OCTOBER 2000—FEBRUARY 2001
การกลับมากุมบังเหียนบริษัทอีกครั้งของ Peter Thiel เขาได้วางยุทธศาสตร์หลักให้ PayPal เป็นโมเดลธุรกิจหลักของบริษัท Thiel มอบหมายให้ Sacks เข้ามาดูแลรีบปรับธุรกิจโดยด่วน ลดการฉ้อโกงที่เกิดขึ้นกับช่องโหว่ของระบบ และที่สำคัญที่สุดก็คือ ลดภาระค่าธรรมเนียมของบัตรเครดิตออกไปให้ได้มากที่สุดนั่นเอง
รวมถึงส่วนของ X.com ที่มีบริการอย่าง X-Finance ซึ่งเป็นบริการที่คิดจะเลียนแบบธนาคารพานิชย์แบบดั้งเดิม Thiel ต้องการตัดบริการที่ไม่เกี่ยวข้องกับธุรกิจหลักของเขาออกไป การที่ X-Finance นั้นเปรียบเสมือนธนาคารที่ปล่อยบัตรเดบิต และวงเงินเบิกเกินบัญชีได้ ถึง 500 เหรียญ โดยแทบจะไม่ต้องตรวจสอบเครดิต มันเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำอย่างยิ่ง
และที่สำคัญ การออกจากบริการที่เปรียบเสมือนธนาคารออนไลน์นั้น หมายความว่าสถานะของพวกเขา ที่ต้องถูกกำกับดูแลก็ต้องถูกตีความใหม่ ซึ่ง Thiel ได้สั่งให้ทีมงานด้านกฏหมายคอยประสานกับหน่วยงานที่กำกับดูแล เพื่อค้นหาว่าบริการของ PayPal ควรจัดอยู่ในหมวดหมู่ใด
Thiel ได้แต่งตั้ง Roelof Botha นักคณิตศาสตร์ประกันภัยอายุ 47 ปี ให้ขึ้นมาดำรงตำแหน่ง CFO ซึ่ง Roelof นั้นมองว่าโปรแกรมการคุ้มครองผู้ซื้อและผู้ขายที่ใจกว้างมาก ๆ ของบริษัทนั้น เป็นสาเหตุสำคัญของการสูญเสียและเรื่องการฉ้อโกง
Roelof สรุปว่านโยบายการคุ้มครองผู้ขายนั้น สามารถที่จะคงอยู่ได้ แต่ผู้ใช้จะต้องปฏิบัติตามแนวทางที่เข้มงวดเพื่อให้มีคุณสมบัติที่เพียงพอในการคุ้มครองดังกล่าว
Max Levchin ที่เป็นส่วนสำคัญในการดึง Thiel กลับมานั้น เป็นผู้นำในการพัฒนระบบต่อต้านการทุจริต เพื่อติดตามกิจกรรมในบัญชีที่น่าสงสัย ส่วน Sacks นั้นพยายามลดค่าใช้จ่ายในการประมวลผลด้วยบัตรเครดิต เพื่อสนับสนุนให้ผู้ใช้ชำระเงินผ่าน ACH
และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ การลดบทบาทของ X.com ลง มีการเปลี่ยนภาพในโลโก้การประมูลของบริษัทจาก X.com กลับสู่ PayPal ซึ่งแน่นอนว่า เหล่าผู้ใช้งานนั้นสนับสนุนเต็มที่ในเรื่องดังกล่าว เพราะเบื่อกับคำถามจากผู้ซื้อเกี่ยวกับความหมายของ X.com นั่นเอง
เรื่องที่ยากที่สุดก็คงเป็นเรื่องการผลักดันให้ผู้ใช้งานเชิงธุรกิจนั้นอัพเกรดบัญชีมาใช้เป็นแบบธุรกิจเพื่อเสียค่าธรรมเนียม ซึ่ง แน่นอนว่า ต้องมีผู้ใช้งานออกมาคัดค้านเป็นจำนวนมาก ส่วนนึงก็เข้าใจว่า PayPal ไม่ใช่องค์กร การกุศล พวกเขาต้องหารายได้ ไม่งั้นก็ไม่มีบริการดี ๆ แบบนี้ออกมาให้ผู้ใช้
ทีมงาน PayPal จึงต้องใช้ไม้แข็ง โดยดูจากพฤติกรรมการใช้งานว่า ใช้งานเพื่อธุรกิจหรือไม่ ซึ่งคนเหล่านี้มีรายได้ ที่พอจะจ่ายค่าธรรมเนียมให้กับ PayPal อยู่แล้ว ซึ่งหลังจากมีการบังคับใช้นโยบายใหม่ในเดือนตุลาคม ซึ่งก็ได้รับผลตอบรับที่ดี ภายในระยะเวลาหนึ่งเดือน 95% ของบัญชีส่วนบุคคลที่ใช้งานแบบธุรกิจ ก็ได้ทำการอัพเกรดไปเป็นบัญชีธุรกิจในที่สุด
