เมื่อ AI เข้ามาเปลี่ยนสนามรบ ยูเครนใช้ AI ต่อสู้กับรัสเซียอย่างไร

ความน่าสนใจของสงครามยุคใหม่ที่กำลังบังเกิดขึ้นทั่วโลกในขณะนี้ คงหลีกหนีไม่พ้นเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่กำลังเข้ามาบทบาทมากยิ่งขึ้นโดยเฉพาะเทคโนโลยีด้าน AI

เราได้เห็นภาพความเปลี่ยนแปลงที่ชัดเจนเริ่มขึ้นในสงครามระหว่างยูเครนและรัสเซียที่ดูเหมือนจะยืดเยื้อมานาน หรือสิ่งที่เกิดขึ้นในสถานการณ์การสู้รบในพม่าในตอนนี้ เรากำลังเห็นภาพโลกสงครามในอนาคตว่าผู้ที่มีกำลังทหารที่เยอะกว่าไม่ได้หมายถึงว่าจะชนะในการรบยุคใหม่เสมอไป

มันกลายเป็นว่าจุดชี้ขาดชี้เป็นชี้ตายของสงครามวัดกันด้วยเทคโนโลยีล้วน ๆ ที่ทำให้ทุกอย่างมันมีความแม่นยำมากยิ่งขึ้น โดยใช้กำลังพลหรืออาวุธยุทโธปกรณ์ที่น้องลง

ในช่วงก่อนที่ยูเครนจะโจมตีด้วยจรวดเข้าใส่สะพานอันโตนอฟสกี้ ซึ่งเป็นสะพานสำคัญที่เชื่อมต่อระหว่างเมืองเคอร์ซอนที่ถูกรัสเซียยึดครองไปยังฝั่งตะวันออกของแม่น้ำดนีปโร

เจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคงของยูเครนได้ศึกษารายงานพิเศษอย่างรอบคอบ ในช่วงฤดูร้อนของปี 2022 ในขณะที่รัสเซียพึ่งพาสะพานนี้เป็นอย่างมากในการเติมสเบียงและกองหนุนให้กับกำลังทหารฝั่งตะวันตกของแม่น้ำดนีปโร

สะพานอันโตนอฟสกี้ ซึ่งเป็นสะพานสำคัญที่เชื่อมต่อระหว่างเมืองเคอร์ซอนที่ถูกรัสเซียยึดครองไปยังฝั่งตะวันออกของแม่น้ำดนีปโร (CR:Structurae)
สะพานอันโตนอฟสกี้ ซึ่งเป็นสะพานสำคัญที่เชื่อมต่อระหว่างเมืองเคอร์ซอนที่ถูกรัสเซียยึดครองไปยังฝั่งตะวันออกของแม่น้ำดนีปโร (CR:Structurae)

โดยรายงานดังกล่าวนี้ศึกษาถึงสองเรื่องที่สำคัญก็คือ : การทำลายสะพานจะทำให้ทหารรัสเซียขวัญเสียหรือไม่ ? และที่สำคัญกว่านั้นรัฐบาลยูเครนจะทำอย่างไรเพื่อให้แผนการนี้ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อขวัญและกำลังใจของศัตรูอย่างรัสเซีย ?

และนั่นคือวิธีที่ Sviatoslav Hnizdovsky ผู้ก่อตั้ง Open Minds Institute (OMI) ในกรุงเคียฟ อธิบายถึงงานวิจัยที่หน่วยงานของเขาได้ทำมา

พวกเขาใช้การประเมินสิ่งต่าง ๆ ผ่านเทคโนโลยี AI ซึ่งอัลกอริธึมได้ทำการค้นหาข้อมูลจำวนมหาศาลในโลกโซเชียลมีเดียของรัสเซีย หรือแม้กระทั่งข้อมูลทางด้านเศรษฐกิจ ตั้งแต่การบริโภคแอลกอฮอล์และการเคลื่อนย้ายประชากรไปจนถึงการค้นหาบนโลกออนไลน์

