เหตุใด “ประสบการณ์ของนักพัฒนา” จึงส่งผลต่อการก้าวไปข้างหน้าของนวัตกรรมระดับโลก

ภาพขาวดำหมุนวนบนหน้าจอคอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาล ภาพการสแกนด้วย MRI แม้แต่สายตาที่ฝึกมาก็ยังมองเห็นสิ่งผิดปกติได้ยาก แต่โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ขับเคลื่อนด้วย AI ซึ่งใช้ซอฟต์แวร์ที่ได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับรูปภาพที่คล้ายกันนับพันๆ ภาพ จะมองเห็นสัญญาณเริ่มต้นของมะเร็ง ตรวจพบตั้งแต่เนิ่นๆ การพยากรณ์โรคทำได้ดีอย่างน่าทึ่ง

เบื้องหลังนวัตกรรมอันน่าทึ่งนี้ เช่นเดียวกับหลายๆ อย่างในชีวิตของเราในปัจจุบัน คือสิ่งที่มีอยู่ทั่วไปทุกหนทุกแห่งและมักถูกมองข้ามไป นั่นก็คือโค้ด

ไม่ว่าจะเป็นการตรวจสุขภาพหรือวิธีการสั่งอาหาร การธนาคาร หรือการขับเคลื่อนรถแบบอัตโนมัติ นวัตกรรมที่ใหญ่ที่สุดที่กำหนดชีวิตเราในปัจจุบันนั้นขับเคลื่อนโดยซอฟต์แวร์ทางด้านคอมพิวเตอร์แทบจะทั้งสิ้น

โดยเฉพาะจากเหล่านักพัฒนาประมาณ 30 ล้านคนทั่วโลกที่เขียนโค้ดขึ้นมา ซึ่งแน่นอนว่าในตอนนี้ชีวิตเราก้าวหน้าได้เร็วเพียงใดทั้งในธุรกิจและสังคม ขึ้นอยู่กับความรวดเร็ว และประสิทธิภาพในการทำงานของพวกเขาเหล่านี้เฉกเช่นเดียวกัน

แต่ประสิทธิภาพของการแปลงแนวคิดดิบ ๆ เป็นโค้ดและท้ายที่สุดการนำไปยังผู้ใช้ปลายทางนั้นเป็นสิ่งที่ไม่แน่นอน 

ในทุกวันนี้ นักพัฒนา ซึ่งเป็นแรงผลักดันเบื้องหลังความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมากมาย กำลังถูกขัดขวางโดยกระบวนการที่ล้าสมัยและการขาดเครื่องมือช่วยเหลือที่ดีมากพอ

การขจัดปัญหาคอขวดเหล่านี้เป็นมากกว่าแค่เรื่องของความสะดวกต่อกลุ่มคนเหล่านี้เพียงเท่านั้น แต่จะส่งผลกระทบอย่างใหญ่หลวงต่อความก้าวหน้าของนวัตกรรมระดับโลกเช่นเดียวกัน

งานหนักที่ขวางกั้น Supply Chain ด้านนวัตกรรม 

เราได้เห็นในช่วงการแพร่ระบาดว่าบางสิ่ง เช่น การไม่มีตู้คอนเทนเนอร์สามารถส่งผลกระทบต่อการพาณิชย์และการผลิตไปทั่วโลกได้อย่างไร 

ปัญหาขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลก (CR:Pixabay)
ปัญหาขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ที่ส่งผลกระทบไปทั่วโลก (CR:Pixabay)

เฉกเช่นเดียวกัน ในการสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ ปัญหาใหญ่ที่รั้งนักพัฒนาไว้ตอนนี้คือปริมาณงานหนักที่คืบคลานเข้ามาในแต่ละวัน ตามที่นักวิจัย Vivek Rau ระบุในงานของเขากับ Google ความเหน็ดเหนื่อยของนักพัฒนาหมายถึงกระบวนการใดๆ ก็ตามที่ มีความซ้ำซาก จำเจ ไร้ซึ่งคุณค่าที่ยั่งยืน และต้องเพิ่มปริมาณงานตามการเติบโตของบริการเหล่านนั้นต ซึ่งงานหนักส่วนใหญ่คืองานด้านธุรการและงานยุ่งอื่น ๆ ที่ควบคู่ไปกับการเขียนซอฟต์แวร์

เนื่องจากซอฟต์แวร์มีความซับซ้อนมากขึ้น นักพัฒนาต้องทำงานหนักมากเช่นกัน โดยสละเวลาอันมีค่าไปจากงานสร้างสรรค์ที่มีศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงชีวิตของเรา

ตอนนี้วิศวกรซอฟต์แวร์ใช้เวลาน้อยกว่าครึ่งวันในการเขียนโค้ด โดยประมาณการว่า ตัวเลข นั้นต่ำถึง 20% เวลาที่เหลือของพวกเขาจมอยู่กับงานต่างๆ เช่น การทดสอบและตรวจสอบโค้ด การรอให้งานอื่น ๆ สร้างให้เสร็จก่อน หรืออุปสรรคด้านการดูแลระบบ เช่น การต้องได้รับการอนุมัติเพื่อดำเนินการในขั้นต่อไปของการเปลี่ยนแปลงแก้ไขโค้ด

ภาวะ overload ของเหล่านักพัฒนาทั่วโลก (CR:Freepik)
ภาวะ overload ของเหล่านักพัฒนาทั่วโลก (CR:Freepik)

สิ่งนี้ส่งผลในหลายระดับ สำหรับนักพัฒนา มันเป็นสิ่งที่น่าผิดหวังอย่างยิ่งและยับยั้งความคิดสร้างสรรค์ในการทำงานซึ่งจะนำไปสู่ความเบื่อหน่ายและมีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดการขาดแคลนของนักพัฒนา ที่หลาย ๆ คนเลิกสนใจอาชีพนี้ 

