Tesla กับการพัฒนาเทคโนโลยีที่ปัดน้ำฝนใหม่ด้วยแสงเลเซอร์

เห็นได้ชัดว่าที่ปัดน้ำฝนกระจกหน้าแบบคลาสสิกที่ใช้เมื่อฝนตกหรือใช้ในการปัดฝุ่นรถยนต์มานานกว่าหนึ่งศตวรรษนั้นเริ่มจะไม่เพียงพอต่อความต้องการสำหรับรถยนต์ Tesla เสียแล้ว 

จากรายงานล่าสุด บริษัท Tesla ได้พัฒนาระบบเลเซอร์แบบใหม่สำหรับการกำจัดฝุ่น หรือ ขยะจากแผงกระจกหรือแผงโซลาร์เซลล์ 

โดยทาง Tesla ได้จดสิทธิบัตรใหม่สำหรับที่ปัดน้ำฝนเลเซอร์ เมื่อสัปดาห์ก่อนหน้านี้ตามรายงานของ Electrek

โดยสิทธิบัตรดังกล่าวได้อธิบายถึง ระบบทำความสะอาดกระจกรูปแบบใหม่สำหรับรถยนต์ ที่ใช้ลำแสงเลเซอร์ และเทคโนโลยีแบบพิเศษในการตรวจจับสิ่งสกปรก ที่สะสมอยู่บนกระจกรถยนต์ 

สิทธิบัตรแสดงการทำงานของเลเซอร์ ระบบใหม่นี้
สิทธิบัตรแสดงการทำงานของเลเซอร์ ระบบใหม่นี้

โดยระบบดังกล่าวนั้นจะมีวงจรคอยควบคุมเพื่อปรับค่าพารามิเตอร์ที่เกี่ยวข้องกับลำแสงเลเซอร์ที่ปล่อยออกมาใช้ในการตรวจจับสิ่งสกปรกที่สะสมอยู่ทั่วบริเวณกระจก ให้เหมาะสม

ซึ่งทาง Tesla อธิบายว่าระบบดังกล่าวจะมีประโยชน์ในการกำจัดสิ่งกีดขวาง มุมมองของกล้อง Autopilot รอบ ๆ รถโดยอัตโนมัติ ด้วยเช่นกันทำให้รถสามารถทำงานในโหมด Autopilot ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นนั่นเอง

นอกจากนี้ Tesla วางแผนที่จะใช้ประโยชน์จากระบบนี้เพื่อล้างสิ่งสกปรกออกจากแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคารถโดยอัตโนมัติอีกด้วย

แต่สิทธิบัตรดังกล่าวจากการรายงานของ Electrek มุ่งเน้นไปที่ระบบของรถเพียงเท่านั้น สิ่งที่ยังไม่ชัดเจนคือ Tesla ได้พิจารณาถึงความปลอดภัยของดวงตาของผู้ขับขี่หรือไม่ เมื่อตัดสินใจที่จะเล็งแสงเลเซอร์ตรงไปยังส่วนที่คนขับกำลังมองอยู่ ซึ่งอาจจะมีผลกระทบต่อผู้ขับขี่ได้นั่นเอง

References : https://electrek.co/2019/11/25/tesla-laser-beams-clean-debris-off-cars/

Grab,LineMan หลบไป! Ford Delivery Robot มาแล้ว

ฟอร์ดเป็นที่รู้จักกันดีในฐานะผู้ผลิตรถยนต์รถปิคอัพและ SUV ตอนนี้บริษัทกำลังทดลองกับสิ่งที่แตกต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง: ฟอร์ดได้ประกาศเมื่อวันอังคารว่ากำลังทดสอบหุ่นยนต์ส่งของที่ขับเคลื่อนด้วยตนเองไปจนถึงประตูบ้านของลูกค้า

