ประวัติ Elon Musk ตอนที่ 15 : Idea Overload

จากการที่มัสก์นั้นประสบความสำเร็จครั้งแล้วครั้งเล่า เขาเป็นนักปฏิบัติชั้นเยี่ยม ไม่ใช่คุยแค่เรื่องที่เพ้อฝันจับต้องไม่ได้เท่านั้น เขาจะลงมือทำและแสดงให้เห็นว่าวิสัยทัศน์ของเขานั้นสามารถที่จะทำให้มันเป็นจริงได้ ทั้งที่หลาย ๆ คนอาจจะส่ายหน้าหนีเมื่อได้ยินไอเดียของเขาในครั้งแรกก็ตามที

ทั้ง Tesla และ SpaceX นั้น ถูกออกแบบขึ้นด้วยวิสัยทัศน์ที่จุดประกายให้กลุ่มคนเปี่ยมพรสวรรค์จำนวนมากพอที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในสังคม และหันมาทำสิ่งที่สร้างแรงบรรดาลใจ 

ตัวอย่างโครงการด้านอวกาศของ SpaceX นั้น มันเป็นความคิดแบบย้อนเวลาสู่อนาคต แม้มัสก์จะรู้ว่า โครงการอวกาศนั้นล้มเลิกไปนานแล้วก็ตาม เหล่าผู้คนต่างละทิ้งความยิ่งใหญ่ในอดีตของโครงการด้านอวกาศของสหรัฐ ในช่วงทศวรรษ 1970 แต่มัสก์นั้นสามารถพา SpaceX พิสูจน์ว่า มีวิธีที่จะนำพาอนาคตเหล่านี้กลับมาได้ มันเป็นสิ่งที่สร้างแรงบันดาลใจ และมีคุณค่าอย่างมหาศาล

ในเดือนสิงหาคมปี 2013 มัสก์ได้เปิดเผยแนวคิดใหม่ของสิ่ง ๆ นึงที่ถูกเรียกว่า Hyperloop โดยมัสก์นั้น ได้คิดถึงการปฏิวัติวงการขนส่ง มันจะเป็นวิธีการขนส่งแบบใหม่ ที่มนุษยชาติไม่เคยพบเจอมาก่อน

แนวคิดปฏิวัติระบบขนส่งใหม่อีกครั้งของมัสก์ Hyperloop
แนวคิดปฏิวัติระบบขนส่งใหม่อีกครั้งของมัสก์ Hyperloop

ใช้ความคิดง่าย ๆ ที่เปี่ยมไปด้วย Impact ที่มหาศาล การสร้างท่ออากาศเหมือนที่ใช้ส่งจดหมายภายในสำนักงาน  แต่มันเป็นท่อส่งขนาดยักษ์ ไว้สำหรับขนส่งคน และสินค้า มัสก์ ตั้งเป้าหมายที่จะเชื่อมเมือง ลอสแอนเจลิส กับ ซานฟรานซิสโก ด้วย Hyperloop ด้วยการสร้างท่อยกระดับ

โดยจะขนส่งคนหรือสินค้า โดยใช้ห้องโดยสารที่ถูกเรียกว่า Pod  มัสก์ได้กำหนดองค์ประกอบแบบใหม่ที่ไม่เคยมีใครคิดมาก่อน การให้ท่อทำงานภายใต้ความดันต่ำ และทำให้ตัว Pod นั้นลอยขึ้นอยู่บนชั้นอากาศ  โดยตัว Pod นั้นจะถูกขับเคลื่อนไปข้างหน้าด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า และตัวมอเตอร์ที่มีการติดตั้งตลอดทั้งท่อ

Pod หรือห้องโดยสารรูปแบบใหม่ภายใน Hyperloop
Pod หรือห้องโดยสารรูปแบบใหม่ภายใน Hyperloop

กลไกเหล่านี้จะทำให้ตัว Pod สามารถทำความเร็วได้ถึง 800 ไมล์ต่อชั่วโมง โดยการเดินทางจากลอสแอนเจอลิส ไปยัง ซานฟรานซิสโก ใช้เวลาเดินทางเพียงแค่ 30 นาทีเพียงเท่านั้น และตัว Pod ก็ใช้แบตเตอรี่แบบเดียวกับที่ Tesla ใช้  ส่วนแหล่งพลังงานอื่น ๆ ก็ใช้สิ่งที่ มัสก์มีอยู่เป็นทุนเดิมอยู่แล้วใน SolarCity การใช้พลังงานแสงอาทิตย์ จะทำให้สามารถประหยัดค่าการขนส่งได้เป็นอย่างมาก ซึ่งประมาณการณ์ไว้ว่า ผู้โดยสารแต่ละคนจะจ่ายเพียง 20 เหรียญในการเดินทางด้วย Hyperloop จาก ลอสแอนเจลลิส ไปยังเมือง ซานฟรานซิสโก

โดยขนาดของ Pod นั้นมีสองขนาด โดยตัวขนาดเล็กนั้น จะบรรจุผู้โดยสารได้ประมาณ 28 คนต่อเที่ยว ส่วน Pod ขนาดใหญ่นั้น จะสามารถบรรจุผู้โดยสารมากกว่า รวมถึงสามารถที่จะบรรจุรถ ขนาดประมาณ Model X ของ Teslaได้ถึงสามคัน 

ซึ่งต้องบอกว่าแนวคิดในเรื่อง Hyperloop ของมัสก์ นั้นมีมานานแล้ว มันเกิดมาจากความเกลียดชังที่เขามีต่อระบบรถไฟความเร็วสูง ซึ่งทางรัฐนั้นได้วางแผนไว้ก่อนหน้าแล้วในรัฐแคลิฟอเนีย ซึ่ง การใช้รถไฟความเร็วสูงนั้นจะใช้เวลาราวๆ  สองชั่วโมงครึ่ง ในการเดินทางจาก ลอสแอนเจอลิส ไปยัง ซานฟรานซิสโก ซึ่ง ในทุกวันนี้การเดินทางโดยเครื่องบินนั้นใช้เวลาราวๆ  หนึ่งชั่วโมง ส่วนการขับรถนั้นใช้เวลาราว ๆ 5 ชั่วโมง ซึ่งจะเห็นได้ว่า การใช้ Hyperloop ที่ใช้การเดินทางแค่ 30 นาทีนั้น เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจเป็นอย่างมาก

ทางเลือกใหม่ในการเดินทางข้ามเมืองระยะไกล
ทางเลือกใหม่ในการเดินทางข้ามเมืองระยะไกล

แต่การเสนอไอเดียดังกล่าวของมัสก์นั้น ดูเหมือนเขา แค่ต้องการให้เหล่านักการเมืองในสภาทบทวนเรื่องรถไฟความเร็วสูงใหม่เพียงเท่านั้น ซึ่งมัสก์ต้องการแสดงให้เห็นว่า แนวคิดใหม่ ๆ จะสามารถผลักดันรัฐให้เดินหน้าได้จริง ๆ ดีกว่ามายึดติดกับเทคโนโลยีแบบเก่าๆ  และเหตุผลหลักอีกอย่างก็คือ ตอนนั้นงานที่ SpaceX และ Tesla นั้นยุ่งเกินกว่าที่มัสก์จะทำอะไรอีกอย่างได้

แต่แล้ว มันก็มีบางอย่างที่ผลักดันมัสก์ ให้เข้ามาจริงจังกับ Hyperloop เมื่อเขาได้ปล่อยเรื่องเกี่ยวกับ Hyperloop ลงในนิตยสาร Bloomberg BusinessWeek ซึ่งหลังจากเรื่องดังกล่าวได้ถูกเผยแพร่ไปนั้น มันได้ถึงกับทำให้ server ของเว๊บล่มไปเลยทีเดียว

มีเหล่าผู้คนแห่กันเข้ามาอ่านข้อมูลเกี่ยวกับ Hyperloop เหล่าแฟนคลับของมัสก์ ที่มีอยู่ทั่วโลกต่างเริ่มสนใจแนวคิดเกี่ยวกับ Hyperloop และมัสก์ เองก็ไม่อยากให้เหล่าแฟน ๆ ของเขาผิดหวัง  เขาจึงได้บอกนักข่าวว่าจะพิจารณาสร้างต้นแบบของ Hyperloop เป็นอย่างน้อยเพื่อพิสูจน์แนวคิดว่าเทคโนโลยีดังกล่าวสามารถนำไปใช้ได้จริง ๆ ไม่ใช่เรื่องเพ้อฝันอย่างที่หลาย ๆ คนคิด

ผู้คนส่วนใหญ่ที่ได้อ่านเรื่องราวจาก นิตยสาร Bloomberg BusinessWeek ต่างเชื่อมั่นว่ามัสก์จะทำมันได้สำเร็จ มันเป็นความเชื่อมั่นแบบแปลกประหลาดของผู้คน และมันส่งผลถึงมัสก์ มันบีบให้เขาต้องสร้างต้นแบบขึ้นมาให้สำเร็จ นี่คงเป็นเหตุผลที่มัสก์กลายเป็นผู้ที่ใกล้เคียงที่สุด ที่คนทั้งโลกคิดว่าเขาเป็น โทนี่ สตาร์ก ตัวจริง

