NetScape Time ตอนที่ 10 : Breakout

แม้ปัญหากับมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ได้ข้อยุติไปแล้วก็ตาม แต่ปัญหาใหญ่ที่จะตามมาก็คือ การก้าวเข้ามาของ Microsoft เมื่อทางมหาวิทยาลัยนั้นได้ให้ลิขสิทธิ์ที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายกับยักษ์ใหญ่อย่าง Microsoft กับโปรแกรม Mosaic แต่ไม่ยอมให้กับ NetScape Communication

แม้ปัญหาแรกจะคลี่คลายในเรื่องการละเมิดลิขสิทธิ์ แต่บริษัทต้องสูญเสียอะไรหลาย ๆ อย่างมาก ๆ ต้องปลดพนักงานกว่า 20 คนจากจำนวนพนักงานทั้งหมด 120 คน และต้องเสียค่าใช้จ่ายในกระบวนการทางกฏหมายอีกมากมาย กว่าจะได้ข้อยุติ และทำให้บริษัทเหลือทุนเพียงแค่ 1 ล้านเหรียญ เศษ ๆ เท่านั้น

ยังมีข่าวดีอยู่บ้างเมื่อ James Barksdale ตัดสินใจเข้ามาร่วมงานกับบริษัทในที่สุด สื่อต่าง ๆ ก็เริ่มให้ความสนใจกับ NetScape อีกครั้ง รวมถึงกลุ่มลูกค้าที่เริ่มที่จะกลับมาติดต่อของลิขสิทธิ์ในการใช้งานโปรแกรม NetScape Navigator ที่เพิ่งปล่อย version 1.0 ออกไปเพียงไม่นาน

ซึ่งการได้ผู้บริหารระดับสูงอย่าง James Barksdale มาร่วมงานนั้น ยิ่งทำให้ได้รับความสนใจจากผู้สื่อข่าว เมื่อก้าวเข้าสู่ปี 1995 สถานการณ์ทุกอย่างของบริษัทก็เปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นเป็นอย่างมาก

เมื่อ James Barksdale เข้ามาสถานการณ์ต่าง ๆ ของบริษัทก็เปลี่ยน
เมื่อ James Barksdale เข้ามาสถานการณ์ต่าง ๆ ของบริษัทก็เปลี่ยน

เมื่อ internet ได้กลายเป็นปรากฏการณ์ระดับโลก ทีมงานของ NetScape ได้เดินทางไปทั่วโลก เพื่ออธิบายถึงเรื่องของเว๊บ ให้กับบริษัทต่าง ๆ ในหลากหลายธุรกิจ ทั้งด้านสื่อสาร ธนาคาร รวมถึงบริษัทจำหน่ายสินค้าต่าง ๆ มากมายทั่วโลก

บริษัทได้เริ่มขยายตัวอย่างรวดเร็ว และได้เริ่มรุกตลาดไปยังต่างประเทศ โดยมีสำนักงาน 28 แห่งในยุโรป และ 13 แห่งในเอเชีย มีการประกาศความร่วมมือกับบริษัทยักษ์ใหญ่ 12 แห่งในประเทศญี่ปุ่น เพื่อใช้ลิขสิทธิ์ NetScape Navigator

มีการตั้งคำถามขึ้นมากมาย ว่าโลกจะเปลี่ยนไปเช่นไร เมื่อการก้าวเข้ามาของเว๊บ และ internet เหล่าบริษัทยักษ์ใหญ่ทั่วโลก ต่างเริ่มเห็นโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ บนโลก internet เมื่อได้ใช้งาน NetScape Navigator

ต้องบอกว่า ก่อนหน้านี้นั้น internet ได้ถูกใช้ในวงแคบ ๆ ของวงการการศึกษา และ กลุ่มนักวิจัยเพียงเท่านั้น และส่วนใหญ่จะเป็นการใช้งานส่งผ่านข้อมูล Text ซึ่ง Mosaic และ NetScape ได้เปลี่ยนให้คนทั่วไปเข้ามาสู่ internet ได้ง่ายมากยิ่งขึ้น

