ธนาคารบีบขายประกัน กับผลพวงจากพายุ disruption ของธุรกิจธนาคาร

ต้องบอกว่าเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่แข่งขันกันอย่างดุเดือดในยุคปัจจุบันเลยทีเดียวสำหรับธุรกิจธนาคาร ที่ต่างฝ่ายต่างงัดกลยุทธ์ต่างๆ มากมายเพื่อเข้าสู่โลก digital จากผลพวงที่เกิดขึ้นกับพายุ disruption ที่เกิดขึ้นในธุรกิจนี้

ซึ่งก็ต้องบอกว่าเป็นผลดีกับลูกค้า ที่บริการหลาย ๆ อย่างนั้น เริ่มที่จะไม่ต้องมีค่าธรรมเนียม ซึ่งในอดีตเราเสียค่าธรรมเนียมต่าง ๆ มากมายในธุรกิจธนาคาร ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งรายได้หลักช่องทางนึงของธุรกิจธนาคารเลยก็ว่าได้

ตอนนี้ app ของทุก ๆ ธนาคารแทบจะทำธุรกรรมทุกอย่างได้เกือบ 100% โดยที่เราแทบจะไม่ต้องก้าวเท้าไปยังธนาคารที่เป็นสาขาแบบ physical อีกต่อไป ซึ่งสอดคล้องกับสภาพของสาขาธนาคาร โดยเฉพาะสาขาที่ไม่ได้อยู่ในห้าง ที่เรียกได้ว่า ตอนนี้คนเข้ามาใช้บริการน้อยกว่าในยุคก่อนหน้านี้เยอะมาก

ผลกระทบต่อพนักงานจากพายุ Digital Disruption

มันเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้เลยที่การปรับตัวต่าง ๆ เหล่านี้ของธนาคาร ซึ่งลงทุนไปมหาศาลกับเรื่องของ infrastructure ใหม่ ที่พยายามผลักดันให้ลูกค้ามาใช้งานผ่านแอปให้ได้มากที่สุด เราจะเห็นตามสาขาต่าง ๆ ที่มีพนักงานมาคอยแนะนำให้ลูกค้าหันไปใช้แอปแทนการเข้ามาทำธุรกรรมบางอย่างที่สาขา

ความน่าสนใจอีกอย่างหนึ่งก็คือการลงทุนเรื่องทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะสาย IT ตอนนี้ มันได้ทำให้ตลาดปั่นป่วนจากการดึงตัวพนักงานเป็นว่าเล่นของกลุ่มธุรกิจธนาคาร ที่ต่างต้องการพนักงานด้านนี้มาขยายธุรกิจด้านเทคโนโลยีของธนาคาร ซึ่งแน่นอนว่าทำให้อาชีพสาย IT โดยเฉพาะ Programmer นั้นมีค่าตัวที่กระโดดสูงขึ้นมาก เพราะแน่นอนว่าเงินเป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งในการดึงตัวพนักงานหัวกะทิเหล่านี้จากอุตสาหกรรมอื่น ๆ

ซึ่งก็สอดคล้องกับวิสัยทัศน์ของธนาคารหลาย ๆ แห่งที่ต่างประกาศตัวว่า พวกเขาไม่ได้ทำแค่ธุรกิจธนาคารอีกต่อไป เป้าหมายของพวกเขาเป็นมากกว่าแอปธนาคาร แต่ต้องการ Data จากทุกภาคส่วน ซึ่งจะเห็นได้จากการเข้าซื้อกิจการหรือการลงทุนในกิจการต่าง ๆ มากมายของธนาคารยักษ์ใหญ่ในตอนนี้

ซึ่งจากข่าวที่เกิดขึ้นกับพนักงานกลุ่มเดิม ๆ ของธนาคารที่อยู่ตามสาขา มันไม่ใช่เรื่องแปลกแต่อย่างใด ที่ต้องมีการบีบให้ทำงานอย่างอื่นเพิ่มมากขึ้น เช่น การบีบให้ทำยอดจากการขายประกัน

ผมว่าเรื่องนี้มันเกิดขึ้นมาซักระยะหนึ่งแล้ว และคนใกล้ตัวผมเองก็โดนเรื่องนี้กันเยอะมาก ๆ บางครั้งก็อาจจะทำให้ฉุกคิดเหมือนกันว่าการตั้งเป้ายอดประกันสูง ๆ สำหรับธนาคารแล้วพวกเขาทำเพื่อเป้าหมายทางธุรกิจ หรือ ทำเพื่อบีบคนให้ออกไปกันแน่

