Autonomous Robot Arm กับการช่วยเหลือผู้ป่วยพิการ

ชาวอเมริกันประมาณหนึ่งล้านคนไม่สามารถเลี้ยงตัวเองได้เนื่องจากปัญหาทางร่างกายต่าง ๆ เช่นการเป็นผู้ป่วยพิการ ทำให้พวกเขามีทางเลือกน้อย และต้องพึ่งพาคนอื่นในช่วงเวลารับประทานอาหารซึ่งอาจทำให้พวกเขารู้สึกอึดอัดใจและอยากช่วยเหลือตัวเองให้ได้มากกว่านี้

แต่ตอนนี้นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยวอชิงตันได้สร้าง Assistive Dexterous Arm (ADA) , แขนหุ่นยนต์อัจฉริยะที่มีความสามารถในการใช้ส้อมที่จะช่วยเสิร์ฟอาหารจากจานกับปากของพวกเขาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งนี่เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่มีการนำเทคโนโลยี AI และหุ่นยนต์มาช่วยให้คนพิการมีชีวิตที่อิสระมากยิ่งขึ้น

ในเอกสารที่ตีพิมพ์ เมื่อเร็ว ๆ นี้ทีมนักวิจัยของ University of Washington (UW) อธิบายว่าอัลกอริธึมAI ที่ทำงานร่วมกับแขนหุ่น ADA สามารถฟีดอาหารไปยังผู้ป่วยได้อย่างไร

อัลกอริทึมแรกอย่าง RetinaNet เป็นระบบตรวจจับวัตถุ มันจะสแกนจาน เพื่อระบุประเภทของอาหารที่โดยจะมีการวาง “กรอบ” รอบอาหารแต่ละรายการ

อัลกอริทึมที่สองคือ SPNet วิเคราะห์อาหารในเฟรมดังกล่าว และส่งคำแนะนำไปยังแขนหุ่นยนต์เพื่อให้มันรู้วิธีการจัดการกับอาหารในแบบที่จะทำให้คนกินได้ง่าย  ซึ่ง AI อาจสั่งให้แขนหุ่นลองใช้ส้อมเสียบ ยกตัวอย่าง เช่น กล้วยที่อยู่ตรงกลาง แต่ มีแครอทอยู่ใกล้ในปลายด้านหนึ่ง

ตัวอย่างการจัดการอาหารในหลาย ๆ รูปแบบ
ตัวอย่างการจัดการอาหารในหลาย ๆ รูปแบบ

ซึ่งการให้ความรู้เชิงบริบทกับ AI ว่าอาหารทุกอย่างไม่ควรได้รับการปฏิบัติในลักษณะเดียวกัน เป็นส่วนสำคัญของกระบวนการพัฒนาของแขนหุ่นยนต์ ADA ตามที่นักวิจัย Siddhartha Srinivasa กล่าว

“ถ้าเราไม่ได้คำนึงถึงวิธีการที่ง่ายที่สุดในการรับประทาน เหล่าคนที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้นั้นก็อาจจะไม่สามารถที่จะใช้ระบบของเราได้เช่นกัน” เขากล่าวในการแถลงข่าว “ เนื่องจากเรามีรูปแบบของอาหารหลายประเภท ดังนั้นความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของเราคือการพัฒนากลยุทธ์ที่สามารถจัดการกับอาหารแต่ละแบบได้ทั้งหมด”

เมื่อแขนหุ่นยนต์ซึ่งติดอยู่กับรถเข็นได้รับคำแนะนำจากอัลกอริทึมก็จะอาศัยระบบเซ็นเซอร์และกล้องเพื่อใช้เสียบอาหารแต่ละชิ้นด้วยส้อม ที่ใช้เทคโนโลยี 3D Printing แล้วทำการย้ายไปที่ปากของผู้ป่วยเพื่อให้สามารถรับประทานได้นั่นเอง

ในขณะที่ Srinivasa หวังว่า ADA จะช่วยให้ผู้คนที่มีปัญหาในการเลี้ยงดูตัวเองไม่ได้ตัวอย่างเช่นคนพิการนั้น สามารถลดการพึ่งพาผู้อื่นได้มากขึ้นโดยเฉพาะเรื่องหลักอย่างการรับประทานอาหาร แต่เขามองว่าระบบดังกล่าวยังต้องการความช่วยเหลือจากมนุษย์อยู่ ไม่ได้ตัดขาดไปโดยสิ้นเชิง

“ เป้าหมายสุดท้ายของเราคือให้หุ่นยนต์ของเราช่วยเหลือผู้คนในการรับประทานอาหารกลางวันหรืออาหารเย็นได้ด้วยตนเอง” เขากล่าวในการแถลงข่าว “ แต่ประเด็นนี้ไม่ใช่เพื่อมาแทนที่เหล่าผู้ดูแลผู้ป่วย : เราต้องการช่วยเหลือพวกเขาด้วยหุ่นยนต์เพื่อช่วยให้ผู้ดูแลสามารถที่จะทำอย่างอื่นได้ในขณะที่ผู้ป่วยกำลังรับประทานอาหารนั่นเอง”

References : 
https://newatlas.com


 


ติดตามสาระดี ๆ อัพเดททุกวันผ่าน Line OA



Geek Forever Club พื้นที่ของการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ



Geek Forever’s Podcast


“Open Your World With Technology


AI , Blockchain และเทคโนโลยีใหม่ ๆ กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในหลายธุรกิจ ทั้ง แวดวงการเงิน สุขภาพ หรือ งานด้านบริการต่าง ๆ ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจเกี่ยวกับ AI หรือ Machine Learning

Podcast ของผมจะเล่าเรื่องราวต่าง รวมถึงเรื่องที่ผมสนใจอื่น ๆ เช่น startup หนังสือ หนัง หรือ กีฬาฟุตบอล อยากชวนคนที่สนใจให้ลองมาติดตาม podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Youtube
ฟังผ่าน Youtube