จากคองโกถึงรัฐสภาสหรัฐฯ กับยุคทองของทฤษฎีสมคบคิด ที่กำลังเรืองอำนาจแบบสุดขีด

ในปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา หลังจากที่รัฐบาลอังกฤษยกเลิกข้อจำกัดส่วนใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับ COVID-19 แต่ก็ยังมีผู้ประท้วงหลายพันคนมารวมตัวกันที่จัตุรัสทราฟัลการ์ในลอนดอน เพื่อประท้วงในเรื่องการล็อกดาวน์ของรัฐบาล

ในบรรดาผู้ที่มาปราศัยนั้นรวมไปถึง Piers Corbyn (น้องชายของอดีตหัวหน้าพรรคแรงงาน) ผู้ซึ่งสนับสนุนทฤษฎีว่า COVID-19 เป็นเรื่องหลอกลวง หรือ David Icke นักเขียนชื่อดัง และ Gillian McKeith อดีตพยาบาลผู้สร้างทฤษฎีที่เชื่อว่าอาหารที่ดีก็เพียงพอที่จะหยุดไวรัสได้

ต้องบอกว่า เรื่องราวข้างต้นมันได้กลายเป็นเรื่องธรรมดาไปเสียแล้วในตอนนี้ ไม่เพียงแค่ในประเทศอังกฤษ แต่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นทั่วโลก

คลื่นสึนามิ Fake News

การแพร่ระบาดครั้งใหญ่ของ COVID-19 นั้น เปรียบเหมือนคลื่นสึนามิข้อการเผยแพร่ Fake News ที่ระบาดไปทั่วโลก พร้อม ๆ กับแพร่ระบาดของโรค

ในประเทศฝรั่งเศส มีสารคดีที่กล่าวหาว่า COVID-19 ถูกสร้างขึ้นโดยชนชั้นสูงทางการเมืองซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนการสมคบคิดเพื่อทำให้เกิดระเบียบโลกใหม่ ซึ่งมีคนเข้าชมถึง 2.5 ล้านครั้งภายในสามวันหลังการเผยแพร่

แม้กระทั่งในประเทศสหรัฐอเมริกาเอง ความคิดทีว่า COVID คือเรื่องหลอกลวงได้แพร่กระจายไปพร้อมกับทฤษฎีที่ร้อนแรงที่เรียกว่า QAnon ซึ่งเป็นทฤษฎีที่กล่าวถึงรัฐบาลที่ดำเนินการโดยกลุ่มคนเฒ่าหัวงู และ Donald Trump คือ ผู้ที่มาปราบปรามพวกเขาเหล่านี้

ซึ่งก็ต้องบอกว่ายุคนี้เป็นยุคเรืองอำนาจแบบสุดขีดของทฤษฎีสมคบคิดเหล่านี้ อินเทอร์เน็ตและเครือข่ายโซเชีลมีเดียทำให้ง่ายต่อการแพร่กระจาย ซึ่งไม่ใช่แค่เหล่าประเทศยากจนที่ผู้คนเข้าถึงการศึกษาน้อยเท่านั้น แต่มันยังรวมกระทั่งประเทศร่ำรวยที่สุดอีกด้วย

ในประเทศไนจีเรียมีทฤษฎีสมคบคิดที่ว่า Muhammadu Buhari ประธานาธิบดีที่เสียชีวิตในลอนดอนเมื่อปี 2017 ถูกปลอมตัวในร่างชาวซูดานที่เรียกวา Jibril

ในประเทศอินเดีย รัฐบาลของ Narendra Modi กล่าวหาว่า Greta Thunberg ซึ่งเป็นวัยรุ่นนักเคลื่อนไหวด้านสภาพอากาศชาวสวีเดน เป็นส่วนหนึ่งของแผนการระดับโลกที่จะหมิ่นประมาทชาในประเทศของเขา

มีแนวความคิดที่แพร่หลายไปทั่วตะวันออกกลางว่าการโจมตีเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2001 เป็นปฏิบัติการที่อิสราเอลวางแผนไว้