ฟอร์ดนั้นมีการพัฒนารถยนต์ไร้คนขับอยู่แล้วตอนนี้พวกเขาได้เพิ่มหุ่นยนต์เพื่อใช้ในการส่งของติดไปกับรถยนต์ไร้คนขับ ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากความนิยมในการซื้อของออนไลน์แต่ บริษัท พบว่าบางครั้งมันก็ไม่สะดวกสำหรับคนที่จะออกไปนอกบ้านของพวกเขา ดังนั้นฟอร์ดจึงได้ร่วมมือกับ Agility Robotics โดยมีการทดลองที่เมือง ออลบานีและโอเรกอน ซึ่งได้ทำการทดสอบหุ่นยนต์เหมือนมนุษย์ที่สามารถบรรทุกบรรจุภัณฑ์ขนาด 40 ปอนด์ได้

ฟอร์ดกล่าวว่าหุ่นยนต์ที่เรียกว่า Digit สามารถปีนบันไดเดินบนภูมิประเทศที่ไม่สมดุลหรืออยู่ในสภาวะสมดุลได้แม้ว่ามันจะชนกับสิ่งกีดขวาง 

หุ่นยนต์ของฟอร์ดสามารถวางพัสดุไว้หน้าประตูบ้านของคุณได้ โดยฟอร์ดปฏิเสธที่จะบอกว่ามีแผนจะให้บริการจัดส่งโดยใช้หุ่นยนต์เมื่อไหร่

ซึ่งก่อนหน้านี้ฟอร์ดมีการทำงานกับ Domino’s เพื่อทดสอบการส่งพิซซ่าใน Ann Arbor, Michigan ลูกค้าต้องเดินไปที่ยานพาหนะและป้อนรหัสบนทัชแพดก่อนที่จะเปิดหน้าต่างเบาะหลังเพื่อเปิดพิซซ่า

Digit ส่งของถึงหน้าบ้านคุณ
Digit ส่งของถึงหน้าบ้านคุณ

ฟอร์ดทำประกาศเรื่องดังกล่าวสองวันหลังจากที่มีการเลิกจ้างพนักงานกว่า 10% ของพนักงานทั้งหมด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามลดต้นทุน ผู้ผลิตรถยนต์อย่างฟอร์ดและจีเอ็ม ( GM )ประกาศลดตำแหน่งงานเนื่องจากพวกเขาพยายามปรับตัวให้เข้ากับเศรษฐกิจที่กำลังเปลี่ยนแปลงซึ่งให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีที่ขับเคลื่อนด้วย AI มากขึ้นรวมถึงยานพาหนะที่ขับเคลื่อนด้วยตนเอง

ฟอร์ด วางแผนที่จะให้ความสำคัญกับรถยนต์ไฟฟ้าและยานยนต์ไร้คนขับ แต่การแข่งขันที่รุนแรงจาก บริษัท เช่น Google และเทสลา ซึ่งเหล่ายานพาหนะไร้คนขับเหล่านี้เป็นที่คาดว่าจะปฏิวัติระบบจิสติกส์และการขนส่ง 

แต่ผู้เชี่ยวชาญบางคนบอกว่างานขับรถที่มุ่งเน้นไปที่การจัดส่งจะปลอดภัย ในขณะที่รถยนต์และรถบรรทุกสามารถขับเองได้ แต่พวกเขาไม่สามารถเดินขึ้นบันไดและวางแพ็คเกจได้เลย แต่นั่นคือสิ่งที่ Digit สามารถเปลี่ยนแปลงสิ่งต่างๆ ฟอร์ดแสดงให้เห็นในวิดีโอว่า Digit สามารถพับตัวเองขึ้นที่ด้านหลังของยานพาหนะและไปที่ประตูหน้าบ้านของลูกค้าได้อย่างไร

References : 
https://edition.cnn.com/2019/05/22/tech/ford-delivery-robot/index.html?utm_medium=social&utm_source=twCNN&utm_term=video&utm_content=2019-05-24T05%3A16%3A03

ประวัติ Elon Musk ตอนที่ 9 : The Electric Stars

ต้นปี คศ.1991 บริษัทรถยักษ์ใหญ่ของอเมริกาคือ GM ประกาศที่จะพัฒนารถไฟฟ้าขึ้นมาด้วยเหตุผลสาม ประการคืออย่างแรก คือต้องการที่จะ ลดมลภาวะทางอากาศที่เกิดจากเครื่องยนต์ อย่างที่สองคือ เป็นการคาดการณ์ตลาดรถไฟฟ้าและเตรียม พร้อมเพื่อรับการเปลี่ยนแปลงของตลาดรถ เพราะหลายๆ รัฐสนใจที่จะใช้นโยบาย Zero Emission Vehicle (ZEV)  mandate มาแก้ปัญหามลพิษทางอากาศ

