ข้อคิดสำคัญสำหรับพ่อค้าแม่ค้า Online ชาวไทย

พอดีผมได้มีโอกาสนั่งอ่าน กระทู้แนะนำใน Pantip.com ในเรื่อง “Shopee ประเทศไทย เริ่มเอาสินค้าที่ขายด้วยร้านอื่นๆ ออก แล้วนำมาขายเอง”

ซึ่งต้องมองตามความเป็นจริงว่า สิ่งที่บริษัทพวกนี้ยอมขาดทุนมหาศาลทุก ๆ ปี แน่นอนอยู่แล้วว่าต้องการ Data จากพฤติกรรมผู้บริโภคของเรา ว่าชอบซื้อสินค้าแบบไหน มูลค่าเท่าไหร่ หรือช่วงเวลาใด

ด้วยการอัดโปรโมชั่นมากมายทำให้พ่อค้าแม่ค้า เข้าไป join ใน platform เหล่านี้ แน่นอนว่า ยอดขายกระฉูด หากเจอโปรโมชั่นที่ดี ๆ ของ Shopeee ซึ่งมองแล้วเหมือนได้ประโยชน์กันหมดทั้งพ่อค้าแม่ค้า รวมถึงลูกค้าเองก็ตาม

แต่บริษัทเหล่านี้ ไม่ใช่นักบุญแน่นอน มาหว่านเงินแจกเล่น พวกเขาเอาข้อมูลไปวิเคราะห์อยู่แล้ว ซึ่งสุดท้าย สินค้าพวกนี้ที่พ่อค้าแม่ค้าชาวไทยหามานั้น เขาก็สามารถหาได้ในราคาที่ถูกกว่า และสุดท้ายก็นำมันมาขายเอง เหมือนที่ amazon ยักษ์ใหญ่ Ecommerce จาก อเมริกาทำนั่นแหละ

เพราะฉะนั้น สิ่งที่เหล่าพ่อค้าแม่ค้า รวมถึงเหล่าลูกค้าเองด้วย ที่ควรทำ platform กับเหล่านี้ คือ รีบโกยมาให้มากที่สุด ให้เร็วที่สุด ส่วนพ่อค้าแม่ค้านั้น ควรมีร้านค้าของตัวเองที่เป็น website ส่วนตัวเป็น platfrom หลักที่เราสามารถ control ทุกอย่างได้ เพราะยังไงบ้านตัวเองก็ไม่มีใครสามารถมาเปลี่ยนอะไรเราได้อยู่แล้ว

แล้วเปลี่ยนมุมมองกับพวก platform ต่าง ๆ ที่เรากำลังพึ่งพานั้นเป็นเพียงการกระจายช่องทางการตลาดเพิ่มเติมเพียงเท่านั้นให้เราเท่านั้น อย่ามองเป็นช่องทางทำรายได้หลักเด็ดขาด เพราะวันนึง เค้าจะเปลี่ยนนโยบายอะไรก็ได้ เราไม่สามารถที่จะ control ได้เลย ตัวอย่างมีให้เห็นมากมายแล้วที่อยู่ดี ๆ ก็เปลี่ยน policy เพื่อให้เราเสียตังค์เพิ่มสุดท้าย ก็อยู่ไม่ได้อย่างเช่นใน facebook , shopee , lazada หรือ อะไรก็แล้วแต่ ซึ่งสุดท้ายพวกนี้เค้าก็ต้องหาเงินจากเราอยู่ดีนั่นเองครับ

References : 
https://pantip.com/topic/39047751

Thailand E-commerce War

ต้องบอกว่า ศึก E-Commerce Platform ของไทยระหว่างยักษ์ใหญ่ทั้งสามเจ้า ไม่ว่าจะเป็น Lazada ยักษ์ใหญ่ที่มี Alibaba หนุนหลัง , Shopee น้องใหม่ไฟแรงที่อัดงบการตลาดอย่างบ้าคลั่ง รวมถึง JD.com ที่เพิ่งเข้ามาทำตลาดในปีแรก หลังจากการร่วมมือกับ Central ของประเทศไทย เรามาลองส่องงบการเงิน ธุรกิจยักษ์ใหญ่ E-Commerce ไทยทั้ง 3 เจ้า กันดูครับว่าตอนนี้เกิดอะไรขึ้นบ้าง

