Hologram ทะลุมิติ เมื่อนักวิทยาศาสตร์คิดค้นกล้องที่มองผ่านอุปสรรคได้ทุกอย่างได้ที่ขวางกั้น

วิศวกรของ Northwestern University ได้คิดค้นกล้องความละเอียดสูงตัวใหม่ที่สามารถมองเห็นวัตถุทึบแสง เช่น หมอก ผิวหนัง หรือแม้กระทั่งกระดูกของมนุษย์ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ดูเหมือนหลุดมาจากนิยายวิทยาศาสตร์  

กล้องอาศัยระบบจับแสงที่เรียกว่า“ความยาวคลื่นภาพสามมิติสังเคราะห์” ซึ่งมันทำงานโดยกระจายแสงเลเซอร์ไปยังวัตถุที่ซ่อนอยู่ จากนั้นสะท้อนกลับไปที่กล้อง โดยที่ AI จะสร้างสัญญาณขึ้นใหม่เพื่อแสดงวัตถุที่ซ่อนอยู่ 

โดยวิธีการถ่ายภาพสามมิติช่วยให้นักวิทยาศาสตร์มองเห็นวัตถุที่เคลื่อนไหวเร็ว เช่น รถที่ขับเข้าโค้ง หรือแม้แต่หัวใจที่เต้นผ่านหน้าอกของมนุษย์จึงสามารถนำมาใช้ในระบบนำทางสำหรับการเตือนล่วงหน้าสำหรับรถยนต์หรือสำหรับการถ่ายภาพทางการแพทย์ได้

Florian Willomitzer ผู้ช่วยศาสตราจารย์ที่ McCormick School of Engineering และผู้นำวิจัยกล่าวว่า “เทคโนโลยีของเราจะนำเสนอคลื่นลูกใหม่แห่งความสามารถในการสร้างภาพ” เขาเสริมว่าวิธีการของกล้อง “สามารถนำไปใช้กับคลื่นวิทยุสำหรับการสำรวจอวกาศหรือการถ่ายภาพใต้น้ำได้”

เปลี่ยน ‘ผนังเป็นกระจก’ 

เนื่องจากแสงเดินทางเป็นเส้นตรงเท่านั้น จึงต้องมีสิ่งกีดขวาง (เช่น ผนัง ไม้พุ่ม หรือรถยนต์) เพื่อให้อุปกรณ์ใหม่มองเห็นได้รอบมุม แสงถูกปล่อยออกมาจากชุดเซ็นเซอร์ (ซึ่งสามารถติดตั้งไว้บนรถได้) ไปยังสิ่งกีดขวาง จากนั้นกระทบกับวัตถุรอบมุม  โดยแสงจะสะท้อนกลับไปที่สิ่งกีดขวางและกลับเข้าไปในตัวตรวจจับของชุดเซ็นเซอร์ในท้ายที่สุด

Willomitzer กล่าวว่า “เหมือนกับว่าเราสามารถวางกล้องคอมพิวเตอร์เสมือนไว้บนพื้นผิวที่ห่างไกลทุกแห่งเพื่อมองโลกจากมุมมองของพื้นผิว”

สำหรับผู้ที่ขับรถบนถนนที่คดเคี้ยวผ่านภูเขาหรือคดเคี้ยวผ่านป่าในชนบท วิธีนี้สามารถป้องกันอุบัติเหตุได้โดยการเปิดเผยให้เห็นรถคันอื่นหรือกวางที่อยู่บริเวณทางโค้งที่พ้นสายตาในการขับขี่ปรกติ”

เทคนิคนี้เหมือนกับว่าเราสามารถเปลี่ยนผนังเป็นกระจก” Willomitzer กล่าว “เทคนิคนี้สามารถทำงานได้ในเวลากลางคืนและในสภาพอากาศที่มีหมอกหนา”

แม้ว่าเทคโนโลยีนี้จะเป็นเครื่องต้นแบบ แต่ Willomitzer เชื่อว่าในที่สุดจะถูกนำมาใช้เพื่อช่วยให้ผู้ขับขี่หลีกเลี่ยงอุบัติเหตุได้ “ยังอีกยาวไกลกว่าที่เราจะได้เห็นภาพจำลองเหล่านี้สร้างขึ้นในรถยนต์หรือได้รับการอนุมัติสำหรับการใช้งานทางการแพทย์” เขากล่าว “อาจจะ 10 ปีหรือมากกว่านั้น แต่ในที่สุดมันก็จะมาถึง”