โดยเฉพาะเมืองใหญ่อย่าง California มีแผนที่จะเริ่มบังคับใช้ในปี คศ.1997 เหตุผลสุดท้ายก็คือเป็นความหวังที่จะยึดส่วน แบ่งตลาด รถคืนมาหลังจากที่พลาดท่าให้กับผู้ผลิตรถจากญี่ปุ่น

เมื่อยักษ์ใหญ่อย่าง GM ประกาศทุ่มสุดตัวจะเอาตลาดกลับคืนมาให้ได้ด้วยศักยภาพของ IMPACT CONCEPT CAR อย่าง EV1 โครงการที่คุ้นหูกันดีในแวดวงรถไฟฟ้า โดย GM ผลิต  CONCEPT CAR ออกมา 30 คันเมื่อปี คศ.1993 เพื่อทดสอบและเก็บข้อมูลและเมื่อมาถึงปลายปี คศ.1996 มีการทำตลาด กันอย่างชัดเจน โดยตั้งราคาขายไว้ที่ 33,955 เหรียญ โดยหวังที่จะยึดครองตลาดใหญ่ๆให้ได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน California
คือเป้าหมายที่สำคัญ

EV1 รถขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าของ GM
EV1 รถขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าของ GM

แน่นอนในยุคแรกเริ่มของการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าปัญหาอยู่ที่แบตเตอรี่แม้ใน EV1 ของ GM แต่ก็ถือว่าประสบความสำเร็จแม้ว่าใน EV1 รุ่นแรกๆ แบตเตอรี่เมื่อประจุเต็มนั้นจะ วิ่งได้เพียง 45 ไมล์ แถมแบตเตอรี่อายุสั้นมีปัญหามากระหว่างการใช้งานจริง ๆ 

จนเมื่อ GM พัฒนาแบตเตอรี่ใหม่เป็น NiMH ที่วิ่งได้มากกว่า 100 ไมล์ต่อการชาร์จหนึ่งครั้ง และสามารถที่จะชาร์จไฟเข้าแบตได้จากไฟในบ้านที่เรียกกันว่า Plug in ในขณะที่ GM ประสบความสำเร็จกับแบตเตอรี่ รุ่นใหม่ โตโยต้า และ ฮอนด้า นิสสัน และ มิตซูบิชิ ก็พบกับความสำเร็จจากแบตเตอรี่ NIMH เช่นเดียวกัน

ที่โดดเด่นที่สุดเห็นจะเป็น โตโยต้า RAV4 EV ที่เป็นที่ติดใจของผู้ที่ได้ใช้มัน รวมทั้ง GM EV1 ที่เปลี่ยนแบตเตอรี่ไปใช้เป็น NiMH แล้ว

EV1 ของ GM นั้น ให้ประชาชนเช่าใช้เดือนละ 400-500 เหรียญ โดยทำสัญญาเช่าสามปี แทบจะไม่มีขายขาด ที่มีให้เช่าเท่านั้น เนื่องจากจำเป็นต้องบำรุงรักษาเป็นพิเศษจาก GM โดยเฉพาะ เพราะ เป็นเทคโนโลยีใหม่มาก จนไม่รู้จะให้ช่างที่ไหนซ่อมมันได้ หากเกิดปัญหา จุดเด่นของมันคือผู้ใช้แทบไม่ต้องเติมน้ำมันเลย กลับบ้านไปแค่เสียบปลั๊กอย่างเดียว ใช้งานได้เหมือนรถยนต์ปกติ ขับออกทางหลวง ขึ้นทางด่วนได้สบาย หายห่วง

