ทำไมรัฐบาลต้องแจกเงิน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ

เราจะเห็นได้ว่าในหลาย ๆ ครั้งที่ประเทศเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย หรือ เกิดวิกฤติด้านเศรษฐกิจ นโยบายอย่างนึง ที่หลาย ๆ ประเทศนำมาใช้นั้นก็คือการแจกเงิน หรือ “Stimulus Checks” ที่ประเทศยักษ์ใหญ่อย่างอเมริกาก็เคยใช้มาแล้วในวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์เมื่อปี 2008

ซึ่งแน่นอนว่า นโยบายเหล่านี้ หลาย ๆ คนอาจจะก่นด่ารัฐบาล ว่าทำไปเพื่ออะไร ในภาวะเศรษฐกิจดิ่งเหวขนาดนี้ หรือ รัฐบาลรวยนักหรือ ที่มาไล่แจกเงินตอนนี้ หรือ ทำไมข่าวนึงแจกเงิน ข่าวนึงขอรับบริจาค ตามที่เราได้เห็นในหน้าข่าวในปัจจุบัน

แต่เราต้องแยกประเด็นกันก่อน เพราะนโยบาย การแจกเงิน นั้น ถือเป็นนโยบายหนึ่งที่มีการใช้ในหลาย ๆ ประเทศ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งผมคิดว่า นโยบายก่อนหน้านี้ที่รัฐบาลทำอย่าง ชิม ช็อป ใช้ นั้น ก็ถือว่าประสบความสำเร็จไปได้ด้วยดีเลยทีเดียว ทำให้เงินมาหมนุเวียนในเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้น

และ ประเทศเราไม่ใช่เป็นเพียงประเทศเดียวที่ใช้นโยบายเหล่านี้ เพราะเค้าก็ใช้กันหลายประเทศ ซึ่งเป็นวิธีการที่เร็วที่สุด และเห็นผลชัดเจนที่สุดในการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศในหลาย ๆ ครั้ง แต่ภาพลักษณ์ของนโยบายนี้มักจะติดลบเนื่องจากดูเหมือนเป็นการนำเงินภาษีมาผลาญ ทำให้ทุกคนต่างมองในแง่ลบ

ตัวอย่างของ Stimulus Check ที่รัฐบาลอเมริกาใช้ในวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ โดยใช้เช็คกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นเช็คที่ส่งไปยังผู้เสียภาษีโดยรัฐบาลสหรัฐฯ โดยเช็คกระตุ้นเศรษฐกิจมีจุดประสงค์เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจโดยให้ผู้บริโภคใช้จ่ายเงินบางส่วน เมื่อผู้เสียภาษีใช้จ่ายเงินจำนวนนี้จะช่วยกระตุ้นการบริโภคและสร้างรายได้ให้กับผู้ค้าปลีกและผู้ผลิตและกระตุ้นเศรษฐกิจนั่นเอง

การใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งล่าสุดเกิดขึ้นเมื่อเศรษฐกิจสหรัฐเข้าสู่ภาวะถดถอยอย่างรุนแรงหลังจากเกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินในปี 2008

รัฐบาลได้ส่งเช็คในปี 2009 แก่ผู้ที่มีรายได้อย่างน้อย 3,000 เหรียญสหรัฐหรือรวมกับสิทธิประโยชน์ประกันสังคมสวัสดิการ ทหารผ่านศึก สวัสดิการเกษียณอายุรถไฟ

มาตรการแจกเงินเหล่านี้มันส่งผลกระทบอย่างไรต่อระบบเศรษฐกิจ ?

หนังสือพิมพ์ วอชิงตันโพสต์ รายงานจากการศึกษา 6 ใน 9 การวิจัยเกี่ยวกับนโยบายดังกล่าว สรุปได้ว่า ” Stimulus Check มีแรงกระตุ้นที่มีนัยสำคัญผลบวกต่อการจ้างงานและการเจริญเติบโตและ อีก 3 งานวิจัยที่เหลือ พบว่าผลที่ได้มีขนาดเล็กมากหรือเป็นไปไม่ได้ในการตรวจสอบ.”

