War For Talent กับบทเรียนของการปลดพนักงานด้านเทคโนโลยีครั้งใหญ่ทั่วโลก

ในยุคอดีตบรรดาเด็กจบใหม่ยอดอัจฉริยะต่างคิดว่าพวกเขามีทางเลือกอาชีพมากมายให้เลือก ไม่ว่าจะเป็นงานสุด hot ในวาณิชธนกิจชื่อดังหรือสำนักงานกฎหมายระดับแนวหน้า 

แต่หลังจากนั้นบริษัทเทคโนโลยีขนาดใหญ่ก็เข้ามากลืนกินดึงเอาเหล่าพนักงาน talent สูงๆ ไปแทบจะหมด 

เพราะมันได้เกิดสิ่งใหม่ขึ้นนั่นก็คือเหล่าพนักงานยอดอัจฉริยะในแวดวงเทคโนโลยี สามารถที่จะสนุกสนานและร่ำรวยในเวลาเดียวกันได้ ซึ่งบริษัทเทคโนโลยีดูเหมือนจะเป็นตัวแทนของโลกแห่งการทำงานรูปแบบใหม่ที่มีลำดับชั้นน้อยลง

วัฒนธรรมรูปแบบใหม่ซึ่งทุกคนสวมกางเกงยีนส์และเสื้อยืด และสิ่งที่สำคัญที่สุด เงินเดือนที่โครตสูงแถมยังมีตัวเลือกหุ้นมากมาย และหากโชคดี นายจ้างก็จะดูแลส่วนที่น่าเบื่อของชีวิตด้วย เช่น ช่วยดูแลเรื่องการซักผ้าหรืออาหารการกินให้

ในปีนี้บริษัทเทคโนโลยีติดอันดับ 5 ใน 10 อันดับแรก สถานที่ที่น่าทำงานมากที่สุดในสหรัฐอเมริกาตามรีวิวของพนักงานในเว็บไซต์ Glassdoor

แต่มันก็มาถึงจุดเปลี่ยนครั้งสำคัญ เพราะในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมาเหล่าบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่แห่กันเลิกจ้างพนักงานแบบที่ไม่เคยปรากฎมาก่อน 

Meta ได้เลิกจ้างพนักงาน 11,000 คนหรือ 13 เปอร์เซ็นต์ของพนักงานทั้งหมด Elon Musk เจ้าของใหม่ของ Twitter ได้ลดจำนวนพนักงานลงครึ่งหนึ่ง Amazon มีแผนปลดพนักงานประมาณ 10,000 ตำแหน่ง ขณะที่ Stripe ซึ่งเป็นบริษัทชำระเงินเอกชน ได้ลดพนักงานลง 14 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งมันเป็นประสบการณ์ที่โหดร้ายสำหรับพนักงานส่วนใหญ่  

บริษัทเทคโนโลยีเดิมพันกับความต่อเนื่องของสภาพแวดล้อมเศรษฐกิจมหภาคที่ผิดเพี้ยนจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งกำลังจะสิ้นสุดลง 

ผู้บริโภคไม่ได้ถูกจำกัดให้อยู่แต่ในบ้านอีกต่อไป มีเพียงแค่ธุรกิจอย่างอีคอมเมิร์ซเท่านั้นที่คนยังพร้อมที่จะใช้จ่ายเงิน อัตราดอกเบี้ยไม่ได้อยู่ที่จุดต่ำสุดอีกต่อไป ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงต่อบริษัทเทคโนโลยียักษ์ใหญ่เหล่านี้ 

Meta ยังคงมีพนักงานมากกว่าปีที่แล้ว แต่การปลดพนักงานจำนวนมากมีบทเรียนสองสามข้ออย่างแรกคือ ไม่ว่าทุกคนจะใส่ยีนส์หรือไม่ก็ตาม บริษัทเทคโนโลยีหลายแห่งก็มีระบอบที่มีความเป็นเผด็จการสูง 

เป็นเรื่องที่น่าทึ่งที่ได้เห็นผู้บริหารระดับสูงรู้สึกรับผิดชอบต่อการปลดพนักงาน แต่มันก็เป็นเครื่องเตือนใจว่าพวกเขามีพลังมากแค่ไหนตัวอย่างเช่น ที่ Meta นักลงทุนรู้สึกผิดหวัง มากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อ Mark Zuckerberg ประธานเจ้าหน้าที่บริหารจมอยู่ในโลกของ “metaverse” 

แต่ด้วยโครงสร้างการถือหุ้นของ Meta ช่วยให้เขาซึ่งถือหุ้นร้อยละ 13 สามารถควบคุมคะแนนเสียงได้มากกว่าครึ่งหนึ่ง มันแทบจะเป็นระบอบเผด็จการในโลกทุนนิยมดี ๆ นี่เอง

Zuckerberg เขียนไว้ในบันทึกที่ถูกส่งให้กับเหล่าพนักงานเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว “ผมผิดเอง ผมจะรับผิดชอบเอง”

และต้องบอกว่าความเร็วของการเลิกจ้างโดยบริษัทระดับโลกเหล่านี้ยังขัดกับเจตนารมณ์ของกฎหมายการจ้างงานในสหราชอาณาจักรและยุโรป