แต่แล้วในที่สุด ในราวปี 2002 GM ก็เรียกรถคืนทั้งหมด แล้วเอามาทุบทิ้ง ซึ่งเรื่องนี้เป็นที่สงสัยกันอย่างมาก ทำไมโครงการรถยนต์ไฟฟ้าที่ GM วิจัยนับสิบปีจนผลิตออกมาใช้งานได้จริง ถึงหยุดพัฒนาไปเฉยๆ และเก็บรถยนต์ไฟฟ้าที่มีอยู่รุ่นเดียวไปทำลาย จน Toyota เข็น Prius ที่เป็น Hybrid car ออกมาขายให้คนอเมริกันได้อย่างเป็นล่ำเป็นสันครองตลาดรถยนต์ไฟฟ้าไปแทน กลายยักษ์ใหญ่ของอเมริกัน แพ้ ให้กับบริษัทญี่ปุ่นแบบไม่ควรแพ้เสียด้วยซ้ำ

GM เรียกคืน แล้วทุบทิ้งทั้งหมดแบบงงกันทั้งประเทศ
GM เรียกคืน แล้วทุบทิ้งทั้งหมดแบบงงกันทั้งประเทศ

และในปีเดียวกันนั้นเองมันได้เริ่มศักราชใหม่ของรถยนต์ที่ขับเคลื่อนโดยไฟฟ้าของอเมริกา โดยกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่หลงไหลในแนวคิดเรื่องพาหนะที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า ปี 2002 เจ.บี. สตรอเบิล ที่อาศัยอยู่ในเมืองลอสแอนเจลิส ผู้ซึ่งได้ปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ที่ตอนนั้นเขายังไม่ได้งานที่โดนใจนัก เขาพยายามเปลี่ยนงานเพื่องานที่ใช่สำหรับเขา  สุดท้ายเขาได้เลือก Rosen Motors บริษัทที่สร้างหนึ่งในยานพาหนะไฮบริดคันแรก ๆ ของโลก เป็นรถที่เอาล้อตุนกำลังและกังหันก๊าซออก แล้วให้มอเตอร์ไฟฟ้าขับเคลื่อนล้อแทน

และที่นี่ ทำให้เขาได้รู้จักกับ แฮโรลด์ โรเซน สุดยอดวิศวกร จาก Rosen Motors ที่ทำได้ทุกอย่างแม้กระทั่งเครื่องบินที่ขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า แนวคิดที่ชัดเจนที่สุดของ สตรอเบิล ที่เขาคิดมาตั้งแต่สมัยเรียนที่สแตนฟอร์ด ก็คือ เขารู้ซึ่งว่าแบตเตอรี่ลิเทียมไออน อย่างเช่นที่อยู่ในรถ ซึ่งใช้พลังงานแสงอาทิตย์นั้น มีดีกว่าที่ใครหลายคนคิด

แบบที่สตรอเบิลคิดคือ ยานพาหนะซุปเปอร์แอโรไดนามิกซึ่ง 80% ของมวลทั้งหมดทำจากแบตเตอรี่ เขาต้องการที่จะสร้างยานพาหนะเพื่อพิสูจน์แนวคิดให้คนนึกถึงพลังงานของแบตเตอรี่ ลิเทียมไออนเสียมากกว่าการตั้งบริษัทรถยนต์ขึ้นมาเอง

แต่ปัญหาเดียว คือ แทบจะไม่มีใครที่จะสนใจแนวคิดของ สตรอเบิล เลยด้วยซ้ำ นักลงทุนที่ได้ฟังแนวคิดนี้ ล้วนแล้วปฏิเสธเขา คนแล้วคนเล่า จนเขาเริ่มท้อ

สตรอเบล ผู้คลั่งไคล้ รถยนต์ไฟฟ้าขับเคลื่อนด้วยแบตเตอรี่ ผู้มีบทบาทสำคัญ
สตรอเบิล ผู้คลั่งไคล้ รถยนต์ไฟฟ้าขับเคลื่อนด้วยแบตเตอรี่ ผู้มีบทบาทสำคัญ

แต่ไม่รู้เพราะโชคชะตาฟ้าลิขิตหรือว่าอย่างไรที่ทำให้เขาไปพบกับชายที่ชื่อ อีลอน มัสก์ ตอนนั้น แฮโรลด์ โรเซน ที่รู้จักกับมัสก์ เป็นการส่วนตัวนั้น ได้นัดทานมื้อกลางวันที่ร้านอาหารใกล้สำนักงานใหญ่ของ SpaceX ใน ลอสแอนเจลิส