เพราะจะเห็นได้ว่าตอนนี้เหล่าพนักงานเริ่มลาออกกันละลอกใหญ่ เพราะปัญหาเหล่านี้ที่เกิดขึ้นจากความเครียดความกดดันต่าง ๆ นา ๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพจิตของพวกเขาเหล่านี้เพิ่มมากขึ้นเมื่อเทียบกับยุคก่อนหน้า

แต่ถ้ามองในมุมของธนาคารพวกเขาก็ต้องมีการปรับตัวเพื่อปรับโครงสร้างทางธุรกิจใหม่ ให้เทคโนโลยีนำ แทนที่จะใช้มนุษย์ตามสาขาแบบเดิม ๆ เพราะต้นทุนโดยรวมยังไงก็ถูกกว่า การพัฒนาแอปพลิเคชั่น หรือ เทคโนโลยี AI ต่าง ๆ ที่ใช้เทคโนโลยีสุดล้ำ แน่นอนว่าพวกมันไม่เหนื่อย ไม่บ่น ไม่ร้องขอสวัสดิการเพิ่ม และทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีข้อผิดพลาดน้อยกว่าเมื่อเทียบกับการทำงานของมนุษย์นั่นเองครับผม

Credit Image : https://today.line.me/th/v2/article/DR359vw

Geek China EP33 : Winning Strategy of JD.com

Customer value proposition หรือ คุณค่าที่ส่งมอบให้ลูกค้าของ JD.com (HKG: 9618; NASDAQ: JD) คือสิ่งที่สะท้อนผ่าน Logo ที่เห็นประกอบด้วยตัวอักษร 4 ตัวคือ 多 快 好 省 more, fast, good, save เยอะ เร็ว ดี ประหยัด

Model หลักของ JD ตั้งแต่เริ่มต้น คือ B2C แต่การ operate คือเป็นการซื้อมาแล้วขายตรงไปยังผู้บริโภค สิ่งสำคัญคือ การรับผิดชอบการขนส่งด้วยตัวเอง (Self-own logistic model) ไม่ได้ไปจ้าง 3rd party แต่พัฒนาเครือข่าย logistics ยอมลงทุนสร้างศูนย์โกดัง fulfillment, last-mile delivery –ต่างจาก Alibaba ที่เน้นด้านความเป็น asset-light business model ของการเป็นเพียงแพลตฟอร์มเชื่อมโยงผู้ซื้อและผู้ขาย ในแบบ C2C/ B2C และเชื่อมผู้ขนส่งแบบ3rd party partner เท่านั้น

JD ค่อยๆกินส่วนแบ่งการตลาด B2C eCommerce ทั่วไป โดยJD มีส่วนแบ่งอยู่ที่ 25.2% ใน 2015Q2 ขึ้นจาก 2014Q4 ที่มีเพียง 18% ส่วน Tmall ก็ลดลงจาก 61% มาอยู่ที่ 55.7%

ถึงแม้จะยังทิ้งห่าง ยักษ์ใหญ่อย่างค่าย Alibaba (ที่มี Taobao/Tmall) แบบไม่เห็นฝุ่น แต่ก็เป็นสัญญาณที่ดี เพราะทำให้ยักษ์ใหญ่มีสั่นคลอนและเป็นการเติบโตในส่วนแบ่งตลาดถึงเท่าตัวเลยทีเดียว การเข้ามาครองส่วนแบ่งการตลาดได้จากหน้าใหม่สู่หน้าหลักก็ต้องขอบคุณระบบการขนส่งที่มีคุณภาพนี้นี่เอง

เลือกฟังกันได้เลยนะครับ อย่าลืมกด Follow ติดตาม PodCast ช่อง Geek Forever’s Podcast ของผมกันด้วยนะครับ

🎧 ฟังผ่าน Podbean : 
https://bit.ly/3qRAnFK

🎧 ฟังผ่าน Apple Podcast :
https://apple.co/3DEsyqp

🎧 ฟังผ่าน Google Podcast : 
https://bit.ly/3DGcWCP

🎧 ฟังผ่าน Spotify : 
https://spoti.fi/3DBi8HX

🎧 ฟังผ่าน Youtube 
https://youtu.be/fQbOp8NQbw8