ข้อมูลจาก Wearable Devices กำลังเปลี่ยนแปลงการเฝ้าระวังโรคและการวิจัยทางการแพทย์ครั้งสำคัญ

เป็นข้อมูลที่ค่อนข้างมีความน่าสนใจเลยทีเดียวนะครับ สำหรับการศึกษาใหม่จากโครงการ Corona Data Donation ที่จัดขึ้นโดยสถาบัน Robert Koch ในประเทศเยอรมนี ในเรื่องการแบ่งปันข้อมูลจากเครื่องติดตามการออกกำลังกายที่กำลังกลายเป็นประแสฮิตไปทั่วโลกในขณะนี้

ข้อมูลเหล่านี้ ถือว่ามีค่าต่อมนุษย์เราเป็นอย่างมาก โดยโครงการนี้ ได้มีผู้เข้าร่วมมากกว่า 500,000 คน รวมถึงอีกกว่า 30,000 รายที่ลงทะเบียนในโครงการที่มีชื่อว่า Detect ซึ่งเป็นการศึกษาโดยสถาบันวิจัย Scripps ในแคลิฟอร์เนียประเทศสหรัฐอเมริกา

ซึ่งหากเรามองถึงการเฝ้าระวังโรคจริง ๆ ตัวบ่งชี้ที่สำคัญก็คือเรื่องของอาการไข้ ซึ่งมันเป็นสัญญาณบ่งชี้การติดเชื้อโดยตรง แต่อุปกรณ์สวมใส่ส่วนใหญ่ นั้น ไม่ได้วัดอุณหภูมิ เนื่องจากการอ่านค่าที่แม่นยำทำได้ยาก

ดังนั้นจึงได้มีการวัดส่วนอื่น ๆ เช่น อัตราการเต้นของหัวใจ การนอน กิจกรรมอื่น ๆ ซึ่งโดยปรกติ อัตราการเต้นของหัวใจขณะพัก จะอยู่ระหว่าง 50 ถึง 100 ครั้งต่อนาที แต่เมื่อร่างการมีการต่อสู้กับการติดเชื้อ อัตราการเต้นจะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จากอุปกรณ์สวมใส่ที่สามารถวัดได้ อัตราการเต้นของหัวใจที่เพิ่มสูงขึ้น สี่วันก่อนที่ผู้คนจะรู้สึกถึงอาการใด ๆ จะมีหนึ่งรายสามารถตรวจพบผู้ป่วย COVID ได้ จากการเปลี่ยนแปลงของอัตราการเต้นของหัวใจในขณะพัก

เมื่อคนเยอรมันนอนหลับน้อยลง

เมื่อได้ Data ขนาดมหึมา จากโครงการ ทางทีมงานก็ได้ค้นพบสิ่งลึกลับเกี่ยวกับชาวเยอรมันแทบจะทั่วพื้นที่ทั้งประเทศมีการนอนหลับน้อยลงในปี 2022 เมื่อเทียบกับปี 2020 และอัตราการเต้นหัวใจขณะพักของคนในประเทศก็เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

สิ่งที่เป็นภาพสะท้อนที่น่าจะเกิดขึ้นก็คือ ช่วงล็อคดาวน์นั้น ทำให้น้ำหนักของผู้คนเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องที่คาดเดาได้ แต่คำตอบนั้นก็ยังไม่มีใครรู้แน่ชัด แต่สิ่งสำคัญที่เกิดขึ้นก็คือ ข้อมูลจาอุปกรณ์สวมใหส่เหล่านี้ เป็นตัวสร้างคำถาม ที่เกิดขึ้นเกี่ยวกับสุขภาพของผู้คน

นี่เป็นแค่ตัวอย่างหนึ่งของข้อมูล แต่หากมีข้อมูลมากกว่านี้ เราอาจจะได้เห็นอะไรที่เซอร์ไพรซ์มากขึ้นเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพของประชากรในประเทศใดประเทศหนึ่ง หรือ ข้อมูลจากทั่วทั้งทวีป หรือ ทั่วโลกเลยก็เป็นได้

ข้อมูลเพื่อช่วยเหลือนักวิจัยด้านสุขภาพ

ที่สำคัญที่สุด อุปกรณ์เฝ้าติดตามผู้ป่วย ช่วยให้นักวิจัยทางการแพทย์ได้เห็นว่าผู้ป่วยประสบกับโรคอย่างไร ตัวอย่างเช่น การทดสอบระบบหัวใจและหลอดเลือดและสมรรถภาพทางร่างกายที่ใช้กันอย่างแพร่หลายคือ “การเดินทดสอบ 6 นาที”

