Autonomous Robot Arm กับการช่วยเหลือผู้ป่วยพิการ

ชาวอเมริกันประมาณหนึ่งล้านคนไม่สามารถเลี้ยงตัวเองได้เนื่องจากปัญหาทางร่างกายต่าง ๆ เช่นการเป็นผู้ป่วยพิการ ทำให้พวกเขามีทางเลือกน้อย และต้องพึ่งพาคนอื่นในช่วงเวลารับประทานอาหารซึ่งอาจทำให้พวกเขารู้สึกอึดอัดใจและอยากช่วยเหลือตัวเองให้ได้มากกว่านี้

แต่ตอนนี้นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยวอชิงตันได้สร้าง Assistive Dexterous Arm (ADA) , แขนหุ่นยนต์อัจฉริยะที่มีความสามารถในการใช้ส้อมที่จะช่วยเสิร์ฟอาหารจากจานกับปากของพวกเขาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งนี่เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่มีการนำเทคโนโลยี AI และหุ่นยนต์มาช่วยให้คนพิการมีชีวิตที่อิสระมากยิ่งขึ้น

ในเอกสารที่ตีพิมพ์ เมื่อเร็ว ๆ นี้ทีมนักวิจัยของ University of Washington (UW) อธิบายว่าอัลกอริธึมAI ที่ทำงานร่วมกับแขนหุ่น ADA สามารถฟีดอาหารไปยังผู้ป่วยได้อย่างไร

อัลกอริทึมแรกอย่าง RetinaNet เป็นระบบตรวจจับวัตถุ มันจะสแกนจาน เพื่อระบุประเภทของอาหารที่โดยจะมีการวาง “กรอบ” รอบอาหารแต่ละรายการ

อัลกอริทึมที่สองคือ SPNet วิเคราะห์อาหารในเฟรมดังกล่าว และส่งคำแนะนำไปยังแขนหุ่นยนต์เพื่อให้มันรู้วิธีการจัดการกับอาหารในแบบที่จะทำให้คนกินได้ง่าย  ซึ่ง AI อาจสั่งให้แขนหุ่นลองใช้ส้อมเสียบ ยกตัวอย่าง เช่น กล้วยที่อยู่ตรงกลาง แต่ มีแครอทอยู่ใกล้ในปลายด้านหนึ่ง

ตัวอย่างการจัดการอาหารในหลาย ๆ รูปแบบ
ตัวอย่างการจัดการอาหารในหลาย ๆ รูปแบบ

ซึ่งการให้ความรู้เชิงบริบทกับ AI ว่าอาหารทุกอย่างไม่ควรได้รับการปฏิบัติในลักษณะเดียวกัน เป็นส่วนสำคัญของกระบวนการพัฒนาของแขนหุ่นยนต์ ADA ตามที่นักวิจัย Siddhartha Srinivasa กล่าว

“ถ้าเราไม่ได้คำนึงถึงวิธีการที่ง่ายที่สุดในการรับประทาน เหล่าคนที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้นั้นก็อาจจะไม่สามารถที่จะใช้ระบบของเราได้เช่นกัน” เขากล่าวในการแถลงข่าว “ เนื่องจากเรามีรูปแบบของอาหารหลายประเภท ดังนั้นความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของเราคือการพัฒนากลยุทธ์ที่สามารถจัดการกับอาหารแต่ละแบบได้ทั้งหมด”

เมื่อแขนหุ่นยนต์ซึ่งติดอยู่กับรถเข็นได้รับคำแนะนำจากอัลกอริทึมก็จะอาศัยระบบเซ็นเซอร์และกล้องเพื่อใช้เสียบอาหารแต่ละชิ้นด้วยส้อม ที่ใช้เทคโนโลยี 3D Printing แล้วทำการย้ายไปที่ปากของผู้ป่วยเพื่อให้สามารถรับประทานได้นั่นเอง

ในขณะที่ Srinivasa หวังว่า ADA จะช่วยให้ผู้คนที่มีปัญหาในการเลี้ยงดูตัวเองไม่ได้ตัวอย่างเช่นคนพิการนั้น สามารถลดการพึ่งพาผู้อื่นได้มากขึ้นโดยเฉพาะเรื่องหลักอย่างการรับประทานอาหาร แต่เขามองว่าระบบดังกล่าวยังต้องการความช่วยเหลือจากมนุษย์อยู่ ไม่ได้ตัดขาดไปโดยสิ้นเชิง

“ เป้าหมายสุดท้ายของเราคือให้หุ่นยนต์ของเราช่วยเหลือผู้คนในการรับประทานอาหารกลางวันหรืออาหารเย็นได้ด้วยตนเอง” เขากล่าวในการแถลงข่าว “ แต่ประเด็นนี้ไม่ใช่เพื่อมาแทนที่เหล่าผู้ดูแลผู้ป่วย : เราต้องการช่วยเหลือพวกเขาด้วยหุ่นยนต์เพื่อช่วยให้ผู้ดูแลสามารถที่จะทำอย่างอื่นได้ในขณะที่ผู้ป่วยกำลังรับประทานอาหารนั่นเอง”

References : 
https://newatlas.com