และเมื่อฝั่ง ebay และ billpoint เห็น PayPal พยายามที่ผลักดับลูกค้าให้ใช้บัญชีที่เสียค่าธรรมเนียม จึงใช้ประโยชน์จากจุดนี้ตีโต้กลับ PayPal ทันที โดยร่วมมือกับ Visa เหมือนเคย
โดย ebay ประกาศในเดือนตุลาคมช่วงเดียวกันว่าจะยกเว้นค่าธรรมเนียมของ Billpoint ทั้งหมดสำหรับการชำระเงินด้วย Visa และมันเป็นช่วงเทศกาลช็อปปิ้งของคนอเมริกา ซึ่งทำให้ Billpoint จะสามารถทำรายได้ได้ถูกกว่า PayPal ตลอดช่วงเทศกาลวันหยุด
แม้ Thiel จะรู้ว่ามันเสี่ยง แต่พวกเขาก็ต้องตัดใจทำ เพราะมันดีต่อธุรกิจในระยะยาว และที่สำคัญพวกเขามั่นใจกับแบรนด์ PayPal ที่เหล่าผู้ใช้งานใน ebay นั้นหลงรักและใช้มันเป็นอันดับหนึ่งใน แพลตฟอร์ม
และผลลัพธ์ก็ออกมาน่าสนใจหลังผ่านเทศกาลวันหยุดดังกล่าว PayPal ก็ยังเป็นผู้นำในการชำระเงินมากกว่า Billpoint แม้ตัวเลขการเติบโตของ Billpoint จะเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่าแต่ PayPal ก็ไม่ได้เติบโตลดลงแต่อย่างใด เพราะลูกค้าส่วนใหญ่ยังเชื่อมันในแบรนด์ของ PayPal นั่นเอง
หลังจากนั้นไม่นาน ebay ก็ได้แก้เกมต่อ โดยการเปิดตัวการทำธุรกรรมแบบใหม่ ในราคาคงที่ ภายใต้ชื่อ “Buy It Now” หรือ BIN ebay เป็นทางเลือกให้แก่ผู้ขายในการตั้งราคาที่พวกเขายินดีที่จะข้ามขั้นตอนการประมูลออกไป และขายสินค้าให้ผู้ซื้อได้แบบทันที
แม้ตัว Buy It Now นั้นจะไม่ได้คุกคาม PayPal โดยตรง แต่หารู้ไม่ว่า ebay นั้นใช้ช่องทางนี้กับผู้ซื้อให้ชำระเงินผ่าน Billpoint ได้เท่านั้น ซึ่งเป็นวิธีการเดียวที่พวกเขาอนุญาตให้ชำระเงินสำหรับสินค้าของผู้ขายที่จะเข้าร่วมในโปรแกรม Buy It Now
PayPal นั้นเดิมเข้าไปแทรกตัวอยู่ในวิธีการชำระเงินในกระบวนการประมูลสินค้าได้ แต่ใน Buy It Now นั้น กระบวนการจะจบลงทันที ไม่ต้องมีการรอให้ผู้ซื้อมาเลือกวิธีการชำระเงินแต่อย่างใด เพราะ ปุ่มการดำเนินการที่ ebay ฝังไว้ใหม่นี้ จะพาไปยังหน้าชำระเงินของ Billpoint แบบทันที
ซึ่งแน่นอนว่า มันคือวิธีที่แยบยลมาก ๆ ของ ebay เพราะหากไม่สามารถที่จะขับไล่ PayPal ออกจาก ebay ได้ พวกเขาจึงเปลี่ยนวิธีการต่อสู้เป็น เปลี่ยน Billpoint ให้กลายเป็นส่วนหนึ่งของ ebay แทนนั่นเอง
แต่แม้ความพยายามของ ebay ที่จะขับไล่ PayPal ออกไปให้ได้นั้น ดูเหมือนจะยังไม่เข้าใกล้ความเป็นจริงแต่อย่างใด PayPal มีผู้ใช้งานพุ่งสูงขึ้นถึง 5 ล้านรายเป็นบริษัทแรก ในไตรมาสที่ 4 ของปี ปริมาณการชำระเงินของ PayPal สูงขึ้นถึง 29% สร้างรายได้กว่า 7.4 ล้านเหรียญ
ซึ่งการเพิ่มขึ้นของรายได้ ควบคู่ไปกับการลดต้นทุนจากค่าธรรมเนียมบัตรเครดิต รวมถึงการแก้ไขปัญหาเรื่องการฉ้อโกงภายในแพลตฟอร์มได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้อัตรากำไรจากธุรกรรมการชำระเงินของ ebay เพิ่มขึ้นจาก -3.28% ในไตรมาสสาม เป็น -0.92% ในไตรมาสสี่ แสดงให้เห็นทิศทางของบริษัทที่ดีขึ้นอย่างชัดเจน