การเดินทดสอบ 6 นาที เพื่อตรวจสอบสมรรถภาพของหัวใจ (CR:wikimedia.org)
การเดินทดสอบ 6 นาที เพื่อตรวจสอบสมรรถภาพของหัวใจ (CR:wikimedia.org)

ซึ่งสิ่งนี้ทำให้ง่ายขึ้นด้วย fitness tracking ต่าง ๆ ซึ่งบางตัวก็ได้รวมเอาการทดสอบเหล่านี้ไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ตัวอย่างเช่น Apple Watch จะทำการประมาณโดยใช้ตัววัดหลายตัวจากเซ็นเซอร์ที่เฝ้าสังเกตพฤติกรรมปกติของผู้ใช้เป็นระยะเวลานาน เพื่อความแม่นยำของอัลกอริธึม

Andy Coravos จาก HumanFirst ซึ่งเป็นองค์กรที่ช่วยให้บริษัทยาปรับใช้อุปกรณ์ที่เชื่อมต่อเหล่านี้ในการตรวจสอบผู้เข้าร่วมการทดลองที่บ้าน

ตัวอย่างของโรคกล้ามเนื้อเสื่อม ซึ่งเป็นโรคที่ทำลายกล้ามเนื้อ ผลลัพธ์หลักโดยทั่วไปสำหรับยาที่พัฒนาขึ้นสำหรับโรคนี้คือการทดสอบเดิน 6 นาที และการทดสอบการปีนสี่ขั้น แต่ผู้ป่วย 60% ต้องนั่งรถเข็น ซึ่งหมายความว่าพวกเขาไม่สามารถเข้าร่วมการทดสอบเหล่านีได้ แต่การใช้ปลอกแขนที่ติดตามการเคลื่อนไหวของร่างการส่วนบนทำให้พวกเขาสามารถทดลองผลลัพธ์ที่เกิดจากการใช้ยาได้

บทสรุป

ตอนนี้ได้กลายเป็นกระแสที่เกิดขึ้น ที่เหล่า App ต่าง ๆ ที่ใช้กับอุปกรณ์สวมใส่ส่วนใหญ่ จะมีกิจกรรมต่าง ๆ ให้เล่นมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการแข่งขัน ในแนว Gamification เพื่อเพิ่มความกระตือรือร้นให้กับผู้ใช้งานมากยิ่งขึ้น

ซึ่งปัจจุบัน เครื่องติดตามสุขภาพและฟิตเนสที่สวมใส่ได้เหล่านี้ สามารถเปลี่ยนวิธีที่ผู้คนพยายามรักษาสุขภาพและบรรเทาความเจ็บป่วย วิธีที่แพทย์ดูแลพวกเขา และวิธีการช่วยเหลือด้านสุขภาพ

การดูแลสุขภาพแบบดิจิทัลเหล่านี้จะทำให้การรักษาในอนาคตมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ซึ่งการมีเครื่องมือแบบอัตโนมัติเหล่านี้ และนวัตกรรมที่สามารถตรวจสิ่งต่าง ๆ ได้เพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ช่วยผู้ป่วยที่มีอาการเรื้อรังจากโรคต่าง ๆ สามารถปรับปรุงการรักษาและให้ผลลัพธ์การรักษาที่ดีขึ้นได้

ประมาณหนึ่งในสามของการเสียชีวิตทั่วโลกนั้นมาจากโรคหลอดเลือดหัวใจ และมากกว่าสามในสี่ของผู้เสียชีวิตเหล่านี้อยู่ในประเทศที่มีรายได้ต่ำและปานกลาง ซึ่งเข้าถึงระบบสาธารณสุขได้ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับประเทศพัฒนาแล้ว

แต่ในอนาคต ด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ เหล่านี้ที่มีราคาลดลงไปมาก ก็จะสามารถทำให้ประชากรส่วนใหญ่ของโลกเข้าถึงมันได้ และท้ายที่สุดนวัตกรรมเหล่านี้ถือเป็นจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญของการยืดอายุชีวิตของมนุษย์เราให้ยืนยาวขึ้นได้นั่นเองครับผม

References :
https://econ.st/3M8vlw8
https://www.medicaldevice-network.com/comment/wearable-technology-in-healthcare-what-are-the-leading-tech-themes-driving-change/
https://commons.wikimedia.org/wiki/File:Advanced_Six_Minute_Walk_Test_(6MWT).jpg