“ในหลายประเทศทั่วยุโรป คุณต้องเตือนหน่วยงานภาครัฐ สภาแรงงาน หรือสหภาพแรงงาน แม้ว่าบริษัทจะไม่ได้เป็นสหภาพ คุณต้องมีแผนที่จะลดผลกระทบทางสังคมจากการตัดสินใจทางด้านธุรกิจของคุณ” Valerio De Stefano ศาสตราจารย์แห่งโรงเรียนกฎหมาย Osgoode Hall ในโตรอนโต กล่าว  

แนวคิดของกฎหมายเหล่านี้ไม่ใช่เพื่อป้องกันไม่ให้บริษัทต่างๆ ทำการปลดพนักงาน แต่เพื่อให้แน่ใจว่าเกิดขึ้นอย่างยุติธรรมและมีการตักเตือนอย่างเหมาะสม 

“ตอนนี้มันเกิดขึ้นโดยไม่มีการควบคุมหรือการปรึกษาหารือ มีเพียงใครบางคนที่พูดว่า: ‘ขอโทษ มันเป็นความผิดของผม ผมจะปลดคุณออก’”

สำหรับพนักงานประสบการณ์ดังกล่าวเน้นย้ำข้อเท็จจริงที่ว่าระบอบเผด็จการที่ Meta ได้แสดงให้เห็นพลังบางอย่างแล้ว ซึ่งสถานการณ์ในตอนนี้แม้แต่คนที่ยังคงทำงานอยู่ก็พบว่าสวัสดิการบางอย่างของพวกเขาก็ได้เปลี่ยนไป 

ที่ Twitter Musk ได้ประกาศให้ทุกคน ทำงานอย่างน้อย 40 ชั่วโมงในสำนักงาน และสร้างความผิดหวังให้กับคนที่วางแผนจะทำงานจากระยะไกล เพราะ Musk ต้องการให้พนักงานกลับมาทำงานที่ออฟฟิสเหมือนเดิม

สหภาพแรงงานหวังว่าการปลดพนักงานครั้งใหญ่นี้จะช่วยให้พวกเขาโต้แย้งว่าสหภาพแรงงานไม่ได้เป็นเพียงการพยายามปรับปรุงสภาพการทำงานที่ไม่ดีเท่านั้น แต่ยังเกี่ยวกับการมีปากมีเสียงที่แท้จริงอีกด้วย 

Mike Clancy เลขาธิการทั่วไปของ UK union Prospect กล่าวว่าสหภาพมีสมาชิกบางส่วนที่ Twitter และหวังว่าจะมีการรับสมัครเพิ่มเติมในภาคส่วนของบริษัทด้านเทคโนโลยี 

อีกบทเรียนหนึ่งจากการปลดพนักงานครั้งใหญ่ในธุรกิจเทคโนโลยีครั้งนี้ก็คืออย่าหลงไปกับคำพูดที่ว่า “สงครามแย่งชิงผู้มีความสามารถ” ซึ่งแพร่หลายในภาคเทคโนโลยีจนกระทั่งเกิดการเลิกจ้างครั้งใหญ่ในครั้งนี้ 

ซึ่งก็ต้องบอกว่าคนเก่งนั้นมีอยู่ทุกวงการ สิ่งสำคัญในการจ่ายเงินคืออุปสงค์และอุปทานของอุตสาหกรรมนั้น ๆ

คนงานที่ได้รับค่าจ้างต่ำ ๆ ในสหรัฐฯ ก็ได้รับค่าจ้างเพิ่มขึ้นในปีนี้เช่นเดียวกันแต่ไม่มีใครเรียกสิ่งนั้นว่า “สงครามแย่งชิงความสามารถ”; พวกเขากลับเรียกมันว่า “การขาดแคลนแรงงาน”

ซึ่งในตอนนี้แม้บริษัทด้านเทคโนโลยีอาจเสนอสิทธิพิเศษที่น่าทึ่ง แต่ก็ต้องบอกว่าผู้คนไม่ต้องการงานในฝันมากเท่ากับที่พวกเขาต้องการงานที่ปฏิบัติต่อพวกเขาอย่างเหมาะสมมากกว่านั้นเองครับผม

References :
https://www.ft.com/content/b6fdff1c-94a1-41d6-ae52-5dcbffa5dcea
https://themarketherald.com.au/tech-lay-offs-teach-us-a-lesson-about-the-war-for-talent-2022-11-16/


 


ติดตามสาระดี ๆ อัพเดททุกวันผ่าน Line OA



Geek Forever Club พื้นที่ของการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ



Geek Forever’s Podcast


“Open Your World With Technology


AI , Blockchain และเทคโนโลยีใหม่ ๆ กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในหลายธุรกิจ ทั้ง แวดวงการเงิน สุขภาพ หรือ งานด้านบริการต่าง ๆ ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจเกี่ยวกับ AI หรือ Machine Learning

Podcast ของผมจะเล่าเรื่องราวต่าง รวมถึงเรื่องที่ผมสนใจอื่น ๆ เช่น startup หนังสือ หนัง หรือ กีฬาฟุตบอล อยากชวนคนที่สนใจให้ลองมาติดตาม podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Youtube
ฟังผ่าน Youtube