สำนักงบประมาณรัฐสภาสหรัฐ พบบว่า การตรวจสอบมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจพร้อมกับมาตรการอื่น ๆ ในการก้าวสู่เศรษฐกิจที่มีในปี 2011 สร้างงานใหม่ๆ เพิ่มมากขึ้น 1.6 – 4.6 ล้านงาน มีอัตราการเพิ่มขึ้นของ GDP ที่ระหว่าง 1.1 – 3.1% และลดการว่างงานโดยระหว่าง 0.6 และ 1.8 เปอร์เซ็นต์

นักวิจารณ์ยืนยันว่าการกระตุ้นจะเพิ่มการขาดดุล 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ และเป็นการเปลี่ยนกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นต่อไป หลังจากออกนโยบายดังกล่าว

การศึกษาของ Mercatus ได้ชี้ไปที่อัตราการว่างงานซึ่งเพิ่มขึ้นแม้จะมีการดำเนินการตามมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นหลักฐานว่าการตรวจสอบการกระตุ้นเศรษฐกิจไม่ประสบผลสำเร็จในช่วงเศรษฐกิจถดถอยในปี 2008 จากการศึกษาพบว่าระยะเวลาเฉลี่ยของการว่างงานสูงถึง 25.5 สัปดาห์ในเดือนมิถุนายน 2010 หลังจากเฉลี่ย 7.2 สัปดาห์ตั้งแต่ปี 1967 ถึง 2008

ส่วนคนอื่น ๆ เช่น Paul Krugman ได้โต้แย้งว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ (และการขยายจำนวนเช็ค) เป็นจำนวนเงินที่น้อยเกินไปที่จะมีประสิทธิภาพ

ซึ่งจากที่กล่าวมาจะเห็นได้ว่า นโยบายการแจกเงิน นั้น ถือเป็นอีกหนึ่งนโยบายในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ที่เร็วที่สุด ที่ออกมาหลายๆ ครั้งในหลายๆ ประเทศซึ่งความเห็นส่วนตัวผมก็เชื่อว่านโยบาย ชิม ช็อป ใช้ เมื่อปีที่แล้วนั้นถือเป็นอีกนโยบายหนึ่ง ที่กระตุ้นเศรษฐกิจได้มีประสิทธิภาพ​

และด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่าง Big Data นั้น ผมก็คิดว่ารัฐบาลน่าจะเห็นผลสำเร็จบางอย่างจากข้อมูลจาก นโยบาย รูปแบบนี้ ซึ่งคงไม่คิดจะใช้มันอีกครั้ง ให้โดนด่าแน่ๆ ถ้ามันไม่ได้ผลที่ดีออกมาจริงๆ

และปัจจัยสำคัญอีกอย่างนึงก็คือ การวาง infrastructure พื้นฐานทางด้านการเงินอย่าง promptpay ทำให้นโยบายการแจกเงินแบบนี้ทำได้แม่นยำ ตรงกลุ่มเป้าหมายมากยิ่งขึ้นเมื่อเทียบกับการแจกเงินในรัฐบาลก่อนๆ แม้จะไม่ 100% ก็ตามทีซึ่งเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ยากมาก

แต่สิ่งที่ต้องคำนึงที่สุดก็คือ การตรวจสอบผลที่ได้รับจากนโยบายเหล่านี้นั้น มันคุ้มค่ากับเงินที่หว่านลงไปหรือไม่ นั่นคือ คำตอบที่เราต้องค้นหากัน แต่นโยบายการแจกเงินไม่ได้เป็นนโยบายที่แปลกประหลาดหรือสิ้นคิด พิศดารแต่อย่างใด มันเป็นนโยบายหนึ่งที่ใช้กันอยู่ในหลาย ๆ ประเทศ ซึ่งบางครั้งก็ได้ผลดี บางครั้งก็ได้ผลที่แย่ เหมือนในหลาย ๆ นโยบายที่รัฐบาลออกมานั่นเองครับผม

ข้อมูลน่าสนใจเพิ่มเติม :

ฮ่องกง ‘แจกเงินสด’ สู้พิษเศรษฐกิจหลัง ‘โควิด-19’

https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/868048

References : https://www.thebalance.com/stimulus-checks-3305750 https://www.investopedia.com/terms/s/stimulus-check.asp https://en.wikipedia.org/wiki/Direct_Payments https://www.chiangmainews.co.th/page/archives/597505


 


ติดตามสาระดี ๆ อัพเดททุกวันผ่าน Line OA



Geek Forever Club พื้นที่ของการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ



Geek Forever’s Podcast


“Open Your World With Technology


AI , Blockchain และเทคโนโลยีใหม่ ๆ กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในหลายธุรกิจ ทั้ง แวดวงการเงิน สุขภาพ หรือ งานด้านบริการต่าง ๆ ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจเกี่ยวกับ AI หรือ Machine Learning

Podcast ของผมจะเล่าเรื่องราวต่าง รวมถึงเรื่องที่ผมสนใจอื่น ๆ เช่น startup หนังสือ หนัง หรือ กีฬาฟุตบอล อยากชวนคนที่สนใจให้ลองมาติดตาม podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Youtube
ฟังผ่าน Youtube