JD Central (เริ่มปีแรก)

  • รายได้ 458 ล้านบาท
  • ขาดทุน 944 ล้านบาท

Lazada

  • รายได้ 8.16 พันล้านบาท
  • ขาดทุน 2.64 พันล้านบาท

Shopee (หนักสุด)

  • รายได้ 165 ล้านบาท
  • ขาดทุน 4.11 พันล้านบาท

จะเห็นได้ว่า ธุรกิจ E-Commerce ที่หวังจะใช้สูตร Winner take all มันดูจะไม่ง่ายซะแล้ว เพราะต่างฝ่ายต่างสู้กันอย่างเต็มที่เหมือนกัน ไม่ยอมลดราวาศอก กันเลยทีเดียวเรียกได้ว่าอัดงบกันเต็มที่ ทั้ง 3 Platform

ศึกนี้ดูแล้ว รอแค่จะเหลือใครเป็นรายสุดท้ายที่จะรอดจากมหาสงครามครั้งนี้ ต้องบอกว่า คงพูดไม่เกินเลยนักว่า Platform เหล่านี้เอาเงินมาแจกคนไทยเล่น เลยก็ว่าได้ ผ่านโปรโมชั่น ส่วนลดต่าง ๆ แลกกับ Data ที่พวกเขาได้รับไป ก็ต้องดูกันยาว ๆ ว่าจะคุ้มค่ากับที่ลงทุนไปหรือไม่ 

ซึ่งต่อให้เค้าหว่านเงินจนเราใช้กันจนติดหนึบก็จริง แต่คนไทยก็พร้อมจะเปลี่ยนเสมอเหมือนกัน หากได้โปรโมชั่นที่ดีกว่า คนไทยไม่ได้ Royalty ขนาดนั้นกับธุรกิจ E-Commerce มันไม่ง่ายเหมือนตลาดอื่น ๆ เลยสำหรับ E-Commerce ในไทย เหมือนยิ่งโต ก็ยิ่งขาดทุน และคนไทยพร้อมจะ Switch ไปที่อื่นทันทีหากเจอ Promotion ที่ดีกว่า

แต่สิ่งสำคัญสำหรับการเติบโตของ E-Commerce ทั้ง 3 Platform คือ มันช่วยให้ธุรกิจใน Ecosystem ของ E-Commerce ทำกำไรเสียมากกว่า อย่าง Kerry, ไปรษณีย์ บริการคลังสินค้า ระบบบริหารงานสินค้า Chatbot รวมถึง Order Fullfillment Service ต่างๆ ที่โตเอา ๆ

แต่ก็มีส่วนที่คนไทยเราเสียให้กับแพตฟอร์มเหล่านี้คือ เหล่าพ่อค้าแม่ค้าชาวจีนที่หลั่งไหลกันเข้ามาเปิดร้านในแพล็ตฟอร์มเหล่านี้ จนพ่อค้าแม่ค้าชาวไทยเราขยาด เนื่องจากการทำราคาที่ต่ำมาก เพราะส่งมาจากจีนโดยตรง ทำให้พ่อค้าแม่ค้าที่คิดจะขายสินค้าจากจีนนั้นแทบจะล้มหายตายจากไปเลยก็ว่าได้

แต่ถ้าให้ ด.ดล ฟันธง รายที่น่าจะไปก่อนเพื่อนในศึกนี้น่าจะเป็น Shopee ที่ดูแล้วขาดทุนหนักสุด และหนักมาหลายปีแล้ว ยิ่งทุ่มยิ่งเสีย ซึ่งต่างจาก Lazada กับ JD ที่มีพี่ใหญ่จากจีนคอยหนุนหลัง ซึ่งเศษเงินแค่นี้ คงไม่ซีเรียสกันเท่าไหร่

สุดท้ายไทยน่าจะเหลือแค่ 2 เจ้า คือ Lazada กับ JD ที่น่าจะสู้กันต่อเหมือนในจีน ที่ไม่ยอมแพ้กันเลย ในหลาย ๆ ธุรกิจ