ซึ่งไม่นานหลังจากที่มัสก์ได้ปล่อยแผนการเรื่อง Hyperloop เซอร์วิน พิเชวาร์ นักลงทุน แลเพื่อนสนิทของมัสก์ นำรายละเอียดเกี่ยวกับเทคโนโลยีดังกล่าวนี้ ติดตัวไปประชุมกับ ประธานาธิบดี บารัค โอบามา ที่ทำเนียบขาว

และมันทำให้โอบามา หลงรักแนวคิดดังกล่าว และให้ทีมงานศึกษาข้อมูลดังกล่าว และในที่สุดก็จัดได้ให้มีการคุยส่วนตัวระหว่าง อีลอน มัสก์ กับ โอบาบาใน เดือนเมษายนปี 2014 และ เซอร์วิน พิเชวาร์ และเพื่อน ๆ รวมถึงมัสก์เอง ก็ได้กันร่วมก่อตั้งบริษัทที่ชื่อว่า Hyperloop Technologies ขึ้นมาจริง ๆ โดยหวังที่จะสร้าง เส้นทางสายแรกระหว่าง เมืองลอสแอนเจลลิส กับ ลาสเวกัส

ถกไอเดียเรื่อง Hyperloop กับ Obama หวังจะสร้างต้นแบบระหว่าง ลอสแอนเจลลิสและ ลาสเวกัส
ถกไอเดียเรื่อง Hyperloop กับ Obama หวังจะสร้างต้นแบบระหว่าง ลอสแอนเจลลิสและ ลาสเวกัส

จะเห็นได้ว่า มัสก์ นั้นเป็นคนที่ความมุ่งมั่นที่แรงกล้าเป็นอย่างมาก ไอเดียหลาย ๆ อย่างของเขาในหัวนั้นเป็นสิ่งใหม่ ๆ ที่จะเปลี่ยนแปลงโลกของเราให้ดีขึ้นแทบจะทั้งสิ้น แม้หลายคนจะทำงานกับเขาด้วยยากมาก หลายคนอาจจะมองว่าเขาเป็นคนเพ้อฝัน แต่มัสก์นั้นก็พยายามช่วยให้ทุกคนที่ร่วมงานกับเขานั้นเข้าใจว่าเป้าหมายและวิสัยทัศน์ของเขาคืออะไร ซึ่งเขาขับเคลื่อนสิ่งนี้ด้วยเลือดเนื้อหยาดเหงื่อ และหยดน้ำตาของเขามานับแต่แรกเริ่ม เขาเป็นคนที่เสี่ยงมากกว่าใคร และสุดท้ายแล้วมัสก์ก็สมควรอย่างยิ่งที่จะได้รับสิทธิ์เป็นคนที่ยืนอยู่เบื้องหน้าสำหรับทุกสิ่งที่เขาได้สร้างขึ้นมา สำหรับตอนนี้จะเป็นบทสุดท้ายของเรื่องราวของชายที่ถูกขนานนามว่าเป็น โทนี่ สตาร์ก ในโลกแห่งความเป็นจริงแล้วนะครับ เรื่องราวในตอนสุดท้ายจะเป็นอย่างไร โปรดอย่าพลาดติดตามน้า

–> อ่านตอนที่ 16 : End of the Begining (ตอนจบ)

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :Sand Hill Road *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Credit แหล่งข้อมูลบทความ

ประวัติ Elon Musk ตอนที่ 14 : A Burning Man

พี่น้องตระกูลไรฟ์ ซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้องของมัสก์นั้นคือเหล่าเด็กหนุ่มกลุ่มเดียวกันที่โตมาในประเทศแอฟริกาใต้ ซึ่งพวกเขามีสิ่งบางอย่างที่เหมือนกัน คือ เป้าหมายในการสร้างสิ่งที่ยิ่งใหญ่ ซึ่งพวกเขาเหล่านี้คิดมาตั้งแต่เยาว์วัย แม้ในช่วงทศวรรษ 1990 นั้นพวกเขาจะเป็นเพียงแค่เด็กที่ไร้เดียงสา ที่เดินไปตามถนนเพื่อถามร้านต่าง ๆ ในเมืองว่าต้องการให้ช่วยจัดการเรื่องระบบคอมพิวเตอร์หรือไม่

เช่นเดียวกับมัสก์ พี่น้องตระกูลไรฟ์ ได้ใช้ความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์ มาสร้างระบบงานมาตรฐานหลายอย่างให้สามารถทำงานได้แบบอัติโนมัติ ภายใต้บริษัท Everdream นำโดย ลินดอน ไรฟ์ ผู้เป็นพี่ใหญ่ ร่วมกับ ปีเตอร์ และ รัสส์ ไรฟ์ ได้กลายมาเป็นเศรษฐีดอทคอม คนหนึ่งใน ซิลิกอน วัลเลย์ เหมือน ๆ กับที่มัสก์สามารถทำได้สำเร็จ ในยุคแรกเริ่มกับ Zip2 

ลินดอน ไรฟ์ กับพี่น้อง สร้าง Everdream จนประสบความสำเร็จ
ลินดอน ไรฟ์ กับพี่น้อง สร้าง Everdream จนประสบความสำเร็จ

โดยในปี 2004 ลินดอน กับ น้องชาย ปีเตอร์ และ รัสส์ ต้องการความท้าทายใหม่ ๆ  พวกเขาได้เช่ารถบ้านหนึ่งคัน และเดินทางร่วมกันมัสก์ ไปยังทะเลทราย แบล็กร็อก และชมความบ้าคลั่งของงานเทศกาลศิลปะ เบิร์นนิ่งแมน ที่ ๆ มัสก์ มักจะไปเป็นประจำอยู่แล้วในทุก ๆ ปี

มันเป็นทริป ที่ใช้ในการผ่อนคลาย สำหรับพวกเขาหลังจากที่เคยออกผจญภัยอยู่สม่ำเสมอในวัยเด็กที่ประเทศ แอฟริกา มันเป็นทริปย้อนรำลึกความหลังของพวกเขา และเป็นการถามไถ่สารทุกข์สุขดิบ ของอดีตเพื่อนในวัยเยาว์

เทศกาล เบิร์นนิ่งแมน กลางทะเลทราย
เทศกาล เบิร์นนิ่งแมน กลางทะเลทราย

และสิ่งสำคัญที่สุดก็คือ มันเป็นการระดมสมองเรื่องธุรกิจ ที่ พี่น้องตระกูล ไรฟ์ ต้องการความท้าทายใหม่ ๆ ในชีวิต ซึ่งระหว่างทริปนี้ นี่เอง ที่มัสก์ได้แนะนำลินดอน ให้ลองไปดูตลาดพลังงานแสงอาทิตย์ มันเป็น ไอเดียที่เจ๋งมากสำหรับ ลินดอน ที่ต้องการความท้าทายใหม่ ๆ ในชีวิตอยู่แล้ว

จากการจุดประกายของมัสก์ ในครั้งนี้ มันทำให้ หลังจากกลับจากงานเบิร์นนิ่งแมน ทำให้พวกเขาต่างไฟลุกโชนขึ้นมาอีกครั้ง พี่น้องไรฟ์ ตัดสินใจอย่างทันทีทันใดว่าจะกระโจนเข้าสู่อุตสาหกรรมพลังงานแสงอาทิตย์ และได้ทำการศึกษามันอย่างจริงจัง ผ่านข้อมูลต่าง ๆ ทั้งหนังสือ รวมถึงข้อมูลออนไลน์ และองค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง

ในตอนนั้น มีผู้ผลิตแผงพลังงานแสงอาทิตย์อยู่ไม่กี่ราย ที่ส่วนใหญ่จะมาจากประเทศจีน ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้คิดอยู่อย่างเดียวคือ การรอให้ราคาแผงพลังงานแสงอาทิตย์ลดลง เพื่อดึงดูดให้คนเข้ามาใช้งานพลังงานทดแทนตัวนี้เพิ่มมากขึ้น มันเป็นการแข่งขันกันเรื่องราคาเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

มันไร้ซึ่ง ไอเดียใหม่ ๆ สิ้นดี  การติดตั้งแผงโซล่าเซลล์ นั้นเป็นเรื่องยุ่งยาก เต็มไปด้วยกระบวนการมากมาย  ทั้งที่มันเป็นพลังงานแห่งอนาคตชัด ๆ 

นี่เองเป็นสาเหตุสำคัญให้พี่น้องไรฟ์ ได้ตัดสินใจตั้งบริษัท SolarCity ขึ้นในปี 2006  แนวคิดหลักแรกที่ทำการตั้ง SolarCity ขึ้นมานั้น พวกเขาจะไม่ผลิตแผงโซล่าร์เซลล์เอง แต่จะจัดการ Ecosystem ทั้งหมดในการติดตั้งแผงพลังงานนี้แทน โดยนำเทคโนโลยีมาช่วยเหลือให้ได้มากที่สุด ซึ่งเป็นงานที่พวกเขาถนัดอยู่แล้ว