References : https://scitechdaily.com/new-holographic-camera-sees-the-unseen-around-corners-through-fog-and-human-tissue/
https://www.mccormick.northwestern.edu/news/articles/2021/11/new-holographic-camera-sees-the-unseen-with-high-precision/
https://www.nature.com/articles/s41467-021-26776-w

Geek Story EP130 : ประวัติ Delivery Hero แอปส่งอาหารนัก Take Over จากเยอรมนี

ต้องบอกว่าเป็นการเดินทางที่น่าสนใจมาก ๆ ของ Delivery Hero Holding ที่ตอนนี้ได้แพร่กระจายกิจการของพวกเขาไปทั่วโลกผ่านกลยุทธ์การเข้า take over ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือ app ที่กำลังเป็นประเด็นร้อนในไทยอย่าง Food Panda

Delivery Hero Holding ก่อตั้งขึ้นในกรุงเบอร์ลินโดย Niklas Östberg, Kolja Hebenstreit, Markus Fuhrmann และ Lukasz Gadowski ในเดือนพฤษภาคม 2011โดยมีเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่ในการผลักดันให้แพล็ตฟอร์มของพวกเขากลายเป็นแพล็ตฟอร์มสั่งอาหารออนไลน์ทั่วโลก

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/32m8jjt

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/30SCKNz

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
https://bit.ly/3DVRdXy

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/3FNWEIU

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/wBDhzDzJB0g

Era of big government เมื่อโลกกำลังเข้าสู่ยุคใหม่ในการมีรัฐบาลที่มีขนาดใหญ่ขึ้น

เป็นอีกหนึ่งบทความที่น่าสนใจจาก The Economist ที่กล่าวถึงเรื่องของยุคใหม่ของรัฐบาลที่กำลังเกิดขึ้นทั่วโลก เนื่องจากปัญหาการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่ทำให้องค์กรต่าง ๆ ของรัฐมีขนาดใหญ่ขึ้นเพราะต้องใช้ทุกวิถีทางในการพยุงประเทศของตัวเองให้ผ่านพ้นวิกฤติไปได้

การรับมือกับโรคระบาดครั้งนี้ เป็นบาดแผลใหญ่ให้กับหลาย ๆ รัฐบาลทั่วโลก ผู้นำหลายคนต้องจากลาเพราะไม่สามารถแก้ปัญหาวิกฤตินี้ได้ และมีผู้นำอีกหลายท่านที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพโดยเฉพาะเมื่อประเทศเกิดวิกฤติที่ไม่มีใครเคยคาดคิดมาก่อนอย่างการระบาดของ COVID-19

รัฐบาลทั่วโลกต้องจ่ายเงินไปกว่า 17 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อรับมือกับโรคระบาดนี้ ซึ่งนั่นรวมถึงเรื่องการกู้เงินและการที่รัฐบาลต้องค้ำประกัน ซึ่งเป็นตัวเลขรวมที่สูงถึง 16% ของ GDP ของทุกประเทศในโลก

การใช้จ่ายของรัฐบาลทั่วโลกจะมากขึ้นตามสัดส่วนของ GDP อเมริกาเตรียมทุ่ม 1.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อขยายรัฐสวัสดิการ ยุโรปกำลังออกกองทุนเพื่อนการลงทุนมูลค่า 750 พันล้านยูโร และ ญี่ปุ่นกำลังให้คำมั่นว่าจะสร้างรูปแบบของทุนนิยมใหม่ ที่ขับเคลื่อนโดยรัฐบาลมากยิ่งขึ้น

ภาพสะท้อนดังกล่าวเราก็สามารถมองเห็นได้ในรัฐบาลไทยเช่นเดียวกัน ที่มีการอัดเม็ดเงินจำนวนมหาศาลผ่านโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจต่าง ๆ ทั้ง เที่ยวด้วยกัน คนละครึ่ง ชิมช็อปใช้ ฯลฯ ซึ่งแน่นอนว่าต้องผ่านการกู้เงินจำนวนมหาศาลเช่นเดียวกันเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้ก้าวไปได้ในช่วงวิกฤติ COVID-19

ในอีกไม่กี่ทศวรรษข้างหน้า รัฐบาลหลายๆ ประเทศต้องพบกับความท้าทายครั้งสำคัญ ทั้งเรื่องภาวะโลกร้อน ปัญหาเรื่องเศรษฐกิจ ปัญหาสังคมสูงวัยที่ต้องมีค่าใช้จ่ายด้านการดูแลสุขภาพเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล

ภัยคุกคามระยะยาวของรัฐที่มีขนาดใหญ่ขึ้นก็คือ ระบบราชการ การทุจริตคอร์รัปชั่น การกำจัดเสรีภาพส่วนบุคคล ซึ่งยิ่งรัฐมีขนาดใหญ่ขึ้นปัญหาเหล่านี้ก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้น แต่ภัยคุกคามเหล่านี้ก็มาพร้อมโอกาสอีกมากมาายที่จะทำให้รัฐบาลสามารถเติบโตได้

แน่นอนว่าในยุค Digital Disruption ผ่านเทคโนโลยีใหม่ ๆ มากมาย รัฐที่จะมีขนาดใหญ่ขึ้น แต่ก็ต้องขับเคลื่อนด้วยความว่องไวมากขึ้น

ส่วนตัวผมมองว่าเรื่อง Digital ของประเทศเราก็เดินหน้ามาได้ไกลพอสมควรแล้ว COVID-19 ยิ่งทำให้เรากลายเป็นสังคม Cashless แบบภาคบังคับได้รวดเร็วยิ่งขึ้น กลายเป็นความเคยชินไปแล้วตอนนี้ หลายคนแทบจะเลิกพกเงินสด

ซึ่งแน่นอนว่าการผลักดันให้ประชาชนเข้าถึงระบบ Digital มากยิ่งขึ้น ตัวอย่างในไทยอย่างแอป เป๋าตังค์ นั้นก็ทำให้รัฐบาลสามารถอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ประชาชนโดยตรงผ่านโครงการต่าง ๆ ของรัฐได้ง่ายยิ่งขึ้น

แนวโน้มที่ชัดเจนของรัฐสมัยใหม่ก็คือ ต้องขับเคลื่อนหน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐโดยใช้รูปแบบ Digital มากยิ่งขึ้น การใช้เอกสารต่าง ๆ มากมายที่เป็นอุปสรรคเรื่องความคล่องตัวนั้นควรจะกำจัดให้มากที่สุด เหมือนตัวอย่างที่ประเทศเอสโตเนียทำได้สำเร็จ

หน่วยงานต่าง ๆ ของรัฐต้องมีความคล่องตัวขึ้น มีตัวอย่างน่าสนใจของความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของรัฐบาลอเมริกาในช่วงการระบาดใหญ่ครั้งนี้ก็มาจากการขับเคลื่อนภายในหน่วยงานเล็ก ๆ เช่น Operation Warp Speed ซึ่งช่วยทำให้เกิดการพัฒนาวัคซีนของอเมริกา และช่วยโลกเราให้รอดพ้นจากวิกฤติครั้งนี้ได้นั่นเองครับผม

Refererences : https://econ.st/3CMcQrV
https://www.slideshare.net/PhilosophicalInvestigations/the-era-of-big-government

Bitcoin City เมื่อเอลซัลวาดอร์วางแผนที่จะสร้างเมืองทั้งเมืองโดยใช้ Bitcoin

รัฐบาลของเอลซัลวาดอร์กำลังทุ่มหมดหน้าตักให้กับ Bitcoin มากขึ้นไปอีก เมื่อมีรายงานว่าประธานาธิบดี Nayib Bukele ได้เปิดเผยแผนการที่จะสร้าง “Bitcoin City” ใกล้ภูเขาไฟตามแนวอ่าว Fonseca ระหว่างเมือง La Unión และ Conchagua ที่เป็นเมืองใหญ่ของประเทศ

โดยจะมีโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนใต้พิภพเป็นของตัวเองเพื่อช่วยสนับสนุนการขุด crypto โดยเมืองใหม่แห่งนี้จะไม่มีการเก็บภาษีจาก รายได้ เงินเดือน หรือภาษีทรัพย์สิน จะมีเพียงแค่ภาษีมูลค่าเพิ่มเพียงเท่านั้น

เมืองจะมีรูปร่างเหมือนเหรียญ ซึ่ง Bukele ได้วางแผนที่จะสร้างสิ่งอำนวยความสะดวกเต็มรูปแบบและช่วยสร้างงานให้กับผู้คนใน La Unión ที่สามารถเดินทางไปทำงานในการพัฒนาเมืองใหม่นี้ได้

Bukele ไม่ได้ให้ไทม์ไลน์ที่ชัดเจนนักสำหรับการสร้างเมืองแห่งนี้ ในขณะเดียวกันเขาได้เปิดตัว “พันธบัตร Bitcoin” มูลค่า 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยครึ่งหนึ่งจะใช้สำหรับการสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านพลังงานและการขุด ส่วนที่เหลือใช้เพื่อซื้อสกุลเงินดิจิทัลมากขึ้น 

