วิกฤตสุขภาพจิต เมื่อ Influencer เป็นตัวเลือกอาชีพสุด Cool อันดับหนึ่งของกลุ่มคนรุ่นใหม่

ในปัจจุบันถ้าใครได้มีโอกาสได้ดูรายการทีวี หลาย ๆ รายการ ที่มีแขกรับเชิญที่เป็นคนทั่วไป แล้วมีคำอธิบายว่าเขาหรือเธอผู้นั้นมีอาชีพอะไร จะสังเกตุเห็นเทรนด์ใหม่ที่มีคนที่ประกอบอาชีพเป็น Influencer โผล่มาเยอะมาก ๆ

จากข้อมูลการสำรวจในปี 2019 พบว่าเด็ก ๆ Generation ใหม่ ๆ นั้น อยากเป็น Youtuber มากกว่านักบินอวกาศเสียอีก มีคนหนุ่มสาวมากถึง 1.3 ล้านคนในสหราชอาณาจักร ต้องการสร้างรายได้ด้วยการสร้างเนื้อหาบนโซเชียลมีเดียของตนเอง

ต้องบอกว่ามันได้กลายเป็นตลาดที่ใหญ่มหึมา ซึ่งมีข้อมูลงานวิจัยที่คาดว่าตลาด Influencer ทั่วโลกนั้นจะมีมูลค่าประมาณ 13.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ในปี 2021 ที่ผ่านมา เหล่า Influencer ชั้นนำของวงการเช่น Zoella และ Deliciously Ella สร้างรายได้ประมาณ 4.7 ล้านปอนด์ และ 2.5 ล้านปอนด์ ตามลำดับ และมีผู้คนอีกกว่า 300,000 คน ที่อายุระหว่าง 18-26 ปี ใช้การสร้างคอนเทนต์บนเครือข่ายโซเชียลมีเดียของตนเองเป็นแหล่งรายได้หลัก

Deliciously Ella ที่เป็น Influencer ชั้นนำในสหราชอาณาจักร (CR:Daily Mail)
Deliciously Ella ที่เป็น Influencer ชั้นนำในสหราชอาณาจักร (CR:Daily Mail)

แต่ภายใต้ภาพลักษณ์ที่ดูสวยหรูของเหล่า Influencer นั้น มีปัญหาสังคมต่าง ๆ ตามมาอีกมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการเหยียดเพศ เชื้อชาติ และปัญหาที่สำคัญในเรื่องสุขภาพจิตที่เกิดขึ้นที่กำลังส่งผลกระทบต่อกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ต้องการยึดอาชีพดังกล่าวเป็นแหล่งช่องทางในการหาเลี้ยงชีพหลัก

เหล่า Influencer ที่ประสบความสำเร็จเป็นคนแรก ๆ มักอ้างว่าใครก็สามารถที่จะประสบความสำเร็จเหมือนอย่างพวกเขาได้ มักมีคำพูดที่ว่า ทุกคนมีเวลา 24 ชั่วโมงเท่ากันในหนึ่งวัน แต่ในความเป็นจริงแล้วนั้น มีเพียงไม่กี่คนที่สามารถหล่อเลี้ยงชีพด้วยด้วยอาชีพนี้

ผู้เชี่ยวชาญด้านโซเชียลมีเดีย Brooke Erin Duffy ได้ทำการค้นคว้าเกี่ยวกับอาชีพของ blogger ด้านแฟชั่น หรือ ความงาม และกลุ่มนักออกแบบ

เธอได้เปิดเผยให้เห็นช่องว่างขนาดใหญ่ระหว่างกลุ่มคนที่ร่ำรวยในฐานะผู้มีอิทธิพลและคนอื่น ๆ ที่พยายามที่จะผลักดันตัวเองให้กลายเป็น Influencer ซึ่งส่วนใหญ่คนกลุ่มหลังมักจะได้รับงานแบบฟรี ๆ สำหรับงาน PR ขององค์กรต่าง ๆ เสียมากกว่า