สำหรับธุรกิจที่แข่งขันกันเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรม อาจทำให้ผลิตภัณฑ์ที่จะออกมาช้าลงและจำกัดความสามารถในการนำผลิตภัณฑ์ออกสู่ตลาดได้แบบทันท่วงที 

การปล่อยให้นักพัฒนาสร้างนวัตกรรมได้เร็วยิ่งขึ้น 

การปลดล็อก Supply Chain ของนวัตกรรมจำเป็นต้องนำประสบการณ์ของนักพัฒนามาเป็นจุดสนใจ ซึ่งในปัจจุบันเราจะเห็นได้ว่าทั้งประสบการณ์ของผู้ใช้และแม้แต่ประสบการณ์ของพนักงานได้กลายเป็นจุดสนใจร่วมกันขององค์กรที่ต้องการปรับปรุงผลลัพธ์ให้ดีขึ้น

แต่กลับกันเงื่อนไขที่นักพัฒนาทำงานภายใต้แรงกดดันต่าง ๆ และสิ่งที่พวกเขาถูกขอให้ใช้เวลาอยู่กับมันอย่างยาวนานบางคนใช้เวลาเกือบครึ่งค่อนชีวิตในการเขียนโค้ด แต่สิ่งเหล่านนี้กลับถูกละเลย

แนวคิดของ “DX (Developer Experience)” ได้เกิดขึ้นในแวดวงเทคโนโลยีในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา และขณะนี้กำลังเริ่มเข้าสู่ชุมชนธุรกิจที่กว้างขึ้น บริษัทจำนวนมากขึ้นตระหนักดีว่าการได้ประโยชน์จากนักพัฒนามากขึ้นหมายถึงการมีพื้นที่ว่างสำหรับความคิดสร้างสรรค์และลดความซับซ้อนของเวิร์กโฟลว์การทำงานลงไป

การใช้เทคโนโลยีเพื่อทำให้กระบวนการที่ซ้ำซากจำเจกลายเป็นให้กลายเป็นระบบอัตโนมัติ เช่น การทดสอบ การรักษาความปลอดภัย และการส่งมอบงาน เป็นวิธีหนึ่งที่จะทำเช่นนั้นได้  

อีกปัญหาที่สำคัญและมีความท้าทายมาก ๆ คือ เรื่องวัฒนธรรมของบริษัทซึ่งหลาย ๆ องค์กรน่าจะประสบพบเจอกัน โดยปรกติแล้วนั้นเหล่านักพัฒนาทำงานได้ดีที่สุดเมื่อได้รับความไว้วางใจและอิสระในการทำงานมากที่สุด 

แต่ผู้จัดการและองค์กรที่มีลำดับชั้นจำนวนมากเกินไปทำให้ทีมนักพัฒนาต้องประสบพบเจอกับความชะงักงันด้วยกระบวนการต่างๆ ที่มีความซับซ้อนหรืองานธุรการที่มากเกินกว่างานสร้างสรรค์ที่แท้จริงที่เป็นนจุดเด่นหลักของเหล่านักพัฒนา 

การเปลี่ยนแปลงสิ่งเหล่านี้มีมากกว่าเพียงแค่ประโยชน์ต่อธุรกิจ ในทุกวันนี้นวัตกรรมคลื่นลูกใหม่ก้าวไปไกลกว่าความสะดวกสบายของผู้บริโภค เช่น การสตรีมวีดีโอหรือแอปส่งอาหาร แบตเตอรี่ที่มีพลังมากขึ้นสามารถช่วยบรรเทาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การรักษาแบบไบโอเมตริกซ์อาจกำจัดมะเร็งบางชนิดได้ และอวัยวะที่พิมพ์ด้วยเทคโนโลยี 3 มิติอาจยืดอายุขัยของคนอีกจำนวนนับไม่ถ้วน

การขจัดงานหนักจากเส้นทางอาชีพของเหล่านักพัฒนา และการปลดล็อก supply chain ของนวัตกรรม จะช่วยให้โลกเราสามารถก้าวไปข้างหน้าได้อย่างรวดเร็วขึ้น เมื่อภาระที่แบกบนไหล่ของเหล่านักพัฒนาทั่วโลกลดลงไปได้ พร้อมกับประสบการณ์ที่ดีขึ้นของพวกเขาเหล่านี้นั่นเองครับผม

References :
https://www.future-processing.com/blog/how-many-developers-are-there-in-the-world-in-2019/
https://sre.google/sre-book/eliminating-toil/
https://content.techgig.com/career-advice/5-types-of-computer-programming-jobs-to-look-out-for/articleshow/87363459.cms
https://www.fastcompany.com/90771120/why-developer-experience-is-holding-back-the-pace-of-global-innovation
https://codilime.com/blog/developer-experience-what-is-dx-and-why-you-should-care/


 


ติดตามสาระดี ๆ อัพเดททุกวันผ่าน Line OA



Geek Forever Club พื้นที่ของการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ



Geek Forever’s Podcast


“Open Your World With Technology


AI , Blockchain และเทคโนโลยีใหม่ ๆ กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในหลายธุรกิจ ทั้ง แวดวงการเงิน สุขภาพ หรือ งานด้านบริการต่าง ๆ ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจเกี่ยวกับ AI หรือ Machine Learning

Podcast ของผมจะเล่าเรื่องราวต่าง รวมถึงเรื่องที่ผมสนใจอื่น ๆ เช่น startup หนังสือ หนัง หรือ กีฬาฟุตบอล อยากชวนคนที่สนใจให้ลองมาติดตาม podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Youtube
ฟังผ่าน Youtube