ตั้ง SolarCity ขึ้นมาโดยใช้เทคโนโลยีในการช่วยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ตั้ง SolarCity ขึ้นมาโดยใช้เทคโนโลยีในการช่วยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

ในช่วงเริ่มต้นนั้น มัสก์ ได้ลงทุนในตอนเริ่มต้นเป็นเงินกว่า 10 ล้านเหรียญเพื่อเริ่มต้นบริษัทในการจ้าง นักการตลาด นักวิจัย และเหล่านักพัฒนาให้มาคิดโมเดลใหม่ ๆ รวมถึงหาลู่ทางในการทำธุรกิจด้านพลังงานไฟฟ้าให้แตกต่างไปจากที่มีอยู่เดิม

พวกเขาได้ใช้ความรู้ทางด้านเทคโนโลยี มาสร้างซอฟท์แวร์ สำหรับวิเคราะห์บิลค่าพลังงานปัจจุบันของลูกค้า และตำแหน่งบ้านรวมถึงปริมาณแสงแดดที่ได้รับเพื่อให้ลูกค้าได้ตัดสินใจว่า การลงทุนติดแผงโซล่าร์เซลล์นั้น จะคุ้มหรือไม่

พวกเขาได้คิด โมเดล ธุรกิจขึ้นมาใหม่ โดยให้ลูกค้าเช่าแผงโซล่าร์เซลล์ เป็นรายเดือนแทน โดยแทบจะไม่ต้องมีการลงทุนล่วงหน้าเลย จากการคำนวณผ่าน ซอฟต์แวร์ที่พวกเขาได้พัฒนาขึ้น และที่สำคัญยังสามารถอัพเกรดเป็นแผงรุ่นใหม่ ๆ ได้ทันที ไม่ต้องลงทุนใหม่ทั้งระบบ

ซึ่งมัสก์ ก็เป็นตัวตั้งตัวตีในการสร้าง SolarCity นี้ขึ้นมา อีกทั้งกลายมาเป็นประธานบริษัทและผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุด

และเพียงแค่ หกปีให้หลัง SolarCity ได้กลายมาเป็นผู้ติดตั้งแผงโซล่าร์เซลล์รายใหญ่ที่สุดของประเทศ เป็นการปฏิวัติวงการติดตั้งแผงโซล่าร์เซลล์ ทำให้เป็นเรื่องง่าย ไม่ยุ่งยากเหมือนในอดีตอีกต่อไป 

ไม่ใช่แค่ลูกค้าทั่วไปเท่านั้น พวกเขายังขยายตลาดไปยังลูกค้าที่เป็นองค์กรขนาดใหญ่ ไม่ว่าจะเป็น Intel , Walgreens , Wal-Mart ได้มีการเซ็นสัญญาติดตั้งกับ SolarCity แทบจะทั้งสิ้น ทำให้ในปี 2012 SolarCity ได้กลายเป็นบริษัทมหาชน และ มูลค่าหุ้นก็พุ่งสูงติดเพดาน ในปี 2014 SolarCity กลายเป็นบริษัทที่มีมูลค่ากว่า 7,000 ล้านเหรียญ

กลายมาเป็นผู้ผลิตพลังงานจากแสงอาทิตย์รายใหญ่ในที่สุด
กลายมาเป็นผู้ผลิตพลังงานจากแสงอาทิตย์รายใหญ่ในที่สุด

แม้ซิลิกอน วัลเลย์ จะได้ทุ่มเงินไปมากมายกับเทคโนโลยีสีเขียว แต่ส่วนใหญ่นั้นก็จะล้มไม่เป็นท่าเสียเป็นส่วนมาก นักลงทุนชื่อดังหลายราย สูญเสียเงินมากมาาย กับ Trend ที่เรียกว่าเทคโนโลยีสีเขียว ไม่ว่าจะเป็น ฟิซเกอร์ หรือ เบทเทอร์เพลซ ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นเทคโนโลยีที่ดีต่อโลกจริง แต่เป็นไปได้ยากในทางธุรกิจ

มีเพียงชายที่ชื่อ อีลอน มัสก์ เท่านั้น ที่เป็นผู้รอดเหลือจากธุรกิจเหล่านี้มาได้ ซึ่งเขาเป็นคนที่ค้นพบวิธีในการ บาลานซ์ กันระหว่างโลกธุรกิจ กับ เรื่องของแนวคิดของเทคโนโลยีสีเขียว มัสก์ มีบริษัทเทคโนโลยีสะอาดที่ประสบความสำเร็จด้วยดี ถึงสองแห่ง

ซึ่ง SolarCity ก็เหมือน ๆ กับการลงทุนอย่างอื่นของมัสก์ มันได้แสดงให้เห็นศักยภาพทางด้านธุรกิจที่จะประสบความสำเร็จตั้งแต่แรก นักลงทุนต่างบ่ายหน้าหนี เหมือนทุก ๆ ครั้ง แต่มัสก์ เชื่อโดยสนิทใจว่า พลังงานแสงอาทิตย์นั้นมีความสมเหตุสมผล เพราะแสงอาทิตย์ นั้นได้ถูกกำหนดมาแล้วว่าจะกลายเป็นพลังงานที่ดีกว่าของมนุษยชาติในอนาคต

ซึ่งเหล่าผู้สังเกตการณ์ SolarCity อย่างใกล้ชิด นั้นได้มองเห็นภาพอย่างชัดเจนว่า บริษัทได้กลายมาเป็นหน่วยงานสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานเลยก็ไม่อาจจะกล่าวเกินไปนัก เพราะ SolarCity ได้สร้างเครือข่ายระบบพลังงานแสงอาทิตย์ให้อยู่ภายใต้การควบคุมทั้งหมด

โดยบริหารจัดการด้วยซอฟต์แวร์อัจฉริยะ ที่พวกเขาสร้างขึ้นมา ซึ่งในปี 2015 มีการประเมินว่า SolarCity นั้นจะติดตั้งแผงโซล่าร์เซลล์ ได้เทียบเท่าพลังงานไฟฟ้า 2 กิกะวัตต์ ผลิตไฟฟ้าได้ถึงปีละ 2.8 เทราวัตต์ต่อชั่วโมง ซึ่งจะทำให้ SolarCity นั้นกลายเป็นหนึ่งใน ซัพพลายเออร์พลังงานไฟฟ้าที่ใหญ่ที่สุดในสหรัฐฯ

และไม่ใช่เพียงแค่เรื่องธุรกิจเพียงเท่านั้น องค์กรการกุศล Musk Foundation ที่อีลอน มัสก์ได้ก่อตั้งขึ้นมานั้น ได้ช่วยเหลือในเรื่องการสร้างแหล่งพลังงาน ให้กับผู้ประสบภัยจากทั้ง พายุ เฮอริเคน แคทาริน่า ในปี 2005 รวมถึงในเหตุการณ์วิกฤติ Deepwater Horizon Oil การรั่วไหลของน้ำมันครั้งใหญ่ ในปี 2010 อีกด้วย

และยิ่งไปกว่านั้น SolarCity เป็นส่วนประกอบสำคัญของทฤษฏีสนามรวมของ อีลอน มัสก์ ธุรกิจแต่ละอย่างของเขานั้นเกี่ยวโยงกันทั้งในระยะสั้นและระยะยาว Tesla สร้างชุดแบตเตอรี่ให้ SolarCity นำไปขายให้กับผู้บริโภคปลายทางได้ 

ส่วน SolarCity นั้นเป็นตัวส่งพลังงานแสงอาทิตย์ให้สถานีซุเปอร์ชาร์จของ Tesla ซึ่งช่วยให้ Tesla นั้นให้บริการชาร์จใหม่ฟรีให้กับเหล่าลูกค้าของ Tesla ซึ่งกลายเป็นข้อได้เปรียบอย่างสำคัญของ Tesla ที่เหมือนมีปั๊มน้ำมันของตัวเองแต่ใช้พลังงานจากแสดงอาทิตย์แทน

SolarCity ให้พลังงานแสดงอาทิตย์แก่ SuperCharger ของ Tesla
SolarCity ให้พลังงานแสดงอาทิตย์แก่ SuperCharger ของ Tesla

รวมถึงการช่วยเหลือกันของ ทั้ง SpaceX และ Tesla เช่นเดียวกัน เป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ต่าง ๆ ในด้านการผลิต หรือวัตถุดิบต่าง ๆ ที่ส่วนใหญ่แล้วจะเริ่มต้นมาจากศูนย์ และสุดท้ายมันก็ได้ทำให้เครือข่ายธุรกิจของมัสก์แข็งแกร่งเกินกว่าที่ใครจะล้มได้ง่าย ๆ ในที่สุดนั่นเอง

–> อ่านตอนที่ 15 : Idea Overload

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :Sand Hill Road *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Credit แหล่งข้อมูลบทความ

