Movie Review : Tick, Tick… BOOM! เรื่องราวของ Jonathan Larson ฉายแววในละครเพลงที่ขับขานจากใจ

เป็นอีกหนึ่งภาพยนต์ที่น่าสนใจมาก ๆ เลยทีเดียวสำหรับ Tick,Tick… BOOM! จาก Netflix ซึ่งชื่อเรื่องมาจากผลงานการประพันธ์เพลงและบทละครเรื่องสุดท้ายของ โจนาธาน ลาร์สัน ที่มีชื่อว่า “Rent” และได้ถูกนำมาพัฒนาต่อ จนกระทั่งกลายมาเป็นโชว์ชื่อดังที่ broadway ในอีก 6 ปีต่อมา หลังจากที่ โจนาธาน ได้เสียชีวิตไป

โดยโจนาธานเป็นผู้เขียนบทละครเวทีเรื่อง “Rent” ที่ได้รับรางวัลมากมาย อาทิ รางวัลโทนี่สาขาละครเพลงยอดเยี่ยมในปี 1996 “Rent” ได้รับรางวัลพูลิตเซอร์สาขาดราม่าในปี 1996 ซึ่งถือเป็นรางวัลทรงเกียรติที่ละคร “Hamilton” ของลิน มานูเอลได้รับในปี 2016

มีละครเวทีสาขาดราม่าเพียง 9 เรื่องเท่านั้นที่ได้รับรางวัลนี้ แต่โจนาธานได้เสียชีวิตในคืนก่อนรอบการแสดงรอบปฐมทัศน์ที่ Off-Broadway มีการจัดแสดง “Rent” นานถึง 12 ปีในบรอดเวย์ ซึ่งถือว่าเป็นละครที่มีการแสดงยาวนานที่สุดติดอันดับที่ 11 ในประวัติศาสตร์บรอดเวย์

เรื่องนี้ได้ดาราระดับซุปเปอร์สตาร์และคว้ารางวัลมามากมาย ร่วมในการแสดง โจชัว เฮนรี่ (จาก “See”) จะมาร่วมแสดงในบท “โรเจอร์”  แบรดลีย์ วิทฟอร์ด ผู้คว้ารางวัลเอมมี่  (จาก “The Handmaid’s Tale” “Perfect Harmony”) รับบท “สตีเฟน ซอนด์ไฮม์” และ  จูดิธ ไลต์ ผู้คว้ารางวัลเอมมี่และรางวัลโทนี่ (จาก “นักกวนเมือง (The Politician)” “Transparent”) รับบท “โรซ่า สตีเว่น” 

โดยทั้งหมดจะแสดงร่วมกับ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ ผู้ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลออสการ์ ในบท “จอน” อเล็กซานดร้า ชิปป์ ในบท “คาเรสซ่า” โรบิน เด เฮซุส ผู้ได้รับการเสนอชื่อเข้าชิงรางวัลเอมมี่สามสมัย ในบท “ไมเคิล” และวาเนสซา ฮัดเจนส์ ในบท “ซูซาน” 

Tick, Tick…BOOM!” เป็นเรื่องราวในปี 1990 ที่ติดตามชีวิตจอน พนักงานเสิร์ฟในนิวยอร์กที่ใฝ่ฝันอยากเป็นนักแต่งเพลง เขาได้แต่งละครเพลง “Superbia” โดยหวังว่าจะกลายเป็นละครเพลงที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของอเมริกาและทำให้ตัวเองแจ้งเกิดได้

ในขณะเดียวกันก็รู้สึกกดดันจากซูซาน แฟนสาวที่เบื่อกับการต้องรอเพื่อให้อาชีพของจอนถึงฝั่งฝัน ส่วนไมเคิล เพื่อนสนิทและเพื่อนร่วมห้องของเขาก็ได้ละทิ้งความฝัน และได้หันไปทำงานในวงการโฆษณาที่จ่ายเงินอย่างงาม และมีความมั่นคงทางการเงินที่มากกว่าการฝันลม ๆ แล้ง ๆ อย่างที่จอนทำ

วันเกิดปีที่ 30 ใกล้เข้ามาแล้ว จอนยิ่งรู้สึกกังวลและเริ่มคิดทบทวนว่าการทำฝันให้เป็นจริงครั้งนี้จะคุ้มกับสิ่งที่เสียไปไหม