แน่นอนว่ามันมีหลายความเชื่อที่อาจจะดูน่าขัน และไม่มีอันตราย เช่น ความคิดที่ว่า Elvis Presley ยังมีชีวิตอยู่และอาศัยอยู่ในคาลามาซู มิชิแกน

อย่างไรก็ตามความเชื่อในเรื่องทางการเมืองนั้นรุนแรงกว่า Quassim Cassam จากมหาวิยทาลัย Warwick ในสหราชอาณาจักร กล่าวว่า “รูปแบบการโฆษณาชวนเชื่อทางการเมืองนั้นสำคัญที่สุด”

พลังของโฆษณาชวนเชื่อทางการเมืองนั้น เป็นการให้คำอธิบายแก่ผู้คนเกี่ยวกับโลกที่โทษความโชคร้ายของพวกเขาที่มีต่อศัตรูทางด้านการเมือง แต่ส่วนใหญ่มักจะเป็นเรื่องไร้สาระ ความสามารถในการจูงใจผู้คน คือสิ่งที่ทำให้พวกเขาเป็นอันตรายเป็นอย่างยิ่ง

จุดเริ่มต้นที่คองโก

และเพื่อเข้าใจถึงวิธีที่พวกเขาเผยแพร่ทฤษฎีสมคิดทางด้านการเมือง จุดเริ่มต้นคือสาธารณรัฐประชาธิปไตยคองโก

Valentin Mubake นักการเมืองสูงวัยได้นำเสนอทฤษฎีสมคบคิดที่พบบ่อยที่สุดในประเทศ ต้องบอกว่าปัญหาของประเทศคองโกนั้นเริ่มต้นในช่วงกลางทศวรรษ 1990 เมื่อ Paul Kagameได้จัดการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของชาวรวันดาทุตซิส นั่นทำให้เขาได้รับเสียงสนับสนุนทางการเมืองเพื่อยึดครองรวันดาและบุกคองโกในช่วงเวลาที่อ่อนแอที่สุด

Valentin Mubake นักการเมืองสูงวัยได้นำเสนอทฤษฎีสมคบคิดโจมตีชาวรวันดา (CR:UDPS LE PEUPLE)
Valentin Mubake นักการเมืองสูงวัยได้นำเสนอทฤษฎีสมคบคิดโจมตีชาวรวันดา (CR:UDPS LE PEUPLE)

“Tony Blair และ Bill Clinton ทำงานร่วมกับ Kagame เพื่อเตรียมทำสงครามที่จัดขึ้นโดยสหรัฐอเมริกา” Mubake กล่าว เขาอ้างว่าสหประชาติทำการสังหารหมู่และแพร่กระจายโรคต่าง ๆ เช่น อีโบลา เพื่อให้แผนดำเนินการต่อไป

ต้องบอกว่าแนวคิดนี้ได้รับการยอมรับการอย่างกว้างขวางในประเทศคองโก ซึ่ง แนวคิดสร้างความเกลียดชังชาวรวันดาจุดชนวนให้เกิดความรุนแรงทางชาติพันธุ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับชาวคองโกทุตซิส

ความเชื่อที่ว่า อีโบลา เป็นแผนการของต่างประเทศได้นำไปสู่การนำกองกำลังติดอาวุธบุกไปที่คลินิกที่เต็มไปด้วยผู้ป่วย และ ทำการปลดปล่อยผู้ป่วยเหล่านี้ ซึ่งทำให้เชื้อยิ่งแพร่กระจายไปอย่างรวดเร็วมากยิ่งขึ้น

ประชาชนชาวคองโกปฏิเสธที่จะรับวัคซีน COVID-19 เนื่องจากกลัวว่าจะเป็นส่วนหนึ่งของแผนการดังกล่าว Rodiguez Katsuva นักข่าวชาวคองโก ผู้ก่อตั้ง Congo Check ซึ่งเป็นเว็บไซต์ตรวจสอบข้อเท็จจริงกล่าวว่า ทฤษฎีสมคบคิดเหล่านี้ คือ การฆ่าชาวคองโกที่แท้จริงต่างหาก