แต่ตอนนั้น โรเซน ต้องการคุยเรื่องแนวคิดของเครื่องบินไฟฟ้า ซึ่ง มัสก์ นั้นไม่ค่อยซื้อไอเดียดังกล่าว สตรอเบิล จึงได้เสนอเรื่องโปรเจครถยนต์ไฟฟ้า ด้วยแนวคิดบ้า ๆ เรื่องแบตเตอรี่ลิเทียมไออนของเขาที่ไม่มีใครสนใจให้กับมัสก์ฟัง

แต่นี่มันเป็นการกระตุกความฝันอีกอย่างของมัสก์ เรื่องพลังงานทดแทน มัสก์นั้นคิดเรื่องยานพาหนะไฟฟ้ามาหลายปีแล้ว แต่เขาต้องหยุดมันไว้ชั่วคราวเนื่องจากภาระงานของ SpaceX นั้นทำให้เขาแทบจะไม่มีเวลาที่จะมาคิดถึงเรื่องนี้

แม้นักลงทุนทุกคนจะคิดว่า สตรอเบิล นั้นบ้ากับความคิดของเขา แต่ไม่ใช่กับมัสก์ เขาเสนอให้เงิน 10,000 เหรียญทันที ซึ่งจากจำนวนเงินกว่า 100,000 เหรียญที่เขาต้องการที่จะฝานฝันโปรเจคของสตรอเบิล สิ่งที่มัสก์ต้องการนั่นคือรถพื้นฐานสมรรถนะสูงและรบบส่งกำลังไฟฟ้า และให้สตรอเบิล เดินไปทิศทางดังกล่าวให้ได้

แต่ในเวลาเดียวกันนั้น มีคู่หูธุรกิจ คู่หนึ่งที่ตกหลุมรักแนวคิดสร้างรถพลังงานไฟฟ้าแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนเช่นเดียวกัน ทั้งคู่คือ มาร์ติน เอเบอร์ฮาร์ด และ มาร์ค ทาร์เพนนิง ผู้ที่ร่ำรวยมาจากการขายกิจการ StartUp ที่ชื่อ Rocket eBook ให้กับเจมสตาร์ ซึ่งเป็นเจ้าของ ทีวีไกด์ และเทคโนโลยีนำทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยได้รับเงินมากว่า 187 ล้านเหรียญ

ซึ่งเงินจำนวนมากโขนี้ นี่เอง ทำให้ทั้งคู่สามารถที่จะมาสานฝันของตัวเองในเรื่องการสร้างรถพลังงานไฟฟ้า  ในปี 2003 ทั้งคู่ได้เปิดบริษัท Tesla Motors ขึ้นมา ซึ่งชื่อนี้ก็เพื่อยกย่องนักประดิษฐ์และผู้บุกเบิกมอเตอร์ไฟฟ้าอย่าง นิโคลา เทสลา นั่นเอง

สองคู่หูผู้ตกหลุมรักรถยนต์ไฟฟ้า
สองคู่หูผู้ตกหลุมรักรถยนต์ไฟฟ้า

ซึ่งเมื่อพวกเขาได้ศึกษาอุตสาหกรรมรถยนต์อย่างลึกซึ้งแล้วนั้น พบว่าไม่ง่ายเลยในการเข้าสู่อุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า บริษัทใหญ่ ๆ อย่าง ฟอร์ด GM หรือ BMW แทบจะไม่ได้ผลิตชิ้นส่วนต่าง ๆ เองอีกต่อไปแล้ว สิ่งที่พวกเขาควบคุมไว้ มีเพียงแค่เรื่องการวิจัยสันดาปภายใน การขายและการตลาด รวมถึงการประกอบในขั้นสุดท้ายเพียงเท่านั้น