รายงานในเดือนเมษายน 2022 คณะกรรมการด้านดิจิทัล วัฒนธรรม สื่อและการกีฬา (DCMS) ของรัฐสภาอังกฤษระบุว่า ความเหลื่อมล้ำในการจ่ายเงินเป็นประเด็นสำคัญในอุตสาหกรรม Influencer

มีช่องว่างในการจ่ายเงินที่มีการแบ่งแยกตามเพศ เชื้อชาติ และความทุพพลภาพ ซึ่งรายงานของ DCMS อ้างถึงการศึกษาในปี 2020 จาก MSL Group ซึ่งเป็นบริษัทประชาสัมพันธ์ระดับโลก ที่พบว่ามีช่องว่างของรายได้ระหว่างกลุ่ม Influencer ผิวขาวและผิวสี ที่แตกต่างกันถึง 35%

รวมถึงเรื่องปัญหาความเสี่ยงของการกำหนดระดับเพดานค่าจ้างก็ได้เริ่มทวีความรุนแรงขึ้นในอุตสาหกรรม Influencer เนื่องจากไม่มีมาตรฐานอุตสาหกรรมที่ชัดเจนนักและมีความโปร่งใสเพียงเล็กน้อยเท่านั้น

เหล่า Influencer โดยเฉพาะกลุ่มหน้าใหม่มักจะถูกให้ประเมินมูลค่าของตนเอง และคนกลุ่มนี้มักจะประเมินค่าแรงการสร้างสรรค์ของตัวเองต่ำเกินไป และหลายคนก็จบลงด้วยการทำงานแบบฟรี ๆ

เมื่ออัลกอริธึมคือผู้สร้าง Influencer

เหล่า Influencer ส่วนใหญ่มักจะตกเป็นทาสของอัลกอริธึม ที่อยู่เบื้องหลังที่กำหนดว่าโพสต์ใดที่จะแสดงต่อผู้ใช้ แม้จะมีข้อมูลบางส่วนที่แพลตฟอร์มเปิดเผยออกมาว่าอัลกอริธึมของพวกเขาเป็นอย่างไร แต่ท้ายที่สุดแล้วอัลกอริธึมเหล่านี้ก็เป็นตัวกำหนดว่าใครและสิ่งใดที่จะมองเห็นได้ และจะเปลี่ยนแปลงเมื่อใดก็ได้

ซึ่งในการทำงานกับ Influencer บน Instagram ผู้เชี่ยวชาญด้านอัลกอริธึมอย่าง Kelley Cotter ได้เน้นย้ำว่าการแสวงหาอิทธิพลบนเครือข่ายโซเชียลมีเดียแห่งนี้ได้กลายเป็นเกมแห่งการสร้างการมองเห็นได้อย่างไร

เหล่า Influencer ส่วนใหญ่มักจะตกเป็นทาสของอัลกอริธึม (CR:Bonfire Media)
เหล่า Influencer ส่วนใหญ่มักจะตกเป็นทาสของอัลกอริธึม (CR:Bonfire Media)

เหล่า Influencer ต้องโต้ตอบกับแพลตฟอร์มและอัลกอริธึมของแพลตฟอร์ม ในรูปแบบที่พวกเขาหวังว่าจะได้รับการตอบแทนด้วยการเพิ่มการมองเห็น

และแน่นอนว่าภัยคุกคามจากการความไม่แน่นอนของอัลกอริธึมนี่เองที่เป็นสิ่งที่สร้างความไม่มั่นคงอย่างต่อเนื่องสำหรับเหล่า Influencer ซึ่งต้องตกอยู่ภายใต้แรงกดดันอย่างต่อเนื่องในการโพสต์ลงไปในฟีดของแพลตฟอร์มเพื่อสร้างเนื้อหาที่ดึงดูดใจ

ซึ่งหากพวกเขาทำบางอย่างผิดพลาด พวกเขาอาจจะถูกลงโทษ อาจจะถูกแบน ลดการแสดงผล หรือซ่อนการแสดงผลไม่ให้ใครเห็นได้เลย นั่นทำให้อัลกอริธึมเปรียบดั่งพระเจ้าของเหล่า Influencer ทุกคน ที่มันสามารถที่จะตัดสินชะตาชีวิตของพวกเขาได้แบบทันทีทันใด