AI จะเชื่อมโยงการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวกับความรู้สึกที่เปลี่ยนไปของชาวรัสเซียต่อความทุกข์ยากที่เกิดขึ้นกับทหารแนวหน้าของพวกเขา

ต้องบอกว่างานวิจัยชิ้นนี้มีความสำคัญมาก ๆ ต่อยุทธศาสตร์การรบของยูเครน ซึ่งการโจมตีสะพานเคิร์ชที่เป็นเส้นทางลำเลียงทางบกเพียงเส้นทางเดียวระหว่างรัสเซียและไครเมีย

และสิ่งที่น่าสนใจก็คือเทคโนโลยีที่กำลัง hot hit อย่าง ChatGPT เองมันก็กำลังถูกใช้ในแวดวงสงครามแบบเต็มตัวเช่นเดียวกัน

ยูเครนซึ่งถ้าเทียบด้านสรรพกำลังทั้งทางอาวุธและกองกำลังทหารนั้นมีความเสียเปรียบรัสเซียอยู่มาก

พวกเขาจึงมองหาช่องทางการใช้ AI ในรูปแบบต่าง ๆ โดยทหารยูเครนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาอาวุธได้กล่าวว่า ผู้ออกแบบโดรนมักจะใช้ ChatGPT เป็นจุดเริ่มต้นในการหาแนวคิด เช่น เทคนิคใหม่ ๆ เพื่อลดศักยภาพของทางฝั่งรัสเซีย

การใช้ AI อีกรูปแบบหนึ่งของทหารยูเครนคือการกำหนดเป้าหมาย ในขณะที่เหล่าทหารและบล็อกเกอร์ด้านทหารมีความระมัดระวังมากขึ้นในการโพสต์สิ่งต่าง ๆ เกี่ยวกับสงคราม

การใช้ ChatGPT กับโดรนเพื่ออกแบบวิธีใหม่ ๆ (CR:Analytic Insight)
การใช้ ChatGPT กับโดรนเพื่ออกแบบวิธีใหม่ ๆ (CR:Analytic Insight)

และด้วยการที่มีการนำเข้าภาพและข้อความจำนวนมากผ่านโลกออนไลน์ ทำให้ AI สามารถค้นพบเบาะแสที่อาจเป็นไปได้ และนำมาวิเคราะห์ตำแหน่งที่ตั้งของระบบอาวุธและกองกำลังของรัสเซีย

Molfar บริษัทด้านข่าวกรอง ซึ่งมีสำนักงานในเมืองดนีโปรและกรุงเคียฟสามารถค้นพบเป้าหมายทางการทหาร 2-3 เป้าหมายต่อวัน และส่งข่าวสารไปให้กองทัพยูเครนอย่างรวดเร็ว ทำให้บางเป้าหมายได้ถูกทำลายลงไป

การระบุเป้าหมายยังได้รับการช่วยเหลือจาก AI ในรูปแบบอื่น ๆ SemanticForce บริษัทที่มีสำนักงานอยู่ในกรุงเคียฟและเมืองเทอร์โนพิล พัฒนาแบบจำลองที่สามารถตรวจสอบข้อความและรูปภาพออนไลน์ คล้ายกับบริการด้าน Social Listening

เดิมทีระบบดังกล่าวใช้สำหรับลูกค้าองค์กรธุรกิจเพื่อเฝ้าระวังและคอย monitor ความรู้สึกของสาธารณะชนที่มีต่อแบรนด์ของตน

ในขณะที่ Molfar ใช้แบบจำลองดังกล่าวเพื่อกำหนดพื้นที่ที่กำลังทหารของรัสเซียน่าจะมีขวัญและกำลังใจตกต่ำ ซึ่ง AI จะทำการค้นหาเบาะแสต่าง ๆ จากภาพซึ่งรวมถึงจากกล้องของโดรนและจากข้อความของทหารรัสเซียที่ทำการบ่นบนโซเชียลมีเดีย