ประวัติ Elon Musk ตอนที่ 13 : The Revenge of The Electric Car

ในช่วงกลางปี 2012 Tesla ทำให้เหล่าบริษัทคู่แข่งในอุตสาหกรรมยานยนต์ ต้องตกตะลึง เมื่อบริษัทสามารถส่งมอบรถยนต์ รุ่น Model S ซึ่งเป็นยานยนต์สุดหรูใช้พลังงานไฟฟ้าล้วน โดยที่การชาร์จ หนึ่งครั้งนั้นสามารถเดินทางได้ถึง 300 ไมล์ และสามารถที่จะทำความเร็วไปถึง 60 ไมล์ต่อชั่วโมงได้ ใน 4.2 วินาที และสามารถรองรับผู้โดยสารได้สูงสุดถึง 7 คน และ ไร้ซึ่งเสียงรบกวน หน้าจอสัมผัสขนาด 17 นิ้ว พร้อมฟังก์ชันควบคุมมากมายในส่วนใหญ่ของรถ ซึ่งทุกอย่างนั้น Model S เหนือกว่ารถยนต์กลุ่มไฮเอนด์ส่วนใหญ่ ทั้งเรื่องของความเร็วในการขับขี่ จำนวนไมล์ต่อค่าใช้จ่ายเพราะไม่ต้องเติมน้ำมัน ความรู้สึกในการขับขี่ แม้กระทั่งเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ อย่างพื้นที่เก็บของ Model S ก็กินขาด

Model S ของ Tesla นั้นได้แสดงให้โลกเห็นถึงรถยนต์ต้นแบบแห่งประสิทธิภาพ ซึ่งรวมถึงเรื่องของพลังงานไฟฟ้าที่ใช้เป็นพลังงานทดแทนน้ำมัน ที่กำลังจะหมดโลกในอีกไม่ช้า ซึ่งตัว Model S นั้น มีชิ้นส่วนที่ขยับไปมาแค่โหลเดียว ชุดแบตเตอรี่ส่งพลังงานไปยังมอเตอร์ขนาดเท่ากับผลแตงโมที่ใช้หมุนล้อในทันที่ มันเป็นกลไกง่าย ๆ แต่แฝงไปด้วยประสิทธิภาพที่ยิ่งใหญ่

Model S ของ Tesla ได้ฉีกกฏของการซื้อขายรถยนต์แบบเดิม ๆ ลูกค้าไม่ต้องไปที่ตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ หรือ ศูนย์รถยนต์อีกต่อไป เพื่อไปต่อรองเรื่องต่าง ๆ กับเซลล์ผู้กระหายเงิน แต่ ลูกค้าของ Tesla สามารถที่จะสั่ง Model S ได้ผ่านร้านของ Tesla โดยตรงรวมถึงสามารถสั่งซื้อผ่าน Online เว๊บไซต์ ง่าย ๆ เพียงแค่ปลายนิ้วคลิก และสุดท้าย Tesla จะส่งรถไปถึงหาคุณถึงที่บ้านเอง

ปฏิวัติการซื้อรถยนต์ด้วยการสั่งซื้อผ่าน online
ปฏิวัติการซื้อรถยนต์ด้วยการสั่งซื้อผ่าน online

มันเป็นการปฏิวัตวงการรถยนต์ที่มีมากว่า 100 ปี แม้กระทั่งการดูแลรถยนต์ หากเกิดปัญหาข้อบกพร่องบางอย่าง วิศวกร Tesla สามารถเชื่อมต่อเข้าไปในรถผ่านการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตแล้ว Download Software อัพเดตข้อบกพร่องให้ได้ทันที ราวกับมีพ่อมดในโลกเวทมนต์มาเสกให้ คงเป็นการเปรียบเทียบไม่เกินไปนัก

เรียกได้ว่าเจ้า Model S นั้นมันเปลี่ยนทุกอย่างของการคมนาคมไปอย่างสิ้นเชิง มันคือ คอมพิวเตอร์ติดล้อดี ๆ นี่เอง แม้ตอนแรกนั้น พวกบริษัทรถยนต์เก่าแก่ จะมอง Tesla เป็นเรื่องกระแสชั่วคราวที่ไม่นานจะตกไปเอง

แต่หลังจากรถยนต์ได้ส่งมอบไม่กี่เดือน ในเดือนพฤศจิกายนปี 2012 Model S ก็ได้รับตำแหน่งรถยนต์แห่งปีจากนิตยสาร MotorTrend ด้วยผลโหวตที่เป็นเอกฉันท์ครั้งแรก โดยสามารถเอาชนะ ปอร์เช่ BMW Lexus Subaru ซึ่งหลายเดือนต่อมา นิตยสาร ComsumerReport ให้คะแนนสูงสุดในประวัติศาสตร์กับ Model S นั่งคือ 99 เต็ม 100 พร้อมกับประกาศว่าเป็นรถยนต์ที่ยอดเยี่ยมที่สุดที่เคยมีมา

รถยนต์แห่งปีจากนิตยสาร Motor Trend
รถยนต์แห่งปีจากนิตยสาร Motor Trend

อเมริกาไม่ได้เห็นบริษัทรถยนต์ที่ประสบความสำเร็จมานานมากแล้ว ครั้งสุดท้ายน่าจะเป็น ไครสเลอร์ เมื่อปี 1925 ย้อนไปเกือบ 100 ปี มัสก์ก็ไม่เคยทำรถยนต์มาก่อน แต่เขามีความฝันที่ยิ่งใหญ่มาก ๆ เพียงแค่หนึ่งปีหลังจากวางจำหน่าย Model S ก็สามารถสร้างกำไรได้เป็นกอบเป็นกำทันที

มัสก์ได้สร้างรถยนต์ในระดับเดียวกับที่ สตีฟ จ๊อบส์ สรรสร้าง iPhone ขึ้นมา และมันคล้าย ๆ กับที่ Blackberry , Nokia ต่างมอง iPhone ในช่วงแรกของการเปิดตัว เหล่าผู้บริหารของบริษัทรถยนต์ยักษ์ใหญ่  ทั้งจากอเมริกา ญี่ปุ่น หรือ เยอรมนี ก็เริ่มหันมามองว่ามันเกิดเรื่องแบบนี้ขึ้นได้อย่างไร

แม้จะประสบกับปัญหามากมายในรถยนต์รุ่นแรกอย่าง โรดส์เตอร์ แต่มัสก์ก็พยายามดูแลลูกค้าเก่าอย่างดี แม้จะมีปัญหาเรื่องต้นทุนที่สูงกว่าที่คิดไว้มาก แต่ Tesla เองก็ต้องการพิสูจน์ว่าบริษัทสามารถสร้างรถให้สามารถทำกำไรได้ เพื่อให้เอื้อต่อการได้รับโอกาสในการกู้เงินจากรัฐบาล และมันได้ส่งผลต่อการสร้างรถยนต์รุ่นที่สองอย่าง Model S ซึ่งมัสก์นั้นสามารถอ่านใจลูกค้าของเขาได้ขาด พวกเขายังสนับสนุนมัสก์เต็มที่

Tesla นั้นสามารถดิ้นรน จนอยู่รอดได้ ตั้งแต่ปี 2008 ถึง 2012 นั้น Tesla ขาย โรดส์เตอร์ รถยนต์รุ่นแรกของบริษัทไปได้กว่า 2,500 คัน มันทำให้ฝันของมัสก์นั้นเป็นจริง มันเป็นข้อพิสูจน์ว่า รถยนต์ไฟฟ้านั้นสามารถที่จะขับให้สนุกได้ไม่ต่างจากเจ้าตลาดที่ทำกัน

ในที่สุด Tesla ก็ก้าวไปอีกขั้นได้สำเร็จ กลายเป็นบริษัทที่สามารถทำกำไรที่แท้จริงได้ มันไม่ใช่เรื่องเพ้อฝันของมัสก์เพียงคนเดียวอีกต่อไป Tesla ได้เปิดขายหุ้นให้แก่สาธารณชนในวันที่ 29 มิถุนายนปี 2010 ซึ่งทำให้บริษัทสามารถระดมทุนได้ถึง 226 ล้านเหรียญ

Tesla เปิดขายหุ้นแก่สาธารณะชนได้สำเร็จ
Tesla เปิดขายหุ้นแก่สาธารณะชนได้สำเร็จ

ซึ่งการขายหุ้นต่อสาธารณะครั้งนี้ของ Tesla นั้นกลายเป็นครั้งแรกของบริษัทผลิตรถยนต์ในประเทศอเมริกานับตั้งแต่ฟอร์ดเปิดขายเมื่อปี 1956 ซึ่งเมื่อเงินทุนหลั่งไหลเข้ามา มัสก์ก็เริ่มขยายทีมวิศวกรรม และเริ่มสร้างโรงงานเพิ่มเติมเพื่อให้ผลิตได้ในปริมาณที่มากขึ้น

เหล่าพนักงานของ Tesla นั้นต้องรับมือกับความต้องการที่สูงลิ่วของมัสก์ ซึ่งไม่ต่างจากเหล่าวิศวกรที่ร่วมชะตาเดียวกันที่ SpaceX บางครั้งพวกเขาถึงกับหัวปั่น มัสก์เคยนำรถ Model S ต้นแบบกลับไปที่บ้านในช่วงสุดสัปดาห์ แล้วกลับมาในวันจันทร์พร้อมขอให้เปลี่ยนสิ่งต่าง ๆ ราว 80 อย่าง เขาเก็บทุกรายละเอียดไว้ในหัว และจะไล่รายการรายสัปดาห์ว่าวิศวกรแก้อะไรไปบ้างแล้ว 