ความเปลี่ยนแปลงอีกอย่างก็คือ internet นั้นยังมีความสามารถในการพัฒนาได้อีกไกล เพราะเหล่าบริษัทโทรคมนาคมยักษ์ใหญ่ เริ่มปรับตัวเข้ามาให้บริการ Internet Service Provider (ISP) เพราะพวกเขามีโครงสร้างพื้นฐานที่ดีอยู่แล้วในด้านโทรคมนาคม

ในด้านการเงินนั้น บริษัทก็เริ่มกลับมาอยู่ในเส้นทางที่สดใสอีกครั้ง แม้จะมีผลิตภัณฑ์เพียงแค่โปรแกรม NetScape Navigator v1.0 และ สินค้าอีก 2 ตัวที่เป็น server เพื่องานสื่อสารและการค้า แต่การได้ลูกค้าระดับ Big อย่าง AT&T เข้ามาทำให้มีผู้สนใจผลิตภัณฑ์ของพวกเขามากมาย

ไม่นานหลังจาก James Barksdale เข้ามาร่วมงาน เขาก็สามารถทำให้บริษัทเติบโตได้อย่างรวดเร็ว ต้องเรียกได้ว่าเขาเข้ามาในสถานการณ์ที่ถูกที่ ถูกเวลาเสียจริง ยอดขายเติบโตอย่างต่อเนื่อง กล่าวได้ว่า เพียงแค่เพิ่มคนตอบโทรศัพท์เพิ่มขึ้น ยอดขายก็แทบจะเพิ่มขึ้นเท่าตัว และมันได้ทำให้บรรยากาศของบริษัทเปลี่ยนจากความเครียดสุด ๆ ในช่วงก่อนหน้า กลายเป็นบรรยากาศที่ผ่อนคลายมากยิ่งขึ้น

แต่แม้จะมีกระแสเงินสดไหลเข้ามาอย่างต่อเนื่องในต้นปี 1995 บริษัทก็ได้ตัดสินใจระดมทุนรอบที่สาม ซึ่งเป็นการระดมทุนผ่านบริษัทต่าง ๆ โดยให้บริษัทยักษ์ใหญอย่าง Morgan Stanley เข้ามาช่วยจัดการในเรื่องดังกล่าว และช่วยให้บริษัทมีมูลค่าเพิ่มสูงขึ้นถึง 150 ล้านเหรียญ ซึ่งถือเป็นตัวเลขมหาศาลมาก ๆ เมื่อเทียบกับขนาดบริษัทในขณะนั้น

ซึ่งก่อนหน้านี้ แนวทางในการดำเนินธุรกิจแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มลูกค้าธุรกิจที่กำลังเติบโตอย่างต่อเนื่อง ส่วนอีกกลุ่มคือ ลูกค้าบุคคลทั่วไปที่ยังไม่มีแผนที่ชัดเจนในการสร้างรายได้

ในเดือน กุมภาพันธ์ปี 1995 บริษัทสร้างได้จากกลุ่มลูกค้าองค์กรได้มากจน Marc เองได้ปฏิเสธ ที่จะทดลองจ้าง Jerry Yang และ David Filo สองบัณฑิตจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ผู้พัฒนาเว๊บไซต์ Yahoo เพราะต้องบอกว่าตอนนั้น แทบไม่มีใครมองเห็นถึงศักยภาพของเว๊บ portal แบบ Yahoo ทำ รวมถึง Search Engine เองก็ตามที่ยังไม่มีใครคาดคิดว่ามันจะเกิดขึ้นในโลกของ internet

Jerry Yang และ David Filo เกือบจะมาเป็นพนักงาน NetScape
Jerry Yang และ David Filo เกือบจะมาเป็นพนักงาน NetScape

