สงครามการเมือง กับเบื้องหลังความพ่ายแพ้ครั้งสำคัญของ Google Plus ที่มีต่อ Facebook

Google+ ได้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่ถูกปิดตัวลงไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว  หลังจากที่ บริษัท ใช้เงินไปหลายร้อยล้านดอลลาร์กับโปรเจ็คดังกล่าว Google Plus ก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะต่อสู้กับ Facebook ได้เลย 

มันเป็นความล้มเหลวครั้งสำคัญของ Google ในโลกออนไลน์ที่พวกเขาถนัด ซึ่งหลังจากอดีตนักออกแบบของ Google Plus ซึ่งเป็นหนึ่งในทีมที่ทำงานกับผลิตภัณฑ์ กล่าวว่าสาเหตุหลัก ๆ คือ เรื่องของการเมืองภายในองค์กร และการขาดวิสัยทัศน์ที่ยิ่งใหญ่

หนึ่งวันหลังจากที่ Google ประกาศเกี่ยวกับบริการที่ไม่มีใครสนใจ Google ยอมรับว่า 90% ของผู้ใช้ นั้นอยู่ในบริการของ Google+ น้อยกว่าห้าวินาที อดีตพนักงานของ Google ชื่อ Morgan Knutson ได้กล่าวย้อนอดีตถึง ผลงานภายในของ Google Plus

Knutson ทำงานเป็นนักออกแบบกับ Google+ ระหว่าง 2011 และ 2012 เขาได้ทวีตมากกว่า 200 ครั้ง เพื่ออธิบายรายละเอียดการดำรงตำแหน่งระยะสั้นของเขาที่ Google+ ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อมีเป้าหมายในการเอาชนะ Facebook

สิ่งที่ Knutson กล่าวในทวีต อธิบาย เรื่องราวของความหลงใหล การทรยศ การจัดการที่ผิดและ การเมืองในสำนักงานของ Google เอง จากนั้นเขาก็อธิบายว่าทำไมเขาถึงได้เข้ามาทำงานในโครงการใหม่ของ Google ที่ชื่อว่า Google+

หนึ่งในปัญหามากมายของ Google+ ตามที่พนักงาน Google เคยอธิบายไว้ คือ การขาดวิสัยทัศน์ Knutson กล่าวว่า การมองผลิตภัณฑ์ของ Google ใน Google+ นั้น เป็นการขึ้นอยู่กับความกลัวที่จะสูญเสียการแข่งขันที่มีต่อ Facebook แทนที่จะสร้างสิ่งที่แปลกใหม่อย่างแท้จริงตามวิถีทางแบบเก่า ๆ ของ Google

“วิสัยทัศน์ผลิตภัณฑ์ของ Vic เต็มไปด้วยความกลัว” Knutson เขียนอ้างถึง “Vic” Gundotra ผู้บริหาร Google ผู้ซึ่งเป็นหัวหน้าโครงการ Google+ ก่อนที่เขาจะออกจาก บริษัท ในปี 2014 ท่ามกลางข้อกล่าวหาเรื่องการล่วงละเมิดทางเพศ 

Vic Gundotra อดีตหัวเรือใหญ่ของ Google+
Vic Gundotra อดีตหัวเรือใหญ่ของ Google+

“Google ได้สร้างกราฟขององค์ความรู้และ Facebook ได้สร้างกราฟของเครือข่ายสังคมออนไลน์ ซึ่งหากเราไม่ได้เป็นเจ้าของกราฟเครือข่ายสังคมออนไลน์ เราก็ไม่สามารถอ้างสิทธิ์ที่จะจัดทำดัชนีข้อมูลในโลกนี้ได้ทั้งหมด” เขาเขียนไว้ในทวีตหนึ่งไว้อย่างน่าสนใจ

อย่างไรก็ตามการมองผลิตภัณฑ์ ไม่ได้เป็นปัญหาเดียวกับโครงการที่ทะเยอทะยานของ Google 