มันเป็นกฏแบบเดียวกันกับที่ SpaceX ทุกคนต้องทำตามที่มัสก์ขอ หากต้องการโต้เถียง ก็ต้องค้นคว้ามาอย่างดีพอ ว่าทำไมถึงทำมันไม่ได้ มัสก์ไม่ชอบคำว่าทำไม่ได้ เขาต้องการทำสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ให้เป็นไปได้ ซึ่งเป็นคุณสมบัติของผู้นำระดับโลกหลาย ๆ คนมีกัน แม้กระทั่ง สตีฟ จ๊อบส์เองก็ตาม ก็มีนิสัยคล้าย ๆ กันแบบนี้ การร่วมงานกับคนแบบนี้เป็นเรื่องยาก แต่เมื่อผลงานสำเร็จ มันก็มักจะเป็นผลงานที่ยิ่งใหญ่เสมอเช่นเดียวกัน

มัสก์นั้นสามารถคิดสิ่งที่ผู้บริโภคไม่รู้ด้วยซ้ำว่าต้องการอะไรเหมือนที่สตีฟ จ๊อบส์ทำได้ ตัวอย่างเช่น เรื่องเบสิก อย่าง มือจับประตูหรือหน้าจอสัมผัสขนาดยักษ์ และมัสก์ยังสามารถที่จะคาดการณ์มุมมองร่วมในสินค้าและบริการทั้งหมดของ Tesla ได้

มัสก์นั้นสามารถที่จะจัดการทุกอย่างจากทัศนะแบบอุดมคติ เขามองว่าการออกแบบและตัวเลือกทางเทคโนโลยีทุกอย่างควรจะพุ่งเป้าไปที่การสร้างรถให้สมบูรณ์แบบที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ มัสก์จะชี้ขาดถึงขนาดที่ผู้ผลิตรถคู่แข่งไม่ทำกัน มันคอยผลักดันให้เขาและผู้คนรอบตัวที่ทำงานด้วยกับเขานั้นสามารถก้าวข้ามขีดจำกัดได้ตลอดเวลา

แต่ มัสก์ กับ Tesla นั้นก็ต้องต่อเสื้อเพื่อความอยู่รอดอยู่แทบจะตลอดเวลา บริษัทสามารถผลิตรถเก๋งได้เพียงสัปดาห์ละสิบคันในตอนแรก แม้จะมีคำสั่งซื้ออีกหลายพันคันที่ต้องทำให้ลุล่วง 

ในปี 2012 นั้นมัสก์ก็ได้ทำเรื่องช็อก แม้สถานการณ์การเงินยังไม่ดีขึ้น โดยเขาตั้งใจที่จะสร้างเครือข่ายสถานีชาร์จพลังงาน มัสก์ตั้งเป้าที่จะสร้างเครือข่ายชาร์จพลังงานทั่วโลกที่จะทำให้เจ้าของ Model S สามารถขับรถยาวบนไฮเวย์ได้และชาร์จพลังงานใหม่ได้อย่างรวดเร็ว

ซุเปอร์ชาร์จที่มัสก์ หวังว่าจะกลายเป็นเครื่องข่ายชาร์จทั่วโลกให้กับ Tesla
ซุเปอร์ชาร์จที่มัสก์ หวังว่าจะกลายเป็นเครื่องข่ายชาร์จทั่วโลกให้กับ Tesla

มัสก์ยืนยันว่าอีกไม่นานเจ้าของ Tesla จะสามารถเดินทางทั่วสหรัฐได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าเชื้อเพลงซักแดงเดียวเลยด้วยซ้ำ สถานีซูเปอร์ชาร์จ ที่ Tesla เรียกนั้น เป็นการลงทุนครั้งมโหฬารสำหรับบริษัทที่มีเงินเหลือเพียงน้อยนิด มีแต่คนหาว่าเขาเพี้ยนแบบสุด ๆ ในการทำเรื่องนี้

ซึ่งมันทำให้ในช่วงต้นปี 2013 นั้น Tesla กลับมาอยู่ในสถานะวิกฤติอีกครั้ง ถ้าบริษัทไม่สามารถเปลี่ยนยอดจองให้กลายเป็นยอดสั่งซื้อจริง ๆ ได้โดยเร็ว จะทำให้บริษัทสูญเงินไปเป็นจำนวนมาก

มัสก์ถึงขั้นประกาศกันราคาขายต่อ Model S ให้ลูกค้าด้วย ซึ่งมัสก์นั้นได้ค้ำประกัน คำสัญญาดังกล่าวด้วยเงินหลายพันล้านของตัวเขาเอง และได้วางแผนการป้องกันขั้นสูงสุดให้กับ Tesla เพื่อไม่ให้เกิดสิ่งที่เลวร้ายมากขึ้นไปกว่านี้

ช่วงเดือน เมษายนของปี 2013 มัสก์ได้ติดต่อเพื่อนสนิทของเขาอย่าง แลร์รี่ เพจ ที่ Google มัสก์นั้นกังวลกับสถานการณ์ของ Tesla ว่าจะอยู่รอดต่อไปได้อีกสองสามสัปดาห์ได้หรือไม่ การให้ Google เข้าซื้อ Tesla อาจจะเป็นทางเลือกสุดท้ายหากไม่สามารถกู้สถานการณ์ของ Tesla ได้จริง ๆ 

แต่ปาฏิหาริย์ มันก็เกิดขึ้นกับมัสก์อีกครั้ง เหล่าพนักงานขายของ Tesla สามารถทำยอดขายรถได้อย่างมหาศาล แม้ Tesla นั้นจะมีเงินสดในธนาคารเหลือเพียงแค่ไม่กี่สัปดาห์แล้วนั้น แต่ยังสามารถผลิตรถยนต์ออกไปมากพอในระยะเวลาเพียงแค่ 14 วัน

ซึ่งมันทำให้การเงินในไตรมาสแรกของปี 2013 พุ่งกระฉูดขึ้นทันที ในเดือนพฤษภาคม ปี 2013 นั้น Tesla สามารถประกาศกำไรก้อนแรกได้สำเร็จในฐานะบริษัทมหาชน ซึ่งสามารถทำกำไรได้ 11 ล้านเหรียญจากยอดขายกว่า 562 ล้านเหรียญ

โดยบริษัทสามารถส่งรถยนต์ Model S ออกไปได้กว่า 1,400 คัน ส่งผลให้หุ้นของ Tesla พุ่งขึ้นจาก 30 เหรียญไปแตะที่ 130 เหรียญ ทำให้ Tesla สามารถจ่ายเงินกู้คืนให้กับรัฐบาลได้สำเร็จ แถมยังเป็นการจ่ายก่อนกำหนด

Tesla Model S รถยนต์ที่มาพลิกสถานการณ์บริษัทได้สำเร็จ
Tesla Model S รถยนต์ที่มาพลิกสถานการณ์บริษัทได้สำเร็จ

สิ่งสำคัญที่ มัสก์ทำไปแต่ผู้ผลิตรถคู่แข่งพลาดหรือไม่ตั้งใจที่จะทำ ก็คือการเปลี่ยนให้ Tesla กลายเป็นสินค้าไลฟ์สไตล์ บริษัทไม่ได้แค่ขายรถให้ใครสักคนเท่านั้น แต่บริษัทกำลังขายภาพลักษณ์ ขายความรู้สึกที่ว่าพวกเขากำลังย่างเท้าเข้าสู่อนาคต เป็นความผูกพัน คล้าย ๆ กับที่ apple ทำกับ ทั้ง Mac , iPod หรือ แม้กระทั่ง iPhone แม้แต่คนไม่ศรัทธาจะเข้าสังกัด apple เต็มตัวก็ยังถูกถึงเข้าจักรวาลของพวกเขาเมื่อซื้อฮาร์ดแวร์ และ ดาวน์โหลดซอฟท์แวร์อย่าง iTunes

รูปแบบของ Tesla ไม่เพียงแค่ทำให้ ธุรกิจแนวคิดเดิม ๆ ของอุตสาหกรรมรถยนต์เปลี่ยนไปเท่านั้น แต่ยังเป็นการแสดงออกว่ารถไฟฟ้าคือแนวคิดใหม่ของยานยนต์ด้วย อีกไม่นานบริษัทรถยนต์อื่น ๆ ล้วนจะต้องทำตามหลักการที่นำโดย Tesla