และยังไม่พูดถึง ยักษ์ใหญ่จากอเมริกาอย่าง Amazon ที่เหมือนจะซุ่มดูตลาดบ้านเราอยู่เหมือนกัน และพร้อมที่จะลงมาเล่นทุกเมื่อเหมือนกัน ขนาดตลาดญี่ปุ่นที่ว่าแน่ ๆ Amazon ยังตีได้สำเร็จมาแล้ว

และแน่นอนเหมือนทุก ๆ ครั้งหาก Amazon เข้ามาจริง ๆ ในบ้านเรา ก็ต้องมาพร้อมอัดโปรโมชั่นสู้อย่างแน่นอน ซึ่งคนไทยก็พร้อมที่จะ Switch ไปอยู่เสมออยู่แล้ว หากโปรโมชั่นมันโดนจริง ซึ่งดูแล้ว ตลาด E-Commerce น่าจะเป็นตลาดที่หลาย ๆ แพลตฟอร์มเหนื่ยแน่นอนกว่าจะทำกำไรได้จริง ๆ จากคนไทย

Image References : https://www.prachachat.net/wp-content/uploads/2018/11/collage.jpg
https://www.facebook.com/pawoot

Geek Monday EP3 : Disruptive Marketplace with AI

หลังจากเติบโตในด้าน Social Network จนมีผู้ใช้งานกว่าพันล้านคน facebook ก็ได้เริ่มทำการทดลอง product ใหม่ ๆ ออกสู่ตลาดเพื่อให้ผู้ใช้งานนั้นใช้บริการอยู่ใน facebook ให้นานที่สุด 

ในปี 2016 facebook จึงได้เริ่มออกบริการใหม่ในนาม Facebook Marketplace โดยเจาะตลาด Marketplace โดยให้เหล่าประชากรของ facebook ที่มีมากกว่า 1 พันล้านคนนั้น สามารถที่จะแลกเปลี่ยน ซื้อขาย สินค้ากันได้ โดยเน้นไปที่การซื้อขายในพื้นที่ใกล้เคียงเป็นหลัก 

และในวันนี้ ประชากร facebook ถึง 1 ใน 3 ในประเทศอเมริกานั้น ได้ใช้ facebook marketplace เป็นช่องทางในการซื้อขายสินค้าไม่ว่าจะเป็น รถยนต์ รองเท้า แม้กระทั่ง โต๊ะอาหาร 

ซึ่งนั่นเกิดจากการทำงานเบื้องหลังของ ระบบ Marketplace ที่ facebook นั้นได้ใช้ AI เข้ามาช่วยให้การจัดการเรื่องโพสต์ รวมถึงงานเบื้องหลังต่าง ๆ ของ marketplace สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และไม่เกิดปัญหาแม้จะมีผู้ใช้งานมากมายขนาดไหนก็ตาม

และต้องบอกว่าพลังของ AI ที่ facebook ได้สรรค์สร้างขึ้นมานั้น ได้สร้างความแตกต่างจากระบบ Marketplace แบบเดิมที่มีอยู่ในท้องตลาดอย่างชัดเจน เพราะไม่ว่าจะเป็น ผู้ซื้อที่กำลังค้นหาของ หรือผู้ขายที่ทำการสร้างรายการสินค้าที่จะขาย หรือ แม้กระทั่งวิธีการที่จะสื่อสารระหว่างกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ล้วนแต่มีระบบ AI ที่อยู่เบื้องหลังการทำงานของ Features เหล่านี้แทบจะทั้งสิ้น

เมื่อผมกลายเป็นสาวก Lazada

ต้องบอกตรง ๆ เลยว่าเมื่อก่อนไม่ใช่คนที่จะชอปปิ้ง online บ่อยซักเท่าไหร่เลย นาน ๆ ซื้อที ก็ซื้อตามร้านค้า online ทั่วไป จนมาเปลี่ยนประสบการณ์การชอปปิ้งอย่างสิ้นเชิงเมื่อการเข้าเข้ามาของ lazada.co.th มาเปิดในไทย

ซึ่งตอนเข้ามาใหม่ ๆ lazada จะมี คูปองลดราคามายั่วใจบ่อย ๆ ทำให้เผลอ ช๊อปในสินค้าบางอย่างที่เราอาจจะไม่อยากได้ในตอนนั้นเลย แต่พลั้งเผลอมือไปกดสั่งซื้อทุกทีไป