หรือแม้กระทั่งการการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐในปี 2016 ที่ ประธานาธิบดี Donald Trump เอาชนะ Hillary Clinton ไปได้ ก็มีประเด็นในโลกออนไลน์มากมายที่มีการกล่าวหา Hiallry Clinton

มีทฤษฎีสมคบคิด ถูกเผยแพร่บนโลกออนไลน์ โดยเฉพาะผ่านเครือข่ายโซเชีลมีเดียจำนวนมาก ที่มุ่งโจมตี Clinton ในช่วงท้าย ๆ ของการเลือกตั้ง

Hillary Clinton ที่ถูกโจมตีอย่างรุนแรงผ่านเครือข่ายโซเชีลมีเดียในช่วงท้ายของการเลือกตั้ง (CR:The New York Times)
Hillary Clinton ที่ถูกโจมตีอย่างรุนแรงผ่านเครือข่ายโซเชีลมีเดียในช่วงท้ายของการเลือกตั้ง (CR:The New York Times)

แน่นอนว่าสิ่งเหล่านี้ ได้รับความช่วยเหลืออย่างดีจากสื่อยุคใหม่ โดยเฉพาะสื่อโซเชียลมีเดีย ในยุคปัจจุบันเราสามารถหาข่าวปลอมเหล่านี้ได้มากมาย และที่สำคัญยิ่งเป็นข่าวปลอม มันมีโอกาสที่จะถูกแชร์ และกระจายเป็นวงกว้างได้มากกว่า ผ่านอัลกอริธึมเบื้องหลังของเครือข่ายโซเชียลมีเดีย ไม่ว่าจะเป็น Facebook หรือ Twitter

และ Trump เองได้รับประโยชน์ไปเต็ม ๆ จากเครือข่ายข่าวลวงแบบนี้ โดยเฉพาะเรื่องราวสุดฉาวของ Hillary Clinton ที่ยิ่งทำให้ข่าวปลอมเหล่านี้ถูกกระพือให้ยิ่งกระจายออกเป็นวงกว้างมากยิ่งขึ้น

ในเดือนกุมภาพันธ์ Mitch McConnell หัวหน้าพรรครีพับลิกันในวุฒิสภาเรียกทฤษฎีสมคบคิดว่าเป็น “มะเร็ง” ในพรรคของเขา แต่เขายังคงโหวตให้พ้นผิดจาก Trump ที่ใช้พวกเขาเพื่อปลุกระดมการจลาจลที่รัฐสภาสหรัฐฯ

Ted Cruz วุฒิสมาชิกพรรครีพับลิกันประณาม Trump ที่อ้างว่าเขาเกิดในต่างประเทศอย่างไม่มีมูลความจริง แต่ในปี 2020 เขาสนับสนุนข้อกล่าวหาเท็จของ Trump ว่าการเลือกตั้งประธานาธิบดีถูกขโมยผลไป 

นั่นอาจเป็นเพราะในพรรครีพับลิกันเองเหล่าผู้มีอำนาจจำนวนมากเชื่อว่าเรื่องที่ Trump กล่าวมากกว่าความเป็นจริงที่เกิดขึ้น โดยมีถึง 45 คนในกลุ่ม QAnon ลงสมัครรับเลือกตั้งในสภาคองเกรสในปี 2022 เลยทีเดียว

แล้วจะแก้ไขปัญหาทฤษฎีสมคบคิดเหล่านี้ได้อย่างไร?