วิกฤตสุขภาพจิต

นั่นเองที่ทำให้กลายเป็นปัญหาใหญ่กับสังคม ด้วยสถานะที่ต้องออนไลน์อย่างต่อเนื่องเหมือนสิ่งเสพติดไม่มีผิดเพี้ยน นั่นเองที่นำไปสู่ปัญหาด้านสุขภาพจิต

เหล่า Influencer สามารถออนไลน์ตลอดทั้งวันทั้งคืนเพื่อเชื่อมต่อกับกลุ่มเป้าหมายของเขา และสำหรับหลาย ๆ คนมันแทบไม่มีการแยกระหว่างงานและชีวิตส่วนตัวอีกต่อไป

และด้วยความกลัวที่จะถูกลดการมองเห็น นั่นทำให้เหล่า Influencer ต้องทำงานกันแบบ overload อยู่ตลอดเวลา และ เผชิญกับปัญหาสุขภาพจิตตามมา

อัลกอริธึมที่โรคจิตของแพลตฟอร์มยังทำให้เหล่า content creator สร้างเนื้อหาที่มีความสุ่มเสี่ยงจะถูกล่วงละเมิดทางออนไลน์ได้เป็นอย่างมาก ทั้งในแง่รูปลักษณ์หรือสิ่งที่พวกเขาทำ ความ fake ของชีวิตที่ดูสวยหรู ซึ่งบางครั้งจำเป็นต้องถ่ายทอดออกมาแม้สภาพจิตใจจะสูญสิ้นก็ตามที

ทั้งหมดทั้งมวลนำไปสู่ปัญหาทางสุขภาพจิตและร่างกาย ซึ่งรวมถึงภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล ความผิดปกติต่างๆ ของร่างกาย หรือแม้กระทั่งความผิดปกติของการกิน

บทสรุป

แม้ว่าการเป็นผู้มีอิทธิพลอาจจะดูน่าสนใจสำหรับผู้คนจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่ด้านมืดของอุตสาหกรรมก็เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องมีการเปิดเผยให้เห็นออกมา ซึ่งท้ายที่สุดแล้วจะนำไปสู่การปรับปรุงให้ดีขึ้นผ่านกฎระเบียบต่าง ๆ ทั้งการจ้างงาน การต่อสู้กับแพลตฟอร์ม หรือ การลดปัญหาทางสังคมที่อาจจะเกิดขึ้นและนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นกับอุตสาหกรรมนี้ในอนาคตได้นั่นเองครับผม

References :
https://www.theguardian.com/us-news/2019/jan/08/instagram-influencers-psychology-social-media-anxiety
https://journals.sagepub.com/doi/pdf/10.1177/1461444818815684
https://committees.parliament.uk/publications/22107/documents/164150/default
https://mslgroup.com/whats-new-at-msl/msl-study-reveals-racial-pay-gap-influencer-marketing


 


ติดตามสาระดี ๆ อัพเดททุกวันผ่าน Line OA



Geek Forever Club พื้นที่ของการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ความรู้ ด้านธุรกิจ เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ใหม่ ๆ ที่น่าสนใจ



Geek Forever’s Podcast


“Open Your World With Technology


AI , Blockchain และเทคโนโลยีใหม่ ๆ กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในหลายธุรกิจ ทั้ง แวดวงการเงิน สุขภาพ หรือ งานด้านบริการต่าง ๆ ผมเป็นคนหนึ่งที่สนใจเกี่ยวกับ AI หรือ Machine Learning

Podcast ของผมจะเล่าเรื่องราวต่าง รวมถึงเรื่องที่ผมสนใจอื่น ๆ เช่น startup หนังสือ หนัง หรือ กีฬาฟุตบอล อยากชวนคนที่สนใจให้ลองมาติดตาม podcast ของผมกันด้วยนะครับ

ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน podbean
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Apple Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Google Podcasts
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Spotify
ฟังผ่าน Youtube
ฟังผ่าน Youtube