท้าทายสองประการที่โลกเรากำลังเผชิญอยู่ : ทั้งเรื่องการขาดแคลนที่อยู่อาศัย และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ที่กำลังวิกฤติอย่างหนักในปัจจุบัน

มีข้อมูลที่น่าสนใจคือ ผู้คนประมาณ 1.6 พันล้านคนทั่วโลก หรือ มากกว่า 20% ของประชากรโลกเรา ไม่มีแม้กระทั่งที่พักอาศัยเป็นของตัวเอง

ที่สำคัญอุตสาหกรรมก่อสร้าง มีส่วนสำคัญต่อการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซต์ที่มนุษย์สร้างขึ้นสูงถึง 11% ของทั้งหมด และมันก็กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง

ซึ่งระบบอัตโนมัติที่ Palari Homes ใช้นั้น สามารถประหยัดต้นทุนได้เป็นอย่างมาก การใช้เทคโนโลยี 3D Printing ใน 80% ของกระบวนการพิมพ์ทั้งหมด หมายความว่าบริษัทต้องการเพียงแค่ 5% ของแรงงานเท่านั้น นอกจากนี้พวกเขายังเพิ่มความเร็วในการผลิตเป็นสองเท่าได้อีกด้วย

ด้วยผลิตภัณฑ์ที่เป็นสำเร็จรูปของ Palari Homes นั้น บริษัทสามารถลดปริมาณการขนส่งด้วยรถบรรทุกที่เกี่ยวข้องกับการสร้างบ้าน ซึ่งสามารถลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยออกมาได้ถึงสองตันเลยทีเดียว

อีกข้อมูลที่น่าสนใจจาก McKinsey บริษัทที่ปรึกษาชั้นนำระดับโลก ได้กล่าวถึงอุตสาหกรรมก่อสร้างว่า เป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมที่การ transform ไปสู่ยุคดิจิทัลนั้นยังช้ากว่าอุตสาหกรรมอื่น ๆ เป็นอย่างมาก

อุตสาหกรรมนี้ยังประสบปัญหาขาดแคลนแรงงานที่มีทักษะในหลายพื้นที่ และคาดว่าสถานการณ์จะแย่ลงไปอีก ตัวอย่างเช่นในอเมริกา ราว 40% ของผู้ที่ทำงานด้านก่อสร้าง คาดว่าจะเกษียณอายุภายในหนึ่งทศวรรษข้างหน้า

ซึ่งโครงการที่คล้าย ๆ กับ Palari Homes นั้นตอนนี้เริ่มกลายเป็นเทรนด์ใหม่ที่เกิดขึ้นทั่วโลก 14Trees ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง Holcim ผู้ผลิตซีเมนต์รายใหญ่ที่สุดของโลกและ CDC Group ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านการเงินเพื่อการพัฒนาของรัฐบาลของอังกฤษ ที่ดำเนินการในประเทศมาลาวี

Holcim ผู้ผลิตซีเมนต์รายใหญ่ที่สุดของโลกร่วมโปรเจ็คดังกล่าว (CR:Holcim.com)
Holcim ผู้ผลิตซีเมนต์รายใหญ่ที่สุดของโลกร่วมโปรเจ็คดังกล่าว (CR:Holcim.com)

โดย 14Trees สามารถพิมพ์บ้านได้ภายในเวลาเพียงแค่ 12 ชั่วโมง โดยมีราคาขายไม่ถึง 10,000 ดอลลาร์ นอกจากราคาถูกและสร้างได้รวดเร็วแล้วนั้น ยังช่วยลดมลพิษที่เกิดขึ้นในการก่อสร้างไปได้มากอีกด้วย

ด้วยเทคโนโลยี 3D Printing การเติมซีเมนต์ในปริมาณที่ต้องการได้อย่างแม่นยำ จึงสามารถลดของเสียลง ซึ่ง 3D Printing จะสร้างคาร์บอนไดออไซต์เพียงแค่ 30% เมื่อเทียบกับการใช้อิฐดินเผา ซึ่งเป็นเทคนิคทั่วไปที่ใช้กันอยู่ในประเทศมาลาวี