และตลาดการประมูลนั้น ebay ไม่ได้ครอบครองตลาดนี้ทั้งหมดแต่อย่างใดเพราะยังมีสองผู้เล่นรายใหญ่อย่าง Yahoo และ Amazon ที่ให้บริการประมูลบนเว๊บไซต์ของพวกเขาด้วย
โดย Yahoo คือผู้ท้าทายตัวจริงของ ebay เพราะมีจำนวนรายการประมูลสูงถึง 2.4 ล้านรายการ ซึ่งต่ำกว่า ebay ที่มีจำนวนรายการประมูล 3.7 ล้านรายการ และแน่นอนนั่นทำให้ส่งผลดีต่อ PayPal อย่างชัดเจนเพราะพวกเขาสามารถใช้งานได้ในทั้งสองแพลตฟอร์มนั่นเอง
Yahoo นั้นวางแผนมาเพื่อเป็นคู่แข่งของ ebay ตั้งแต่ต้น พวกเขาแทบจะไม่คิดค่าธรรมเนียมสำรหับการนำรายการขึ้นสู่เว๊บไซต์ รวมถึงสร้างระบบให้รองรับการนำเข้าข้อมูล Profile ต่าง ๆ จาก ebay สำหรับผู้ขายที่ต้องการย้ายมาอยู่ที่ Yahoo เพราะจะทำให้ดูมีความน่าเชื่อถือขึ้นนั่นเอง
แต่ Yahoo ก็ใช้กลยุทธ์นีได้เพียงไม่นาน เนื่องจากรายรับที่ลดลงต่อเนื่องของ Yahoo หลังจากเกิดวิกฤติฟองสบู่ดอทคอม ราคาหุ้นของ Yahoo ลดลงจาก 200 เหรียญ มาแตะที่ 30 เหรียญในระยะเวลาไม่ถึง 8 เดือนเท่านั้น Yahoo จึงต้องเริ่มประกาศยุติการประมูลฟรี และยอดผู้ใช้งานของพวกเขาก็ร่วงลงไปเรื่อย ๆ จนเหลือหลักหมื่นรายการในระยะเวลาเพียงไม่นาน เนื่องจากผู้ขายส่วนใหญ่ กลับไปยัง ebay แทบจะทั้งสิ้น
ฟากฝั่ง PayPal ก็ได้ออกแคมเปญ PayPal Preferred ซึ่งเป็นไดเรกทอรี่ ที่ให้ผู้ขายมาเข้าร่วม เพื่อแสดงรายชื่อร้านค้าออนไลน์ของพวกเขา ในเว๊บไซต์อื่น ๆ ที่ผู้ซื้อสามารถเข้าถึงได้ และเป็นการสนับสนุนเหล่าผู้ใช้งานให้ไปทำธุรกรรมนอก ebay นั่นเอง
เรียกได้ว่า เป็นศึกที่ กินกันไม่ลงเลยทีเดียวสำหรับ PayPal และ ebay ที่ต่างฝ่าย ต่างชิงไหวชิงพริบ เพื่อสร้างแต้มต่อทางธุรกิจ เรียกได้ว่าเป็นการผลัดกันรุก ผลัดกันรับ หาช่องทางที่จะโจมตีเข้าหากันโดยตลอด ต้องบอกว่าเป็นศึกทางธุรกิจที่ต่อสู้ได้เข้มข้นที่สุดครั้งนึงในประวัติศาสตร์ธุรกิจอเมริกา เพราะรางวัลสำหรับผู้ชนะ คือ ผู้ปฏิวัติวงการชำระเงินออนไลน์โลกตัวจริงนั่นเอง จะเกิดอะไรขึ้นต่อไปกับศึกครั้งนี้ โปรดติดตามตอนต่อไปครับผม
–> อ่านตอนที่ 8 : High Stakes
<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :The New Recruit *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***
ติดตามสาระดี ๆ อัพเดททุกวันผ่าน Line OA
Geek Forever Club พื้นที่ของการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ
Geek Forever’s Podcast
“Open Your World With Technology“
AI , Blockchain และเทคโนโลยีใหม่ ๆ กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในหลายธุรกิจ ทั้ง แวดวงการเงิน สุขภาพ หรือ งานด้านบริการต่าง ๆ ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจเกี่ยวกับ AI หรือ Machine Learning
Podcast ของผมจะเล่าเรื่องราวต่าง รวมถึงเรื่องที่ผมสนใจอื่น ๆ เช่น startup หนังสือ หนัง หรือ กีฬาฟุตบอล อยากชวนคนที่สนใจให้ลองมาติดตาม podcast ของผมกันด้วยนะครับ