Molfar ใช้ AI ของ SemanticForce เพื่อคอย monitor เกี่ยวกับกิจกรรมของกลุ่มอาสาสมัครรัสเซียที่คอยระดมทุนและเตรียมเครื่องไม้เครื่องมือต่าง ๆ สำหรับแนวหน้าของสงครามที่กำลังขาดแคลน

บางครั้งทีมวิเคราะห์ก็ใช้ซอฟต์แวร์ที่ปลอมแปลงเสียงเพื่อโทรหากลุ่มอาสาสมัครเหล่านี้ และแสร้งเป็นคนรัสเซียที่ต้องการบริจาค

มีการใช้ AI ของบริษัทจากอเมริกาอย่าง Palantir ของ Peter Thiel ที่เป็นการวิเคราะห์ข่าวกรองเชิงลึก ที่สามารถหาความเชื่อมโยงจากชุดข้อมูลที่แตกต่างกัน เช่น ข้อมูลของชายผู้หย่าร้างที่มีหนี้สิน และเสี่ยงที่จะเสียบ้านและสิทธิในการเลี้ยงดูบุตร เขาได้เปิดบัญชีธนาคารในต่างประเทศ และถูกพบว่าสัญญาณโทรศัพท์อยู่ใกล้แหล่งที่มีการโจมตีด้วยจรวดในภายหลัง

Palantir ของ Peter Thiel นักลงทุนชื่อดังของ silicon valley (CR:WSJ)
Palantir ของ Peter Thiel นักลงทุนชื่อดังของ silicon valley (CR:WSJ)

นอกจากนี้ยังมีการเชื่อมโยงส่วนต่าง ๆ AI จะทำการวิเคราะห์เครือข่ายทางสังคม หากชายคนนั้นมีความสัมพันธ์ส่วนตัวที่ใกล้ชิดกับรัสเซีย และเริ่มรับสายจากบุคคลที่มี Profile ที่สูงกว่า AI ก็จะเพิ่มระดับความเสี่ยงให้กับชายคนดังกล่าวทันที

ต้องบอกว่าการใช้เทคโนโลยี AI ของยูเครนนั้นมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง Volodymyr Zelensky ประธานาธิบดีของยูเครนได้สั่งลุยให้มีการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีในด้านความมั่นคงแห่งชาติในเดือนพฤศจิกายน 2019

ผลที่ได้คือ แบบจำลองการรบที่มีกลยุทธ์ ซึ่งถูกสร้างและใช้งานโดยกลุ่มผู้นำทางด้านการทหารตัวจริงเสียงจริงผ่านทางศูนย์ที่เรียกว่า ศูนย์ปฏิบัติการประเมินภัยคุกคามแห่งชาติ (COTA) ซึ่งจะได้รับข้อมูลต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ข้อความ สถิติ ภาพถ่าย และวีดีโอ ซึ่งข้อมูลบางส่วนอาจจะได้จากการโจรกรรมข้อมูลมา

ผู้ที่ควบคุมศูนย์ COTA จะเรียกแบบจำลองทางข้อมูลเหล่านี้ว่า “constructor” และยังได้รับแบบจำลองจากแหล่งอื่น ๆ เช่น ซอฟต์แวร์ของ Plantir และ Delta ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ในสนามรบที่ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจในการเคลื่อนทัพของกองทัพยูเครน

มันทำกองทัพยูเครนมองเห็นภาพใหญ่ที่ชัดเจนของสงคราม ซึ่ง ข้อมูลจาก COTA นั้นจะให้คำแนะนำแก่เจ้าหน้าที่ระดับสูงในประเด็นที่อาจมีความอ่อนไหว เช่น เรื่องการระดมพลเพิ่มเติม