เรื่องนี้ได้ แอนดรูว์ การ์ฟิลด์ มารับบทเป็น โจนาธาน ลาร์สัน ต้องบอกว่าเป็นอีกหนึ่งผลงานระดับมาสเตอร์พีซ ของ การ์ฟิลด์เลยก็ว่าได้ ด้วยพรสวรรค์ทางด้านการแสดงของเขา และการสวมบทบาทได้อย่างยอดเยี่ยม เหมือนกับว่าเขาเป็น โจนาธาน ลาร์สัน ตัวจริง

เรื่องนี้ต้องบอกว่าลืมภาพเก่า ๆ ของ การ์ฟิลด์ไปได้เลย เป็นการรีดศักยภาพการแสดงของเขาออกมาได้อย่างสุดยอดมาก ๆ ทั้งร้องเพลง ทั้งร้องไห้ ทั้งผิดหวัง สมหวัง หรือแม่กระทั่งการแสดงแบบสุดโต่ง ซึ่งผมคิดว่าเป็นภาพยนต์ที่รีดเอาพลังการแสดงของเขาออกมาได้มากที่สุดเรื่องนึงเลยทีเดียว

มีการถ่ายทอดความสัมพันธ์ ทั้งระหว่างเพื่อนด้วยกัน รวมถึงแฟนสาวของจอนอย่างซูซาน ที่วาดฝันชีวิตในมหานครนิวยอร์กไว้อีกแบบ ซึ่งด้วยอะไรหลายๆ อย่างที่บีบคั้นจอนเอง นั่นทำให้เขาต้องเลือกตัดสินใจทางเดินชีวิตว่าเขาจะทำตามควาฝันของเขาต่อไปหรือไม่

ต้องบอกว่าภาพยนต์เรื่องนี้มีหลากหลายประเด็นที่เกี่ยวข้อง ทั้งเรื่องของสภาพสังคมของอเมริกาในยุคนั้น ปัญหาเรื่องโรคร้ายที่ถูกมองว่าเป็นโรคที่น่ากลัวใครติดแล้วต้องเสียชีวิตอย่างโรคเอดส์ กับเรื่องของเพศสภาพ LGBTQ 

แต่ภาพใหญ่ที่ภาพยนต์ต้องการสื่อ ผมมองว่าเป็นเรื่องของการสร้างแรงบันดาลใจ ในการทำตามความฝันของ โจนาธาน แม้ว่าจะผ่านอุปสรรคมามากมายขนาดไหนก็ตามที

แต่จุดต่างที่ไม่เหมือนกับภาพยนต์สร้างแรงบันดาลใจเรื่องอื่น ๆ ก็คือการถ่ายทอดในรูปแบบของละครเพลง ซึ่งเพลงประกอบในหนัง tick, tick…BOOM! นำมาจากเวอร์ชั่นละครเวทีแทบจะทั้งหมด

ซึ่งแน่นอนว่าเป็นต้นฉบับที่ โจนาธาน ลาร์สัน ทำออกมาได้ยอดเยี่ยมและมีความลงตัวเอามาก ๆ เมื่อนำมาใช้ถ่ายทอดผ่านตัวภาพยนต์ ก็กลายเป็นส่วนที่ส่งเสริมเนื้อหาและอารมณ์ของภาพยนต์ ในหลายๆ ฉากได้อย่างยอดเยี่ยมเลยทีเดียว

ต้องบอกว่า Tick,Tick… BOOM! เป็นอีหนึ่งภาพยนตร์ที่สร้างแรงบันดาลใจได้อย่างยอดเยี่ยมไม่แพ้ภาพยนต์ เรื่องดัง ๆ อีกหลายเรื่อง ตัวผมเองก็ไม่เคยรับรู้เรื่องราวของโจนาธานมาก่อน หรือ “Rent” ที่เขาเป็นคนแต่ง ซึ่งคิดว่าหลาย ๆ คนก็น่าจะไม่เคยได้ยินเหมือนกัน

ซึ่งภาพยนต์เรื่องนี้ให้แง่คิดที่สำคัญที่ผมมองว่าชีวิตหลายคนน่าจะเคยประสบพบเจอกับเรื่องราวอะไรแบบนี้ ที่เราพยายามทำอะไรให้ประสบความสำเร็จซักอย่าง พยายามในทุกวิถีทาง แต่มันก็ยังไม่ประสบความสำเร็จเสียที อาจจะท้อถอยไปก่อน แต่ภาพยนต์เรื่องนี้จะมาปลุกไฟคุณให้กลับมาสู้เพื่อเอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ อีกครั้ง เหมือนที่ โจนาธาน ทำได้สำเร็จนั่นเองครับผม