เช่นเดียวกับ สตรอเบิล พวกเขาหานักลงทุนที่จะมาสนใจในอุตสาหกรรมนี้ยากมาก ๆ และมัสก์ คือคำตอบสุดท้ายอีกเช่นเคย เมื่อทั่งคู่ได้มีโอกาสได้พบเจอกับมัส์ และรู้ว่ามัสก์นั้นก็มีแนวคิดเรื่องพลังงานทดแทน และยานพาหนะที่ใช้ไฟฟ้าขับเคลื่อนเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว

เอเบอร์ฮาร์ด กับ ไรท์ ก็บินไปพบมัสก์ ที่ลอสแอนเจลิส ทันที่ และ ด้วยคำถามเพียงไม่กี่ข้อจากมัสก์เกี่ยวกับโมเดลธุรกิจ และโมเดลด้านการเงิน และไม่นาน มัสก์ ก็โอเค ตกลง และพร้อมจะลุยกับ Tesla Motors ด้วย

การได้เจอนักลงทุนอย่างมัสก์ ซึ่งมีวิสัยทัศน์เดียวกันนั้น มันไม่ใช่เพียงแค่เรื่องเงินลงทุน เท่านั้น แต่มันกลายเป็นเป้าหมายใหม่ที่เหมือน ๆ กัน คือการใช้พลังงานทดแทน และ หยุดการเสพติดน้ำมันของสหรัฐอเมริกา และด้วยเงินทุน ที่มัสก์ให้มา 6.5 ล้านเหรียญนั้น มันได้ทำให้ มัสก์กลายเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของ Tesla และประธานบริษัทในภายหลัง

ส่วนสตรอเบิลนั้น มัสก์ก็ให้เข้ามาร่วมทีม Tesla ทันที และตอนนี้ Tesla ก็กลุ่มคนที่เรียกว่าบ้าที่สุดมารวมกัน เพื่อจะเปลี่ยนโลกใบนี้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว 

แต่ปัญหาคือ การสร้างรถยนต์ มันไม่เหมือน การสร้าง application ที่เหล่า startup ในซิลิกอน วัลเลย์ นั้นสามารถหาวิศวกรระดับเทพได้ไม่ยาก แต่การจะหาคนในอุตสาหกรรมรถยนต์นั้นมันไม่ง่ายเลยทีเดียว

แต่ด้วย connection ของ สตรอเบิล ที่ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ก็ได้ดึงมือดี ที่ได้วิจัยงานที่เกียวข้องกับรถพลังงานแสงอาทิตย์มาร่วมทีมได้ และดึงดูดเอาเหล่าอัจฉริยะแต่ละสาขามาร่วมกันสร้างรถยนต์แห่งอนาคต ที่ตอนนั้นพวกเขาตั้งชื่อโค้ดเนมว่า โร้ดส์เตอร์

ดึงเหล่านักวิจัยจากสแตนฟอร์ดที่เคยทำวิจัยเกี่ยวกับแบตเตอรี่มาแล้ว
ดึงเหล่านักวิจัยจากสแตนฟอร์ดที่เคยทำวิจัยเกี่ยวกับแบตเตอรี่มาแล้ว

และมันก็ถึงเวลาต้องหา โรงงานจริง ๆ จัง  ๆ เพื่อจะได้ทำการวิจัยได้ดียิ่งขึ้น พวกเขาได้เจอกับอาคารเก่าที่เป็นโรงงานอุตสาหกรรมมาก่อน กว้างขนาด 10,000 ตารางฟุต ซึ่งเป็นพื้นที่พอที่จะสร้างห้องวิจัย รวมถึงแผนกต่าง ๆ รวมถึงที่สำหรับประกอบรถยนต์ในขั้นตอนสุดท้ายให้สำเร็จ

แผนแรกของรถยนต์ต้นแบบนั้น พวกเขา จะใช้ชิ้นส่วนจากผู้ผลิตภายนอกเป็นส่วนใหญ่ทั้ง ชุดเกียร์ จากบริษัทในอเมริกา ชิ้นส่วนอื่นๆ จากเอเชีย วิศวกรเทสลานั้นจะโฟกัสไปที่การพัฒนาระบบชุดแบตเตอรี่ เดินสายไฟในรถ รวมทั้งการตัดและเชื่อมโลหะที่จำเป็นเพื่อประกอบทุกส่วนเข้าด้วยกันเท่านั้น