และดูเหมือนอนาคตของวงการนี้จะดูสดใส ในปีที่แล้ว แผนสำหรับอาคารอพาร์ตเมนต์ที่ใช้เทคโนโลยี 3D Printing ได้รับการอนุมัติในประเทศเยอรมนี

โครงสร้างอพาร์ตเมนต์ 3 ชั้น ซึ่งประกอบโดย Peri บริษัทก่อสร้างสัญชาติเยอรมนี จากชิ้นส่วนที่ผลิตโดยใช้เครื่องพิมพ์ที่พัฒนาโดย Cobod บริษัทสัญชาติเดนมาร์ก

การใช้เทคโนโลยีนี้ ยังขยายตัวไปในตะวันออกกลางและเอเชีย รัฐบาลดูไบ ต้องการให้อาคารใหม่ในประเทศใช้เทคโนโลยี 3D Printing ภายในปี 2030

ซาอุดิอาระเบีย ต้องการใช้ 3D Printing เพื่อสร้างบ้าน 1.5 ล้านหลังในทศวรรษหน้า และกระทรวงการเคหะและกิจการเมืองของอินเดียวต้องการใช้เทคโนโลยีเดียวกัน เพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนที่อยู่อาศัยของประเทศ

โดยเทคโนโลยี 3D Printing มีแนวโน้มที่จะขยายไปไกลกว่าที่อยู่อาศัย ทั้งในคลังสินค้า สำนักงาน และอาคารพาณิชย์อื่น ๆ หรือแม้กระทั่ง NASA เอง ก็มีแผนใช้เทคโนโลยีดังกล่าวเพื่อสร้างแผ่นลงจอด ที่พัก และถนนบนดาวอังคารและดวงจันทร์

ซึ่งแน่นอนว่า เทรนด์ของโลกเรากำลังดำเนินไปในทิศทางดังกล่าว เนื่องจากหลาย ๆ ปัญหาอย่างที่กล่าวมา ทั้งการขาดแคลนแรงงาน ปัญหามลพิษ ต้นทุน ความล่าช้าของการผลิต ทุกสิ่งทุกอย่าง มันกำลังก้าวไปถึงจุด Disrupt ธุรกิจเดิม ที่คล้าย ๆ กับที่เกิดขึ้นในอุตสาหกรรมอื่นที่ได้ transform ไปสู่ยุคดิจิทัลได้สำเร็จเป็นที่เรียบร้อยนั่นเองครับผม

References :
https://www.cdcgroup.com/en/news-insight/news/14trees-pioneers-3d-printing-technology-in-africa-for-affordable-housing-and-schools/
https://www.economist.com/science-and-technology/the-rise-of-3d-printed-houses/21803667

ยินดีต้อนรับสู่ปี 2029 ในวันที่โลกเราไม่มีห้างสรรพสินค้าอีกต่อไป

พอดีเพิ่งได้มีโอกาสหนังสือ The Future is Faster Than You Think จากนักเขียน Peter H.Diamandis และ Steven Kotler ต้องบอกว่ามีหลากหลายเรื่องราวจากหนังสือเล่มนี้ที่น่าสนใจที่ผมอยากมาเล่ากัน

เป็นหนังสือที่ว่าด้วยเรื่องราวของการทำนายโลกอนาคต ผ่านการวิเคราะห์เทคโนโลยีที่มีอยู่ในปัจจุบันและคาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ ซึ่งในบทหนึ่ง หนังสือได้ฉายภาพอนาคตของการที่จะไม่มีห้างสรรพสินค้าอีกต่อไปได้อย่างน่าสนใจเลยทีเดียว