เมื่อบริษัทได้รับเงินระดมทุนจำนวนมหาศาลในการระดมทุนรอบ 3 ก็ทำให้สามารถจ้างพนักงานที่มีศักยภาพได้มากยิ่งขึ้นในหลาย ๆ ตำแหน่ง ทำให้บริษัทแข็งแกร่งเพิ่มมากขึ้น โดยในเดือนพฤษภาคม ปี 1995 นั้น บริษัทได้เพิ่มจำนวนพนักงานเป็นกว่า 2,000 คน

ทั้ง James , Jim และ Marc เองก็ได้เริ่มตระหนักว่าโปรแกรม Browser อย่าง NetScape Navigator นั้น เป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของ internet ในตอนนั้นไม่ว่าลูกค้าจะไปที่ใดบนโลก internet จะค้นหาข้อมูล เลือกซื้อสินค้า หรือ กระทำการใด ๆ ก็ต้องทำผ่าน Browser เพียงอย่างเดียวเท่านั้น

แน่นอนว่า มันสร้างอำนาจต่อรองให้กับบริษัทของพวกเขาเป็นอย่างมาก แต่อย่างไรก็ดี มันก็ได้สร้างคู่แข่งให้กับพวกเขาโดยไม่รู้ตัวเช่นเดียวกัน เพราะเว๊บไซต์ต่าง ๆ เริ่มเกิดขึ้นเป็นดอกเห็ด เช่น ตัวอย่างการเกิดขึ้นของ Yahoo แม้ NetScape เองจะเป็นผู้สร้างตลาดนี้ให้เกิดขึ้นก็ตามที

สถานการณ์ในตอนนั้น ต้องเรียกได้ว่า NetScape กลายเป็นราชาแห่งโลก internet เหล่าผู้บริหารเองก็เชื่อว่า อนาคตทั้งหมดของ internet อยู่ที่โปรแกรมของบริษัทนั่นก็คือ Browser NetScape ไม่ใช่ที่ตัวเว๊บไซต์เช่น Yahoo

และเมื่อผ่านไปถึง ฤดูใบไม้ผลิ บริษัทสามารถสร้างยอดขายได้กว่า 7 ล้านเหรียญในไตรมาสแรก มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง เรียกได้ว่า ทุก ๆ สิ่ง ทุก ๆ อย่างกำลังเข้าทางพวกเขาทั้งหมด เหมือนจะไม่มีอะไรจะมาหยุดพวกเขาอยู่ได้อีกต่อไป

แต่พวกเขากลับไม่รู้ตัวว่า กำลังมีศัตรูที่แข็งแกร่งได้แอบซุ่มเงียบ ๆ อยู่ และกำลังจะมาโค่นล้มบัลลังก์พวกเขา แล้ว ศัตรูผู้นั้นคือใคร แล้วเขาจะมาล้มเจ้าตลาด ผู้เป็น Gateway ประตูสู่โลก internet อย่าง NetScape Navigator ได้อย่างไร โปรดอย่าพลาดติดตามตอนต่อไปครับผม

–> อ่านตอนที่ 11 : Going Public

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :Billion Dollar Company *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

ติดตาม ด.ดล Blog เพิ่มเติมได้ที่
Fanpage :facebook.com/tharadhol.blog
Blockdit :blockdit.com/tharadhol.blog
Twitter :twitter.com/tharadhol
Instragram :instragram.com/tharadhol


 


ติดตามสาระดี ๆ อัพเดททุกวันผ่าน Line OA



Geek Forever Club พื้นที่ของการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ



Geek Forever’s Podcast


“Open Your World With Technology


AI , Blockchain และเทคโนโลยีใหม่ ๆ กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในหลายธุรกิจ ทั้ง แวดวงการเงิน สุขภาพ หรือ งานด้านบริการต่าง ๆ ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจเกี่ยวกับ AI หรือ Machine Learning

Podcast ของผมจะเล่าเรื่องราวต่าง รวมถึงเรื่องที่ผมสนใจอื่น ๆ เช่น startup หนังสือ หนัง หรือ กีฬาฟุตบอล อยากชวนคนที่สนใจให้ลองมาติดตาม podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Youtube
ฟังผ่าน Youtube