Zelensky ประธานาธิบดีของยูเครนได้รับคำแนะนำจาก COTA มากกว่า 30 ครั้ง ซึ่งครั้งล่าสุดเป็นวันที่รัสเซียบุกโจมตีอย่างเต็มรูปแบบ

ความพยายามด้าน AI ของยูเครนได้รับประโยชน์จากการมีส่วนร่วมในสังคมที่มีการสนับสนุนข้อมูลเพื่อการสงคราม เหล่าพลเมืองพร้อมใจกันอัปโหลดภาพที่มีค่าพิกัดทางภูมิศาสตร์ ซึ่งอาจเป็นประโยชน์ต่อการป้องกันประเทศของพวกเขาลงในแอปพลิเคชันที่มีชื่อว่า Diia หรือฟากฝั่งธุรกิจเองก็มีการส่งข้อมูลการดำเนินงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องไปให้กับ Mantis Analytics บริษัทในเมืองลวิฟ

สุดท้ายก็ต้องมาดูผลลัพธ์เมื่อตอนจบสงครามว่าการใช้เทคโนโลยีทั้งหมดเหล่านี้ที่ยูเครนกำลังผลักดันสงครามยุคใหม่ มันจะมีประสิทธิภาพเหนือรูปแบบทางการทหารเก่า ๆ ได้จริงแท้แค่ไหน

เพราะมีข้อโต้แย้งจากบางหน่วยงานเช่น Evan Platt จาก Zero Line องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรในกรุงเคียฟที่ทำการจัดหายุทโธปกรณ์ให้กับเหล่าทหารเช่นเดียวกัน และใช้เวลาอยู่แนวหน้าเพื่อศึกษาประสิทธิภาพในการใช้ AI ช่วยเหลือในการรบครั้งนี้

เขาอธิบายการใช้ AI ของยูเครนว่าเหมือนเป็นเทคโนโลยีที่ช่วยจุดประกายความหวังให้กับยูเครนแม้จะดูมีสรรพกำลังที่ห่างชั้นจากรัสเซียก็ตาม แต่ก็มีข้อกังวลบางอย่าง หนึ่งในนั้นคือ การผลักดันเทคโนโลยี AI มากจนเกินไปอาจทำให้มีการจัดสรรทรัพยากรด้านอื่น ๆ ที่ดูเหมือนจะคุ้มค่ากว่าถูกตัดทิ้งไป

ความเชื่อมั่นมากเกินไปใน AI ก็ถือเป็นความเสี่ยง และแบบจำลองที่ได้จากการประมวลผลด้วยเทคโนโลยี AI บางอย่างนั้นให้ข้อมูลที่หลอกลวงอย่างแน่นอน ซึ่งอาจจะส่งผลในแง่ลบต่อประสิทธิภาพการรบของยูเครนได้เช่นเดียวกัน

References :
https://time.com/6691662/ai-ukraine-war-palantir/
https://www.economist.com/science-and-technology/2024/04/08/how-ukraine-is-using-ai-to-fight-russia
https://www.globalgovernance.eu/publications/how-ukraine-uses-ai-to-fight-russian-information-operations


 


ติดตามสาระดี ๆ อัพเดททุกวันผ่าน Line OA



Geek Forever Club พื้นที่ของการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ



Geek Forever’s Podcast


“Open Your World With Technology


AI , Blockchain และเทคโนโลยีใหม่ ๆ กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในหลายธุรกิจ ทั้ง แวดวงการเงิน สุขภาพ หรือ งานด้านบริการต่าง ๆ ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจเกี่ยวกับ AI หรือ Machine Learning

Podcast ของผมจะเล่าเรื่องราวต่าง รวมถึงเรื่องที่ผมสนใจอื่น ๆ เช่น startup หนังสือ หนัง หรือ กีฬาฟุตบอล อยากชวนคนที่สนใจให้ลองมาติดตาม podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Youtube
ฟังผ่าน Youtube