ซึ่งผมคิดว่ามันเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ โดยเฉพาะในประเทศอย่างอเมริกา ที่วัฒนธรรมการช็อปปิ้งออนไลน์กำลังกลายเป็นกระแสหลัก และห้างสรรพสินค้าเริ่มทยอยล้มหายตายจากไปทีละราย จากที่ได้เราได้เห็นจากข่าวกัน

และแน่นอนว่า มันมี 2-3 เทคโนโลยีที่จะเกิดขึ้นแน่ ๆ เช่น Virtual Reality , 3D Printing , Voice Assistant ที่กำลังเริ่มเข้ามามีบทบาทอย่างมากในปัจจุบัน

โดยทางผู้เขียนได้ทำนายไว้ว่าในปี 2029 เครือข่ายเซ็นเซอร์ต่าง ๆ รวมถึงเทคโนโลยี AI ได้พัฒนาจนถึงขีดสุด

เราไม่จำเป็นต้องเดินทางไปห้างสรรพสินค้าต่าง ๆ อีกต่อไป เพราะโลกของห้างสรรพสินค้านั้นมาอยู่บนโลก Virtual Reality ทั้งหมดแล้วนั่นเอง เราสามารถเข้าถึงนักออกแบบชื่อดัง แบรนด์ชื่อดัง ของทั้งโลกผ่าน VR

ระบบ Voice Assistant จะช่วยให้เราได้รู้ว่า มีอะไรที่กำลังเป็นเทรนด์อยู่บนโลกนี้ที่ถูกเชื่อมต่อถึงกันแบบไร้รอยต่อ

ยิ่งโดยเฉพาะสินค้าแฟชั่น นั้น จะเป็นการสร้างเพื่อตอบความต้องการของลูกค้าแต่ละราย การ Customise ไปยังลูกค้าแต่ละรายที่แตกต่างกัน เราไม่ต้องใส่เสื้อผ้าเหมือนใครอีกต่อไป เราอาจจะได้เห็น เสื้อผ้าชิ้นเดียวของแบรนด์ชื่อดัง ที่มีแค่เราเท่านั้นที่ใส่อยู่คนเดียวบนโลกใบนี้

แน่นอน เพราะเทคโนโลยีอย่าง 3D Printing ก็กำลังพัฒนาไปอย่างมาก ไม่ต้องมีการ stock ไปยังร้านค้าที่เป็น Physical อีกต่อไป มีการผลิตตาม Demand ความต้องการแบบทันที และตรงทุกความต้องการของลูกค้าแต่ละราย

และการจัดส่งสินค้าก็จัดส่งอย่างรวดเร็วผ่าน Drone ทำให้ได้รับสินค้าแทบจะในทันทีหลังการผลิตออกมาจากเครื่องปริ้นต์ 3 มิติ

ถือได้ว่าเป็นการทำนายที่น่าสนใจ ที่อ้างอิงพื้นฐานของเทคโนโลยีที่กำลังจะเกิด การ scan ร่างกายแบบ 3 มิติ นั้นเรามีเทคโนโลยีที่รองรับอยู่แล้วในปัจจุบัน และ Amazon ก็ได้ซื้อกิจการ Body Labs ที่มีเทคโนโลยีนี้อยู่เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

ที่ปรึกษาแฟนชั่นด้าน AI ทั้ง Alibaba และ Amazon ก็ใช้เทคโนโลยี Deep Learning เพื่อให้คำแนะนำ โดยอาศัยคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญด้านแแฟชั่นที่เป็นมนุษย์ หรือ อัลกอริธึมของ Amazon ให้คำแนะนำเสื้อผ้าตามความต้องการของผู้ใช้และพฤติกรรมในโลก Social Media

ส่วนระบบ VR นั้น Hololux ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง Microsoft และ London College of Fashion แว่นตา VR ที่ช่วยให้คุณเลือกซื้อสินค้าในความเป็นจริงได้แบบผสมผสานจากทุก ๆ ที่ในโลก