Knutson กล่าวในรายละเอียด และอธิบายว่า ทีมต่าง ๆ ที่ทำงานในโครงการไม่ได้ทำงานพร้อมเพรียงกัน ทีมทั้งหมดทำงานในโมดูลแยกต่างหาก โดยไม่มีความรู้ในสิ่งที่เขาอธิบายว่าเป็น “วิสัยทัศน์ที่ยิ่งใหญ่” “ทุกสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นล้วนไม่มีความต่อเนื่อง มันเป็นการสร้างและคัดลอก มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพื่อเอาชนะ Facebook”

โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิสัยทัศน์เหล่านี้ ไม่ได้จำกัดเฉพาะแพลตฟอร์มของ Google+ เท่านั้น แต่รวมถึงระบบนิเวศของ Google โดยรวมทั้งหมด เห็นได้ชัดว่าเมื่อ Knutson ออกแบบอินเทอร์เฟซผู้ใช้ทั้งหมดของ Google+ ใหม่ ซึ่งยังอยู่ในช่วงการพัฒนาในเวลานั้นเพื่อรวมแอพอื่น ๆ ของ Google เข้ากับการนำทางในแถบด้านข้าง

แต่เขากลับถูกล้มแนวคิดดังกล่าว โดยผู้บริหารอาวุโส เนื่องจากถูกมองว่ามันไปคล้ายกับส่วนขยายของ Chrome ซึ่ง Google วางแผนที่จะเปิดตัวที่ Google I / O

อีกปัญหาหนึ่งของ Google+ คือข้อเท็จจริงที่ว่า ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวมันไม่ได้ถูกพิจารณาโดยระบบนิเวศทั้งหมดของ Google

Knutson อธิบายสิ่งนี้ว่าเป็นความไม่มีความเสมอภาคในการออกแบบในเรื่องประสบการณ์ของลูกค้า “ไม่มีสิ่งใด ที่ถูกสร้างขึ้นมาโดยคำนึงถึงผลิตภัณฑ์ทั้งหมดในระบบนิเวศของ Google นักออกแบบ UX นั้นไม่ได้สนใจประสบการณ์ของลูกค้าอย่างแท้จริง” เขาเขียน

Google Plus ที่ออกแบบมาโดยไม่คำนึงถึงประสบการณ์ของผู้ใช้
Google Plus ที่ออกแบบมาโดยไม่คำนึงถึงประสบการณ์ของผู้ใช้

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Google ได้ปรับปรุงระบบนิเวศทั้งหมดในภายหลัง ซึ่งประกอบไปด้วย Gmail, Google Drive และ G-Suite ในหกปีต่อมา โดยนำความสอดคล้องการออกแบบและเพิ่มคุณสมบัติใหม่ ๆ ให้กับพวกมัน และประสบความสำเร็จอย่างสูง

นอกเหนือจากความไม่เสมอภาคในการออกแบบและวิสัยทัศน์ สิ่งที่ฆ่า Google+ คือการเมืองภายในบริษัท เมื่อคนทำงานเป็นทีม และมีความพยายามในการเล่นการเมืองระหว่างแต่ละทีม ซึ่งมักจะส่งผลเสียต่อโปรเจ็ค ซึ่งเห็นได้ชัดว่าสิ่งนี้เกิดขึ้นกับ Google+ เช่นกัน

Knutson พบกับการเมืองในสำนักงานระหว่างที่เขาดำรงตำแหน่งใน Google ในที่สุดเมื่อเขาได้รับการอนุมัติให้นำทีมสำหรับการออกแบบส่วนต่อประสานผู้ใช้ เขาต้องเผชิญกับการต่อต้านจากนักออกแบบคนอื่น