แม้หลายคน อาจจะเคยปรามาส มัสก์ว่าธุรกิจรถยนต์ไฟฟ้าคือโอกาสทางธุรกิจที่ห่วยแตกที่สุดของโลกใบนี้ เหล่านักลงทุนส่วนใหญ่ ต่างกระโจนหนี ในความคิดเพ้อฝันของมัสก์ โอกาสที่จะทำกำไรกับธุรกิจนี้มันมีน้อยมาก ๆ แต่สิ่งสำคัญที่สุดที่ทำให้ Tesla แตกต่างจากคู่แข่งก็คือความมุ่งมั่นในการพุ่งชนวิสัยทัศน์ของตัวเองโดยไม่มีทีท่าว่าจะลดลงไปเลย ซึ่งนั่นก็คือการทุ่มเทสุดตัวให้กับการทำตามมาตรฐานของมัสก์ เพื่อก้าวข้ามขีดจำกัดของสิ่งที่เคยมีมานั่นเอง

–> อ่านตอนที่ 14 : A Burning Man

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :Sand Hill Road *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Credit แหล่งข้อมูลบทความ

ประวัติ Elon Musk ตอนที่ 12 : Rocket Launcher

หลังจากมัสก์ ได้พาทั้ง Tesla และ SpaceX ผ่านวิกฤติครั้งสำคัญมาได้สำเร็จ มันก็ถึงเวลาที่เขาจะได้สร้างสิ่งที่ยิ่งใหญ่ต่อไป ที่จะเป็นประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของมนุษยชาติ เป้าหมายใหญ่ของมัสก์ สำหรับ SpaceX คือ การใช้ความก้าวหน้าทางการผลิตและพัฒนาการของแท่นปล่อยเพื่อทำให้ต้นทุนสำหรับนำสิ่งต่าง ๆ ไปยังอวกาศถูกลงจนกลายเป็นธุรกิจได้

ฟัลคอน 9 นั้นถือเป็นหน้าเป็นตาของ SpaceX จรวดที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์ 9 ตัว โดยมีเครื่องหนึ่งอยู่ตรงกลาง และ อีกแปดเครื่องล้อมรอบไว้ มันได้มีการใส่ตู้สัมภาระรูปกลมสำหรับขนดาวเทียม หรือ แคปซูล ที่สามารถขนส่งมนุษย์ขึ้นอวกาศได้ 

ซึ่งรูปลักษณ์ภายในนอกของฟัลคอน 9 นั้นไม่มีอะไรฉูดฉาดเป็นพิเศษ มันคือยานอวกาศที่เทียบเท่ากับแล็ปท็อปของ apple มันเป็นเครื่องจักรที่เรียบหรูมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน สำหรับงานด้านอวกาศ

หลังการปล่อยได้ 20 วินาที ผู้ชมที่อยู่ห่างออกไปสองไมล์ จึงจะได้ยินเสียงกึกก้องแบบเต็ม ๆ หูของฟัลคอน 9 เป็นเสียงที่ไม่เหมือนใคร ราวหนึ่งนาทีให้หลังมันจะเหลือแค่จุดสีแดงบนท้องฟ้า แล้วจากนั้นก็หายวับไปในอวกาศ

ฟัลคอน 9 กับเครื่องยนต์ 9 ตัว
ฟัลคอน 9 กับเครื่องยนต์ 9 ตัว

สำหรับอีลอนมัสก์ ภาพที่น่าตื่นเต้นเหล่านี้กลายเป็นประสบการณ์ที่คุ้นชินอย่างหนึ่ง SpaceX ส่งจรวดขึ้นไปประมาณเดือนละครั้ง ขนส่งดาวเทียมให้บริษัทและชาติต่าง ๆ รวมทั้งเสบียงไปยังสถานีอวกาศนานาชาติ

ตอนที่ฟัลคอน 1 พุ่งทะยานจาก ควาจนั้น มันยังเป็นผลงานของสตาร์ทอัพ ซึ่งต่างจาก ฟัลคอน 9 ที่เป็นผลงานของประเทศมหาอำนาจทางการบินและอวกาศ SpaceX สามารถตัดราคาคู่แข่งในสหรัฐของตัวเอง ทั้ง โบอิ้ง ล็อกฮีดมาร์ติน และ ออร์บิทัลไซแอนเซส ด้วยราคาที่มีส่วนต่างมากจนเหลือเชื่อ

มัสก์ได้พิสูจน์ว่า จรวดสามารถที่จะผลักดันสัมภาระขึ้นสู่อวกาศจากนั้นก็กลับมายังโลก และลงจอดอย่างแม่นยำที่สุดบนแท่นที่ลอยอยู่กลางทะเล หรือ แม้แต่แท่นปล่อยเดิมของมันเองก็ตาม

ซึ่งแทนที่จรวดจะแตกเป็นเสี่ยง ๆ หลังกระแทกลงในทะเล SpaceX ใช้เครื่องยนต์ขับดับถอยกลับค่อย ๆ ลดลงจอดอย่างนุ่มนวล และนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ซึ่งทำให้ในอนาคตนั้น SpaceX คาดไว้ว่าจะตัดราคาลงเหลือแค่ หนึ่งในสิบของคู่แข่งได้สำเร็จ

ซึ่งโมเดลการนำจรวดกลับมาใช้ใหม่นั้น มันไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน มันทำให้เกิดการลดราคาครั้งใหญ่ในอุตสาหกรรมด้านอวกาศ และมันจะกลายเป็นข้อได้เปรียบที่สำคัญที่สุดของ Spacex ที่คู่แข่งที่จะเข้ามาใหม่ยากที่จะตามทัน

ซึ่งสุดท้าย มัสก์มองว่า มันจะกลายเป็นอุตสาหกรรมใหม่ เหมือนกับสายการบินต่าง ๆ ในทุกวันนี้ ที่ใช้เครื่องบินลำเดิมซ้ำแล้วซ้ำเล่า เพื่อสร้างรายได้ ซึ่ง SpaceX นั้นหวังจะยึดส่วนแบ่งการตลาดใหญ่ในการปล่อยจรวดเชิงพาณิชย์ของโลกให้ได้

ซึ่งเป้าหมายของมัสก์คงไม่ได้ไกลเกินเอื้อม ในปัจจุบันนั้น SpaceX ส่งดาวเทียมให้ลูกค้า ทั้งชาว แคนาดา ยุโรป และ เอเชีย ไปกว่า 24 ครั้ง มีลูกค้ามารอต่อคิวกับ SpaceX กว่า 50 ราย ซึ่งมีมูลค่ารวมกันกว่า 5,000 ล้านเหรียญ

SpaceX นั้นไม่ได้พึ่งพา ซัพพลายเออร์จากต่างชาติมากนัก ซึ่งเป็นโมเดลที่หลาย ๆ บริษัทมักจะทำกัน มันทำให้ง่ายที่จะเข้ามาในอุตสาหกรรมนี้ แต่ก็ทำให้ต้นทุนสูงเช่นเดียวกัน สำหรับ SpaceX นั้น นอกจากจะสร้างเครื่องยนต์ ลำตัวจรวด และแคปซูลเองแล้ว SpaceX ยังออกแบบเมนบอร์ด และแผงวงจร เซ็นเซอร์ตรวจจับการสั่นสะเทือน ซอฟท์แวร์คอมพิวเตอร์ รวมถึง แผงพลังงานแสงอาทิตย์ของตัวเองด้วย

SpaceX พยายามอยู่หลายปีเพื่อพิสูจน์กับ NASA ว่าอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์มาตรฐานก็ดีพอที่จะสู้กับอุปกรณ์เฉพาะราคาแพงที่เชื่อกันมาในอดีต ซึ่งอุปกรณ์ของ SpaceX โดยส่วนใหญ่นั้นมักจะสร้างขึ้นจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สำหรับอุปโภคที่หาได้ทั่วไปเป็นส่วนใหญ่

ซึ่งหลาย ๆ เทคโนโลยีของ SpaceX นั้น เริ่มลอกเลียนแบบโดยคู่แข่ง โดยเฉพาะคู่แข่งทีสำคัญอย่าง Blue Origin ของ เจฟฟ์ เบซอส ซึ่งใช้วิธีการดึงคนของ SpaceX โดยเสนอเงินให้มากกว่าถึงสองเท่า มันทำให้ความสัมพันธ์ของมัสก์ และ เบซอสย่ำแย่

Blue Orign ของ เจฟฟ์ เบซอส คู่รักคู่แค้นของ มัสก์
Blue Orign ของ เจฟฟ์ เบซอส คู่รักคู่แค้นของ มัสก์

ตัวของมัสก์เองนั้น เติบโตในฐานะของ CEO และผู้เชี่ยวชาญด้านจรวด พร้อม ๆ กับที่ SpaceX ได้รับการบ่มเพาะในฐานะบริษัทจนได้ที่ ในตอนเริ่มต้นการเดินทางของ ฟัลคอน 1 ที่ SpaceX มัสก์นั้นได้เรียนรู้จากหน้างานเสียเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งรวมกับตำราที่เขาหามาอ่านเพื่อสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับจรวดขนาดใหญ่ขึ้นมา 

และ SpaceX ไม่เคยหยุดนิ่งในการพัฒนา พวกเขายังทำการทดลองยานพาหนะใหม่ ๆ ระหว่างการปล่อยจรวดจริง ๆ ในแบบที่บริษัทอื่นไม่กล้าทำกัน หลายครั้ง SpaceX มักประกาศว่าพวกเขากำลังทดลองเครื่องยนต์ใหม่หรือขาสำหรับลงพื้นแบบใหม่