T-Mobile x Sprint การควบรวมสู่ความผูกขาดกับหายนะความล้มเหลวของตลาดเสรี

การตัดสินใจของ กระทรวงยุติธรรมสหรัฐ (United States Department of Justice: DOJ)  ในยุคประธานาธิบดี Donald Trump ที่อนุญาตให้มีการควบรวม ระหว่างเครือข่ายมือถือยักษ์ใหญ่อย่าง T-Mobile และ Sprint เป็นหนึ่งในข้อผิดพลาดในการบังคับใช้กฏหมายการควบรวมกิจการที่เลวร้ายที่สุดในรอบหลายทศวรรษของประเทศอเมริกา

เมื่อ DOJ ในยุค Trump อนุญาตให้ T-Mobile และ Sprint รวมเข้าด้วยกันในเดือนกรกฎาคม 2019 และมีการสัญญาว่าจะเป็นสิ่งที่ดีที่สุดของทั้งสอง ซึ่งผู้บริโภคจะได้รับประโยชน์จากการปรับไปใช้เครือข่าย 5G แบบเร่งด่วนของ T-Mobile

และเพื่อให้การแข่งขันยังอยู่ Makan Delrahim ผู้ช่วยอัยการสูงสุดแผนกป้องกันการผูกขาด ได้วางแผนการที่จะเปลี่ยนผู้ให้บริการทีวีดาวเทียม DISH เพื่อให้มาแทนที่ Sprint ที่ถูกควบรวมไป

แผนของ Delrahim คือ Sprint จะขายทรัพย์สินให้กับ DISH ซึ่งรวมถึงสมาชิกแบบ prepaid 9.3 ล้านรายของ Sprint, แบรนด์ Boost, ใบอนุญาตคลื่นความถี่ 800 MHz และร้านค้า Sprint และเสาสัญญาณโทรศัพท์มือถือที่ T-Mobile ไม่ต้องการ 

จากนั้น DISH จะใช้เครื่องมือเหล่านี้ เพื่อสร้างเครือข่ายไร้สายของตนเองโดยใช้เทคโนโลยีที่พวกเขาไม่เคยมีมาก่อน ซึ่งพวกเขาสามารถให้บริการลูกค้าโดยใช้โครงสร้างพื้นฐานของ T-Mobile ได้เป็นเวลาเจ็ดปี

ไม่ถึงสองปีต่อมา แผนของ Delrahim ก็พังทลายลงแล้ว

ลูกค้าแบบเติมเงิน DISH ที่ได้รับมาจาก Sprint เน้นหาบริการแพ็คเกจที่มีราคาถูก ซึ่งเครือข่ายที่ DISH ได้รับมานั้นทำงานบนมาตรฐาน CDMA แบบเก่าที่ใช้ในเครือข่าย 3G  และ T-Mobile ประกาศว่าจะยุติบริการ CDMA ในเดือนมกราคม 2022 ซึ่งเร็วกว่ากำหนดเดิมเกือบสองปี 

ด้วยการปิดตัวของ T-Mobile ลูกค้าของ DISH จะต้องมา รับอุปกรณ์ใหม่ ซิมใหม่ หรืออัปเกรดผ่านซอฟต์แวร์  ซึ่งส่งผลให้ DISH ต้องทำการอัพเกรดที่ไม่คาดคิดซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายหลายร้อยล้านดอลลาร์

DISH ที่ต้องพบกับอุปสรรคหลัง T-Mobile เตรียมปิดสัญญาณ (CR:CNET)
DISH ที่ต้องพบกับอุปสรรคหลัง T-Mobile เตรียมปิดสัญญาณ (CR:CNET)

การประกาศของ T-Mobile ทำให้ Charlie Ergen ซีอีโอของ DISH ประณามการปิดระบบโดยไม่คาดคิดว่าเป็น “การต่อต้านการแข่งขัน” DISH ได้เตือนนักลงทุนถึงแนวโน้มของการสูญเสียสมาชิกหลายแสนรายอาจกลายเป็นหายนะโดยไม่ช้า