รถคันแรกนั้นเสร็จอย่างรวดเร็ว ใช้วิศวกรเพียงแค่ 18 คนเท่านั้นในการสร้างมันขึ้นมา แต่พวกเขายังต้องนำมาทดสอบเพื่อวิจัยปัญหาของแบตเตอรี่เพิ่มเติม เป้าหมายของมัสก์คือต้องการที่จะวางจำหน่ายรถยนต์รุ่นแรกอย่างโรดส์เตอร์ให้ผู้บริโภคในช่วงต้นปี 2006 ให้ได้

โรดส์เตอร์ รุ่นแรกที่มัสก์ ต้องการวางจำหน่ายในปี 2006
โรดส์เตอร์ รุ่นแรกที่มัสก์ ต้องการวางจำหน่ายในปี 2006

แต่ปัญหาคือ หลังการทดสอบ ทีมวิศวกรได้พบข้อบกพร่องต่าง ๆ มากมาย ปัญหาใหญ่คือหากแบตเตอรี่ในรถติดไฟขึ้นมา แล้วมันระเบิด มันสามารถทำลายผู้ขับจนไม่เหลือซากได้เลยกับแบตเตอรี่ที่จะใส่ในรถรุ่นแรกอย่างโรดส์เตอร์

มันคงเป็นฝันร้ายน่าดู หากมีข่าวว่ารถของพวกเขานั้น เหล่า Celeb ชื่อดังหรือคนรวย ๆ ที่ต้องการรถ ถูกย่างสดจากไฟคลอกรถ พวกเขาต้องทำทุกวิถีทางเพื่อพัฒนาวิธีจัดวางเพื่อไม่ให้ไฟลามจากแบตเตอรี่ไปยังอีกก้อน เพื่อไม่ให้มันระเบิดขึ้นพร้อม ๆ กัน 

ซึ่งหลังจากพวกเขาแก้ปัญหานี้ได้นั้น ก็ถือได้ว่าพวกเขาได้ทิ้งห่างคู่แข่งไปอีกหลายปี ซึ่งมันเป็นความพยายามที่คุ้มค่าสำหรับพวกเขาเป็นอย่างมาก และนี่เป็นหมุดหมายสำคัญของความก้าวหน้าที่ยิ่งใหญ่ของเทสลา ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคต

ในกลางปี 2007 เทสลาเติบโตขึ้นจนมีพนักงานกว่า 260 คน และดูเหมือนว่ากำลังจะทำสิ่งที่เป็นไปไม่ได้สำเร็จขึ้นมาจริง ๆ เทสลาจะกลายเป็นนวัตกรรมใหม่ของอุตสาหกรรมรถยนต์ สร้างรถยนต์ไฟฟ้าที่สวยงาม และมีประสิทธิภาพ และสามารถวิ่งได้เร็วที่สุดในโลก แต่สิ่งที่ท้าทายที่สุดในการผลิตรถยนต์ คือ การผลิตรถในจำนวนมากนั่นเอง

และปัญหาใหญ่อย่างนึง มันก็เกิดขึ้นในบ้านเราที่ประเทศไทยนี่เอง เทสลาต้องการตั้งโรงงานแบตเตอรี่ขึ้นในประเทศไทย ซึ่งเทสลาได้ตกลงเป็นคู่ค้ากับหุ้นส่วนผู้ผลิตที่กระตือรือร้น และมีความทะเยอทะยานมากที่สุดคนหนึ่ง แล้วเทสลาจะเจอกับปัญหาอะไรในประเทศไทย หุ้นส่วนผู้กระตือรือร้นคนนั้นจะเป็นใครหนอ? การผลิตในจำนวนมากนั้นเทสลาจะต้องเจอกับอะไรอีกบ้าง โปรดอย่าพลาดติดตามตอนต่อไปครับผม

–> อ่านตอนที่ 10 : The Show Musk Go On

<– ย้อนกลับไปตอนที่ 1 :Sand Hill Road *** อย่าลืมกดแชร์ให้เพื่อน ๆ คุณได้อ่านนะครับผม***

Credit แหล่งข้อมูลบทความ