ซึ่งทั้งหมดทั้งมวล ก็ล้วนแล้วมาจากความคิดของมัสก์แทบจะทั้งสิ้น มัสก์มักจะขอให้พนักงานทำเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ และความทะเยอทะยานในการทำสิ่งใหม่ ๆ ของมัสก์ก็ไม่มีทีท่าว่าจะหมดลงไป

ตัวอย่างการปล่อยยานในเดือนธันวาคมปี 2010 ซึ่ง SpaceX ได้ส่ง ดรากอนอคปซูลไปยังวงโคจรโลกและกลับมาได้สำเร็จ  ซึ่งถือเป็นความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่ของบริษัท และใคร ๆ ก็ทำงานอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อยมานานหลายปีกับโครงการดังกล่าว

ดรากอน แคปซูลของ SpaceX
ดรากอน แคปซูลของ SpaceX

ซึ่งหลังจากปล่อยสำเร็จ ก็ได้มีงานเลี้ยงฉลองขึ้น แต่แทนที่จะเป็นการฉลองชัยสำหรับ SpaceX แต่มัสก์นั้นกลับต่อว่าทีมงานเป็นชั่วโมง เพราะโครงยึดหลังคาสำหรับจรวดในอนาคตล่าช้ากว่ากำหนด

แต่สุดท้ายนั้นคำถามที่ค้างคาใจของเหล่าพนักงาน SpaceX คือ เมื่อไหร่กันที่พวกเขานั้นจะได้เห็นผลตอบแทนก้อนโต หลังจากความพยายามทุ่มเทอย่างหนักให้กับ SpaceX ตลอดหลายปีที่ผ่านมา แม้พนักงาน SpaceX ส่วนใหญ่นั้นจะได้รับค่าจ้างที่ดี แต่มันก็ไม่ได้มากมายจนเกินไปเมื่อเทียบกับความทุ่มเท และความอัจฉริยะของพวกเขาเหล่านี้

ส่วนใหญ่พวกเขามาเพราะต้องการที่จะสร้างสิ่งที่ยิ่งใหญ่ร่วมกับมัสก์ พวกเขาเห็นวิสัยทัศน์ที่ยิ่งใหญ่ แม้จะสามารถไปทำงานที่รับเงินเดือนได้สูงกว่านี้ แต่ เป้าหมายของ SpaceX เป็นสิ่งที่ท้าทายพวกเขาให้ยืนหยัดอยู่สู้กับมัสก์ เพื่อสร้างสิ่งที่จะเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์ของมนุษย์ชาติเราในเรื่องอวกาศนั่นเอง 

–> อ่านตอนที่ 13 : The Revenge of The Electric Car

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :Sand Hill Road *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Credit แหล่งข้อมูลบทความ

ประวัติ Elon Musk ตอนที่ 10 : The Show Musk Go On

ความสำเร็จของ Henry Ford ในการสร้างอุตสาหกรรมรถยนต์ขึ้นมาใหม่นั้น ส่งผลกระทบชัดเจนต่อชาวอเมริกัน ด้วยภาพที่เขาเป็นนักธุรกิจรุ่นใหม่  และ Ford ยังต้องเร่งการผลิตให้ท้นต่อความต้องการของผู้บริโภค เขาได้สร้างสิ่งที่กำลังจะมาเป็นนวัตกรรมที่มีความสำคัญที่สุดต่อเศรษฐกิจอเมริกา ซึ่งสิ่งที่ท้าทายที่สุดในการผลิตรถยนต์ของ Ford นั่นก็คือ การผลิตรถในจำนวนมากได้สำเร็จ

การปฏิวัติอุตสาหกรรมให้สามารถผลิตได้จำนวนมาก  ๆ  ผ่านวิธีการโดยใช้สายพานการผลิตของเขานั้น มันได้สร้างแรงบันดาลใจให้กับคนรุ่นใหม่ ๆ และมันช่วยเปลี่ยนวิถีชีวิตของชาวอเมริกันไป เพื่อนคนสนิทของเขาอย่าง William  Harley และ Arthur Davidson ได้นำเครื่องยนต์ไปติดกับจักรยาน และได้กลายเป็นรถมอเตอร์ไซต์ขายออกไปทั่วประเทศ 

Milton Hershey ได้นำเอาแนวคิดสายพานการผลิตของ Henry Ford ไปใช้กับผลิตภัณฑ์ของเขาอย่างช็อคโกแลต ส่วนพ่อค้าชาว ชิคาโก William Wrigley ก็ใช้แนวคิดเดียวกันในการผลิตหมากฝรั่งออกขายไปได้ทั่วประเทศ 

แนวคิดสายพานการผลิตของ Henry Ford เปลี่ยนอุตสาหกรรมของสหรัฐไปตลอดกาล
แนวคิดสายพานการผลิตของ Henry Ford เปลี่ยนอุตสาหกรรมของสหรัฐไปตลอดกาล

มันทำให้เกิดนักธุรกิจใหม่ ๆ และสร้างสิ่งต่าง ๆ ด้วยแนวคิดใหม่ ที่มีต้นแบบมาจาก Henry Ford พวกเขาได้คิดค้นการผลิตสินค้าจำนวนมากขึ้นมา และจ่ายค่าแรงที่เหมาะสมให้กับคนงาน ภายใต้สภาพการทำงานที่ปลอดภัย ขึ้นมาใหม่

และโจทย์นี้ มันก็เป็นโจทย์เดียวกับที่นักธุรกิจรุ่นใหม่แห่งยุคนี้อย่าง อีลอน มัสก์ ต้องเจอ แม้ Henry Ford นั้นได้สร้างรากฐานในเรื่องสายพานการผลิตไปยังอุตสาหกรรมต่าง ๆ จนประสบความสำเร็จกันนับไม่ถ้วนแล้ว แต่มันก็ไม่ง่ายเสียทีเดียวสำหรับการจะมาสร้างรถที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าของ อีลอน มัสก์ เมื่อต้องการผลิตในปริมาณมาก ๆ 

และปัญหานี้ก็เกิดกับ ซัพพลายเออร์ในต่างประเทศ ซึ่งไทยก็เป็นประเทศหนึ่งในนั้นที่ Tesla ต้องส่งทีมวิศวกรหนุ่มแน่น ยอดอัจฉริยะ ทั้งหลายไปจัดการในการตั้งโรงงานแบตเตอรรี่ ซึ่งเป็นแผนแรกของ Tesla ที่ต้องการให้ไทยเป็นซัพพลายเออร์หลักแห่งหนึ่งสำหรับผลิตชิ้นส่วนป้อนให้รถยนต์ Tesla ซึ่งบริษัทที่มีความทะเยอทะยาน และ มีความมุ่งมั่นสูงสุด สำหรับงานนี้ก็คือ บริษัท ไทยซัมมิท ของ คุณ ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ นั่นเอง

ไทยซัมมิท ที่ช่วยขับเคลื่อนการผลิตให้กับ Tesla
ไทยซัมมิท ที่ช่วยขับเคลื่อนการผลิตให้กับ Tesla

แต่ถ้าย้อนกลับไปในช่วงนั้น งานด้านแบตเตอรี่ ถือว่าในไทยนั้นยังเป็นงานที่ใหม่มาก ๆ เพราะส่วนใหญ่แม้ไทยจะมีชื่อเสียงโด่งดังไปทั่วโลกในเรื่องการป้อนอะไหล่ต่าง ๆ ให้กับรถยนต์ไม่ว่าจะเป็น ญี่ปุ่น หรือ ยุโรป ก็ตาม แต่มันไม่ใช่เรื่องแบตเตอรี่ สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า ซึ่งเป็นเรื่องใหม่มาก ๆ ของประเทศไทย

ทีมงานวิศวกรของ Tesla นั้นต้องมาจัดการเรื่องโรงงานที่จะใช้ รวมถึงการจัดการเรื่องความร้อนต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ซึง Tesla นั้นมีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์รวมทั้งแบตเตอรี่ที่เป็นส่วนสำคัญ และไวต่อสิ่งเร้าเป็นอย่างมาก

มีการลงทุนติดผนังเบาให้กับโรงงานในไทย รวมถึงการเคลือบพื้น และสร้างห้องเก็บของพร้อมเครื่องควบคุมอุณหภูมิ และเหล่าวิศวกรของ Tesla ก็ได้ทำการ Training ให้กับคนงานชาวไทยถึงวิธีที่จะจัดการอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้ มันทำให้การพัฒนานั้นล่าช้าลงไปอีก หลังจากเจอปัญหาต่างๆ  มากมายในประเทศไทย

และ Tesla ยังต้องเจออีกหลายปัญหาในการผลิตจำนวนมาก เนื่องจาก แผงตัวรถนั้นถูกผลิตที่ฝรั่งเศษ มอเตอร์มาจากไต้หวัน เซลล์แบตเตอรี่มาจากจีน ไปประกอบแบตเตอรี่ที่ไทย  ส่งไปให้โลตัสที่อังกฤษสร้างตัวถังรถ แล้วค่อยส่งมาที่ลอสแอนเจลิส