สำหรับ T-Mobile นี่เป็นข่าวดีเนื่องจากสมาชิกจำนวนมากที่ทิ้ง DISH จะต้องหันไปใช้ แพ็คเกจราคาถูกของ T-Mobile แทน แต่สำหรับผู้บริโภคที่อ่อนไหวต่อราคา ซึ่งในอดีตพวกเขาสามารถเลือกระหว่าง T-Mobile และ Sprint ก่อนการควบรวมกิจการ ลูกค้าเหล่านี้รู้สึกไม่พอใจที่ต้องเผชิญกับผู้ให้บริการที่มีการผูกขาด 

ความผิดหวังเหล่านี้ทำให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์อย่างเผ็ดร้อนเกี่ยวกับการควบรวมกิจการ เนื่องจากการควบรวมกิจการได้ก่อให้เกิดอันตรายและคุกคามที่จะสร้างความเสียหายมากขึ้นโดยเฉพาะกับผู้ใช้บริการ ทำให้หมดยุคการแข่งขันด้านราคาอย่างดุเดือดในเครือข่ายไร้สายเหมือนในอดีต

บทเรียนจากการควบรวมกิจการ T-Mobile และ Sprint

ผลที่ตามมาจากการควบรวมกิจการสุดท้าย T-Mobile, AT&T และ Verizon สามยักษ์ใหญ่จะรวมกลุ่มกันเพื่อมอบผลกำไรมหาศาลให้แก่ผู้ถือหุ้นของพวกเขาแทนที่จะคำนึงถึงผู้บริโภค

แน่นอนว่าผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่เป็นกลุ่มคนที่ร่ำรวยที่สุดในอเมริกา ซึ่งกลุ่มคนรวย 10% แรกของผู้ประกอบการชาวอเมริกันเป็นเจ้าของประมาณร้อยละ 80 ของหุ้นทั้งหมดของเครือข่ายทั้งสามแห่ง

แต่ในทางตรงกันข้าม เกือบทุกครัวเรือนของประชาชนชาวอเมริกันต้องซื้อแพ็คเกจเพื่อใช้บริการเครือข่ายไร้สายเหล่านี้ และครัวเรือนที่มีรายได้ต่ำมักจะซื้อแพ็คเกจแบบจ่ายล่วงหน้า ( prepaid ) ซึ่งเป็นกลุ่มที่ T-Mobile และ Sprint แข่งขันกันอย่างดุเดือดก่อนการควบรวมกิจการ

ด้วยถ้อยแถลงล่าสุดสำหรับนักลงทุน T-Mobile มันก็ได้เฉลยความจริงที่ว่าการควบรวมกิจการได้โอนความมั่งคั่งนับพันล้านจากคนอเมริกันโดยเฉลี่ยไปสู่คนรวย ขยายช่องว่างทางด้านรายได้ระหว่างคนรวยกับคนจนเพิ่มมากขึ้น สร้างความเหลื่อมล้ำที่มากขึ้นในสังคม 

และด้วยเหตุผลนี้และอื่นๆ อีกมากมาย ทำให้ข้อตกลงการควบรวมกิจการระหว่าง T-Mobile และ Sprint ได้ถือเป็นหนึ่งในการตัดสินใจบังคับใช้การควบรวมกิจการที่แย่ที่สุดในรอบหลายทศวรรษของประเทศอเมริกานั่นเองครับผม

References : https://promarket.org/2021/04/23/dish-t-mobile-sprint-merger-disastrous-deal-lessons/
https://www.washingtonpost.com/business/2019/06/19/looming-t-mobile-sprint-merger-is-wakeup-call-free-markets-failures/
https://www.houstonchronicle.com/techburger/article/Here-s-what-the-merger-of-T-Mobile-and-Sprint-15047121.php
https://www.techspot.com/news/83927-t-mobile-adds-another-million-postpaid-customers-ahead.html

 

Geek Monday EP111 : วิธีการสร้างการมีส่วนร่วมของผู้ใช้ของ Shopee และ Garena ที่ขับเคลื่อนด้วยพลัง AI

การมีส่วนร่วมของลูกค้าเป็นสิ่งที่ท้าทาย ในโลกที่ผู้บริโภคถูกโจมตีด้วยข้อมูลจากแหล่งต่างๆ จากช่องทางต่างๆ เป็นเรื่องยากสำหรับธุรกิจที่จะดึงดูดความสนใจของผู้ใช้ ดังนั้น แบรนด์ต่างๆ จึงหันไปใช้โซลูชันที่สร้างสรรค์เพื่อดึงดูดลูกค้าให้ดีขึ้น แต่การค้นหาว่าต้องทำอย่างไรนั้นไม่เป็นเรื่องที่ง่ายนัก