ต้องบอกว่าโลกเราจะเปลี่ยนไปอย่างที่เราคาดไม่ถึงในอีก 10 ปีข้างหน้า และในวันนั้นเราอาจจะได้เห็น วันสิ้นสุดของห้างสรรพสินค้า ที่เราผูกพันกับมันมาอย่างยาวนานก็เป็นได้นั่นเองครับผม

References : หนังสือ The Future is Faster Than You Think โดย Peter H.Diamonds และ Steven Kotler

Geek Daily EP16 : FRESH 3D กับเทคโนโลยีในการสร้างองค์ประกอบการทำงานของหัวใจมนุษย์

ทีมนักวิจัยจาก Carnegie Mellon University เพียงพิมพ์ 3 มิติองค์ประกอบการทำงานของหัวใจมนุษย์ ที่สามารถรองรับรูปร่างที่ซับซ้อน รวมถึงหลอดเลือดขนาดเล็กและโพรงขนาดใหญ่ของหัวใจ

นักวิจัย ได้ทำการโครงสร้างทางกายวิภาคเฉพาะของผู้ป่วยอย่างแม่นยำ ที่พวกเขาบอกว่าสามารถหดและขยายได้เหมือนส่วนกายวิภาคที่แท้จริงของหัวใจมนุษย์

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/2Oynhcf

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/2lEqPPg

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
https://bit.ly/32sxOh9

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/3fEBhwU

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/ilW1Qv1mROs

References : https://eurekalert.org/pub_releases/2019-08/f-f3p080119.php
Credit Image : PIXABAY / VICTOR TANGERMANN

Geek Daily EP1 : Meatech กับการสร้างสเต็กผ่านเทคโนโลยี 3D Printing

การเจริญเติบโตของเซลล์สามารถถูกนำไปใช้ในการย่อยสลายทางชีวภาพเพื่อทำให้พวกมันพัฒนาเป็นเซลล์ไขมัน เครื่องพิมพ์ 3D ของพวกเขาสามารถจับคู่ “หมึก” ที่แตกต่างกันเพื่อสร้างรสชาติที่แตกต่างของสเต็ก ได้ เช่นกัน

ในขณะที่ผลลัพธ์ล่าสุดนั้นไม่ใช่รางวัลจาก ดาวมิชลิน แต่ บริษัท ระบุว่าภายในไม่เกินหนึ่งปีพวกเขาจะสามารถพิมพ์ 3 มิติด้วยสเต็กขนาดเล็กที่อุดมไปด้วยไฟเบอร์ไขมัน และ กลิ่นหอม ออกวางจำหน่ายจริง ๆ ได้นั่นเอง

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/30lURcg

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast : 
https://apple.co/2lEqPPg

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
https://bit.ly/30hV2Wh

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/37bs1gh

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/dJlg8twqz6w

References : https://interestingengineering.com/israeli-startup-3d-prints-juicy-steaks-by-using-cellular-ink

Geek Monday EP42 : Coronavirus กับบทบาทของเทคโนโลยีในการลดการแพร่ระบาด (ตอนที่2)

ตอนนี้เทคโนโลยีหลาย ๆอย่าง กำลังมีบทบาทที่สำคัญมาก ๆ กับการแพร่ระบาดของไวรัส Covid-19 หากมีการร่วมมือกันระหว่างบริษัท Big tech ทั้งหลาย ที่มีเทคโนโลยีสุดล้ำ ผมก็คิดว่า การแพร่ระบาดของ Covid-19 น่าจะได้รับการแก้ไขได้ในอนาคตอันใกล้อย่างแน่นอนครับผม

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน Podbean : https://bit.ly/3dpgoFo

ฟังผ่าน Apple Podcast :  https://apple.co/2lEqPPg

ฟังผ่าน Google Podcast :  http://bit.ly/2kxHtQ3

ฟังผ่าน Spotify :  https://spoti.fi/2m0PTzR

ฟังผ่าน Youtube : https://youtu.be/bxfgZFcXcTI