ผมเริ่มช็อป lazada ช่วงแรกในสินค้าราคาหลักไม่เกิด 1000 บาท เป็นสินค้าชิ้นเล็ก ๆ ที่คงไม่มีปัญหาในการจัดส่ง หรือไม่แตกระหว่างทางเท่านั้น ต้องยอมรับว่าช่วงแรก ๆ นั้น กระแส lazada ใน pantip นั้นไม่ค่อยดีเลย พบแต่ปัญหาเยอะมาก ๆ จนใครหลายคน ไม่กล้าที่จะสั่งซื้อสินค้าผ่าน lazada

แต่เหมือนกับว่า lazada เริ่มตั้งตัวติด เริ่มที่จะมีปัญหาน้อยลงจากที่เข้ามาใหม่ ๆ มีการปรับปรุงการบริการที่ดีขึ้น เริ่มส่งเก็บเงินปลายทางที่ราคาขั้นต่ำเพียง 100 บาทเท่านั้น ซึ่งถือเป็นจุดเด่นเลยที่ผมกลายเป็นขาประจำกับ lazada เพราะเราสั่งสินค้า อาจจะราคาแค่ 100 กว่าบาท เค้าก็เก็บเงินปลายเหมือนกัน คิดว่าเค้าทำได้อย่างไรในสินค้าราคาขนาดนี้ คิดว่าไม่สามารถมี margin ไปทำกำไรได้

แต่เหมือนโดนเวทย์มนต์สะกด หลังจากนั้น ผมก็เริ่มสั่งซื้อสินค้าที่ชินใหญ่ขึ้น อย่างทีวี จอ 55 นิ้ว ผมก็สั่งผ่าน lazada หรือ เครื่องทำน้ำอุ่น ซึ่งเป็นสินค้า ที่คิดว่าไม่น่าจะมาซื้อ online ก็สั่ง online หมด จนตอนหลังผมมีพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปในการซื้อสินค้าทุกชนิด ต้องเช็คราคา ผ่าน lazada ก่อนทุกครั้ง ซึ่งถือเป็นความโรคจิตอย่างนึง แม้กระทั่งเดินในห้าง ก็จะคอยเช็คราคากับ lazada ทุกครั้งหากเราอยากได้อะไรขึ้น  ผ่านมาปีเดียว ผมก็ซื้อสินค้า ผ่าน lazada กว่า 100 รายการ ทั้งสินค้าราคาแพง ระดับ ครึ่งแสน หรือ สินค้า ราคาหลักร้อย ก็ซื้อผ่าน lazada ทั้งหมด ซึ่งมีของที่เราต้องการแทบทุกหมวดหมู่

เมื่อก่อนนั้นอาจจะซื้อแค่สินค้าที่มี review ดีเท่านั้น แต่ปัจจุบันผมแทบไม่สนใจแล้ว เนื่องจากประสบการณ์ที่ผ่านมานั้น เคยมีสินค้าที่มีปัญหาเพียงแค่ครั้งเดียวเท่านั้น จาก 100 รายการที่ทำการสั่งซื้อมา จึงค่อนข้างมั่นใจกับ lazada ได้แล้ว และ นโยบายการคืนเงินของ lazada ก็สามารถตอบสนองได้อย่างรวดเร็ว หรือการเคลมสินค้า ก็ไม่เคยมีปัญหาใด ๆ ในการชอปปิ้งเท่าที่ผ่านมาของผม

ก็อยากจะแนะนำให้ลองมาใช้ lazada กันเยอะ ๆ  ตอนนี้ถือได้ว่า lazada สามารถยกระดับการบริการให้เราไม่ต้องกังวลเรื่องปัญหาใด ๆ อีกแล้ว หากจะซื้อสินค้า online ซึ่งผมคิดว่าในอนาคต ก็จะมีใคร หลาย ๆ คนที่มีอาการเหมือนผม คือ ซื้อแต่สินค้าผ่าน online เนื่องจากรับประกันเรื่องราคา รวมถึง คุณภาพก็ไม่ได้ยิ่งหย่อนไปกว่าการซื้อในห้างสรรพสินค้าแต่อย่างใด