รายการ Geek Monday ใน EP นี้ จะมาทำความเข้าใจว่า Sea และบริษัทต่างๆ ของ Sea ทั้ง Shopee และ Garena สร้างประสบการณ์ที่มีส่วนร่วมกับลูกค้าที่ขับเคลื่อนด้วยพลังของ AI ให้ประสบความสำเร็จได้อย่างไร

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/3qYvs64

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/3FBPA1S

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
https://bit.ly/3x5HMlW

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/3cAIeza

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/sLKuKnv-81Q

ธนาคารบีบขายประกัน กับผลพวงจากพายุ disruption ของธุรกิจธนาคาร

ต้องบอกว่าเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่แข่งขันกันอย่างดุเดือดในยุคปัจจุบันเลยทีเดียวสำหรับธุรกิจธนาคาร ที่ต่างฝ่ายต่างงัดกลยุทธ์ต่างๆ มากมายเพื่อเข้าสู่โลก digital จากผลพวงที่เกิดขึ้นกับพายุ disruption ที่เกิดขึ้นในธุรกิจนี้

ซึ่งก็ต้องบอกว่าเป็นผลดีกับลูกค้า ที่บริการหลาย ๆ อย่างนั้น เริ่มที่จะไม่ต้องมีค่าธรรมเนียม ซึ่งในอดีตเราเสียค่าธรรมเนียมต่าง ๆ มากมายในธุรกิจธนาคาร ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งรายได้หลักช่องทางนึงของธุรกิจธนาคารเลยก็ว่าได้

ตอนนี้ app ของทุก ๆ ธนาคารแทบจะทำธุรกรรมทุกอย่างได้เกือบ 100% โดยที่เราแทบจะไม่ต้องก้าวเท้าไปยังธนาคารที่เป็นสาขาแบบ physical อีกต่อไป ซึ่งสอดคล้องกับสภาพของสาขาธนาคาร โดยเฉพาะสาขาที่ไม่ได้อยู่ในห้าง ที่เรียกได้ว่า ตอนนี้คนเข้ามาใช้บริการน้อยกว่าในยุคก่อนหน้านี้เยอะมาก

ผลกระทบต่อพนักงานจากพายุ Digital Disruption

มันเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยที่การปรับตัวต่าง ๆ เหล่านี้ของธนาคาร ซึ่งลงทุนไปมหาศาลกับเรื่องของ infrastructure ใหม่ ที่พยายามผลักดันให้ลูกค้ามาใช้งานผ่านแอปให้ได้มากที่สุด เราจะเห็นตามสาขาต่าง ๆ ที่มีพนักงานมาคอยแนะนำให้ลูกค้าหันไปใช้แอปแทนการเข้ามาทำธุรกรรมบางอย่างที่สาขา

ความน่าสนใจอีกอย่างหนึ่งก็คือการลงทุนเรื่องทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะสาย IT ตอนนี้ มันได้ทำให้ตลาดปั่นป่วนจากการดึงตัวพนักงานเป็นว่าเล่นของกลุ่มธุรกิจธนาคาร ที่ต่างต้องการพนักงานด้านนี้มาขยายธุรกิจด้านเทคโนโลยีของธนาคาร ซึ่งแน่นอนว่าทำให้อาชีพสาย IT โดยเฉพาะ Programmer นั้นมีค่าตัวที่กระโดดสูงขึ้นมาก เพราะแน่นอนว่าเงินเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งในการดึงตัวพนักงานหัวกะทิเหล่านี้จากอุตสาหกรรมอื่น ๆ

ซึ่งก็สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของธนาคารหลาย ๆ แห่งที่ต่างประกาศตัวว่า พวกเขาไม่ได้ทำแค่ธุรกิจธนาคารอีกต่อไป เป้าหมายของพวกเขาเป็นมากกว่าแอปธนาคาร แต่ต้องการ Data จากทุกภาคส่วน ซึ่งจะเห็นได้จากการเข้าซื้อกิจการหรือการลงทุนในกิจการต่าง ๆ มากมายของธนาคารยักษ์ใหญ่ในตอนนี้

ซึ่งจากข่าวที่เกิดขึ้นกับพนักงานกลุ่มเดิม ๆ ของธนาคารที่อยู่ตามสาขา มันไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด ที่ต้องมีการบีบให้ทำงานอย่างอื่นเพิ่มมากขึ้น เช่น การบีบให้ทำยอดจากการขายประกัน