Samson Mow หัวหน้ากลยุทธ์สำหรับผู้พัฒนาพันธบัตร Blockstream กล่าวว่าเอลซัลวาดอร์จะเริ่มขายการถือครอง crypto หลังจากห้าปีและจ่ายเงินปันผลพิเศษให้กับผู้ถือพันธบัตร ด้วยผลตอบแทนเริ่มต้นร้อยละ 6.5 ซึ่งอาจแสดงถึงโอกาศครั้งสำคัญสำคัญสำหรับประเทศหากทุกอย่างเป็นไปด้วยดี

ต้องบอกว่าการเดิมพันครั้งนี้ ถือเป็นการเดิมพันครั้งใหญ่สำหรับประเทศที่มีผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศมากกว่า 24.6 พันล้านดอลลาร์ในปี 2020 และหวังจะได้รับประโยชน์จากสกุลเงินดิจิทัลอย่าง Bitcoin

ฝ่ายบริหารของ Bukele พึ่งพา Bitcoin เพื่อกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจ และการลงทุนเป็นจำนวนมาก แต่โดยรวมถือว่าสถานะทางการเงินของรัฐบาลยังคงอยู่ในเส้นทางขาขึ้น

แต่ก็ยังไม่มีความชัดเจนนักว่าผู้อยู่อาศัยและนักลงทุนจะแห่กันไปที่เมืองที่เน้น Bitcoin แห่งใหม่นี้หรือไม่ แม้ว่าจะมีแรงจูงใจด้านภาษีก็ตามที แต่ต้องบอกว่าเมืองแห่งนี้จะกลายเป็นอาณาเขตใหม่สำหรับการเดิมพันกับสกุลเงินดิจิทัลของประเทศเอลซัลวาดอร์

บทสรุป

ผมว่าเรื่องนี้ค่อนข้างน่าสนใจ กับประเทศอย่างเอลซัลวาดอร์ ซึ่งเมื่อก่อนหลายคนอาจจะแทบไม่รู้ว่าอยู่ในส่วนไหนของโลก แต่การเกาะกระแสไปกับสกุลเงินดิจิทัลอย่าง Bitcoin ทำให้พวกเขากลายเป็นข่าวไปทั่วโลก เป็นการ PR ประเทศฟรี ๆ ซึ่งตอนนี้ประเทศของพวกเขาคงเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกแล้ว

ถือเป็นการเดิมพันกับประเทศครั้งสำคัญ สร้างจุดเด่นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสกุลเงินดิจิทัล และทุ่มหมดหน้าตักให้กับเทคโนโลยีแห่งอนาคตนี้ ก็คือว่าน่าสนใจมาก ๆ

ซึ่งแน่นอนว่า ผลลัพธ์สุดท้ายจะเป็นอย่างไรเรายังไม่รู้ อาจจะพาประเทศติดดอย หรือ อาจจะพุ่ง To the Moon แต่ผมมองแนวคิดของ ประธานาธิบดี Nayib Bukele ที่ถือเป็นคนรุ่นใหม่ น่าจะเป็น Case Study ในการเลือกยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศที่น่าสนใจเลยทีเดียวครับผม

References : https://independentpress.cc/el-salvador-introduces-bitcoin-city-backed-by-bitcoin-bonds/2021/11/21/
https://www.engadget.com/el-salvador-bitcoin-city-190829261.html
https://www.powerengineeringint.com/news/renewables-rich-el-salvador-plans-bitcoin-city

Geek Story EP129 : ศึกษากลยุทธ์ของ Zomato ที่ตั้งเป้าที่จะเปลี่ยนนิสัยการกินของประชากร 1.36 พันล้านคนในอินเดีย

Zomato บริษัทจัดส่งอาหารตั้งเป้าที่จะเปลี่ยนนิสัยการกินของประชากร 1.36 พันล้านคนในอินเดีย ในช่วงกลางเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมาได้ประกาศทำ IPO และได้ทำให้บริษัทมีมูลค่าถึง 12 พันล้านดอลลาร์ 

ความน่าสนใจของ Zomato ก็คือแม้จะดำเนินธุรกิจอาหารแบบดั้งเดิม แต่ Zomato เป็นตัวอย่างที่ดีของบริษัทเทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่นเดียวกับ DoorDash และ SkipTheDishes และการเสนอขายหุ้น IPO ที่ประสบความสำเร็จสามารถสอนเราว่าบริษัทเทคโนโลยีสมัยใหม่คืออะไร และอะไรที่ไม่ใช่  และนี่คือกลยุทธ์ทางธุรกิจที่น่าสนใจของ Zomato

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/3xg2Fuy

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/30P2aM0

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
https://bit.ly/3l2kVCQ

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/3xeWOWx

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/ObYn226s5yU