“Jim” ผู้ซึ่งอยู่ในทีม Google+ ตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง เมื่อ Knutson พยายามแก้ไขปัญหากับ Jim โดยการสนทนาแบบตัวต่อตัว แต่เขาก็ไม่เคยมาปรากฏตัว เมื่อเขาไปหาหัวหน้าของ Jim คือ Greg แต่ดูเหมือนปัญหามันก็ถูกซ่อนไว้ใต้พรมตามเดิมที่ไม่ได้รับการแก้ไข

แต่ Greg กลับให้ท้าย Jim โดยบอกกับ Knutson ว่าจะให้ Jim เป็นผู้จัดการของเขาหลังจากที่ Project เปิดตัว ” เขายังจำบทสนทนาดังกล่าวได้อย่างดี

สองสามเดือนต่อมา Knutson ก็ได้ออกจาก Google เพื่อเข้าร่วมงานกับ Dropbox

Google อาจจะตัดสินใจยุติโครงการ Google+ ไปแล้ว แต่ชัดเจนว่าข้อบกพร่องด้านความปลอดภัยเป็นเพียงข้ออ้างที่ Google พยายามแถลงต่อสาธารณะเพื่อไม่ให้พวกเขาเสียหน้าเท่านั้น

Google+ ไม่สามารถบรรลุสิ่งที่ บริษัทคาดหวัง ความนิยมที่เพิ่มขึ้นของ Facebook และตัวเลขผู้ใช้งาน Google+ ที่ลดน้อยลงต่างหาก ที่เป็นสิ่งบังคับให้ยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีตัดสินใจยุติโครงการดังกล่าวในท้ายที่สุด

จะเห็นได้ว่า แม้ Google+ ตอนเปิดตัวนั้น จะมีการเปิดตัวอย่างยิ่งใหญ่ พร้อมด้วย Features ต่าง ๆ มากมาย แต่เราจะได้เห็นถึงความพ่ายแพ้ครั้งสำคัญครั้งแรกของ Google ไม่ว่าจะมาจากปัญหาการเมืองภายในองค์กร รวมถึงวิสัยทัศน์ที่คิดเพียงแค่จะล้ม Facebook ให้ได้เพียงเท่านั้น

ซึ่งมันเป็นการผิดวิสัยของบริษัทอย่าง Google ที่มักจะสร้างนวัตกรรมต่าง ๆ ออกมาให้เป็นที่ยอมรับ ก็ต้องให้เครดิตกับ Mark Zuckerberg ที่สามารถทำให้ Facebook เอาชนะในศึกครั้งนั้นมาได้ ซึ่งดูเหมือนว่า ในเรื่องของเครือข่ายสังคมออนไลน์นั้น คงไม่มีใครจะเข้าใจมันได้ดีไปกว่า Mark Zuckerberg ที่ทำให้ตอนนี้แพลตฟอร์มของเขาครองใจผู้ใช้งานส่วนใหญ่ทั่วโลกมาจวบจนถึงปัจจุบันได้นั่นเองครับ

References : https://www.the-vital-edge.com/fall-of-google-plus/
https://mashable.com/2015/08/02/google-plus-history/
https://www.indiatoday.in/technology/features/story/former-google-designer-explains-why-google-s-social-media-play-failed-1370662-2018-10-18
http://dansator.blogspot.com/2019/02/rip-google-plus.html


 


ติดตามสาระดี ๆ อัพเดททุกวันผ่าน Line OA



Geek Forever Club พื้นที่ของการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ



Geek Forever’s Podcast


“Open Your World With Technology


AI , Blockchain และเทคโนโลยีใหม่ ๆ กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในหลายธุรกิจ ทั้ง แวดวงการเงิน สุขภาพ หรือ งานด้านบริการต่าง ๆ ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจเกี่ยวกับ AI หรือ Machine Learning

Podcast ของผมจะเล่าเรื่องราวต่าง รวมถึงเรื่องที่ผมสนใจอื่น ๆ เช่น startup หนังสือ หนัง หรือ กีฬาฟุตบอล อยากชวนคนที่สนใจให้ลองมาติดตาม podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Youtube
ฟังผ่าน Youtube