ผมว่าเรื่องนี้มันเกิดขึ้นมาซักระยะหนึ่งแล้ว และคนใกล้ตัวผมเองก็โดนเรื่องนี้กันเยอะมาก ๆ บางครั้งก็อาจจะทำให้ฉุกคิดเหมือนกันว่าการตั้งเป้ายอดประกันสูง ๆ สำหรับธนาคารแล้วพวกเขาทำเพื่อเป้าหมายทางธุรกิจ หรือ ทำเพื่อบีบคนให้ออกไปกันแน่

เพราะจะเห็นได้ว่าตอนนี้เหล่าพนักงานเริ่มลาออกกันละลอกใหญ่ เพราะปัญหาเหล่านี้ที่เกิดขึ้นจากความเครียดความกดดันต่าง ๆ นา ๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพจิตของพวกเขาเหล่านี้เพิ่มมากขึ้นเมื่อเทียบกับยุคก่อนหน้า

แต่ถ้ามองในมุมของธนาคารพวกเขาก็ต้องมีการปรับตัวเพื่อปรับโครงสร้างทางธุรกิจใหม่ ให้เทคโนโลยีนำ แทนที่จะใช้มนุษย์ตามสาขาแบบเดิม ๆ เพราะต้นทุนโดยรวมยังไงก็ถูกกว่า การพัฒนาแอปพลิเคชั่น หรือ เทคโนโลยี AI ต่าง ๆ ที่ใช้เทคโนโลยีสุดล้ำ แน่นอนว่าพวกมันไม่เหนื่อย ไม่บ่น ไม่ร้องขอสวัสดิการเพิ่ม และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีข้อผิดพลาดน้อยกว่าเมื่อเทียบกับการทำงานของมนุษย์นั่นเองครับผม

Credit Image : https://today.line.me/th/v2/article/DR359vw

Geek China EP33 : Winning Strategy of JD.com

Customer value proposition หรือ คุณค่าที่ส่งมอบให้ลูกค้าของ JD.com (HKG: 9618; NASDAQ: JD) คือสิ่งที่สะท้อนผ่าน Logo ที่เห็นประกอบด้วยตัวอักษร 4 ตัวคือ 多 快 好 省 more, fast, good, save เยอะ เร็ว ดี ประหยัด

Model หลักของ JD ตั้งแต่เริ่มต้น คือ B2C แต่การ operate คือเป็นการซื้อมาแล้วขายตรงไปยังผู้บริโภค สิ่งสำคัญคือ การรับผิดชอบการขนส่งด้วยตัวเอง (Self-own logistic model) ไม่ได้ไปจ้าง 3rd party แต่พัฒนาเครือข่าย logistics ยอมลงทุนสร้างศูนย์โกดัง fulfillment, last-mile delivery –ต่างจาก Alibaba ที่เน้นด้านความเป็น asset-light business model ของการเป็นเพียงแพลตฟอร์มเชื่อมโยงผู้ซื้อและผู้ขาย ในแบบ C2C/ B2C และเชื่อมผู้ขนส่งแบบ3rd party partner เท่านั้น

JD ค่อยๆกินส่วนแบ่งการตลาด B2C eCommerce ทั่วไป โดยJD มีส่วนแบ่งอยู่ที่ 25.2% ใน 2015Q2 ขึ้นจาก 2014Q4 ที่มีเพียง 18% ส่วน Tmall ก็ลดลงจาก 61% มาอยู่ที่ 55.7%

ถึงแม้จะยังทิ้งห่าง ยักษ์ใหญ่อย่างค่าย Alibaba (ที่มี Taobao/Tmall) แบบไม่เห็นฝุ่น แต่ก็เป็นสัญญาณที่ดี เพราะทำให้ยักษ์ใหญ่มีสั่นคลอนและเป็นการเติบโตในส่วนแบ่งตลาดถึงเท่าตัวเลยทีเดียว การเข้ามาครองส่วนแบ่งการตลาดได้จากหน้าใหม่สู่หน้าหลักก็ต้องขอบคุณระบบการขนส่งที่มีคุณภาพนี้นี่เอง

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/3qRAnFK

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/3DEsyqp

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
https://bit.ly/3DGcWCP

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/3DBi8HX

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/fQbOp8NQbw8