มันเป็นกระบวนการที่เต็มไปด้วยความวุ่นวาย และแผนต่าง ๆ มันก็ไม่ได้เป็นระบบระเบียบมากนักทำให้ทุกอย่างล่าช้ายิ่งไปอีก แถมต้นทุนยังสูงมาก เมื่อมัสก์รู้ ก็ได้ว่าจ้างนักวิเคราะห์มาช่วยดูเรื่องต้นทุนที่แท้จริง ซึ่งพบว่า โรดส์เตอร์แต่ละคันจะใช้ต้นทุน มากกว่า 200,000 เหรียญ และ Tesla วางแผนที่จะขายมันเพียงแค่ 85,000 เหรียญเท่านั้น ซึ่งต่อให้เดินเครื่องผลิตได้ทีละมาก ๆ ก็สามารถลดได้เต็มที่เหลือแค่ 170,000 เท่านั้น มันเห็นความบรรลัยทางด้านการเงิน ในขณะที่รถยังไม่ได้เข้าสายการผลิตเลยด้วยซ้ำ

โรดส์เตอร์ รถรุ่นแรกของ Tesla ที่กำลังจะมีต้นทุนสูงถึง 200,000 เหรียญ
โรดส์เตอร์ รถรุ่นแรกของ Tesla ที่กำลังจะมีต้นทุนสูงถึง 200,000 เหรียญ

แม้ เอเบอร์ฮาร์ด กับ มัสก์ นั้นจะมีปัญหากระทบกระทั่งกันมาหลายปีในเรื่องการออกแบบบางอย่างของรถ แต่โดยส่วนใหญ่นั้นทั้งคู่เข้าขากันได้อย่างดี พวกเขามีวิสัยทัศน์เหมือนกันหลาย ๆ อย่างในเรื่องเทคโนโลยีแบตเตอรี่ และ ความสำคัญของพลังงานทดแทนที่จะมีต่อโลกเรา

แต่ การที่มัสก์ได้รับรู้ราคาต้นทุนที่แท้จริง มันทำให้มัสก์มอง เอเบอร์ฮาร์ดเปลี่ยนไปทันที มันคือการบริหารที่ไร้ประสิทธิภาพดี ๆ นี่เอง ที่ไม่ละเอียดพอในการดูแลเรื่องใหญ่อย่างต้นทุนของรถรุ่นแรกอย่างโรดส์เตอร์ให้มันเละเทะได้เพียงนี้ มันก็ถึงเวลาที่ เอเบอร์ฮาร์ด ที่เป็นผู้ร่วมก่อตั้ง Tesla คนแรก ๆ ต้องเดินออกจากบริษัทที่เขาตั้งมากับมือไป

แม้มัสก์ จะเปลี่ยนตัว CEO ชั่วคราวไปหลายคน สถานการณ์มันก็ไม่ได้ดีขึ้นอย่างชัดเจน ตอนนั้น มัสก์ ก็วุ่นอยู่กับ SpaceX อีกบริษัทหนึ่งของเขาอยู่ มัสก์พยายามให้สัญญาว่ารถจะสามารถออกวางจำหน่ายได้ในปี 2008 แต่ดูเหมือนว่าตอนนี้มันยังไกลจากเป้าหมายที่เขาวางไว้เป็นอย่างมาก

ไม่นานนัก พนักงาน Tesla ก็ได้เห็นมัสก์คนเดียวกับที่ SpaceX เสียที เขาต้องลงมาจัดการทุกอย่างด้วยตัวเอง เมื่อเกิดปัญหาอย่างเช่นตัวถังรถที่ผิดพลาด มัสก์ก็จัดการกับมาตรง ๆ เขาบินไปอังกฤษด้วยตัวเองเพื่อรับเครื่องมือที่ใช้ผลิตแผ่นตัวถังรถชิ้นใหม่และส่งมันเข้าโรงงานในฝรั่งเศษด้วยตัวเอง

ส่วนเรื่องต้นทุนมัสก์จัดการขั้นเด็ดขาด ต้องทำต้นทุนให้ได้ทุกชิ้นส่วน ต้องมีการกำหนดและวิเคราะห์ต้นทุนทุกเดือน มัสก์ ไม่เคยพลาดในรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ หัวเขาเหมือนมีเครื่องคิดเลขติดอยู่ในหัว แม้มัสก์ จะดูเหมือนแข็งกร้าว และอารมณ์ร้อน เกินไป แต่ทุกอย่างเขาทำก็เพื่อ Tesla เขาไม่ได้เป็นพวกโลกสวยอย่างที่คนอื่นเคยทำมา

มัสก์ต้องลงมาจัดการปัญหาของ Tesla ด้วยตัวเอง
มัสก์ต้องลงมาจัดการปัญหาของ Tesla ด้วยตัวเอง

ส่วนเรื่องการตลาดนั้น มัสก์จะค้นหาข่าวเกี่ยวกับ Tesla ใน Google แทบจะทุกวัน เมื่อใดที่เขาเจอเรื่องไม่ดีกับ Tesla เขาจะสั่งการให้แผนกประชาสัมพันธ์ไปแก้ไขโดยด่วน นี่มันเป็นการสร้างประวัติศาสตร์ใหม่ ต้องไม่มีเรื่องเสีย ๆ หาย ๆ ใด  ๆ กับ Tesla ของเขาอีกต่อไป

มัสก์ใส่ใจรายละเอียดทุกอย่าง พนักงานไม่ต้องกังวัลเรื่องวิธีการหรือว่ามันมีข้อบกพร่องหรือเปล่า แค่ตั้งใจทำงานให้เสร็จเท่านั้น มัสก์จะรับฟังปัญหา เขาต้องการคำถามที่เข้าท่าเท่านั้น และเดินหน้าอย่างรวดเร็ว แบบถึงลูกถึงคน ให้งานเสร็จสิ้นโดยเร็วที่สุด

มันทำให้พนักงานหลายคนทนไม่ไหวต้องลาออกไป แม้จะอัจฉริยะขนาดไหน ก็โดนมัสก์เล่นงานมาแทบจะทั้งสิ้น แต่หลายคนจากรุ่นบุกเบิก ก็รอดกันมาได้ การมีชื่อแบรนด์ที่แข็งแกร่ง รวมถึงมีผู้นำอย่าง อีลอน มัสก์ ก็สามารถที่จะจ้างพนักงานแถวหน้าเข้ามาได้เรื่อย ๆ รวมถึงคนจากบริษัทยานยนต์ยักษ์ใหญ่ ที่ต้องการที่จะมาสร้างประวัติศาสตร์หน้าใหม่ร่วมกับ อีลอน มัสก์ ก็ได้เข้ามาร่วมงานมากขึ้นเรื่อย ๆ 

เหมือนทุกอย่างจะดีขึ้น แต่ใครจะไปคาดคิดว่า อยู่ดี ๆ วิกฤตครั้งใหม่กำลังมาเยือน ขณะก้าวเข้าสู่ปี 2008 บริษัทกำลังจะหมดเงิน โรดส์เตอร์ ใช้เงินทุนในการพัฒนาไปกว่า 140 ล้านเหรียญ หากสถานการณ์ปรกติ มันไม่ยากเลยที่จะระดมทุนเพิ่มเติม แต่ทว่า ปี 2008 อย่างที่ทุกท่านทราบกัน มันคือวิกฤติเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่สุดครั้งนึงของอเมริกา

วิกฤติทางการเงินในปี 2008 ทำให้ Tesla ที่กำลังจะเปิดตัวได้รับผลกระทบไปเต็ม ๆ
วิกฤติทางการเงินในปี 2008 ทำให้ Tesla ที่กำลังจะเปิดตัวได้รับผลกระทบไปเต็ม ๆ

ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ในสหรัฐฯกำลังถูกฟ้องล้มละลาย ท่ามกลางวิกฤติการเงินครั้งเลวร้ายที่สุดตั้งแต่ยุควิกฤติเศรษฐกิจครั้งใหญ่ ซึ่งท่ามกลางเรื่องเลวร้ายทั้งหมดนี้ มัสก์ ต้องโน้มน้าวเหล่านักลงทุนของ Tesla ให้ยอมลงทุนเพิ่มมากกว่า 10 ล้านเหรียญ แต่ปัญหาคือ ตอนนั้นมีแต่ข่าวเสีย ๆ หาย  ๆ เกี่ยวกับอุตสาหกรรมรถยนต์ของอเมริกา ภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำ แทบจะไม่มีใครซื้อรถกันแล้ว มัสก์กำลังอยู่ในเส้นทางที่เสี่ยงที่สุดในชีวิตของเขา ทั้งหมดที่เขาทำมาจะล้มครืนลงไปหรือไม่? เขาจะพา Tesla ฝ่าวิกฤติที่รุนแรงที่สุดครั้งนี้ไปได้อย่างไร โปรดอย่าพลาดติดตามตอนต่อไปครับผม

–> อ่านตอนที่ 11 : Tesla’s Macintosh

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :Sand Hill Road *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Credit แหล่งข้อมูลบทความ