ต้องบอกว่าทฤษฏีสมคบคิดที่เกิดขึ้น มันไม่ใช่สิ่งใหม่ของโลก มันมีมานานแล้ว ผ่านสื่อต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น วิทยุ โทรทัศน์ หรือ สื่อสิงพิมพ์ต่าง ๆ ในโลกยุคเก่า

แต่การปฏิวัติข้อมูลข่าวสาร ทำให้เครือข่ายโซเชีลมีเดียนั้นมีอิทธิพลต่อเรื่อง propaganda หรือ ทฤษฎีสมคบคิดเหล่านี้ มากกว่าที่เคยเป็นมา

ส่วนตัวมองว่าพลังของการกระจายข่าวนั้นมันรวดเร็วและรุนแรงยิ่งขึ้นเพราะเครือข่ายโซเชียลมีเดียถูกขับเคลื่อนด้วยพลังของเครื่องจักร หรือ AI ที่สื่อยุคเก่า ๆ ไม่สามารถทำได้ มันทำให้แพร่กระจายได้อย่างรวดเร็วกว่าเดิมมาก ๆ และ อัตราการแพร่กระจายในรูปแบบ exponential

การแก้ปัญหาก็ต้องแก้กันที่เครือข่ายเหล่านี้ น่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด ในปี 2019 Facebook เริ่มจำกัดจำนวนผู้คนเพียง 5 คน ที่สามารถส่งต่อข้อความบน Whatsapp ได้พร้อมกัน

เป้าหมายก็คือเพื่อชะลอการแพร่กระจายของทฤษฎีสมคบคิดเหล่านี้บนแพล็ตฟอร์มของพวกเขา หรือในอินเดีย Facebook ใช้ผู้ดูแลกว่า 15,000 คน เพื่อลบข้อมูลที่บิดเบือน

หรืออีกหนึ่งเครือข่ายแหล่งแพร่กระจายข้อมูลผิด ๆ อย่าง Twitter ได้มีการระงับบัญชี 70,000 บัญชีที่มีการเชื่อมโยงกับ QAnon

ต้องบอกว่าทั้งสองแพล็ตฟอร์มพยายามที่จะระงับโพสต์ที่เผยแพร่ Fake news หรือ ทฤษฎีสมคบคิดที่ไม่เป็นจริงอย่างแข็งขัน ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีครั้งล่าสุดในสหรัฐอเมริกา Facebook ก็เริ่มกวดขันการลงโฆษณาที่เกี่ยวกับประเด็นทางด้านการเมืองมากยิ่งขึ้น

เรื่องราวของทฤษฎีสมคบคิด หรือ การเผยแพร่ข่าวปลอมเหล่านี้ มันไม่ใช่เรื่องใหม่ของโลกเราแต่อย่างใด แต่ตอนนี้ผมมองว่าสิ่งที่ต่างกันอย่างชัดเจน และทำให้ปัญหานี้มันทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น เพราะมันได้ถูกขับเคลื่อนด้วยสิ่งที่เราไม่รู้ถึงพลังอำนาจที่แท้จริงของมันอย่าง Algorithm AI นั่นเองครับผม

References :
https://en.wikipedia.org/wiki/QAnon
https://www.nytimes.com/article/what-is-qanon.html
https://www.nbcnews.com/news/world/congo-s-ebola-response-threatened-conspiracy-theories-rumors-n994156
https://www.economist.com/international/2021/09/04/from-congo-to-the-capitol-conspiracy-theories-are-surging
https://www.usnews.com/news/politics/articles/2021-01-07/mob-at-us-capitol-encouraged-by-online-conspiracy-theories
https://time.com/5703662/ebola-conspiracy-theories-congo/
https://news.yahoo.com/hillary-clinton-says-conspiracies-her-174559859.html


 


ติดตามสาระดี ๆ อัพเดททุกวันผ่าน Line OA



Geek Forever Club พื้นที่ของการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ



Geek Forever’s Podcast


“Open Your World With Technology


AI , Blockchain และเทคโนโลยีใหม่ ๆ กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในหลายธุรกิจ ทั้ง แวดวงการเงิน สุขภาพ หรือ งานด้านบริการต่าง ๆ ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจเกี่ยวกับ AI หรือ Machine Learning

Podcast ของผมจะเล่าเรื่องราวต่าง รวมถึงเรื่องที่ผมสนใจอื่น ๆ เช่น startup หนังสือ หนัง หรือ กีฬาฟุตบอล อยากชวนคนที่สนใจให้ลองมาติดตาม podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Youtube
ฟังผ่าน Youtube